ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

*ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับตัวลงในวันพุธ นำโดยหุ้นกลุ่มธนาคาร ขณะที่ดัชนี S&P 500

หยุดชะงักใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน หลังสัญญาณของกิจกรรมทางธุรกิจที่

อ่อนแอของยุโรป ทำให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในต่างประเทศ

โดยดัชนีดาวโจนส์ ปิดลบ 0.21%

*วานนี้ ตลาดหุ้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ปรับตัวลง จากความกังวลต่อความ

สามารถของกรีซในการดำเนินการ ตามข้อตกลงรับความช่วยเหลือรอบ 2 และจากราคา

น้ำมันที่พุ่งขึ้น ขณะที่การเปิดเผยตัวเลขภาคการผลิตของจีน ที่ยังคงหดตัวก็ได้

ทำให้นักลงทุนซื้อขายอย่างระมัดระวัง ส่งผลให้ตลาดหุ้นสิงคโปร์, มาเลเซีย และ

อินโดนีเซีย ต่างปิดในแดนลบ ขณะที่เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ดีดตัวขึ้น

*ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดวานนี้ปรับขึ้น 3 เซนต์

หรือ 0.03% ปิดที่ 106.28 ดอลลาร์/บาร์เรล ถือเป็นระดับปิดสูงสุดของสัญญาเดือน

ใกล้จากที่ปิด 109.24 ดอลลาร์ เมื่อ 4 พ.ค.54 โดยได้แรงหนุนจากความกังวลที่ว่า

การเผชิญหน้ากัน ระหว่างอิหร่านกับชาติตะวันตก อาจทวีความรุนแรงขึ้น หลังจาก

การเจรจากับผู้ตรวจการณ์นิวเคลียร์ของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ประสบความล้มเหลว

*ดัชนีค่าระวางเรือ(Baltic Dry Index) ปิดวานนี้ ลบ 2 จุด หรือ 0.28% สู่ 704

โดยระดับสูงสุดของปีนี้อยู่ที่ 1624 และระดับต่ำสุดของปีนี้อยู่ที่ 647

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เจ้าหน้าที่ตำรวจ กำชับทุกคนแลกบัตร และตรวจวัตถุโลหะก่อนเข้าอาคารรัฐสภา เพื่อความปลอดภัย โดยกลุ่มคนเสื้อแดงเริ่มทยอยชุมนุมหนุนแก้รธน. แล้ว ขณะเสื้อหลากสี จ่อยื่นค้านในช่วงสายวันนี้

ในการประชุมร่วมรัฐสภา ครั้งที่ 1 สมัยสามัญนิติบัญญัติ มีวาระคือการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ร่าง ได้แก่ 1.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล 2.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทย และ 3.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคชาติไทยพัฒนา โดยจะใช้เวลาในการพิจารณา 2 วัน คือ วันที่ 23-24 ก.พ. แบ่งเวลาให้รัฐบาล ฝ่ายค้าน และวุฒิสภา ฝ่ายละ 8 ชั่วโมง

 

ทั้งนี้ รัฐบาลได้มอบหมายให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะทำงานในสภา โดยมี

พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้สนับสนุน สำหรับฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์

ได้วางตัวผู้อภิปรายไว้จำนวน 30 คน นำโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน

 

 

 

การประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 กำลังจะเริ่มขึ้นในเวลา 09.30น. และได้วางกรอบให้จบในเวลาเที่ยงคืนของวันนี้ โดยวางกรอบการประชุม 2 วัน ให้เวลาฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และวุฒิสภา ฝ่ายละ 8 ชั่วโมง   ซึ่งบรรยากาศการดูแลความปลอดภัยภายในอาคารรัฐสภา  เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำรัฐสภา ได้ทำการตรวจตรา ผู้ที่เดินเข้าออกอาคารรัฐสภาอย่างเข้างวด  เนื่องจากในวันนี้มีการชุมนุมหน้าอาคารด้วย โดยผู้ที่จะเดินทางเข้าอาคารรัฐสภาได้นั้น ต้องทำการแลกบัตร และต้องผ่านเครื่องตรวจวัตถุโลหะก่อนเข้าอาคารรัฐสภาได้

 

ส่วนบรรยากาศด้านนอกอาคาร ก่อนที่จะมีการประชุมได้มีกลุ่มคนเสื้อแดง เดินทางมาเตรียมชุมนุม เพื่อสนับสนุนการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว จำนวนกว่า 30 คน ซึ่งขณะนี้ ได้ช่วยกันจัดตั้งเวทีปราศรัยและรวมตัวกันบริเวณทางเท้าด้านหน้า สวนสัตว์ดุสิต และอยู่ในบริเวณแนวแผงเหล็ก ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ นำมาติดตั้งตลอดแนวทางเดินฝั่งตรงข้ามอาคารรัฐสภา 

 

ส่วนกลุ่มคนเสื้อหลากสี ล่าสุด พบว่า ยังไม่มีกลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางมา ซึ่งจากการสอบถามไปยัง นายแพทย์ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำเสื้อหลากสี กล่าวว่า จะเริ่มเดินทางมาในเวลาประมาณ 08.45 น. จากนั้นจะเดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อประธานวุฒิสภา เพื่อคัดค้านการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 รวมถึงนำรายชื่อกว่า 30,000 รายชื่อ ยื่นต่อ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อคัดค้านการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา

 

ขณะที่มาตรการดูแลความปลอดภัย มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสถานีตำรวจนครบาล และชุดปฏิบัติการควบคุมฝูงชน 2 กองร้อย ได้เข้ามาดูแล เพื่อป้องกันเหตุปะทะ ของทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว พร้อมมีการเตรียมติดตั้งเครื่องขยายเสียงไว้เตรียมการหากสถานการณ์การชุมนุมเริ่มตึงเครียด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แรงงานกรีซประท้วงรบ.ต้านแผนรัดเข็มขัด

ข่าวต่างประเทศ วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 7:46น.

 

สหภาพแรงงานกรีซกว่า 1 ล้านคน นัดชุมนุมครั้งใหญ่ เพื่อประท้วงต้านแผนรัดเข็มขัดรอบใหม่ของรัฐบาล ที่กำหนดขึ้นตามเงื่อนไขที่ได้รับเงินกู้ช่วยเหลือจากชาติยูโรโซน

สหภาพแรงงานของกรีซ ซึ่งมีสมาชิกกว่า 1 ล้านคน เตรียมรวมตัวชุมนุมประท้วงอีกครั้ง เพื่อคัดค้านมาตรการรัดเข็มขัดของภาครัฐที่กำหนดขึ้นตามเงื่อนไขการขอรับเงินกู้งวดใหม่ จำนวน 130,000 ล้านยูโร จากยุโรปและไอเอ็มเอฟ เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ในเดือนหน้า ท่ามกลางความกังวลว่า การชุมนุมครั้งใหม่ที่กำลังจะมีขึ้น อาจลุกลามบานปลายและรุนแรงกว่าเหตุจลาจล ที่เคยปะทุขึ้นมาแล้ว เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา

ทั้งนี้ มาตรการอดออมของรัฐบาลกรีซ จะรวมถึงการปรับลดค่าแรงขั้นต่ำลงร้อยละ 22 พร้อมทั้งหั่นเงินเดือนและเบี้ยบำนาญข้าราชการลง เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือก้อนโตที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ให้ล่มสลายจากภาระหนี้สาธารณะปัจจุบัน ที่สูงถึง 160 เปอร์เซ็นต์ ของ จีดีพี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ซีเรียทิ้งบอมบ์ที่ตึกสื่อนักข่าว,ช่างภาพตปท.ดับ

ข่าวกีฬา วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 7:45น.

นางมารี คอลวิน นักข่าวของ ซันเดย์ ไทมส์ สื่อดังของอังกฤษ และ นายเรมี อ็อคลิก ช่างภาพอิสระ วัย 28 ปี ชาวฝรั่งเศส เสียชีวิตในซีเรีย หลังโดนทหารรัฐบาล ทิ้งระเบิดใส่กลุ่มต่อต้านในเมืองฮอมส์ ที่มีผู้เสียชีวิตพร้อมกันกว่า 40 ราย ซึ่งภายในตึกจัดเป็นห้องพักสื่อมวลชน

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานข่าว 2 ชีวิตสื่อมวลชน ต้องมาจบที่ซีเรีย อีกครั้ง โดยคราวนี้เป็นของ หนังสือพิมพ์ซันเดย์ไทมส์ สื่อดังของอังกฤษ1 ราย คือ นาง มารี คอลวิน นักข่าวสาวคนดังที่ ทำข่าวสงครามมานานกว่า 30 ปี และมีบุคคลิกเด่นก็คือ คาดตาข้างเดียวเหมือนโจรสลัด และอีกรายเป็น นายเรมี อ็อคลิก ช่างภาพอิสระวัย 28 ปี ชาวฝรั่งเศส ที่ส่งงานให้กับสำนักข่าวสากล โดยทั้ง 2 โดน หลังโดนทหารรัฐบาลซีเรีย ทิ้งระเบิดระเบิดถล่มอาคาร ค่ำวานนี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกลุ่มต่อต้าน และภายในจัดเป็นห้องพักสื่อมวลชน

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ที่ปรึกษาระดับสูงนายกฯอิสราเอลลาออกแล้ว

ข่าวต่างประเทศ วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 7:16น.

สื่ออิสราเอล รายงาน ที่ปรึกษาระดับสูงของ นายกฯอิสราเอล ลาออกจากตำแหน่งแล้ว ซึ่งถือเป็นปัญหาล่าสุดที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลนายเนทันยาฮู

หนังสือพิมพ์ สถานีโทรทัศน์และวิทยุของอิสราเอล ต่างรายงานข่าว นายโยอาซ เฮนเดล ที่ขอลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษา เนื่องจาก นายเบนจามิน เนทันยาฮู  นายกฯอิสราเอล ไม่พอใจแนวทางที่เขาดำเนินการกับที่ปรึกษาอีกคน ซึ่งถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่งจากกรณีล่วงละเมิดทางเพศอันอื้อฉาว นายเฮนเดล และเจ้าหน้าที่อีก 2 คน ในสำนักนายกรัฐมนตรี พยายามจัดการเรื่องนี้กันเองโดยไม่ให้พัวพันถึง นายเนทันยาฮู แต่ข่าวนี้กลับทำให้ นายเนทันยาฮู ไม่พอใจ และแสดงความไม่ไว้วางใจคณะที่ปรึกษา จนทำให้ นายเฮนเดล ขอลาออกในที่สุด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มาไล่ดูตลาดทุนตลาดหุ้นทั่วโลก เมื่อคืนปิดเป็นยังไง

 

 

สกุลเงินเยนร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 7 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (22 ก.พ.) หลังจากญี่ปุ่นประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเมื่อไม่นานมานี้ ขณะที่เงินปอนด์ถูกกระหน่ำขายอย่างหนัก หลังจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษระบุว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสนับสนุนให้ขยายโครงการซื้อพันธบัตรเพิ่มเติม

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.74% แตะที่ 80.290 เยน จากระดับของวันอังคารที่ 79.700 เยน แต่อ่อนตัวลง 0.11% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9106 ฟรังค์ จากระดับ 0.9116 ฟรังค์

 

ค่าเงินยูโรขยับขึ้น 0.03% แตะที่ 1.3243 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3239 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ร่วงลง 0.75% แตะที่ 1.5664 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ1.5783 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.28% แตะที่ 1.0633 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0663 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ร่วงลง 0.62% แตะที่

 

0.8287 ดอลลาร์ แตะที่ 0.8339 ดอลลาร์

สกุลเงินเยนร่วงลงเนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าสภาพคล่องที่สูงขึ้นในระบการเงินของญี่ปุ่นจะส่งผลให้มูลค่าของเงินเยนอ่อนแอลง หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม ด้วยการขยายโครงการซื้อสินทรัพย์จากสถาบันการเงินภายในประเทศอีก 10 ล้านล้านเยน เป็น 65 ล้านล้านเยน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบการเงินของญี่ปุ่นสูงขึ้นและจะสร้างแรงกดดันต่อมูลค่าของสกุลเงินเยน

 

ขณะที่เงินปอนด์ร่วงลงหลังจากรายงานการประชุมของของธนาคารกลางอังกฤษระบุว่า นายอดัม โพเซน และนายเดวิด ไมล์ส กรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางได้สนับสนุนให้มีการขยายมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) อีก 7.5 หมื่นล้านปอนด์ ในขณะที่กรรมการส่วนใหญ่สนับสนุนให้ขยายโครงการ QE อีก 5 หมื่นล้านปอนด์ ซึ่งแม้ว่ามาตรการ QE จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ในอีกทางหนึ่งก็จะกดดันมูลค่าของสกุลเงินปอนด์ด้วย

 

ส่วนสกุลเงินยูโรย่ำฐานทรงตัว หลังจากที่ร่วงลงในระหว่างวัน อันเนื่องมาจากความกังวลที่ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะเข้าสู่ภาวะถดถอยรอบใหม่ หลังจากมาร์กิต อิโคโนมิกส์ รายงานว่า ดัชนี PMI ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการของยูโรโซนหดตัวลงสู่ระดับ 49.7 จุดในเดือนก.พ. จาก 50.4 จุดในเดือนม.ค. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นแตะ 50.5 จุด และตัวเลขต่ำกว่า 50 จุดถือว่าอยู่ในภาวะหดตัว

 

ด้านสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้แรงหนุนหลังจากสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองเดือนม.ค.พุ่งขึ้น 4.3% ซึ่งบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์

 

ทางการสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือนก.พ. และยอดขายบ้านใหม่เดือนม.ค.

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสทส์ (วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หวัดดีตอนเช้าค่ะพี่ๆ กำไรกันถ้วนหน้านะคร้าาาา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (21 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจว่ากรีซจะสามารถแก้ปัญหาหนี้สาธารณะภายใน ประเทศได้ แม้ว่ารัฐมนตรีคลังยูโรโซนได้อนุมัติมาตรการช่วยเหลือรอบสองก็ตาม

 

ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 5928.20 ลบ 17.05 จุด

 

ภาวะ การซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่า ปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซอาจจะยังไม่หมดไป แม้รมว.คลังยูโรโซนได้บรรลุข้อตกลงในการอนุมัติมาตรการช่วยเหลือรอบ 2 สำหรับกรีซวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโรเมื่อวานนี้ก็ตาม

 

หุ้นทุลโลว์ ออยล์ ร่วงลง 3.6% ขณะที่หุ้นบีจี กรุ๊ป ดิ่งลง 1.9%

 

ดัชนี หุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลง 0.58% และถือเป็นกลุ่มที่ถ่วงดัชนี FTSE ลงมากที่สุด โดยหุ้นบาร์เคลย์สดิ่งลง 1.3% ในขณะที่หุ้น RBS รูดลง 1%

 

อย่าง ไรก็ตาม หุ้นเวแดนต้า รีซอสเซส ทะยานขึ้น 7% หลังจากสถานีโทรทัศน์ CNBC รายงานว่า เวแดนต้า รีซอสเซส อาจจะควบรวมกิจการกับสเตอร์ไลท์ อินดัสทรีส์ อินเดีย

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์

 

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สงใสกับตันจะอดนะ ฮ่าๆๆ

 

 

อ้ายทิดเอ้ย พอร์ตเปิดช้า แถมแฮ้งค์ ราคาพอชิวๆ กำไร 200 รอต่อไปตามนั้น :hh

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเมื่อคืนนี้ (22 ก.พ.) เนื่องจากการคาดการณ์ที่ว่าสถานการณ์ตึงเครียดในอิหร่านอาจจะส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นเพียงเล็กน้อยเพราะตลาดได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า ภาคการผลิตของจีนและยูโรโซนหดตัวลง

 

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ที่ตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ดีดขึ้น 3 เซนต์ ปิดที่ 106.28 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง  105.61-106.72 ดอลลาร์

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอน ส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 1.24  ดอลลาร์ หรือ 1.02% ปิดที่ 122.90 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 121.00-123.23 ดอลลาร์

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบดีดตัวขึ้นหลังจากนายยูกิยะ อะมาโน ผู้อำนวยการสำนักงานพลังงานปรมาณูสากล (IAEA) เปิดเผยว่า IAEA ยังไม่มีการบรรลุข้อตกลงใดๆ กับอิหร่านในประเด็นโครงการนิวเคลียร์ ในระหว่างการเดินทางไปยังกรุงเตหะรานรอบที่ 2 นอกจากนี้ รัฐบาลอิหร่านไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ของ IAEA เข้าไปสำรวจฐานทหารที่สำคัญของอิหร่านด้วย

 

นายอยาตุลเลาะห์ เซย์เยด อาลี คาเมนี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน กล่าวยืนยันว่า อิหร่านไม่ได้พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ และยังระบุว่าการลอบสังหารนักวิทยาศาสตร์และการกดดันอิหร่านด้วยวิธีการต่างๆนั้น แสดงให้เห็นว่าศัตรูของอิหร่าน "อ่อนแอ"

 

อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบ WTI ขยับขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากตลาดได้รับแรงกดดันหลังจาก HSBC เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นเดือนก.พ.ของจีน อยู่ที่ระดับ 49.7 จุด เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนม.ค.ที่ 48.8 จุด แต่ตัวเลขดังกล่าวยังว่าระดับ 50 จุดและบ่งชี้ถึงการหดตัวในภาคการผลิต ซึ่งข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดความวิตกกังวลเศรษฐกิจจีนอาจจะเข้าสู่ระยะชะลอตัว

 

นอกจากนี้ มาร์กิต อิโคโนมิกส์ รายงานว่า ดัชนี PMI ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการของยูโรโซนหดตัวลงสู่ระดับ 49.7 จุดในเดือนก.พ. จาก 50.4 จุดในเดือนม.ค. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นแตะ 50.5 จุด และตัวเลขต่ำกว่า 50 จุดถือว่าอยู่ในภาวะหดตัว

 

นักลงทุนจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ ซึ่งสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยในคืนนี้ตามเวลาไทย โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบจะลดลง 400,000 บาร์เรล สต็อกน้ำมันกลั่นจะลดลง 1.1 ล้านบาร์เรล สต็อกน้ำมันเบนซินจะเพิ่มขึ้น 300,000 บาร์เรล และคาดว่าอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันจะลดลง 0.3%

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หวัดดีตอนเช้าค่ะพี่ๆ กำไรกันถ้วนหน้านะคร้าาาา

 

สวัสดีครับ คุณแม่ หวังว่า คงได้กำไรเช่นกันครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยูโรทรงตัวเทียบดอลล์ ขณะนลท.เริ่มจับตาการปฏิรูปศก.หลังข้อตกลงอุ้มกรีซ (23/02/2555)

สกุลเงินยูโรทรงตัวเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากนักลงทุนเลิกตื่นเต้นกับข่าวรมว.คลังยูโรโซนบรรลุข้อตกลงในการอนุมัติมาตรการช่วยเหลือรอบ 2 แก่กรีซในวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร และเริ่มจับตาดูว่ากรีซจะปฏิรูปการคลังหรือไม่

 

เงินยูโรซื้อขายที่ 1.3234 ดอลลาร์ ณ เวลา 11.32 น.ตามเวลาลอนดอน ทรงตัวจากเมื่อวันอังคารที่นิวยอร์ก และซื้อขายที่ 106.24 เยน/ยูโร จากระดับ 105.58 เยน/ยูโร ส่วนเงินดอลลาร์ซื้อขายที่ 80.26 เยน จาก 79.75 เยน

 

นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าน่าจะมีการบรรลุรายละเอียดของข้อตกลงการให้ความช่วยเหลือกรีซภายใน 2-3 สัปดาห์จากนี้ อย่างไรก็ดี กรีซยังคงมีโอกาสที่จะผิดนัดชำระหนี้อย่างเป็นระบบ

 

เมื่อวานนี้ รัฐมนตรีคลังยูโรโซนได้บรรลุข้อตกลงในการอนุมัติมาตรการช่วยเหลือรอบ 2 สำหรับกรีซวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโรแล้ว โดยมีเป้าหมายที่จะช่วยให้กรีซสามารถหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ และลดหนี้สินของกรีซลงเหลือ 121% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2563 ขณะที่นักลงทุนภาคเอกชนที่ถือครองพันธบัตรของกรีซ เห็นพ้องกันว่าจะยอมรับการขาดทุนเพื่อให้ความช่วยเหลือกรีซ ด้วยการยอมรับเงื่อนไขการปรับลดมูลค่าหน้าตั๋วพันธบัตรของรัฐบาลกรีซลง 53.5% ซึ่งมากกว่าการลดมูลค่าพันธบัตร 50% ที่ตกลงกันไว้ในการประชุมสุดยอดเมื่อเดือนต.ค.

 

อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศฟิทช์ เรทติงส์ ได้ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซจาก "CCC" สู่ระดับ "C" โดยให้เหตุผลว่ามีโอกาสสูงที่กรีซจะผิดนัดชำระหนี้ในระยะเวลาอันใกล้

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโิฟเควสท์ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวลง 27.02 จุด หรือ 0.21% ปิดที่ 12,938.67 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 4.55 จุด หรือ 0.33% ปิดที่ 1,357.66 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 15.40 จุด หรือ 0.52% ปิดที่ 2,933.17 จุด เปิดตลาดช่วงเช้า  ตลาดหุ้นนิวยอร์กอ่อนแรงลงหลังจาก HSBC เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นเดือนก.พ.ของจีน อยู่ที่ระดับ 49.7 จุด เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนม.ค.ที่ 48.8 จุด แต่ยังต่ำกว่าระดับ 50 จุด บ่งชี้ถึงการหดตัวในภาคการผลิต  ก่อนที่ตลาดจะได้รับแรงกดดันมากขึ้นเมื่อ ฟิทช์ เรตติงส์ ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซจาก "CCC" สู่ระดับ "C" โดยระบุว่ามีโอกาสสูงมากที่กรีซจะผิดนัดชำระหนี้ในระยะเวลาอันใกล้นี้

 

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบหลังจากมาร์กิต อิโคโนมิกส์ รายงานว่า ดัชนี PMI ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการของยูโรโซนหดตัวลงสู่ระดับ 49.7 จุดในเดือนก.พ. จาก 50.4 จุดในเดือนม.ค. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นแตะ 50.5 จุด และตัวเลขต่ำกว่า 50 จุดถือว่าอยู่ในภาวะหดตัว  ข้อมูลเหล่านี้ได้ฉุดดัชนีดาวโจนส์อ่อนตัวลง แม้ดัชนีทะยานขึ้นเหนือแนวต้านที่ระดับ 13,000 จุดเมื่อวันอังคารก็ตาม

 

สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเมื่อคืนนี้ (22 ก.พ.) เนื่องจากการคาดการณ์ที่ว่าสถานการณ์ตึงเครียดในอิหร่านอาจจะส่งผลกระทบต่อ อุปทานน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นเพียงเล็กน้อยเพราะตลาดได้รับแรงกดดันจากรายงาน ที่ว่า ภาคการผลิตของจีนและยูโรโซนหดตัวลง

 

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ที่ตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ดีดขึ้น 3 เซนต์ ปิดที่ 106.28 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

 

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่างอิหร่านและประเทศตะวันตกนำโดยสหรัฐอเมริกาและ สหภาพยุโรป (อียู) ยังคงทำให้ตลาดพลังงานโลกร้อนระอุ โดยแนวโน้มราคาน้ำมันดิบยังคงปรับสูงขึ้นนับตั้งแต่ที่อิหร่านประกาศระงับ การส่งออกน้ำมันดิบให้กับอังกฤษและฝรั่งเศสเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นการตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรที่อียูนำมาใช้กับอิหร่านและจะมีผลเต็มรูปแบบ ในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้เพื่อบีบอิหร่านให้ยุติโครงการพัฒนานิวเคลียร์ ประกอบกับอีกหลากปัจจัยโดยเฉพาะมาตรการของธนาคารกลางจีนที่ตัดสินใจกระตุ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านการผ่อนปรนสัดส่วนทุนสำรองของธนาคารพาณิชย์  ทำให้เชื่อว่า อุปสงค์น้ำมันจะทะยานและส่งผลทำให้ราคาพุ่งขึ้นต่อไปอีกในระยะ 12-24 เดือนข้างหน้า

++อียูไม่หวั่นปริมาณน้ำมันสะดุด

นายวิลเลียม เฮก รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษ ให้ความเห็นว่า การระงับส่งออกน้ำมันของอิหร่านมายังอังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อตอบโต้มติของอี ยูที่ได้ยกระดับความเข้มข้นในการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิหร่านจะ "ไม่มีผลใดๆต่อปริมาณและความมั่นคงด้านพลังงานของอังกฤษ"  ทั้งนี้ อังกฤษนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านเพียง 1 % ของปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบทั้งหมด ส่วนฝรั่งเศสนำเข้า 4 % แต่ประเทศในอียูรายอื่นๆ มีการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านในปริมาณมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นอิตาลี สเปน โปรตุเกส หรือกรีซ โดยเฉพาะกรีซนั้นนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านคิดเป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 4 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด  สถิติจากสำนักงานข่าวสารพลังงานของสหรัฐฯ (อีไอเอ) ชี้ว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 ประเทศสมาชิกอียูรวมกัน (27 ประเทศ)  เป็นผู้ซื้อน้ำมัน 18 % ของปริมาณทั้งหมดที่อิหร่านส่งออก หรือคิดเป็นปริมาณรวม 452,000 บาร์เรลต่อวัน ฝรั่งเศสนำเข้าจากอิหร่านประมาณ 49,000 บาร์เรลต่อวัน ส่วนอังกฤษ 11,000 บาร์เรลต่อวัน   

สื่อมวลชนของอิหร่านระบุว่า กระทรวงต่างประเทศอิหร่านได้เชิญทูตอียู 6 ประเทศเข้าพบเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ประกอบด้วยทูตอิตาลี สเปน โปรตุเกส กรีซ ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าจะระงับการส่งออกน้ำมันดิบให้ นอกเสียจากทั้ง 6 ประเทศจะตกลงทำสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบกับอิหร่านเป็นสัญญาระยะยาวและต้องค้ำ ประกันการชำระเงิน  นายนิคซาด ราห์บาร์ โฆษกกระทรวงการน้ำมันของอิหร่านระบุว่า อิหร่านได้มีการเจรจาซื้อขายน้ำมันดิบกับจีน และแม้จะยุติการส่งออกไปยังตลาดอียูก็สามารถส่งออกไปยังจีนและประเทศลูกค้า รายอื่นๆได้แทน ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ของอียูก็ออกมาเปิดเผยว่า ประเทศสมาชิกอียูได้ลดการซื้อน้ำมันจากอิหร่านลงแล้วและก็ยืนยันว่ามีปริมาณ น้ำมันดิบในสำรองเพียงพอที่จะชดเชยกับน้ำมันจากอิหร่านที่จะถูกระงับไป  ขณะนี้ บางประเทศได้ยุติการซื้อน้ำมันจากอิหร่านแล้ว ได้แก่ อังกฤษ ออสเตรีย โปรตุเกส เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ และบางประเทศก็กำลังปรับลดปริมาณการซื้อลงมา อาทิ อิตาลี สเปน และกรีซ

มาร์ลีน โฮลซ์เนอร์ โฆษกด้านพลังงานของคณะกรรมาธิการยุโรป เผยว่า อียูมีปริมาณน้ำมันดิบสำรองยามฉุกเฉิน 136 ล้านเมตริกตัน หรือเทียบเท่าปริมาณการใช้ 120 วัน หรือเทียบเท่ากับการนำเข้าจากอิหร่าน 4.5 ปี และจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีประเทศสมาชิกอียูรายใดมาขอใช้น้ำมันจากปริมาณสำรอง ฉุกเฉิน  

++พลวัตเศรษฐกิจจีนร่วมดันราคาน้ำมัน

จอห์น ไคอัซโซ ประธานบริษัท อะคิวเวสต์ คอมมอดิตี้ส์ โบรคเกอร์ส ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้ทำหนังสือแจ้งต่อลูกค้าว่า การตัดสินใจของอิหร่านอาจทำให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้น ทั้งนี้อิหร่านเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 2 ของกลุ่มโอเปก รองจากซาอุดีอาระเบีย สถิติในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ชี้ว่า อิหร่านมีกำลังผลิตน้ำมันดิบที่วันละ 3.545 ล้านบาร์เรล และในปี 2553 ก็มีตัวเลขการส่งออกน้ำมันดิบที่เฉลี่ย 2.154 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ข่าวการระงับส่งออกน้ำมันแก่อังกฤษและฝรั่งเศสเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาทำ ให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งทะยานสู่ระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือนเมื่อต้นสัปดาห์นี้  โดยน้ำมันดิบเบรนต์ ปรับราคาขึ้นไปอยู่เหนือระดับ 121 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่ไม่เคยถึงมาก่อนนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554  ส่วนน้ำมันดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์กสัญญาส่งมอบเดือนมีนาคมปรับขึ้นไป ถึงระดับ 105.36 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเช่นกันนับตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2554  ก่อนหน้านี้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบตลาดซื้อขายล่วงหน้านิวยอร์กปรับตัวขึ้นมาแล้ว 4.6 %  ทำให้นับจากต้นปี 2555 มาจนถึงขณะนี้ ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ขยับขึ้นมาแล้วรวม 6.6 % ส่วนน้ำมันดิบตลาดสิงคโปร์ปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับเกือบ 105 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อวันจันทร์ (20 ก.พ.) เป็นสถิติสูงสุดในรอบ 9 เดือนเช่นกัน

สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ธนาคารเจ.พี.มอร์แกน เชส ของสหรัฐฯ ได้ปรับตัวเลขประมาณการราคาน้ำมันดิบเบรนต์ (ที่ใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงที่ใกล้เคียงความเป็นจริง) ในปี 2555 นี้เพิ่มขึ้นอีก 6 ดอลลาร์ เป็น 118 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ด้วยเหตุผลที่ว่ามีปัจจัยเสี่ยงด้านอุปทานและเศรษฐกิจโลกก็มีแนวโน้มขยายตัว มากขึ้น นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันดิบจะอยู่ในทิศทางสูงขึ้นต่อไปอีกในปีหน้า (2556) จากเดิมที่คาดว่าราคาเฉลี่ยน่าจะอยู่ที่ 121 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก็ปรับขึ้นเป็น 125 ดอลลาร์ ต่อบาร์เรล

นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมน้ำมันให้ทรรศนะว่า ปัจจัยด้านการเมืองทั้งในอิหร่าน ซีเรีย ซูดาน ไนจีเรีย และที่อื่นๆ ก่อให้เกิดความกังวลใจและทำให้มีความต้องการกักเก็บน้ำมันดิบสำรองไว้เพิ่ม มากขึ้น  และนอกเหนือจากปัจจัยสถานการณ์ของอิหร่านกับประเทศตะวันตกแล้ว  อีกปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมันในช่วงต้นสัปดาห์นี้คือ ความเคลื่อนไหวในจีน โดยล่าสุดธนาคารกลางของจีนได้ประกาศเมื่อต้นสัปดาห์ว่าจะลดข้อกำหนดสัดส่วน ทุนสำรองของธนาคารพาณิชย์ลงเพื่อกระตุ้นให้มีการปล่อยสินเชื่อออกมามากขึ้น ทำให้มีความคาดหมายว่าจะมีปริมาณเงินสดไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจีนหลายหมื่น ล้านดอลลาร์ และนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย "พลวัตทางเศรษฐกิจที่กำลังเพิ่มมากขึ้นมีแนวโน้มที่จะฉุดดึงให้ราคาน้ำมัน ดิบขยับสูงขึ้นอีกในช่วง 12-24 เดือนข้างหน้า" รายงานของเจ.พี. มอร์แกนระบุ

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

 

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...