ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

วิกฤตหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรปที่เกิดขึ้นไม่เคยห่างหายไปจากหน้าหนังสือพิมพ์เป็นระยะเวลา 2-3 ปีแล้ว โดยจุดเริ่มต้นมาจากประเทศเล็กๆ อย่างกรีซ และไอร์แลนด์ แล้วได้ลุกลามไปสู่ประเทศอื่นๆ ในกลุ่มที่ใช้สกุลเงินยูโรเดียวกัน

 

ซึ่งวิกฤตหนี้ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบค่อนข้างมาก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง

 

โดยด้านเศรษฐกิจนั้น มีสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจมาตั้งแต่ต้นปีนี้แล้ว และมีแนวโน้มเด่นชัดมากขึ้นว่ายุโรปจะเข้าสู่ภาวะถดถอยตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีนี้ และจะต่อเนื่องไปใน ปี 2555 หลังจากที่ในไตรมาส 3/2554 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจยุโรปขยายตัว 0.2% เป็นระดับเดียวกับในไตรมาส 2/2554

 

ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในยุโรปเท่านั้น แต่ยังได้ส่งผลกระทบไปสู่ส่วนอื่นๆ ที่เหลือทั่วโลก ด้วยการที่สหภาพยุโรป 27 ประเทศ มีสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ถึงประมาณ 1 ใน 3 ของโลก เป็นภูมิภาคที่มีอิทธิพลต่อภาคการค้า ด้วยมีการนำเข้าสินค้าจากทั่วโลก มูลค่าประมาณ 1,501,844 ล้านยูโร และมีการส่งออกไปทั่วโลกด้วยมูลค่าประมาณ 1,348,792 ล้านยูโร (ข้อมูล ณ ปี 2553) โดยมียักษ์ใหญ่อย่างจีนและสหรัฐเป็นคู่ค้าที่สำคัญ 2 ลำดับแรก ซึ่งมีส่วนบ่งชี้ได้ว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรปจะสะเทือนไปสู่ส่วนที่เหลือของโลกได้เช่นกัน

 

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบทางด้านภาคการค้าของไทยแล้วพบว่า ช่วง 10 เดือนแรกของปี 2554 ไทยส่งออกไปจีน 12% ส่งออกไปญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันประมาณ 10.7% ขณะที่ส่งออกไปสหรัฐ 9.5% และกลุ่มอาเซียน 23.4%

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อลองพิจารณาเชื่อมโยงไปถึงคู่ค้าของฝั่งยุโรปพบว่า ยุโรปนำเข้าสินค้าจากจีนเป็นลำดับหนึ่งด้วยสัดส่วน 18.8% นำเข้าจากกลุ่มอาเซียน ในสัดส่วน 5.8% และจากกลุ่ม BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน) ในสัดส่วน 33.7% ซึ่งจีนและกลุ่มอาเซียนนั้นเป็นแหล่งส่งออกอันดับต้นๆ ของไทย

 

นักวิเคราะห์หลายสำนักจึงคาดว่าเศรษฐกิจยุโรปจะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2555 โดยขึ้นอยู่กับความร่วมมือและการแก้ปัญหาของกลุ่มสหภาพยุโรปด้วย หากแก้ปัญหาไม่สำเร็จการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอาจจะยืดเยื้อเกินปีหน้าได้ ซึ่งนอกจากจะกระทบโดยตรงต่อประเทศไทยในแง่ของภาคการค้าที่เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญแล้ว ยังมีผลกระทบทางอ้อมผ่านทางคู่ค้าหลักของไทย เช่น จีนและกลุ่มอาเซียน ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของยุโรปเช่นกัน

 

ที่มา : ข่าวสด (วันที่ 27 ธันวาคม 2554)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผลการสำรวจของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ประจำปี 2011 ระบุ สหรัฐ ยังครองแชมป์ชาติที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก โดย จีนเป็นที่ 2 และญี่ปุ่น เป็นอันดับ 3

 

 

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า สหรัฐ ยังคงขึ้นแท่นเบอร์ 1 ของโลก สำหรับประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลก โดยอันดับ 2 เป็น จีน และอันดับ 3 ญี่ปุ่น ส่วนที่พลิกโผ คือ บราซิล แซงหน้า ชาติมหาอำนาจอย่าง สหราชอาณาจักร เป็นอันดับที่ 6 ของโลกอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เศรษฐกิจของชาติยักษ์ใหญ่ จากอเมริกาใต้แซงหน้าเศรษฐกิจเมืองผู้ดี ตามรายงานข่าวซึ่งอ้างผลการสำรวจของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ หรือ ซีอีบีอาร์ ประจำปี 2011 ระบุว่า สหรัฐ ยังคงครองตำแหน่งชาติที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลก ตามมาด้วยสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น เยอรมนี และฝรั่งเศส ตามลำดับ ขณะที่ อันดับที่ 6 ในปีนี้ตกเป็นของบราซิล ตามมาด้วย สหราชอาณาจักร อิตาลี รัสเซีย และอินเดีย

 

ด้าน ปีเตอร์ สโลวี อดีตที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลอังกฤษ ออกมาเปิดเผยว่า การที่เศรษฐกิจอังกฤษ ถูกบราซิลแซงขึ้นไปเป็นอันดับที่ 6 ของโลกนั้น สาเหตุสำคัญเกิดจากการที่เศรษฐกิจเมืองผู้ดีได้รับผลกระทบจากวิกฤติหนี้สินของเพื่อนบ้านในกลุ่มยูโรโซน ขณะที่ เสถียรภาพทางการเมืองในบราซิล และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมาของบราซิล เป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับบรรดานักลงทุนได้มากกว่า ส่งผลให้เศรษฐกิจแดนแซมบ้าแซงหน้าสหราชอาณาจักรได้เป็นครั้งแรก

ที่มา : innnews (วันที่ 27 ธันวาคม 2554)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงในปี 2554 มีปริมาณรวมอยู่ที่ 837,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อน 4% แต่มีมูลค่านำเข้าอยู่ที่ 1,030,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 30% เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นเกือบ 30 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งถือว่าเป็นมูลค่านำเข้าที่สูงสุดในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ประเทศไทยมีการนำเข้าน้ำมัน คาดว่าในปี 2555 มีการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 2-3% ตามอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ – (วันที่ 27 ธันวาคม

วันนี้( 26 ธ.ค.) นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) เปิดเผยว่า การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงในปี 54 มีปริมาณรวม 837,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปี 53 จำนวน 4% แต่มูลค่านำเข้ารวมทั้งปีอยู่ที่ 1.03 ล้านล้านบาทเพิ่มขึ้น 30% ซึ่งถือว่าเป็นมูลค่านำเข้าทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ทำลายสถิติในปี 51 เคยนำเข้าสูงถึง 1.024 ล้านล้านบาท เนื่องจากราคาน้ำมันดิบตลาดโลกปรับสูงขึ้นเกือบ 30 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่แนวโน้มการนำเข้าน้ำมันในปี 55 จะยังคงขยายตัว 2-3% ตามภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มขยายตัว 4.5-5.5%

 

 

                สำหรับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปี 54  พบว่า ไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 53 มากนักเนื่องจากภาวะน้ำท่วม  โดยกลุ่มเบนซินรวมอยู่ที่ 20 ล้านลิตรต่อวันลดลงจากปีก่อน 2%  แบ่งเป็นแก๊สโซฮอล์ลดลง 4% จาก 12 ล้านลิตรต่อวันเหลือ 11.5 ล้านลิตรต่อวัน ขณะที่การใช้เบนซิน 91 และ 95 เพิ่มขึ้น 2% จาก 8.3 ล้านลิตรต่อวันเป็น 8.5 ล้านลิตรต่อวันเพราะผลจากการลดเงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนของเบนซิน 91,95 ส่วนแนวโน้มการใช้ปี 55 คาดว่ากลุ่มเบนซินจะโต 1-2%

 

 

                ส่วนการใช้ดีเซลอยู่ที่ 51.1 ล้านลิตรต่อวันเพิ่มขึ้น 3% จากการที่รัฐตรึงราคาไว้ที่ 29.99 บาทต่อลิตรตั้งแต่ปลายปี 553 และยังมีการลดการเก็บเงินเข้ากองทุนฯ 2.80 บาทต่อลิตร ประกอบกับช่วงน้ำท่วมมีการใช้ดีเซลเพื่อการสูบน้ำจำนวนมากคาดว่าการใช้ปี  55จะขยายตัว 3-4%

 

             ส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี)  อยู่ที่ 6.4 ล้านกิโลกรัมต่อวันเพิ่มขึ้น 27% และก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี) อยู่ที่ 5.43 แสนตันต่อเดือนเพิ่มขึ้น 19%  โดยการใช้ภาคปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น 41% อยู่ที่ 1.86 แสนตันต่อเดือน ขนส่งเพิ่มขึ้น 35% ภาคขนส่งอยู่ที่ 7.6 หมื่นตันต่อเดือน  ครัวเรือนเพิ่ม 9% อยู่ที่ 2.2 แสนตันต่อเดือน เนื่องจากรัฐยังคงตรึงราคาแอลพีจีขนส่งและครัวเรือน  ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมลดลง 8% เหลือ 6 หมื่นตันต่อเดือน โดยแนวโน้มการใช้ก๊าซธรรมชาติจะทรงตัวและอาจลดลงหากรัฐบาลดำเนินการปรับราคาตามกรอบที่วางไว้

 

ที่มา : เดลินิวส์ (วันที่ 27 ธันวาคม 2554)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ASTV ผู้จัดการรายวัน- ตลาดหลักทรัพย์ฯคาดเมษายนปีหน้า ออกเครื่องมือ "สัญญาซื้อขายล่วงหน้าอ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยน"ได้แน่ เผยอยู่ระหว่างเจรจากกับกระทรวงการคลังให้บุคคลธรรมดาซื้อขายได้จากเดิมกำหนดให้เฉพาะธนาคารพาณิชย์เท่านั้น

 

นายภากร ปีตธวัชชัย รองผู้จัดการ สายงานการตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯคาดว่าจะออกสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฟิวเจอร์ส)อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยน (Currency futures) ได้ประมาณเดือนเมษายน 2555 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการอนุมัติจากกระทรวงการคลังให้สามารถบุคคลธรรมดาสามารถซื้อขายได้ จากที่ผานมากฎหมายอนุมัติให้ธนาคารพาณิชย์ซื้อขายได้เท่านั้น โดยคาดว่าขนาดซื้อขายจะอยู่ 1,000 เหรียญสหรัฐต่อสัญญา

 

ทั้งนี้อัตราการวางหลักประกัน (มาร์จิ้น) อาจจะต่ำกว่า 10% เพราะ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนจะต่ำกว่าทองคำ โดยกลุ่มนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในฟิวเจอร์สอัตราแลกเปลี่ยนนั้นคาดว่าจะมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักลงทุนบุคคล และ ผู้ประกอบการรายเล้กที่ไม่สามารถทำธุรกรรมกับแบงก์ได้ เพราะขนาดธุรกรรมขั้นต่ำที่แบงก์กำหนดสำหรับการป้องกันความเสี่ยง คือ 10,000 เหรียญสหรัฐ

 

สำหรับการออกตราสารใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง TDR (Thai Depository Receipt) ขณะนี้มีโบรกเกอร์ 2-3 ราย ที่แสดงความสนใจออกTDR ซึ่งสามารถที่จะอ้างอิงกับหุ้นต่างประเทศไทย เพื่อนำมาออกเป็นตราสารในการเสนอขายแก่นักลงทุนไทย หรือ จะเป็นการนำดัชนีหุ้นต่างประเทศมาอ้างเงินในการออกเสนอขาย

 

ก่อนหน้านี้ นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการผู้จัดการ บมจ.ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) หรือ TFEX กล่าวว่า ในปี 2555 สินค้าหลักที่จะดันให้ตลาดทีเฟ็กซ์เติบโตต่อเนื่อง ได้แก่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าอ้างอิงกับดัชนีหุ้น 50 อันดับแรก (SET50 Index Futures) เป็นตัวที่มีปริมาณซื้อขาย (วอลุ่ม) ที่สูงสุดของปีนี้ โดยตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 18 พ.ย. 54 มีวอลุ่มประมาณ 1.8 หมื่นสัญญาต่อวัน จากปีก่อนอยู่ที่ 1.02 หมื่นสัญญาต่อวัน ส่วนรองลงมาคือ ตลาดโลหะนำโดยสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า (Gold Futures) ปีนี้มีวอลุ่มประมาณ 1.7 หมื่นสัญญาต่อวัน (รวมสัญญาซื้อขายโลหะเงินล่วงหน้า : silver futures) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ระดับราว 4 พันสัญญาต่อวัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มชั่วโมงซื้อขายในรอบกลางคืน ส่งผลให้นักลงทุนสามารถเข้ามาลงทุนเก็งกำไรหาผลตอบแทนได้ในช่วงตลาดต่างประเทศเปิดทำการ

 

ส่วนในปี 2555 วอลุ่มรวมของตลาดทีเฟ็กซ์จะสูงกว่าปีนี้ที่อยู่ระดับเฉลี่ย 4.1 หมื่นสัญญาต่อวัน เพราะนอกจากเซต50 อินเด็กซ์ ฟิวเจอร์ส และโกลด์ฟิวเจอร์ส จะมีวอลุ่มเทรดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแล้ว ในปีหน้าทีเฟ็กซ์จะมีสินค้าใหม่ออกมาคือ สัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ทั้งนักลงทุนทั่วไป และบริษัทที่ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถเข้ามาเทรดบริหารความเสี่ยงค่าเงินได้ รวมทั้งจะเริ่มทำการตลาดสินค้าต่าง ๆ ในตลาดตั้งแต่เดือน ม.ค. เพื่อให้กลุ่มนักลงทุนทั่วไปและบริษัทต่าง ๆ สามารถใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงควบคู่กับการทำธุรกิจได้

 

นอกจากนี้ มีแผนจะปรับปรุงสินค้าที่ไม่ได้รับความนิยมหรือมีวอลุ่มต่ำ เช่น สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยที่มีวอลุ่มต่ำมาทั้งปีเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2 สัญญาต่อวัน รวมถึงสินค้าเซต50 อินเด็กซ์ ออปชั่นส์ (SET50 Index Options) ที่เริ่มเทรดตั้งแต่ปี 2550 แต่ปัจจุบันยังมีวอลุ่มต่ำปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 476 สัญญาต่อวัน

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์  (วันที่ 27 ธันวาคม 2554)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Silver

 

silver_20111226091729.jpg

 

 

Silver: now silver is confronted with the pressure around the weekly 29.70. Unless in the aftermarket silver can break and stands firmly the level, a further climbing is likely to happen. Short-term silver is difficult to judge. But the mid-term silver does not change and obviously is running in the descending channel. For the later bullion, Forex traders can operate with Spot gold. Resistance: 30 support: 28.5.

IKON analyst Zheng Nan

 www.ikonfx.com

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เดาค่าเงินยูโร

 

eurusd_st_20111226_20111226140058.gif

 

 

EURUSD: 1.3068

 

Short-Term Trend: downtrend

 

Outlook:

 

EUR traded sideways last week in a rather tight range between 1.3020 and 1.3195. The fact that the prices have remained below the important 1.3195 Fibonacci level is a sign that the current downtrend not only remains intact but it is still powerful enough. Thus, as I see no signs of a ST low, I expect weakness twd 1.2870 this week. However, a strong rebound is likely to commence in January, so taking profits on the next decline seems prudent.

On the upside, firm and sustained trading abv 1.3195 negates, signals a ST low is already in place and gains twd 1.3520 will become likely in this case...

 

Strategy: Holding short from 1.34/1.35 remains favored with a stop abv 1.3240. Target=1.2870.

 

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

FX EUR/USD, EUR/JPY: Quiet and range-bound

Tue, Dec 27 2011, 02:10 GMT | IFR Markets

 

FX EUR/USD, EUR/JPY: Quiet and range-bound

 

 

Sentiment remains on the risk-off side with regional stock markets mostly lower but this has not affected FX trading. This was the case yesterday as those bourses open yesterday rallied whilst the FX market did nothing. EUR/USD and EUR/JPY remain basically in stasis despite news that Spain faces a recession - and from a Spanish minister no less. EUR/USD is stuck between 1.3041-63 and EUR/JPY between 101.70-86, the latter's range even narrower than yesterday. The ranges themselves too look to have been exaggerated by thin conditions with

 

Australia, New Zealand and Hong Kong markets closed and Singapore looking to be only half-staffed. London is also closed today. EUR/USD trades 1.3057/59 and EUR/JPY 101.84/87.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
eurusd12262011h1.gif ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักบริหารเงิน จากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 31.37/39 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 31.32 บาท/ดอลลาร์

 

เงินบาทวันนี้คาดว่ายังมีแนวโน้มไปในทิศทางที่อ่อนค่าต่อจากปัจจัยเดิมในเรื่องความกังวลปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป แต่ทั้งนี้คาดว่าเงินบาทจะยังแกว่งอยู่ในกรอบแคบๆ เนื่องจากเป็นช่วงที่ตลาดต่างประเทศหยุดทำการในช่วงคริสมาสต์ต่อเนื่องถึงปีใหม่ ส่งผลให้การทำธุรกรรมทางการเงินเบาบาง

 

ส่วนความเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศช่วงเปิดตลาดเช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 77.96 เยน/ดอลลาร์ ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3050 ดอลลาร์/ยูโร

 

นักบริหารเงิน คาดว่า เงินบาทวันนี้จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.35-31.50 บาท/ดอลลาร์ และมีโอกาสอ่อนค่าตามทิศทางสกุลเงินในภูมิภาค

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 27 ธันวาคม 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กูรูฟันธงเศรษฐกิจโลก 2012 ยุโรปฉุดครึ่งแรก จีนนำฟื้นครึ่งหลัง (27/12/2554)

ตลาดแรงงานสหรัฐที่ปรับตัวดีขึ้น กับจำนวนผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานซึ่งลดลงต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปี

 

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

 

ตลาดแรงงานสหรัฐที่ปรับตัวดีขึ้น กับจำนวนผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานซึ่งลดลงต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปี นับเป็นของขวัญคริสต์มาสและปีใหม่ชั้นดีให้กับตลาดทุนโลกในสัปดาห์สุดท้ายของปี 2011 ขณะที่ตัวเลขการช็อปปิ้งในช่วงแบล็กฟรายเดย์ก่อนหน้านี้ ทั้งการซื้อของตามร้านค้าปลีกและการสั่งซื้อออนไลน์ ก็ทำยอดได้น่าชื่นใจไม่หยอกเช่นกัน

 

น่าชื่นใจ เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่แค่ข่าวดีของชาวอเมริกัน แต่ยังเป็นสัญญาณดีๆ ถึงทิศทางเศรษฐกิจโลกปี 2012 ไปด้วย หลังจากที่โลกตกอยู่ในบรรยากาศหดหู่ทางเศรษฐกิจมานานกว่า 1 ปีจากวิกฤตการณ์หนี้สาธารณะยุโรป

 

แต่ปัจจัยบวกที่สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจโลกในปีหน้ายังไม่ใช่เศรษฐกิจอเมริกัน ที่ถือว่ายังอยู่ในระดับประคองตัวให้โตได้ช้าๆ เพราะหลายฝ่ายต่างเชื่อมั่นว่า “มังกรจีน” จะยังคงมีบทบาทสำคัญในเชิงบวกต่อไปอีกปี

 

หรืออาจสรุปง่ายๆ ได้ว่า ปัจจัยลบคือยุโรป ปัจจัยบวกคือจีน โดยมีสหรัฐที่ฟื้นตัวได้อย่างช้าๆ ช่วยไม่ให้บรรยากาศทางเศรษฐกิจโลกเลวร้ายลงไปอีก

 

ผลสำรวจของรอยเตอร์สที่สำรวจความเห็นบรรดานักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำในช่วงหลายเดือนก่อนสิ้นปี 2011 ระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะยังคงเต็มไปด้วยความยากลำบากจากปัจจัยหลักๆ คือ ปัญหาหนี้ในยุโรป ทว่าบรรดาประเทศตลาดเกิดใหม่ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นในสหรัฐ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยทำให้เศรษฐกิจโลกเข้ารูปเข้ารอยดีขึ้น

 

บรรดานักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างมองไปในทิศทางเดียวกันว่า ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) อย่างแน่นอน ขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกก็จะฟื้นตัวกลับมาได้เพียงเล็กน้อย หลังจากที่ขาดทุนกันอย่างหนักในปี 2011 ส่วนภาวะราคาน้ำมันดิบโลกก็จะยังคงลดต่ำลง ท่ามกลางภาวะที่บรรดานักลงทุนต่างก็ไม่มั่นใจว่า จะนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อะไรดีถึงจะปลอดภัยที่สุด

 

ตามการคาดการณ์ของรอยเตอร์สโพล วิกฤตหนี้ยุโรปที่ยืดเยื้อมานานกว่า 1 ปีแล้ว และได้ส่งผลกระทบต่อบรรดาเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในยุโรปปีนี้แล้ว จะไม่ทวีความรุนแรงกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลกรอบใหม่ในปี 2012

 

ขณะเดียวกันบรรดาประเทศตลาดเกิดใหม่ส่วนใหญ่ อาทิ บราซิล และจีน ก็จะเริ่มเดินเครื่องเศรษฐกิจในปีหน้าให้เร็วและร้อนแรงขึ้น หลังจากที่ต้องเผชิญการขยายตัวของจีดีพีที่ลดลงกันถ้วนหน้าในปีนี้ เนื่องจากการใช้นโยบายควบคุมทางการเงินและมาตรการควบคุมเศรษฐกิจไม่ให้ขยายตัวร้อนแรงเกินไป จนทำให้ภาวะเงินเฟ้อพุ่งสูงจนควบคุมไม่อยู่

 

“เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องย้ำว่า เศรษฐกิจโลกจะยังคงเติบโตได้อยู่ แต่ว่าเศรษฐกิจโลกในปีหน้าก็เหมือนกับเป็นเรื่องของ 2 โลกที่ต่างกันออกไป เรื่องราวในปีหน้าก็คือ ยุโรปจะเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีแรก ขณะที่จีนจะเป็นผู้นำการฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง” เจอร์ราด ลีออนส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด กล่าวกับรอยเตอร์ส

 

สำนักข่าวเอเอฟพี ระบุว่า ภาวะตลาดหุ้นยุโรปและค่าเงินยูโรจะเผชิญกับภาวะปั่นป่วนครั้งใหม่อีกในปี 2012 หลังจากที่ทำให้ตลาดทุนทั่วทั้งโลกต้องปั่นป่วนมาแล้วตลอดทั้งปีนี้ จนส่งผลให้บรรดาตลาดหุ้นสำคัญๆ ในยุโรปมีมูลค่าลดลงระหว่าง 6.5–25% นับตั้งแต่เปิดตลาดต้นปี 2011 มา ขณะที่เงินยูโรก็มีมูลค่าลดลง 2.5% เมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ และมีการซื้อขายในช่วงหนึ่งอยู่ที่ระดับ 1.3 เหรียญสหรัฐต่อยูโร หรือต่ำที่สุดในการซื้อขายเงินตราตลอดทั้งปีนี้

 

ขณะเดียวกัน ปี 2012 ก็ยังไม่สามารถวางใจเรื่องความเสี่ยงทางการเมืองได้ โดยจะมีการเลือกตั้งทั่วไปและการเปลี่ยนตัวผู้นำขึ้นในหลายประเทศ อาทิ ชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐ รัสเซีย และการก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งตามวาระของประธานาธิบดีจีนคนใหม่ ขณะที่ความวุ่นวายทางการเมืองในตะวันออกกลางก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงได้

 

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยลบสำคัญอย่างปัญหาหนี้ยุโรปนั้น ในด้านหนึ่งก็จะเป็นตัวช่วยให้จีน หรือประเทศตลาดเกิดใหม่อื่นๆ ยอมผ่อนคลายมาตรการควบคุมทางการเงินลงในปีหน้า ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีหลัง

 

ตลอดทั้งปีนี้ ปัญหาหนี้ของยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่หมายเลข 1 ของจีน ได้ส่งผลฉุดให้ตลาดส่งออกของจีน รวมถึงตัวเลขภาคการผลิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีนลดต่ำลง และนำไปสู่การขยายตัวของจีดีพีที่ลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2009

 

เพื่อเตรียมพร้อมรับผลกระทบจากปัญหาหนี้ยุโรปต่อเนื่องในปี 2012 ธนาคารกลางจีนได้ตัดสินใจประกาศมาตรการผ่อนคลายทางการเงินขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 3 ปี เมื่อเดือนที่ผ่านมา เช่นเดียวกับการผ่อนคลายอื่นๆ ของรัฐบาล ขณะที่บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างเชื่อว่า จะได้เห็นการผ่อนคลายนโยบายที่เข้มขึ้นมากขึ้น หรือการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มากขึ้นกว่านี้อีกมากในปีหน้า หากเศรษฐกิจเติบโตได้น้อยกว่าระดับ 8%

 

เมื่อนั้นก็ไร้ซึ่งความกลัวภาวะเงินเฟ้อ ทั้งจีนและประเทศตลาดเกิดใหม่ ก็คงพร้อมใจเดินเครื่องกระตุ้นเศรษฐกิจกันเต็มที่ ขณะที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐได้โตอย่างช้าๆ โดยคาดว่าจะมีการเติบโตได้ที่ระดับ 2% นั้น ก็เป็นอีกข่าวดีที่จะช่วยพยุงบรรยากาศของโลกในปีหน้าไม่ให้หดหู่จากปัญหาเศรษฐกิจซ้ำซ้อนใน 2 ทวีป  ในความอึมครึมของเศรษฐกิจโลกปีหน้า จึงยังพอมีแสงสว่างรำไรให้เห็นหนทางได้อยู่

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ (วันที่ 27 ธันวาคม 2554)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

**ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดเช้า ลบ 33.64 จุด

27  ธันวาคม 2011

 

ญี่ปุ่นคาดการส่งออกฟื้นตัวช่วงต้นปีหน้า

        กระทรวงการคลังญี่ปุ่นระบุว่า ทางกระทรวงมีความเห็นในแง่บวกว่า การส่งออก ของญี่ปุ่นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปีหน้า 

        แต่นั่นอาจจะเป็นเรื่องยากลำบาก ขณะที่ข้อมูลการค้าล่าสุดพบว่า การส่งออก ชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดไว้โดยทั่วไป 

        ภาวะคอขวดด้านการผลิตหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิถล่มญี่ปุ่นใน เดือนมี.ค. และภาวะอุทกภัยของไทยในฤดูใบไม้ร่วงปีนี้ ดูเหมือนว่าจะบรรเทาลงแล้ว  และเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดความหวังว่าการส่งออกจะฟื้นตัว

        อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจโลกจะมีอัตราการเติบโตที่ลดลงอย่างมาก  แต่จะเกิดภาวะถดถอยในหลายพื้นที่ ซึ่งรวมถึงยุโรป และนั่นอาจจะเป็นปัจจจัยสำคัญที่ ถ่วงการค้าโลกและการส่งออกของญี่ปุ่น

 

 

27  ธันวาคม 2011

 

ภาวะตลาดหุ้นจีน: เซี่ยงไฮ้คอมโพสิตเปิดลบ 0.16% สอดคล้องภูมิภาค

          ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนเปิดตลาดวันนี้อ่อนตัวลง เช่นเดียวกับตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในภูมิภาค

          สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตอ่อนตัว 0.16% เปิดที่ 2,186.71 จุด ส่วนดัชนีหุ้นเสิ่นเจิ้นบวก 0.43 จุด เปิดที่ 8,876.62 จุด

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

27  ธันวาคม 2011

 

สิงคโปร์เผยยอดค้าปลีกร้านค้าสนามบินชางจีเพิ่มขึ้น 16% ช่วง 10 เดือนแรก

          สถานีโทรทัศน์แชนเนล นิวส์เอเชียรายงานว่า สนามบินชางจีของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นสนามบินที่มีนักท่องเที่ยวคึกคักมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มียอดจำหน่ายสินค้าในร้านค้าในสนามบินเพิ่มขึ้น 16% ในรอบ 10 เดือนแรกของปี 2554 โดยคิดเป็นการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลอดภาษีในบริเวณรอขึ้นเครื่องบิน 90% 

          สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เครื่องสำอาง สุรา เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ ลูกอมขนมหวาน และสินค้าฟุ่มเฟื่อยถือเป็นสินค้าที่ขายดีสูงสุด 5 อันดันแรก โดยนักท่องเที่ยวจากทวีปยุโรปจะนิยมซื้อเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ชาวจีนนิยมซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงาม และชาวอินโดนีเซียนิยมซื้อลูกอมขนมหวาน และครึ่งหนึ่งรายได้ของร้านค้าเป็นรายรับของสนามบิน

          "รายได้ที่เราได้รับจากร้านค้าในสนามบินชางจีนั้น ส่วนใหญ่จะถูกนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ศูนย์การบิน รวมถึงสร้างสาธารณูปโภคเพื่อเชื่อมโยงเส้นทางจากเมืองชางกีไปยังพื้นที่ต่างๆทั่วสิงคโปร์" ไอวี่ หว่อง รองประธานอาวุโสของแอร์ไซด์ คอนเซสชั่นของสนามบินชางจีกล่าว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

        *ตลาดหุ้นออสเตรเลีย,ฮ่องกงและอังกฤษ ปิดทำการวันนี้เนื่องในเทศกาลคริสต์มาส

        *วานนี้ตลาดหุ้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปิดไร้ทิศทาง โดยตลาดหุ้นไทยและเวียดนาม

         ร่วงลง แต่ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์บวกขึ้น เล็กน้อยท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่เบาบาง

         และคำสั่งขายทำกำไรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ดี หุ้นกลุ่ม

         โทรคมนาคมปรับขึ้นอย่างแข็งแกร่งกว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆ โดยได้รับแรงหนุนจากความ

         ต้องการซื้อหุ้นที่ให้เงินปันผลสูง

        *สหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคอยู่ในภาวะเฉื่อยชา

         ในเดือนพ.ย. และมาตรวัดการลงทุนทางธุรกิจ ร่วงลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน  

         ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงมาบ้าง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปิดท้ายข่าวสารช่วงเช้านี้ ด้วยคำว่า

 

Window Dressing

เป็นสำนวนในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลอย่างไทยตรงตัวก็คือ “ผักชีโรยหน้า” ซึ่งในวงการตลาดหุ้นก็ใช้เหมือนกัน แต่โดยมากจะเรียกเป็นปรากฎการณ์ Window Dressing Effect ซึ่งมักจะเจอในช่วงกลางปี (สิ้นไตรมาสสอง) และปลายปี (สิ้นไตรมาสสี่/สิ้นปี) แต่โดยมากจะเจอในช่วงปลายปีซะมากกว่า

การทำ Window Dressing ส่วนมากจะทำโดยกองทุนขนาดใหญ่ หรือกองทุนต่างชาติ ซึ่งในช่วงท้ายปีตอนปิดบัญชี ตัวเลขของหุ้น และราคาหุ้นจะมีราคาที่สูง ทำให้พอร์ทออกมาดูดีมากขึ้น ดังนั้นเปรียบเสมือนการทำผักชีโรยหน้าในช่วงท้ายปี แต่ก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าปีไหนจะมีเกิดขึ้นหรือปีไหนจะไม่มี อยู่ที่การคาดการณ์ของกองทุนในผลงานประจำปี ถ้าหากในรอบปีนั้นตลาดมีราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด มักจะไม่มีปรากฎการณ์นี้ หากเป็นช่วงตลาดปรับฐาน มักจะเจอปรากฎการณ์นี้เป็นประจำ

 

 

Windows dressing จาก SPDR ความหมายก็คือการดันราคาทองปิดให้สูงขึ้น เพื่อทำให้ราคาทองในพอร์ทมีมูลค่าสูงขึ้น และเมื่อมี การ mark to market ช่วงปิดสิ้นปี จะนำตัวเลขมูลค่าที่เพิ่มขึ้นนั้นมาบุ๊คบัญชี ส่งผลต่อเงินลงทุนมีมูลค่าสูงขึ้นนั่นเอง ส่วนจะทำจริงหรือไม่ ไม่มีใครบอกได้ เพราะถ้าใช้หลักตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้ว หรือ Efficient Market จะไม่มีใครสามารถมี อิทธิพลต่อราคาหุ้นได้รายใดรายหนึ่ง ( SPDR ก็คือกองทุนฯ )

 

ความหวังของนักลงทุนช่วงปลายปีนี้ก็คือ จะมี window หรือไม่ และหุ้นมันจะขึ้นไปถึงทุนที่ติดหรือไม่ หรือเปิดมกราคมมา จะมี January effect หรือไม่

 

ราคาทองมันจะวิ่งให้ได้กำไรหรือไม่ คำตอบคือไม่รู้ ...................................เออ...ใช่ ไม่รู้สิ

 

หาวิธีการวัดยากมาก สิ่งที่นัก ลงทุนควรทำคือมองกลับมาที่พอร์ท ยึดความสบายใจ และภาระที่รับผิดชอบ ถ้าถือได้ก็ถือไป ถ้าประเมินแล้วมีอาการ เสียว และเสี่ยงกับเงินทองของตัวเอง ก็แบ่งขายกึ่งหนึ่ง ที่เหลือไปรอฝรั่งกลับมาต้นปี

       

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...