ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

หากภาพเล็ก คลิ๊กที่รูปภาพจะขยายใหญ่

post-237-085525100 1277693061.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บทวิเคราะห์ทองคำ (28-06-53)

 

28 มิ.ย. 2553

 

 

สรุปภาวะตลาดก่อนหน้านี้

ราคาโกลด์ฟิวเจอร์สแกว่งตัวผันผวนสอดคล้องกับราคาทองคำสปอต ก่อนที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังTFEXปิดทำการ เงินบาทผันผวนตามภูมิภาค ทองคำแท่งสมาคมปิดที่ 19,000/19,100 บาท

 

 

ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อเนื่องถึงวันนี้

ศาลรัฐธรรมนูญโรมาเนียตัดสินให้รัฐบาลไม่สามารถลดบำเน็จบำนาญข้าราชการตามมาตรการรัดเข็มขัดที่ IMF ตั้งเงื่อนไขไว้ได้เนื่องจากขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะทำให้โรมาเนียต้องประสบปัญหาสินเชื่อในที่สุด นักลงทุนจึงต่างพากันเทขายเงินยุโรปตะวันออกทั้งเงินลูของโรมาเนีย ฟอรินท์ของฮังการี และซลอตตี้ของโปแลนด์ ต่างได้รับผลกระทบจากแรงเทขายอย่างหนักหน่วง ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงค่าเงินยูโร อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและไม่น่าจะส่งผลลูกโซ่จนเกิดเป็นวิกฤตสินเชื่อได้ ราคาทองคำจึงไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด [Reuters, AFC Research]

สหรัฐฯรายงานจีดีพีประจำไตรมาส 1/2553 ออกมาแย่ลงกว่าเดิมอีก โดยมีการปรับประมาณการจีดีพีลดลงเหลือเพียง 2.7% จากประกาศครั้งที่แล้วที่ 3% และประกาศครั้งแรก 3.2% โดยเฉพาะภาคผู้บริโภคที่แย่ลงกว่าเดิม แสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังยากจะฟื้นตัวได้ นักลงทุนจึงต่างพากันเข้าไปเก็งกำไรทองคำเพิ่มเติมเพื่อรักษาความมั่งคั่งของตนเอาไว้ [Econoday, AFC Research]

กลุ่มจี20เห็นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีความสำคัญมากที่สุดในช่วงนี้ จึงมีมติให้ประเทศต่างๆประกาศใช้มาตรการกระตุ้นต่อไปโดยยังไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องหนี้สินมากนักจนกว่าเศรษฐกิจจะเริ่มแข็งแรงขึ้นจึงค่อยเริ่มลดการขาดดุลลงเหลือครึ่งหนึ่งภายในปี 2013 (พ.ศ.2556) และค่อยๆปรับลดหนี้สินภาครัฐลงภายในปี 2016 (พ.ศ.2559) รายงานดังกล่าวมีเพียงกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนเท่านั้นที่อยู่นอกเหนือจากการคาดการณ์ของนักลงทุน ในขณะที่รายละเอียดอื่นไม่ได้อยู่นอกเหนือการคาดหมายอย่างชัดเจนมากนัก ซึ่งอาจเป็นโอกาสให้นักลงทุนเล่นเก็งกำไรในความผันผวนได้ในวันนี้ [G20, AFC Research]

 

 

แนวโน้มทองคำวันนี้

ถึงแม้เรามองว่าทองคำยังเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย แต่จากมติของจี20ที่ไม่มีทิศทางชัดเจน เราจึงมองว่า "ราคาทองคำน่าจะแกว่งตัวอยู่ในช่วง" และแนะนำให้ "ซื้อขายในช่วงตามแนวรับแนวต้าน"

 

 

มุมมองทองคำ

สถานะของทองคำและแนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังผันผวน นักลงทุนจะต้องติดตามความคืบหน้าของปัญหาต่างๆ และแนวโน้มเศรษฐกิจแต่ละภูมิภาคอย่างใกล้ชิด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

G-20 ได้ข้อสรุปเงื่อนเวลาปรับลดงบประมาณขาดดุล

 

Posted on Monday, June 28, 2010

G-20 ได้ข้อสรุปเงื่อนเวลาปรับลดงบประมาณขาดดุล

 

ที่ประชุม G-20 จากเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา ได้ข้อสรุปท่ามกลางเหตุประท้วงที่วุ่นวายอยู่ภายนอก ด้วยการตอกย้ำเป้าหมายการปรับลดงบประมาณขาดดุล และเดินหน้าเพิ่มระดับเงินทุนสำรองภาคธนาคารเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวเต็มที่

 

สำหรับเงื่อนไขทางด้านเวลา กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วตกลงกันว่าจะหั่นงบประมาณขาดดุลให้ลดลงได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งภายในปี 2013 และรักษาระดับหนี้ต่อจีดีพีให้มีเสถียรภาพภายในปี 2016

 

ทางกลุ่ม G-20 ยังบอกว่า บรรดาธนาคารต่างๆ จำเป็นที่จะต้องปรับเพิ่มระดับทุนของตนขึ้นอีกพอควร พร้อมกับให้ทุกประเทศบังคับใช้กฎเกณฑ์เพื่อเป็นไปตามมาตรฐานใหม่ภายในปี 2012

 

ความคืบหน้าของการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ของโลกหนนี้ ถึงขนาดทำให้นายกรัฐมนตรีเยอรมัน Angela Merkel เอ่ยปากยอมรับว่า บทสรุปในเรื่องเป้าหมายทางการคลังเดินมาไกลเกินกว่าที่ตนคาดหวังไว้ และถือว่าประสบความสำเร็จเมื่อทุกฝ่ายตกลงยอมรับเงื่อนไขร่วมกัน

 

กลุ่ม G-20 ยังเห็นชอบที่จะให้คงแผนกระตุ้นทางการคลังเอาไว้ รวมถึงการดำเนินมาตรการร่วมกันเพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้โดยไม่สะดุด

 

สำหรับท่าทีของประเทศตลาดเกิดใหม่ มีการยอมรับว่าจะใช้มาตรการปกป้องความปลอดภัยทางสังคม หรือ social safety net

 

รวมทั้งเพิ่มการใช้จ่ายทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน และเอื้อให้อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศตนเคลื่อนไหวได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น



การบรรลุข้อตกลงของบรรดาประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจหนนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างฝ่ายที่บอกว่าอยากเห็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก และฝ่ายที่อยากจะให้มีการปรับลดการขาดดุลงบประมาณเป็นอันดับแรก

 

หนึ่งในเสียงคัดค้านมาจากทางบราซิล ที่ต่อต้านการกำหนดเป้าหมายในแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับการปรับลดงบประมาณขาดดุลนี้ โดยบอกว่าคงยากสำหรับประเทศ G-20 บางประเทศในการที่จะทำตามเงื่อนไขดังกล่าวได้โดยไม่ต้องแลกกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต้องชะลอลง

 

 

นักวิเคราะห์คาดตัวเลขจ้างงานสหรัฐร่วง-ว่างงานสูง

 

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในวอลล์สตรีทคาดว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร (nonfarm payroll) ประจำเดือนมิ.ย.ของสหรัฐจะลดลง 110,000 ตำแหน่ง เนื่องจากการจ้างพนักงานชั่วคราวของภาครัฐในส่วนของงานสำมะโนประชากรมีแนวโน้มปรับตัวลดลง และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนมิ.ย.จะพุ่งขึ้นแตะระดับ 9.7%

 

กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรในวันศุกร์ที่ 2 ก.ค.นี้ ในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐได้จ้างพนักงานชั่วคราวจำนวน 411,000 ตำแหน่งเพื่อทำงานด้านการสำรวจสำมะโนประชากร ส่งผลให้ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 431,000 ตำแหน่ง แต่ยังน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะพุ่งขึ้น 508,000 ตำแหน่ง

 

ตลาดแรงงานสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะซบเซา ซึ่งหลักฐานล่าสุดคือจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 19 มิ.ย.ที่มีอยู่สูงถึง 457,000 ราย ซึ่งสร้างความกังวลให้กับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยในการประชุมครั้งหลังสุดเมื่อวันพุธที่ผ่านมา คณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟดกล่าวว่า แม้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐยังคงดำเนินต่อไป แต่อัตราว่างงานที่อยู่ในระดับสูงเป็นปัจจัยสำคัญที่ขัดขวางการขยายตัวของเศรษฐกิจ

เบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟดกล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังไม่ฟื้นตัวเร็วพอที่จะทำให้อัตราว่างงานปรับตัวลดลง และคาดว่าอัตราว่างงานจะยังเคลื่อนไหวที่ระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง

 

นอกจากนี้ เบอร์นันเก้กล่าวว่า การที่เศรษฐกิจโลกถดถอยในระดับลึกมากในช่วงที่ผ่านมา ทำให้อัตราการฟื้นตัวในขณะนี้อยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น

 

เบอร์นันเก้กล่าวว่า "อัตราว่างงานในสหรัฐยังคงมีแนวโน้มเคลื่อนไหวในระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าประชาชนจำนวนมากจะตกอยู่ภายใต้แรงกดดันทางการเงิน"

 

 

สภาคองเกรสเห็นพ้องแผนยกเครื่องระบบการเงิน

 

ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐ แสดงความยินดีและพอใจที่สภาคองเกรสสามารถตกลงกันได้ในที่สุดเกี่ยวกับแผนการปฏิรูปภาคการเงินครั้งใหญ่ของสหรัฐ หลังจากที่มีการเจรจาต่อรองกันมานานหลายเดือน

 

ผู้นำสหรัฐกล่าวกับผู้สื่อข่าวก่อนออกเดินทางไปร่วมประชุม จี8 และ จี20 ที่แคนาดาว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวที่สมาชิกสภาคองเกรสสามารถตกลงกันได้เมื่อคืนนี้นั้น มีรายละเอียดที่เป็นไปตามความต้องการของเขาถึง 90% และชี้ว่าแผนดังกล่าวจะเป็นการปฏิรูปที่แข็งกร้าวที่สุดนับตั้งแต่ยุค Great Depression

 

ทั้งนี้ คาดว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาสหรัฐจะลงมติรับร่างกฎหมายยกเครื่องภาคการเงินในสัปดาห์หน้าก่อนส่งให้ประธานาธิบดีลงนามเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป

 

กฎหมายปฏิรูปการเงินนี้จะถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญครั้งที่สองของโอบามาในด้านนโยบาย หลังจากที่เขาสามารถผลักดันแผนปฏิรูประบบดูแลสุขภาพจนได้ความเห็นชอบจากสภาคองเกรสและมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

 

สำหรับกฎหมายปฏิรูปภาคการเงินนี้ประสบปัญหาติดขัดกว่าที่จะผ่านความเห็นพ้องของทุกฝ่ายมาได้ โดยก่อนหน้านี้ บรรดาสมาชิกสภาคองเกรสมีความเห็นแตกต่างกันในหลายประเด็น อาทิ การค้าตราสารอนุพันธ์ และการจำกัดความสามารถของสถาบันการเงินในการลงทุนในกองทุนเก็งกำไร เป็นต้น

 

 

สหรัฐลด GDP ไตรมาสแรกปีนี้ เป็น 2.7%

 

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสแรกปีนี้ ขยายตัว 2.7% ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ที่ 3% และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะขยายตัว 3% ต่อปี

 

โดยปกติแล้วกระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยการประเมินจีดีพีไตรมาสละ 3 ครั้ง ซึ่งการทบทวนจีดีพีไตรมาส 1/2553 ในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 แล้ว และกระทรวงฯมีกำหนดเปิดเผยการประเมินจีดีพีไตรมาส 2/2553 ครั้งแรกในวันที่ 30 ก.ค.นี้

 

สำหรับการปรับทบทวนจีดีพีไตรมาสแรกในครั้งสุดท้ายนี้ นับว่าน่าผิดหวัง เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสสี่ปีที่แล้วซึ่งเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวถึง 5.6%

 

ทั้งนี้ การใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนในภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของจีดีพี ต่างก็ถูกปรับทบทวนลง โดยในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้ การขยายตัวของการลงทุนในภาคธุรกิจถูกปรับลดลงเหลือ 11.4% จากที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ที่ 13.1%

 

ขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึงราว 70% ของเศรษฐกิจสหรัฐ ขยายตัว 3% ในไตรมาสแรก ซึ่งต่ำกว่าการประเมินเมื่อช่วงปลายเดือนที่แล้วที่ 3.5%

 

อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวนับว่าดีขึ้นมากจากไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคขยายตัวเพียง 1.6% และยังเป็นการขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 2550

 

ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์หลายรายเชื่อว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอาจชะลอตัวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เนื่องจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลค่อยๆสิ้นสุดลง

 

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนที่แล้วว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว 3.1% ในปี 2553 และจะขยายตัวเพียง 2.6% ในปี 2554

 

ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐเป็น 3.2 - 3.7% ในปีนี้ ซึ่งมากกว่าที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวเพียง 2.8 - 3.5%

 

นอกจากนี้ เฟดคาดการณ์ว่าอัตราว่างงานในสหรัฐจะปรับตัวลดลงสู่ระดับ 9.1 - 9.5% ในปีนี้ จากที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ที่ 9.5 - 9.7% เนื่องจากตลาดแรงงานสหรัฐส่งสัญญาณการฟื้นตัวในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

 

 

วิกฤตหนี้ยุโรปเป็นภัยต่อภาคธนาคารอังกฤษ

 

ธนาคารกลางอังกฤษเตือนวิกฤตหนี้ยูโรโซนถือเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อภาคการธนาคารของอังกฤษ พร้อมแนะให้ธนาคารเพิ่มทุนสำรองเงินสดเพื่อเตรียมรับมือหากเกิดปัญหาขึ้น

 

ในรายงานเสถียรภาพการเงินครั้งล่าสุด แบงก์ชาติอังกฤษได้ขานรับมาตรการที่สหภาพยุโรปได้นำมาใช้เพื่อควบคุมวิกฤตไม่ให้ขยายเป็นวงกว้าง แต่ขณะเดียวกันแบงก์ชาติระบุว่า การที่ธนาคารต่างๆของอังกฤษได้เข้าไปลงทุนหรือมีธุรกรรมเกี่ยวข้องกับธนาคารอื่นๆของยุโรปอาจทำให้ธนาคารของอังกฤษตกอยู่ในความเสี่ยงได้ โดยนักลงทุนยังคงวิตกว่าประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรบางประเทศอาจผิดนัดชำระหนี้

 

ธนาคารกลางอังกฤษระบุว่า ปัญหาหนี้สาธารณะทำให้นักลงทุนเกิดความไม่แน่ใจเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของธนาคารยุโรปบางแห่ง ซึ่งอาจจะส่งผลสืบเนื่องมาถึงภาคการเงินของอังกฤษ

 

ทั้งนี้ ธนาคารของอังกฤษไม่ได้เข้าไปลงทุนโดยตรงในตราสารหนี้ของกรีซและรัฐบาลประเทศอื่นๆในยุโรปที่ได้รับผลผระทบจากวิกฤต อาทิ สเปน โปรตุเกส และไอร์แลนด์

 

อย่างไรก็ตาม แบงก์ชาติชี้ว่า การลงทุนโดยอ้อมมีอยู่ค่อนข้างมาก อาทิ ธนาคารพาณิชย์ของอังกฤษปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้กู้ในเยอรมนีและฝรั่งเศสเป็นมูลค่าถึงราว 2.66 แสนล้านปอนด์ ซึ่งผู้กู้ในสองประเทศดังกล่าวมีการลงทุนเป็นจำนวนมากในสี่ประเทศที่กำลังประสบปัญหาหนี้ ซึ่งถ้าหากวิกฤตหนี้สาธารณะของประเทศเหล่านี้ทวีความรุนแรงขึ้น ธนาคารของอังกฤษที่เป็นผู้ปล่อยกู้ก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย

 

 

อิรักเปิดไฟเขียวต่างชาติร่วมทุนโรงกลั่นฯ 4 แห่ง

 

นายฮุสเซน อัล-ชาห์ริสตานี รมว.พลังงานอิรักกล่าวว่า อิรักกำลังมองหาบริษัทต่างชาติที่ต้องการร่วมทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันใหม่ 4 แห่ง

 

นายชาห์ริสตานีกล่าวในระหว่างการประชุมด้านพลังงานที่กรุงแบกแดด ซึ่งมีบริษัทพลังงานจากทั่วโลกเข้าร่วมประชุมด้วยว่า "การลงทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันใหม่จะต้องใช้ต้นทุนกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ และเป็นโครงการที่รัฐบาลอิรักริเริ่มขึ้นเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันให้ได้ถึง 740,000 บาร์เรล/วัน โดยทางรัฐบาลจะเปิดโอกาสให้บริษัทต่างชาติเข้าร่วมประมูลในโครงการนี้"

 

ทั้งนี้ รมว.พลังงานอิรักกล่าวว่า การลงทุนในโครงการโรงกลั่นน้ำมัน 4 แห่งจะไม่มีการใช้กฎข้อบังคับที่เข้มงวดกับบริษัทต่างชาติ และอิรักพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในทุกๆด้าน

 

รัฐบาลอิรักวางแผนที่จะสร้างโรงกลั่นน้ำมันใหม่ 4 แห่งในเมืองคาร์บาลาซึ่งจะมีกำลังการผลิต 140,000 บาร์เรล/วัน ในเมืองเคอร์คุกซึ่งจะมีกำลังการผลิต 150,000 บาร์เรล/วัน

 

ขณะที่ ในเมืองเมย์ซานและเมืองนาซิริยาห์ ซึ่งจะมีกำลังการผลิต 300,000 และ 150,000 บาร์เรล/วัน ตามลำดับ

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ปัจจุบันกำลังการกลั่นน้ำมันของอิรักมีอยู่ราว 550,000 บาร์เรล/วัน และโรงกลั่นน้ำมันที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากภาวะขาดแคลนการลงทุน ซึ่งเป็นผลมาจากสงครามและการถูกคว่ำบาตรจากสหประชาชาติ

 

ทั้งนี้ อิรักยังคงพึ่งพารายได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นหลัก โดยอิรักมีแหล่งสำรองน้ำมันสูงถึง 1.15 แสนล้านบาร์เรล ซึ่งมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากซาอุดิอาระเบีย และอิหร่าน

 

 

เบลารุสประกาศตัดก๊าซ รัสเซียสู่ยุโรป หากก๊าซพรอมเบี้ยวหนี้

 

ประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก แห่งเบลารุสประกาศให้เวลาบริษัท ก๊าซพรอมอีก 24 ชั่วโมงในการชำระหนี้ค่าธรรมเนียมลำเลียงก๊าซ

 

หากไม่มีการชำระหนี้ ทางรัฐบาลเบลารุสจะระงับการจัดส่งน้ำมันและก๊าซจากรัสเซียไปยังยุโรป ขณะที่ก๊าซพรอมระบุว่า บริษัทไม่ได้เป็นหนี้เบลารุสภายใต้สัญญาฉบับปัจจุบัน และยังได้ส่งเอกสารไปยังเบลารุส เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์

 

ก่อนหน้านี้ ดูเหมือนว่าสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและเบลารุสจะคลี่คลายลงเมื่อทั้งสองฝ่ายระบุว่าได้ชำระหนี้เรียบร้อยแล้ว แต่การออกมาประกาศแสดงท่าทีล่าสุดของประธานาธิบดีเบลารุสนี้ บ่งชี้ว่า สงครามก๊าซระหว่างรัสเซียและเบลารุสยังไม่สิ้นสุดลง

 

เมื่อวานนี้ สื่อในรัสเซียรายงานว่า อเล็กเซ มิลเลอร์ ซีอีโอบริษัทก๊าซพรอม แจ้งให้ประธานาธิบดีดิมิทรี เมดเวเดฟ ทราบว่า ก๊าซพรอมจะลำเลียงก๊าซให้เบลารุสเต็มกำลังเหมือนเดิม หลังจากที่เบลารุสชำระค่าก๊าซที่ค้างไว้เรียบร้อยแล้ว

 

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯที่ประกาศเมื่อวันนี้ (ศุกร์ที่ 25 มิ.ย. 2553)

• จีดีพี ขั้นสุดท้าย (Q1/2010) ขยายตัว 2.7% จากไตรมาสก่อนหน้า

• ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 76.0 จุด

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯที่จะประกาศวันนี้ (จันทร์ที่ 28 มิ.ย. 53)

• รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล (พ.ค.) โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

28 มิ.ย. 2553

 

 

ตลาดทองเอเชีย:ทองดีดเหนือ 1,255 ดอลล์เช้านี้ใกล้สถิติสูงสุดหลังวิตกศก.โลก

 

 

ราคาทองดีดตัวขึ้นในวันนี้ โดยอยู่ห่างจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ที่ทำไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วไม่ถึง 10 ดอลลาร์ โดยได้แรงหนุนจากความวิตกเกี่ยวกับ

เศรษฐกิจโลก หลังการประชุมสุดยอดจี-20 ขณะที่นักลงทุนวิตกต่อความคิดเห็นของ

สหรัฐที่ว่าอิหร่านมีวัตถุดิบที่สามารถนำไปผลิตระเบิดนิวเคลียร์ 2 ลูก

ณ เวลา 09.43 น.ตามเวลาไทย ราคาทองสปอตปรับตัวขึ้นสู่ระดับ

1,255.95 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากที่สัปดาห์ที่แล้ว ราคาทองแท่งแตะจุดสูงสุด

เป็นประวัติการณ์เหนือ 1,264 ดอลลาร์

สัญญาทองล่วงหน้าส่งมอบเดือนส.ค.ของสหรัฐปรับตัวขึ้น 1.78 ดอลลาร์

สู่ 1,258.00 ดอลลาร์/ออนซ์

ทองได้แรงหนุนจากความวิตกเกี่ยวกับความต่อเนื่องและอัตราการฟื้นตัว

ของเศรษฐกิจโลก ซึ่งนักลงทุนยังคงมีความกังวลหลังการประชุมสุดยอดจี-20

ในช่วงสุดสัปดาห์ในแคนาดา, การอ่อนค่าของดอลลาร์ และคำกล่าวจากผู้อำนวยการ

หน่วยข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) ที่ว่า อิหร่านอาจมีวัตถุดิบในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์

2 ลูก และอาจจะทำการผลิตลูกแรกในเวลา 2 ปี

กองทุน SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุน ETF รายใหญ่ที่สุดในโลก

เปิดเผยว่า การถือครองทองของทางกองทุนยังคงไม่เปลี่ยนแปลงที่ระดับสูงสุดเป็น

ประวัติการณ์ที่ 1,316.177 ตัน --จบ--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หากภาพเล็ก คลิ๊กที่รูปภาพจะขยายใหญ่

post-237-031472900 1277699735.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีค่ะ เฮียทองใหม่ ขอบคุณข้อมูลมากมายค่ะ :lol: !thk !thk

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โอย..ไปประชุมเพิ่งกลับมา.. ข้อมูลอ.ทองใหม่เพิ่มมาเพียบเลย..อ่านไม่ทันแล้วววว !45

แต่ยังไงก็ต้องขอบคุณค่าาาา !thk

ยังไงก็อย่าลืมรักษาสุขภาพนะคะ..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...