ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

รายงานก็ออกหมดแล้ว ตัวสำคัญคืนวันนี้ ตัวที่มีเขาควาย 3 เขา ดัชนีภาคบริการ ลดลงกว่าเดิม น้อยกว่าที่คาดการณ์ ย่อมทำให้ราคาทองปรับสูงขึ้น แต่ ณ. 1245 เป็นแนวต้านนะครับ +2 แล้วอาจจะย่อตัว เพราะตัวรายงานอื่นๆ ที่ออกมาประกอบกัน ออกมาดี

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีเช้าวันอังคาร ที่ราคาทองอยู่ที่ 1237-1239 ในเวลานี้ ขณะที่ราคาทองในประเทศขยับขึ้น อันเกิดมาจาก ค่าเงินบาทอ่อนค่า และรับประกันได้ว่า ภาครัฐบาลต้องโยนความผิดครั้งนี้ ให้กับ กปปส. เพราะไม่ใช่ความผิดของรัฐบาลที่บริหารตลอด 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา มีแต่ความผิดพลาด เช่น นโยบายซื้อข้าวจากชาวนา แล้วออกใบรับจำนำให้ ยังไม่ได้จ่ายเงิน และตอนนี้ ก็พยายามบังคับให้ ธกส. เอาเงินจากบัญชีเงินฝากประชาชน ออกแทนไปก่อน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อภาระค่าใช้จ่ายอนาคตที่ต้องปรับขึ้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 แบบส่งสัญญานนำทาง. ยังบ่งบอกให้ ถือต่อไป การถือต่อไป คือ การที่เส้นดำและเส้นแดง ยังไม่ได้ตัดกันรอบใหม่ นะครับ อ้างอิงแค่ตัดกันหรือไม่ตัดแค่เรื่องเดียว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำหรับรหัส 7,5,2 เมื่อวันก่อนเส้นดำ ยาวกว่า เส้นแดง / มาวันนี้ เท่ากันอีกแล้ว และหัวเส้นดำปักหัวเข้าหาเส้นแดง " น่าหวั่น " และโปรดดูโพสต์ อันถัดไปนะจ๊ะ จะโม้บ่นอีกเรื่องซึ่งจะประกอบกัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มันเกิดโดจิ ป้ายกางเขนหลุมศพ ที่ราคาปิดแบบรายวัน แบบสีแดง แดงแจ๋ อาจแสดงความหมายบางอย่าง แต่ที่แน่ๆๆ สีแดงแบบนี้ ฝ่ายขายชนะฝ่ายซื้อ แล้วแท่งเทียนอันต่อไป ความน่าจะเป็นจะเป็นเช่นใด ในใจของผม ความคิดเห็นที่บ่นออกมา ผมให้ " ด้านลบ " ผมบ่นว่า

1. ลองเปรียบเทียบกับวันเวลาที่ผ่านมาดู ว่าถ้าเกิด แท่งเทียนโดจิสีแดง รายวัน หางยาวลงมา แท่งต่อไป..........

2. เปรียบเทียบจากตารางสถิติที่ฝรั่งทำไว้ มาดู ( โพสต์ต่อไป )

3. ถามผู้รู้ในเรื่อง โดจิ ห้องอื่นๆ ครับ

 

หมายเหตุว่า หางบนยาวแบบนี้ หางล่างยาวแบบนี้ น่าจะมีจุดแนวต้านบน 1247 และ แนวรับ 1214 ( ขอบคุณคุณทิพย์ ที่บอกกล่าว มาตามแก้ไข )

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท ผันผวนขึ้นลง มากกว่า 25 สตางค์ น่าจะเกิดขึ้น นะครับ ในวันนี้ อันมาจากการ ทำกำไรของนักค้าเงิน / การ Rebound / ตลาดหุ้นเขียว และ เฉลิมมาคุมสถานการณ์แทน จะทำให้ ดีดขึ้นเด้งลง สนุกสนานมึนหัว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมันลง5วันติดหลังลิเบียผลิตเพิ่ม หุ้นมะกัน-ทองคำทรงตัว

 

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 มกราคม 2557 05:30 น.

 

เอเอฟพี - ราคาน้ำมันวานนี้(6) ขยับลงต่อเนื่อง 5 วันของการซื้อขาย เหตุลิเบียเดินหน้าเพิ่มกำลังการผลิต ส่วนวอลล์สตรีท ปิดในกรอบแคบๆ จากข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ผสมผสาน เช่นเดียวกับทองคำที่ลงเล็กน้อย หลังทะยานขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่เข้าสู่ปีใหม่

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ ลดลง 53 เซนต์ ปิดที่ 93.43 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยน้ำมันสหรัฐฯ ปิดลบอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่แตะระดับ 100.32 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อวันที่ 27ธันวาคม ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 16 เซนต์ ปิดที่ 106.73 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ความเคลื่อนไหวในแดนลบของราคาน้ำมัน มีขึ้นสืบเนื่องจากที่ลิเบีย เพิ่มการผลิตได้มากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลสามารถโน้มน้าวใจชาวบ้านอูราบี ให้หยุดปิดบ่อน้ำมันอัล-ชารารา ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 5 เดือนได้สำเร็จ แม้ว่าคลังน้ำมันอีกหลายแห่งยังถูกปิดกั้นก็ตาม โดยในวันจันทร์(6) กำลังการผลิตน้ำมันของลิเบีย พุ่งขึ้นแตะ 207,000 บาร์เรล เปรียบเทียบกับวันเสาร์(4) ที่ผลิตได้เพียง 60,000 บาร์เรล

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(6) ขยับลงในกรอบแคบๆ จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ผสมผสานในอเมริกา ในสัปดาห์ที่มีการซื้อขายครบทั้ง 5 วันสัปดาห์แรกของปี 2014

 

ดาวโจนส์ ลดลง 44.89 จุด (0.27 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,425.10 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 4.60 จุด (0.25 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,826.77 จุด แนสแดค ลดลง 18.23 จุด (0.44 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,113.68 จุด

 

ปีเตอร์ คาร์ดิลโล นักเศรษฐศาสตร์การตลาดจากร็อคเวลล์ โกลบอล แคปิตอล บอกว่านักลงทุนผิดหวังต่อรายงานการเติบโตแบบชะลอตัวของภาคแรงงานในเดือนธันวาคม แต่อีกด้านหนึ่งก็พบข้อมูลที่แข็งแกร่งของยอดสั่งซื้อภาคโรงงานประจำเดือนพฤศจิกายน ซึ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1992

 

ส่วนราคาทองคำวานนี้(6) ปิดลบเล็กน้อย หลังจาก 2 วันก่อนหน้านี้ทะยานขึ้นรวมกว่า 30 ดอลลาร์ อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์เตือนว่าจะมีแรงขายเข้ามาอีกครั้งในช่วง 1-2 สัปดาห์ข้างหน้าและอาจทรุดต่ำกว่า 1,200 ดอลลาร์อีกครั้ง โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 60 เซนต์ ปิดที่ 1,238.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมันลง5วันติดหลังลิเบียผลิตเพิ่ม หุ้นมะกัน-ทองคำทรงตัว

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 มกราคม 2557 05:30 น.

 

น้ำมันลง5วันติดหลังลิเบียผลิตเพิ่ม หุ้นมะกัน-ทองคำทรงตัว

เอเอฟพี - ราคาน้ำมันวานนี้(6) ขยับลงต่อเนื่อง 5 วันของการซื้อขาย เหตุลิเบียเดินหน้าเพิ่มกำลังการผลิต ส่วนวอลล์สตรีท ปิดในกรอบแคบๆ จากข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ผสมผสาน เช่นเดียวกับทองคำที่ลงเล็กน้อย หลังทะยานขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่เข้าสู่ปีใหม่

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ ลดลง 53 เซนต์ ปิดที่ 93.43 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยน้ำมันสหรัฐฯ ปิดลบอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่แตะระดับ 100.32 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อวันที่ 27ธันวาคม ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 16 เซนต์ ปิดที่ 106.73 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ความเคลื่อนไหวในแดนลบของราคาน้ำมัน มีขึ้นสืบเนื่องจากที่ลิเบีย เพิ่มการผลิตได้มากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลสามารถโน้มน้าวใจชาวบ้านอูราบี ให้หยุดปิดบ่อน้ำมันอัล-ชารารา ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 5 เดือนได้สำเร็จ แม้ว่าคลังน้ำมันอีกหลายแห่งยังถูกปิดกั้นก็ตาม โดยในวันจันทร์(6) กำลังการผลิตน้ำมันของลิเบีย พุ่งขึ้นแตะ 207,000 บาร์เรล เปรียบเทียบกับวันเสาร์(4) ที่ผลิตได้เพียง 60,000 บาร์เรล

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(6) ขยับลงในกรอบแคบๆ จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ผสมผสานในอเมริกา ในสัปดาห์ที่มีการซื้อขายครบทั้ง 5 วันสัปดาห์แรกของปี 2014

 

ดาวโจนส์ ลดลง 44.89 จุด (0.27 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,425.10 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 4.60 จุด (0.25 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,826.77 จุด แนสแดค ลดลง 18.23 จุด (0.44 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,113.68 จุด

 

ปีเตอร์ คาร์ดิลโล นักเศรษฐศาสตร์การตลาดจากร็อคเวลล์ โกลบอล แคปิตอล บอกว่านักลงทุนผิดหวังต่อรายงานการเติบโตแบบชะลอตัวของภาคแรงงานในเดือนธันวาคม แต่อีกด้านหนึ่งก็พบข้อมูลที่แข็งแกร่งของยอดสั่งซื้อภาคโรงงานประจำเดือนพฤศจิกายน ซึ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1992

 

ส่วนราคาทองคำวานนี้(6) ปิดลบเล็กน้อย หลังจาก 2 วันก่อนหน้านี้ทะยานขึ้นรวมกว่า 30 ดอลลาร์ อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์เตือนว่าจะมีแรงขายเข้ามาอีกครั้งในช่วง 1-2 สัปดาห์ข้างหน้าและอาจทรุดต่ำกว่า 1,200 ดอลลาร์อีกครั้ง โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 60 เซนต์ ปิดที่ 1,238.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000001932

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 6 มกราคม 2557

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 16,425.10 จุด ลดลง 44.89 จุด -0.27%

 

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,113.68 จุด ลดลง 18.23 จุด -0.44%

 

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,826.77 จุด ลดลง 4.60 จุด -0.25%

 

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,227.54 จุด ลดลง 20.11 จุด -0.47%

 

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,428.00 จุด ลดลง 7.15 จุด -0.08%

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,730.73 จุด เพิ่มขึ้น 0.06 จุด +0.00%

 

ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,324.90 จุด ลดลง 25.20 จุด -0.47%

 

ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 8,500.01 จุด ลดลง 46.53 จุด -0.55%

 

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 15,908.88 จุด ลดลง 382.43 จุด -2.35%

 

ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,953.28 จุด เพิ่มขึ้น 7.14 จุด +0.37%

 

ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 2,045.71 จุด ลดลง 37.43 จุด -1.80%

 

ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 5,985.81 จุด เพิ่มขึ้น 37.88 จุด +0.64%

 

ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 22,684.15 จุด ลดลง 133.13 จุด -0.58%

 

ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,829.18 จุด ลดลง 5.56 จุด -0.30%

 

ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 4,202.81 จุด ลดลง 54.85 จุด -1.29%

 

ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 3,123.82 จุด ลดลง 7.65 จุด -0.24%

 

ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 20,787.30 จุด ลดลง 64.03 จุด -0.31%

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) หลังจากมีรายงานว่าดัชนีภาคบริการของสหรัฐชะลอตัวลงในเดือนธ.ค. นอกจากนี้ นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่ทางการสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ รวมถึงตัวเลขจ้างงานเดือนธ.ค. และรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวลง 44.89 จุด หรือ 0.27% ปิดที่ 16,425.10 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 4.60 จุด หรือ 0.25% ปิดที่ 1,826.77 จุด ดัชนี Nasdaq ลดลง 18.22 จุด หรือ 0.44% ปิดที่ 4,113.68 จุด

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่ทางการสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ รวมถึงตัวเลขจ้างงานเดือนธ.ค. และรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อประเมินว่าเฟดวางแผนนโยบายการเงินในอนาคตอย่างไร

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.ลดลง 0.6 ดอลลาร์ หรือ 0.05% ปิดที่ 1,238 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 10.8 เซนต์ ปิดที่ 20.103 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. พุ่งขึ้น 2.2 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,416.4 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 7.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 738.50 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) หลังจากมีรายงานว่าดัชนีภาคบริการของสหรัฐชะลอตัวลงในเดือนธ.ค. ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงตัวเลขจ้างงานเดือนธ.ค. และรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ.ลดลง 53 เซนต์ ปิดที่ 93.43 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 16 เซนต์ ปิดที่ 106.73 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดเกือบทรงตัวเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) หลังการรายงานบ่งชี้ถึงการชะอตัวลงของกิจกรรมในภาคบริการในเดือนธ.ค.ของอังกฤษและสหรัฐ

 

ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 6,730.73 จุด เพิ่มขึ้น 0.06 จุด หรือ +0.00%

-- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังต่อข้อมูลที่บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของภาคบริการในสหรัฐ

 

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 104.28 เยน จากระดับ 104.66 เยน และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9041 ฟรังค์ จากระดับ 0.9050 ฟรังค์

 

ยูโรแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.3635 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3597 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะระดับ 1.6405ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6421 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะ 0.8972 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8971 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตที่ชะลอตัวลงในเดือนธ.ค. ขณะที่ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานก็เพิ่มขึ้นไม่มากเท่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.2% ปิดที่ 326.98 จุด

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,730.73 จุด เพิ่มขึ้น 0.06 จุด หรือ +0.00% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,428.00 จุด ลดลง 7.15 จุด หรือ -0.08% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,227.54 จุด ลดลง 20.11 จุด หรือ -0.47%

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 7 มกราคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองคำยังคงปิดตลาดทรงตัวจากระดับปิดของวันศุกร์ โดยในระหว่างวันมีการแกว่งตัวขึ้น เข้าใกล้แนวต้านทางเทคนิค ก่อนที่จะมีแรงขายทำกำไรกลับออกมาจนราคาอ่อนตัวลง เงินบาทที่อ่อนค่าลง ยังเป็นปัจจัยบวกต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองในประเทศให้ปรับตัวขึ้นได้ มากกว่าปกติ โดยราคาทองปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ 1,237.65 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ เพิ่มขึ้น 1.25 ดอลลาร์ ราคาทำจุดต่ำสุด และจุดสูงสุดที่ 1,216 และ 1,248 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ตามลำดับ

 

ส่วนราคาซื้อขายทองคำแท่งในประเทศชนิด 96.5% เมื่อวานนี้ ขายออกที่บาทละ 19,400 บาท และรับซื้อคืนที่บาทละ 19,300 บาท กองทุน SPDR ไม่มีรายงานการเปลี่ยนแปลงปริมาณการถือครองทองคำโดยปัจจุบันกองทุนถือครอง ทองคำรวม 794.62 ตัน

 

ราคาทองคำดีดตัวขึ้นเข้าใกล้แนวต้านทางเทคนิค บริเวณ 1,250 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ก่อนที่จะเริ่มมีแรงขายกลับออกมาจนทำให้ราคาอ่อนตัวลดช่วงการบวกในระหว่าง วันลง และปิดตลาดทรงตัวที่บริเวณระดับราคาปิดของวันศุกร์ โดยในสัปดาห์นี้จะมีการรายงานตัวเลขการจ้างงาน และอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ เดือนธันวาคมในวันพุธและศุกร์

 

หากรายงานออกมาแย่กว่าที่ประเมินก็จะ เป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ราคาทองดีดตัวกลับ และในช่วงก่อนการรายงานตัวเลขดังกล่าว คาดว่าราคาทองยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน โดยแนวโน้มการจ้างงานของสหรัฐฯ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ตัดสินใจชะลอการผ่อนคลายทางการเงินในการประชุมครั้งหลังสุดนั้น แม้ว่าในระยะสั้นอาจมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่คาดว่าระดับอัตราการว่างงาน จะทรงตัวอยู่ที่ระดับปัจจุบันและอาจไม่ได้ปรับลดลงไปต่ำกว่านี้มากนัก ดังนั้นแม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะตัดสินใจลดปริมาณการซื้อพันธบัตรลงในการประชุมครั้งหลังสุด แต่แนวโน้มในอนาคตคาดว่าจะใช้การผ่อนคลายทางการเงินเพื่อกระตุ้นตลาดแรงงาน ต่อไป

 

ส่วนภาพเทคนิคของราคาทองยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัว โดยมีแนวต้านที่ควรระวังแรงขายที่คาดว่าจะมีกลับออกมาอยู่ที่บริเวณ 1,250 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ และหากสามารถผ่านขึ้นไปยืนเหนือแนวต้านดังกล่าวได้ ก็จะเป็นสัญญาณซื้อสำหรับเก็งกำไรการปรับตัวขึ้นสู่แนวต้านบริเวณ 1,270 และ 1,280 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ต่อไป โดยมีแนวรับของวันอยู่ที่บริเวณ 1,225-1,230 และ 1,200 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ตามลำดับ.

 

 

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (07/01/2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สื่อมวลชนเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็นของขวัญวันคริสต์มาสล่วงหน้าสำหรับ ประธานาธิบดี วู้ดโรว์ วิลสัน ของสหรัฐอเมริกา นั่นคือเหตุการณ์เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ.1913 ที่สภาคองเกรสผ่านร่างกฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนสำรองแห่งรัฐ หรือธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) และเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้น วิลสันได้ลงนามบังคับใช้รัฐบัญญัติกองทุนสำรองแห่งรัฐ

 

คงไม่มีใครใน งานฉลองที่ทำเนียบขาววันนั้นจะเล็งเห็นได้ว่า เฟดจะกลายมาเป็นสถาบันยักษ์ใหญ่ที่ทรงอำนาจอิทธิพลต่อผู้คนและเศรษฐกิจทั่ว โลก การขยับตัวของเฟดมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยกู้ยืมและการเติบโตของการจ้างงาน ส่งผลกระทบต่อการค้า ราคาหุ้น กฎระเบียบของธนาคาร และระบบการเงิน การตัดสินใจทางเศรษฐกิจหลายๆ อย่าง จำเป็นต้องกระทำโดยคำนึงถึงเฟด กองทุนออมเงินเพื่อการเลี้ยงชีพหลังเกษียณอายุขึ้นอยู่กับนโยบายของเฟด

 

"หาก วู้ดโรว์ วิลสัน และบรรดาสถาปนิกผู้ก่อตั้งเฟดคนอื่นๆ รู้ว่าเฟดจะกลายมาเป็นสถาบันที่ทรงอิทธิพลอย่างใหญ่หลวง พวกเขาคงจะตกตะลึงอย่างแน่นอน" ซุง วอน ซอห์น ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียสเตท แชนแนล ไอส์แลนด์กล่าว และว่า "ไม่มีภาคส่วนใดเลยของเศรษฐกิจโลกทุกวันนี้ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการ เคลื่อนไหวของเฟด"

 

ผู้ที่สนับสนุนร่างกฎหมายในการก่อตั้งเฟด เมื่อปี 1913 นั้น เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความตื่นตระหนกที่ท่วมท้นในภาคการธนาคาร การที่ผู้ฝากเงินแห่กันถอนเงินออกมาพร้อมกันเป็นจำนวนมากส่งผลให้ธนาคารล้ม ละลาย และบ่อยครั้งจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหตุการณ์ตื่นตระหนกครั้งรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1907 และจากการที่ขณะนั้นยังไม่มีธนาคารกลาง ทำให้ธนาคารพาณิชย์อย่าง เจ.พี. มอร์แกนจำเป็นต้องเข้าแทรกแซงเพื่อปกป้องระบบการเงิน

 

และเมื่อ 5 ปีที่แล้วที่ระบบการเงินโลกเกิดล่มสลาย เฟดได้ขยายขอบเขตอำนาจหน้าที่ออกไป พวกเขาตอบสนองต่อวิกฤตครั้งร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่ช่วงยุคทศวรรษที่ 1930 ด้วยการผ่อนคลายสินเชื่อ พิมพ์เงิน และสร้างความเชื่อมั่น

 

"หากคุณ เป็นธนาคารกลางที่มีอำนาจในการพิมพ์เงินและมีความเต็มอกเต็มใจที่จะใช้อำนาจ นั้น คุณก็จะได้รับความสนใจจากตลาดเงิน" เดวิด โจนส์ ผู้เขียนหนังสือประวัติความเป็นมาของเฟดบอก "เฟดเติบโตขึ้นมาเป็นสถาบันยักษ์ใหญ่ที่โดยพื้นฐานแล้วเหมือนเป็นอำนาจฝ่าย ที่ 4 ของรัฐบาล"

 

มีเหตุผลอยู่ 5 ประการด้วยกันที่อธิบายได้ว่า เหตุใดเฟดจึงแผ่ขยายอิทธิพลออกมาได้มากมายขนาดนี้ในช่วงเวลา 1 ศตวรรษที่ผ่านมา

 

ประการ แรกคือ "ดิสเคาท์ วินโดว์" เมื่อแรกเริ่มที่เฟดถูกก่อตั้งขึ้นมา ดิสเคาท์ วินโดว์ ถือเป็นเครื่องมือทางการเงินหลักของเฟด เมื่อธนาคารพาณิชย์ในระบบขาดแคลนเงินและไม่สามารถระดมทุนจากช่องทางอื่นๆ ได้ พวกเขาสามารถกู้ยืมได้จากสาขาของเฟดในท้องถิ่นทั้ง 12 แห่ง ซึ่งสิ่งนี้กลายมาเป็นบทบาทที่สำคัญของเฟด นั่นคือ เป็นแหล่งเงินกู้ที่เป็นที่พึ่งสุดท้าย

 

ดิสเคาท์ วินโดว์มีบทบาทมากอย่างมีนัยยะสำคัญในระหว่างช่วงวิกฤตการเงิน ธนาคารพาณิชย์หลายร้อยแห่ง ซึ่งรวมถึงธนาคารยักษ์ใหญ่บางแห่งต้องกู้ยืมเงินจากเฟด ซึ่งเฟดปล่อยเงินกู้ไปนับล้านล้านดอลลาร์ให้กับทั้งธนาคารของสหรัฐอเมริกา และธนาคารต่างชาติที่มีสาขาอยู่ในสหรัฐอเมริกา

 

ความพยายามดังกล่าว ควบคู่ไปกับกองทุนช่วยเหลือที่ได้รับการอนุมัติจากสภาคองเกรส ช่วยปกป้องรักษาระบบการเงินไว้ได้ ทว่ากฎหมายปฏิรูประบบการเงินด็อดด์-แฟรงก์ปี 2010 ห้ามไม่ให้เฟดปล่อยเงินกู้ช่วยเหลือฉุกเฉินให้กับผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) อย่างเช่น บริษัทประกันภัยยักษ์ใหญ่ อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี) ซึ่งเมื่อครั้งนั้นได้เงินกู้ช่วยเหลือจากเฟดไปหลายพันล้านดอลลาร์ และถึงตอนนี้ เฟดต้องได้รับการอนุมัติจากกระทรวงการคลังเสียก่อน อีกทั้งยังไม่สามารถปล่อยเงินกู้ช่วยเหลือให้กับบริษัทเดียวโดยตรงได้

 

เหตุผล ประการที่ 2 คือ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักในการกำกับทิศทางของเศรษฐกิจ เรื่องดังกล่าวนี้แทบจะเรียกได้ว่าถูกค้นพบโดยบังเอิญ ราว 1 ทศวรรษหลังจากการก่อตั้งเฟด โดยเฟดพบว่าพวกเขาสามารถมีอิทธิพลต่ออัตราดอกเบี้ยระยะสั้นได้ด้วยการซื้อ และขายพันธบัตรของกระทรวงการคลังที่ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ถือไว้เป็นทุนสำรอง ที่อย่างไรก็ตาม เฟดขยับตัวใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ช้าเกินไปในระหว่างช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้ง ใหญ่ ซึ่งพวกเขาสามารถสร้างแรงกระตุ้นที่เศรษฐกิจต้องการอย่างมากได้

 

เฟดใช้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 2 ประการ คือ การกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานและรักษาเสถียรภาพของดัชนีราคาผู้บริโภคใน การที่จะฉุดให้อัตราดอกเบี้ยต่ำลง เฟดจะพิมพ์เงินออกมาและใช้เงินนั้นซื้อพันธบัตรจากธนาคารพาณิชย์ ในการที่จะผลักดันอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น เฟดจะขายพันธบัตรให้กับธนาคารพาณิชย์และนำเงินสดออกจากระบบ

 

และจาก การที่เฟดไม่สามารถลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำกว่าศูนย์เปอร์เซ็นต์ได้ พวกเขาจึงจำเป็นต้องใช้มาตรการอื่นๆ เพื่อกระตุ้นอัตราการเติบโต นั่นคือการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นเหตุผลประการที่ 3 โดยเริ่มต้นขึ้นในปี 2552 ที่พวกเขาซื้อพันธบัตรกระทรวงการคลังและพันธบัตรจำนองในโครงการระดับใหญ่แบบ ที่ไม่เคยมีการทดลองมาก่อนหน้านี้

 

แนวคิดในเรื่องดังกล่าวก็เพื่อลด อัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้ต่ำลงเพื่อกระตุ้นอัตราการกู้ยืมและใช้จ่าย โครงการซื้อพันธบัตรของเฟดขยายขนาดของพอร์ตการลงทุนมากเป็นประวัติการณ์มา อยู่ที่ 4 ล้านล้านดอลลาร์ การซื้อพันธบัตรช่วยให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวอยู่ในระดับต่ำ ทว่าส่งผลให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ที่กลัวว่าเฟดกำลังบ่มเพาะให้ เกิดภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์หลายภาคส่วน ตั้งแต่หุ้นไปจนถึงที่ดินเพาะปลูก

 

เฟด ได้พยายามที่จะยืนยันกับนักลงทุนว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะอยู่ในระดับต่ำ ต่อไปแม้ว่าอัตราว่างงานจะลดลงมากกว่านี้ก็ตาม การประกาศยืนยันนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะสร้างความโปร่งใสต่อ สาธารณะมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุผลประการต่อมา ที่ผ่านมาเฟดปิดบังการขยับตัวปฏิบัติงานของตนเองมายาวนาน โดยพวกเขาไม่แม้แต่จะประกาศเมื่อตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น

 

จน กระทั่งถึงช่วงทศวรรษที่ 1990 ภายใต้การนำของ อลัน กรีนสแปน ประธานเฟดคนก่อนหน้าเบน เบอร์แนงคี ประธานคนปัจจุบัน ที่เฟดเริ่มเปิดเผยกระบวนการดำเนินงานมากขึ้น พวกเขาเริ่มออกแถลงการณ์ภายหลังการประชุมแต่ละครั้งเพื่อบอกว่าได้ตัดสินใจ ทำอะไรไปบ้างและอธิบายถึงเหตุผล

 

เบอร์แนงคีไปไกลกว่านั้น โดยเขาเปิดเผยถึงการคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจบ่อยครั้ง และเป็นประธานเฟดคนแรกที่จัดการแถลงข่าวรายไตรมาส เขายินยอมให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์และจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นและตอบคำ ถาม ซึ่งมีบางฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า การเปิดเผยแผนการของเฟดอย่างชัดเจนมากเกินไป เป็นการจำกัดความยืดหยุ่นของเฟด

 

เหตุผลประการสุดท้ายคือความเป็นอิสระจากการเมือง สภา คองเกรสพยายามที่จะป้องกันเฟดจากการถูกแทรกแซงทางการเมืองเพื่อดำรงไว้ซึ่ง ความเป็นอิสระ ที่อย่างไรก็ตามเฟดได้ตกเป็นเป้าของการถูกวิพากษ์วิจารณ์จากย่างก้าวและ มาตรการต่างๆ ที่ผิดไปจากรูปแบบเดิมๆ ตามจารีตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 7 มกราคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...