ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

JKE 1618 ขอโทษยังไม่มีของ

 

พอไหม หรือ JKE 1626 ดี อิ อิ

ถูกแก้ไข โดย เกี้ยมอี๋

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

JKE 1618 ขอโทษยังไม่มีของ

 

พอไหม หรือ JKE 1626 ดี อิ อิ

 

มีเสียงซาปีคเป็นอังกฤษ สำเนียงผู้ดีว่า รับทราบ จัดให้ บ่ายนี้ :gd

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอเชียร์ว่ารีบาวน์ได้บ้างค่ะ เพราะเพิ่งซ่ื้อไป 1610 ค่ะ

 

ซื้อราคาเดียวกันเลยครับ :21

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

**กสิกรฯคาดเงินบาทสัปดาห์หน้ากรอบ 31.35-31.70 บาท จับตาวิกฤติหนี้ยุโรป

 

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ประเมินแนวโน้มเงินบาทสัปดาห์หน้า (13-17 ส.ค.55) ว่า อาจเคลื่อนไหวในกรอบ 31.35-31.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยต้องจับตาพัฒนาการของวิกฤตหนี้ยุโรป ผลการประมูลตั๋วเงินคลังและพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีและเยอรมนี ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย ผล

 

สำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์ก ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือนส.ค. ยอดค้าปลีก ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน และการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.ค. รวมถึงข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิเดือนมิ.ย. ทั้งนี้ ตลาดการเงินในประเทศจะปิดทำการในวันจันทร์ที่ 13 ส.ค.

 

 

**กสิกรฯคาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้าปรับขึ้นต่อ เหตุมีแรงหนุนจากเงินทุนไหลเข้า

 

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทย(SET) ปรับเพิ่มขึ้น จากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติ โดยดัชนีปิดที่ระดับ 1,219.37 จุด เพิ่มขึ้น 1.82% จากสัปดาห์ก่อน ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 16.67% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 28,225.53 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติ บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 314.20 จุด เพิ่มขึ้น 1.38% จากสัปดาห์ก่อน

 

 

ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นทั้งสัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากธนาคารกลางต่างๆ ตลอดจน แรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติ

 

 

สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ระหว่างวันที่ 14-17 ส.ค. 2555 บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด และบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีมีโอกาสบวกขึ้นต่อ จากแรงหนุนเงินทุนไหลเข้า แต่คงต้องระวังการขายทำกำไร โดยต้องติดตามการเปิดเผยตัวเลข GDP ไตรมาส 2/2555 ของเยอรมนี สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ การผลิตภาคอุตสาหกรรม เครื่องชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ และความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,200 และ 1,195 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,224 และ 1,247 จุด ตามลำดับ

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

JKE 1618 ขอโทษยังไม่มีของ

 

พอไหม หรือ JKE 1626 ดี อิ อิ

mortor-fail.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

เจ้พลอยซื้อตอนเช้าแน่ เจ้ยังไม่กล้าเลยขนาดที่รักกกกก เชียรนะเนี่ย 24022

ใช่แล้วค่ะเจ้ฯ แหย่ไปก่อน ลงค่อยเฉลี่ย ขึ้นกำไรโลละ 50. ก็ปล่อยแล้ว 2 โล 100

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับ เฮียนายห้างฯ คุณ เด็กขายของ คุณ ปุยเมฆ คุณ NongRee คุณ Nuchaba คุณ GB2514 คุณ Raty คุณ Mr.Li คุณ Aiya คุณ foo คุณ พลอยสีสวย คุณ เกี้ยมอี๋ คุณ พวงชมพู คุณ Racha คุณ arthas คุณ กระต่ายทอง คุณ ขาใหม่ คุณ Jumbo A คุณ nene81 คุณ modtanoiy คุณ noijaa คุณ kaykee คุณ ท่านตี๋ คุณ แมวหลวง คุณ Pasaya คุณ nufirst คุณ Madee คุณ forgame คุณ noonoon_ja คุณ luk คุณ 96Needle คุณ ดอกเหมยสีทอง คุณ กบจ๊า คุณ Tfex.Gril.. และทุกๆท่านครับ(ขออภัยที่เอ่ยนามไม่ครบครับ)

 

หัวค่ำทำตัวเรียบร้อย แต่อเมริกามาดึกๆ จัดหนักหลังพวกเราหลับกันแล้ว แต่ก็ลงไปไม่มากมายนัก เช้ามาดีพ้นแนววัดใจ หากขึ้นไปในโซน 1615-1618 ได้ สำหรับขา L ก็ปลอดภัยนะครับ ยังมีโอกาสลุ้นขึ้นไป 164X ได้

 

แต่ถ้าไม่ถึง 1615 แล้วลงไปแถว 160X อาการก็น่าเป้นห่วง แนวรับสำคัญอยู่แถว 1602-1600 หลุดไปคงมีมุมมองที่ไม่ดีนัก

 

ส่วนตัวเดาตามของที่มีว่า ไซค์เวย์ในช่วงเช้าถึงบ่าย แถว 1612-1615 จากนั้น อาจขึ้นไปถึง 1618 ได้ในช่วงค่ำมือ + กับค่าเงินบาทที่เดาว่าน่าจะอ่อนค่าตอนกลางคืน เพราะดอลล่าร์น่าจะขึ้นตอนดึกๆครับ ทั้งหมดที่ว่ามา ในย่อหน้าสุดท้าย เดาเชียร์ดัน ครับผม :047

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

rocket-fail-banned-hollywood-12.gif

ขอบค่ะพี่ใหญ่ที่ช่วยเชียร์รีบาวน์บ้างนะค่ะ กำไรนิดหน่อยก็ขายเลยค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดซื้อขายดอลลาร์/เยน:ยูโรปรับตัวขึ้นก่อนยูโรโซนเผยจีดีพี Q2

 

 

ยูโรปรับตัวขึ้นต่อในการซื้อขายช่วงเช้านี้ที่ตลาดเอเชียโดยได้แรง หนุนจากการซื้อคืนยูโรท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบาง ก่อนที่ยูโรโซนจะเปิด เผยข้อมูลการขยายตัวทางเศรษฐกิจไตรมาส 2 ในวันนี้

 

 

นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่า เศรษฐกิจ ยูโรโซนจะหดตัวลง 0.2% ในไตรมาส 2 หลังทรงตัวในไตรมาสแรก

 

 

เทรดเดอร์กล่าวว่าไม่มีปัจจัยกระตุ้นที่เฉพาะเจาะจง แม้มี ความหวังอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับมาตรการของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในเดือนหน้า และข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีนกระตุ้นให้มีการซื้อคืนยูโร เมื่อเทียบกับดอลลาร์ออสเตรเลียและดอลลาร์นิวซีแลนด์

 

 

ยูโรอยู่ที่ 1.2333 ดอลลาร์ ดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดของวานนี้ ที่ราว 1.2262 ดอลลาร์ และยูโรปรับตัวขึ้นสู่ 96.57 เยน โดยดีดตัวขึ้น จากระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ที่ราว 95.72 ที่เข้าทดสอบเมื่อวันศุกร์

ตลาดจะรอการเปิดเผยข้อมูลยอดค้าปลีกเดือนก.ค.ของสหรัฐ ในวันนี้

 

ดัชนีดอลลาร์ลดลงสู่ 82.435 โดยลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ที่ 82.870 ที่เข้าทดสอบเมื่อวันศุกร์

 

 

อย่างไรก็ตาม ดอลลาร์แทบไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเยนที่ 78.34 เยน โดยยังคงปรับตัวในช่วงแคบที่ 78.00-78.80 เยน

 

การซื้อขายจะยังคงเบาบางและผันผวนเนื่องจากไม่มีการเปิดเผย ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในเอเชีย และเป็นช่วงวันหยุดฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

14  สิงหาคม 2555

 

ปัจจัยเสี่ยง..วิกฤต ศก.รอบใหม่ จับตาปัญหายูโรโซน-ศก.สหรัฐ-การชะลอตัวศก.จีน

 

 

ปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งของความผันผวนของเศรษฐกิจโลก คือ วิกฤตยูโรโซน ทำให้ทุกฝ่ายต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะจะมีผลอย่างยิ่งต่อภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวม โดยเฉพาะเศรษฐกิจของยุโรปซึ่งเป็นตลาดการค้าที่สำคัญตลาดหนึ่งของไทย

 

 

เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ในเรื่องนี้ให้กับผู้บริหารและบุคลากรภายในเครือเจริญโภคภัณฑ์ หลังจากที่สำนักกฎระเบียบการค้าได้เคยจัดสัมมนา เรื่อง เศรษฐกิจอเมริกา-ยุโรป : วิกฤตเศรษฐกิจโลกรอบใหม่? เมื่อเดือนกันยายน 2554 ไปแล้ว สำนักฯจึงได้เชิญ “ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย สายบริหารความเสี่ยง ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและธนาคาร วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคให้ช่วยมาบรรยายเรื่อง “จับตาปัญหายูโรโซน วิกฤตเศรษฐกิจโลกรอบใหม่?” ซึ่งทำให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นว่า สิ่งที่เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญหน้าในปีนี้นั้นไม่ธรรมดาทีเดียว

เริ่มที่ปัญหาหนี้สาธารณะยุโรป วิกฤตการเงินหนี้สาธารณะพุ่งขึ้นทุกประเทศ หนักที่สุดคือ กรีซ ถ้าไม่ปรับโครงสร้างหนี้สัดส่วนหนี้จะพุ่งไปที่ 198 %ของ GDP หากปรับโครงสร้างหนี้แล้ว สัดส่วนหนี้ลงมาเหลือ 153 % ของ GDP แต่การขอความช่วยเหลือทางการเงินของกรีซจากสหภาพยุโรป IMF และ ECB (European Central Bank) ครั้งที่ 2 ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2555 สูงขึ้นถึงประมาณ 130,000 ล้านยูโร ซึ่งมากกว่าการขอความช่วยเหลือครั้งที่ 1 ในเดือนพฤษภาคมปี 2553 ซึ่งขอความช่วยเหลือประมาณ 110,000 ล้านยูโร การปรับลดหนี้สาธารณะของกรีซไม่สามารถทำให้กรีซชำระหนี้ได้ กรีซจึงมี 2 ทางเลือก

ทางเลือกที่หนึ่ง คือ ลดต้นทุนเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ โดยลดต้นทุนโดยการลดค่าจ้างแท้จริง และลดราคาสินค้าและบริการ (Deflation) โดยการลดการใช้จ่ายภาครัฐ และการหดตัวของเศรษฐกิจและอัตราการว่างงานที่สูงติดต่อกันหลายปี (ปัจจุบันใช้วิธีนี้อยู่)

 

 

ทางเลือกที่สอง คือ ออกจาก Euro Zone ลดค่าเงิน และกลับไปใช้เงินสกุล Drachma ตลอดจนขอลดหนี้กับรัฐบาลยุโรป, IMF และ ECB วิธีนี้จะทำให้เกิดวิกฤติการเงินที่รุนแรงมากและเศรษฐกิจหดตัวมากอีก 2-3 ปี แต่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวเร็วกว่าวิธีที่ 1 และสามารถแข่งขันได้

 

 

ส่วนสเปนหนี้ภาครัฐไม่สูง แต่มีปัญหาฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตกทำให้รัฐบาลต้องใช้เงินแก้ไขปัญหาจำนวนมาก คาดว่าประมาณ 100,000 ล้านยูโร สเปนจึงไม่สามารถที่จะลดการขาดดุลงบประมาณได้ตามเป้า

 

อัตราการว่างงานพุ่งไปอยู่ที่ 24% รัฐบาลต้องใช้จ่ายดูแลผู้ว่างงาน เศรษฐกิจก็หดตัวจากมาตรการรัดเข็มขัดและ NPL ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 8.2 รัฐบาลต้องกู้เงินมาแก้ปัญหา ซึ่งต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่สูงในการกู้เงิน ธนาคารมีเงินสดไม่พอที่จะ Refinance ส่งผลให้หนี้รัฐบาลที่กำหนดชำระในไตรมาสที่ 2 ถูกปรับลดอัตราความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง

 

 

สำหรับอิตาลีมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำและอัตราการว่างงานสูง โดยเฉพาะการหดตัวของเศรษฐกิจในปี 2555 แม้ว่าในระยะหลังเกือบ 5 ปี ติดต่อกันการบริหารงานของรัฐบาลทำงบประมาณต่อ GDP ขาดดุลมาโดยตลอด แต่จากปัญหาการขยายตัวของเศรษฐกิจและการว่างงานสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้หนี้สาธารณะที่สูงมากอยู่แล้วพุ่งไม่หยุด ทำให้อิตาลีถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือเช่นเดียวกัน

 

 

ภาพรวมวิกฤตทางการเงินในสหภาพยุโรปเกิดจากหลายปัจจัย เช่น เศรษฐกิจหลายประเทศในยุโรปหดตัวหรือขยายตัวต่ำมากและเศรษฐกิจยุโรปก็ไม่ขยายตัวในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ข้อจำกัดเงินช่วยเหลือจากกองทุน ESM (European Stability Mechanism) ซึ่งการเพิ่มวงเงินล่าช้าและประเทศที่มีปัญหาการเงินจะไม่สมทบเงินในกองทุนเพิ่มเติม การเพิ่มวงเงินจาก IMF ยังไม่มีการอนุมัติจากคณะกรรมการที่ชัดเจน การผิดนัดชำระหนี้ของรัฐบาล PIIGS (โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี กรีซและสเปน) สถาบันการเงินโดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ต้องตัดหนี้สูญเมื่อรัฐบาลจ่ายหนี้ต่ำกว่ามูลหนี้ มูลค่าพันธบัตรรัฐบาลของ PIIGS ลดลงทำให้สินทรัพย์และทุนของสถาบันการเงินลดลง หนี้ภาคเอกชนของ PIIGS ที่ปล่อยกู้โดยธนาคารพาณิชย์บางส่วนจะกลายเป็นหนี้เสียเมื่อเศรษฐกิจของ PIIGS ทรุดตัวลง ธนาคารยุโรปขาดสภาพคล่องอย่างหนัก การเงิน การถือปรับลดเครดิตธนาคารยุโรปและสหรัฐอเมริกาโดยมูดีส์และ S&P นำไปสู่ปัญหา Credit Crunch และวิกฤติการเงิน

 

 

อีกปัจจัยที่ต้องจับตาคือการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งมีปัญหาฟองสบู่อยู่ก่อนหน้านี้และการเร่งปล่อยสินเชื่อทำให้ฟองสบู่ขยายตัว เงินสำรองระหว่างประเทศจำนวนมากส่งผลให้สภาพคล่องพุ่งสูงขึ้น นำไปสู่การเร่งปล่อยสินเชื่อและการขยายตัวของการลงทุน

 

 

นอกจากนี้ในช่วงต้นปี 2552 รัฐบาลจีนให้สถาบันการเงินเร่งปล่อยสินเชื่อทำให้สินเชื่อขยายตัวมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน สินเชื่อเพิ่มขึ้นมากกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจและสินเชื่อต่อ GDP พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว มูลค่าการส่งออกของจีนขยายตัวในอัตราที่ลดลงมาก รวมถึงจีนยังมีปัญหาสังคมในหลายมิติ อาทิ ปัญหาขัดแย้งระหว่างประชาชนกับรัฐบาลกลาง ประชาชนกับรัฐบาลท้องถิ่น สวัสดิการสังคมที่แตกต่างกัน รายได้และความมั่งคั่งที่แตกต่างกันมากระหว่างคนรวยกับคนจน

 

 

แม้แต่สหรัฐฯ ก็ยังมีปัญหาอยู่มากเช่นกัน อัตราการว่างงานดูเหมือนจะลดลงแต่การจ้างงานนอกภาคการเกษตรก็ยังคงลดลงเช่นกัน เศรษฐกิจและการลงทุนมีการขยายตัวลดลง ในขณะที่หนี้สาธารณะยังสูงอยู่มาก สหรัฐขาดดุลงบประมาณเกิน 1,000,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 4 ปีติดต่อกัน เนื่องจากนโยบายบริหารของโอบาม่า และเศรษฐกิจถดถอย อย่างไรก็ตามสภาคองเกรสของสหรัฐมีแผนลดการขาดดุลงบประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายใน 10 ปีข้างหน้าให้ได้ โดยเริ่มลดค่าใช้จ่ายภาครัฐประมาณปีละ 120,000 ล้านบาทในปี 2556 ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลให้ GDPไตรมาสสี่ของสหรัฐฯ เกิดการติดลบรุนแรง

 

ตะวันออกกลาง ก็ยังคุกรุ่นไปด้วยความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯและอิหร่าน จากวิกฤติการเมืองอาจทำให้ประเทศในซาอุดิอาระเบีย ปรับราคาน้ำมันสูงขึ้นเพื่อนำเงินไปจ่ายสวัสดิการสังคม หากเกิดความขัดแย้งขึ้น ทำให้สหรัฐฯไม่ซื้อน้ำมันจากอิหร่าน ก็ยังไม่มีปัญหามากนัก เพราะน้ำมันสำรองของโอเปคมีเพียงพอ ที่น่าห่วงคืออิหร่านปิดช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งมีการขนส่งน้ำมันผ่านช่องแคบนี้ประมาณวันละ 17-18 ล้านบาร์เรล หรือประมาณร้อยละ 20 ของการผลิตน้ำมันของโลกต่อวัน น้ำมันเกือบทั้งหมดขนส่งไปทวีปเอเชีย ประเทศไทยก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย

 

 

ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงทั้งภายนอกและภายใน นักธุรกิจไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเตรียมตัวให้พร้อมและไม่ประมาท…บริหารความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจก้าวไปสู่เป้าหมายอย่างมั่นคงและยั่งยืน

 

 

โดย…ดร.ปิยะนุช มาลากุล ณ อยุธยา รองกรรมการผู้จัดการ สำนักกฎระเบียบการค้า เครือเจริญโภคภัณฑ์

คอลัมน์คุยกับซีพี :CP-eNews

 

ที่มา - ฐานเศรษฐกิจ

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กสิกรแนะเพิ่มสินทรัพย์เสี่ยง มอง 1-2 ปีนี้ตราสารหนี้ไม่เด่น

 

 

บลจ.กสิกรไทย แนะเพิ่มน้ำหนักลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในช่วง 1-2 ปีนี้ หนีผลตอบแทนตราสารหนี้น้อยแพ้เงินเฟ้อ

 

 

นายประเสริฐ ขนบธรรมชัยรองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)กสิกรไทย เปิดเผยว่า บริษัทเห็นว่าในช่วง 1-2 ปีนี้นักลงทุนควรเพิ่มน้ำหนักลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ให้มากขึ้นเนื่องจากผลตอบแทนของตราสารหนี้ไม่น่าสนใจ เพราะดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ผลตอบแทนสู้เงินเฟ้อไม่ได้

 

 

นอกจากนี้ การลงทุนหุ้นในระยะยาวจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนประเภทอื่นๆขณะที่สินค้าโภคภัณฑ์ก็เป็นการลงทุนที่ต่อสู้กับเงินเฟ้อได้ดี และในช่วงเดือนก.ย.นี้ ราคาสินทรัพย์เสี่ยงอาจปรับตัวลง หากไม่มีมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) รอบ 3 ออกมาตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจจะเป็นจังหวะในการเข้าซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) โดยไม่ต้องรอซื้อปลายปี

 

 

นายประเสริฐ กล่าวว่า ปัญหาหนี้ยุโรปยังกดดันการลงทุนอยู่ แต่ตลาดมีความคาดหวังในเชิงบวกมาระดับหนึ่งเห็นได้จากการปรับตัวขึ้นของสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ หลังจากคาดว่าธนาคารกลางยุโรปจะเข้ามาซื้อพันธบัตรของประเทศที่มีปัญหาเอาไว้ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั่วโลกได้ รวมทั้งตลาดคาดว่าสหรัฐจะออก QE 3 ในเดือนก.ย.นี้ เพราะตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงหลังออกมาไม่ค่อยดี ทำให้นักลงทุนกลับเข้ามาลงทุน

 

 

สำหรับตลาดหุ้นไทยเห็นว่ายังแข็งแกร่งจากกำไรบริษัทจดทะเบียนที่ยังเติบโตดีต่อเนื่องในปีนี้และปีหน้า โดยยังคงเป้าหมายดัชนีสิ้นปีนี้ที่ 1,250-1,300 จุด

 

 

"แม้หุ้นไทยจะปรับตัวขึ้นมาในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่แพงเมื่อเทียบกับแนวโน้มการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนในอนาคตดังนั้นโอกาสที่ตลาดหุ้นจะปรับตัวลงแรงมีไม่มากและไม่น่าจะหลุด1,100 จุด หากปัจจัยต่างประเทศคลี่คลายมีโอกาสที่ต่างชาติจะไหลกลับเข้ามาลงทุน และปัจจุบันต่างชาติยังซื้อมากกว่าขาย" นายประเสริฐ กล่าว

 

ขณะที่สินค้าโภคภัณฑ์ในระยะยาวยังน่าสนใจ โดยราคาทองคำปรับตัวลงมาค่อนข้างมาก แต่การลงทุนต้องลงทุนในระยะยาว เพราะเชื่อว่าราคาทองจะพลิกขึ้นมาในขาขึ้นได้ เพราะปัจจัยหลักที่จะช่วยผลักดันราคาทองคำคือ เศรษฐกิจของประเทศผู้บริโภคหลักเติบโตเช่น จีน ซึ่งปัจจุบันเศรษฐกิจจีนยังอยู่ในช่วงชะลอตัว รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงในโลกยังกดเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความต้องการในทองคำทั้งจากผู้บริโภคและภาคการผลิตลดลง เช่นเดียวกับหุ้นจีน แม้ปัจจุบันราคาถูก แต่อาจยังไม่ใช่จังหวะสำหรับลงทุนระยะสั้นเพราะเศรษฐกิจจีนยังต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา แต่ระยะยาวเชื่อว่าตลาดหุ้นจีนก็กลับมาได้

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

By Sarah Turner, MarketWatch

SYDNEY (MarketWatch) — Asian stocks saw some gains Tuesday, with the Japanese and Korean markets helped by an advance for auto makers.

 

After losing ground on Monday amid economic growth concerns, Japan’s Nikkei Stock Average JP:100000018 +0.80%  rose 0.7%, and South Korea’s Kospi KR:SEU +1.10%  climbed 1% on Tuesday. Australia’s S&P/ASX 200 index AU:XJO +0.31%  gained 0.4%.

 

U.S. shares ended mostly lower on Monday, with the move ending the longest winning streak for the S&P 500 index SPX -0.13%  since December 2010. Read more on U.S. stocks.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...