ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

TheBullionDesk, Reuters, Infoquest

 

วันศุกร์ที่ 10 ส.ค. 55

 

ราคาทองคำสามารถแสดงบทบาทได้ดีเหนือกลุ่มโลหะมีค่าอื่นๆ ที่มีความผันผวนเมื่อคืนวันศุกร์ โดยสัญญาทองคำส่งมอบเดือนธันวาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น2.6 เหรียญ ปิดตลาด COMEX ที่ระดับ 1,622.8 เหรียญ และตลอดทั้งสัปดาห์สัญญาทองคำปรับตัวขึ้นทั้งสิ้น 0.8% ปริมาณการซื้อขายทั้งหมดเมื่อวันศุกร์อยู่ที่ประมาณ111,000 ล็อต ราว 30% ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 30 วัน แต่ยังคงเป็นระดับสูงสุดในรอบสัปดาห์

 

ราคาทองคำปรับตัวขึ้นเมื่อคืนวันศุกร์จากการประกาศตัวเลขTrade surplus ของจีนประจำเดือนกรกฎาคมที่ออกมาที่ระดับ 2.51พันล้านดอลลาร์ ต่ำกว่าการคาดการณ์ที่ 3.51 พันล้านดอลลาร์ และลดลงจากเดือนมิถุนายน 6.6 พันล้านดอลลาร์ และการประกาศตัวเลขการให้กู้ยืมใหม่ของธนาคารจีนที่ออกมาต่ำสุดในรอบ10 เดือน ส่งผลให้เพิ่มความกังวลในเรื่องเศรษฐกิจจีนชะลอตัว อย่างไรก็ตามกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ อยู่ภายใต้แรงกดดัน แต่ราคาทองคำสามารถปรับตัวสูงขึ้นท่ามกลางความกังวล เนื่องจากมีความหวังในความเป็นไปได้ที่อาจมีการกระตุ้นเศรษฐกิจจากธนาคารกลางจีน

 

สำหรับการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐเมื่อคืนวันศุกร์Import prices ลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยครั้งนี้ลดลง 0.6%ซึ่งมีการคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจทางฝั่งยุโรป การผลิตภาคอุตสาหกรรมของฝรั่งเศสประจำเดือนมิถุนายนไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งมีการคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4%อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวฟื้นตัวขึ้นจากเดือนพฤษภาคมที่มีการปรับตัวลดลง 2.1%

 

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา บีเอ็นพี พาริบาส ได้กล่าวย้ำมุมมองของตนเองว่า เฟดจะประกาศมาตรการ QE3 ในช่วงสิ้นเดือนนี้ในการประชุมที่แจ็คสัน โฮลล์ (Jackson Hole) ในวันที่ 31 สิงหาคมนี้ โดยมีการระบุในรายงานว่า การคาดการณ์ดังกล่าวได้รับแรงสนับสนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ที่ออกมาอย่างน่าผิดหวังล่าสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลข Non-farm payroll ประจำเดือนกรกฎาคม

 

วันจันทร์ที่ 13 ส.ค. 55

 

ราคาทองคำปรับตัวลดลงเมื่อคืนนี้ 10.2 เหรียญ ปิดตลาด COMEXที่ระดับ 1,612.6 เหรียญ โดยมีปริมาณการซื้อขายที่ 40%ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 30 วัน เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความไม่มั่นใจเกี่ยวกับธนาคารกลางต่างๆ ว่าจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่ ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักลงทุนเทขายทำกำไรในช่วงที่ราคาทองคำมีการปรับตัวสูงขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

โดยราคาทองคำปรับตัวลดลงหลังจากญี่ปุ่นเปิดเผยว่า จีดีพีที่แท้จริงในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ขยายตัวน้อยเกินคาด 0.3%ต่ำกว่าที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัว 0.6% และต่ำกว่าไตรมาสที่แล้วที่ระดับ 1.2%ส่งผลให้เกิดความกังวลเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการฟื้นตัวในเศรษฐกิจทั่วโลก

 

ข้อมูลจาก CFTC ระบุว่า กลุ่ม Hedge funds และผู้จัดการฝ่ายการเงินลดการถือครองสถานะLong position สุทธิในสัญญาโกลด์ฟิวเจอร์ส และสัญญา Optionsลง 11% ในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 7 สิงหาคม เนื่องจากกลุ่มนักเก็งกำไรได้ลดการลงทุนในทิศทางขาขึ้นจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจจากเฟด และกลุ่มธนาคารกลางอื่นๆ

 

ดัชนีราคาขายส่งของเยอรมนีประจำเดือนกรกฎาคมปรับตัวสูงขึ้น0.3% หลังจากที่ปรับตัวลดลง 1.1% ในเดือนมิถุนายน

 

นอกจากนี้ทางฝั่งยูโรโซน ผลประโยชน์และข้อเสียเปรียบของการแทรกแซงจากอีซีบีกำลังอยู่ภายใต้การถกเถียงกันในกลุ่มนักการเมืองและกลุ่มรัฐมนตรีคลังของยุโรป ยกตัวอย่างเช่น นายวายด์แมน ประธานบุนเดสแบงก์ นาย โคนี่ กรรมการธนาคารกลางเบลเยียม และนายคาไทเน็น (Katainen) นายกรัฐมนตรีฟินแลนด์ ยังคงมีการกล่าวต่อต้านการเข้าซื้อพันธบัตรสเปนและอิตาลีของอีซีบี ซึ่งมีการระบุว่า แม้ว่าการเข้าซื้อพันธบัตรโดยอีซีบีจะสามารถลดความตึงเครียดในตลาดได้ในระยะสั้น แต่จะมีผลกระทบทางด้านเงินเฟ้อมาในระยะยาว

 

วันอังคารที่ 14 ส.ค. 55

 

ราคาทองคำขยับตัวสูงขึ้นในเช้าวันนี้หลังจากที่ปรับตัวลดลงเมื่อคืน เนื่องจากนักลงทุนต่างรอคอยการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ จากทั้งทางฝั่งยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่อาจบ่งชี้ความอ่อนแอเพิ่มเติมของเศรษฐกิจโลก และกระตุ้นให้กลุ่มธนาคารกลางต่างๆ มีการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม

 

หลังจากที่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีการประกาศตัวเลขTrade balance ของจีน และการรายงานจีดีพีไตรมาสที่ 2 ของญี่ปุ่นที่ออกมาอ่อนแอ นักลงทุนกำลังจับตาการประกาศตัวเลขจีดีพีไตรมาสที่ 2 ของฝั่งยูโรโซน ฝรั่งเศสและเยอรมนี ที่คาดว่าจะมีการหดตัวลง

 

วิกฤตหนี้ยุโรปยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยจีดีพีไตรมาสที่ 2 ของกรีซแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจกรีซหดตัวต่ำกว่าที่คาด 6.2%ในขณะที่ธนาคารกลางอิตาลีรายงานเมื่อวานนี้ว่า หนี้สาธารณะของอิตาลีพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมิถุนายนเกือบ2 ล้านล้านยูโร และยอดขาดดุลงบประมาณรายปีเพิ่มากขึ้นกว่าปีก่อนหน้านี้ ส่วนทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสเปนระยะสั้นก็เพิ่มสูงขึ้นเมื่อวานนี้ เนื่องจากนักลงทุนมีความคิดทบทวนใหม่ถึงความเป็นไปได้ที่อีซีบีอาจใช้แผนเข้าซื้อพันธบัตร ซึ่งมองว่าอาจเร็วเกินไปในการเข้าแทรกแซง

 

ในสัปดาห์นี้จะมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญทางฝั่งสหรัฐติดต่อกัน3 วัน อันได้แก่ ยอดค้าปลีกของสหรัฐ และดัชนีราคาผู้ผลิตที่จะประกาศในวันนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภค, การผลิตภาคอุตสาหกรรม, Empire State manufacturing index และ TIC Long Term Purchases ที่จะประกาศในวันพุธ รวมไปถึง Building permits, Unemployment Claims, Housing starts และ Philly Fed Manufacturing Index ที่จะประกาศในวันพฤหัสบดี

 

ที่มา MTS

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมันขึ้น แต่หุ้นสหรัฐฯ-ทองคำปิดลบกังวลเศรษฐกิจญี่ปุ่น

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 สิงหาคม 2555 04:29 น.

 

555000010506601.JPEG

เอเอฟพี - ราคาน้ำมันลอนดอนวานนี้(13) ปิดบวก จากความกังวลทางอุปทานและความตึงเครียดในตะวันออกกลาง ขณะที่วอลล์สตรีท ขยับลง ส่วนทองคำดิ่งลงอย่างหนัก ตามข้อมูลทางเศรษฐกิจที่น่าวิตกของญี่ปุ่น

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนกันยายน ลดลง 14 เซนต์ ปิดที่ 92.73 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 62 เซนต์ ปิดที่ 113.60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม

 

คาร์าเทน ฟริตส์ช นักวิเคราะห์จากคอมเมอร์ซแบงค์ระบุว่ราคาน้ำมันตลาดลอนดอนขยับขึ้น จากความกังวลต่ออุปทานตึงตัวจากปัญหาการผลิตในทะเลเหนือ เช่นเดียวกับความตังเครียดในตะวันออกกลางต่อกรณีอิสราเอลอาจลงมือโจมตีอิหร่านโดยฝ่ายเดียว

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(13) ปิดในแดนลบท่ามกลางการซื้อขายที่เซื่องซึม ขณะที่นักลงทุนหวาดหวั่นต่อข้อมูลทางเศรษฐกิจที่น่าผิดหวังของญี่ปุ่น

 

ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ ลดลง 37.90 จุด (0.29 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 13,170.05 จุด แนสแดค ลดลง 1.66 จุด (0.05 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,022.52 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 1.67 จุด (0.12 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,404.20 จุด

 

ก่อนหน้านี้รัฐบาลญี่ปุ่นเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน เติบโตขึ้นจากไตรมาสแรกของปีเพียงร้อยละ 0.3 ผิดกับที่ตลาดคาดหวังไว้ว่าจะเติบโตที่ราวร้อยละ 0.7 "ณ วันนี้ ญี่ปุ่นได้รับความสนใจน้อย แต่ยังคงเป็นชาติเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของโลก" ดิค กรีน นักวิเคราะห์จากบรีฟดอคคอมระบุ

 

ปัจจัยดังกล่าวประกอบกับจีนและชาติอื่นๆในเอเชีย ก็ส่งสัญญาณถึงความอ่อนแอทางเศรษฐกจก็ฉุดให้ราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ของสหรัฐฯ วานนี้(13) ดิ่งลงถึง 10.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,612.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เนื่องจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ถูกมองว่าเป็นตัวสนับสนุนเศรษฐกิจโลกในยามที่เศรษฐกิจสหรัฐฯและยุโรป เริ่มชะลอตัวเช่นนี้

 

http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9550000099606

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 00:01 น. ข่าวสดออนไลน์

 

"บาทอ่อน-ลดดอกเบี้ย" เพื่อใคร

13448709171344870975l.jpg

ทวี มีเงิน

 

เมื่อเร็วๆ นี้ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กิตติรัตน์ ณ ระนอง ออกมาส่งสัญญาณถึงแบงก์ชาติให้ใช้นโยบาย ′ค่าเงินบาทอ่อน′ และ ′ลดดอกเบี้ย′ เหมือนกับจะบอกว่า แบงก์ชาติอย่าได้ยึดกรอบเงินเฟ้อแบบไม่ลืมหูลืมตา (อันที่จริงก็มีส่วนถูก) สัญญาณที่รัฐบาลส่งออกมาเท่ากับจะบอกว่า ต่อไปนี้จะให้ความสำคัญกับการ กระตุ้นเศรษฐกิจแม้จะได้ผลระยะสั้นๆ ก็ตาม

 

อย่างน้อยนโยบาย ′ค่าเงินบาทอ่อน′ เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก แต่อย่าสับสนว่าจะช่วยการส่งออกของประเทศ เพราะค่าเงินบาทจะอ่อนอย่างไรก็คงไม่ทำให้การส่งออกของเราดีขึ้น เป้าที่ตั้งไว้ทั้งปี 15% ก็คงไม่ถึงอยู่ดี เพราะปัจจัยการส่งออกไม่ได้อยู่ที่ ′ราคา′ เพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับ ′สถานการณ์ตลาด′ ด้วย

 

ที่สำคัญตลาดหลักไม่ว่าสหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรป และกระทั่งจีนที่เป็นตลาดหลักของไทยกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจตกสะเก็ด ประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค ราคาถูกอย่างไรคงไม่จูงใจให้นำเข้าเพิ่มขึ้น ประชาชนบริโภคเพิ่มขึ้นจนทำให้ตัวเลขนำเข้าสูงขึ้นตามเป้าที่ตั้งไว้

 

ประวัติศาสตร์การส่งออกของเราไม่ได้อยู่กับ ′ค่าเงินบาทจะแข็งหรืออ่อน′ แต่อยู่ที่ ′เศรษฐกิจโลกดีหรือไม่ดี′ เป็นปัจจัยหลัก แต่ค่าเงินบาทอ่อนในภาวะเศรษฐกิจโลกอ่อนแอจะมีผลแค่ทำให้ผู้ส่งออก ′กำไรเพิ่มขึ้น′ จากค่าเงินเท่านั้น

 

นั่นแปลว่า บริษัทส่งออกอย่างรถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่เป็นบริษัทต่างชาติ หรือกลุ่มธุรกิจคนไทยอย่างธุรกิจอาหาร อัญมณี เอสเอ็มอีบางกลุ่ม ก็จะได้ประโยชน์แน่ๆ

 

กระทั่งข้าวที่อยู่ในโกดังกว่า 10 ล้านตันก็พลอยได้รับอานิสงส์ไปด้วย เพราะ ′ราคาข้าว′ ที่ตั้งไว้ในโครงการรับจำนำตันละ 1.5 หมื่นบาทก็จะถูกลงทันที จากนโยบายค่าเงินบาทอ่อน เหมือนกรณีวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 สินค้าเกษตรได้รับอานิสงส์จากค่าเงินบาทอ่อนจาก 25 บาทเป็น 50 บาท

 

แม้ว่าข้าวจะไม่ใช่สินค้าส่งออกติดอันดับ 1 ใน 10 แต่นโยบายนี้คงจะช่วยให้รัฐบาลระบายข้าวออกจากโกดังได้คล่องขึ้น ′ลดราคาข้าว′ แบบเนียนๆ

 

ไม่ว่าผู้ส่งออกกลุ่มไหนจะได้ประโยชน์ แต่ภาระนี้คือ ′ต้นทุนของคนไทย′ ต้องแบกรับ เมื่อค่าเงินบาทช่วยผู้ส่งออก แต่ไปเพิ่มภาระให้แก่ ′สินค้านำเข้า′ เฉพาะอย่างยิ่ง ′น้ำมัน′ ที่นำเข้ากว่า 1 ล้านล้านบาทต่อปีราคาแพงขึ้น หากค่าเงินบาทอ่อน เมื่อน้ำมันแพงค่าขนส่ง ราคาสินค้าก็แพงตาม

 

 

ทั้ง ′บาทอ่อน′ และ ′ลดดอกเบี้ย′ จึงเป็นการส่งสัญญาณว่ารัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นๆ เรียกคะแนนนิยมเท่านั้น

 

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNME5EZzNNRGt4Tnc9PQ==&sectionid=

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

TheBullionDesk, Reuters, Infoquest

 

วันศุกร์ที่ 10 ส.ค. 55

 

ราคาทองคำสามารถแสดงบทบาทได้ดีเหนือกลุ่มโลหะมีค่าอื่นๆ ที่มีความผันผวนเมื่อคืนวันศุกร์ โดยสัญญาทองคำส่งมอบเดือนธันวาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.6 เหรียญ ปิดตลาด COMEX ที่ระดับ 1,622.8 เหรียญ และตลอดทั้งสัปดาห์สัญญาทองคำปรับตัวขึ้นทั้งสิ้น 0.8% ปริมาณการซื้อขายทั้งหมดเมื่อวันศุกร์อยู่ที่ประมาณ 111,000 ล็อต ราว 30% ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 30 วัน แต่ยังคงเป็นระดับสูงสุดในรอบสัปดาห์

 

ราคาทองคำปรับตัวขึ้นเมื่อคืนวันศุกร์จากการประกาศตัวเลข Trade surplus ของจีนประจำเดือนกรกฎาคมที่ออกมาที่ระดับ 2.51 พันล้านดอลลาร์ ต่ำกว่าการคาดการณ์ที่ 3.51 พันล้านดอลลาร์ และลดลงจากเดือนมิถุนายน 6.6 พันล้านดอลลาร์ และการประกาศตัวเลขการให้กู้ยืมใหม่ของธนาคารจีนที่ออกมาต่ำสุดในรอบ 10 เดือน ส่งผลให้เพิ่มความกังวลในเรื่องเศรษฐกิจจีนชะลอตัว อย่างไรก็ตามกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ อยู่ภายใต้แรงกดดัน แต่ราคาทองคำสามารถปรับตัวสูงขึ้นท่ามกลางความกังวล เนื่องจากมีความหวังในความเป็นไปได้ที่อาจมีการกระตุ้นเศรษฐกิจจากธนาคารกลางจีน

 

สำหรับการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐเมื่อคืนวันศุกร์ Import prices ลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยครั้งนี้ลดลง 0.6% ซึ่งมีการคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจทางฝั่งยุโรป การผลิตภาคอุตสาหกรรมของฝรั่งเศสประจำเดือนมิถุนายนไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งมีการคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4% อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวฟื้นตัวขึ้นจากเดือนพฤษภาคมที่มีการปรับตัวลดลง 2.1%

 

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา บีเอ็นพี พาริบาส ได้กล่าวย้ำมุมมองของตนเองว่า เฟดจะประกาศมาตรการ QE3 ในช่วงสิ้นเดือนนี้ในการประชุมที่แจ็คสัน โฮลล์ (Jackson Hole) ในวันที่ 31 สิงหาคมนี้ โดยมีการระบุในรายงานว่า การคาดการณ์ดังกล่าวได้รับแรงสนับสนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ที่ออกมาอย่างน่าผิดหวังล่าสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลข Non-farm payroll ประจำเดือนกรกฎาคม

 

วันจันทร์ที่ 13 ส.ค. 55

 

ราคาทองคำปรับตัวลดลงเมื่อคืนนี้ 10.2 เหรียญ ปิดตลาด COMEX ที่ระดับ 1,612.6 เหรียญ โดยมีปริมาณการซื้อขายที่ 40% ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 30 วัน เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความไม่มั่นใจเกี่ยวกับธนาคารกลางต่างๆ ว่าจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่ ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักลงทุนเทขายทำกำไรในช่วงที่ราคาทองคำมีการปรับตัวสูงขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

โดยราคาทองคำปรับตัวลดลงหลังจากญี่ปุ่นเปิดเผยว่า จีดีพีที่แท้จริงในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ขยายตัวน้อยเกินคาด 0.3% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัว 0.6% และต่ำกว่าไตรมาสที่แล้วที่ระดับ 1.2% ส่งผลให้เกิดความกังวลเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการฟื้นตัวในเศรษฐกิจทั่วโลก

 

ข้อมูลจาก CFTC ระบุว่า กลุ่ม Hedge funds และผู้จัดการฝ่ายการเงินลดการถือครองสถานะ Long position สุทธิในสัญญาโกลด์ฟิวเจอร์ส และสัญญา Options ลง 11% ในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 7 สิงหาคม เนื่องจากกลุ่มนักเก็งกำไรได้ลดการลงทุนในทิศทางขาขึ้นจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจจากเฟด และกลุ่มธนาคารกลางอื่นๆ

 

ดัชนีราคาขายส่งของเยอรมนีประจำเดือนกรกฎาคมปรับตัวสูงขึ้น 0.3% หลังจากที่ปรับตัวลดลง 1.1% ในเดือนมิถุนายน

 

นอกจากนี้ทางฝั่งยูโรโซน ผลประโยชน์และข้อเสียเปรียบของการแทรกแซงจากอีซีบีกำลังอยู่ภายใต้การถกเถียงกันในกลุ่มนักการเมืองและกลุ่มรัฐมนตรีคลังของยุโรป ยกตัวอย่างเช่น นายวายด์แมน ประธานบุนเดสแบงก์ นาย โคนี่ กรรมการธนาคารกลางเบลเยียม และนายคาไทเน็น (Katainen) นายกรัฐมนตรีฟินแลนด์ ยังคงมีการกล่าวต่อต้านการเข้าซื้อพันธบัตรสเปนและอิตาลีของอีซีบี ซึ่งมีการระบุว่า แม้ว่าการเข้าซื้อพันธบัตรโดยอีซีบีจะสามารถลดความตึงเครียดในตลาดได้ในระยะสั้น แต่จะมีผลกระทบทางด้านเงินเฟ้อมาในระยะยาว

 

วันอังคารที่ 13 ส.ค. 55

 

ราคาทองคำขยับตัวสูงขึ้นในเช้าวันนี้หลังจากที่ปรับตัวลดลงเมื่อคืน เนื่องจากนักลงทุนต่างรอคอยการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ จากทั้งทางฝั่งยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่อาจบ่งชี้ความอ่อนแอเพิ่มเติมของเศรษฐกิจโลก และกระตุ้นให้กลุ่มธนาคารกลางต่างๆ มีการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม

 

หลังจากที่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีการประกาศตัวเลข Trade balance ของจีน และการรายงานจีดีพีไตรมาสที่ 2 ของญี่ปุ่นที่ออกมาอ่อนแอ นักลงทุนกำลังจับตาการประกาศตัวเลขจีดีพีไตรมาสที่ 2 ของฝั่งยูโรโซน ฝรั่งเศสและเยอรมนี ที่คาดว่าจะมีการหดตัวลง

 

วิกฤตหนี้ยุโรปยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยจีดีพีไตรมาสที่ 2 ของกรีซแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจกรีซหดตัวต่ำกว่าที่คาด 6.2% ในขณะที่ธนาคารกลางอิตาลีรายงานเมื่อวานนี้ว่า หนี้สาธารณะของอิตาลีพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมิถุนายนเกือบ 2 ล้านล้านยูโร และยอดขาดดุลงบประมาณรายปีเพิ่มากขึ้นกว่าปีก่อนหน้านี้ ส่วนทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสเปนระยะสั้นก็เพิ่มสูงขึ้นเมื่อวานนี้ เนื่องจากนักลงทุนมีความคิดทบทวนใหม่ถึงความเป็นไปได้ที่อีซีบีอาจใช้แผนเข้าซื้อพันธบัตร ซึ่งมองว่าอาจเร็วเกินไปในการเข้าแทรกแซง

 

ในสัปดาห์นี้จะมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญทางฝั่งสหรัฐติดต่อกัน 3 วัน อันได้แก่ ยอดค้าปลีกของสหรัฐ และดัชนีราคาผู้ผลิตที่จะประกาศในวันนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภค, การผลิตภาคอุตสาหกรรม, Empire State manufacturing index และ TIC Long Term Purchases ที่จะประกาศในวันพุธ รวมไปถึง Building permits, Unemployment Claims, Housing starts และ Philly Fed Manufacturing Index ที่จะประกาศในวันพฤหัสบดี

 

cleardot.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

On Gold's Recent Resilience

Tyler Durden's picture

Submitted by Tyler Durden on 08/12/2012 22:33 -0400

 

 

Some might be surprised by the title's positivity, but while the barbarous relic has meandered in an ever-compressing (triangle pattern) series of waves in the last few months, it has rather notably outperformed relative to global risk aversion, CFTC positioning, and central bank balance sheet dynamics - especially in the last few weeks. Whether the yellow metal's zero-yield is now 'technically' attractive to safe-haven flows relative to the NIRPs of Germany and Switzerland - or in fundamental anticipation of the next bout of central bank largesse, Citi's global macro strategy group remain bullish of the precious metal and the charts below suggest they are not alone.

 

$1650 seems like the key 'technical' line in the sand for another leg up as the small (and large) triangles come into play...

20120812_gold.png

 

but Gold's resilience in the face of...

 

1. a 'slowing' or contracting global central bank balance sheet...

 

20120812_gold1.png

 

2. volatility in Citi's risk-aversion index (GRAMI)...

 

20120812_gold2.png

 

3. and a notable 'apparent' derisking based on CFTC Futures & Options Net Positioning...

 

20120812_gold3.png

 

It seems there is either a degree of buying in precious metals that is anticipating an increase in risk-aversion OR it is anticipating central bank largesse. What is critically clear is that gold's gyrations and uncertainty relative all of these three indicators since the end of LTRO2 has fallen suggesting its diversification and 'hedge-ability' for both risk-on (liquidity-driven exuberance) and risk-off (safe-haven sourcing in a NIRP world) is increasingly appealing.

 

 

 

One thing is sure - the view that precious metals are a put on political stupidity remains front-and-center - as fundamentals take a back-seat to the monetary addiction of the world's advanced economies (and perhaps tonight's negative nominal GDP print for Japan - leaving the nation in deflation 50% of the quarters of the last 5 years - is priming for more print-and-be-damned excess - though China's reverse-repo test should be a concern for all those 'hoping' for stimulus extravaganza)

 

 

 

Charts: Citi

Average:

 

http://www.zerohedge.com/news/golds-recent-resilience

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดี เช้าวันทำงานค่ะ แปะเพลงนี้ให้ เพราะเห็นห้องนี้มีแต่กลิ่นไอของความรัก ยกเว้น ป๋า อิอิ คิดถึงป๋านะ ชาร์จแบต เกินร้อยรึยังคะ

 

http://www.youtube.com/watch?v=XAXSF7H2Vds&feature=youtube_gdata_player

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คุณเด็กขายของจะเข้าซื้อที่ราคาเท่าไหร่คะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

rocket-fail.gifkids-rocket-launch-fail-gif.gif

 

สำหรับกัปตัน

 

rocket-fail-banned-hollywood-12.gif

 

พอแม่พลอยมาป๋าจัดนี้ให้

 

หมายความว่าไงหว่า :047

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำหรับกัปตัน

 

 

 

พอแม่พลอยมาป๋าจัดนี้ให้

 

หมายความว่าไงหว่า :047

 

หุหุ :Dh

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

 

พอแม่พลอยมาป๋าจัดนี้ให้

 

หมายความว่าไงหว่า :047

หุหุ อยากลองของ แล้วจะเจอเรื่องสนุกสนาน ! ส่วนไฟลุกที่ก้นเป็นไอพ่น เป็นสิ่งที่คาดไม่ถึง อาจต้องชักทุนเพื่อเสี่ยงโดดเข้าตลาดฯ เพราะไม่ได้ใส่เสื้อผ้า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

**ตลาดหุ้นเอเชียปรับเพิ่มขึ้นเช้านี้ ขานรับผลประชุมบีโอเจ

 

 

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นเช้านี้ หลังจากที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) เปิดเผยรายงานการประชุมที่ระบุว่า ทางธนาคารพร้อมใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนก.ค.ในคืนนี้ ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น

 

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific Index (MXAP) บวกขึ้น 0.2% ที่ระดับ 120.41 จุด ณ เวลา 9.45 น.ตามเวลาโตเกียว โดยมีสัดส่วนหุ้นบวกต่อหุ้นลบเกือบ 3 ต่อ 1 หุ้น

 

 

ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 8,913.70 จุด เพิ่มขึ้น 28.55 จุด, ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 20,251.42 จุด เพิ่มขึ้น 170.06 จุด, ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,137.05 จุด เพิ่มขึ้น 0.97 จุด, ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นโซลเปิดวันนี้ที่ 1,942.61 จุด เพิ่มขึ้น 10.17 จุด, ดัชนีเวทเต็ดตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 7,447.03 จุด เพิ่มขึ้น 10.73 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,065.83 จุด เพิ่มขึ้น 1.02 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,646.55 จุด เพิ่มขึ้น 0.23 จุด และดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 4,282.20 จุด ลดลง 1.10 จุด

 

 

หุ้นฮอนด้า มอเตอร์ ขยับขึ้น 0.7% ในโตเกียว

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทเปิด 31.43/45 แข็งค่าตามภูมิภาค มองกรอบวันนี้ 31.40-31.50

 

 

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 31.43/45 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดอยู่ที่ระดับ 31.48/50 บาท/ดอลลาร์

 

 

สาเหตุที่เงินบาทแข็งค่าเช้านี้น่าจะเป็นการแข็งค่าตามภูมิภาค เพราะวันนี้ตลาดยังรอดูตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกากับยุโรป

 

 

ส่วนความเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศช่วงเช้าวันนี้ ค่าเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2347/2348 ดอลลาร์/ยูโร ส่วนค่าเงินเยนอยู่ที่ระดับ 78.42/44 เยน/ดอลลาร์

 

 

นักบริหารเงิน คาดว่า เงินบาทวันนี้น่าจะยังเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 31.40-31.50 บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยที่ให้ติดตามคือ ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐ โดยเฉพาะยอดค้าปลีกเดือน ก.ค.และ ข้อมูลผลผลิตทางเศรษฐกิจของยุโรป

 

วันนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนก.ค., กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.ค. และ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนมิ.ย.

 

นอกจากนี้ เยอรมนีจะเปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2555 และ ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ขณะที่อังกฤษจะเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมิ.ย. นอกจากนี้ สหภาพยุโรป (อียู) จะเปิดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย. และผลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2555

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

14  สิงหาคม 2555

 

เศรษฐกิจญี่ปุ่นอ่อนแอฉุดราคาเวสต์เท็กซัส - บมจ.ไทยออยล์

 

 

" เศรษฐกิจญี่ปุ่นอ่อนแอฉุดราคาเวสต์เท็กซัส "

 

 

 

เวสต์เท็กซัสส่งมอบ ก.ย. ลดลง 0.14 เหรียญฯ ปิดที่ 92.73เหรียญฯ และเบรนท์ส่งมอบ ก.ย.เพิ่มขึ้น 0.65 เหรียญฯ ปิดที่ 113.60 เหรียญฯ

 

 

 

- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับตัวลดลงจากความกังวลในเรื่องอุปสงค์ โดยจีดีพีไตรมาส 2/2555 ของญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ของโลกขยายตัวเพียง 0.3% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 0.6% และน้อยกว่าไตรมาสก่อนที่ 1.3% เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเพียง 0.1% ลดลงจากไตรมาสแรกที่ 1.2% นอกเหนือจากนั้นการส่งออกก็ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจในยุโรปที่อยู่ในภาวะถดถอยเช่นกัน

 

 

 

- จีดีพีไตรมาส 2/2555 ของกรีซหดตัวที่ 6.2% จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัว 6.5% เนื่องจากอัตราการว่างงานที่สูงถึง 23% และมาตรการลดการใช้จ่ายของภาครัฐฯเพื่อให้ตรงตามข้อตกลงกับนานาชาติในการได้มาซึ่งเงินช่วยเหลือโดยเศรษฐกิจของกรีซได้อยู่ในภาวะถดถอยเป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน

 

 

 

+ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวสูงขึ้นจากความกังวลอุปทานตึงตัวจากแหล่งผลิตในแถบทะเลเหนือ โดยมีการคาดการณ์ว่าระดับการผลิตน้ำมันดิบจากทะเลเหนือ 12 แห่ง จะลดลงมาอยู่ที่ 1.57 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน ก.ย. จาก 1.91 ล้านบาร์เรลฯในเดือน ส.ค. จากการซ่อมบำรุงของหลุมขุดเจาะน้ำมัน และการผลิตจากธรรมชาติที่ลดลงจากอายุที่มากของแหล่งผลิต

 

 

 

+ ความกังวลในเรื่องอุปทานตึงตัวในตะวันออกกลางมีมากขึ้นหลังจากนายกรัฐมนตรีอิสราเอลได้กล่าวในวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า อิสราเอลพร้อมเตรียมรับมือกับการโจมตีของอิหร่าน โดยอิสราเอลได้มีการลงทุนเป็นจำนวนมหาศาลในการป้ องกันประเทศ รวมถึงจะมีการฝึกซ้อมรับมือต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน โดยในสัปดาห์นี้จะมีการทดสอบการส่งข้อความเตือนในกรณีที่มีการโจมตีจากขีปณาวุธ

 

 

 

+ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯในสัปดาห์ที่แล้วคาดว่าน่าจะลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกันที่ 1.6 ล้านบาร์เรล เนื่องจากการนำเข้าน้ำมันดิบจากบริเวณอ่าวเม็กซิโกล่าช้าจากผลกระทบของพายุโซนร้อนออเนสโต

 

 

 

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเนื่องจากการนำเข้าที่ลดลงจากเวียดนาม และอุปทานที่จะเพิ่มขึ้นจากโรงกลั่นที่จะแล้วเสร็จการซ่อมบำรุงของเวียดนาม

 

 

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจาก การชะลอการนำเข้าของฟิลิปปินส์ในฤดูมรสุม

 

 

 

 

 

ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง

 

 

 

กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้ เบรนท์ 105 - 115 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 85-95 เหรียญฯ

 

 

ราคาน้ำมันจะยังคงได้รับแรงหนุนจากความหวังที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยุโรปและจีน จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในเร็ววัน ขณะที่อุปทานน้ำมันดิบในตลาดมีความตึงตัวมากขึ้น เนื่องจากการปิดซ่อมบำรุงแหล่งผลิตในทะเลเหนือ ปัญหาความตึงเครียนดในตะวันออกกลางและฤดูเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติก

 

 

 

- ตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่

วันอังคาร: ดัชนีราคาผู้ผลิตและยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ จีดีพี ไตรมาส 2/55 ของสหภาพยุโรป เยอรมนีและฝรั่งเศส การผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรป และดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนี (ZEW Economic Sentiment)

วันพุธ: ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของรัฐนิวยอร์กและการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ

วันพฤหัสบดี: ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน ยอดขอสร้างบ้านใหม่ของสหรัฐฯและดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของเมืองฟิลาเดลเฟีย รวมถึงยอดค้าปลีกของอังกฤษ

วันศุกร์: ความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจและดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ

 

 

 

- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสเปนและอิตาลีจะปรับลดลงจากระดับ 7% และ 6% ตามลำดับ ได้หรือไม่ หลังจากธนาคารกลางยุโรปมีแผนที่จะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลของสเปนและอิตาลี โดยจะใช้เงินจากกองทุนช่วยเหลือ EFSF/ESM แต่ทั้งนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับการอนุมัติจากกลุ่มยูโรโซนก่อน ซึ่งเยอรมนีไม่เห็นด้วย

- กรีซกำลังเตรียมเจรจาต่อรองกับ EC/ECB/IMF เพื่อขอยืดระยะเวลาการลดงบประมาณขาดดุลออกไปอีก 2 ปี เป็นปี 2559 หลัง 3 พรรคร่วมรัฐบาลสามารถตกลงกันในแผนรัดเข็มขัดมูลค่า 11,500 ล้านยูโร ซึ่งเป็นเงื่อนไขหลักของเงินช่วยเหลือ

- ความตึงเครียดปัญหาโครงการนิวเคลียร์อิหร่าน หลังสหรัฐฯ ออกมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติมแก่ธนาคารต่างชาติที่ให้ความช่วยเหลืออิหร่านในการขายน้ำมัน

- การสู้รบที่ยืดเยื้อและอิหร่านให้การสนับสนุนรัฐบาลซีเรียส่งผลให้ความตึงเครียดในตะวันออกกลางมีเพิ่มขึ้น และอาจลุกลามเป็นปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ

- การปิดซ่อมบำรุงของแหล่งผลิต Buzzard ในบริเวณทะเลเหนือเป็นเวลากว่า 1 เดือน ส่งผลให้การส่งออกน้ำมันดิบชนิดเบรนท์ในเดือน ก.ย. ปรับลดลงอย่างมาก

 

ราคาน้ำมันดิบ (เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล)

-----------------------------------------------------------------

ราคาน้ำมันตลาดจร 10 ส.ค.55 13 ส.ค.55 เปลี่ยนแปลง

-----------------------------------------------------------------

เวสต์เท็กซัส (ก.ย.) 92.87 92.73 -0.14

เบรนท์ (ก.ย.) 112.95 113.60 0.65

ดูไบ 108.08 108.43 0.35

เงินดอลลาร์ (เหรียญสหรัฐฯ ต่อ ยูโร) 1.2289 1.2331 0.0042

ดัชนีอุตสหกรรมดาวโจนส์ (จุด) 13207.95 13169.43 -38.52

ราคาทองคำ (เหรียญสหรัฐฯ ต่อ ออนซ์) 1622.80 1612.60 -10.20

-----------------------------------------------------------------

 

ราคาขายปลีกและค่าการตลาด (บาท/ลิตร)

-------------------------------------------------------

UG91 GSH95 GSH91 B5

-------------------------------------------------------

ราคาหน้าโรงกลั่น 26.31 26.38 26.25 27.08

ภาษี 10.62 9.46 9.35 1.97

กองทุน 6.95 2.05 0.45 0.25

ค่าการตลาด 0.67 0.74 0.84 0.69

ราคาขายปลีก 44.55 38.63 36.88 29.99

-------------------------------------------------------

กบง.ลดเก็บเงินกองทุนดีเซลและแก๊สโซฮอล์ 30 สต. ส่วนเบนซินลด 40 สต. มีผล 10 ส.ค. 55

ปตท. - บางจากขึ้นราคาขายปลีกเบนซินและดีเซล 50 สต. และ 36 สต. ส่วนแก๊สโซฮอล์คงเดิม มีผล 10 ส.ค. 55

 

ราคาน้ำมันสำเร็จรูปประเทศสิงคโปร์ (เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล)

----------------------------------------------------------------

ราคาน้ำมันตลาดจร 10 ส.ค.55 13 ส.ค.55 เปลี่ยนแปลง

----------------------------------------------------------------

เบนซินออกเทน 95 131.51 131.59 0.08

น้ำมันก๊าดและอากาศยาน 129.14 129.16 0.02

น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (0.5%กำมะถัน) 128.72 128.76 0.04

น้ำมันเตา (35% กำมะถัน) 104.94 105.10 0.16

----------------------------------------------------------------

* ตลาดสิงคโปร์ปิดวันที่ 9 ส.ค. เนื่องในวันหยุดประจำชาติ

 

โดย หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์พลังงาน บมจ.ไทยออยล์ ประจำวันที่ 14 ส.ค. 2555

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ศึกบาท-ดอกเบี้ย (14/08/2555)

เอาอีกแล้วสำหรับศึกกดดอกเบี้ยให้ต่ำ ทำเงินบาทให้อ่อนค่าลง เป็นการส่งสัญญาณเรื่องดอกเบี้ยต่ำ และบาทอ่อนอีกครั้ง จากนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บนเวทีเดียวกัน  เป้าหมายของนายกิตติรัตน์คือดอกเบี้ยนโยบายลดเหลือ 2.5% จากขณะนี้อยู่ที่ 3% ส่วนค่าเงินบาทที่เคลื่อนไหว ในระดับ 31.45-31.55 บาท/เหรียญสหรัฐนั้น นายกิตติรัตน์มองว่าเป็นระดับที่ยังแข็งค่าเกินไป แม้ว่าผู้บริหารจากธปท.ยังไม่ออกโรงต้านอย่างชัดเจน บอกเพียงว่าการค่าเงินบาทของไทยที่แข็งค่าสอดคล้องกับภูมิภาค ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงในระดับ 3% เพราะต้องการเก็บกระสุนไว้เพราะเห็นว่าเศรษฐกิจโลกเป็นมีความเสี่ยง

 

ดังนั้นคงต้องติดตามว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 5 ก.ย. จะลดหรือคงดอกเบี้ยต่อด้านนักวิชาการและฝ่ายค้าน ออกมาระบุถึงแนวคิดบาทอ่อน ดอกเบี้ยต่ำ ว่าเป็นการแทรกแซงการทำงานของธปท. จากฝ่ายการเมือง พร้อมทั้งติงถึงความอิสระในการทำงานของธปท.  แนวคิดของนายวีรพงษ์ต้องการเปลี่ยนแนวทางการทำงานของธปท.ให้มาดูแลอัตราแลกเปลี่ยน มากกว่าการดูแลเงินเฟ้อ หลายฝ่ายมองว่าจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน มีแนวโน้มทำให้เกิดปัญหาเหมือนวิกฤตต้มยำกุ้ง  ศึกนี้คงอีกยาวไกล แพ้ชนะไม่สำคัญ แต่ทั้ง 2 ฝ่ายควรตระหนัก ถึงผลประโยชน์ชาติ มากกว่าพวกพ้อง

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด (วันที่ 14 สิงหาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...