ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

นักเศรษฐศาสตร์แนะ จีนลดถือครองพันธบัตรพี่กัน

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 กรกฎาคม 2553 14:52 น.

 

 

 

กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. - แฟ้มภาพเอเยนซี่

 

 

รอยเตอร์ - นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังแดนมังกรแนะ รัฐบาลปักกิ่งควรคว้าโอกาสในช่วงที่ตลาดมีความต้องการสูง ลดปริมาณการถือครองพันธบัตรสหรัฐฯ เสียบ้าง

 

รัฐบาลปักกิ่งลดการถือครองพันธบัตรสหรัฐฯ ในเดือนพ.ค. จำนวน 32,500 ล้านดอลลาร์ เหลือ867,700 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม จีนมีการซื้อพันธบัตรระยะยาวสุทธิ 3 พันล้านดอลลาร์ และยังคงเป็นผู้ถือตราสารหนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ รายใหญ่ที่สุดในโลก จากรายงานของกระทรวงการคลังสหรัฐเมื่อวันศุกร์ (16 ก.ค.)

 

นายอี้ว์ ย่งติง อดีตที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการของธนาคารกลางแดนมังกร และปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำสถาบันการศึกษารัฐศาสตร์แห่งจีน( the Chinese Academy of Social Sciences) ได้เขียนบทความลงในวารสาร the China Securities Journal ระบุ รัฐบาลจีนควรลงทุนในสินทรัพย์ ซึ่งอยู่ในรูปสกุลเงินอื่น รวมทั้งเครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ บ้าง แม้มิใช้วิธีทดแทนการลงทุนในพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ดีที่สุดก็ตาม แต่การกระจายการลงทุนก็ควรเป็นหลักการเบื้องต้น

 

“เมื่อความต้องการพันธบัตรสหรัฐฯ แข็งแกร่ง นับเป็นโอกาส ที่หาได้ยากสำหรับเราในการค่อย ๆ ถอยออกมา ด้วยวิธีการนั้น จะไม่กระทบต่อราคารุนแรงนัก และจีนจะไม่ได้รับความเสียหายมากจนเกินไป” นายอี้ว์แนะนำ

 

ด้านนายจาง ม่อหนัน นักวิจัยของศูนย์ข้อมูลแห่งรัฐ (the State Information Center) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยในสังกัดของคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ ระบุในรายงานว่า จีนควรนำทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ซึ่งมีจำนวนมหาศาลมากที่สุดในโลกถึง 2.5 ล้านล้านดอลลาร์ ออกมาลงทุนในสินทรัพย์ ซึ่งมีความความคุ้มค่าในการลงทุน เช่น ทองคำ ให้มากกว่าที่เป็นอยู่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณเสมและคุณส้มโอมือด้วยค่ะ บวกให้คนละ 1 ค่ะ !thk !thk

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พบสัญญาณเงินนอกป่วนไทย ธปท.ผวาเฮจด์ฟันด์คืนชีพ-เตือนรับมือ

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 กรกฎาคม 2553 00:39 น.

 

 

ธปท.เตือนผู้ส่งออก-นำเข้า เตรียมพร้อมรับมือตลาดเงินผันผวน แนะทำประกันความเสี่ยง พบสัญญาณเงินร้อนต่างชาติทะลักเข้าตลาดเอเชีย กังวลเฮจด์ฟันด์คืนชีพป่วนตลาดเงินโลก ชี้ ไทยเสี่ยงสูง เพราะมีส่วนต่างฟันกำไร 3 ต่อ ทั้งตลาดหุ้น ดอกเบี้ย และค่าเงินบาท

 

วานนี้ นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "แนวโน้มเศรษฐกิจโลก และความผันผวนของค่าเงิน" จัดโดยกรมสำนักส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ โดยคาดว่า ทิศทางการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกช่วงครึ่งหลังปี 2553 จะชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก และขณะนี้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างชัดเจน จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เชื่อภาพรวมทั้งปีจะยังฟื้นต่อและขยายตัวต่อเนื่อง โดยไม่น่าจะมีการเกิดวิกฤติรอบ 2 อีกครั้ง (Double Dip) จากเหตุการชะลอตัวอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจยุโรป อย่างที่มีการคาดการณ์ไว้ในช่วงก่อนหน้านี้

 

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดการเงินทั่วโลก รวมถึงความเสี่ยงของค่าเงินบาทจะมีมากขึ้น ด้วยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจยุโรปจากปัญหาหนี้สหรัฐ โดยเฉพาะผลของการตรวจสอบความมั่งคงของสถาบันการเงิน ในภาวะวิกฤต (Stress Testing) จำนวน 90 แห่งเพื่อประเมินความเพียงพอของกองทุน ในยุโรปนั้น หากผลออกมาไม่ดีจะกระทบต่อสถาบันการเงินในประเทศฝรั่งเศส และเยอรมันที่ลงทุนในตราสารหนี้สกุลยุโรปโดยเฉพาะกลุ่มที่มีปัญหาหนี้สาธารณะค่อนข้างมากซึ่งจะกระทบค่าเงินยูโรให้อ่อนค่าต่อเนื่อง

 

ขณะที่การว่างงานในสหรัฐฯ ที่กลับมาติดลบอีกครั้ง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจในระยะต่อไป ส่วนประเทศในเอเชียได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกน้อยทำให้หลายประเทศกำลังทยอยปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการเงิน และการคลัง โดยหลายประเทศรวมทั้งไทยได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดูแลเงินเฟ้อมากขึ้น

 

"มองว่าในเอเชียแทบทุกประเทศขึ้นดอกเบี้ยนโยบายกันหมดเพื่อควบคุมเงินเฟ้อไม่ให้สูงและสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สำหรับธปท.ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 0.25% แม้จะทำให้ค่าเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ช่วยลดแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อลงได้" อย่างไรก็ตามส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศในกลุ่มจี 3 ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น กับเอเชีย ส่งผลให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายจากตะวันตก มายังเอเชียรวมถึงประเทศไทยมากขึ้น เพื่อหาช่องทางในการทำกำไร"

 

ดังนั้น ผู้นำเข้า และผู้ส่งออก ควรติดตามการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนจากต่างประเทศ ที่เข้ามาในไทยจะมีปริมาณมากขึ้น ซึ่งจะไหลเข้าออกเร็วมากขึ้น และคงเกิดขึ้นหลายรอบ จะมีผลโดยตรงต่อค่าเงินบาท ช่วงนี้ก็เริ่มเห็นการกลับเข้ามาลงทุนของกองทุนเก็งกำไร (Hedge Fund) อีกครั้ง หลังจากที่ล้มตายไปจำนวนมากในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา แต่ต้องยอมรับว่า เป็นปกติของตลาดการเงินและตลาดการค้าโลก ที่เมื่อเห็นช่องทาง ก็ต้องมีการเก็งกำไร

 

จากการที่เงินทุนต่างประเทศยังมีแนวโน้มที่จะไหลเข้าไทยมากขึ้นย่อมส่งผลต่อค่าเงินบาทให้มีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง โดยต่างชาติจะนำเงินมาลงทุนในประเทศไทย อาจเห็นโอกาสที่จะทำกำไรถึง 3 เด้ง คือ จากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงขึ้น และแนวโน้มค่าเงินบาทที่มีทิศทางแข็งค่าขึ้น ดังนั้น นอกเหนือจากเงินทุนจะไหลเข้ามาลงทุนในระยะยาวแล้ว เงินที่จะเข้ามาเก็งกำไรก็มีมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อความสนใจในการตั้งเฮจด์ฟันด์กองใหม่ๆ และการกลับมาของกองทุนเก่าๆ เริ่มเห็นชัดขึ้น ที่ผ่านมาคู่ค้าของธปท.บางราย ยังบอกว่ากำลังตั้งเฮจด์ฟันด์ขึ้นมาเพื่อเข้าไปทำกำไรตลาดเงินในประเทศที่เศรษฐกิจยังดีอยู่

 

"หากไทยไม่ต้องการให้เฮดจ์ฟันด์เข้ามา หรือมีการเก็งกำไรในตลาดการเงินบ้านเรามากเกินไป ควรต้องดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจให้ดี และสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นมากที่สุด เพราะแนวโน้มที่เงินทุนต่างชาติไหลเข้ามามากขึ้นในระยะต่อไปทั้งในตลาดหุ้น และตลาดตราสารหนี้ จะทำให้เงินบาทแข็งค่ามากขึ้น เพราะตลาดหุ้นไทยขณะนี้ ราคาหุ้นต่อกำไร หรือค่าอี/พี ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ให้ผลตอบแทนสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค"

 

ทั้งนี้ ธปท.พบว่า ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553 ถึงวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาแล้ว 3,553 ล้านบาท และตั้งแต่ต้นปี มีเงินไหลเข้ามาแล้ว 35,500 ล้านบาท ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะมีเม็ดเงินจำนวนไหลเข้ามาฟันส่วนต่างกำไร

 

สำหรับทิศทางค่าเงินบาทในช่วงนี้ยังมีเสถียรภาพ เชื่อว่ายังสามารถแข่งขันทางการค้าได้ โดยค่าเงินบาท สิ้นปี 2552 จนถึงปัจจุบัน แข็งค่าขึ้น 3.2% ขณะที่มาเลเซียแข็งค่าขึ้น 6.8% และสิงคโปร์ 2.3%และหากดูตัวเลขการขยายตัวของการส่งออกล่าสุดเดือนมิถุนายนที่ขยายตัวได้ถึง 46.3% สะท้อนให้เห็นว่าผู้ส่งออกไทยสามารถปรับตัว และขยายการค้าได้อย่างดี

 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงต่อไปที่ค่าเงินบาทจะผันผวนมากขึ้น ผู้ส่งออกและนำเข้าควรทำประกันความเสี่ยงค่าเงินอย่างสม่ำเสมอ อย่าพยายามเก็งกำไรค่าเงินเพราะความเสี่ยงสูง ขณะเดียวกันการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนของธปท.จะเข้าไปแทรกแซงค่าเงินเฉพาะช่วงที่มีความผันผวนสูงเท่านั้น ดังนั้น ผู้ส่งออกและนำเข้าจำเป็นต้องบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนให้เก่งขึ้น เพื่อรองรับความเสี่ยงและความผันผวนมากขึ้นในระยะต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แบงก์ชาติสวิสขาดทุนหนักจากอัตราแลกเปลี่ยน

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 กรกฎาคม 2553 20:44 น.

 

 

เอเอฟพี - ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์ เปิดเผยวันพุธ (21) ว่า ผลดำเนินงานครึ่งปีอาจขาดทุนราว 4,000 ล้านสวิสฟรังก์ เนื่องจากต้องแบกรับภาระขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินอย่างมโหฬาร ซึ่งเป็นผลจากการที่เงินสวิสฟรังก์ทะยานสูง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเงินยูโร โดยเป็นการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินซึ่งสูงกว่า 14,000 ล้านสวิสฟรังก์ทีเดียว ยังดีที่ได้ตัวช่วยมาสองปัจจัยคือ รายได้จากการทำธุรกรรมโพสิชั่นค่าเงินไว้ กับการที่ราคาทองคำทะยานแรง จนช่วยกั้นไม่ให้ภาระขาดทุนสูงไปกว่านั้น

 

ระยะไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ในอันที่จะป้องกันการแข็งค่ามากเกินไปของเงินสวิสฟรังก์ แบงก์ชาติสวิสแก้เกมด้วยการเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์สกุลเงินยูโรอย่างมหาศาล ยอดดังกล่าวพุ่งเพิ่มเป็น 226,700 ล้านสวิสฟรังก์ ณ ปลายไตรมาส 2/2010 จากระดับ 125,100 ล้านสวิสฟรังก์ ณ ปลายเดือนมีนาคมปีนี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แบงก์ชาติสวิสขาดทุนหนักจากอัตราแลกเปลี่ยน

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 กรกฎาคม 2553 20:44 น.

 

 

เอเอฟพี - ธนาคารกลางแห่งสวิตเซอร์แลนด์ เปิดเผยวันพุธ (21) ว่า ผลดำเนินงานครึ่งปีอาจขาดทุนราว 4,000 ล้านสวิสฟรังก์ เนื่องจากต้องแบกรับภาระขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินอย่างมโหฬาร ซึ่งเป็นผลจากการที่เงินสวิสฟรังก์ทะยานสูง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเงินยูโร โดยเป็นการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินซึ่งสูงกว่า 14,000 ล้านสวิสฟรังก์ทีเดียว ยังดีที่ได้ตัวช่วยมาสองปัจจัยคือ รายได้จากการทำธุรกรรมโพสิชั่นค่าเงินไว้ กับการที่ราคาทองคำทะยานแรง จนช่วยกั้นไม่ให้ภาระขาดทุนสูงไปกว่านั้น

 

ระยะไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ในอันที่จะป้องกันการแข็งค่ามากเกินไปของเงินสวิสฟรังก์ แบงก์ชาติสวิสแก้เกมด้วยการเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์สกุลเงินยูโรอย่างมหาศาล ยอดดังกล่าวพุ่งเพิ่มเป็น 226,700 ล้านสวิสฟรังก์ ณ ปลายไตรมาส 2/2010 จากระดับ 125,100 ล้านสวิสฟรังก์ ณ ปลายเดือนมีนาคมปีนี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มารอสวัสดีจารย์เสม คุณส้มโอมือ และเพื่อนๆร่วมทางด้วย อรุณสวัสดื์และขอให้โชคดี มีความสุขทุกคนเลยนะ อิอิ

 

:) :D :lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคุณส้มโอให้ข่าวข้อมูลครับ +๑ ...............รอฟัง อจ เสม ด้วย.............. :rolleyes: :rolleyes: :rolleyes:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...