ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

สถานการณ์เศรษฐกิจสเปนร้อนระอุ ตัวเลขไตรมาสแรกยืนยันเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้ง ขณะที่ตัวเลขการว่างงานยังคงพุ่งสูงอย่างต่อเนื่องแตะระดับสูงสุดในรอบ 18 ปี ด้านเอสแอนด์พีประกาศลดเครดิตหนี้สาธารณะประเทศลงสองขั้น พร้อมหั่นเครดิตธนาคารพาณิชย์สเปนอีก 16 แห่ง

 สถาบันสถิติแห่งชาติสเปน หรือไอเอ็นอี เปิดเผยตัวเลขทางเศรษฐกิจล่าสุดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (30 เม.ย.) ระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาสแรกของปี 2555 หดตัวลง 0.3% จากไตรมาสก่อน หลังจากที่จีดีพีในไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 ก็หดตัวลงด้วยอัตรา 0.3% เช่นเดียวกัน ส่งผลให้เวลานี้เศรษฐกิจของสเปนกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกเป็นครั้งที่สองนับตั้งแต่ปี 2552 อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวดีกว่าการคาดการณ์ของธนาคารกลางสเปนเมื่อสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย โดยธนาคารกลางคาดการณ์ว่าจีดีพีในไตรมาสแรกจะหดตัว 0.4%

 ข้อมูลล่าสุดเป็นการยืนยันความกังวลที่ว่า สเปนยังคงห่างไกลจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลกลายมาเป็นปัจจัยฉุดการเติบโต สัปดาห์ก่อนรัฐบาลสเปนกล่าวว่า คาดหมายว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยในปี 2556 แต่นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากมองว่ามีความเป็นไปได้ไม่มากนักภายใต้มาตรการรัดเข็มขัดอย่างหนัก ซึ่งรวมถึงการลดค่าใช้จ่ายหลายหมื่นล้านยูโร เพื่อลดการขาดดุลลงเหลือ 3% ของจีดีพี จาก 8.5% ของจีดีพีในปี 2554

 

 ตัวเลขจีดีพีไตรมาสแรกเป็นเพียงหนึ่งในข่าวร้ายสำหรับเศรษฐกิจสเปนเท่านั้น เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (27 เม.ย.) สถาบันสถิติของสเปนกล่าวว่า อัตราการว่างงานของประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 24.4% หรือ 5.6 ล้านคนในไตรมาสแรก จาก 22.9% ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 และใกล้จะถึงระดับสถิติสูงสุดของประเทศเข้าไปทุกขณะ โดยกว่าครึ่งของแรงงานอายุต่ำกว่า 25 ปีไม่มีงานทำ สถิติการว่างงานสูงสุดในประวัติศาสตร์สเปนเกิดขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2537 ที่ระดับ 24.6%

 

 นายโฮเซ่ มานูเอล การ์เซีย-มาร์กัลโล รัฐมนตรีต่างประเทศของสเปนกล่าวยอมรับว่า สเปนตกอยู่ในภาวะวิกฤติอย่างหนัก "ตัวเลขดังกล่าวเป็นเรื่องที่แย่มากสำหรับทุกคน และแย่มากสำหรับรัฐบาล"

 

 ตลาดแรงงานสเปนได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาฟองสบู่แตกของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับการลดค่าใช้จ่ายที่ทำให้เงินหลายหมื่นล้านยูโรหายไปจากระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้กฎหมายแรงงานที่ไม่ยืดหยุ่นของสเปนยังทำให้นายจ้างเลิกจ้างคนงานได้ง่ายกว่าการปรับเงินเดือนหรือเปลี่ยนตำแหน่ง อัตราว่างงานของสเปนสูงกว่าอัตราว่างงานเฉลี่ยของยูโรโซนที่อยู่ที่ 10.7% เกินกว่า 2 เท่า

 

 ในวันเดียวกับที่ตัวเลขการว่างงานได้รับการเปิดเผย สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (เอสแอนด์พี) กล่าวว่า ได้ทำการลดเครดิตหนี้สาธารณะของสเปนลงสองระดับ จาก A เป็น BBB+ ด้วยแนวโน้มที่เป็นลบ โดยให้เหตุผลของการปรับลดอันดับว่าสถานการณ์งบประมาณของสเปนเลวร้ายลงกว่าที่คาดหมาย และมีโอกาสที่รัฐบาลจะต้องให้เงินช่วยเหลือกับภาคธนาคารที่เจอปัญหาขาดทุนจากฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตก

 

 ก่อนจะเผชิญกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกในปี 2551 สเปนมีระดับความน่าเชื่อถือสูงสุดที่ AAA เช่นเดียวกับเยอรมนี แต่หลังจากนั้นก็ถูกลดระดับลงเรื่อยมาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย เอสแอนด์พีลดระดับเครดิตของสเปนล่าสุดเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาพร้อมกับอีก 8 ประเทศในยูโรโซน ซึ่งรวมถึงฝรั่งเศสและออสเตรียที่สูญเสียเครดิตระดับ AAA ไป

 เอสแอนด์พีจัดอันดับเครดิตของสเปนไว้ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับอันดับของอีกสองสถาบันชั้นนำ คือฟิทช์ เรตติ้งส์ และมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส โดยฟิทช์ลดอันดับของสเปนล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์เป็นระดับ A3 ซึ่งสูงกว่าเอสแอนด์พีหนึ่งขั้น ขณะที่มูดี้ส์จัดอันดับสเปนไว้ที่ A สูงกว่าของเอสแอนด์พีสองขั้น

 

 นอกจากนี้ เอสแอนด์พียังประกาศลดเครดิตของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 16 แห่งของสเปนในวันจันทร์ (30 เม.ย.) โดยกล่าวว่า การลดอันดับความน่าเชื่อถือของหนี้สาธารณะสเปนเมื่อสัปดาห์ก่อนส่งผลกระทบด้านลบโดยตรงต่ออันดับเครดิตของธนาคารที่มีอันดับสูงกว่าหรือเท่ากับเครดิตของประเทศ ดังนั้นการลดเครดิตของธนาคารชั้นนำของสเปนในครั้งนี้จึงเป็นผลโดยตรงจากการลดเครดิตหนี้สาธารณะของสเปน

 

 การถูกลดเครดิตของสเปนสร้างแรงกดดันให้กับตลาดพันธบัตรรัฐบาลสเปนอีกครั้ง ทำให้เจ้าหน้าที่ทางการต้องออกมาพยายามสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน นายเฟอร์นันโด ฮิมิเนซ ลาทอร์เร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของสเปน กล่าวว่า การลดเครดิตของเอสแอนด์พีโฟกัสเพียงผลกระทบของการปฏิรูปที่เกิดขึ้นในทันทีเท่านั้น ไม่ได้มองถึงผลโดยรวมจากการปฏิรูป ด้านนายหลุยส์ เด กินโดส รัฐมนตรีคลัง กล่าวว่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และการขาดดุลที่กำลังลดลงเป็นหลักฐานที่แสดงถึงความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่เพิ่มขึ้น

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 3 พฤษภาคม 2555)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หุ้น-การลงทุน

ทองคำปิดลบ 8.4 ดอลล์

 

03 พฤษภาคม 2555 เวลา 07:47 น. |

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลง หลังดอลล์แข็ง,ตัวเลขจ้างงานสหรัฐซบเซา

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 8.4 ดอลลาร์ หรือ 0.51% ปิดที่ 1,654 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1654.0 - 1652.0 ดอลลาร์

 

สัญญาทองคำร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 3 อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะตึงตัวในตลาดแรงงานและทิศทางเศรษฐกิจของสหรัฐ หลังจาก ADP Employer Services ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยตลาดแรงงานในสหรัฐ เปิดเผยว่า ภาคเอกชนทั่วสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 119,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ซึ่งน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 170,000 – 177,000 ตำแหน่งโดยประมาณ

 

ขณะที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานปรับตัวลง 1.5% ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นสถิติที่ลดลงหนักที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2552 เนื่องจากความต้องการอุปกรณ์การขนส่งปรับตัวลดลงอย่างมาก

 

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า อัตราว่างงานในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 10.9% ในเดือนมี.ค. จาก 10.8% ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 10 ปีนับแต่เริ่มใช้เงินยูโรในปี 2542

 

สัญญาทองคำได้รับแรงกดดันมากขึ้นหลังจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น โดยดัชนีดอลลาร์ (dollar index) ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับ 6 สกุลเงินที่เป็นคู่ค้าหลักของสหรัฐ พุ่งขึ้นแตะระดับ 79.12 จุดเมื่อคืนนี้ จากระดับของวันอังคารที่ 78.82 จุด

 

http://www.posttoday.com/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวีดัด..สวัสดีครับเพื่อนๆ ราคาทองเช้านี้มาดูไม่ค่อยดีเลยไหลแต่เช้า

 

ภาพรายสี่ใกล้จะตัดขึ้นแล้ว แต่รายวันนี่ซิน่ากังวลเริ่มจะตัดลงแล้ว :_cd ยังไงวันนี้ต้องลุ้นรีบาวน์ให้ได้ ไม่งั้นภาพรายวันจะดู Bearish เพราะดูเหมือนจะเกิดไดเวอร์เจ๋ง

 

ถ้ามีกำไรก็ก็ขายหมูออกมา ดูนอกสนามก่อนดีว่าจะครับ ที่ว่ามาทั้งหมดเดา :_ee

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีพี่ๆ เพื่อนๆนะคะ ไม่รู้จะคุยอะไร เลยส่งเพลงนี้มาแทนคะ่. ขอบคุณข่าวป๋าเด็กขายของ และ ความมันส์ในการเทรดของพี่Donjuanนะคะ แอบเชียร์idolในใจ

 

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอารูปมาลงให้ดูเป็นแนวทางครับ หลุดเหลืองล่างเป้าแรก 1642 หลุดอีกก็ 1630

 

แต่ถ้าเลือกที่จะขึ้น ต้องลุ้นให้ทะลุฟ้าบน 1652 ก่อน ทะลุได้ไปรอขายไกลๆ 167x-1680 :uu

 

H1.PNG

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีค่ะทุกคน

เปิดมาไม่ค่อยโสภาเท่าไหร่ ยังไม่ได้กดเลยยิ่งชะงักงันขอดูข้างๆ ก่นดีกว่า

โชคดีทุกคนนะคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าวเตือนว่า วิกฤติหนี้ยูโรโซนยังไม่ได้ผ่านพ้นแม้ช่วงครึ่งทาง ในขณะที่ระบุว่า ยูโรโซนเป็นสาเหตุของภาวะเศรษฐกิจถดถอยซ้ำสองของอังกฤษ เนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้นในยูโรโซนเป็นความตึงเครียดอย่างมากระหว่างเงินยูโรที่ประเทศต่างๆพบว่าปรับตัวรับได้ยากลำบากมาก พร้อมกับนโยบายเศรษฐกิจแบบเดียว

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 3 พฤษภาคม 2555)

 

นายคิง กล่าวว่า เงินเฟ้อยังคงสูงเกินไป แม้ได้ปรับตัวลงมาแล้วในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา และหลังจากที่มีความพยายามในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการซื้อพันธบัตรมูลค่า 3.25 แสนล้านปอนด์ แต่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจก็ยังเชื่องช้ากว่าที่คาด

 

สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยเมื่อปลายเดือนเม.ย.ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของอังกฤษหดตัว 0.2% ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2555 หลังจากที่หดตัว 0.3% ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจอังกฤษกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเป็นทางการอีกครั้งนับตั้งแต่ปี 2552

 

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยของอังกฤษจะตัดสินใจในสัปดาห์หน้าว่าจะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการซื้อพันธบัตรรอบใหม่เพื่อช่วยหนุนเศรษฐกิจหรือไม่ ขณะที่จะมีการเปิดเผยคาดการณ์ล่าสุดเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในอังกฤษในเดือนนนี้

 

ที่มา : money channel (วันที่ 3 พฤษภาคม 2555)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รัฐบาลเนเธอร์แลนด์และพรรคฝ่ายค้านเห็นชอบมาตรการลดยอดขาดดุลงบประมาณ ซึ่งครอบคลุมถึงการปรับเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 19% เป็น 21% การคงเงินเดือนข้าราชการ เพื่อลดยอดขาดดุลงบประมาณต่อ GDP ให้เหลือ 3% ตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป ทั้งนี้ การตกลงเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าวระหว่างทั้งสองฝ่ายเป็นไปอย่างเร่งด่วนหลังจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ประกาศยุบสภาในวันที่ 23 เมษายน 2555 เนื่องจากมาตรการลดยอดขาดดุลงบประมาณมูลค่า 14 พันล้านยูโรไม่ได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอ

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 3 พฤษภาคม 2555)

 

 

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงเช้านี้ เนื่องจากอัตราว่างงานในยุโรปที่สูงขึ้น รวมทั้งบริษัทของสหรัฐเองที่เพิ่มการจ้างงานต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ได้ประเมินไว้ ส่งผลให้ตลาดกังวลว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific Excluding Japan Index ขยับไม่ถึง 0.1% แตะ 444.05 เมื่อเวลา 8.48 น.ตามเวลาฮ่องกง

 

ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 21,209.44 จุด ลดลง 99.64 จุด ส่วนดัชนีเวทเต็ดตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 7,671.06 จุด ลดลง 5.75 จุด ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นโซลเปิดวันนี้ที่ 1,995.78 จุด ลดลง 3.29 จุด ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,581.78 จุด ลดลง 0.61 จุด ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 4,435.50 จุด ลดลง 0.41 จุด และดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,005.47 จุด ลดลง 0.67 จุด

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดทำการวันนี้ (3 พ.ค.) เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ

 

หุ้นแอลจี ดิสเพลลย์ ร่วง 3.2% ในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ส่วนหุ้นฮุนได มอเตอร์ ร่วง 2.1% ขณะที่หุ้นเวสท์แพค แบงกิ้ง บวก 0.9% หลังจากที่ธนาคารรายใหญ่อันดับ 2 ของออสเตรเลียสามารถทำกำไรได้สูงขึ้น

 

ADP Employer Services ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยตลาดแรงงานในสหรัฐ เปิดเผยว่า ภาคเอกชนทั่วสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 119,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ซึ่งน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 170,000 — 177,000 ตำแหน่งโดยประมาณ

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 3 พฤษภาคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำ Gold Futures by Classic Gold Futures (03/05/2555)

คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส

 

Price Movement

 

ราคาทองคำในตลาด COMEX ปิดที่ 1,654.00 USDต่อออนซ์ ลดลง 8.40 USDต่ออออนซ์ โดยมีความเคลื่อนไหวระหว่าง 1,646.00 - 1,663.90 USDต่อออนซ์ ราคาทองคำปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยง ราคาทองคำปรับลดลงพร้อมกับราคาหุ้น หลังจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐออกมาแย่กว่าคาด เช่น การจ้างงานทั่วประเทศลดลงมาที่ 119,000 ราย ยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงานลดลงมาที่ระดับ -1.5% ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจทางด้านยูโรโซน เช่น ดัชนีภาคการผลิตปรับตัวลดลง และอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ 10.9% ราคาน้ำมันอ่อนตัวสูงขึ้นมาที่ระดับ 105.15 USDต่อบาร์เรล สำหรับในช่วงเช้าวันนี้ราคาเคลื่อนไหวบริเวณ 1,652 USDต่อออนซ์ คาดว่าวันนี้มีแนวรับบริเวณ 1,645 และถัดไปบริเวณ 1,640 ส่วนแนวต้านในวันนี้คาดว่ามีที่บริเวณ 1,660 และถัดไปที่ 1,670 แนะนำนักลงทุนที่เล่นในระยะ 1 — 2 วัน Trading ในกรอบ 1,640 — 1,670 ส่วนในระยะสัปดาห์คาดว่ามีแนวต้านบริเวณ 1,670/1,680 และแนวรับบริเวณ 1,640 และถัดไป 1,635 กรอบความเคลื่อนไหวในระยะสัปดาห์คาดว่าอยู่ระหว่าง 1,635 — 1,680 USDต่อออนซ์

 

Technical Analysis

 

ภาพทางเทคนิครอสัญญาณการจบรอบขาลงในระยะกลางโดยมี RSI ทำจุดต่ำสุดยกตัวสูงขึ้น ส่วนในวันนี้ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลงและมีโอกาสหลุดแนวรับเส้น MA 34 วันบริเวณ 1,653 ทำให้แนวโน้มในระยะสั้นส่งสัญญาณ bearish และมีโอกาสอ่อนตัวลงต่อที่บริเวณแนวรับ 1,645/1,640 และแนวรับถัดไปบริเวณ 1,612 ความเคลื่อนไหวในช่วงนี้ยังเป็นลักษณะ side way การปรับตัวลดลงต่ำกว่า 1,612 จะยืนยันแนวโน้มราคากลับมาเป็นขาลงในระยะกลางที่ยังไม่จบ ส่วนในระยะสัปดาห์คาดว่ามีแนวต้านบริเวณ 1,670/1,680 และแนวรับบริเวณ 1,640 และถัดไป 1,635

 

Key Point in Precious Market

 

- ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาทองคำ ได้แก่ ค่าเงินUSD แข็งค่าโดยนักลงทุนขายสินทรัพย์เสี่ยงและหันมาถือเงิน USD มากขึ้น ( - ) ราคาน้ำมันอ่อนตัวลง ( - ) ความกังวลในเรื่องหนี้สินของยุโรปเมื่อตัวเลขเศรษฐกิจของยูโรโซนออกมาแย่อย่างต่อเนื่อง ( - ) แนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ( - ) S&P ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซมาที่ระดับ CCC แต่ยังอยู่ในระดับขยะ( + )

 

- ประเด็นที่ต้องติดตาม การประชุมเรื่องอัตราดอกเบี้ยของอีซีบี (3 พ.ค.) การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสรอบสองในวันที่ 6 พ.ค.ซึ่งเป็นวันเดียวกับการเลือกตั้งในกรีซ การเจรจาระหว่าง P5+1 และอิหร่าน (23 พ.ค.) ความสามารถของสเปนในการจัดการฐานะการคลัง

 

- การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐในสัปดาห์นี้ วันพฤหัสบดี ตัวเลขประมาณการครั้งที่สองสำหรับประสิทธิภาพการผลิต และต้นทุนแรงงานต่อหน่วยประจำไตรมาส 1/2012 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีภาคบริการเดือนเม.ย. วันศุกร์ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเม.ย.

 

- SPDR ถือทองคำจำนวน 1,274.09 ตัน

 

Spot Silver

 

ราคาโลหะเงินปิดลดลง 0.29 USDต่อออนซ์ ปิดที่ 30.65 USDต่อออนซ์ โดยมีความเคลื่อนไหวระหว่าง 30.41 — 31.06 USDต่อออนซ์ ishares silver trust ขายโลหะเงินออก 14.61 ตัน ถือโลหะจำนวน 9,537.53 ตัน ส่วนโลหะเงินมีแนวรับบริเวณ 30.4/ 29.9 แนวต้านบริเวณ 31.0/ 31.6 แนะนำนักลงทุนระยะสั้น Trading ในกรอบ 29.9 — 31.6

 

ที่มา : ThaiPR.net (วันที่ 3 พฤษภาคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

KBank Market Watch

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ DJIA ปิดลดลง 0.08% หลังตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของ ADP เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในเดือนเม.ย. ซึ่งทำให้เกิดความกังวลว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในวันศุกร์นี้อาจสร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุน เมื่อวานนี้ สหรัฐฯ ยังรายงานยอดสั่งซื้อใหม่สำหรับสินค้าโรงงานที่ลดลงมากที่สุดในรอบ 3 ปี ในเดือนมี.ค.

USD/THB ปิดที่ระดับ 30.84 (Reuter = 30.87) ค่าเงินบาทปรับอ่อนค่าอย่างรวดเร็วในภาคบ่ายจากการที่นักลงทุนกังวลต่อการเคลื่อนไหวของเงินลงทุนต่างชาติท่ามกลางความไม่แน่นอนของปัญหาหนี้ยุโรป อันหนุนให้มีการขายทำกำไรก่อนเมื่อวานนี้

วันนี้คาดปรับตัวขึ้นไปที่ 31.00

 

การเคลื่อนไหวของตลาดที่สำคัญ

ตลาดหุ้นไทย SET Index ปิดปรับขึ้น 0.86% ไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค โดยมีแรงซื้ออย่างต่อเนื่อง โดยในระหว่างวัน SET Index สามารถผ่านระดับ 1,240 จุดได้ แต่ก็ไม่สามารถยืนเหนือระดับดังกล่าวได้ เนื่องจากถูกแรงขายทำกำไร จึงทำให้ดัชนีอ่อนตัวลงเล็กน้อย ขณะยังไม่มีปัจจัยใหม่ ๆ เข้ามากระตุ้นตลาด ทั้งนี้ เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติ ซื้อสุทธิ 628.87 ล้านบาท สำหรับการประชุมกนง. เมื่อวานนี้ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.00% ตามคาด

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพิ่มขึ้นมา อยู่ที่ 67.5 ในเดือนเม.ย. นับเป็นการปรับขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันและเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือนตั้งแต่เกิดอุทกภัยเมื่อปีที่แล้ว โดยความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นผลจากการที่ผู้บริโภคมองว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ DJIA ปิดลดลง 0.08% หลังตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของ ADP เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในเดือนเม.ย. โดยเพิ่มขึ้น 119,000 ตำแหน่ง เทียบกับผลสำรวจของ Bloomberg ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 170,000 ตำแหน่ง ซึ่งทำให้เกิดความกังวลว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในวันศุกร์นี้อาจสร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุน เมื่อวานนี้ สหรัฐฯ ยังรายงานยอดสั่งซื้อใหม่สำหรับสินค้าโรงงานที่ลดลงมากที่สุดในรอบ 3 ปี ในเดือนมี.ค.

ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย.ปรับลดลง 0.94 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล สู่ระดับ 105.22 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล โดยได้รับแรงกดดันจากการรายงานสต็อกน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นของ EIA และจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐฯ และตัวเลขภาคการผลิตและอัตราการว่างงานของฝั่งยุโรปออกมาไม่ค่อยดี ซึ่งเพิ่มความวิตกเกี่ยวกับอุปสงค์น้ำมันท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

ราคาทองตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย.ปรับลดลง 8.40 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ออนซ์ สู่ระดับ 1,654 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ออนซ์ ขณะที่ตลาดหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ปรับลดลงหลังการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ ออกมาน้อยกว่าคาด

 

อัตราแลกเปลี่ยน

EUR/USD ปิดที่ระดับ 1.3158 โดยตัวเลขเศรษฐกิจ PMI ภาคการผลิตในหลายประเทศในกลุ่ม ยูโรโซนออกมาไม่ดีนัก อีกทั้งตัวเลขการเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน ADP ของสหรัฐฯ ออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาดส่งผลให้นักลงทุนมีความกังวลต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง นอกจากนี้นักลงทุนได้คาดการณ์ว่าทางธนาคารกลางยุโรป ECB จะดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมหรือไม่ในการประชุมคืนนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศที่มีปัญหาหนี้ แนวโน้มเงินยูโรยังไม่แน่นอนนัก ขณะที่นักลงทุนกังวลว่าทางสเปนจะต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟ หรือ ECB หรือไม่หากไม่สามารถตัดลดการขาดดุลได้มากพอ

USD/JPY ปิดที่ระดับ 80.14 ค่าเงินเยนปรับอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ จากการที่นักลงทุนกังวลต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และปัญหาเศรษฐกิจของยูโรโซนที่หนุนให้นักลงทุนเข้าถือสินทรัพย์รูปดอลลาร์สหรัฐฯ ความพยายามของ BoJ ในการอัดฉีดสภาพคล่องดูจะไม่เป็นผลมากนักที่จะหนุนให้เยนอ่อนค่าอย่างรวดเร็ว

GBP/USD ปิดที่ระดับ 1.6200 จากการคาดการณ์ว่าทาง BoE อาจดำเนินการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมในการประชุมที่จะมีขึ้นในวันที่ 10 พ.ค. นี้ อีกทั้งเศรษฐกิจของอังกฤษยังไม่สามารถสร้างความแข็งแกร่งได้มากพอที่จะหนุนให้เศรษฐกิจโตได้ดีหลังจากที่เศรษฐกิจถดถอยในไตรมาสก่อน

สกุลเงินเอเชีย ส่วนใหญ่ปรับแข็งค่านำโดยเงินวอนและเงินฟิลิปปินส์เปโซ ขณะที่เงินดอลลาร์สิงคโปร์อ่อนค่าราว 0.3% เงินลงทุนที่ไหลเข้าตลาดเอเชียวานนี้มีผลสำคัญต่อการแข็งค่าของค่าเงินเอเชีย อย่างไรก็ดีนักลงทุนชะลอการลงทุนในหลายประเทศเพื่อรอผลตัวเลขแรงงานสหรัฐฯ

USD/THB ปิดที่ระดับ 30.84 (Reuter = 30.87) ค่าเงินบาทปรับอ่อนค่าอย่างรวดเร็วในภาคบ่ายจากการที่นักลงทุนกังวลต่อการเคลื่อนไหวของเงินลงทุนต่างชาติท่ามกลางความไม่แน่นอนของปัญหาหนี้ยุโรป อันหนุนให้มีการขายทำกำไรก่อนเมื่อวานนี้

 

อมรเทพ จาวะลา

ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน

โทรศัพท์: 02 470 6749

E-mail: amonthep.c@kasikornbank.com

 

นลิน ฉัตรโชติธรรม

ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน

โทรศัพท์: 02 470 3235

E-mail: nalin.c@kasikornbank.com

 

พุฒิกุล อัครชลานนท์

ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน

โทรศัพท์: 02 470 1031

E-mail: puttikul.a@kasikornbank.com

 

โดย ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ประจำวันที่ 03 พ.ค. 2555

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 20 ปี และตัวเลขเศรษฐกิจแย่"

เวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนมิ.ย.ปรับลดลง 0.94 เหรียญฯ/บาร์เรล ปิดที่ 105.22 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ปรับลดลง 1.46 เหรียญฯ ปิดที่ 118.20 เหรียญฯ

 

 

ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน โดยสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 27 เม.ย. ปรับเพิ่มขึ้นอีก 2.84 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 375.86 ล้านบาร์เรลซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ เดือน ก.ย. 2533 ปริมาณอุปทานน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากนั้นมีส่วนช่วยคลายความกังวลในเรื่องอุปทานน้ำมันดิบตึงตัว

 

 

 

- ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯออกมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้มาก โดยเพิ่มขึ้นเพียง 119,000 ตำแหน่ง ในเดือน เม.ย. น้อยกว่าที่คาดไว้ที่ 177,000 ตำแหน่ง ส่วนยอดคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของสหรัฐฯในเดือน มี.ค. ลดลงมากที่สุดในรอบ 3 ปี โดยปรับลงอีก 1.5% จากเดือนก่อนหน้าที่ลดลง 1.1% ส่งผลต่อความกังวลในเรื่องการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

- ส่วนดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของสหภาพยุโรปเดือน เม.ย. ก็ปรับลดลงมากสุดในรอบ 3 ปี โดยมาอยู่ที่ระดับ 45.9 จากระดับ 47.7 ในเดือน มี.ค. เนื่องจากภาคการผลิตลดการจ้างงาน ทั้งนี้สาเหตุหลักมาจากมาตรการรัดเข็มขัดของประเทศในยุโรปทำให้การจับจ่ายใช้สอยลดลง

- อิหร่านกล่าวว่าจะพยายามหาทางเจรจาเพื่อให้ชาติตะวันตกยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อการส่งออกน้ำมันดิบและภาคการเงินของอิหร่าน ในการประชุมกับ 6 ชาติแกนนำโลกในวันที่ 23 พ.ค. นี้ รวมทั้งจะเปิดประเด็นในเรื่องการที่ฝรั่งเศสเป็นผู้ให้การสนับสนุนอิสราเอลในการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งอิสราเอลเป็นประเทศเดียวในตะวันออกกลางที่มีอาวุธนิวเคลียร์

 

ราคาน้ำมันเบนซินที่สิงคโปร์ ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไป จากอุปทานที่มีมากขึ้นในเอเซียและยุโรป จากกลับมาของการซ่อมบำรุงโรงกลั่น ส่วนารคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้มันดิบดูไป เนื่องจากอุปทานที่ตึงตัวในภูมิภาคจากการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นในอินเดีย และไต้หวัน

 

ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง

 

กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบเบรนท์ 115 - 123 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 100- 108 เหรียญฯ  

ราคาจะยังคงผันผวนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาไม่สดใส และปัญหาหนี้ยุโรป รวมถึงความกังวลต่อสถานการณ์ในอิหร่านที่ลดลง  อย่างไรก็ตาม อุปทานที่มีปัญหาจากการหยุดผลิตและความตึงเครียดทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบจะยังคงช่วยพยุงราคาน้ำมันไว้ที่ระดับสูง ส่วนวันนี้ติดตาม: ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน และดัชนีภาคการบริการของสหรัฐฯ รวมถึงผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ / ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดสหรัฐฯ ไตรมาส 1/55 ที่ต้องติดตาม ได้แก่

 

วันพฤหัสฯ: ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน และดัชนีภาคการบริการของสหรัฐฯ รวมถึงผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป / คราฟต์ ฟูดส์ วันศุกร์: การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ

- การเลือกตั้งประธานธิบดีฝรั่งเศสในวันที่ 6 พ.ค. นี้ และการเลือกตั้งของกรีซในวันเดียวกัน

-  การเจรจาครั้งที่ 2 ระหว่าง 6 ประเทศแกนนำหลักของโลกและอิหร่านในเรื่องโครงการนิวเคลียร์อิหร่านในวันที่ 23 พ.ค. ที่เมืองแบกแดด ประเทศอิรัก ส่วนในเรื่องมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน ทางสหรัฐฯยังไม่มีท่าทีจะยกเลิก แต่สหภาพยุโรปจะมีการหารืออีกครั้งว่าจะเดินหน้ามาตรการคว่ำบาตรต่อหรือไม่

- สถานการณ์ความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ได้แก่ ไนจีเรีย ซีเรีย อิรัก เยเมน  ลิเบีย และซูดานใต้

- การพิจารณาปล่อยน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์โดยสหรัฐฯ อังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อช่วยลดแรงกดดันของราคาน้ำมัน

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 3 พฤษภาคม 2555)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เฮีย ไม่วิแคะให้กระทู้คึกคักหน่อยหรือ เงียบจัง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวีดัด..สวัสดีครับเพื่อนๆ ราคาทองเช้านี้มาดูไม่ค่อยดีเลยไหลแต่เช้า

 

ภาพรายสี่ใกล้จะตัดขึ้นแล้ว แต่รายวันนี่ซิน่ากังวลเริ่มจะตัดลงแล้ว :_cd ยังไงวันนี้ต้องลุ้นรีบาวน์ให้ได้ ไม่งั้นภาพรายวันจะดู Bearish เพราะดูเหมือนจะเกิดไดเวอร์เจ๋ง

 

ถ้ามีกำไรก็ก็ขายหมูออกมา ดูนอกสนามก่อนดีว่าจะครับ ที่ว่ามาทั้งหมดเดา :_ee

 

แกเดาให้กำลังใจคนซื้อ 24200 หน่อยสิวะ :19

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้ ได้จับตำรวจ หนุ่มๆ หลายคน จับหน้า จับ แขน ขา หลัง อุ็ย :87 แจกเบอร์ ไปแล้วด้วย :32

 

แต่ที่ดีใจ ยิ่ง กว่า ก็ไอ้ตรง 800x3 นะ มีเงินค่า........... แล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีเพื่อนๆทุกคนครับ ขอบคุณเฮียเด็กขายของสำหรับข่าวสารครับ :01

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...