ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ขอบคุณอาจารย์เสม ที่กลับมาให้ความรู้ครับ ขอบคุณจากใจจริงครับ

 

"เอ๊กซ์"

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณอาจารย์เสม ที่กลับมาให้ความรู้ครับ ขอบคุณจากใจจริงครับ

 

"เอ๊กซ์"

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณเสมที่กลับมาให้ข้อมูลที่ดีๆสำหรับการลงทุนค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เป็นน้องใหม่ค่ะคุณเสม เพิ่งเข้ามาอ่านวันนี้เอง จากข้อมูลของคุณเสมอ่านแล้วรู้สึกปลอดภัยในการเล่นทองแท่ง ก็เลยอยากซื้อขายกับเค้าบ้างน่ะแต่มีเงินเย็นอยู่ไม่มากนัก ถ้าซื้อวันจันทร์จะสายไปมั๊ยค่ะ ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ :rolleyes:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เป็นน้องใหม่ค่ะคุณเสม เพิ่งเข้ามาอ่านวันนี้เอง จากข้อมูลของคุณเสมอ่านแล้วรู้สึกปลอดภัยในการเล่นทองแท่ง ก็เลยอยากซื้อขายกับเค้าบ้างน่ะแต่มีเงินเย็นอยู่ไม่มากนัก ถ้าซื้อวันจันทร์จะสายไปมั๊ยค่ะ ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ :rolleyes:

ผมเข้าซื้อวันจันทร์นี้ครับ เพราะระบบเขียวบ้องแรกครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เกิดอะไรขึ้นเราไม่รู้ แต่เราว่าคุณเสมวางตัวเหมาะสมดีแล้ว ไม่เห็นมีข้อเสียหายตรงไหน อยุ่กับพวกเราเถอะอย่าไปไหนเลย พี่ให้กำลังใจค่ะ

เราคนบ้านเดียวกัน จำได้ป่าว

คุณเสมน่ารักและมีน้ำใจมากครับ อีกอย่างคุณเสมเป็นหนุ่มหล่อ หุ่นนักกีฬา โสด(ยืนยันว่าเรื่องจริงนะครับ ลงแบบนี้จะผิดกฏมั้ยครับ ถ้าผิดกฏจะรีบลบครับ)

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางอังกฤษเตือนวิกฤตยูโรโซนเป็นภัยต่อภาคธนาคารอังกฤษ

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 26 มิถุนายน 2553 17:53:59 น.

ธนาคารกลางอังกฤษเตือนวิกฤตหนี้ยูโรโซนถือเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อภาคการธนาคารของอังกฤษ พร้อมแนะให้ธนาคารเพิ่มทุนสำรองเงินสดเพื่อเตรียมรับมือหากเกิดปัญหาขึ้น

 

ในรายงานเสถียรภาพการเงินครั้งล่าสุด แบงก์ชาติอังกฤษได้ขานรับมาตรการที่สหภาพยุโรปได้นำมาใช้เพื่อควบคุมวิกฤตไม่ให้ขยายเป็นวงกว้าง แต่ขณะเดียวกันแบงก์ชาติระบุว่า การที่ธนาคารต่างๆของอังกฤษได้เข้าไปลงทุนหรือมีธุรกรรมเกี่ยวข้องกับธนาคารอื่นๆของยุโรปอาจทำให้ธนาคารของอังกฤษตกอยู่ในความเสี่ยงได้ โดยนักลงทุนยังคงวิตกว่าประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรบางประเทศอาจผิดนัดชำระหนี้

ธนาคารกลางอังกฤษระบุว่า ปัญหาหนี้สาธารณะทำให้นักลงทุนเกิดความไม่แน่ใจเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของธนาคารยุโรปบางแห่ง ซึ่งอาจจะส่งผลสืบเนื่องมาถึงภาคการเงินของอังกฤษ

 

ทั้งนี้ ธนาคารของอังกฤษไม่ได้เข้าไปลงทุนโดยตรงในตราสารหนี้ของกรีซและรัฐบาลประเทศอื่นๆในยุโรปที่ได้รับผลผระทบจากวิกฤต อาทิ สเปน โปรตุเกส และไอร์แลนด์ อย่างไรก็ตาม แบงก์ชาติชี้ว่า การลงทุนโดยอ้อมมีอยู่ค่อนข้างมาก อาทิ ธนาคารพาณิชย์ของอังกฤษปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้กู้ในเยอรมนีและฝรั่งเศสเป็นมูลค่าถึงราว 2.66 แสนล้านปอนด์ ซึ่งผู้กู้ในสองประเทศดังกล่าวมีการลงทุนเป็นจำนวนมากในสี่ประเทศที่กำลังประสบปัญหาหนี้ ซึ่งถ้าหากวิกฤตหนี้สาธารณะของประเทศเหล่านี้ทวีความรุนแรงขึ้น ธนาคารของอังกฤษที่เป็นผู้ปล่อยกู้ก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จับตาหนี้สาธารณะของโลก

คอลัมน์ ระดมสมอง โดย เพสซิมมิสต์ ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4221

 

 

 

ปัญหาหนี้สาธารณะกำลังเป็นปัญหาที่พูดกันหนาหูมากขึ้น และมีบทวิเคราะห์ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยอาจเป็นปัญหาที่ลุกลามสร้างความเสียหายจนกระทั่งส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หมายความว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกอาจไม่สดใสดังที่หลายคนกำลังคาดหวังเอาไว้ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาจกลายเป็นตัว "W" หรือฟื้นตัวแล้วก็ทรุดตัวได้ในปีหน้า

 

หนี้สาธารณะของโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างน่าใจหายจริง ๆ ทั้งนี้นิตยสารอีโคโนมิสต์ได้จัดทำแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สาธารณะทั่วโลกที่เว็บไซต์ http://buttonwood.economist.com/content/gdc ทั้งนี้ buttonwood คือนามปากกาของผู้ที่เขียนคอลัมน์วิเคราะห์เศรษฐกิจของนิตยสารอีโคโนมิสต์ซึ่งผู้เขียนจะผลัดเปลี่ยนกันไป

 

เมื่อเปิดเว็บไซต์ดังกล่าวก็จะเห็นตัวเลขหนี้สาธารณะของโลกขึ้นมาที่จอทันที และท่านผู้อ่านอาจจะเพลิดเพลินกับการปรับขึ้นของหนี้สาธารณะซึ่งปัจจุบันเพิ่มขึ้นประมาณ 10 ล้านเหรียญสหรัฐทุก ๆ นาที หรืออีกนัยหนึ่งคือ ประชาชนโลกจะต้องรับภาระหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นคนละประมาณ 2 เหรียญสหรัฐต่อ 24 ช.ม.นั่นเอง หนี้สาธารณะของโลกได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมาเห็นได้จากตารางข้างล่าง

 

จะเห็นได้ว่าหนี้สาธารณะของโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวภายในระยะเวลาเพียง 10 ปีตั้งแต่เริ่มศตวรรษปัจจุบันจาก 2000-2010 คือเพิ่มจาก 18.84 ล้านล้านเหรียญมาเป็น 38.58 ล้านล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการเพิ่มที่น่าใจหาย การเพิ่มของหนี้สาธารณะนั้นเพิ่มในอัตราที่เร่งตัวคือในช่วง 2000-2005 หนี้เพิ่ม 5.95 ล้านล้านเหรียญ แต่ในช่วง 2005-2010 การเพิ่มของหนี้สาธารณะก้าวกระโดดเป็น 13.74 ล้านล้านเหรียญ กล่าวคือเพิ่มปีละประมาณ 1.2 ล้านล้านเหรียญในช่วง 2002-2005 เป็นปีละ 2.5 ล้านล้านเหรียญในช่วง 2005-2010 แต่ก็ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับการเพิ่มของหนี้สาธารณะในปี 2011 (ประมาณการ) ที่ 5.12 ล้านล้านเหรียญจากปี 2010 ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มที่จะปล่อยให้เกิดขึ้นไม่ได้เพราะเศรษฐกิจโลกจะไม่สามารถรองรับการเพิ่มตัวของหนี้อย่างต่อเนื่องได้อย่างแน่นอน โดยดูจากการประเมินจีดีพีของโลกโดยไอเอ็มเอฟเปรียบเทียบกับหนี้สาธารณะที่พอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

จะเห็นได้จากตารางข้างต้นว่า ในครึ่งแรกของทศวรรษนั้นจีดีพีของโลกขยายตัวเร็วกว่าหนี้สาธารณะ ทำให้สัดส่วนของหนี้สาธารณะปรับลดลงจาก 58.7% ในปี 2000 มาเป็น 54.6% ในปี 2005 แต่สถานการณ์ถดถอยลงในครึ่งหลังของทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้สัดส่วนของหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นไปสู่ขีดอันตรายที่ 62.4% ของจีดีพี (มาตรฐานสากลนั้นกำหนดให้หนี้สาธารณะไม่ควรเกิน 60% ของจีดีพี) แต่หากหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นถึง 75% ของจีดีพีก็น่าจะเป็นภาระที่หนักเกินไปที่เศรษฐกิจโลกจะรองรับได้ ทั้งนี้เพราะประเทศหลักหลายประเทศน่าจะเผชิญปัญหาอย่างมากเนื่องจากประเทศในเอเชียมีหนี้สาธารณะไม่สูงมากนัก (เช่นไทยเองก็มีหนี้สาธารณะเพียง 42-43% ของจีดีพี และไม่น่าจะสูงกว่า 50% ของจีดีพีในปลายปี 2011 ในขณะที่ประเทศจีนมีหนี้สาธารณะประมาณ 30% ของจีดีพี เป็นต้น) แปลว่าประเทศที่จะมีปัญหาหนี้สาธารณะจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่นที่คาดการณ์โดย Bank for International Settlement ซึ่งเป็นองค์กรที่ถือได้ว่าเป็นธนาคารที่ทำหน้าที่นายธนาคารให้กับธนาคารกลางของโลก

 

จะเห็นได้ว่าหนี้สาธารณะของประเทศพัฒนาที่เป็นเศรษฐกิจหลักของโลกกำลังจะเผชิญปัญหาหนี้สาธารณะท่วมตัว คือหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นเป็น 100% ของจีดีพี หรือสูงกว่านั้นภายใน 1-2 ปีข้างหน้า ยกเว้นบางประเทศ เช่น อิตาลี และญี่ปุ่น ซึ่งมีหนี้สินเกินกว่า 100% ของจีดีพีไปแล้ว

 

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าปัญหาหนี้สาธารณะกำลังจะเป็นปัญหาหลักของเศรษฐกิจโลกใน 1-2 ปีข้างหน้า หากแก้ปัญหาไม่ได้เศรษฐกิจโลกก็อาจต้องเผชิญกับปัญหาที่ท้าทายอีกในเร็ววันนี้ ทั้งนี้การแก้ปัญหานั้นจะต้องลดรายจ่ายของภาครัฐลงอย่างมาก และในหลายกรณีต้องเพิ่มภาษีสมทบงบประมาณอีกด้วย โดยมาตรการดังกล่าวต้องไม่กระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจมากนัก เพราะหากการดำเนินการของรัฐทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง รัฐบาลก็ต้องลดรายจ่ายลงไปอีกและเพิ่มภาษีขึ้นไปอีกเพื่อให้สามารถปรับลดการขาดดุลงบประมาณได้ตามเป้าหมายที่กำหนดเอาไว้ จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไปครับ

 

หน้า 34

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

!thk !thk !thk ขอบคุณคุณส้มโอมือคะ คุณเสมน่ารักและมีน้ำใจเห็นด้วยอย่างยิ่งคะ !gd !gd

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดีใจมากๆๆๆๆๆที่คุณ Seam888 กลับมาชี้แนะอีกครั้ง

และไม่ทอดทิ้งสมาชิกที่เฝ้ารอคอยทุกคน เย้...เย้... :D

ขอบคุณจากใจมากๆๆๆๆค่ะ.... :wub:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองคำรายเดือน เอามาให้ดูกันเล่นๆๆ ตอนนี้เรากำลังเล่นอะไรกับทองคำอยู่

post-31-096599000 1277617877.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เป้าหมายต่อไปอันใกล้นี้ รอดูเเถวๅ $1330 เพื่อการศึกษานะครับไม่มีใครรู้อนาคตที่เเท้จริง

post-31-075893900 1277618485.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ น้องเสม น้องส้มโอมือ

วันจันทร์จะเข้าน่ะ ทองแท่งหรือกองทุนล่ะคะ

พี่ปุณณ์เคยอ่านเจอในพันทิพว่าที่ปันผล เพราะ ผจก. คาดว่าทองจะลง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...