ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

 

 

สวัสดีเจ้พลอย ไม่เจอตั้งนาน สบายดีเหรอค่ะ

ดีค่ะเจ้. ไม่ค่อยอยู่ค่ะ เดินทางปล่อย. ตามอ่านเจ้อยู่นะค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ชอบ ข่าวนี้ที่ สุด สงคราม = ทอง ขึ้น

โอกาสที่จะเป็นหมาเห่าใบตองแห้งก็สูงนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

**เงินบาทเปิด 29.28/30 แนวโน้มอ่อนค่าตามยูโร มองกรอบ 29.27-29.37

 

 

 

 

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 29.28/30 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวในระดับเดียวกับช่วงปิดตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ และเมื่อเวลา 09.40 น.เงินบาทขยับอ่อนค่ามาอยู่ที่ระดับ 29.30/32 บาท/ดอลลาร์ โดยเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันค่าเงินยูโร

 

"แนวโน้มเงินบาทน่าจะปรับตัวอ่อนค่าตามยูโร จากข่าวไซปรัสและอิตาลี" นักบริหารเงิน กล่าว

 

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้จะอยู่ในกรอบระหว่าง 29.27-29.37 บาท/ดอลลาร์

 

 

 

* ปัจจัยสำคัญ

 

- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคาร ธปท.วันนี้อยู่ที่ 29.3020 บาท/ดอลลาร์

- เช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 93.93/96 เยน/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 94.08/10 เยน/ดอลลาร์

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2777/2779 ดอลลาร์/ยูโร ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับ 1.2817/2818 ดอลลาร์/ยูโร

- ธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ) เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่น(ทังกัน) ประจำไตรมาสแรกของปีนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่เพิ่มขึ้นแตะระดับ -8 จากไตรมาส 4/2555 ที่ระดับ -12 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส เพราะได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของเงินเยนและราคาหุ้นที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการนอกภาคการผลิตยืนอยู่ที่ระดับ +6 ในไตรมาสแรกปีนี้ จากระดับ +4 ของไตรมาส 4/2555

- สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน(CFLP) เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) ภาคการผลิตเดือน มี.ค.ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 50.9 จากเดือน ก.พ.ที่ระดับ 50.1 นับเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกันที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนเคลื่อนไหวเหนือระดับ 50 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าภาคการผลิตเริ่มฟื้นตัวขึ้นจากที่เคยหดตัว

- สำนักงานสถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้ เผยดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ยังคงอยู่ในช่วง 1% เป็นระยะเวลา 5 เดือนติดต่อกัน เนื่องจากราคาอาหารที่ปรับตัวลดลงท่ามกลางสภาพอากาศที่ดีขึ้น โดยดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.เพิ่มขึ้น 1.3% จากปีก่อน หลังเพิ่มขึ้น 1.4% ในเดือน ก.พ. นับเป็นสถิติต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.55 ซึ่งเพิ่มขึ้น 1.2% จากปีก่อนหน้า และต่ำกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางเกาหลีใต้ที่กำหนดเอาไว้ที่ 2.5-3.5%

 

ปล. บอกไว้ก่อนตรงนี้ว่า " อาทิตย์นี้ ค่าเงินบาทมีจังหวะที่จะอ่อนค่า มากกว่า แข็งค่า นะครับ. ขา Short ที่หวังตัวช่วยประเด็นนี้ อย่าหวังนะครับ "

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นโตเกียว: นิกเกอิปิดเช้าร่วง 114.16 จุด ตลาดผิดหวังผลทังกัน

 

 

ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดภาคเช้าร่วงลงในวันนี้ หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่น (ทังกัน) ประจำไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งอ่อนแอกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

 

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ดัชนีนิกเกอิปิดภาคเช้าร่วงลง 114.16 จุด หรือ 0.92% แตะที่ 12,283.75 จุด

 

 

ตลาดซื้อขายดอลลาร์/เยน:ยูโรทรงตัวใกล้จุดต่ำสุดเช้านี้

 

 

ยูโรเริ่มต้นไตรมาสใหม่ด้วยการอ่อนค่าลงในการซื้อขายที่ตลาดเอเชียเช้านี้ โดยทรงตัวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนจากความวิตกที่ว่า มาตรการช่วยเหลือไซปรัสของยูโรโซนอาจก่อให้เกิดปัญหา และอิตาลีกำลังประสบความยากลำบากในการหาทางออกจากภาวะทางตันทางการเมือง

 

 

เยนแทบไม่เคลื่อนไหวจากผลสำรวจความเชื่อมั่นรายไตรมาสหรือทังกันของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ซึ่งพบว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้นน้อยกว่าที่คาดไว้ ขณะที่นักลงทุนรอดูการประชุมนโยบายของบีโอเจในสัปดาห์นี้

 

 

ในช่วงเช้านี้ ยูโรอยู่ที่ 1.2801 ดอลลาร์ ลดลงราว 0.1% จากระดับช่วงท้ายตลาดเอเชียเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว และอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนที่ 1. 2750

 

ดอลลาร์ที่ทำไว้เมื่อวันพุธที่แล้ว ขณะตลาดยุโรปและสหรัฐปิดทำการเมื่อวันศุกร์เ นื่องในวัน Good Friday

 

ยูโรมีแนวรับสำคัญที่ระดับ 1.2680 ดอลลาร์ หลังจากร่วงลงอย่างต่อเนื่องจากระดับสูงสุดในรอบ 14 เดือนที่ 1.3711 ดอลลาร์ที่ทำไว้ในเดือนก.พ. แต่การร่วงทะลุแนวรับอาจจะทำให้มีการทดสอบระดับต่ำสุดของปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ใกล้ระดับ 1.20 ดอลลาร์

 

 

ยูโร/เยนอยู่ที่ 120.68 เยน ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือนที่ 119.745 เยนที่ทำไว้เมื่อวันพฤหัสบดี และร่วงลงจากระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีที่ 127.71 เยน ที่ทำไว้ในเดือนก.พ.

 

 

ธนาคารกลางไซปรัสได้ยืนยันในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ผู้ฝากเงินรายใหญ่ของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของไซปรัสจะสูญเสียเงินฝากราว 60% ของเงินฝากที่มากกว่า 100,000 ยูโร ซึ่งสูงกว่าข่าวลือเบื้องต้นที่ว่าจะมีการลดภาษีลงเหลือ 30-40%

 

 

นักลงทุนวิตกว่า ความตื่นตระหนกจากการลดเงินฝากอาจจะทำให้ผู้ฝากเงินในประเทศอื่นๆที่มีสถานะอ่อนแอในยูโรโซน ย้ายเม็ดเงินไปลงทุนในพันธบัตรเยอรมนีและสินทรัพย์ปลอดภัยอื่นๆ

 

 

ประธานาธิบดีจิออร์จิโอ นาโปลิตาโนของอิตาลีได้ระดม "บุคลากรที่มีความสามารถ 10 คน" เพื่อเสนอมาตรการเร่งด่วน ซึ่งสามารถได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย ขณะที่เขาพยายามจะยุติความขัดแย้งที่ทำให้ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ หลังจากการเลือกตั้งผ่านพ้นมากว่า 1 เดือนแล้ว

 

 

เยนแทบไม่เคลื่อนไหว หลังการเปิดเผยผลสำรวจทังกัน ซึ่งพบว่าแผนการใช้จ่ายด้านทุนของบริษัทต่างๆย่ำแย่กว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ แม้ขณะที่นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะได้ผลักดันนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ซึ่งช่วยทำให้ราคาหุ้นญี่ปุ่นพุ่งขึ้นในรอบ 2 เดือนที่ผ่านมาก็ตาม

 

 

ดอลลาร์/เยนอยู่ที่ 94.30 เยน แทบไม่เปลี่ยนแปลง แต่ทรงตัวเหนือระดับต่ำสุดตั้งแต่วันที่ 18 มี.ค.ที่ 93.45 เยน โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์มาตรการผ่อนคลายแบบเชิงรุกจากบีโอเจในการประชุมนโยบายระหว่างวันที่ 3-4 เม.ย.นี้

 

 

ดอลลาร์พุ่งขึ้น 20.9% แล้วในช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมา หลังจากพุ่งสูงสุดในรอบ 3 ปีครึ่งที่ 96.71 เยนที่ทำไว้ในเดือนที่แล้ว ขณะที่นักลงทุนคาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการจัดการนโยบายของบีโอเจแบบเด็ดขาด

 

 

ดอลลาร์ออสเตรเลียอยู่ที่ 1.0407 ดอลลาร์ ลดลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ที่แล้ว และร่วงจากระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือนที่ 1.0497 ดอลลาร์ที่ทำไว้ในวันอังคารที่แล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

01 เมษายน 2556

 

ตลาดหุ้นฮ่องกง,ออสเตรเลีย,ยุโรปปิดวันนี้เนื่องในเทศกาลอีสเตอร์

 

 

ตลาดหุ้นฮ่องกง และออสเตรเลีย รวมทั้งตลาดหุ้นยุโรปปิดทำการในวันนี้ เนื่องในเทศกาลอีสเตอร์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าบาททรงตัวในกรอบแคบ รอบอร์ดกนง.ชี้ชะตาดอกเบี้ย (01/04/2556)

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปภาพรวมตลาดเงินในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ย ระยะสั้นทรงตัวต่อเนื่องโดยธนาคารพาณิชย์ จะเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือน ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์ประเภทกู้ยืมข้ามคืน (Overnight) มีระดับหนาแน่นที่ 2.65% ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน ส่วนอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยที่ประมูลได้ของธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี (Bilateral Repo) ระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน อยู่ที่ 2.75% ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน

 

สัปดาห์นี้(1-5 เมษายน 2556) คงจะมีการทยอยไหลกลับของสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินในช่วงต้นเดือน ขณะที่ธนาคารพาณิชย์อาจทยอยเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับความต้องการใช้เงินของลูกค้าก่อนเข้าสู่วันหยุดยาว รวมทั้งจะมีการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคารและเข้าสู่ปักษ์ใหม่ในวันพุธ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินคงขึ้นอยู่กับผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 3 เมษายน 2556 ธนาคารกสิกรไทยคาดว่า กนง. น่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.75%

 

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ประเภทอายุ 5 ปี ปิดที่ระดับ 3.19% ในวันศุกร์ ลดลงเมื่อเทียบกับ 3.20% ในสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของไทยปรับลดลงต่อเนื่อง โดยมีแรงซื้อจากนักลงทุนและสถาบันการเงินต่างชาติ ก่อนที่จะมีแรงขายทำกำไรในวันศุกร์ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรปรับเพิ่มขึ้น

 

ขณะที่ค่าเงินบาททรงตัวในกรอบแคบๆโดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค ที่ปรับตัวขึ้น (ตลาดเอเชีย) หลังจากที่ยูโรโซนได้อนุมัติแผนการของ EU/IMF ในการปรับโครงสร้างภาคธนาคารของไซปรัสทันเวลาตามเส้นตายที่ธนาคารกลางยุโรปกำหนดไว้ อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลงและกลับมาปรับตัวในกรอบแคบๆ ในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ท่ามกลางแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ในช่วงใกล้สิ้นเดือนจากผู้นำเข้า และธุรกรรมที่เกี่ยวกับการส่งกลับกำไรของบริษัทญี่ปุ่นในไทยในช่วงปิดสิ้นปีงบการเงิน 31 มีนาคม 2556

 

สัปดาห์นี้เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 29.20-29.50 บาทต่อดอลลาร์ โดยคงต้องจับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของกนง. สถานการณ์วิกฤติหนี้ยูโรโซน โดยเฉพาะประเด็นความกังวลในอิตาลีและไซปรัส รวมถึงผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นภายใต้การนำของผู้ว่าการฯ คนใหม่

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 1 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โกลเบล็ก มองกรอบราคาทองคำในวันนี้ที่ 1,575-1,618 ดอลลาร์/ออนซ์(01/04/2556)

บมจ.โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมเนจเมนท์ แนะนำกลยุทธ์การลงทุนในทองคำวันนี้ (1 เมษายน 2556) นักลงทุนระยะสั้น ให้ทยอยขายหากราคาไม่ผ่านแนวต้านที่ $1,618/Oz เพื่อรอซื้อกลับที่แนวรับ $1,585-1,595 ส่วนนักลงทุนระยะกลาง-ยาว หากราคาผ่านแนวต้านที่ $1,618/Oz ไปได้ให้ซื้อตาม

 

ภาพรวมตลาดวานนี้

Gold – ราคาทองคำโลกปิดปรับตัวลดลง $1.90/Oz หรือ 0.12% มาอยู่ที่ $1,594.30/Oz (จุดต่ำสุด-สูงสุดในรอบวันอยู่ที่ $1,590.40-1,599.20)

ในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาตลาดทองคำสหรัฐและยุโรปปิดทำการเนื่องในวัน Good Friday โดยราคาทองคำได้ปรับตัวลดลงหลังประธานาธิบดีไซปรัสให้คำมั่นว่าไซปรัสจะไม่ ออกจากกลุ่มยูโรโซน ซึ่งความเคลื่อนไหวล่าสุดนี้มีขึ้นหลังจากที่ธนาคารในประเทศกลับมาเปิดทำการ อีกครั้งเป็นวันแรกในรอบ 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามราคาทองคำยังได้รับแรงหนุนในช่วงเช้าจากการเผยดัชนีภาคการผลิต จีนออกมาเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 50.9 จุดจากในเดือน ก.พ. ที่ระดับ 50.1 จุดแต่ยังต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ ซึ่งบ่งชี้ถึงภาคการผลิตจีนยังคงขยายตัวอยู่

แนวโน้มตลาดวันนี้

Gold – ราคาปรับตัวลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 5 วันและ 10 วันอีกครั้งประกอบกับวันนี้แท่งเทียนมีการสร้างจุดต่ำสุดใหม่จากแท่งวานนี้ ทำให้ราคามีโอกาสปรับตัวลงต่อได้ นอกจากนี้ยังถูกกดดันจากสัญญาณ Dead Cross ระหว่างเส้นค่าเฉลี่ย 5 วันและ 10 วันมองกรอบราคาทองคำในวันนี้ที่ $1,575-1,618/Oz

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญประจำวันนี้

•ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐ Markit เวลา 20.00 น.

•ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐ เวลา 21.00 น.

•วันหยุดธนาคารยูโรโซน

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 1 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักเศรษฐศาสตร์คาด กนง. คงดอกเบี้ยที่ 2.75%(01/04/2556)

นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 3 เมษายนนี้ เชื่อว่าจะมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.75

เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจไทย ถือว่าขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังไม่เป็นปัญหา ส่วนค่าเงินบาทนั้นก็ยังไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะบีบให้ กนง.ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพราะค่าเงินบาทก็เริ่มทรงตัว ประกอบกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็มีเครื่องมือดูแลอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ยังต้องจับตาเศรษฐกิจโลกซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยง เนื่องจากไทยยังต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 1 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พี่ใหญ่ค่ะ ขอเลขเด็ดหน่อยค่ะ

งวดนี้ ที่เขานิยม 22 กับ 50 ครับ ถามว่ามาจากไหน อิอิ ก็ พรบ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้าน สร้างหนี้ 50 ปี ครับ แต่ถ้าจะดูเป็นโพยทั่วไป ตาม ลิงค์ข้างล่างแล้วกันครับ

 

http://th-th.facebook.com/pages/แม่จำเนียร-ล็อตเตอรี่/189467037739665

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถึงป๋า เด๋วนี้วิ่งบนทางด่วน มองหาแต่กล้อง เด๋วก็ตกทางด่วนพอดี อิอิ เห็นแล้ว1ตัว ตัวล่างซ้ายสุด ก่อนขาเข้าพระราม3 เลยช้างเอราวัณดำๆ( มองจากบนทางด่วน) แต่ เอิ้กๆ กว่าจะเห็น ความเร็วเลย 100 คงโดนถ่ายไปแระ ก็ไม่เห็นมีใครขับช้ากว่าป้าเลย มีแต่แซงเราไปแล้วทั้งนั้น

อันตรายมากครับ ขับรถบนทางด่วนแล้วสมาธิไม่อยู่กับถนน แต่ดันไปมองหาแต่กล้องจับความเร็ว เด็กขายของติดเครื่องตรวจจับ เครื่องฯร้องเมื่อไหร่ ก็ถอนคันเร่ง ในส่วนทางด่วนบางพลีสุขสวัสดิ์ ติดทุก 10 กม. อย่าไปขับเร็วเกิน 120 กม. ดีที่สุดครับ โดนจับไม่เป็นไรหรอกครับ ถ้าจะมีปัญหาใหญ่ก็ตรงภาพถ่ายที่ถ่ายชัด ส่งตรงมาที่บ้าน ถ้าคนนั่งหน้ารถ เป็นคนคุ้นหน้าก็ไม่มีอะไร แต่ถ้าแปลกหน้า แถมมีอาการแบบในรูป " มรึงได้ไปเกิดใหม่แน่ๆๆ " 555

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธปท.กางข้อมูล 'เงินร้อน'ไม่ใช่เหตุ'บาทแข็ง'(01/04/2556)

ปัญหา "เงินต่างประเทศไหลเข้า" ยังเป็นโจทย์ใหญ่ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย ที่ส่งผลต่อค่าเงินตราบที่ประเทศมหาอำนาจยังคงเดินหน้ามาตรการเชิงปริมาณ (QE) หลังล่าสุด ( 20 มีนาคม 2556 )ที่ประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)

 

ยังยืนกรานที่จะเดินหน้าเข้าซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการQE3 และ QE4 ในวงเงินรวม 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ฯ ต่อเดือน จนกว่าสถานการณ์ว่างงานจะลดต่ำกว่าอัตรา 6.5%

*บาทแข็งขึ้น 4.5%

โดยแนวโน้มค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าทุบสถิติใหม่ต่อเนื่อง ค่าเงินบาทในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 25-29 มีนาคม 2556 ) แข็งค่าขึ้น บางวันแตะระดับ 29.22 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และหากจะนับจากสิ้นปี 2555 (ที่ระดับ 30.65 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ )ถึงปัจจุบันแล้ว เงินบาทแข็งค่าขึ้นถึง4.5% ทุบสถิติเดิมเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2556 ที่บาทแตะ 29.33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบ 16 ปี นับจากวิกฤติต้มยำกุ้ง (ส.ค. 2540 บาทปิดที่ 29.34-29.36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ) และคาดกันว่ามีโอกาสที่บาทจะแข็งค่าแตะ 29.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯในเร็ว ๆนี้

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของเงินบาท แข็งค่าใกล้แตะ 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ก็ยังอยู่ในช่วงคาดการณ์ของสศค.ที่ประเมินไว้ทั้งปีที่ 28.70-30.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ หรือค่ากลางที่ 29.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แต่หากเงินบาทแข็งค่าต่ำกว่าค่ากลาง หรือแตะ 28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกและฉุดเศรษฐกิจไทยปีนี้ให้โตต่ำกว่า 5% เพราะบาทแข็งค่าทุก 1% จะ กระทบภาคส่งออกลดลง 0.3% ปัจจุบันบาทแข็งค่าแล้ว 5% (ฉุดส่งออกลง 1.5%)

*บาทกระทบส่งออกก.พ.เล็กน้อย

ขณะที่รายงานตัวเลขส่งออกในช่วง 2 เดือนแรก ( ม.ค. -ก.พ. 2556 ) นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า 2 เดือนแรกของปีนี้ ส่งออกขยายเพิ่ม 4.09% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนด้วยมูลค่า 3.62 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนนำเข้าเพิ่ม 22% ที่มูลค่า 4.32 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตามเฉพาะเดือนกุมภาพันธุ์ 2556 ส่งออกลดลงถึง 5.83% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนด้วยมูลค่า 1.79 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนนำเข้าเพิ่ม 5.27 % ด้วยมูลค่า 19,485 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

"ปัจจัยบาทแข็งกระทบส่งออกเดือนกุมภาพันธ์อาจมีบ้างเล็กน้อย เนื่องจากเป็นคำสั่งซื้อล่วงหน้า แต่ประมาณว่าเดือนมีนาคม ส่งออกจะขยายตัวดีกว่ากุมภาพันธ์ จากการที่รัฐบาลสามารถส่งมอบข้าวได้มากขึ้น ประกอบกับผลผลิตเพิ่มจากสินค้าเกษตรอื่นๆ โดยที่กระทรวงพาณิชย์ ยังคงเป้าหมายส่งออกปีนี้ที่ 8-9% ที่มูลค่า 2.47-2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ "

*การเมืองกดดันลดดบ.

อย่างไรก็ดีการแข็งค่าของเงินบาททุกครั้ง ทำให้ธปท.ต้องถูกเป็นเป้าโจมตีของฝ่ายการเมืองที่กดดันหวังให้ปรับลดอัตรา ดอกเบี้ย โดยอ้างต้นเหตุเงินไหลก็เพื่อเข้ามาทำกำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้นแนวทางที่จะตัดปัญหาทุนไหลเข้า จึงต้องลดดอกเบี้ยนโยบายลง

อาทิ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวก่อนหน้านี้ว่าดอกเบี้ยนโยบายที่ยืนในระดับ 2.75% ถือว่าสูงผิดธรรมชาติ เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยของสหรัฐฯที่อยู่ระดับ 0.3% ซึ่งมีส่วนต่างมากถึง 9 เท่า จึงเป็นเหตุให้เงินทุนไหลเข้าต่อเนื่อง และส่งสัญญาณมาถึงค่าเงินบาท

เช่นเดียวกับนายโอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และปัจจุบันเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กนง.ต้องเร่งปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย ควบคู่กับการเพิ่มมาตรการการแทรกแซงค่าเงินให้มากขึ้น ก่อนที่เงินทุนไหลเข้าจะสร้างปัญหาเพิ่ม เพราะหากยังปล่อยให้ค่าบาทแข็งเกิน 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม

*ธปท.กางข้อมูลหักล้าง

ข้อเท็จจริงที่ว่าเงินไหลเข้าจากต่างประเทศ เป็นต้นเหตุกดดันให้ "บาทแข็ง"จริงหรือไม่ "เณศราธร ลลิตวณิชกุล" เศรษฐกร ฝ่ายตลาดการเงิน ธปท. กล่าวว่าหากพิจารณา 'ขนาด' ของการลงทุนในหลักทรัพย์จากต่างประเทศ (Foreign Portfolio Investment) เฉพาะเดือนมกราคม 2556 เดือนเดียวก็จะพบว่า มีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศที่มาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรรวมกัน ที่ 2,825 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงกว่าปริมาณเงินทุนไหลเข้าในเดือนมกราคมปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 1,204 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน ถึงเกือบ 2.5 เท่า และส่วนใหญ่เป็นเงินที่เข้ามาในตลาดพันธบัตร โดยเฉพาะพันธบัตรระยะสั้น

แต่มาในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ปริมาณเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศลดลงเหลือเพียง 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในบางสัปดาห์ยังพบว่ามีเงินทุนไหลออก ดังนั้นหากจะพิจารณาปริมาณเงินลงทุนจากต่างประเทศเฉลี่ยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งอยู่ที่ 1,512 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของระยะเดียวกันของปีก่อนที่ 2,754 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ หากพินิจดูถึงระยะของการลงทุนในตลาดพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติโดยรวม ก็ยังถือว่าเป็นการลงทุนระยะยาว เพราะอายุเฉลี่ยของพันธบัตรที่ถืออยู่ที่ประมาณ 4 ปี

นอกจากนี้ข้อมูลของนายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธปท.กล่าวว่า เงินไหลจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ของไทย ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม -14 กุมภาพันธ์ 2556 มียอดรวม 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในช่วงหลังจากวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ยอดเงินไหลเข้าแทบไม่มีแล้ว ทั้งในบางช่วงยังมีเงินไหลออกด้วยซ้ำ ตัวเลขเฉลี่ยในช่วง 2 เดือนแรกปีนี้จึงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับช่วง 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.) ปี 2555 ที่มียอดไหลเข้ารวมกันกว่า 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

" เหตุที่เงินบาทในปีนี้มีทิศทางแข็งค่าขึ้น แม้เงินไหลเข้าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้จะน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นเพราะนักลงทุนอาจเชื่อมั่นว่าเงินบาทมีทิศทางที่แข็งขึ้น จึงยอมซื้อในราคาแพง "

ก่อนหน้านี้ ผู้ว่าการธปท. ประสารไตรรัตน์วรกุล กล่าวว่า การที่เงินบาทแข็งค่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ออกมาค่อนข้างดี อีกทั้งหลังการประชุมกนง.ที่จะมีถึงในวันที่ 3 เมษายน 2556 ธปท.จะทบทวนปรับเป้าเศรษฐกิจไทยปี 2556 ใหม่ โดยคาดว่าจะเติบตัวเกินเป้าจีดีพีปัจจุบันที่ 4.9%

จากรายงานของธปท. ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2556 มียอดเงินต่างประเทศไหลเข้าสุทธิรวม 2.91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนใหญ่เกิดจากการกู้ยืมเงินระยะสั้นของสถาบันการเงิน เพื่อบริหารสภาพคล่องของธุรกรรมเงินตราต่างประเทศวงเงิน 950 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ,เงินไหลเข้าในพันธบัตรรวม 684 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (เป็นพันธบัตรรัฐบาล 348 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ , พันธบัตรธปท. 275 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ) นอกจากนี้ยังมีเงินไหลออกที่เกิดจากภาคเอกชนไปลงทุนต่างประเทศกว่า 740 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ภาพรวมเดือนกุมภาพันธ์ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 2.9%

ขณะที่นายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย กล่าวว่า ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ มีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรของไทยเพิ่มขึ้นถึง 1 แสนล้านบาท จากยอดคงค้างทั้งหมด 8 แสนล้านบาท และสาเหตุหลักที่ทำให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่ม ก็เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีทิศทางเติบโตดีขึ้น และมีผลตอบแทนการลงทุนเฉลี่ยสูงกว่าประเทศอื่น บวกกับการที่ผลตอบแทนพันธบัตรไทยสูงกว่าสหรัฐฯ

"ผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 2 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2.75% ไม่ได้ลดลงมากนัก แม้ว่าเงินทุนจะเข้ามาลงทุนมากขึ้น ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯเฉลี่ยแค่ 0.2% เท่านั้น " เขากล่าวว่า สถานการณ์เช่นนี้แม้ทางการจะลดดอกเบี้ยนโยบายลงจากปัจจุบันที่ 2.75 % ก็ไม่ได้ช่วยให้เงินทุนไหลเข้าชะลอลงได้มากนัก เงินต่างประเทศก็ยังไหลเข้ามาอยู่ดี เนื่องจากผลตอบแทนดีและมีการคาดการณ์ว่าค่าเงินบาทของไทยจะแข็งค่าขึ้นอีก

สถานการณ์เงินบาทแข็งค่าทุบสถิติรอบ 16 ปี ขณะที่เงินต่างประเทศไหลเข้าในตลาดหุ้นและพันธบัตรช่วง 2เดือนแรกของปีกลับตํ่ากว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วตอกย้ำฝ่ายการเมือง อย่าตีขลุมหรือเหมารวมว่าเงินต่างประเทศไหลเข้าจะเป็นสาเหตุกดดันให้บาทแข็ง ค่า และมุ่งมั่นเพียงต้องการลด" ดอกเบี้ยนโยบาย" เพราะก็อาจไม่ได้ผล.

 

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 1 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฟิทช์ เรตติ้งส์เล็งปรับลดอันดับความน่าเชื่อถืออังกฤษ (01/04/2556)

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ฟิทช์ เรตติ้งส์ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ออกประกาศเตือนว่า ประเทศอังกฤษมีแนวโน้มที่จะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ จากระดับปัจจุบัน AAA ภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ต่อจากนี้ โดยมีสาเหตุจากหนี้สินของรัฐบาลอยู่ในระดับสูง ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจยังถือว่าอ่อนแอ โดยท่าทีของฟิทช์ ในครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังอังกฤษปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของอังกฤษในปีนี้ลง ครึ่งหนึ่งเหลือเพียง 0.6%

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 1 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผู้เชี่ยวชาญชี้ทองยังเป็นหลักประกันความเสี่ยงจากเหตุไม่คาดฝันในยูโรโซน (01/04/2556)

นายเกอร์ฮาร์ด ชูเบิร์ท ผู้อำนวยการฝ่ายโลหะมีค่าของธนาคารเอมิเรทส์ เอ็นบีดี กล่าวว่า แม้ว่าราคาทองปรับตัวลงอันเนื่องมาจากความช่วยเหลือทางการเงินของยูโรโซนแก่ไซปรัส แต่ทองอาจจะกลับมาเป็นที่ต้องการอีกครั้ง หากไม่มีความคืบหน้าที่น่าพอใจในยูโรโซน

 

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ราคาทองได้ร่วงลง 12 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 0.74% แตะ 1,597 ดอลลาร์

 

นายชูเบิร์ทระบุในการแสดงความคิดเห็นรายสัปดาห์เกี่ยวกับโลหะมีค่าว่า “ประเด็นไซปรัสได้เสร็จสิ้นลงแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็สำหรับการซื้อขายทองคำ

 

สมาชิก 17 ประเทศของยูโรโซนได้เห็นพ้องกันเมื่อวันที่ 17 มี.ค.ในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ไซปรัสเป็นมูลค่า 1.0 หมื่นล้านยูโร (1.288 หมื่นล้านดอลลาร์) โดยมีเงื่อนไขว่าบัญชีธนาคารที่มีวงเงินไม่เกิน 100,000 ยูโร (128,000 ดอลลาร์) จะได้รับการรับประกันอย่างเต็มที่จากธนาคารพาณิชย์ และรัฐสภาไซปรัสได้อนุมัติแผนดังกล่าวเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา

 

นายชูเบิร์ทกล่าวว่ารายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขความช่วยเหลือทางการเงินแก่ไซปรัสอาจเป็นแบบแผนสำหรับ “การให้ความช่วยเหลือ" ต่อไปในอนาคต ซึ่งจะบั่นทอนความเชื่อมั่นของประชากรยูโรโซนที่มีบัญชีเงินฝาก ในการคงเงินสดจำนวนมากไว้ภายในระบบการธนาคารของยูโรโซน

 

ทั้งนี้ นายชูเบิร์ทตั้งข้อสังเกตว่าธนาคารกลางที่ใช้ทองคำในการสร้างความหลากหลายในการลงทุนที่นอกเหนือจากสกุลเงินนั้น กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนต่อทองคำต่อไป สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 1 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...