ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

Wave 5 มักจะ Sideway ก่อนเสมอครับ

รอดูต่อไป ไม่มีใครทราบหรอกครับ

 

 

 

ขอบคุณท่านจอมยุทธที่ชี้แนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

!thk ขอบคุณน้องเสมนะค่ะ และคุณส้มโอมือนะค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

ก็ทองคำอยู่ใน Cycle wave 3 ของ wave 3 ก็ต้องเเรงเป็นปกติอะครับ

 

ณ ตอนนี้ $1753 เงินไหลเข้าทองคำหมดเเล้ว ใครมีของ ปล่อยกำไร วิ่งต่อไป

 

 

 

ขอบคุณคุณเสมครับ :D

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบพระคุณคุณเสมมากๆๆครับผม

 

!01 !01 !01

 

!gd !gd !gd

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
post-442-080401200 1312878286.gifขอบคุณอาจารย์เสม จอมยุทธกระบี่ไร้ใจมากครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

5555 ว่างๆเจอกันครับ พี่ส้มโอ

 

 

สะดวกเมื่อไหร่ นัดมาครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันที่ 8 สิงหาคม 2554 04:00ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

คอลัมนิสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเศรษฐกิจ คอลัมน์ "เศรษฐศาสตร์จานร้อน"

จำนวนคนอ่าน 1298 คน.ปัญหาของประเทศพัฒนาแล้วและผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก (1)

โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

 

ในรอบกว่า 1 ปีที่ผ่านมาเราจะได้รับทราบข่าวเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศพัฒนาแล้วมาอย่างต่อเนื่อง

 

รวมทั้งล่าสุดคือปัญหาหนี้สาธารณะและความพยายามลดการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐ ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันในประเด็นสำคัญๆ ดังนี้ คือ

 

 

1. ประเทศพัฒนาแล้วมักจะมีระบบการประกันสังคมและรัฐสวัสดิการที่พัฒนาไปจนอิ่มตัว ทำให้รัฐบาลรับภาระแทนประชาชนค่อนข้างมากในด้านของการประกันสุขภาพ การให้เบี้ยเลี้ยงคนชราและผู้ว่างงาน ฯลฯ ในขณะที่ประชาชนกำลังเข้าสู่วัยชราเป็นจำนวนมาก แต่จะเป็นคนชราที่มีอายุยืนยาว ทำให้ภาระในด้านจัดหาสวัสดิการให้กับประชาชนนั้นจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเกินกว่าที่รัฐบาลจะรองรับได้ในระยะยาว เพราะเมื่อจัดตั้งรัฐสวัสดิการขึ้นเมื่อ 50 ปีก่อนหน้านั้นประชาชนมีอายุขัยประมาณ 65 ปี ดังนั้น เมื่อเกษียณอายุที่ 60 ปี ประชาชนรุ่นลูกจะต้องเสียภาษีให้รัฐบาลนำไปเลี้ยงดูประมาณ 5 ปี แต่ในปัจจุบันแม้จะให้เกษียณอายุที่ 65 ปี แต่ประชากรมีอายุขัย 73-78 ปี ทำให้ภาระของรัฐบาลต้องเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะที่ประชากรที่อยู่ในวัยทำงานมีจำนวนลดลงเพราะอัตราการเกิดลดลงอย่างมากในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา

 

 

2. ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2008-2010 นั้น รัฐบาลต่างๆ เร่งกู้เงินและยอมขาดดุลงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยหวังจะจำกัดผลกระทบของการถดถอยทางเศรษฐกิจต่อประชาชนให้น้อยที่สุด กล่าวคือพยุงเศรษฐกิจให้ไม่ตกต่ำมากและฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้หนี้สาธารณะต่อจีดีพีของประเทศพัฒนาแล้วเพิ่มขึ้น 20-30% ของจีดีพีในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

 

 

3. แต่เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วโดยรวมไม่ฟื้นตัวเร็วและแข็งแกร่งตามที่คาดหวังไว้ ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2008-2009 ซึ่งเกิดขึ้นจากวิกฤติการเงินและการธนาคาร (financial crisis) ซึ่งแตกต่างจากการถดถอยทางเศรษฐกิจทั่วไปที่มักเกิดจากปัญหาเงินเฟ้อและความร้อนแรงเกินไปของเศรษฐกิจ ทำให้ธนาคารกลางเร่งปรับดอกเบี้ยขึ้นจนฉุดเศรษฐกิจให้ถดถอยลงและเมื่อลดดอกเบี้ยลงหลังจากเงินเฟ้อชะลอตัวลง เศรษฐกิจก็สามารถฟื้นตัวได้โดยง่าย แต่วิกฤติการเงินซึ่งเป็นผลมาจากการสร้างฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์และการสร้างหนี้สินเกินตัวนั้นจะเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อและฟื้นตัวได้เชื่องช้า เช่น กรณีของญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจเข้าสู่วิกฤติในปี 1989 แต่จนทุกวันนี้ก็ยังฟื้นตัวอย่างกระท่อนกระแท่น

 

 

4. การฟื้นตัวอย่างเชื่องช้าของเศรษฐกิจนั้นกำลังทำให้นโยบายการคลังที่มุ่งเน้นจะกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการขาดดุลงบประมาณปีละมากๆ กลายเป็นภาระ เพราะทำให้หนี้สินพอกพูนจนบริษัทจัดอันดับความเสี่ยงขู่ว่าจะลดความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาล ทำให้ดอกเบี้ยที่รัฐบาลจะต้องจ่ายในการกู้เงินต้องถีบตัวสูงขึ้น เช่น กรณีของกรีซที่ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปีนั้นจะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 30% ต่อปี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่สูงกลายเป็นปัจจัยลบที่ถ่วงให้เศรษฐกิจต้องตกต่ำลงไปอีก

 

 

การจะประเมินสถานะทางเศรษฐกิจและปัญหาหนี้สาธารณะ นั้นสามารถทำได้โดยการพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังที่ปรากฏในตาราง (ข้อมูลคาดการณ์ปี 2011 โดย IMF) จะเห็นว่าในกรณีของเยอรมันนั้นเศรษฐกิจขยายตัว 3% ดีกว่าประเทศอื่น ซึ่งทำให้ไม่มีปัญหาว่างงานเพิ่มขึ้นและรัฐบาลเก็บภาษีได้เพียงพอที่จะไม่ขาดดุลงบประมาณมาก (ขาดดุล 2.4% ของจีดีพี) ดังนั้นหนี้ต่อจีดีพีจึงไม่น่าจะเพิ่มขึ้น เพราะเศรษฐกิจขยายตัวสูงกว่าการขาดดุล นอกจากนั้นเยอรมันยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัด แปลว่าประชาชนใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้จึงน่าจะช่วยอุ้มหนี้สาธารณะที่ 80% ของจีดีพีได้โดยไม่มีปัญหา

 

 

ในกรณีของญี่ปุ่นนั้นหนี้สาธารณะต่อจีดีพีสูงมากถึง 229% แต่อัตราว่างงานไม่สูงมากนัก แต่สถานะของญี่ปุ่นก็ย่ำแย่อย่างมากและได้ถูกลดลำดับความน่าเชื่อถือไปแล้ว และอาจจะต้องถูกลดลำดับลงอีก เพราะรัฐบาลยังขาดดุลงบประมาณสูงถึง 10% ของจีดีพี ในขณะที่เศรษฐกิจหดตัวในปีนี้และจะไม่สามารถขยายตัวได้เกินกว่า 1-2% ต่อปี ในระยะยาวเนื่องจากประชากรของญี่ปุ่นแก่ตัวอย่างรวดเร็ว แต่ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลของญี่ปุ่นยังต่ำกว่า 2% เพราะแม้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะใช้จ่ายเกินตัวอย่างมากแต่ประชาชนญี่ปุ่นใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ เห็นได้จากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องขายพันธบัตรรัฐบาลให้กับชาวต่างชาติ (ต่างชาติถือพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นเพียง 2%) แต่ใน 4-5 ปีข้างหน้า เมื่อประชาชนของญี่ปุ่นต้องใช้จ่ายเกินรายได้ (เพราะเข้าสู่วัยชรา) รัฐบาลจะต้องขายพันธบัตรให้กับต่างชาติก็จะถูกกดดันอย่างมากเพราะหากต้องจ่ายดอกเบี้ยเกินกว่า 4-5% ก็น่าจะเป็นภาระที่สูงเกินกว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะแบกรับได้

 

 

หนี้สาธารณะของกรีซที่ 150% ของจีดีพีเป็นภาระที่รัฐบาลและประเทศกรีซโดยรวมไม่สามารถแบกรับได้ ทำให้ต้องรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลในกลุ่มเงินสกุลยูโรถึง 2 ครั้งรวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 2 แสนล้านยูโร แต่ปัญหาก็ยังไม่ได้ถูกแก้ไขอย่างเบ็ดเสร็จ เพราะมาตรการที่ใช้แก้ปัญหานั้นเป็นการยืดหนี้เป็นหลัก ขณะที่ปัญหาของกรีซนั้นต้องแก้ด้วยการลดหนี้ กล่าวคือหากหนี้สาธารณะของกรีซหายไปครึ่งหนึ่งเหลือ 80% ของจีดีพี จึงน่าจะช่วยให้เศรษฐกิจกรีซสามารถฟื้นตัวได้บ้าง แต่ในทางการเมืองนั้นผู้เสียภาษีชาวเยอรมัน (และผู้อุปถัมภ์อื่นๆ) คงจะยอมไม่ได้ ปัญหาจึงจะยืดเยื้อต่อไปและจะปะทุขึ้นมาได้อีกในอนาคตอันใกล้

 

 

แต่ประเด็นที่ประเทศอื่นๆ (รวมทั้งไทย) กำลังจับตาดูอย่างใกล้ชิดคือความเสี่ยงที่ปัญหาของกรีซ ไอร์แลนด์และโปรตุเกสจะลามไปยังประเทศอื่นๆ แม้ว่าทั้ง 3 ประเทศจะได้รับการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากรัฐบาลของประเทศยุโรปโดยการลดดอกเบี้ย (ประกาศเมื่อ 21 ก.ค. ที่ผ่านมา) ทั้งนี้ปรากฏว่าดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลของประเทศสเปนและอิตาลีขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องจนสูงถึง 6% ซึ่งหาพิจารณาจากตัวแปรที่กล่าวถึงข้างต้น จะเห็นได้ว่าดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวจะทำให้ทั้งสเปนและอิตาลีประสบปัญหาในการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ ในกรณีของอิตาลีนั้นหนี้สาธารณะสูงถึง 120% ของจีดีพีแปลว่าเมื่อดอกเบี้ยเพิ่มจาก 4% เป็น 6% ภาระดอกเบี้ยก็จะเพิ่มจาก 4.8% ของจีดีพีเป็น 7.2% ของจีดีพี ในขณะที่รัฐบาลก็ยังขาดดุลงบประมาณ 4.3% ของจีดีพี ในขณะที่ประชาชนก็ใช้จ่ายเกินตัว (ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด) 3.4% ของจีดีพี ส่วนสเปนนั้นแม้หนี้สาธารณะจะต่ำที่ 60% ของจีดีพี แต่รัฐบาลกำลังสร้างหนี้ (ขาดดุล) ถึง 6.2% ของจีดีพี และเศรษฐกิจขยายตัวเพียง 0.8% ของจีดีพี แปลว่าหากรัฐบาลต้องรัดเข็มขัดและลดรายจ่าย จีดีพีก็จะต้องติดลบอย่างแน่นอน ซึ่งจะทำให้อัตราการว่างงานที่ 19.4% นั้นย่ำแย่ลงไปอีกและน่าจะเป็นปัญหาทางการเมืองและทางสังคมที่รุนแรง นอกจากนั้นสเปนก็ยังขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึง 4.8% ของจีดีพี แปลว่าชาวสเปนใช้จ่ายเกินตัวและเศรษฐกิจมีความสามารถในการแข่งขันต่ำ นักลงทุนและประชาชนจึงอาจกำลังตั้งคำถามเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐบาลสเปนและความสามารถของสเปนที่จะบริหารหนี้สาธารณะ สำหรับกรณีของสหรัฐนั้นผมขอกล่าวถึงในครั้งหน้าครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เฟดคงดอกเบี้ยยาวดันหุ้นสหรัฐฯทะยาน

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 สิงหาคม 2554 05:08 น. Share

 

 

 

เฟดเผยเมื่อวันอังคาร(9) ตัดสินใจขยายเวลาคงอัตราดอกเบี้ยใกล้ร้อยละศูนย์ออกไป 2 ปีและกำลังขบคิดถึงเครื่องมือต่างๆสำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง แต่ยังไม่ส่งสัญญาณที่จะดำเนินมาตรการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นรอบที่ 3 ทว่าปัจจัยนี้ก็เพียงพอช่วยฉุดวอลล์สตรีท ดีดตัวกลับมาปิดบวกแรง หลังดิ่งลงอย่างหนักในวันจันทร์(8)

 

ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 429.92 จุด (3.98 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 11,239.77 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 124.83 จุด (5.29 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,482.52 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 53.07 จุด (4.74 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,172.53 จุด

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...