ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขอบคุณค่ะ คุณเสม !thk !thk รอระบบเขียวอย่างเดียววววว มาซะทีซิ อิ อิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ว้า...คุณเสมพูดงี้.. ได้ยินแล้วเด็กดื้ออย่างเราช้ำใจจัง..!065

คราวหน้าจาม่ายดื้อแย้ว... !32

รอ..ร๊อ..รอ.. เขียวบ้องแรก.. !37

 

คือว่า อยากรู้ว่า ที่คุณเสมพูดว่า เห็นอะไรดีดี ...นี่ หมายถึง ทองจะขึ้น หรือจะลงคะ ...

 

ขอบคุณมากนะคะ มือใหม่ของรายงานตัวคะ...

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิเคราะห์แนวนโยบายของกลุ่มจี 20

คอลัมน์ เศรษฐกิจต้องรู้ โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 08 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4225

 

การประชุมกลุ่มจี 20 ที่ผ่านมาเมื่อ 26-27 มิ.ย.ที่นครโทรอนโตประเทศแคนาดานั้นถูกจับตามอง โดยเฉพาะในประเด็นที่เกิดความแตกแยกทางความคิดระหว่างยุโรปกับอเมริกา โดยฝ่ายแรกเห็นว่า จะต้องรัดเข็มขัดทางการคลัง (ลดการขาดดุลงบประมาณ) ทันทีและเร่งรัดให้หนี้สาธารณะต่อจีดีพีหยุดขยายตัวโดยเร็ว ในขณะที่สหรัฐอยากให้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังอย่างต่อเนื่อง เพราะเศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวอย่างกระท่อนกระแท่น หากถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก่อนเวลาอันควรเศรษฐกิจโลกอาจฟุบตัวได้ในปี 2011 ดังนั้นแถลงการณ์ของจี 20 ที่ออกมาเมื่อ 27 มิ.ย.จึงมีความยาวเป็นพิเศษคือ 48 ย่อหน้ากับอีก 3 ภาคผนวกมีความยาวรวมทั้งสิ้น 27 หน้า เปรียบเทียบกับการประชุมจี 20 ที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 2 เมษายน ซึ่งแถลงการณ์ในครั้งนั้นเร่งรัดให้ทุกประเทศโถมกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย ทุกมาตรการที่มีอยู่อย่างไม่ต้องยั้งมือ โดยแถลงการณ์มีเพียง 29 ย่อหน้า ยาวไม่ถึง 10 หน้า เพราะต่างฝ่ายมีความเข้าใจและความมุ่งมั่นไปในทิศทางเดียวกัน

 

ทำไมสหรัฐกับยุโรปจึงแตกคอกันในเชิงของการมองทิศทางนโยบายไปสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ? ประเด็นหลักน่าจะมาจากการที่ประเทศในยุโรปต้องรับภาระจัดการดูแลผลกระทบจากปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซ ซึ่งตอกย้ำว่าหาก รัฐบาลใช้จ่ายเกินตัวและสร้างหนี้สาธารณะให้อยู่ที่ระดับสูงก็อาจถูกกลไกตลาด (นักลงทุนที่ซื้อตราสารหนี้รัฐบาล) ลงโทษ อย่างรุนแรงและไม่ไว้หน้า

 

กล่าวคือ ประเทศกรีซนั้นแม้ว่าช่วงที่เศรษฐกิจโลกวิกฤตอย่างหนักในปลายปี 2008 ถึงปลายปี 2009 ก็ยังสามารถกู้ยืมเงินจากตลาดได้ โดยการ ออกพันธบัตรรัฐบาลและจ่ายดอกเบี้ยประมาณ 5-6% ต่อปีสำหรับพันธบัตร 10 ปี และจ่ายดอกเบี้ย 2-4% สำหรับพันธบัตร 2 ปี แต่ในปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคมที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวแล้ว พันธบัตรรัฐบาลกรีกต้องถูกกดราคาลง ทำให้รัฐบาลกรีกต้องยอมจ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 12-18% ต่อปี สำหรับพันธบัตร 2 ปีถึง 10 ปี และแม้จะได้รับอนุมัติกองทุนช่วยเหลือฉุกเฉินจากยุโรปและไอเอ็มเอฟเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 110,000 ล้านยูโร หรือเกือบ 50% ของจีดีพีของกรีซในเดือนพฤษภาคม แต่ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลก็ยังสูงถึง 10% ในปัจจุบัน กล่าวคือ ประเทศยุโรปเห็นถึงภัยอันตรายของประเทศที่ไม่รักษาวินัยทางการคลัง นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอังกฤษเร่งออกมาตรการลดการขาดดุลงบประมาณจาก 11% ของจีดีพีในปี 2009 ให้สามารถจัดงบประมาณสมดุลได้ในเวลา 4 ปี โดยบอกกับประชาชนว่าไม่ต้องการให้ประเทศอังกฤษอยู่ในภาวะเสี่ยงภัยเช่นที่ได้เกิดขึ้นกับประเทศกรีซ

 

ดังนั้นแถลงการณ์ของกลุ่มจี 20 จึงได้กำหนดเป้าหมายของการลดการขาดดุล งบประมาณให้เหลือครึ่งหนึ่งใน 3 ปี และให้หนี้สาธารณะต่อจีดีพีไม่เพิ่มขึ้นภายใน ปี 2016 อย่างไรก็ดี เป้าหมายดังกล่าว มีข้อยืดหยุ่นให้ประเทศต่าง ๆ ปรับนโยบายการคลังให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ของตนเช่นกรณีของญี่ปุ่นซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวช้าและหนี้สาธารณะอยู่ที่ระดับสูง (เกือบ 200% ของจีดีพี) ทำให้ต้องปรับตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

 

แต่จี 20 ก็แสดงความเป็นห่วงว่าการปรับลดการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังนั้นต้องทำด้วยความระมัดระวังเพื่อให้ภาคเอกชนสามารถฟื้นตัวต่อไปได้และมีความเสี่ยงว่าหากรัฐบาลทุกประเทศรัดเข็มขัดพร้อมกัน (synchronized fiscal adjustment) ก็จะส่งผลกระทบในทางลบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยัง ไม่อยู่ตัว (recovery and repair remaining incomplete, recovery of private demand not yet fully in place) ดังนั้นจึงชี้นำให้ประเทศพัฒนาแล้วที่ขาดดุล (น่าจะหมายถึงขาดดุลทั้งงบประมาณและขาดดุลบัญชีเดินสะพัด) เพิ่มการออมและเร่งขยายตลาดส่งออก (ย่อหน้า 11 ของแถลงการณ์) ในขณะที่ประเทศซึ่งเกินดุล (หมายถึงเกินดุลบัญชีเดินสะพัด) กล่าวคือประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะจีนให้ ปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อลดการพึ่งพาตลาด ส่งออกและเน้นการขยายตลาดภายในประเทศให้เป็นหัวจักรของการขยายตัว ทางเศรษฐกิจ (ย่อหน้า 12 ของแถลงการณ์)

 

อ่านดูอย่างผิวเผินแล้วก็อาจวางใจในระดับหนึ่งว่า ข้อเสนอของจี 20 จะทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้โดยต่อเนื่องไม่สะดุดตัวลง แต่ผมเป็นห่วงว่ากระแสการ รัดเข็มขัดทางการคลังจะรุนแรงกว่าที่คิดกัน เพราะในยุโรปนั้นไม่สบายใจกับการ ขาดวินัยทางการคลังเป็นทุนมาก่อนแล้ว ด้วยอุดมการณ์ที่อนุรักษนิยมโดยเฉพาะเยอรมนีซึ่งเคยเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ อย่างรุนแรงในช่วงระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 1 และ 2 ที่ประชาชนต้องนำเงินใส่รถเข็นไปซื้อขนมปังปอนเดียว ทำให้เยอรมนีประกาศลดการขาดดุลงบประมาณกว่า 80,000 ล้านยูโรภายใน 3 ปี ทั้ง ๆ ที่สหรัฐมองว่าเยอรมนีควรกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการขาดดุลงบประมาณต่อไป เพราะหนี้สาธารณะยังต่ำและประเทศก็เกินดุลบัญชีเดินสะพัด

 

ในสหรัฐเองก็มีปัญหาว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมหึมามูลค่า 8 แสนล้านเหรียญกำลังจะอ่อนแรงลง ทำให้รัฐบาล โอบามาพยายามออกงบประมาณรอบสองมูลค่า 2 แสนล้านเหรียญ แต่ต้องเผชิญกับแรงต่อต้านในสภา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากวุฒิสภา) ทำให้ต้องลดทอนลงมาเหลือ 113,000 ล้านเหรียญ แต่ก็ถูกวุฒิสภา เสียงข้างน้อยสกัดกั้นในที่สุด โดยงบฯกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุดนั้นได้รับเสียงสนับสนุนจากวุฒิสภาเพียง 57 เสียง (วุฒิสมาชิกมีอำนาจมากในการชะลอกฎหมายหากเสียงข้างมากมีไม่ถึง 60 เสียงจาก 100 เสียง) ประเด็นคือทั้งสหรัฐและยุโรปอาจเข้าสู่สภาวะรัดเข็มขัดทางการคลังในปี 2011 ทำให้ต้องพึ่งพาภาคเอกชนเป็นหลัก เพราะธนาคารกลางเองก็ไม่สามารถปรับดอกเบี้ยลงได้อีกและอาจต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นบ้างในกรณีที่ค่าเงินอ่อนตัวลงไปมาก เช่นกรณีของเงิน ยูโรอาจทำให้ยุโรปต้องพิจารณาการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปลายปี 2011 เป็นต้น

 

อีกข้อเสนอหนึ่งที่ยังแฝงอยู่ในความต้องการของประเทศพัฒนาแล้ว คือการกดดันให้จีนปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่าและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศด้วยนโยบายการคลังเพื่อขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก การปรับค่าเงินหยวนไปสู่การกำหนดค่าด้วยตะกร้าเงินที่ธนาคารกลางจีนประกาศออกมาก่อนการประชุม จี 20 หนึ่งสัปดาห์ได้ทำให้ประเทศในเอเชียตื่นเต้นว่าเมื่อจีนปรับค่าเงินหยวนแล้วเอเชียก็จะได้ประโยชน์และส่งสินค้าออกไปที่จีนเพิ่มขึ้นไปด้วย ตลาดหุ้นในเอเชียก็ปรับตัวขึ้นรับข่าวดีโดยทันที

 

ผมเองสงสัยว่าพวกเราในเอเชียจะเหมาเอาว่าเป็นข่าวดีได้จริงหรือ สมมุติว่าเงินหยวนแข็งค่า เงินสกุลอื่น ๆ ในเอเชียก็น่าจะแข็งค่าตามไปด้วย เพราะเรามีสถานะเหมือนกับจีนคือพึ่งการส่งออก โดยกดค่าเงินให้ "แข่งขันได้ในตลาดโลก" และเกินดุลการค้าเป็นจำนวนมาก หากวิเคราะห์ตามทฤษฎีของ Robert Mundell ผู้ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็น "บิดาของเงินยูโร" ก็จะสามารถไล่เรียงผลที่จะตามมาดังนี้

 

หากสมมุติว่าเงินทุนสามารถไหลเข้า-ออกในโลกได้โดยเสรี การกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศของกลุ่มประเทศเอเชียโดยอาศัยนโยบายการคลัง (หรือมาตรการใดก็ตามที่ส่งเสริมการใช้จ่ายของประชาชน) สิ่งที่จะตามมาคือ ดอกเบี้ยที่จะปรับสูงขึ้นตามการขยายตัว (ความร้อนแรง) ของเศรษฐกิจซึ่งจะนำไปสู่การไหลเข้าของเงินทุน หากรัฐบาลเอเชียต้องการตรึงไม่ให้ค่าเงินของตนแข็งค่าก็จะต้องเข้าแทรกแซงโดยซื้อดอลลาร์มาเก็บเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ หรือปล่อยให้เงินทุนที่ไหลเข้ามากระตุ้นเงินเฟ้อในประเทศหรือออกมาตรการกีดกันเงินทุนไหลเข้า (capital control)

 

แต่ขณะนี้ประเทศพัฒนาแล้ว กดดันให้ประเทศกำลังพัฒนาปล่อยให้เงินของตนแข็งค่าขึ้น ในกรณีดังกล่าวการแข็งค่าขึ้นของเงินเอเชียจะทำให้การส่งออกของเอเชียลดและการนำเข้าเพิ่มขึ้น กล่าวคือ การส่งออกสุทธิของเอเชียจะต้องลดลงเท่ากับแรงกระตุ้นตลาดภายในที่เพิ่มขึ้น ทำให้โดยรวมแล้วจีดีพีของเอเชียจะไม่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะทั้งสองจะต้องหักลบกันพอดี

 

คำถามคือ แรงกระตุ้นตลาดภายในเศรษฐกิจเอเชียหายไปไหน ? คำตอบคือแรงกระตุ้นดังกล่าวจะถูกส่งผ่านไปยังประเทศพัฒนาแล้วที่จะได้ประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากการส่งออกสุทธิของตนที่จะเพิ่มขึ้น หมายความว่าประโยชน์ ของการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศเอเชียทั้งหมดจะถูกโอนไปเป็นประโยชน์กับประเทศพัฒนาแล้วผ่านอัตราแลกเปลี่ยน ท่านที่อยากศึกษาทฤษฎีของ Mundell ในรายละเอียดสามารถอ่านได้จากตำราเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศที่มีอยู่ทั่วไปครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
:wacko:แดงแล้วหรือ น้องทอง รอสัญญาณเขียวทองแรกมานะครับ คุณเสม ขายไม่ทันพึงต่อ net ได้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:wacko:แดงแล้วหรือ น้องทอง รอสัญญาณเขียวทองแรกมานะครับ คุณเสม ขายไม่ทันพึงต่อ net ได้

 

แล้วจะขายทันเหรอค่ะ มาให้กำลังใจ

แ่ต่เห็นเสี่ยบอกว่าจะมีอะไรดีๆ ไม่รู้วา่จะช่วยคุณ goldmember ได้ป่าวนะค่ะ

ส่วนตัวออกไปตั้งแต่แดงแรกแล้วค่ะ

เอาใจช่วยนะค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

!thk !thk !thk ขอบคุณคะจารเสม เห็นอะไร ดีดี รอลุ้นคืนนี้คะ !38

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อาจารย์ครับ ลืมบอก set กับ น้ำมัน คร้าบ

:wub: :wub:

ขอบคุณครับ

 

ขอโทษค่ะพอดีกดผิด กดจากมือถืออยากลบออกทำยังไงอ่ะคะ

ถูกแก้ไข โดย jubjib

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...