ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ศาลนัดฟังชี้ขาดสมาชิกภาพอ'ภิสิทธิ์-ประชา'

ข่าวการเมือง วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ.2555 8:58น.

 

ศาลรัฐธรรมนูญ นัดฟังคำวินิจฉัย สมาชิกภาพ "อภิสิทธิ์-วรงค์" และ "พล.ต.อ.ประชา" พ่วง 6 ส.ส.เพื่อไทย ปมช่วยน้ำท่วม

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นัดฟังคำวินิจฉัย วันนี้ 2 กรณี ในเวลา 10.00 น. คือ วินิจฉัยว่า สมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญ หรือไม่ จากกรณีการแจกถุงยังชีพของกระทรวงพลังงานที่ จ.พิษณุโลก และวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ได้แก่ นายการุณ โหสกุล นายสุรชาติ เทียนทอง นายวรชัย เหมะ นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย นายวิชาญ มีนชัยนันท์ และ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์  สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ จากกรณีแทรกแซงแจกถุงยังชีพ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักวิเคราะห์อังกฤษชี้อลป.ช่วยแก้ปัญหาศก.

ข่าวต่างประเทศ วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ.2555 8:03น.

 

นักวิเคราะห์อังกฤษ ระบุ ลอนดอน เกมส์ กลางปีนี้ เป็นเรื่องดีสำหรับเจ้าภาพ ที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่อังกฤษ กำลังประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ

นักวิเคราะห์เศรษฐกิจของอังกฤษ ระบุว่า กีฬาโอลิมปิก เกมส์ ที่ กรุงลอนดอน จะเป็นเจ้าภาพในเดือน ก.ค.นี้ นอกจากจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ยังสามารถสร้างงานให้กับแรงงานท้องถิ่นได้เป็นจำนวนมาก โดย นักวิเคราะห์ เชื่อว่า แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ รวมถึง ศูนย์การค้าบริเวณโอลิมปิก สเตเดี้ยม จะเป็นที่สนใจประมาณ 70 %  ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่เดินทางมายังลอนดอน ในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และการเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ อังกฤษ ยังสามารถสร้างงานให้กับแรงงานที่ตกงานได้มากถึง 46,000 อัตรา

 

โดยเวลานี้ อังกฤษ กำลังประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจเช่นเดียวกับกลุ่มประเทศในยูโรโซน  ซึ่งในปีนี้อัตราการว่างงานของอังกฤษพุ่งสูงมากกว่า 2,000,000 คน ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 17 ปี 

 

ปล. ประวัติศาสตร์ ครั้งที่แล้ว จัดที่ กรีซ หลังจากนั้น กรีซก็เกิดเศรษฐกิจพังทลาย เพราะทุกอย่างที่ลงทุนจัดงานเกินตัว ทำไมเขาถึงกล่าวแต่ข้อดี แปลกดี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รองเลขาสภา "คัมภีร์" เผย จันทร์นี้สรุปภาพโป๊ ตั้ง 2 ปม เทคนิค หรือ บุคคล ยันโทษถึงขั้นไล่ออก

นายคัมภีร์ ดิษฐาภรณ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า จากการที่ได้รับมอบหมายให้สอบสวน กรณีภาพที่ไม่เหมาะสมปรากฏในห้องประชุมรัฐสภานั้น คืบหน้าล่าสุดทราบว่า วันจันทร์ที่ 23 เมษายนนี้ จะได้ทราบผลการตรวจสอบทางเทคนิค และในช่วงบ่ายวันเดียวกัน จะประชุมกัน เพื่อหาข้อสรุป เพราะเชื่อว่า มีความผิดพลาด 2 ส่วน คือ เรื่องเทคนิค หรือ เรื่องบุคคล สำหรับเรื่องบุคคลนั้น หากมีควาสมผิดจริง ถือว่าผิดร้ายแรงและต้องโทษถึงไล่ออก เบื้องต้น มีเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องอยู่ในวันเกิดเหตุ 3 คน

 

ปล. มีคนเขาวิจัยแล้วว่า 4-5 วัน เรื่องทุกอย่างก็ลืมกันหมดแล้ว เขาถึงมีคำพูดว่า " จะตีเหล็กต้องตอนยังร้อน " เดี๋ยวนี้ ถ้าสังเกตุให้ดี เป็นแบบนี้ตลอด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สเปนตำหนิอาร์เจนตินาที่จะบังคับซื้อหุ้นคืนจากบ.น้ำมัน

 

 

นายไฮเม่ การ์เซีย-เลกาซ รัฐมนตรีพาณิชย์ของสเปน ได้ใช้ที่ประชุมของกลุ่มชาติมหาอำนาจ

ทางอุตสาหกรรม 20 ประเทศ หรือ จี 20 ตำหนิการตัดสินใจของอาร์เจนตินา ที่จะกว้านซื้อหุ้น

51 เปอร์เซ็นต์ ที่บริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ของสเปนถือครองอยู่ กลับมาเป็นสมบัติของชาติ

 

แต่รัฐบาลอาร์เจนตินา ยังไม่ได้ส่งสัญญาณเรื่องการบังคับซื้อหุ้นคืนจากบริษัทเรพโซล ของ

สเปน ที่ถือครองอยู่ในบริษัทพลังงาน วายพีเอฟ ที่เคยอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล

อาร์เจนตินา ขณะที่เจ้าหน้าที่ทางการอาร์เจนตินา ระบุว่า จะไม่ยอมจ่ายเงินเกือบ 10,500

ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่เรพโซล-วายพีเอฟ เอสเอ เรียกร้องเป็นค่าหุ้นที่กำลังจะถูกซื้อคืน และ

ทางบริษัทอาจจะไม่ได้เห็นเงินจำนวนดังกล่าว จนกว่าการต่อสู้กันในศาลที่ต้องใช้เวลาหลาย

ปีจะสิ้นสุดลง

 

หุ้นของบริษัทเรพโซล ร่วงลงไปถึง 17 เปอร์เซ็นต์ในสัปดานี้ และสถาบันจัดอันดับความน่า

เชื่อถือ สแตนดาร์แอนด์พัวร์ หั่นเครดิตเรตติ้งหุ้นของบริษัทเมื่อวันพฤหัสบดี ด้านวุฒิสภาของ

อาร์เจนตินา กำลังเร่งออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อบังคับซื้อหุ้นคืน โดยมีวุฒิสมาชิกเพียงไม่กี่คน

ที่คัดค้าน ก่อนที่จะมีการลงมติกันในวันพุธหน้า แม้สมาชิกฝ่ายค้านบางคน จะท้วงติงว่า เป็น

การเร่งรีบจนเกินไป แต่ก็ยืนยันว่าจะไปร่วมลงมติด้วย

 

นายการ์เซีย-เลกาซ รัฐมนตรีพาณิชย์ของสเปน ได้กล่าวต่อสื่อมวลชนภายหลังการประชุมของ

คณะรัฐมนตรีพาณิชย์ จี 20 ในเมืองเปอร์โต วัลลาร์ตา รัฐจาลิสโก ของเม็กซิโก โจมตีการตัดสิน

ใจของอาร์เจนตินาว่า ต่อต้านสปิริตของจี 20 เนื่องจาก จี 20 เป็นการประชุมเพื่อส่งเสริมการค้า

เสรีและตลาดเศรษฐกิจ ซึ่งการตัดสินใจใช้นโยบายปกป้องทางการค้า ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย

เกี่ยวกับการค้าและตลาดเสรี ซึ่งรัฐบาลในละติน อเมริกา กำลังวิตกต่อการตัดสินใจของอาร์เจนตินา

 

นายการ์เซีย-เลกาซ กล่าวด้วยว่า นักลงทุนพากันวิตกต่อมาตรการใด ๆ ที่รัฐบาลอาร์เจนตินานำมา

ใช้ และอาจส่งผลให้เม็ดเงินลงทุนหนีหดหายไปจากละตินอเมริกาทั้งภูมิภาค แต่เขาก็หวังว่า ความ

ร้าวฉานระหว่างสองประเทศ จะได้รับการแก้ไขในอนาคต หลังจากเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ความ

สัมพันธ์ระหว่างอาร์เจนตินาและสเปนเสื่อมทรามลง

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ระทึกตอน02.43น.ถลางภูเก็ตดินไหวอีก3.2 ริกเตอร์

 

สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่า เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.2ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เมื่อเวลา 02.43 น.

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กสิกรไทยคาดประชุมเฟด24-25เม.ย.มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ 0-0.25% (20/04/2555)

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ "การประชุม 24-25 เม.ย. 2555 … คาดเฟดคงมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน" ระบุว่า ในวันที่ 24-25 เมษายน 2555 คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด จะมีการประชุมรอบที่สามของปี 2555 เพื่อตัดสินใจนโยบายการเงิน ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า เฟดน่าจะยังคงมุมมองในเชิงที่ระมัดระวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ กอปรกับยังคงลงความเห็นว่าสถานการณ์แวดล้อมทางเศรษฐกิจจะยังเอื้อต่อการคงอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ไว้ที่ระดับต่ำอย่างต่อเนื่องจนถึงปลายปี 2557 (ซึ่งระบุไว้ในการประชุมรอบแรกของปีในวันที่ 24-25 มกราคม 2555)  

 

การประชุม FOMC 24-25 เม.ย. 2555…เฟดคงรักษาจุดยืนนโยบายที่ผ่อนคลายต่อเนื่อง โดยต้องจับตา การส่งสัญญาณถึงการใช้เครื่องมือทางการเงิน (Monetary Instruments)

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เฟดจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ไว้ที่ 0-0.25% พร้อมย้ำถึงความจำเป็นในการคงมาตรการผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เฟดคงทำการซื้อตราสารเพื่อกดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวภายใต้โครงการ The Maturity Extension Program (Operation Twists) วงเงิน 4 แสนล้านดอลลาร์ฯ และการเข้าซื้อตราสารด้วยเงินที่ได้จากการครบกำหนดของตราสารที่เฟดได้ลงทุนไปในช่วงก่อนหน้าเพื่อรักษาขนาดงบดุล  ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการดูแลเสถียรภาพในตลาดการเงินให้เอื้อต่อโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยจนถึง ณ วันที่ 30 มี.ค. 2555 เฟดได้ดำเนินการซื้อพันธบัตรระยะยาวไปแล้วกว่า 2.68 แสนล้านดอลลาร์ฯ ขณะที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า โอกาสที่เฟดจะผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติม คงจำกัดลงมากโดยเฉพาะหากเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังสามารถประคองอัตราการขยายตัวในระดับปานกลางเช่นปัจจุบันต่อเนื่องไปได้ในช่วงที่เหลือปี 2555 นี้ อย่างไรก็ดี คงต้องจับตาแถลงการณ์หลังการประชุม ซึ่งเฟดอาจมีการส่งสัญญาณถึงการใช้เครื่องมือทางการเงิน (Monetary Instruments) เพื่อเป็นการสื่อสารไปยังสาธารณชน ก่อนที่โครงการ Operation Twist จะสิ้นสุดในเดือน มิ.ย.นี้ (เฟดจะประชุมรอบถัดไปในวันที่ 19-20 มิ.ย.)

 

 

 

นโยบายการเงินผ่อนคลายยังมีความจำเป็น ท่ามกลางการฟื้นตัวในระดับปานกลางของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยที่ยังคงมีความเปราะบางโดยเฉพาะในตลาดแรงงาน

 

 เครื่องชี้สำคัญโดยเฉพาะในตลาดแรงงานยังเปราะบาง โดยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมาเริ่มส่งสัญญาณถึงการชะลอตัวของโมเมนตัมการขยายตัว โดยเฉพาะตลาดแรงงานที่การฟื้นตัวยังคงอาจจะไม่ยั่งยืนนัก เนื่องจากการลดลงของอัตราการว่างงานจาก 8.3% เป็น 8.2% ในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับลดของอัตราการเข้าสู่กำลังแรงงาน (Labor Participation Rate) จาก 63.9% ในเดือน ก.พ. มาอยู่ที่ 63.8% ในเดือน มี.ค. ทั้งนี้ แม้นับตั้งแต่ต้นปี 2555 การจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 200,000 ตำแหน่งต่อเดือนซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นที่ดีเกินคาด แต่ยังคงต้องใช้เวลากว่า 2 ปี แม้ว่าการจ้างงานเพิ่มขึ้นในอัตรานี้กว่าที่การว่างงานสหรัฐฯ จะกลับสู่ภาวะปกติ เนื่องจากยังคงมีคนตกงานโดยเฉพาะผู้ที่ว่างงานเป็นเวลานานอยู่อีกมาก รวมถึงทักษะที่มีอยู่อาจไม่เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่ตลาดต้องการ นอกจากนี้ การเติบโตของรายได้ก็ยังค่อนข้างอ่อนแอ อันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของตลาดแรงงานสหรัฐฯ อาจจะไม่ค่อยยั่งยืนนัก 

 

อย่างไรก็ดี เครื่องชี้เศรษฐกิจโดยรวมยังคงบ่งบอกถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างค่อยเป็นค่อยไป นำโดยการฟื้นตัวของการใช้จ่ายของผู้บริโภค ภาคการส่งออก และการลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งสอดคล้องไปกับความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเครื่องชี้ดังกล่าว น่าจะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวได้ดีขึ้นในปี 2555 (เมื่อเทียบกับปี 2554 แม้อาจยังไม่ได้เป็นการขยายตัวในระดับศักยภาพก็ตาม) สอดคล้องกับมุมมองของเฟด ณ ขณะนี้ที่คาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2555 น่าจะอยู่ในช่วง 2.2-2.7%

 

 พัฒนาการเศรษฐกิจที่ให้ภาพผสมผสานและยังมีความเปราะบาง นโยบายผ่อนคลายจึงยังคงมีความจำเป็น โดยแม้เครื่องชี้เศรษฐกิจจะปรับตัวในทิศทางที่ดีเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีความเปราะบางอยู่มาก ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำและเอื้อต่อการดำเนินนโยบายผ่อนคลายอย่างมาก ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงเห็นว่า เฟดน่าจะยังคงลงความเห็นว่าสภาวะแวดล้อมต่างๆ จะยังคงเอื้อสำหรับการคงอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ไว้ที่ระดับต่ำต่อเนื่องจนถึงปลายปี 2557 และเฟดคงยังมีความจำเป็นต้องคงขนาดสินทรัพย์ในงบดุลต่อเนื่องต่อไป สำหรับการดำเนินนโยบายผ่อนคลายเพิ่มเติมนั้น เฟดอาจไม่ได้ระบุถึงประเด็นนี้อย่างชัดเจน แต่คงจะติดตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจซึ่งหากมีแนวโน้มปรับตัวไปในทิศทางเชิงลบมากขึ้น ก็มีโอกาสที่เฟดจะพิจารณาดำเนินการได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสมต่อไป

 

 นอกจากความเปราะบางจากตัวแปรในประเทศ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังอาจมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยภายนอกประเทศ โดยเฉพาะวิกฤตหนี้ในยุโรป และการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมัน

 

มองไปในระยะข้างหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า นอกเหนือจากการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของตลาดแรงงานและภาคอสังหาริมทรัพย์ที่คงต้องใช้เวลาและยังคงมีความเปราะบางอยู่ เส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังอาจมีความอ่อนไหวและถูกกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศได้เช่นกัน

 

ปัจจัยภายนอกประเทศ โดยเฉพาะปัญหาหนี้ยุโรป และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูง อาจจะกระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้ว่าความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ของยุโรปจะเริ่มผ่อนคลายลงมาบ้าง หลังความก้าวหน้าในประเด็นหนี้กรีซ และการอัดฉีดเงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำให้กับสถาบันการเงินยุโรป (LTRO) ของธนาคารกลางยุโรป อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาหนี้ยุโรปยังคงมีอยู่ จากประเทศที่ประสบปัญหาหนี้ที่ยังคงเผชิญกับความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะหดตัว อันเป็นผลจากมาตรการรัดเข็มขัดการคลัง ตลอดจนยังมีความเสี่ยงที่อาจจะไม่สามารถปรับลดการขาดดุลการคลังได้ตามเป้า ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ อาจจะสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินเป็นระยะ รวมถึงเป็นปัจจัยลบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งสหรัฐฯ 

 

 

นอกจากนี้ การปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก จากความกังวลต่อประเด็นข้อพิพาทระหว่างอิหร่านกับอิสราเอลและชาติตะวันตก รวมถึงความกังวลของปริมาณน้ำมันโลกหลังอิหร่านเริ่มหยุดการส่งออกน้ำมันบางส่วน ซึ่งหากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะกระทบต่อการบริโภคของสหรัฐฯ และส่งผลลบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจเช่นกัน อีกทั้งราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ยังอาจส่งผลต่อการคาดการณ์เงินเฟ้อ และมีผลตามมาให้ตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวผันผวนหรือไม่เอื้อต่อการฟื้นตัวที่ยังคงเปราะบางของภาคอสังหาริมทรัพย์ กระทบต่อฐานะของครัวเรือน รวมไปถึงต่อฐานะการเงินของภาคธนาคารจากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าพันธบัตรที่ถือครอง

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า การคาดการณ์ถึงโอกาสที่เฟดจะดำเนินนโยบายผ่อนคลายเพิ่มเติมในอนาคตหรือไม่ ผนวกกับข่าวดีและร้ายในภูมิภาคยุโรป และจีน ตลอดจนประเด็นอิหร่าน จะยังคงมีอิทธิพลอย่างมากต่อการปรับพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ทิศทางกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย และราคาสินทรัพย์ทางการเงิน (ดัชนีหุ้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตร ทองคำ และน้ำมัน เป็นต้น) เช่นเดียวกับในระยะที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่น หากเฟดไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะดำเนินมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติม (QE3) และภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง อาจจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะมีนัยเชิงลบตามมาต่อต้นทุนการระดมทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในเอเชีย รวมถึงไทย ผ่านการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในแต่ละประเทศ

 

 

ดังนั้น สำหรับในระยะอันใกล้นี้ คงจะต้องติดตามแถลงการณ์หลังการประชุมซึ่งจะสะท้อนถึงมุมมองและท่าทีของเฟดต่อแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินในระยะถัดไป ขณะที่ ประเด็นจับตาต่อไป คงจะได้แก่ พัฒนาการทางเศรษฐกิจหลักในโลก และราคาน้ำมัน ซึ่งจะเป็นตัวแปรที่นอกจากมีผลต่อตลาดการเงินแล้ว จะส่งผลต่อแนวโน้มและการประเมินน้ำหนักความเสี่ยงเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ในท้ายที่สุดคงกลับมามีผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของทางการไทยอย่างยากจะหลีกเลี่ยง

 

โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด จะยังคงจุดยืนในการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายอย่างมากต่อไปในการประชุมรอบที่สามของปีในวันที่ 24-25 เมษายน 2555 ทั้งการคงอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ไว้ที่ 0-0.25% ตลอดจนการคงขนาดสินทรัพย์ในงบดุลของเฟดผ่านเครื่องมือต่างๆ ท่ามกลางมุมมองในเชิงที่ระมัดระวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ นอกจากนี้ เนื่องจากเฟดจะมีกำหนดการประชุมรอบนี้ และรอบถัดไปในวันที่ 19-20 มิ.ย. ก่อนที่การดำเนินโครงการ Operation Twist จะสิ้นสุดในเดือน มิ.ย. ดังนั้น ในการประชุมรอบที่จะถึงนี้ คงต้องจับตาสัญญาณที่เฟดอาจระบุถึงการใช้เครื่องมือทางการเงิน (Monetary Instruments) เพื่อคงขนาดงบดุล แม้เฟดไม่น่าที่จะระบุชัดเจนถึงการดำเนินนโยบายผ่อนคลายเพิ่มเติม หรือ QE3 ก็ตาม

 

มองไปในช่วงที่เหลือของปีนี้ นอกจากตัวแปรในประเทศโดยเฉพาะตลาดแรงงานที่ยังคงมีความเปราะบางแล้ว เส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศ ทั้งสถานการณ์ในยุโรป และการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ดังนั้น การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย และการดูแลการคาดการณ์เงินเฟ้อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฟด จึงยังคงมีความจำเป็น และเชื่อว่าเฟดคงไม่ลังเลที่จะดำเนินมาตรการเพิ่มเติมในอนาคตหากเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับตัวในเชิงลบกว่าที่คาด

 

นอกจากท่าทีของเฟดแล้ว พัฒนาการทางเศรษฐกิจหลักในโลก (สหรัฐฯ ยุโรป และจีน) และการปรับตัวสูงของราคาน้ำมัน คงจะมีอิทธิพลต่อการปรับพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ทิศทางกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย และราคาสินทรัพย์ทางการเงิน เช่นเดียวกับในระยะที่ผ่านมา รวมทั้งคงจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทางการไทยติดตาม (นอกเหนือจากพัฒนาการของเครื่องชี้เศรษฐกิจและเงินเฟ้อในประเทศ) เพื่อประเมินน้ำหนักความเสี่ยงสำหรับการดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมและเอื้อต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

 

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 20 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางสเปนประกาศตัวเลขสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อเงินให้สินเชื่อรวมทั้งระบบในเดือนมกราคม 2555 อยู่ที่ 7.91% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2537 ซึ่งปัจจุบันนักลงทุนทั่วโลกกังวลว่าวิกฤตการเงินโดยเฉพาะภาคธนาคารของสเปนซึ่งกำลังเผชิญปัญหาหนี้เสียปริมาณมาก อาจส่งผลให้วิกฤตการเงินของยูโรโซนขยายวงกว้าง

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 20 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่น่าผิดหวังกดดันราคาน้ำมันดิบ"

เวสต์เท็กซัสปรับลดลง 0.40 เหรียญฯ/บาร์เรล ปิดที่ 102.27เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้น  0.03 เหรียญฯปิดที่ 118.00เหรียญฯ -ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯออกมาเป็นที่น่าผิดหวัง โดยยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานปรับตัวลดลงเพียง 2,000 ตำแหน่งมาอยู่ที่ 386,000 ซึ่งน้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะลดลง 18,000 ตำแหน่ง ส่งผลให้ตลาดกังวลว่าการจ้างงานในเดือน เม.ย. น่าจะออกมาไม่ดีนักหลังจากที่ผิดหวังกับตัวเลขในเดือน มี.ค. ส่วนยอดขายบ้านมือสองในเดือน มี.ค. ปรับลดลง 2.6% มาอยู่ที่ 4.48 ล้านหลัง น้อยกว่าการคาดการณ์ที่ 4.62 ล้านหลัง -นอกเหนือจากนั้น ดัชนีภาคอุตสาหกรรมของรัฐฟิลาเดลเฟียเดือน เม.ย. ลดลงสู่ระดับ 8.5 จาก 12.5 ในเดือน มี.ค. น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 12.0

- ซาอุดิอาระเบียได้เสนอขายน้ำมันดิบให้กับคู่ค้าในปริมาณที่มากขึ้น เนื่องจากมีปริมาณการผลิตน้ำมันดิบที่สูงขึ้นประกอบกับโรงกลั่นในประเทศกำลังปิดซ่อมบำรุง โดยปัจจุบันผลิตน้ำมันดิบที่ระดับสูงสุดในรอบสิบปีที่ 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน

+ สเปนประสบความสำเร็จในการขายพันธบัตรระยะยาวอายุ 10 ปีได้ที่ 1.4 พันล้านยูโรที่ผลตอบแทนเฉลี่ย 5.74% และพันธบัตรอายุ 2 ปีที่ผลตอบแทนเฉลี่ย 3.46% ซึ่งตรงตามเป้าที่ตั้งไว้ที่ 2.5 พันล้านยูโรส่งผลให้ความกังวลต่อวิกฤตเศรษฐกิจยุโรปผ่อนคลายลง

ราคาน้ำมันเบนซินที่สิงคโปร์ ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดูไบเนื่องจากอุปทานที่ตึงตัวจากการปิดซ่อมแซมของโรงกลั่นในอินเดีย สำหรับราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาค ในขณะที่อุปทานในภูมิภาคตึงตัวขึ้นจากโรงกลั่นที่ปิดซ่อมบำรุงโดยเฉพาะอินเดีย

 

ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง

 

กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบเบรนท์ 115 - 123 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 100- 108 เหรียญฯ  

คาดว่าราคาจะปรับตัวลดลงในระยะสั้นจากปริมาณน้ำมันดิบในตลาดที่ปรับสูงขึ้นจากกลุ่มโอเปกและน้ำมันคงคลังของสหรัฐฯ รวมทั้งความกังวลต่อสถานการณ์ปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านลดลงหลังมีการเจรจาระหว่างอิหร่านและประเทศผู้นำของโลก วันนี้ติดตามการประชุมของกลุ่ม จี 20 ในเรื่องการเพิ่มวงเงินเข้าในกองทุนช่วยเหลือหนี้ยุโรป และการประชุมของ IMF ในช่วงสุดสัปดาห์นี้

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ / ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดสหรัฐฯ ไตรมาส 1/55 ที่ต้องติดตาม ได้แก่

วันศุกร์: ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจเยอรมนี (Ifo business climate) / เจเนอรัล อิเลคทริคและแมคโดนัลด์ วันจันทร์: ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตและบริการของเยอรมนีและของสหภาพยุโรป (flash PMI) /ซีร็อค วันอังคาร: ยอดขายบ้านใหม่และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ / 3เอ็ม, เอที แอนด์ ทีและแอปเปิ้ล วันพุธ: ยอดขายสินค้าคงทน และการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ / โบว์อิ้ง, แคทเทอร์พิลาร์และดูปองค์ วันพฤหัสฯ: ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงาน และยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯ รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยุโรป/ เอ็กซอนโมบิลและเคลลอกก์ วันศุกร์: จีดีพีและความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ / เชฟรอน, เมอร์คและพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล

- ติดตามการประชุมของกลุ่ม จี 20 ในวันที่ 19-20 เม.ย. และการประชุมไอเอ็มเอฟในวันที่ 20-22 เม.ย. นี้ ว่าจะมีการเพิ่มวงเงินเข้าในกองทุนช่วยเหลือหนี้ยุโรปหรือไม่ หลังสหภาพยุโรปมีการตกลงขยายกองทุนช่วยเหลือไปแล้ว 700 ล้านยูโร ในการประชุมเมื่อวันที่ 30-31 มี.ค. ที่ผ่านมา

- การเจรจาครั้งที่ 2 ระหว่าง 6 ประเทศแกนนำหลักของโลกและอิหร่านในเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านในวันที่ 23 พ.ค. นี้ที่เมืองแบกแดด ประเทศอิรัก

- สถานการณ์ความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ได้แก่ ไนจีเรีย ซีเรีย อิรัก เยเมน  ลิเบีย และซูดานใต้

- การพิจารณาปล่อยน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์โดยสหรัฐฯ อังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อช่วยลดแรงกดดันของราคาน้ำมัน

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 20 เมษายน 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ที่มา สุทธิชัยหยุ่น

 

การเมืองฝรั่งเศสเสี่ยงพลิก+แรงขายกดหุ้นโลกฟุบ

วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555AAAขนาดตัวอักษร| |

 

รูปอื่นๆ :

Tweet หุ้นเอเชียเปิดตลาดเช้านี้ (20 เม.ย.) อ่อนตัวลงนำโดยนิคเคอิลบ 0.82% คอสปี้ลบ 0.23% ออสซี่บวก 0.06% ท่ามกลางการเลือกตั้งในฝรั่งเศสที่จะมีขึ้นในเดือน พ.ค.เป็นที่จับตามองของนักลงทุนอย่างใกล้ชิด เมื่อคะแนนนิยมของ "นิโกลาส์ ซาร์โกซี" กำลังลดลงและอาจเพลี่ยงพล้ำจ่อพรรคคู่แข่ง กดดันให้ดัชนีหุ้นทั้งในสหรัฐ-ยุโรปกลับมาอ่อนไหวต่อข่าวเชิงลบมากขึ้น ดาวโจนส์ร่วงหลุดระดับ 13,000 อีกครั้ง หลังสหรัฐเผยยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ รวมทั้งผลประกอบการของแบงก์ ออฟ อเมริกา มีกำไร Q1 ลดลง ส่วนมอร์แกนสแตนลีย์ ขาดทุนแต่ดีกว่าตลาดคาดไว้ ราคาน้ำมันดิบตลาดสหรัฐปิดตลาดเพิ่มแค่ 2 เซนต์ปิดที่ 102.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่ตลาดจับตามองผลประมูลพันธบัตรสเปนในจำนวนที่สูง ตามต้นทุนกู้ยืมสูงลิ่ว สำหรับราคาทองปิดบวก 1.80 ดอลลาร์ปิดที่ 1,641.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยนักลงทุนเก็งว่าเฟดอาจใช้ QE3 เหตุเศรษฐกิจอ่อนแอและยอดขายบ้านมือสองร่วงลง

 

 

ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดวานนี้ (19 เม.ย.) ปรับตัวลง 68.65 จุดหรือ 0.53% ที่ 12,964.10 ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ร่วงลง 8.22 จุดหรือ 0.59% ปิดที่ 1,376.92 และดัชนีแนสแด็ค ลบ 23.89 จุดหรือ 0.79% ปิดที่ 3,007.56

 

ด้านฟากฝั่งยุโรปปิดตลาดในแดนลบเฉลี่ย 1.85% โดย FT1000 ลอนดอน ปิดที่ 5,744.55 ลดลง 0.74 จุด หรือ 0.01% ขณะที่ CAC40 ฝรั่งเศส ร่วงหนักสุดปิดที่ 3,174.02 ดิ่งลง 66.27 จุด หรือ 2.05% และ DAX เยอรมันปิดที่ 6,671.22 ร่วงลง 60.81 จุด หรือ 0.9%

 

ทั้งนี้ หุ้นในตลาดนิวยอร์ปิดลบ หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 14 เม.ย. ลดลง 2,000 ราย มาอยู่ที่ 386,000 ราย เทียบกับที่มีการคาดการณ์กันไว้ว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 370,000 ราย นับเป็นการส่งสัญญาณว่าการฟื้นตัวของตลาดแรงงานสหรัฐอาจชะงักงัน

 

สำหรับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานโดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 5,500 ราย มาอยู่ที่ 374,750 ราย ซึ่งข้อมูลนี้ถูกมองว่าสามารถวัดแนวโน้มตลาดแรงงานได้ดีกว่า เพราะมีความผันผวนน้อยกว่าตัวเลขรายสัปดาห์

 

ข้อมูลที่ได้รับการเปิดเผยล่าสุด ถือเป็นความเคลื่อนไหว ที่อาจเพิ่มความวิตกกังวลว่า การฟื้นตัวของตลาดแรงงานกำลังหยุดชะงัก หลังจากที่ข้อมูลก่อนหน้านี้บ่งชี้ว่าการจ้างงานใหม่เริ่มชะลอตัว

 

ขณะเดียวกัน สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติรายงานยอดขายบ้านมือสองเดือนมี.ค. ลดลงในอัตรา 2.6% แตะ 4.48 ล้านยูนิต จาก 4.6 ล้านยูนิตในเดือนก.พ. สวนทางกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น

 

ข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่กว่าคาดได้บดบังรายงานผลประกอบการภาคเอกชนที่ออกมาดีเกินคาด โดยวันนี้แบงก์ ออฟ อเมริกา เปิดเผยว่า กำไรไตรมาสแรกลดลงมาอยู่ที่ 3 เซนต์ต่อหุ้น ขณะที่มอร์แกน สแตนลีย์ ขาดทุน 6 เซนต์ต่อหุ้น จากที่ทำกำไรในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ผลประกอบการของทั้งสองธนาคาร ยังดีกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

 

นอกจากรายงานผลประกอบการและข้อมูลเศรษฐกิจในสหรัฐแล้ว นักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของวิกฤตหนี้ยุโรป แม้สเปน ขายพันธบัตรอายุ 10 ปี และ 2 ปี เป็นวงเงินทั้งสิ้น 2.54 พันล้านยูโร (3.33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของกรอบเป้าหมายที่วางไว้ที่ 1.5 - 2.5 พันล้านยูโร

 

ขณะที่ฝรั่งเศสขายพันธบัตรระยะกลางได้ 7.97 พันล้านยูโร ในการประมูล ซึ่งใกล้เคียงเป้าหมายสูงสุดที่วางไว้

 

น้ำมันดิบสหรัฐปิดบวกเล็กน้อย

 

ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีท ตลาดไนเม็กซ์ สหรัฐ ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นเพียง 2 เซนต์ ปิดตลาดที่ราคา 102.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมิ.ย. ปรับตัวขึ้น 34 เซนต์ ปิดตลาดที่ 118.31 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ปิดตลาดปรับตัวขึ้น เนื่องจากนักลงทุนนขานรับผลการประมูลพันธบัตรของสเปน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวสามารถชดเชยการพุ่งขึ้นของสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐ

 

ทั้งนี้ ความสำเร็จในการประมูลพันธบัตรของรัฐบาลสเปนสามารถชดเชยปัจจัยลบจากรายงานของสำนักงานสารนิเทศด้านพลังงานของรัฐบาลกลางสหรัฐ (อีไอเอ) ที่ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 13 เม.ย. พุ่งขึ้น 3.86 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 369 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า จะเพิ่มขึ้นเพียง 1.6 ล้านบาร์เรล

 

ทองคำสหรัฐปิดบวกใกล้2ดอลล์

 

ราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 1.80 ดอลลาร์ หรือ 0.1% ปิดที่ 1,641.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1650.50-1641.40 ดอลลาร์

 

โดยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ดีดตัวขึ้น เมื่อเทียบกับเงินเยน ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์ก เพราะได้แรงหนุนจากข่าวความสำเร็จในการประมูลขายพันธบัตรของรัฐบาลสเปน หลังจากข่าวที่ว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) สามารถระดมทุนจากประเทศสมาชิกได้ทั้งสิ้น 3.2 แสนล้านดอลลาร์ในขณะนี้ เพื่อรับมืองกับวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป

 

สกุลเงินยูโรดีดตัวขึ้น 0.1% แตะที่ 1.3133 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 1.3120 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์พุ่งขึ้น 0.2% แตะที่ 1.6052 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6020 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดีดขึ้น 0.31% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 81.53 เยน จากระดับ 81.28 เยน และขยับลงเล็กน้อย 0.04% เมื่อเทีบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9153 ฟรังค์ จากระดับ 0.9157 ฟรังค์

 

แบงก์ออฟอเมริกาเผยกำไรไตรมาสแรกหด

 

แบงก์ ออฟ อเมริกา ธนาคารรายใหญ่อันดับ 2 ของสหรัฐ เปิดเผยว่า ผลกำไรสุทธิในไตรมาสแรกอยู่ที่ 653 ล้านดอลลาร์ หรือ 3 เซนต์ต่อหุ้น ลดลงจาก 2.05 พันล้านดอลลาร์ หรือ 17 เซนต์ต่อหุ้นในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวข้องกับหนี้

 

อย่างไรก็ดี ผลกำไรที่ลดลงครั้งนี้ ยังดีกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ ขณะที่แบงก์ ออฟ อเมริกา ระบุว่า ธุรกิจของธนาคารกำลังปรับตัวดีขึ้น หากไม่รวมการปรับมูลค่าหนี้ หรือ รายการที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ผลกำไรไตรมาสแรกของแบงก์ ออฟ อเมริกา จะเพิ่มขึ้นประมาณ 40% มาอยู่ที่ 3.7 พันล้านดอลลาร์ หรือ 31 เซนต์ต่อหุ้น

 

สำหรับรายได้ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2555 อยู่ที่ 2.25 หมื่นล้านดอลลาร์ เทียบกับ 2.71 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

 

นายไบรอัน มอยนิแฮน หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ)ของแบงก์ ออฟ อเมริกา กล่าวว่า ธุรกิจของธนาคารแข็งแกร่งขึ้น เนื่องจากทุนสำรองเพิ่มขึ้น และความสามารถในการทำกำไรก็ปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่ไตรมาสก่อนหน้า

 

ด้านนายบรูซ ทอมป์สัน หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน(ซีเอฟโอ) กล่าวว่า ธนาคารได้เพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 อีก 0.92% จากไตรมาสสี่ของปี 2554

 

เมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า แบงก์ ออฟ อเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินขนาดใหญ่สุดของสหรัฐ ด้วยจำนวนลูกค้าราว 57 ล้านราย ได้ผ่านการทดสอบภาวะวิกฤต ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มหันมาให้ความสนใจ ที่ความสามารถในการทำกำไรของธนาคาร แทนที่จะมุ่งเน้นไปที่ความต้องการเงินกองทุน

 

ขณะเดียวกัน คู่แข่งของแบงก์ ออฟ อเมริกา อย่าง มอร์แกน สแตนลีย์ ซึ่งเป็นวาณิชธนกิจรายใหญ่ของสหรัฐ ได้รายงานผลประกอบการ ซึ่งปรากฏว่าขาดทุน 119 ล้านดอลลาร์ หรือ 6 เซนต์ต่อหุ้น ในไตรมาสแรก เทียบกับที่ทำกำไรได้ 736 ล้านดอลลาร์ หรือ 50 เซนต์ต่อหุ้นในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากค่าใช้จ่าย 2 พันล้านดอลลาร์ที่เกี่ยวกับหนี้ แต่ตัวเลขดังกล่าวยังดีกว่าการคาดการณ์

 

หากไม่รวมการตัดหนี้เสีย หรือลดมูลค่าทรัพย์สินในบัญชี มอร์แกน สแตนลีย์ มีกำไร 1.4 พันล้านดอลลาร์ หรือ 71 เซนต์ต่อหุ้นในไตรมาสแรกปีนี้ เทียบกับ 1.1 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว เนื่องจากรายได้จากการซื้อขายพันธบัตรพุ่งสูงขึ้น ขณะที่ธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของธนาคารก็ปรับตัวดีขึ้น

 

สำหรับรายได้อยู่ที่ 6.9 พันล้านดอลลาร์ ลดลงจาก 7.6 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ซึ่งมอร์แกน สแตนลีย์ ผ่านการทดสอบภาวะวิกฤตในเดือนมี.ค.เช่นกัน

 

ไอเอ็มเอฟคาดแผนเพิ่มทุนผ่านฉลุย

 

นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ผอ.ไอเอ็มเอฟ แสดงความหวังว่า ทุนทรัพย์ของกองทุนไอเอ็มเอฟจะเพิ่มขึ้นอย่างมากภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมร่วมระหว่างไอเอ็มเอฟ และเวิลด์แบงก์ในช่วงสุดสัปดาห์นี้

 

นางลาการ์ด กล่าวในการแถลงข่าวที่กรุงวอชิงตัน ก่อนที่การประชุมฤดูใบไม้ผลิของไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลกจะเปิดฉากขึ้นในวันศุกร์นี้ว่า ไอเอ็มเอฟ จำเป็นต้องเพิ่มศักยภาพการปล่อยเงินกู้ของกองทุน ซึ่งเธอคาดว่า ยอดเงินสมทบเข้ากองทุนจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากเชื่อว่า ประเทศสมาชิกอีกหลายประเทศ จะให้คำมั่นในการจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้แก่ไอเอ็มเอฟในระหว่างการประชุมครั้งนี้

 

ถ้อยแถลงดังกล่าวของนางลาการ์ดมีขึ้น หลังจากที่เธอเพิ่งออกมาเปิดเผยวานนี้ว่า ยอดการจ่ายเงินสมทบจากประเทศสมาชิกที่สนับสนุนการเพิ่มศักยภาพด้านการปล่อยเงินกู้ของไอเอ็มเอฟ เพื่อรับมือกับวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปนั้น มีอยู่ทั้งสิ้น 3.2 แสนล้านดอลลาร์แล้วในขณะนี้

 

ทั้งนี้ ญี่ปุ่น เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ และโปแลนด์ เป็นหนึ่งในประเทศ ที่ให้คำมั่นว่าจะให้เงินสมทบเพื่อเพิ่มศักยภาพการปล่อยเงินกู้ให้กับกองทุนจากระดับปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยเป็นเกราะป้องกันเศรษฐกิจโลกจากวิกฤตหนี้ยุโรปที่อาจทวีความรุนแรงขึ้น

 

แม้นางลาการ์ด ไม่ได้ระบุตัวเลขเป้าหมายของยอดเงินสมทบที่ชัดเจน แต่ก็มีการคาดการณ์กันว่า ไอเอ็มเอฟ ได้กำหนดเป้าหมายทุนทรัพย์ใหม่ไว้ที่ราว 4 แสนล้านดอลลาร์ในขณะนี้

 

นอกจากเรื่องยอดเงินสมทบเข้ากองทุนแล้ว ในการแถลงข่าวครั้งนี้ ผอ.ไอเอ็มเอฟ ยังแสดงความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก โดยระบุว่า แม้มีสัญญาณว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมีความเสี่ยงสูงอยู่ ซึ่งรวมถึงการว่างงานที่อยู่ในระดับสูง สถานการณ์ตึงเครียดทางการคลังระลอกใหม่ในยูโรโซน และราคาน้ำมันแพง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายจุน อาซูมิ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) อาจจะบรรลุเป้าหมายการระดมเงินทุนจากประเทศสมาชิก เพื่อเพิ่มทุนทรัพย์ให้กับไอเอ็มเอฟเป็น 4 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตหนี้สาธารณะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:La :_06 :K2 :upweak:

สงสัยตลาดภารตะ ( อินเดีย ) เตรียมฉลองเทศกาลฯ 24 เมษายน. ดันราคาขึ้นแต่หัววัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

By Sarah Turner, MarketWatch

SYDNEY (MarketWatch) — Asian shares lost ground on Friday, with investors taking a lead from the U.S. and sending technology stocks lower, but signs of emerging monetary-policy support cushioned the downside.

 

The Nikkei Stock Average JP:100000018 -0.42%  declined 0.4%, South Korea’s Kospi KR:0100 -1.43%  fell 1.3%, and Australia’s S&P/ASX 200 index AU:XJO -0.19%  slipped 0.2%.

 

In China, Hong Kong’s Hang Seng Index HK:HSI -0.43%  declined 0.4%, while the Shanghai Composite Index CN:000001 +0.04%  rose 0.1%.

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สงสัยตลาดภารตะ ( อินเดีย ) เตรียมฉลองเทศกาลฯ 24 เมษายน. ดันราคาขึ้นแต่หัววัน

 

น่านจิครับ เปิกตลาด ยังไม่ทันได้กิน โรตีก็โกปี ก็สอยตั้ง 5 เหรียญ อิอิ ยาวๆไป พี่จีนอัดอีกสัก 8 เหรียญ อาหรับจับยัด 5 ยาวไปถึงบ่ายๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...