ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

วันนี้ขอให้มีคนซื้อเยอะๆเถอะจะได้ขึ้นเสียที

สวัสดีครับ คุณเกี้ยมอี๋

เมื่อวาน นักลงทุนฝั่งยุโรป เป็นบ้าความตระหนกตกใจ เรื่อง อิตาลี และ กรีซ

เทขายทอง แต่พวกนักลงทุนเหล่านั้น ยังไม่ได้นำเงินไปซื้ออะไร คงเก็บไว้ใน

สถานะ " เงินสด " คาดว่า น่าจะสมพรที่คุณฯ กล่าวว่า " คนซื้อเยอะ " ขอเป็นช่วงบ่ายแก่ๆ ครับ 55555+

 

ทำไมถึงคิดแบบนั้น ? ถามตัวเพื่อนๆ เองนะครับว่า เวลาผันผวน เพื่อน ก็จะนั่งนิ่งๆ นอกตลาดก่อนใช่ไหม และ

เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปเรียบร้อย ก็จะคันไม้คันมือ กลับมาซื้อทองอีก หรือว่า เพื่อนๆ คันไม้คันมือแล้วหันไปลงทุน

อย่างอื่นๆ เด็กขายของว่า ไม่น่าใช่นะ คนเราซื้ออะไร ก็จะมองแต่สิ่งนั้นเป็นอันดับแรก จริงมั้ย เอ๊ะ หรือว่าคิดไปเอง

 

อีกอย่าง

วันนี้ ก็คงเป็นอีกวัน ที่ฝ่ายจ้องซื้อ นั่ง 2 แถวหน้าร้าน กับ พนักงานขายทอง หน้ากระดารเรียงหนึ่ง จ้องมองหน้า

กันไปกันมา ต่างคนต่างคิด " เมื่อไหร่ พร้อมจะบุกเนี่ย ตั้งรับจนเหงือกแห้ง หมดแล้ว " เจ้าหน้าที่หนุ่มคนหนึ่งก็

คงเตรียมพร้อมแจกบัตรคิว เต็มที่ แต่ท้ายสุด ต่างคนต่างกลับบ้านมือว่างเปล่า ไร้น้องทองกลับบ้าน เพราะ

" รออีกนิด รออีกนิด รออีกนิด " คำ 3 คำ แต่เหมารวมได้ทั้ง ซื้อ และ ขาย. ต้องมีเป้าหมายในใจ

 

ณ ร้านนาย ฮ. at ซีคอน ศรีนครินทร์

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เดี๋ยวเพื่อนหาว่าห้วนๆ

ประกาศ ราคา ครั้งที่ 1 09:37:00 ซื้อคืน 25750 ขายออก 25850 Spot 1768.00 ค่าเงินบาท 30.85

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เดี๋ยวเพื่อนหาว่าห้วนๆ

ประกาศ ราคา ครั้งที่ 1 09:37:00 ซื้อคืน 25750 ขายออก 25850 Spot 1768.00 ค่าเงินบาท 30.85

 

 

ขอบคุณมากครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เดี๋ยวเพื่อนหาว่าห้วนๆ

ประกาศ ราคา ครั้งที่ 1 09:37:00 ซื้อคืน 25750 ขายออก 25850 Spot 1768.00 ค่าเงินบาท 30.85

 

ขอบคุณหลายเด้อ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เดี๋ยวเพื่อนหาว่าห้วนๆ

ประกาศ ราคา ครั้งที่ 1 09:37:00 ซื้อคืน 25750 ขายออก 25850 Spot 1768.00 ค่าเงินบาท 30.85

ขอบคุณค่ะ คุณเด็กขายของ แซวเล่นๆ ใช้เครื่องหมาย / ก็พอค่ะ เดี๋ยวจะเสียเวลาจ้องหน้าแถวกระดานเรียงหนึ่ง เวลานี้เต้าหู้กำลังศึกษาวิธีเล่นทองแท่งเป็นๆ ทั้ง 2 ขา วิธีนี้เสี่ยงมากไหมคะ เคยอ่านข้อความเล่น 2 ขาของ GF รายหนึ่งไม่เคยขาดทุนเลย เพียงแต่ต้องมีวินัย และเป้าหมายไม่สูง พอเป็นค่ารังนกที่เยาวราชก็พอ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เดี๋ยวเพื่อนหาว่าห้วนๆ

ประกาศ ราคา ครั้งที่ 2 10:11:00 ซื้อคืน 25700 ขายออก 25800 Spot 1765.00 ค่าเงินบาท 30.84

วันนี้ ประกาศราคาใกล้เคียง Fair Price มากๆๆๆ แสดงว่า อาแปะ " มองลง " ก็ต้องคอยดูต่อไปว่า

" แม่นไม่แม่น "

แก้ไข

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ คุณเด็กขายของ แซวเล่นๆ ใช้เครื่องหมาย / ก็พอค่ะ เดี๋ยวจะเสียเวลาจ้องหน้าแถวกระดานเรียงหนึ่ง เวลานี้เต้าหู้กำลังศึกษาวิธีเล่นทองแท่งเป็นๆ ทั้ง 2 ขา วิธีนี้เสี่ยงมากไหมคะ เคยอ่านข้อความเล่น 2 ขาของ GF รายหนึ่งไม่เคยขาดทุนเลย เพียงแต่ต้องมีวินัย และเป้าหมายไม่สูง พอเป็นค่ารังนกที่เยาวราชก็พอ

ต้องเสียสละเวลาอย่างมาก ต่อ 1 รอบกำไร เลยนะครับ

ตกใจด้านหนึ่ง ดีใจด้านหนึ่ง เพียงหวังแต่ว่า ด้านที่ดีใจ ควรจะเป็นด้านที่ใช้เงินลงทุนน้อยกว่า เพราะแค่ มาร์จิ้น

เกิดมันมาสลับกัน ก็เหงื่อตกเหมือนกัน เพราะด้านที่ใช้เงินลงทุนมากกว่า แต่เวลากำไร ขึ้นมาช้ากว่า

 

ทั้งหมดที่สละเวลา เพื่อแลก น้ำลายนกนางแอ่น ( คุ้มไหมหว่า ) หุหุ. นานาจิตตัง แล้วแต่คนชอบ นิ

อย่างเด็กขายของ เพื่อ เป็ดย่าง ก็เป็นเก๊าส์ เพื่อเกาลัค คงไม่เท่าไหร่ เพราะเลือกซื้อร้านที่น่าไว้ใจได้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร และการปรับตัวลงครั้งแรกของอัตราการว่างงาน รวมทั้งการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีแนวโน้มการจ้างงาน ประกอบกับการลดลงของยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน นับเป็นปัจจัยบวกสำคัญที่มีนัยต่อทิศทางของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะเดียวกันการเปิดเผยยอดการกู้ยืมเงินของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ที่ขยายตัวต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าอุปสงค์ของภาคเอกชนในสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัวขึ้น นอกจากนี้ แม้ว่าสต๊อกสินค้าคงคลังเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าจะลดลง แต่หากเทียบเป็นรายปีพบว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งตัวเลขสต็อกสินค้าภาคค้าส่งนี้ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งการที่สต๊อกสินค้าฯ ยังเพิ่มขึ้นก็นับเป็นปัจจัยที่ดีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ยอดขาดดุลงบประมาณและยอดขาดดุลการค้าจะลดลง แต่ยอดขาดดุลดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับสูงยังคงสร้างแรงกดดันให้กับรัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ขณะที่ราคาสินค้าส่งออกและนำเข้าของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อต้นทุนสินค้าส่งออกโดยตรง

 

๏ ตลาดแรงงานมีทิศทางที่ดีขึ้น

- ยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตรในเดือนตุลาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น 80,000 ตำแหน่ง จากที่เพิ่มขึ้น 158,000 ตำแหน่งในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อยที่สุดในรอบ 4 เดือน แต่เป็นการปรับเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 13 ติดต่อกัน โดยภาคเอกชนของสหรัฐเพิ่มการจ้างงาน 104,000 ตำแหน่ง ขณะที่การจ้างงานในหน่วยงานของรัฐบาลปรับตัวลดลง 24,000 ตำแหน่ง หลังรัฐบาลปรับลดการใช้จ่าย ขณะที่อัตราว่างงานปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 9% จากระดับ 9.1% ในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

- ดัชนีแนวโน้มการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่จัดทำโดยสำนัก conference board ในเดือนตุลาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.72% (m-o-m) ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2551 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 5% (y-o-y) หลังจากลดลง 0.28% ในเดือนกันยายน

- ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายใหม่ในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 5 พฤศจิกายนปรับตัวลดลง 10,000 ราย มาอยู่ที่ระดับ 390,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่สัปดาห์แรกของเดือนเมษายนที่ผ่านมา ส่วนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานโดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์เคลื่อนที่ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 400,000 ราย จากระดับ 405,250 ราย

 

๏ อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้ดี พิจารณาได้จาก

- ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) รายงานว่า ยอดการกู้ยืมเงินของผู้บริโภคในสหรัฐประจำเดือนกันยายนปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.5% สู่ระดับ 2.452 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากระดับ 2.444 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคม อย่างไรก็ตาม ความต้องการสินเชื่อหมุนเวียน (revolving credit) ซึ่งรวมถึงวงเงินสินเชื่อผ่านบัตรเครดิต ปรับตัวลดลง 1% สู่ระดับ 7.896 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ความต้องการสินเชื่อประเภทอื่นๆ ซึ่งรวมถึงสินเชื่อซื้อรถยนต์ ปรับเพิ่มขึ้น 5.8% สู่ระดับ 1.6625 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ในไตรมาส 3 ปีนี้ (ตั้งแต่เดือนก.ค.-ก.ย.) ความต้องการสินเชื่อหมุนเวียนของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง 3.2% แต่ความต้องการสินเชื่อประเภทอื่นๆ ที่รวมถึงสินเชื่อซื้อรถยนต์ เพิ่มขึ้น 3.8%

 

๏ แม้ว่าสต๊อกสินค้าคงคลังเมื่อเทียบกับเดือนก่อนจะลดลง แต่หากเทียบเป็นรายปีพบว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น 11% ซึ่งตัวเลขสต็อกสินค้าภาคค้าส่งนี้ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งการที่สต๊อกสินค้าฯ ยังเพิ่มขึ้นก็นับเป็นปัจจัยที่ดีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยสต็อกสินค้าภาคค้าส่งในเดือนกันยายนปรับตัวลดลง 0.1% (m-o-m) สู่ระดับ 4.62 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากที่เพิ่มขึ้น 1.0% ในเดือนสิงหาคม และเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 20 เดือน หรือนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 อย่างไรก็ตาม หากเทียบเป็นรายปีพบว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 11% (y-o-y)

 

๏ การที่ยอดขาดดุลงบประมาณประกอบกับยอดขาดดุลการค้าจะลดลง แต่ยอดขาดดุลดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับสูงยังคงสร้างแรงกดดันให้กับรัฐบาล

- ยอดขาดดุลการค้าเดือนกันยายนปรับตัวลดลง 4% (m-o-m) มาอยู่ที่ระดับ 4.31 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว จากระดับของเดือนสิงหาคมที่ 4.49 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปัจจัยที่ทำให้ยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐลดลงอย่างเหนือความคาดหมายมาจากยอดการส่งออกที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยยอดการส่งออกเพิ่มขึ้น 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.804 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ยอดการนำเข้าอยู่ที่ระดับ 2.235 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียง 700 ดอลลาร์สหรัฐฯ

- ยอดขาดดุลงบประมาณเดือนตุลาคมลดลงมาอยู่ที่ระดับ 9.847 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่อยู่ ณ ระดับ 1.4043 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ เมื่อเทียบเป็นรายเดือนพบว่า ยอดขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น 6.457 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

๏ ราคาสินค้าส่งออกและนำเข้าของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อต้นทุนสินค้าส่งออกโดยตรง ทั้งนี้ ดัชนีราคาสินค้านำเข้าในเดือนตุลาคมลดลง 0.6% (m-o-m) หลังจากทรงตัวในเดือนกันยายน ส่วนดัชนีราคาสินค้าส่งออกลดลง 2.1% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนกันยายน

 

สหภาพยุโรป

วิกฤตหนี้ยูโรโซนที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้จะต้องใช้เวลาอย่างน้อยสิบปีจึงจะได้รับการแก้ไขโดยสมบูรณ์ ทั้งนี้ มีหนทางที่ยากลำบากมากรออยู่เบื้องหน้า และจำเป็นต้องก้าวไปทีละขั้น ขณะที่บรรดารมว.คลังยูโรโซนจะเร่งดำเนินการเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกองทุนช่วยเหลือยูโรโซนเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของตลาดภายในสิ้นเดือนนี้ซึ่งเร็วกว่ากำหนดเดิม 1 เดือนดังเห็นได้จากผอ.ไอเอ็มเอฟได้เดินทางเยือนรัสเซียเพื่อโน้มน้าวให้รัสเซียจัดสรรเงินมากขึ้น ขณะเดียวกันการประชุมผู้นำประเทศอุตสาหกรรมและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในกลุ่ม G-20 ก็ได้ข้อสรุปแล้ว ทางด้านกรีซยังวุ่น นายกรัฐมนตรีประกาศลาออก ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ เลือกตั้งใหม่ 19 ก.พ.ปีหน้า ซึ่งล่าสุด นายลูคัส ปาปาเดมอส อดีตรองประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเฉพาะกาลของกรีซ

 

๏ การประชุมผู้นำ G-20 ได้ข้อสรุปแล้ว

- ที่ประชุม G-20 มีมติให้เพิ่มเงินทุนให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อใช้ยับยั้งวิกฤตหนี้ยูโรโซนไม่ให้ฉุดรั้งเศรษฐกิจโลกให้เข้าสู่ภาวะถดถอย แต่ที่ประชุมไม่ได้ระบุว่าจะอัดฉีดเงินทุนใหม่ๆ เพื่อใช้ในการกู้วิกฤตหนี้ยูโรโซนโดยตรง อย่างไรก็ตาม จีน อังกฤษ และออสเตรเลีย ได้แสดงความพร้อมที่จะอัดฉีดเงินทุนใหม่ๆ ให้กับไอเอ็มเอฟ

- ที่ประชุม G-20 มีมติให้เร่งผลักดันให้มีการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดโดยกลไกตลาด และเพิ่มความยึดหยุ่นด้านอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อสะท้อนถึงปัจจัยพื้นฐานและหลีกเลี่ยงการลดค่าเงินซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาดโลก

- อิตาลีตกลงที่จะเปิดทางให้ไอเอ็มเอฟสามารถติดตามความคืบหน้าด้านการปฏิรูปของอิตาลีเป็นรายไตรมาส ขณะที่ไอเอ็มเอฟจะส่งทีมงานเข้าไปยังอิตาลีภายในปลายเดือนพ.ย.นี้ และจะมีการเปิดเผยข้อมูลของอิตาลีให้สาธารณชนได้รับทราบ

- ที่ประชุม G-20 ยังได้ระบุชื่อของธนาคารพาณิชย์ 29 แห่งที่มีความสำคัญต่อระบบการเงินโลกที่อาจจำเป็นจะต้องเพิ่มทุน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นธนาคารจากยุโรป 17 แห่ง เป็นธนาคารจากสหรัฐ 8 แห่งซึ่งรวมถึง โกลด์แมนแซคส์ เจพีมอร์แกน และซิตี้กรุ๊ป ส่วนอีก 4 แห่งเป็นธนาคารจากเอเชีย ซึ่งรวมถึงแบงก์ ออฟ ไชน่า

 

๏ กรีซยังวุ่น ... นายกรัฐมนตรีประกาศลาออก ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ เลือกตั้งใหม่ 19 ก.พ.ปีหน้า

- นายจอร์จ ปาปันเดรอูนายกรัฐมนตรีกรีซประกาศลาออกจากตำแหน่ง ขณะที่พรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านของกรีซได้บรรลุข้อตกลงในการจัดตั้งรัฐบาลผสม (National Unity Government) เพื่อดำเนินการตามเงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือทางการเงินครั้งใหม่จากสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ล่าสุดทำเนียบประธานาธิบดีของกรีซออกแถลงการณ์ว่า นายลูคัส ปาปาเดมอส อดีตรองประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเฉพาะกาลของกรีซ ทั้งนี้ นายลูคัส ปาปาเดมอส เคยดำรงตำแหน่งรองประธานอีซีบีในปี 2002-2010 และอดีตผู้ว่าการธนาคารกลางกรีซในปี 1994-2002

- พรรคการเมืองที่สำคัญของกรีซได้เห็นพ้องต้องกันว่า การเลือกตั้งควรจะมีขึ้นในวันที่ 19 ก.พ.2555 ซึ่งน่าจะทำให้รัฐบาลใหม่ของกรีซมีเวลาเพียงพอที่จะเสร็จสิ้นการแลกเปลี่ยนพันธบัตรเพื่อลดหนี้ของประเทศ ตามข้อตกลงของอียู

 

๏ ประเด็นอื่นๆ

- ยอดขายรถยนต์ในอิตาลีและสเปนร่วงลง 5.5% และ 6.7% (y-o-y) โดยได้รับแรงกดดันจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อยู่ในภาวะอ่อนแอ ในขณะที่รัฐบาลยุโรปพยายามแก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซน และมาตรการรัดเข็มขัดทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง

- นักวิเคราะห์เริ่มจับตาสถานการณ์เศรษฐกิจของอิตาลี ภายหลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลีระยะ 10 ปีพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดแตะที่ 6.402% โดยระบุว่าอิตาลียังขาดมาตรการแก้ปัญหาการจ้างงานและฟื้นฟูศักยภาพการแข่งขันในตลาดแรงงาน ทั้งนี้ อิตาลีกำลังถูกจับตาว่าอาจจะเป็นชาติต่อไปที่จะต้องประสบกับวิกฤตปัญหาหนี้เนื่องจากระดับหนี้สาธารณะในประเทศสูงเกินกว่า 100%

- ประธานาธิบดีฝรั่งเศสประกาศตั้งเป้าลดยอดขาดดุลงบประมาณปี 2555 ลง 20% จากยอดขาดดุลงบประมาณในปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 113 พันล้านยูโร

- ยอดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือนกันยายนลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2552 ที่ระดับ 2.7% (m-om) จากที่ลดลง 0.4% ในเดือนก่อน

 

๏ ทางด้านนโยบาย

- นางคริสทีน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เดินทางเยือนกรุงมอสโก เพื่อโน้มน้าวให้รัสเซียจ่ายเงินสมทบกองทุนช่วยเหลือยูโรโซน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลรัสเซียยืนยันที่จะจัดสรรเงิน 1 หมื่นล้านดอลลาร์ซึ่งจะถูกใช้ผ่านทางกลไกของไอเอ็มเอฟเท่านั้น ซึ่งนับเป็นส่วนน้อยของวงเงิน 1 ล้านล้านยูโรที่ผู้นำยุโรปตั้งเป้าไว้สำหรับกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) นอกจากนี้ วงเงิน 1 หมื่นล้านดอลลาร์ยังเป็นสัดส่วนน้อยของทุนสำรองเงินตราและทองคำของรัสเซีย ซึ่งขณะนี้อยู่สูงกว่า 5 แสนล้านดอลลาร์ และเป็นทุนสำรองมากที่สุดอันดับ 3 ของโลก

 

เอเชีย

ดัชนีทางเศรษฐกิจของจีนเดือนตุลาคมชี้ว่าเศรษฐกิจจีนยังขยายตัวสูงมากอย่างต่อเนื่อง เช่นการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกซึ่งแม้จะขยายตัวในอัตราชะลอลงแต่ก็ยังถือว่าเป็นอัตราการขยายตัวที่สูง ส่วนด้านอัตราเงินเฟ้อก็ลดลงเช่นกันจากการที่ราคาอาหารชะลอลง ซึ่งอาจทำให้ทางการจีนสามารถดำเนินมาตรการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจได้หากวิกฤติหนี้ยุโรปส่งผลลบต่อภาคการส่งออกมาก

- ผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมของจีนเพิ่มขึ้น 13.2% ในเดือนตุลาคมเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ซึ่งชะลอตัวลงหลังจากเพิ่มขึ้น 13.8% ในเดือนกันยายน ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น 24.9% ในช่วง 10 เดือนแรกจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 17.2% ในเดือนตุลาคมจากเดือนเดียวกันปีก่อน สำหรับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของจีนเพิ่มขึ้น 31.1% ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

- การส่งออกของจีนในเดือนตุลาคมขยายตัวชะลอลงจากผลกระทบของวิกฤติหนี้ยุโรป โดยสำนักงานศุลกากรของจีนแถลงว่าการส่งออกในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 15.9% จากเดือนเดียวกันปีก่อน หลังจากเดือนกันยายนขยายตัว 17.1% ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น 28.7% ส่งผลให้เดือนตุลาคมจีนเกินดุลการค้า 17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายนที่เกินดุลการค้า 14.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

- อัตราเงินเฟ้อของจีนเดือนตุลาคมลดลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน เนื่องจากราคาอาหารชะลอลง ซึ่งส่งผลให้ทางการจีนมีโอกาสในการดำเนินมาตรการที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่ภาคการส่งออกได้รับผลกระทบจากวิกฤติหนี้ยุโรป โดยสำนักงานสถิติของจีนแถลงว่าดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 5.5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจโดย Bloomberg และต่ำกว่าอัตราการขยายตัวในเดือนกันยายนที่ 6.1%

- หลังการแทรกแซงค่าเงินเยนของทางการญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ในสัปดาห์นี้ตลาดเริ่มกลับมาทดสอบการแทรกแซงค่าเงินของทางการญี่ปุ่นอีกครั้งซึ่งส่งผลให้ค่าเงินเยนค่อยๆ แข็งขึ้นและปรับเข้าใกล้ระดับก่อนการแทรกแซงฯมากขึ้น ทั้งนี้เทรดเดอร์ในตลาดประมาณการว่าทางการญี่ปุ่นขายเยนออกมาทั้งสิ้น 7.5-8 ล้านล้านเยน อย่างไรก็ดี นักลงทุนก็ยังคงต้องการถือเงินเยนมากในช่วงนี้ซึ่งทำให้ค่าเงินเยนยังมีแนวโน้มแข็งขึ้น และส่งผลลบต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น

- นักค้าเงินในตลาดเริ่มกลับมาทดสอบการแทรกแซงค่าเงินเยนของทางการญี่ปุ่นอีกครั้งหลังจากที่ในสัปดาห์ก่อนกระทรวงการคลังญี่ปุ่นดำเนินการผ่านทางธนาคารกลางญี่ปุ่นให้ขายเงินเยนออกมาซึ่งนักวิเคราะห์ประมาณการว่าอาจเป็นมูลค่าสูงถึง 8 ล้านล้านเยน (102 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนลงทันทีถึง 4.7% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม อย่างไรก็ดีหลังจากนั้นค่าเงินเยนได้แข็งขึ้นโดยนักลงทุนยังคงต้องการถือเงินเยนมากในช่วงนี้เนื่องจากมองว่าการที่ญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศที่เกินดุลการค้าสูงทำให้มีความเสี่ยงน้อยที่ค่าเงินเยนจะอ่อนลงในภาวะที่เศรษฐกิจโลกโดยรวมมีความเสี่ยงมากขึ้น

- กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายกำกับดูแลด้านการเงินของรัฐบาลญี่ปุ่นได้ทุ่มขายสกุลเงินเยนมูลค่า 4.51 ล้านล้านเยน เพื่อเข้าซื้อสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในการแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวยังไม่มากเท่ากับที่กระทรวงการคลังและธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ใช้ในการแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ซึ่งเทรดเดอร์ในตลาดประมาณการว่าทางการญี่ปุ่นได้เทขายสกุลเงินเยนทั้งสิ้น 7.5 - 8 ล้านล้านเยน เพื่อเข้าซื้อสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้การแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราในวันดังกล่าว มีขึ้นในช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นกำลังพยายามปกป้องเศรษฐกิจภายในประเทศที่ได้รับความเสียหายอยู่ก่อนแล้วจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิเมื่อเดือนมีนาคมเพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบด้านลบจากการแข็งค่าของเงินเยน

- Nobuyuki Nakahara อดีตคณะกรรมการนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่นในช่วงระหว่างปี 2541-2545 กล่าวว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นควรดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินมากขึ้นกว่านี้อีกมากเพื่อที่จะทำให้ค่าเงินเยนอ่อนลงและช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยเขามองว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะมีปัญหาถ้าค่าเงินเยนไม่อ่อนลงไปถึง 100 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

- ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรญี่ปุ่นเดือนกันยายนลดลงมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ซึ่งชี้ว่าภาคธุรกิจญี่ปุ่นอาจชะลอการลงทุนออกไปในช่วงที่กังวลกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการแข็งค่าของเงินเยน โดยสำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นแถลงว่ายอดสั่งซื้อเครื่องจักรซึ่งเป็นตัวชี้การลงทุนในอนาคตเดือนกันยายนลดลง 8.2 % จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงมากกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจโดย Bloomberg ที่คาดการณ์ไว้ว่าลดลง 7.1% หลังจากเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้น 11% จากเดือนกรกฎาคม

 

ไทย

จากสถานการณ์น้ำท่วมที่ขยายวงกว้างส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์เบื้องต้นว่าเศรษฐกิจไตรมาส 4 อาจจะขยายตัวติดลบมากกว่าที่คาดการณ์ครั้งก่อนที่ -1.9% ขณะที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) คาดการณ์ว่าหากสถานการณ์อยู่ในขั้นวิกฤติจะทำให้ในไตรมาส 4 จะมีการว่างงานเพิ่มขึ้น 360,000 คน ส่งผลให้ สปส.จะต้องจ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงานประมาณ 5,550 ล้านบาท ส่วนด้านการเยียวยาฉุกเฉินสำหรับบ้านเรือนของประชาชน ที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือฯ มีมติอนุมัติงบประมาณจำนวน 11,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการฟื้นฟูบ้านเรือนของประชาชนจำนวน 2 ล้านกว่าหลังคาเรือนที่ถูกน้ำท่วมในอัตราหลังละ 5,000 บาท

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานว่า การที่สถานการณ์น้ำท่วมได้ขยายวงกว้างกินพื้นที่กรุงเทพฯมากขึ้นส่งผลให้ความเสียหายต่อเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตทั้งในพื้นที่น้ำท่วม รวมถึงธุรกิจต่อเนื่องโดยเฉพาะการท่องเที่ยวและบริการที่ต้องหยุดชะงักในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม โดยเบื้องต้นประเมินว่ารายได้จากการท่องเที่ยวและบริการจะหายไปประมาณ 20,000 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะหายไปประมาณ 700,000-800,000 คน ส่งผลให้ GDP ไตรมาส 4/2554 อาจจะติดลบมากว่าที่คาดการณ์ครั้งก่อนที่ -1.9%

- สำนักงานประกันสังคม (สปส.) คาดการณ์ว่า ปัญหาน้ำท่วมในจังหวัดต่างๆ ทำให้แรงงานได้รับผลกระทบและอาจถูกเลิกจ้างจำนวนมาก โดยหากสถานการณ์อยู่ในขั้นวิกฤติจะทำให้ในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม จะมีผู้ใช้แรงงานว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 360,000 คน ส่งผลให้ สปส.จะต้องจ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงานประมาณ 5,550 ล้านบาท

- ที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและความเป็นอยู่ของประชาชน มีมติอนุมัติงบประมาณจำนวน 11,000 ล้านบาทเพื่อเยียวยาฉุกเฉินสำหรับบ้านเรือนของประชาชนจำนวน 2 ล้านกว่าหลังคาเรือนที่ถูกน้ำท่วมในอัตราหลังละ 5,000 บาท โดยได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย เร่งดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประสบภัยและให้ดำเนินการจ่ายเงินออกไปช่วยเหลือภายใน 2 สัปดาห์ นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติอนุมัติงบประมาณ 100 ล้านบาทเพื่อใช้ในการฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม

 

สรุป

- อัตราว่างงานของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 9% จากระดับ 9.1% ในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ขณะที่ยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตรในเดือนตุลาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อยที่สุดในรอบ 4 เดือน แต่เป็นการปรับเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 13 ติดต่อกัน

- การที่ยอดขาดดุลงบประมาณประกอบกับยอดขาดดุลการค้าจะลดลง แต่ยอดขาดดุลดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับสูงและจะยังคงสร้างแรงกดดันให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อไป ที่ประชุม G-20 มีมติให้เพิ่มเงินทุนให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อใช้ยับยั้งวิกฤตหนี้ยูโรโซน นายจอร์จ ปาปันเดรอู นายกรัฐมนตรีกรีซประกาศลาออกจากตำแหน่ง ขณะที่พรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านของกรีซได้บรรลุข้อตกลงในการจัดตั้งรัฐบาลผสม

- ทำเนียบประธานาธิบดีของกรีซออกแถลงการณ์ว่า นายลูคัส ปาปาเดมอส อดีตรองประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเฉพาะกาลของกรีซ ทั้งนี้ นายลูคัส ปาปาเดมอส เคยดำรงตำแหน่งรองประธานอีซีบีในปี 2002-2010 และอดีตผู้ว่าการธนาคารกลางกรีซในปี 1994-2002

- ยอดขายรถยนต์ในอิตาลีและสเปนร่วงลง 5.5% และ 6.7% (y-o-y) โดยได้รับแรงกดดันจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อยู่ในภาวะอ่อนแอ

- นักวิเคราะห์จับตาสถานการณ์เศรษฐกิจของอิตาลี หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะ 10 ปีพุ่งทำสถิติสูงสุด

- ประธานาธิบดีฝรั่งเศสประกาศตั้งเป้าลดยอดขาดดุลงบประมาณปี 2555 ลง 20% จากยอดขาดดุลงบประมาณในปี 2554

- ยอดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือนกันยายนลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2552 ที่ระดับ 2.7% (m-o-m)

- ดัชนีเศรษฐกิจจีนเดือนตุลาคมชี้ว่าเศรษฐกิจจีนยังขยายตัวสูงมากอย่างต่อเนื่อง ส่วนด้านอัตราเงินเฟ้อลดลง ซึ่งอาจทำให้ทางการจีนสามารถดำเนินมาตรการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจได้หากวิกฤติหนี้ยุโรปส่งผลลบต่อภาคการส่งออกมาก

- หลังการแทรกแซงค่าเงินเยนของทางการญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ในสัปดาห์นี้ตลาดเริ่มกลับมาทดสอบการแทรกแซงค่าเงินของทางการญี่ปุ่นอีกครั้งซึ่งส่งผลให้ค่าเงินเยนค่อยๆ แข็งขึ้น ทั้งนี้นักลงทุนยังคงต้องการถือเงินเยนมากในช่วงนี้ซึ่งทำให้ค่าเงินเยนยังมีแนวโน้มแข็งขึ้น และส่งผลลบต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น

- จากสถานการณ์น้ำท่วมที่ขยายวงกว้างส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์เบื้องต้นว่าเศรษฐกิจไตรมาส 4 อาจจะขยายตัวติดลบมากกว่าที่คาดการณ์ครั้งก่อนที่ -1.9% ขณะที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) คาดการณ์ว่าหากสถานการณ์อยู่ในขั้นวิกฤติจะทำให้ในไตรมาส 4 จะมีการว่างงานเพิ่มขึ้น 360,000 คน

 

โดย สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประจำวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554

 

สรุปและวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินรายสัปดาห์ จากการ Conference Call ของ ดร.บันลือศักดิ์ และทีมงานสำนักวิจัย กับบริษัท หลักทรัพย์ ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด

 

สรุปข่าวในรอบสัปดาห์ 7 -11 พฤศจิกายน 2554

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา(CPN) พร้อมเปิดให้บริการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า ในวันที่ 13 พฤศจิกายนนี้ หลังสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มดีขึ้น

 

 

          นายณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด CPN กล่าวว่า จากการประเมินสถานการณ์ของศูนย์ Crisis Management Center ของซีพีเอ็น พบว่าขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมบริเวณโดยรอบเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า เริ่มดีขึ้น จึงได้มีการเตรียมความพร้อมที่จะเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 13 พฤศจิกายนนี้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้ามาใช้บริการซื้อของใช้จำเป็น เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงวิกฤตนี้ ซึ่งทางศูนย์การค้าได้มีการดำเนินการรักษาความปลอดภัยและดูแลความเรียบร้อยภายในสถานที่ของเราอย่างเต็มที่ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกค้าที่มาใช้บริการและร้านค้าในศูนย์ฯ เป็นสำคัญ

 

          นอกจากนี้ CPN ยังได้จัดรถบรรทุกที่ดัดแปลงเป็นรถโดยสาร เพื่อให้บริการประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนในการเดินทาง โดยจะมีรถโดยสารให้บริการใน 3 เส้นทาง ดังนี้

          สายลาดพร้าว ให้บริการในเส้นทาง สถานี BTS หมอชิต –เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว – แยกรัชโยธิน

          สายรามอินทรา-แจ้งวัฒนะ ให้บริการในเส้นทาง เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา – ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ – เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ

          สายปิ่นเกล้า-พุทธมณฑล ให้บริการในเส้นทาง เชิงสะพานปิ่นเกล้า – เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า – ตลิ่งชัน (วัดไก่เตี้ย) – ถนนพุทธมณฑลสาย 2

          อย่างไรก็ตาม ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และเซ็นทรัลพลาซาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ยังคงเปิดให้บริการตามปกติ ยกเว้น เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว และ รามอินทรา ที่ยังคงปิดให้บริการจนถึงวันที่ 13 พฤศจิกายนนี้ และจะมีการประเมินสถานการณ์อีกครั้ง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารแห่งประเทศไทยขวางรัฐบาล กรณีนำเงินทุนสำรองไปใช้เพื่อฟื้นฟูประเทศหลังน้ำลด

 

          กรณีที่รัฐบาลมีแนวคิดที่จะขอทุนสำรองทางการบางส่วนจาก ธปท.ไปใช้ในการฟื้นฟูประเทศหลังน้ำลด   นางสุชาดา กิระกุล รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าว ว่า คงต้องพิจารณาแนวทางว่ารัฐบาลจะนำเงินทุนสำรองออกไปอย่างไร เพราะถ้าตัดเอาทุนสำรองออกไปเฉยๆ นั้น คงไม่สามารถทำได้ เพราะธปท.มีทั้งส่วนสินทรัพย์และหนี้สิน ถ้านำส่วนที่เป็นสินทรัพย์ออกไปส่วนหนี้สินใครจะรับผิดชอบ ทำให้เสียวินัยทางการเงิน ขณะเดียวกัน หากรัฐบาลจะใช้วิธีออกพันธบัตรมาแลกทุนสำรองทางการออกไป ส่วนนี้อาจจะไม่แตกต่างจากการออกพันธบัตรระดมทุนในตลาดของรัฐบาลให้ภาคเอกชนซื้อ ซึ่งรัฐบาลก็สามารถทำได้อยู่แล้วโดยไม่ต้องใช้ทุนสำรองของทางการ

          นอกจากนี้หากพิจารณาจากระดับหนี้สาธารณะของประเทศ ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ที่40% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเชิงนโยบายการคลัง  ยังมีช่องว่างในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อยู่เพียงแต่รัฐบาลอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงการที่จะทำใหม่ อาจจะปรับหรือตัดงบประมาณเก่าในโครงการกระตุ้นเดิมที่ไม่ได้สร้างผลผลิตประเทศที่เพิ่มขึ้นลงบ้าง แล้วปรับเป็นโครงการมาตรการใหม่ที่เหมาะสมในการกระตุ้นหลังน้ำท่วมมากกว่าแทน แต่ถ้าจะคงไว้ทุกมาตรการคงไม่มีเงินพอ เพราะในช่วงที่เกิดวิกฤติ และต้องการใช้เงิน

          ข้อเสนอของแบงก์ชาตินั้นสอดคล้องกับการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรญัตติพิจารณางบประมาณ 2555  เรื่องการใช้งบประมาณฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วมที่ส่วนหนึ่งอาจจะลำบากในการตรวจสอบ และเสนอให้ปรับโครงการประชานิยมบางส่วนที่ไม่ได้มีส่วนในการฟื้นฟูประเทศหลังจากเกิดวิกฤติน้ำท่วมเช่น  โครงการรถคันแรก บ้านหลังแรก

 

 

          ที่มา: ศูนย์ข่าวแปซิฟิก

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

          นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีกระทรวงคลังสหรัฐได้ผลักดันให้ยุโรปเร่งดำเนินการอย่างรวดเร็ว เพื่อฟื้นเสถียรภาพด้านการเงิน ระบุว่า วิกฤตในยุโรปยังคงเป็นปัจจัยท้าทายที่สำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

 

HONOLULU (MarketWatch) -- U.S. Treasury Secretary Timothy Geithner welcomed China's commitment to let the yuan appreciate more quickly Thursday, while urging Asian economies to do more to boost domestic demand in order to shore up a global economy being hit by Europe's debt troubles.

 

As part of the effort to ensure more balanced global demand, China has agreed with the need to allow its currency to appreciate more rapidly, Geithner said after a meeting with finance ministers from the Asia-Pacific Economic Cooperation forum.

 

"We are all directly affected by the crisis in Europe, but the economies gathered here are in a better position than most to take steps to strengthen growth in the face of these pressures from Europe," said Geithner in prepared remarks.

 

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

        ราคาน้ำมันดิบนิวยอร์คปรับตัวลงในช่วงเช้านี้ หลังจากปิดที่ระดับ สูงสุดในรอบ 15 สัปดาห์เมื่อวานนี้จากข้อมูลที่บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐกำลัง ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย และตลาดคลายวิตกเกี่ยวกับวิกฤติหนี้ยุโรป

 

        ยูโรฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือนจากความหวังว่า  การตั้งรัฐบาลใหม่ในอิตาลีและกรีซอาจจะช่วยป้องกันการล่มสลายของยูโรโซน

 

        ณ เวลา 09.31 น.ตามเวลาไทย ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนธ.ค. ที่ตลาดนิวยอร์คลดลง 0.18 ดอลลาร์ ที่ 97.60 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจาก ปิดวานนี้พุ่งขึ้น 2.04 ดอลลาร์ ที่ 97.78 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับ สูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค. และราคายังพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 98.35  ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 

 

        ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอน ลดลง 0.51 ดอลลาร์ อยู่ที่ 113.20 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากปิดวานนี้ พุ่งขึ้น 1.40 ดอลลาร์ สู่ 113.71 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

SYDNEY (MarketWatch) — Most Asia stock markets rose on Friday after some positive signals out of debt-stricken Europe helped improve sentiment, but Japan’s tepid gains vanished amid weakness in financials.

 

Hong Kong’s Hang Seng Index HK:HSI +1.14%   added 0.6%, China’s Shanghai Composite CN:000001 +0.60%   rose 0.2%, Australia’s S&P/ASX 200 index AU:XJO +0.77%  gained 0.3% and South Korea’s Kospi KR:0100 +2.30%  rose 1.2%.

 

But Japan’s Nikkei Stock Average JP:NIK +0.34% ended the morning with a 0.2% loss.

 

The performance in Asia followed a rebound for U.S. stocks Thursday, with the Dow Jones Industrial Average DJIA +0.96%  rising almost 1%, buoyed by a fall in domestic jobless claims and the possibility of a new national unity government in Italy, along with a new Greek prime minister. ตลาดหุ้นแถบเอเชีย แดนบวก

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"ปลอดประสพ" มั่นใจ กทม.ฝั่งตะวันตก ท่วมเต็มพื้นที่ นานนับเดือน ต้องหาเส้นทางลงใต้สำรอง ขู่ วันนี้จะพูดความจริง น้ำท่วมเพราะอะไร

 

นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยถึง สถานการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร โดยยอมรับว่า ฝั่งตะวันตก คาดว่า จะท่วมเต็มพื้นที่ รวมถึง ถนนพระราม 2 จึงต้องคิดหาวิธี เส้นทางลงทางภาคใต้ และการให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่กว้างให้ทั่วถึง ส่วนฝั่งตะวันออก สถานการณ์เริ่มคลี่คลายลง แต่ก็ยังมีการเฝ้าระวังในส่วนของนิคม

อุตสาหกรรม โดยในวันนี้ จะมีการอนุมัติน้ำมันให้เรือผลักดันน้ำลงคลองแสนแสบ และระบายลงสู่ทะเลต่อไป

 

นอกจากนี้ นายปลอดประสพ ยังกล่าวอีกว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันนี้ จะชี้แจงข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้รับทราบว่า ทำไม น้ำถึงท่วม

Link : http://www.innnews.co.th/ปลอดประสพ-ขู่เปิดโปง-น้ำท่วมเพราะอะไร--320550_01.html

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผู้เชี่ยวชาญทางการเมืองของต่างประเทศ ชี้ พ.ต.ท.ทักษิณ พยายามไม่แสดงบทบาทต่อสถานการณ์น้ำท่วมในไทย ส่วนแนวโน้มที่จะกลับไทย ค่อนข้างเลือนลาง

 

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงาน จากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญทางการเมืองในต่างประเทศว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ส่งข้อความผ่านทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก แสดงความเห็นใจผู้ประสบภัยหลายข้อความ ส่วนสิ่งของบรรเทาทุกข์ ที่มีป้ายบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้วยรักและห่วงใยจาก พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น คนใกล้ชิดเผยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่รู้เรื่องด้วย ดร.พอล แชมเบอร์ส อาจารย์มหาวิทยาลัยพายัพ จ.เชียงใหม่ มองว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เก็บตัวเงียบมากกว่าที่คาดไว้ อาจเป็นเพราะเขาได้ตีตัวออกห่างจาก นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ผู้เป็นน้องสาวแล้ว การปล่อยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ฝ่าฟันปัญหา และเผชิญกระแสไม่พอใจ จากการแก้ไขวิกฤติน้ำท่วม จะเป็นผลดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และนักการเมืองพรรคเพื่อไทย มากกว่าเข้าไปข้องเกี่ยว

 

ด้าน ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิจัยสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในสิงคโปร์ เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ควรปล่อยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ แก้ปัญหาเอง แม้ว่าล้มเหลว เพราะหาก พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าไปข้องเกี่ยว จะยิ่งทำให้สถานการณ์ยุ่งยากมากขึ้น และเปิดช่องให้ฝ่ายค้าน โจมตีรัฐบาล นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ความช่วยเหลือในเรื่องนี้ เพราะไม่ได้จบปริญญาเอก เรื่องการบริหารจัดการน้ำ

 

ส่วนเรื่องที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เคยแสดงท่าทีชัดเจนว่า อยากกลับประเทศในเดือนธันวาคม เพื่อร่วมงานแต่งของบุตรสาว นายปวิน มองว่า โอกาสแทบเป็นศูนย์ เพราะช่วงนั้นไทยยังคงต้องจัดการกับสถานการณ์หลังจากน้ำลด ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ คงยังไม่ดำเนินการใด ๆ ทางกฎหมาย เพื่อเอื้อให้พี่ชายได้กลับประเทศในระหว่างที่ประเทศอยู่ท่ามกลางวิกฤติ เพราะเท่ากับเป็นการฆ่าตัวตายทางการเมือง ทั้งต่อตัวเองและพี่ชาย

 

Link : http://www.innnews.co.th/สื่อตปท-ชี้ทักษิณไม่ค่อยออกตัวน้ำท่วมไทย--320489_04.html

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.พินทองทา หรือเอม ชินวัตร บุตรสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ ได้เข้าพิธีหมั้นกับนายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ นักธุรกิจหนุ่ม ที่คบหาดูใจกันมานาน โดยฤกษ์หมั้นมีขึ้นในเวลา 11.00 น. วันที่ 11 พ.ย. ตรงกับ ค.ศ.2011ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมปาร์คนายเลิศ ถนนวิทยุ โดยงานดังกล่าวจัดเป็นการภายใน มีเพียงญาติผู้ใหญ่ที่สนิทและคนในครอบครัวเท่านั้น

โดยก่อนหน้านี้ ทั้งคู่วางแผนจัดพิธีหมั้นที่บ้านจันทร์ส่องหล้า ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ภายในซอยจรัญสนิทวงศ์ 69 แต่เนื่องจากเกิดปัญหาน้ำท่วม จึงเปลี่ยนสถานที่จัดงาน และลดขนาดการจัดงานลง ส่วนพิธีฉลองมงคลสมรสมีขึ้นในวันที่ 12 ธ.ค. ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี เช่นเดิม ทั้งนี้ ในพิธีหมั้นของน.ส.พินทองทา นั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้เป็นอา ไม่ได้ไปร่วมงานด้วย เนื่องจากติดภารกิจ ต้องไปเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 ที่จังหวัดนครพนม

ทั้งนี้พบว่า คู่รักหลายคู่ ในหลายๆประเทศ เช่น จีน อินเดีย ก็ถือฤกษ์วันนี้ (11.11.11) เป็นฤกษ์ดีในการจัดงานแต่งงานด้วย

 

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

11 พย. 2554 09:44 น.

 

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณถนนทรงวาด บริเวณท่าน้ำราชวงศ์ น้ำได้เอ่อล้นขึ้นมาบนผิวการจราจรสูงประมาณ 5 ซม. ระยะทางยาว 300 เมตร รถยังผ่านได้ตามปกติ

 

11 พย. 2554 09:33 น.

 

 

ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำว่า น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาได้เอ่อล้นเข้าท่วม ถนนเจริญกรุง ซอย22 (ตลาดน้อย) ระดับน้ำสูงประมาณ 30 ซม. รถเล็กผ่านไม่ได้ โดยเจ้าหน้าที่จะปัดรถจากถนนสี่พระยาให้ไปใช้ถนนมหานครแทน

 

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...