ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

สงกาสัยต้องไปจองต้นมะขามสนามหลวง ปูเสื่อรับนวดแผนปัจจุบัน โดยหมอนวดปริญญาตรี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อรุณสวัสดิ์ครับ คุณเด็กขายของ คุณกัปตัน เจีอี๋ คุณตี๋ และทุกๆท่าน :Hi

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

น้ำมัน-หุ้นสหรัฐฯดิ่งอีก กังวลปัญหาการเมืองในกรีซ

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤษภาคม 2555 05:29 น.

 

       เอเอฟพี - ราคาน้ำมันเมื่อวันจันทร์(14) ขยับลงแรง หลังดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับยูโร ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในกรีซ ขณะที่ปัจจัยนี้เองประกอบกับปัญหาในภาคธนาคารของสเปน ก็ฉุดให้วอลล์สตรีท ดิ่งลงอย่างหนักเช่นกัน

       

       สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนมิถุนายน ลดลง 1.35 ดอลลาร์ ปิดที่ 94.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากช่วงหนึ่งของการซื้อขายขยับลงไปถึง 93.63 ดอลลาร์ ต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 69 เซนต์ ปิดที่ 111.57 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

       

       ราคาน้ำมันตลาดลอนดอนวานนี้(14) ขยับลงต่ำสุดที่ 110.04 ดอลลาร์ ต่ำที่สุดในรอบ 4 เดือน ขณะที่ตลาดนิวยอร์ก ในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ขยับลงไปแล้วราว 10 ดอลลาร์ด้วยกัน

       

       ปัจจัยที่ฉุดราคาน้ำมันปิดในแดนลบก็คือการอ่อนค่าของสกุลเงินยูโร ที่ลงไปแตะ 1.280 ยูโรต่อดอลลาร์ ต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการเมืองของกรีซที่เจอทางตันมานับตั้งแต่ศึกเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ที่ปรากฎว่า2 พรรคใหญ่ของกรีซที่ชูนโยบายสนับสนุนมาตรการรัดเข็มขัดทางเศรษฐกิจสูญเสียเสียงข้างมากและไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้

       

       ทั้งนี้เมื่อวันจันทร์(14) ก็เป็นอีกครั้งที่พรรคการเมืองต่างๆล้มเหลวในความพยายามจัดตั้งรัฐบาลผสมที่สนับสนุนเงื่อนไขการกู้ยืมเงินอันเข้มงวดของอียู-ไอเอ็มเอฟ ส่อแววว่าประเทศแห่งนี้อาจต้องจัดการเลือกตั้งใหม่

       

       ปัญหาทางการเมืองที่ส่อเค้าไม่มีทางออกในกรีซนี้ ประกอบกับปัญหาในภาคธนาคารของสเปน ที่ประสบภาวะขาดสภาพคล่องอย่างหนักต่อเติมความกังวลเกี่ยวกับความเข้มแข็งของยูโรโซนและฉุดให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(14) ปิดลบอย่างแรง

       

       ขณะเดียวกันถ้อยของเจพี มอร์แกน เชส ที่ระบุเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วว่า ขาดทุนยับกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ ก็ฉุดให้หุ้นกลุ่มธนาคารสหรัฐฯ ก็ตกอยู่ใต้แรงกดดันเช่นกัน

       

       นอกจากนี้แล้วตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังเจอแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศที่เผยแพร่ออกมาในวันจันทร์(14) รวมถึงตัวเลขผลผลิตทางอุตสาหกรรมของยูโรโซนประจำเดือนเมษายน ที่ลดลงจากเดือนมีนาคม ร้อยละ 0.3 บ่งชี้ถึงความอ่อนแอทางเศรษฐกิจของเหล่าชาติสกุลเดียวนี้

       

       ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ ลดลง 125.25 จุด (0.98 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 12,695.35 จุด แนสแดค ลดลง 31.24 จุด (1.06 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,902.58 จุด ส่วน เอสแอนด์พี ลดลง 15.04 จุด (1.11 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,338.35 จุด

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

ปธน.เป็นคนกลางก็เอาไม่อยู่ เจรจาตั้งรัฐบาลกรีซล้มอีก

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤษภาคม 2555 03:44 น.

 

       บีบีซี/เอเจนซี - การเจรจาจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของกรีซที่มีประธานาธิบดีคาโรโลส ปาปูลิอาส เป็นคนกลางยุติลงโดยปราศจากข้อสรุปเมื่อวันจันทร์(14) หลังใช้เวลาพูดคุยกันแค่ 1 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามเหล่าผู้นำของพรรคการเมืองต่างๆได้นัดหมายหารือกันอีกครั้งในวันนี้(15)

       

       การเจรจาครั้งนี้มีขึ้นหลังจากความพยายามจัดตั้งรัฐบาล 3 ครั้งก่อนหน้านี้ล้มเหลว และหากพรรคการเมืองต่างๆยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงจัดตั้งรัฐบาลผสมภายในวันพฤหัสบดี(17) ก็จำเป็นต้องจัดเลือกตั้งใหม่ในเดือนหน้า

       

       พรรคไซรีซา พรรคการเมืองฝ่ายซ้ายที่มีคะแนนเสียงมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในรัฐสภาจากผลการเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม ปฏิเสธเข้าร่วมการเจรจาครั้งนี้ โดยยืนกรานว่าจะไม่เข้าร่วมรัฐบาลที่มีนโยบายสนับสนุนมาตรการตัดลบงบประมาณเพิ่มเติม โดยพรรคพรรคไซรีซา ไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไขเงินกู้ยืมของอียูและไอเอ็มเอฟ ซึ่งต้องการให้กรีซรัดเข็มขัดหนักหน่วงยิ่งขึ้น

       

       "หลายสิ่งหลายอย่างยุ่งยากอย่างมาก ผมไม่คาดหวังในแง่ดี" นายอีวานเจลอส เวนิเซลอส หัวหน้าพรรคปาซ็อก พรรคสังคมนิยมของกรีซ กล่าวหลังการหารือ

       

       เหล่าผู้นำจากพรรคนิว เดโมเครซี พรรคปาซ็อกและพรรคเดโมเครติก เลฟต์ ปาร์ตี เดินทางถึงทำเนียบประธานาธิบดี เวลาประมาณ 19.30 น.ตามเวลาท้องถิ่น(ตรงกับเมืองไทย 23.30 น.) เมื่อวันจันทร์(14) เพื่อร่วมหารือกัน อย่างไรก็ตามจากนั้นแค่เพียงชั่วโมงเดียว พวกเขาก็พากันออกมา โดยทางประธานาธิบดีปาปูลิอาส ขอให้ทุกพรรคพูดคุยกันอีกครั้งในวันนี้(15) ยกเว้นพรรคการเมืองฝ่ายขวาจัดที่ปฏิเสธเข้าร่วมด้วย

       

       รายงานข่าวระบุว่าระหว่างการหารือเมื่อวันจันทร์(14) ประธานาธิบดีกรีซ ขอให้พูดคุยกันถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งรัฐบาลนักวิชาการ เพื่อมาคลี่คลายวิกฤตเกี่ยวกับประเด็นเงินกู้ของอียูและไอเอ็มเอฟ ชึ่งเสี่ยงนำพาประเทศสู่การเลือกตั้งใหม่

       

       ทั้งนี้หากการเจรจาครั้งนี้ล้มเหลวอีก นั่นก็หมายความว่ากรีซจำเป็นต้องจัดเลือกตั้งใหม่ และผลสำรวจความคิดเห็นจากหลายสำนักบ่งชี้ว่าคราวนี้อาจได้รัฐบาลที่ปฏิเสธปฏิบัติตามเงื่อนไขกู้เงิน นั่นอาจทำให้กรีซต้องเข้าสู่ภาวะผิดนัดชำระหนี้และถูกขับออกจากยูโรโซน

       

       เหล่ารัฐมนตรีคลังยูโรโซนเตือนเมื่อวันจันทร์(14) ว่าเอเธนส์ ต้องดำเนินการตามเงื่อนไขการกู้ยืมอย่างเคร่งครัดหากต้องการเงินกู้งวดต่อไป "มันไม่เกี่ยวกับความมีเมตตา แต่มันเกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกันและความน่าเชื่อถือจากมุมมองทางเศรษฐกิจ" รัฐมนตรีคลังของเยอรมนีกล่าว

       

       ในศึกเลือกตั้งเมื่อช่วงต้น ประชาชนกรีซส่วนใหญ่ลงคะแนนสนับสนุนเหล่าพรรคการเมืองที่มีนโยบายต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด ไม่ว่าจะเป็นพรรคไซรีซา เดโมแครต เลฟส์ และเคเคอี(คอมมิวนิสต์) รวมถึงโกลเดน ดอว์น พรรคขวาจัด ขณะที่พรรคปาซ็อกและนิว เดโมเครชี ซึ่งสนับสนุนเงื่อนไขการกู้ยืมเงินและปกครองกรีซมายาวนานหลายทศวรรษ มีคะแนนเสียงลดลงอย่างฮวบฮาบจนมิอาจจัดตั้งรัฐบาลได้

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ที่มา สุทธิชัยหยุ่น

 

เดิมพันกรีซออกจากยูโรป่วนสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก

วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

 

เอเชียเปิดตลาดเช้านี้ (15 พ.ค.) ในขาลงโดยนิคเคอิลบ 0.89% คอสปี้ลบ 0.55% ออสซี่ลบ 0.45% ขณะที่รัฐมนตรีคลังยูโรโซนเริ่มประชุมที่บรัสเซลส์หารือสถานการณ์กรีซ-สเปน ถกเครียด หลังความกลัวจากแรงกดดันที่กรีซจะหลุดออกจากยูโรโซน และเศรษฐกิจโลกสู่ภ่วะถดถอย กลับมาเป็นปัจจัยลบป่วนตลาดหุ้น-การเงินทั่วโลก ฉุดดาวโจนส์ร่วง 125 จุด หุ้นยุโรปดิ่งมากกว่า 2% ด้านราคาทองร่วงลงต่อเนื่องอีก 20 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,563.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ด้านราคาน้ำมันร่วงลงหนักเช่นกันในช่วงต้นชั่วโมงเทรดถึง 1.80 ดอลลาร์ก่อนมาปิดลดลง 1.35 ดอลลาร์ที่ 94.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

 

ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดวานนี้ (14 พ.ค.) ร่วงลง 125.40 จุดหรือ 0.98% ที่ 12,695.20 ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ดิ่งลง 15.04 จุดหรือ 1.11% ปิดที่ 1,338.35 ขณะที่ดัชนีแนสแด็ก ร่วงอีก 31.24 จุดหรือ 1.06% ปิดที่ 2,902.58

 

ขณะที่ฟากฝั่งยุโรปเปิดด้วยแรงขายท่ามกลางข่าวร้ายกรีซอาจล้มเหลวในการเจรจาจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ท่ามกลางแรงกดดันให้กรีซออกจากกลุ่มยูโรโซนปะทุร้อนแรงมากขึ้น ฉุดหุ้นยุโรปร่วงลงเฉียด 3% ในช่วงต้นตลาด ก่อนที่ผ่อนคลายลงในช่วงท้าย โดย FT100 ลอนดอนปิดตลาด ร่วงลง 1.97% CAC40 ฝรั่งเศส ดิ่งหนักถึง 2.29% และ DAX เยอรมัน ร่วงลง 1.94%

 

หุ้นที่ตลาดสหรัฐร่วงลงเพราะถูกกดดันอย่างหนัก จากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในยูโรซน ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ และราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น โดยหุ้นกลุ่มการเงิน ร่วงลงกว่า 1% หลังจากเจพีมอร์แกน เชส ธนาคารรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐยอมรับว่า ธนาคารขาดทุนอย่างไม่คาดคิดจากการทำธุรกิจเทรดดิ้งเป็นวงเงินทั้งสิ้น 2 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการเก็งกำไรที่ผิดพลาดในตราสารอนุพันธ์

 

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศลดอันดับเครดิตระยะยาวของเจพีมอร์แกน เชส สู่ระดับ A+ จาก AA- โดยให้เหตุผลถึงความเสี่ยงด้านชื่อเสียง และความบกพร่องในการกำกับดูแลความเสี่ยง หลังจากที่ธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐ ออกมาเปิดเผยเรื่องการขาดทุนดังกล่าว

 

ส่วนสถานการณ์ในยุโรป ล่าสุดมีรายงานว่า คณะกรรมาธิการยุโรปคาดหวังว่า กรีซ จะยังคงเป็นสมาชิกยูโรโซนต่อไป แต่กรีซ ก็จำต้องดำเนินการตามพันธกรณีของยูโรโซน ขณะที่นักลงทุนวิตกกังวลว่า สถานการณ์การเมืองที่ผันผวนของกรีซ อาจจะส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการบังคับใช้มาตรการรัดเข็มขัด และจะทำให้สถานการณ์ในยูโรโซนย่ำแย่ลงอีก

 

ส่วนหุ้นซิตี้กรุ๊ปร่วงลง 1.7% หุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกา ร่วง 2% และหุ้นมอร์แกน สแตนลีย์ ร่วงลง 3.6%

 

การเมืองกรีซกดดันน้ำมันปิดร่วงหนัก

 

ราคาน้ำมันดิบตลาดสหรัฐปิดร่วง 1.35 ดอลลาร์ ขณะดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบยูโร เพราะปัญหาการเมืองกรีซ

 

โดยราคาน้ำมันดิบไลท์สวีท ตลาดไนเม็กซ์ ส่งมอบเดือนมิ.ย. ปิดที่ 94.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง 1.35 ดอลลาร์ จากราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมิ.ย. ร่วงลง 69 เซนต์ ปิดที่ราคา 111.57 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากก่อนหน้านี้ ดิ่งลงไปแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 4 เดือนที่ 110.04 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีท เดือนมิ.ย. ปิดตลาดร่วงลง เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยุโรป หลังจากกรีซ ยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ประกอบกับข่าวที่ว่า เจ้าหน้าที่หลายคนของสหภาพยุโรป (อียู) กำลังพิจารณาเรื่องความเป็นไปได้ที่กรีซ จะต้องออกจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน

 

ทำเนียบประธานาธิบดีกรีซ เปิดเผยว่า การเจรจาระหว่างหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆในเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลผสม ซึ่งประธานาธิบดีคาโรลอส ปาปูลิอาส เป็นประธานในการประชุมนั้น จะดำเนินต่อไป หลังจากการเจรจาเมื่อวันอาทิตย์ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแล้ว ปธน.ปาปูลิอาสจะจัดการประชุมกับผู้นำแต่ละพรรคจากพรรคการเมืองทั้ง 7 พรรคที่จะเข้าร่วมในสมัชชาชุดใหม่

 

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีท ตลาดสหรัฐ ยังได้รับแรงกดดันหลังจากนายอาลี อัล-ไนมี รมว.พลังงานซาอุดิอาระเบีย กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบเบรนท์มีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจากอุปทานมีอยู่มากกว่าอุปสงค์

 

ขณะที่ นักวิเคราะห์จากแบงก์ ออฟ อเมริกา คาดการณ์ว่า สัญญาน้ำมันดิบไลท์สวีท จะร่วงลงมาอยู่ที่ระดับ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนนักวิเคราะห์จากฟิวเจอร์เธค คาดว่า สัญญาน้ำมันดิบไลท์สวีท อาจจะร่วงลงมาแตะระดับ 88.55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ทองสหรัฐทรุด20ดอลล์

 

ราคาทองฟิวเจอร์ทรุด 20.70 ดอลลาร์เหตุนักลงทุนวิตกปัญหาการเมืองกรีซ และดอลลาร์แข็งค่า

 

ราคาสัญญาทองคำร่วงลง เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาการเมืองกรีซที่ยังคงวุ่นวายและราคาทองคำยังได้รับแรงดดันจากเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น เนื่องจากนักลงทุนแห่ซื้อสกุลเงินดอลลาร์ในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย

 

ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 20.70 ดอลลาร์ แตะที่ 1,563.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยก่อนหน้านั้น สัญญาทองคำได้ร่วงลงไปถึง 22.50 ดอลลาร์ หรือ 1.4% แตะ 1,561.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

นักวิเคราะห์ ให้ความเห็นว่า เงินดอลลาร์ที่แข็งค่า เพิ่มแรงกดดันให้กับทองคำ เนื่องจากทำให้ทองคำ มีราคาแพงขึ้นสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่นๆ ขณะที่ระยะหลังมานี้ ทองคำได้สูญเสียตำแหน่งแหล่งลงทุนที่ปลอดภัยไปให้กับดอลลาร์สหรัฐ

 

เงินยูโรร่วงลง 0.57% แตะ 1.2841 ดอลลาร์สหรัฐ ท่ามกลางความหวั่นเกรงว่ากรีซ อาจถูกขับออกจากกลุ่มยูโร หากไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมและดำเนินการมาตรการรัดเข็มขัดต่อไปตามที่ตกลงไว้กับสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกยูโรโซนได้

 

ขณะที่ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งใช้วัดความเคลื่อนไหวของเงินดอลลาร์เทียบกับอีก 6 สกุลเงินหลัก ปรับตัวขึ้น 0.42% แตะระดับ 80.601

 

เงินยูโรอ่อนค่าสุดรอบกว่า3เดือน

 

เงินยูโรร่วงต่ำสุดในรอบกว่า 3 เดือน วิตกกรีซถูกบีบออกจากกลุ่มยูโรโซน

 

สกุลเงินยูโร อ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 เดือน เมื่อเทียบกับดอลลาร์ เนื่องจากความกังวลที่ว่า ภาวะสุญญากาศทางการเมืองอาจส่งผลให้เจ้าหน้าที่ของยุโรป บีบให้กรีซออกจากการเป็นสมาชิกภาพของยูโรโซน

 

โดยเมื่อเวลา 07.23 น.ตามเวลานิวยอร์คเมื่อคืนนี้ (14 พ.ค.) สกุลเงินยูโรร่วงลง 0.4% แตะที่ 1.2870 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 23 ม.ค.

 

สกุลเงินยูโร ร่วงลงติดต่อกัน 2 วันทำการ หลังจากทำเนียบประธานาธิบดีกรีซ เปิดเผยว่า การเจรจาระหว่างหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆในเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลผสม ซึ่งประธานาธิบดีคาโรลอส ปาปูลิอาส เป็นประธานในการประชุมนั้น จะดำเนินต่อไป หลังจากหลังจากผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าไม่มีพรรคใดครองเสียงข้างมากในรัฐสภา

 

ขณะเดียวกันมีการคาดการณ์ว่า กรีซ อาจจะต้องจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ เมื่อนายโฟติส คูเวลิส ผู้นำพรรคประชาธิปไตยซ้าย ระบุว่า จะไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคที่สนับสนุนมาตรการรัดเข็มขัดและการรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ไม่นาน นายอเล็กซิส ซิปราส ผู้นำพรรคซีริซา ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายซ้ายของกรีซ ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการหารือจัดตั้งรัฐบาลผสมที่จะมีขึ้นในวันนี้ ตามเวลายุโรปตามคำเชิญของประธานาธิบดีคาโรลอส ปาปูลิอาส

 

ความยืดเยื้อในการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่ากรีซ อาจจะเผชิญกับภาวะสุญญากาศทางการเมือง และอาจจะส่งผลให้กรีซต้องถูกกดดันให้ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มยูโรโซน

 

นอกจากนี้ สกุลเงินยูโร ยังได้รับแรงกดดันหลังจากสำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป(ยูโรสแตท) เปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนในเดือนมี.ค.ปรับลดลง 0.3% จากเดือนก.พ. และร่วงลง 2.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่ซบเซาของสินค้าหลากหลายประเภท เนื่องจากยูโรโซน เผชิญกับวิกฤตหนี้ที่ยืดเยื้อและอัตราว่างงานที่อยู่ในระดับสูง

 

คลังยูโรโซนถกสถานการณ์กรีซ-สเปน

 

รัฐมนตรีคลัง กลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร ประชุมร่วมกันที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม คาดว่าประเด็นหลักที่จะหารือกัน คือการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซ และความเป็นไปได้ที่กรีซจะถูกขับออกจากยูโรโซน

 

การประชุมครั้งนี้ มีขึ้นในขณะที่บรรดาหัวหน้าพรรคการเมืองกรีซ ยังคงพยายามเจรจาหาทางออก เรื่องการจัดตั้งรัฐบาลผสมโดยมีประธานาธิบดี คาโรลอส ปาปูลิอาส เป็นตัวกลาง แต่มีแนวโน้มอย่างมาก ที่การเจรจาจัดตั้งรัฐบาลผสม จะประสบความล้มเหลว ซึ่งจะนำไปสู่การจัดการเลือกตั้งใหม่ในเดือนหน้า หลังจากที่พรรคซีริซา พรรคที่ได้คะแนนมาเป็นอันดับ 2 ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมาด้วยการชูนโยบายคัดค้านมาตรการรัดเข็มขัด ปฏิเสธการจัดตั้งรัฐบาลผสม

 

นอกจากประเด็นกรีซแล้ว คาดว่าที่ประชุมรมว.คลังยูโรโซน จะหารือกัน เกี่ยวกับสถานการณ์ในสเปนด้วย หลังจากที่รัฐบาลสเปน เดินหน้าปฏิรูประบบธนาคารในประเทศ โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลสเปน เพิ่งทำข้อตกลงแปรรูป บังเกีย ธนาคารรายใหญ่อันดับ 4 ของประเทศ ด้วยการเข้าถือหุ้น 45% ของธนาคาร

 

นอกจากนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา รัฐบาลสเปน เพิ่งประกาศมาตรการปฏิรูปขนานใหญ่ โดยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศ เพิ่มสัดส่วนกันสำรองเงินกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์ขึ้นอีก 3 หมื่นล้านยูโร (3.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) หรือราว 30% จาก 7% เพื่อป้องกันการขาดทุน หลังจากที่ธนาคารสเปนจำนวนมาก ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการทรุดตัวของตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2551

 

สเปนขายพันธบัตรได้ 2.9 พันล้านยูโร

 

ผลประมูลชี้สเปนระดมทุน 2.9 พันล้านยูโร ขณะบอนด์ยิลด์พุ่งเมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว

 

สเปนสามารถระดมทุนจำนวน 2.9 พันล้านยูโร (3.8 พันล้านดอลลาร์) จากการจำหน่ายตั๋วเงินคลังประเภทอายุ 12 เดือน และ 18 เดือน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของกรอบที่ตั้งเป้าหมายไว้ และนับเป็นบททดสอบครั้งแรกของรัฐบาล ต่อความต้องการตั๋วเงินคลังของนักลงทุนหลังการปฏิรูปภาคการคลัง

 

โดยสเปนขายตั๋วเงินคลังประเภทอายุ 12 เดือนได้ 2.2 พันล้านยูโร โดยมีอัตราผลตอบแทน 2.985% เพิ่มขึ้นจากผลตอบแทนเฉลี่ย 2.623% ในเดือนที่แล้ว และสัดส่วนความต้องการซื้อต่อปริมาณขายอยู่ที่ 1.8 เท่า เทียบกับ 2.9 เท่าในเดือนเม.ย.

 

ขณะเดียวกัน สเปน ได้ขายตั๋วเงินคลังประเภทอายุ 18 เดือนได้ 711 ล้านยูโร ที่อัตราผลตอบแทน 3.302% เทียบกับ 3.110% ในเดือนที่แล้ว และสัดส่วนความต้องการซื้อต่อปริมาณขายอยู่ที่ 3.2 เท่า ซึ่งแสดงว่าความต้องการลดลงจากการประมูลครั้งก่อนในเดือนเม.ย. ซึ่งอยู่ที่ 3.8 เท่า

 

ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา รัฐบาลสเปน เปิดเผยว่า ภาคธนาคารต้องกันสำรอง 3.0 หมื่นล้านยูโร นอกเหนือไปจากการกันสำรอง 5.4 หมื่นล้านยูโรตามคำสั่งในเดือนก.พ. เพื่อป้องกันหนี้เสียในภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยรัฐบาลพยายามที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตลาดว่า ธนาคารของสเปน สามารถรอดพ้นจากภาวะตกต่ำได้

 

อิตาลีขายพันธบัตรได้ตามเป้า 5.25 พันล้านยูโร

 

อิตาลีประมูลขายพันธบัตรได้ตามเป้าสูงสุด 5.25 พันล้านยูโร

 

ทั้งนี้อิตาลีสามารถระดมทุนได้ตามเป้าหมายสูงสุดที่วางไว้ที่ 5.25 พันล้านยูโร ในการประมูลขายพันธบัตรรัฐบาล 4 ชุดเมื่อวาน รวมถึงพันธบัตรที่มีอายุการไถ่ถอนมากกว่า 10 ปี ในขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศเริ่มคลี่คลายลง

 

โดยที่รัฐบาลอิตาลี ขายพันธบัตรอายุ 3 ปีที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนมี.ค.2558 ได้ 3.5 พันล้านยูโร ที่อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 3.91% ขยับขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 3.89% ในการประมูลเมื่อวันที่ 12 เม.ย. ขณะที่ความต้องการซื้อพันธบัตรสูงกว่ามูลค่าที่นำออกประมูลอยู่ 1.52 เท่า เพิ่มขึ้นจาก 1.43 เท่าในการประมูลครั้งก่อน

 

นอกจากนี้ อิตาลี ยังประมูลขายพันธบัตรอายุ 8 ปี ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2563 ได้ 542 ล้านยูโร ที่อัตราผลตอบแทน 5.33% เพิ่มขึ้นจาก 3.99% ในการประมูลก่อนหน้านี้ ความต้องการซื้อสูงกว่ามูลค่าที่นำออกประมูลอยู่ 2.08 เท่า เทียบกับ 1.44 เท่าในครั้งก่อน

 

ขณะเดียวกัน อิตาลี ยังขายพันธบัตรอายุ 10 ปีที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2565 ได้ 651 ล้านยูโร ที่อัตราผลตอบแทน 5.66% ลดลงจากระดับ 6.08% ความต้องการซื้อสูงกว่าจำนวนที่นำออกประมูลอยู่ 2.27 เท่า จาก 1.42 เท่าก่อนหน้านี้ และขายพันธบัตรอายุ 13 ปีที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2568 ได้ 557 ล้านยูโร ที่อัตราผลตอบแทน 5.9% จากระดับ 6.34% ความต้องการซื้อสูงกว่ามูลค่าที่นำออกประมูลอยู่ 1.93 เท่า เพิ่มขึ้นจาก 1.63 เท่า

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สงกาสัยต้องไปจองต้นมะขามสนามหลวง ปูเสื่อรับนวดแผนปัจจุบัน โดยหมอนวดปริญญาตรี

เห็นราคาทอง + เหตุการณ์ต่างๆ ตอนนี้แล้ว อยากบอกว่า เด็กขายของ จะมือไม่ซน จะอยู่นิ่งๆ ขอมองราคา Spot อย่างเดียว ไอ้ครั้งจะขายออกก่อน แล้วไปรอซื้อกลับ ก็ไม่แน่ใจว่าจะลงไปอีกเยอะไหม เพราะลงมามากแล้ว ส่วนไอ้ครั้งจะซื้อเข้า แล้วไปรอขายราคาสูง ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะขึ้นได้ตลอดรอดฝั่ง คือ จบซื้อขายได้ในวันเดียวหรือไม่ คงต้องรอจนกว่าจะมีความสงบเรียบร้อยดี ในด้านยูโรโซน หรือ มีสิ่งที่เป็นเรื่องดีๆ เกิดขึ้นในยูโรโซน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเตรียมเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งในวันนี้ ก่อนเดินทางไปเยอรมนีในการปฏิบัติภาระกิจครั้งแรกในฐานะผู้นำประเทศ

 

นายฟรองซัวส์ อ็อลลองด์ จะเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของฝรั่งเศส ที่พระราชวังเอลิสเซ ในวันนี้ในพิธีการที่จะจัดขึ้นอย่างรวบรัดและเรียบง่ายตามคำเรียกร้องของผู้นำคนใหม่ของฝรั่งเศส โดยหลังพิธีสาบานตนเสร็จสิ้นลง ประธานาธิบดีอ็อลลองด์จะเดินทางเยือนเยอรมนี ในการปฏิบัติภาระกิจครั้งแรกในฐานะผู้นำประเทศฝรั่งเศส เพื่อเข้าพบกับนายกรัฐมนตรีอังเกล่า แมร์เคิล แห่งเยอรมนี และหารือกันเกี่ยวกับมาตรการรัดเข็มขัดในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจของยูโรโซน ซึ่งประธานาธิบดีอ็อลลองด์ต้องการเจรจารอบใหม่กับสหภาพยุโรป เนื่องจากชาวฝรั่งเศสไม่พอใจมาตรการรัดเข็มขัดของอียู

 

ข้อมูลข่าวและที่มา

 

ผู้สื่อข่าว : นิรันดร์ โรจน์ธนานันต์ /สวท.   Rewriter : นิรันดร์ โรจน์ธนานันต์ /สวท.

สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th

 วันที่ข่าว : 15 พฤษภาคม 2555

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (14 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองอาจจะส่งผลให้กรีซถูกบีบออกจากกลุ่มยูโรโซน และจะทำให้วิกฤตหนี้ยุโรปทวีความรุนแรงมากขึ้น

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 125.25 จุด หรือ 0.98% ปิดที่ 12,695.35 จุด ดัชนี S&P 500 ดิ่งลง 15.04 จุด หรือ 1.11% ปิดที่ 1,338.35 จุด และดัชนี Nasdaq ร่วงลง 31.24 จุด หรือ 1.06% ปิดที่ 2,902.58 จุด

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.ปีที่แล้ว ในการซื้อขายเมื่อคืนนี้ (14 พ.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และข่าวที่ว่ากรีซยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมได้

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 23 ดอลลาร์ หรือ 1.45% ปิดที่ 1,561 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1561.0 - 23.0 ดอลลาร์

 

-- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงเมื่อคืนนี้ (14 พ.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางการเมืองของกรีซ นอกจากนี้ ต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นของสเปนและอิตาลียังส่งผลให้ตลาดวิตกกังวลว่าวิกฤตหนี้ยุโรปอาจรุนแรงมากขึ้น

 

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ที่ตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 1.35 ดอลลาร์ หรือ 1.40% ปิดที่ 94.78 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 95.83 - 93.65 ดอลลาร์

 

-- สกุลเงินยูโรร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 4 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14 พ.ค.) อันเนื่องมาจากความกังวลที่ว่า กรีซอาจจะถูกบีบให้ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศยูโรโซน นอกจากนี้ ข้อมูลภาคการผลิตที่อ่อนแอของยูโรโซนยังทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในภูมิภาคแห่งนี้

 

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.62% แตะที่ 1.2835 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.2915 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ขยับขึ้น 0.16% แตะที่ 1.6096 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6070 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐขยับลง 0.06% แตะที่ 79.870 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 79.920 ดอลลาร์สหรัฐ และพุ่งขึ้น 0.68% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 0.9356 ฟรังค์ จากระดับ 0.9293 ฟรังค์

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนร่วงลงเมื่อคืนนี้ (14 พ.ค.) หลังจากกรีซยังไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องการเจรจาจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลว่ากรีซอาจจะหลุดพ้นจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน และจะสร้างความผันผวนให้กับยูโรโซนมากขึ้น

 

ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 5465.52 จะ ลบ 110.00 จุด

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควส์ (วันที่ 15 พฤษภาคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รอง นายกฯกรีซเตือนกรีซจะขาดสภาพคล่องใน 6 สัปดาห์ (15/05/2555)

นายธีโอดอรอส พานกาลอส รองนายกรัฐมนตรีกรีซเตือนว่า ถ้ากรีซไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงช่วยเหลือของสหภาพยุโรป (อียู) กรีซจะขาดสภาพคล่องใน 6 สัปดาห์

 

หลัง จากที่เยอรมนีเปิดเผยว่า จะยุติการจ่ายเงินให้กรีซ หากกรีซผิดคำสัญญาเกี่ยวกับการลดการใช้จ่าย นายพานกาลอสกล่าวว่า เขาเชื่อว่า นั่นเป็นคำขู่จากเยอรมนี เยอรมนียังต้องการให้กรีซอยู่ในยูโรโซน แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นหากเยอรมนีไม่ให้เงินกรีซเพื่อชำระหนี้คือ กรีซจะล้มละลายอย่างไม่สามารถควบคุมได้ รัฐบาลจะไม่มีเงินสำหรับการจ่ายเงินเดือนและบำนาญ โดยกรีซจะมีเวลาจนถึงเดือนมิ.ย.เท่านั้นก่อนที่จะเกิดภาวะดังกล่าว

 

นายพานกาลอสเชื่อว่า เยอรมนีจะไม่ปล่อยให้กรีซต้องออกจากยูโรโซน เพียงแต่เขาไม่แน่ใจว่า เยอรมนีจะจ่ายเงินสนับสนุนกรีซมากเพียงไร

 

นาย พานกาลอสเปรียบเทียบนายอเล็กซิส ซิปราส ผู้นำพรรค Syriza ของกรีซกับนายฮูโก ชาเวซ ประธานาธิบดีเวเนซูเอลา ยกเว้นในข้อที่ว่า ปธน.ชาเวซมีน้ำมัน และกองทัพ ซึ่งเขาไม่แน่ใจว่า เยอรมนีจะยอมจ่ายเงินให้กับผู้ที่ต้องการเป็นเหมือนปธน.ชาเวซ

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควทส์ / วันที่ 15 พฤษภาคม 2555

 

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือธนาคารของอิตาลี 26 แห่ง โดยระบุถึงการดำเนินงานที่ท้าทายมากขึ้นของธนาคารดังกล่าวเนื่องจากวิกฤตหนี้ยุโรปยังคงถ่วงเศรษฐกิจของอิตาลี ขณะที่ระบุว่าธนาคารทุกแห่งยังมีแนวโน้มในเชิงลบ โดยมูดี้ส์มีการปรับลดดังนี้

 

จำนวนธนาคาร  จำนวนขั้นที่ถูกปรับลดเครดิต

10 แห่ง                    1 ขั้น

 

8 แห่ง                      2 ขั้น

 

6 แห่ง                      3 ขั้น

 

2 แห่ง                      4 ขั้น

 

มูดี้ส์ระบุว่าธนาคารในอิตาลีเผชิญความท้าทายจากศักยภาพในการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาล รวมทั้งภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่เลวร้ายมากขึ้นจากมาตรการรัดเข็ดขัดล่าสุด ขณะที่มีความเสี่ยงมากขึ้นด้านคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคาร ประกอบกำผลกำไรที่อ่อนแอ ท่ามกลางการเข้าถึงตลาดระดมทุนที่เป็นไปอย่างจำกัด

 

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา มูดี้ส์ได้เตือนว่าอาจปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินยุโรปจำนวนมาก จากปัญหาทางการคลังที่ยืดเยื้อในประเทศยุโรป โดยการปรับอันดับจะสะท้อนถึงความสามารถที่ลดลงของประเทศต่างๆในการให้ความช่วยเหลือแก่ธนาคารที่อาจจะประสบปัญหา

 

เมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมา มูดี้สได้ปรับลดอันดับเครดิตของอิตาลีลงสู่ระดับ A3 จากเดิมที่ A2 โดยมีแนวโน้มเชิงลบ พร้อมระบุว่าอิตาลีเผชิญกับความเสี่ยงทางการเงินและเศรษฐกิจมหภาคในระดับที่สูงขึ้น

 

ที่มา : สำนัึกข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 15 พฤษภาคม 2555)

 

 

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาด ปรับตัวขึ้นเช้านี้ หลังจากที่จีนได้ปรับลดปริมาณสำรองเงินสดของธนาคารเพื่อกระตุ้นการขยายตัว ของเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวบดบังการคาดการณ์ที่ว่า กรีซอาจจะถอนตัวจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มยูโรโซน

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific Index (MXAP) บวก 0.2% แตะ 118.78 เมื่อเวลา 10.05 น.ตามเวลาโตเกียว

 

ดัชนี นิกเกอิตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 8,986.22 จุด เพิ่มขึ้น 32.91 จุด ขณะที่ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 20,037.52 จุด เพิ่มขึ้น 72.89 จุด ส่วนดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,408.26 จุด เพิ่มขึ้น 13.28 จุด ดัชนีเวทเต็ดตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 7,389.89 จุด ลดลง 11.48 จุด ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นโซลเปิดวันนี้ที่ 1,917.26 จุด เพิ่มขึ้น 0.13 จุด ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 2,892.74 จุด เพิ่มขึ้น 9.34 จุด ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 4,287.50 จุด เพิ่มขึ้น 2.43 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,582.06 จุด ลดลง 2.26 จุด

 

หุ้นฟานุค คอร์ป พุ่ง 2.6% ส่วนหุ้นนิปปอน ชีท กลาส อ่อนตัว 1% ในตลาดหุ้นโตเกียว ขณะที่หุ้นเซลไทรออน พุ่ง 13% หลังจากที่บริษัทประกาศแผนการออกหุ้นโบนัสให้กับผู้ถือหุ้น

 

ธนาคารกลางจีนประกาศว่าจะลดสัดส่วนการกันสำรอง ของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 0.5% ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค.นี้เป็นต้นไป

 

การปรับลดสัดส่วนการกัน สำรองแบงก์พาณิชย์ครั้งล่าสุดนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ จะส่งผลให้สัดส่วน RRR ของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ของจีนลดลงมาอยู่ที่ระดับ 20% ขณะที่สถาบันการเงินขนาดกลางถึงขนาดเล็กจะอยู่ที่ระดับ 16.5%

 

นักบริหารเงินธนาคารซีไอ เอ็มบีไทย กล่าวว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 31.19/21 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับเย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 31.18/21 บาท/ดอลลาร์ ช่วงเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมาก็ยังคงมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับยุโรปเหมือนเดิม ตลาดยุโรปก็ยังดูไม่ดี และมีเรื่องที่เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่สุดของสหรัฐเผยเมื่อวันพฤหัสบดีว่า ธนาคารขาดทุนเป็นจำนวนมากจากการซื้อขายหลักทรัพย์

 

สำหรับค่าเงินสกุลต่างประเทศที่สำคัญเช้านี้ เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2890/2892 ดอลลาร์/ยูโร ส่วนเงินเยนอยู่ที่ระดับ 80.09/10 เยน/ดอลลาร์

 

ด้านทิศทางค่าเงินบาทวันนี้ มองว่าน่าจะยังอ่อนค่าต่อ โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทไว้ระหว่าง 31.15-31.25 บาท/ดอลลาร์

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควทส์ / วันที่ 15 พฤษภาคม 2555

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

]รัฐมนตรีคลังกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรประชุมร่วมกันที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียมในวันนี้ ซึ่งคาดว่าประเด็นหลักที่ที่ประชุมจะหารือคือการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซ และความเป็นไปได้ที่กรีซจะถูกขับออกจากยูโรโซน

 

การประชุมดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่บรรดาหัวหน้าพรรคการเมืองกรีซยังคงพยายามเจรจาหาทางออกเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลผสมโดยมีประธานาธิบดี คาโรลอส ปาปูลิอาส เป็นตัวกลาง

 

อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มอย่างมากที่การเจรจาจัดตั้งรัฐบาลผสมจะประสบความล้มเหลว ซึ่งจะนำไปสู่การจัดการเลือกตั้งใหม่ในเดือนหน้า หลังจากที่พรรค Syriza ซึ่งเป็นพรรคที่ได้คะแนนมาเป็นอันดับ 2 ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมาด้วยการชูนโยบายคัดค้านมาตรการรัดเข็มขัด ได้ปฏิเสธการจัดตั้งรัฐบาลผสม

 

นอกจากประเด็นกรีซแล้ว คาดว่าที่ประชุมรมว.คลังยูโรโซนจะหารือกันเกี่ยวกับสถานการณ์ในสเปนด้วย หลังจากที่รัฐบาลสเปนได้เดินหน้าปฏิรูประบบธนาคารในประเทศ โดยในสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลสเปนเพิ่งทำข้อตกลงแปรรูป บังเกีย ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่อันดับ 4 ของสเปน ด้วยการเข้าถือหุ้น 45% ของธนาคาร นอกจากนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา รัฐบาลสเปนเพิ่งประกาศมาตรการปฏิรูปขนานใหญ่ โดยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศเพิ่มสัดส่วนกันสำรองเงินกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์ขึ้นอีก 3 หมื่นล้านยูโร (3.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) หรือราว 30% จาก 7% เพื่อป้องกันการขาดทุน หลังจากที่ธนาคารสเปนจำนวนมากได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการทรุดตัวของตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2551

 

ที่้มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 14 พฤษภาคม 2555)

 

 

ประชุมสุดยอดผู้นำฝรั่งเศส-เยอรมนีพรุ่งนี้ชี้ชะตายูโรโซน ขณะกรีซยังไร้รบ. (15/05/2555)

การประชุมสุดยอดระหว่างนายฟรองซัวส์ ออลลองด์ ประธานาธิบดีคนใหม่ของฝรั่งเศสผู้สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ กับนางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ผู้สนับสนุนแผนรัดเข็มขัด ในวันพรุ่งนี้ที่กรุงเบอร์ลิน จะเป็นสิ่งที่ชี้ชะตายูโรโซน

 

ด้านรมว.คลังยูโรโซนมีกำหนดที่จะประชุมกันที่กรุงบรัสเซลส์ในวันนี้ตามเวลายุโรป แต่คาดว่าจะไม่มีการบรรลุผลใดๆจนกว่าปธน.ออลลองด์และนางแมร์เคล จะสามารถตกลงกันได้

 

ส่วนในกรีซนั้น ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนหลังจากที่ประธานาธิบดีคาโรลอส  ปาปูลิอาสของกรีซ ประชุมกับผู้นำพรรคการเมือง 3 พรรค โดยประธานาธิบดีจะยังคงประชุมกับผู้นำพรรคเล็กต่อไป แต่ถ้าไม่มีการบรรลุข้อตกลงภายในวันที่ 17 พ.ค.ซึ่งเป็นกำหนดเปิดสภา ก็จะจำเป็นต้องมีการเลือกตั้งใหม่

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 15 พฤษภาคม 2555)

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

       สรุปสภาวะตลาดทองคำแท่ง และโกลด์ฟิวเจอร์ส วันที่  14 พฤษภาคม 2555  ราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบที่ระดับ 1,585.06 – 1,566.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่โกลด์ฟิวเจอร์ส GFM12 อยู่ที่ 23,410 บาท โดยราคาปรับตัวลดลง 180 บาท จากวันก่อนหน้าที่ระดับ 23,590 บาท ขณะที่ซิวเวอร์ฟิวเจอร์ SVM12 อยู่ที่ 895 บาท โดยราคาปรับตัวลดลง 12 บาท จากวันก่อนหน้าที่ระดับ 907 บาท

(หมายเหตุ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้น ณ เวลา 15.31 น.ของวันที่ 14/05/12)

 

       แนวโน้มวันที่ 15 พฤษภาคม 2555     ความวิตกกังวลว่า กรีซจะไม่สามารถทำตามข้อตกลงในเรื่องการรัดเข็มขัดโดยควบคุมงบประมาณเพื่อแลกกับการรับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมที่เคยสัญญาไว้ อาจเป็นชนวนในการที่กรีซอาจจะต้องถูกขับออกจากการเป็นสมาชิกยูโรโซนในที่สุด  ขณะที่ความไม่แน่นอนทางการเมืองของกรีซยังคงเป็นปัญหาหลัก และส่อเค้าว่าจะยืดเยื้อ หลังจากหัวหน้าพรรคสังคมนิยม (PASOK) ซึ่งได้คะแนนมาเป็นอันดับ 3 เปิดเผยว่าไม่สามารถเจรจากับหัวหน้าพรรคการเมืองอื่นๆเพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสมได้ ซึ่งก่อนหน้านี้พรรคที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเป็นลำดับที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ก็ไม่สามารถเจรจาจัดตั้งรัฐบาลผสมได้เช่นกัน

 

       ซึ่งนั่นหมายความว่า กรีซอาจจะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง   ส่งผลให้ราคาทองคำที่มีความสัมพันธ์กัน อิงกับเงินสกุลยูโรเป็นหลักในขณะนี้ ได้อ่อนตัวลง ประกอบผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของฝรั่งเศสได้ปรากฎว่า นายฟรองซัวส์ ออลลองด์ได้รับชัยชนะ ซึ่งประธานธิบดีคนใหม่นี้มีมุมมองต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งเป็นมาตรการหลักในการแก้ปัญหาหนี้ของประเทศในยูโรป วายแอลจีประเมินว่าประเด็นในยุโรปจะยังคงเป็นประเด็นหลักที่ชี้นำราคาทองคำ โดยเฉพาะการประชุมของบรรดารัฐมนตรีกระทรวงการคลังของประเทศสมาชิกของยูโรป เบื้องต้น วายแอลจีคาดการณ์ว่าราคาทองคำจะยังคงถูกกดดันจากความล้มเหลวในการจัดตั้งรัฐบาลของกรีซ ส่งผลให้การลงทุนในขณะนี้ต้องมีความระมัดระวังในการลงทุนเพิ่มมากขึ้น

 

       กลยุทธ์การลงทุน ทางวายแอลจีมีมุมมองว่า หากราคาทองคำดีดตัวขึ้นไม่ผ่านแนวต้านที่ 1,590 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือไม่สามารถยืนเหนือแนวต้านดังกล่าวได้ราคาอาจอ่อนตัวลงมาอีกครั้ง แต่หากสามารถยืนเหนือแนวต้านได้ราคาก็พร้อมขึ้นไปทดสอบแนวต้านถัดไปที่ระดับ 1,602 หรือ 1,610 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตามหากราคาหลุดแนวรับสำคัญที่บริเวณ 1,550 ดอลลาร์ต่อออนซ์แสดงว่าราคาทองคำอาจจะมีการปรับฐานต่อ โดยราคาอาจปรับตัวลดลงทดสอบแนวรับถัดไปบริเวณ 1,542 หรือ 1,530 ดอลลาร์ต่อออนซ์

  

ทองคำแท่ง (96.50%)

แนวรับ      1,550 (22,980บาท)       1,542 (22,860บาท)      1,530 (22,680บาท)    

แนวต้าน    1,590 (23,570บาท)      1,602 (23,750บาท)       1,610 (23,870บาท) 

 

GOLD FUTURES (GFM12)

แนวรับ      1,550 (23,160บาท)       1,542 (23,040บาท)      1,530 (22,860บาท)    

แนวต้าน    1,590 (23,750บาท)      1,602 (23,930บาท)       1,610 (24,050บาท) 

 

SILVER FUTURES (SVM12)

แนวรับ       28.00 (882บาท)         27.55 (868บาท)         26.92 (848บาท)    

แนวต้าน     29.25 (921บาท)        29.70 (935บาท)         30.10 (947บาท)

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 15 พฤษภาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

GBXคาดทองลงแตะ1,520ดอลล์/ออนซ์-แนะเปิดสถานะShortโกลด์ ฟิวเจอร์ส ลดเสี่ยง (15/05/2555)

       บมจ.โกลเบล็ก โฮลดิ้งฯ ประเมินราคาทองอาจลงครั้งละ 20 ดอลลาร์ถึง 3 ครั้ง เชื่อต่ำสุด 1,520 ดอลล์/ออนซ์ ชี้คนเตรียมเข้าเล่นตามปัจจัยประชุม FOMC และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชี้ลงทุนแค่ 1 ใน 3 ของพอร์ตลงทุน ส่วนคนถือหากราคาเด้งถึง 1,600 ดอลลาร์ให้ขายออกก่อน แนะเปิดสถานะ Short โกลด์ ฟิวเอจร์สลดเสี่ยง  

 

       นายทรงวุฒิ อภิรักษ์ขิต กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GBX เปิดเผยถึงแนวโน้มของราคาทองคำที่ในขณะนี้ว่า ราคาทองคำในปัจจุบันเริ่มเข้าสู่สภาวะขาลง ซึ่งเป็นไปตามกลไกของดีมานด์ และซัพพลาย และที่ผ่านมาราคาที่เกิดขึ้นเป็นราคาเก็งกำไรมากกว่าการลงทุน ประกอบกับการซื้อขายยังปรับเปลี่ยนตามความกังวลและความต้องการของนักลงทุนได้อย่างรวดเร็ว นอกเหนือจากปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา หรือทางยูโรโซนที่ส่งผลต่อราคาทองคำโดยตรง

 

      ดังนั้น นักลงทุนที่มีทองคำอยู่ในพอร์ตลงทุน หากราคาทองคำ(spot) มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 1,600 ดอลลาร์/ออนซ์ แนะนำให้นักลงทุนขายออก เนื่องจากมีโอกาสที่ราคาจะปรับลดลง แต่ถ้าต้องการถือเพื่อไม่ต้องการขายขาดทุน ทางโกลเบล็กแนะนำควรป้องกันความเสี่ยงโดยการเปิดสถานะ Short ในโกลด์ ฟิวเจอร์สที่ 1,600 ดอลลาร์/ออนซ์ เพื่อไม่ให้เสียโอกาส ในภาวะ sideway down

 

       สำหรับผู้ที่ต้องการใช้จังหวะการปรับตัวลดลงของราคาเข้าซื้อเพื่อลงทุน หรือเก็งกำไร  ควรจะแบ่งสัดส่วนการลงทุนเพียง 1 ใน 3 ของพอร์ต โดยคาดการณ์ว่าราคาทองจะมีการปรับตัวลดลงครั้งละ 20 ดอลลาร์ประมาณ 2-3 ครั้ง โดยน่าจะลงมาแตะที่ระดับ 1,540 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือ 22,830 บาท/บาททอง และอาจลงไปที่ต่ำสุดที่ 1,520 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือ หรือ 22,530 บาท/บาททอง (อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนที่ 31.30 บาท/ดอลลาร์ )

 

       อย่างไรก็ตาม ก่อนเข้าซื้อนักลงทุนควรติดตามปัจจัยต่างๆ ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการกําหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ซึ่งทางโกลเบล็กคาดการณ์ว่าเฟดน่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากจะเข้าสู่สถานการณ์การเลือกตั้งของสหรัฐฯจึงจำเป็นต้องให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจออกมาดี เพื่อรักษาฐานเสียงไว้ และน่าจะส่งผลต่อราคาทองคำในทางบวก เช่นเดียวกับปัจจัยเรื่องการประกาศตัวเลขดัชนีเงินเฟ้อพื้นฐานและยอดค้าปลีกพื้นฐานสหรัฐฯที่จะส่งผลต่อราคาทองคำเช่นกัน

 

       ขณะเดียวกัน ควรจับตาผลการประมูลบอนด์อิตาลี โดยหากผลตอบแทน(Yield) ต่ำแสดงให้เห็นว่ามีความต้องการซื้อเข้ามาจากการเข้าซื้อของนักลงทุน กลับกันหาก Yield สูง แสดงให้เห็นความเสี่ยงของการลงทุน เนื่องจากเศรษฐกิจของยุโรปยังมีปัญหา และจะส่งผลต่อราคาทองให้ปรับตัวลดลงอีกได้

 

       ด้านนายณัวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์ นักวิเคราะห์ทองคำ บมจ.โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์  กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการประชุม FOMC และตัวเลขดัชนีเงินเฟ้อพื้นฐานและยอดค้าปลีกพื้นฐานสหรัฐฯ ตลอดจนการประมูลบอนด์อิตาลีแล้ว นักลงทุนควรติดตามปัจจัยดัชนีภาวะเศรษฐกิจเยอรมนี ZEW, ยอดสร้างบ้านใหม่และยอดผู้ขอรับสวัสดิการสหรัฐฯที่จะทยอยประกาศออกมาทั้งสัปดาห์ ทั้งนี้ ทางโกลเบล็กมองกรอบการลงทุนทองคำในสัปดาห์นี้ 1,540-1,620 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือประมาณ 22,800-23,920บาท/บาททองคำ (อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนที่ 31.30 บาท/ดอลลาร์ ) หากราคาไม่หลุด 1,560 ดอลลาร์  หรือ 23,120 บาท/บาททองคำ ยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,600 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือ 23,710 บาท/บาททองคำ แต่หากหลุดแนวรับที่ 1,560 ดอลลาร์/ออนซ์ มีแนวรับต่อไปที่ 1,540 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือ 22,800 บาท/บาททองคำได้

 

      สำหรับราคาทองคำโลกในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ปรับตัวลงจากสัปดาห์ก่อน โดยราคาทองคำอยู่ที่ 1,579.44ดอลลาร์/ออนซ์ (ณ วันที่ 11 พฤษภาคม 24.00น.) ปรับตัวลดลงประมาณ 60 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือคิดเป็น 3.66% โดยทำจุดสูงสุดไว้ที่ 1,639.79 ดอลลาร์/ออนซ์ และทำจุดต่ำสุดไว้ที่ 1,579.44 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยราคาทองคำเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ ตลอดวันแรกของสัปดาห์ แต่ต่อมาราคาทองคำปรับตังลงถึง 33 ดอลลาร์/ออนซ์ จากความกังวลเกี่ยวกับการเมืองของกรีซและฝรั่งเศสที่มีการเลือกตั้งใหม่โดยผู้นำคนใหม่ของฝรั่งเศสไม่เห็นด้วยกับมาตรการรัดเข็มขัดและเสนอให้เยอรมนีใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแทน

 

      นอกจากนี้ ยังกังวลเรื่องที่พรรคการเมืองกรีซไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ เนื่องจากฐานเสียงไม่เพียงพอทำให้อาจได้รับเงินช่วยเหลือจาก EU ล่าช้าและอาจเกิดการขาดสภาพคล่องภายในปลายเดือนนี้ ส่งผลให้นักลงทุนต่างหันไปเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ทองคำจึงถูกเทขายออกมา แต่ราคาทองคำ rebound กลับมาได้ในช่วยปลายสัปดาห์จากกรีซที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุน ESFS จำนวน 5.2 พันล้านยูโรถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จก็ตาม ส่วนทาง เจพีมอร์แกน เชสเปิดเผยผลขาดทุนจากธุรกิจเทรดดิ้งเป็นวงเงินทั้งสิ้น 2 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยบริษัทดังกล่าวถือเป็นผู้ค้าทองคำแท่งรายใหญ่ทำให้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลง ทุนในทองคำ

 

      ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 15 พฤษภาคม 2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาน้ำมันดิบตลาดสหรัฐปิดร่วง 1.35 ดอลลาร์ ขณะดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบยูโร เพราะปัญหาการเมืองกรีซ

 

ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีท ตลาดไนเม็กซ์ ส่งมอบเดือนมิ.ย. ปิดที่ 94.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง 1.35 ดอลลาร์ จากราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมิ.ย. ร่วงลง 69 เซนต์ ปิดที่ราคา 111.57 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากก่อนหน้านี้ ดิ่งลงไปแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 4 เดือนที่ 110.04 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีท เดือนมิ.ย. ปิดตลาดร่วงลง เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยุโรป หลังจากกรีซ ยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ประกอบกับข่าวที่ว่า เจ้าหน้าที่หลายคนของสหภาพยุโรป (อียู) กำลังพิจารณาเรื่องความเป็นไปได้ที่กรีซ จะต้องออกจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน

 

ทำเนียบประธานาธิบดีกรีซ เปิดเผยว่า การเจรจาระหว่างหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆในเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลผสม ซึ่งประธานาธิบดีคาโรลอส ปาปูลิอาส เป็นประธานในการประชุมนั้น จะดำเนินต่อไป หลังจากการเจรจาเมื่อวันอาทิตย์ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแล้ว ปธน.ปาปูลิอาสจะจัดการประชุมกับผู้นำแต่ละพรรคจากพรรคการเมืองทั้ง 7 พรรคที่จะเข้าร่วมในสมัชชาชุดใหม่

 

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีท ตลาดสหรัฐ ยังได้รับแรงกดดันหลังจากนายอาลี อัล-ไนมี รมว.พลังงานซาอุดิอาระเบีย กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบเบรนท์มีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจากอุปทานมีอยู่มากกว่าอุปสงค์

 

ขณะที่ นักวิเคราะห์จากแบงก์ ออฟ อเมริกา คาดการณ์ว่า สัญญาน้ำมันดิบไลท์สวีท จะร่วงลงมาอยู่ที่ระดับ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนนักวิเคราะห์จากฟิวเจอร์เธค คาดว่า สัญญาน้ำมันดิบไลท์สวีท อาจจะร่วงลงมาแตะระดับ 88.55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 15 พฤษภาคม 2555)

 

เงินยูโรร่วงต่ำสุดในรอบกว่า 3 เดือน วิตกกรีซถูกบีบออกจากกลุ่มยูโรโซน

 

สกุลเงินยูโร อ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 เดือน เมื่อเทียบกับดอลลาร์ เนื่องจากความกังวลที่ว่า ภาวะสุญญากาศทางการเมืองอาจส่งผลให้เจ้าหน้าที่ของยุโรป บีบให้กรีซออกจากการเป็นสมาชิกภาพของยูโรโซน

 

ทั้งนี้ เมื่อเวลา 07.23 น.ตามเวลานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14 พ.ค.) สกุลเงินยูโรร่วงลง 0.4% แตะที่ 1.2870 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 23 ม.ค.

 

สกุลเงินยูโร ร่วงลงติดต่อกัน 2 วันทำการ หลังจากทำเนียบประธานาธิบดีกรีซ เปิดเผยว่า การเจรจาระหว่างหัวหน้าพรรคการเมืองต่างๆในเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลผสม ซึ่งประธานาธิบดีคาโรลอส ปาปูลิอาส เป็นประธานในการประชุมนั้น จะดำเนินต่อไป หลังจากหลังจากผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าไม่มีพรรคใดครองเสียงข้างมากในรัฐสภา

 

ขณะเดียวกันมีการคาดการณ์ว่า กรีซ อาจจะต้องจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ เมื่อนายโฟติส คูเวลิส ผู้นำพรรคประชาธิปไตยซ้าย ระบุว่า จะไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคที่สนับสนุนมาตรการรัดเข็มขัดและการรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ไม่นาน นายอเล็กซิส ซิปราส ผู้นำพรรคซีริซา ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายซ้ายของกรีซ ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการหารือจัดตั้งรัฐบาลผสมที่จะมีขึ้นในวันนี้ ตามเวลายุโรปตามคำเชิญของประธานาธิบดีคาโรลอส ปาปูลิอาส

 

ความยืดเยื้อในการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่ากรีซ อาจจะเผชิญกับภาวะสุญญากาศทางการเมือง และอาจจะส่งผลให้กรีซต้องถูกกดดันให้ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มยูโรโซน

 

นอกจากนี้ สกุลเงินยูโร ยังได้รับแรงกดดันหลังจากสำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป(ยูโรสแตท) เปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนในเดือนมี.ค.ปรับลดลง 0.3% จากเดือนก.พ. และร่วงลง 2.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่ซบเซาของสินค้าหลากหลายประเภท เนื่องจากยูโรโซน เผชิญกับวิกฤตหนี้ที่ยืดเยื้อและอัตราว่างงานที่อยู่ในระดับสูง

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 15 พฤษภาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยูโรทรงตัวใกล้นิวโลว์ 4 เดือน

 

 

ตลาดซื้อขายดอลลาร์/เยน:ยูโรทรงตัวใกล้นิวโลว์ 4 เดือนเช้านี้

 

ยูโรร่วงแตะระดับระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในการซื้อ ขายช่วงเช้านี้ที่ตลาดเอเชีย ขณะที่ภาวะชะงักงันทางการเมืองของกรีซทำให้เกิดความ วิตกว่า กรีซอาจจะไม่ทำตามสัญญาตามมาตรการช่วยเหลือ และออกจากยูโรโซน

 

 

ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงของจีนและทั่วโลกยังทำให้สกุลเงิน ที่ให้ผลตอบแทนสูง ร่วงลง และหนุนดอลลาร์และเยน โดยดอลลาร์ออสเตรเลียทรงตัว ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์

 

ในช่วงเช้านี้ ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.2830 หลังจากร่วงต่ำสุดที่ 1.2815 ซึ่ง เป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 4 เดือน

 

การร่วงทะลุระดับดังกล่าวอาจจะทำให้ยูโรทดสอบระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือนม.ค. ที่ 1.2624 ดอลลาร์ แต่นักวิเคราะห์บางคนกล่าวว่า ยูโรอาจจะฟื้นตัวขึ้นในระยะสั้น หลังจากดิ่งลงกว่า 3% ในเดือนนี้

 

แต่ยูโรยังคงเผชิญกับแรงกดดันจากภาวะชะงักงันทางการเมืองที่รุนแรงขึ้นใน กรีซ ซึ่งอาจจะทำลายข้อตกลงช่วยเหลือกรีซ และทำให้กรีซต้องออกจากยูโรโซน

 

คาดว่าผู้นำพรรคการเมืองของกรีซจะประชุมกันในเวลา 18.00 น.ตามเวลา ไทยวันนี้ แต่ก็แทบไม่มีความหวังว่า ข้อเสนอของประธานาธิบดีคาโรลอส ปาปูลิอาสให้ตั้ง รัฐบาลนักวิชาการจะยุติภาวะชะงักงันได้ ซึ่งทำให้มีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะต้องมีการ เลือกตั้งใหม่

 

การร่วงลงของยูโรส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน เมื่อวานนี้ และดัชนีอยู่ที่ 80.649 ในช่วงเช้านี้ ใกล้ระดับสูงสุดที่ 80.732 ของเมื่อ วานนี้ และระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนมี.ค.ที่ 80.738

 

ขณะที่ดอลลาร์ได้แรงหนุนจากวิกฤติของยูโรโซน แต่ก็ถูกสกัดแรงบวกจากการ คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตั้งใจที่จะดำเนินมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติม ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐย่ำแย่ลง

 

แม้ว่ามีนักลงทุนไม่มากที่คาดว่าเฟดจะประกาศมาตรการผ่อนคลายใหม่ในเดือน หน้า แต่ตลาดจะจับตาดูข้อมูลยอดค้าปลีก และอัตราเงินเฟ้อในวันนี้ เนื่องจากข้อมูลเหล่า นี้อาจจะเปลี่ยนการคาดการณ์ดังกล่าว

ดอลลาร์ทรงตัวที่ 79.86 เยน โดยทรงตัวเหนือระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน ครึ่งที่ 79.428 เยนที่ทำไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว

 

ดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง หลังจากร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือนที่ 0.9957 ดอลลาร์ แต่ก็ทรงตัวเหนือแนวรับสำคัญที่ระดับ 0.9950 ดอลลาร์ และอยู่ที่ 0.9974 ดอลลาร์ในช่วงเช้านี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...