ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

สวัสดียามเช้า สะดุ้งตื่นตอนตีสอง อ้าวลูกฉี่รดที่นอน มาดูราคา 1567 ตอนนี้ก็ยัง 1567

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ออน 23375/23320

 

ถูกกว่าแกอีกตาลัก จะกดกลัวแม่งบ่ายๆถูกกง่านี้อีก ดอยเจ้เริ่มหมองอีกแล้ว นึกว่าอาทิตย์นี้จะหายหมองสะแล้ว

ถูกแก้ไข โดย เกี้ยมอี๋

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คำอาถรรพ์นี่มัน " คำสาบแม่มด" ชัดๆ

ขออภัยพ่อแม่พี่น้อง ข้าน้อยผิดไปแล้ว

:_087. :_087. :_087

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตา Luk

เช้านี้หน้า GT กลับมาเหมือนเดิมแล้วนะ ไม่ต้องห่วง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คำอาถรรพ์นี่มัน " คำสาบแม่มด" ชัดๆ

ขออภัยพ่อแม่พี่น้อง ข้าน้อยผิดไปแล้ว

:_087. :_087. :_087

 

ต่อไปใครเอาคำต้องห้ามมาต้องโดนประนามนะซ้อ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ของ GT ตอนนี้ 23,253/23,308 ครับ

 

ทำไมมันต่ำจัง ซื้อ gt มาขาย tdc

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

น้ำมันขยับลง-เฟซบุ๊กดิ่งอีกเกือบ9%ฉุดหุ้นสหรัฐฯปิดแคบ

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 พฤษภาคม 2555 05:09 น.

 

       เอเอฟพี - ราคาน้ำมันวานนี้(22) กลับมาปิดในแดนลบอีกครั้ง ท่ามกลางสัญญาณที่บ่งชี้ว่าอิหร่านอาจยอมให้ไอเออีเอเข้าตรวจสอบโครงการนิวเคลียร์ คลายกังวลต่อปัญหาอุปทานตึงตัว ขณะที่วอลล์สตรีท ปิดในกรอบแคบๆ จากแรงฉุดของหุ้นเฟซบุ๊ก ที่ดิ่งต่ำกว่าราคาไอพีโอไปแล้วเกือบร้อยละ 20

       

       สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนมิถุนายน ลดลง 91 เซนต์ ปิดที่ 91.66 ดอลลาร์ ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนกรกฎาคม ลดลง 40 เซนต์ ปิดที่ 108.41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

       

       นายยูกิยะ อามาโนะ ผู้อำนวยการทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) คาดหมายว่าเขาและหัวหน้าเจรจานิวเคลียร์ของอิหร่านจะบรรลุข้อตกลงเร็วๆนี้สำหรับเปิดทางให้คณะผู้ตรวจสอบยูเอ็นเข้าตรวจสอบโครงการนิวเคลียร์ของเตหะรานที่ชาติตะวันตกสงสัยว่าปิดซ่อนโปรแกรมพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เอาไว้

       

       ถ้อยแถลงนี้นับเป็นข่าวดีที่คลายกังวลต่อปัญหาอุปทานตึงตัว ก่อนหน้าการเจรจระหว่างอิหร่านกับคณะผู้แทนจาก กลุ่มประเทศคู่เจรจา 5+1หรือ 5 ชาติสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติบวกเยอรมนี ในเมืองหลวงของอิรักรอบสองช่วงกลางสัปดาห์นี้

       

       ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(22) แกว่งตัวจากแดนบวกลงมาปิดในกรอบแคบๆ หลังนักลงทุนเทขายหุ้นเฟซบุ๊กอย่างหนักเป็นวันที่ 2 ติดต่อกันท่ามกลางข้อถกเถียงเกี่ยวกับไอพีโอมูลค่า 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ของบริษัทแห่งนี้

       

       ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ ลดลง 1.97 จุด (0.01 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 12,502.81 จุด แนสแดค ลดลง 8.13 จุด (0.29 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,839.08 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 0.64 จุด (0.05 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,316.63 จุด

       

       เบื้องต้นตลาดแกว่งตัวอยู่ในแดนบวกหลังจากสมาคมผู้ค้าปลีกแห่งชาติสหรัฐฯรายงานว่ายอดขายบ้านมือสองตามภูมิภาคต่างๆภายในประเทศเดือนเมษายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ขณะที่ราคาบ้านก็เริ่มขยับขึ้นเรื่อยๆ

       

       อย่างไรก็ตามมีการเทขายออกมาอย่างหนักระหว่างการซื้อขายในช่วงบ่าย ก่อนที่จะมีแรงซื้อคืนในช่วง 10 นาทีก่อนปิดตลาด ทำให้วอลล์สตรีทวานนี้(22) ปิดในกรอบแคบๆเท่านั้น

       

       ความเคลื่อนไหวของดัชนีแนสแดก ถูกครอบงำของหุ้นของเฟซบุ๊ก ที่วานนี้(22) ปิดลบอีกร้อยละ 8.6 และนับเป็นการขยับลง 3 วันติดนับตั้งแต่เปิดตัวในวอลล์สตรีท ท่ามกลางข้อกล่าวหาว่าพวกแบงก์ที่อันเดอร์ไรต์ (จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย) ยุให้เครือข่ายสังคมออนไลน์ยักษ์ใหญ่แห่งนี้เพิ่มหุ้นไปพีโอเป็น 421 ล้านหุ้น ซึ่งมากเกินความต้องการของตลาด

       

       ทั้งนี้ช่วงหนึ่งของการซื้อขาย หุ้นของเฟซบุ๊กดิ่งลงไปถึง 30.94 ดอลลาร์ต่อหุ้น ก่อนขยับขึ้นมาปิดที่ 31.12 ดอลลาร์ หลังจากเปิดตัวเมื่อวันศุกร์(18) ด้วยราคาไอพีโอที่ 38 ดอลลาร์ต่อหุ้น

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คำอาถรรพ์นี่มัน " คำสาบแม่มด" ชัดๆ

ขออภัยพ่อแม่พี่น้อง ข้าน้อยผิดไปแล้ว

:_087. :_087. :_087

 

 

ต่อไปใครเอาคำต้องห้ามมาต้องโดนประนามนะซ้อ

คำนี้ หลุดโผล่มาเมื่อไหร่ ต้องหาจุดขายทันที ประมาณว่า " กำขี้ดีกว่า กำตด " เชียวนะ ปล่อยหมดพอร์ตทุนสั้นที่เหลือ รอเก็บใหม่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ที่มา สุทธิชัยหยุ่น

 

ยูโรโซนพร้อมรับมือกรีซแยกตัวหรือไม่

วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

 

คำถามเกิดขึ้นมากมาย เรื่องกรีซจะแยกตัวออกจากยูโรโซนแต่เหตุผลอาจไม่ใช่เพราะความง่อยเปลี้ยทางการเมืองของกรีซแต่เป็นเพราะผลพวงจากเรื่องนี้ ไม่ได้น่ากลัวจนเกินไปสำหรับยุโรปและศก.โลก .

 

ทั้งความวุ่นวายทางการเมืองในกรีซ ซึ่งต้องจัดเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 17 มิถุนายน หลังเจรจาตั้งรัฐบาลผสมไม่สำเร็จ ประกอบกับสถานการณ์ที่สเปนกำลังเผชิญสารพัดความท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตความเชื่อมั่นจากการปรับเพิ่มยอดขาดดุลงบประมาณต่อจีดีพีในปีที่แล้ว ความอ่อนแอของภาคธนาคาร ต่างสะท้อนถึงความเปราะบางอย่างยิ่งของเศรษฐกิจยุโรป และความจริงใหม่ที่เปลี่ยนภาพของยุโรปไปจากเดิม

 

ทางการกรีซ ประกาศจัดเลือกตั้งครั้งใหม่ 17 มิถุนายนนี้ หลังจากคว้าน้ำเหลวในการจัดตั้งรัฐบาลผสม ทั้งที่ใช้เวลานานกว่า 1 สัปดาห์ ขณะที่การเลือกตั้งครั้งใหม่ก็ส่อเค้าความวุ่นวาย เพราะพรรคที่มีแนวโน้มจะกวาดที่นั่งในสภา เป็นพรรคที่ไม่ยอมรับมาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งเป็นแนวคิดที่สวนทางกับเงื่อนไขการขอรับเงินช่วยเหลือ และเยอรมนีที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ ปลุกความวิตกว่ากรีซอาจต้องออกจากยูโรโซน

 

หากกรีซ โบกมือลายูโรโซนจริง ย่อมสั่นสะเทือนเศรษฐกิจของยุโรป และก่ออาฟเตอร์ช็อกทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก เพราะไม่ว่ากรีซจะไม่สามารถหรือไม่อยากทำตามเงื่อนไขการขอรับเงินช่วยเหลือ แต่หากโปรตุเกส ไอร์แลนด์ สเปน และอิตาลี เดินตามรอยกรีซ ก็จะกลายเป็นหายนะต่อเศรษฐกิจโลกอย่างสุดจะคาดเดา

 

"เบน เมย์" จากแคปิตอล อีโคโนมิกส์ กล่าวว่า หากผู้กำหนดนโยบาย ไม่สามารถสร้างหลักประกันให้ตลาด ในการปกป้องเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่เอาไว้ การเดินออกจากยูโรโซนของกรีซ และบางทีอาจรวมถึงโปรตุเกส และไอร์แลนด์ ก็ย่อมสร้างแรงกดดันไปยังอิตาลีและสเปน

 

ส่วนกรณีของสเปน กำลังเผชิญมรสุมลูกแล้วลูกเล่า ทั้งวิกฤตความเชื่อมั่นหลังแดนกระทิงดุปรับเพิ่มตัวเลขขาดดุลงบประมาณในปี 2554 เพิ่มเป็น 8.9% ของจีดีพี จากเดิมที่ประเมินไว้ 8.5% เนื่องจากหนี้ค้างจ่ายในส่วนท้องถิ่นจำนวนมาก โดยเฉพาะในมาดริด วาเลนเซีย แคว้นคาสตีลและเลออน

 

น่าสังเกตว่า ตัวเลขขาดดุลงบประมาณใหม่ของสเปน ใกล้เคียงกับกรีซที่อยู่ที่ 9.1% ของจีดีพีในปีที่แล้ว และไอร์แลนด์ที่ระดับ 13.1% ของจีดีพี

 

ขณะที่ การปรับตัวเลขดังกล่าวสร้างความกังวลเกี่ยวกับอนาคตของสเปนว่า จะสามารถจัดการกับตัวเลขขาดดุลงบประมาณที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในยูโรโซนได้อย่างไร นอกจากนี้ ตัวเลขว่างงานก็พุ่งถึง 24% หรือชาวสเปน 1 ใน 4 คนตกงาน ส่วนผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของสเปนก็เพิ่มขึ้น 0.5% อยู่ที่ 6.2% เทียบกับระดับ 7% ที่กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน

 

ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมปัญหา ในภาคธนาคาร ซึ่งล่าสุด ทางการสเปนต้องออกมาปฏิเสธข่าวประชาชนแห่ถอนเงินจากธนาคารบังเกียร่วม 1 พันล้านยูโร รวมทั้งมีการพูดถึงสกุลเงินทางเลือกที่อาจต้องนำเงินไปฝากในต่างประเทศเผื่อกรณีฉุกเฉิน ส่วนบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ "มูดี้ส์" ก็ประกาศลดเครดิต 16 แบงก์สเปน

 

ข่าวร้ายของสเปน ยังไม่หมด ตัวเลขหนี้เสียพุ่งขึ้น 8.7% ในเดือนมีนาคม แตะระดับสูงสุดครั้งใหม่ในรอบ 17 ปี โดยหนี้เสียของภาคธนาคารสเปนในเดือนมีนาคม คิดเป็นมูลค่า 1.48 แสนล้านยูโร สูงสุดนับจากปี 2537 ซึ่งเป็นการผิดนัดชำระหนี้เกินกว่า 3 เดือน และจำนวนหนี้เสียทั้งหมดในปัจจุบันคิดเป็น 10 เท่าของระดับเมื่อปี 2550

 

ความจริงที่โหดร้าย ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกรีซและสเปน แต่ได้แพร่ขยายออกไปและเปลี่ยนภาพของยุโรปไปจากเดิมที่เคยรู้จัก ไม่ว่าจะเป็นการต่อคิว ขอรับอาหารกลางวันในแถบชานกรุงอัมสเตอร์ดัมของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งแจกให้ประชาชนที่มีรายได้ไม่ถึง 180 ยูโรต่อเดือน (234 ดอลลาร์) โดยมีธนาคารอาหารกระจายอยู่ 135 แห่ง แต่ความต้องการยังเพิ่มขึ้น 20% ในไตรมาสแรก หรือกรณี การเลือกตั้งในกรีซและฝรั่งเศส ที่ประชาชนแสดงชัดว่า ไม่เอามาตรการรัดเข็มขัดที่บีบคั้นพวกเขามากเกินไป

 

"ออสติน ฮิวเจส" นักเศรษฐศาสตร์จากเคบีซี แบงก์ ไอร์แลนด์ มองว่า ก่อนหน้านี้ผู้คนไม่เคยตั้งคำถาม แต่ตอนนี้พวกเขามองไม่เห็นคำตอบ คนเหล่านี้คาดหวังเงินเดือน การมีงานทำ และราคาสินทรัพย์ที่ดีกว่านี้

 

ความยากลำบากทางเศรษฐกิจ ทำให้ชาวยุโรปในส่วนต่างๆ เปลี่ยนงาน เปลี่ยนบ้าน และปรับพฤติกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง และเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

 

สิ่งที่น่าสนใจ คือ จำนวนผู้ที่อพยพออกจากยุโรป ตัวเลขผู้อพยพย้ายถิ่นออกจากไอร์แลนด์ เพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดนับจากศตวรรษที่ 19 โดยในรอบ 12 เดือน นับถึงเมษายนปี 2554 อยู่ที่ 76,400 คน ส่วนสเปนที่เคยเป็นแหล่งดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก กลับมียอดคนย้ายออก 50,090 คน ในปีที่แล้ว

 

แต่สวนทางกับเยอรมนี ที่กลายเป็นแหล่งน้ำในทะเลทรายของยุโรป ในฐานะเขตเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุด จำนวนผู้คนจากประเทศต่างๆ ในยุโรปที่หลั่งไหลเข้าไปในเมืองเบียร์เพิ่มขึ้น 6.4% อยู่ที่ 2.6 ล้านคนในปีที่แล้ว

 

ดูเหมือนวิกฤติ กำลังมาเคาะประตูบ้านยุโรป ซึ่งเคยเป็นภูมิภาคที่แข็งแกร่ง แม้แต่ประเทศ ที่ไม่เคยมีอะไรมากร้ำกรายได้อย่างเนเธอร์แลนด์ ที่สุดแล้ว รัฐนาวาของอดีตนายกฯ มาร์ก รุทเทอ ก็มีอันต้องล่ม เพราะไม่สามารถหาทางออกเกี่ยวกับแผนลดรายจ่ายและขึ้นภาษี ขณะที่หางแถวขอรับอาหารฟรีในอัมสเตอร์ดัมก็ยิ่งยาวขึ้นเรื่อยๆ

 

บทวิเคราะห์ในนิวยอร์คไทมส์ล่าสุด ชี้ว่า ความที่วิกฤติการเงินกรีซยืดเยื้อ และอยู่ในสภาพลูกผีลูกคนมานาน 2 ปีแล้ว ทำให้เพื่อนสมาชิกอื่นๆในสหภาพยุโรป(อียู) มีเวลาพอที่จะเตรียมตัวสำหรับการเดินหน้าต่อไปโดยไม่มีกรีซ ธนาคารและบริษัทต่างๆ เตรียมแผนฉุกเฉินไว้พร้อม และยุโรป ได้เพิ่มกองทุนรองรับผลกระทบต่อประเทศเปราะบางอย่าง โปรตุเกส ไอร์แลนด์ และสเปนไว้แล้ว

 

มาตรการเหล่านั้น ยังช่วยลดความเสี่ยงสำหรับสหรัฐอเมริกา ลดความเป็นไปได้ที่จะเผชิญกับห้วงเวลาคล้ายกับวิกฤติเลห์แมน บราเธอรส์ล้ม ซึ่งสร้างความแตกตื่นแก่ตลาดการเงินโลก นอกจากนี้ ที่ผ่านมา ธนาคารและกองทุนต่างๆของสหรัฐฯ ได้ลดการลงทุนในยุโรปลงไปมาก

 

แต่ในความเห็นของผู้เชี่ยวชาญบางคน มองว่า การเตรียมพร้อมของยุโรป ยังไม่สมบูรณ์ดี และต้นทุนสำหรับการออกจากยูโรโซนของกรีซ ที่อาจจะเกิดขึ้น ยังมีความไม่แน่นอนสูงมาก นี่จึงเป็นข้อเท็จจริง ที่อธิบายว่า เพราะเหตุใดเยอรมนี จึงมุ่งมั่นรักษากรีซ ไว้ในระบบเงินสกุลเดียวกันต่อไป หากยังสามารถทำได้ แต่อีกด้านหนึ่ง ผู้นำยุโรปหลายคน ก็แสดงความเห็นอย่างเปิดเผยถึงความเป็นไปได้ที่กรีซ จะออกไป ซึ่งไม่ใช่เพราะความสัมพันธ์กับกรีซเสื่อมทรามลงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเพราะได้เตรียมการพร้อมไว้แล้ว

 

นายแจน คียส์ เดอ จาเกอร์ รัฐมนตรีคลังเนเธอร์แลนด์ กล่าวกับผู้สื่อข่าว หลังการประชุมรัฐมนตรีคลังยุโรปเมื่อต้นสัปดาห์ที่แล้วว่า "เราทำงานหนักเพื่อประเมินรับสถานการณ์ จึงเป็นเหตุผลว่ายุโรปห่างไกลความเสี่ยงจากวิกฤติกรีซ

 

นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารเยอรมนีแห่งหนึ่ง ประเมินเมื่อเร็วๆนี้ว่า การออกจากยูโรโซนของกรีซ จะทำให้รัฐบาลเยอรมนีสูญงบประมาณ 1 แสนล้านยูโร หรือราว 3 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)

 

นายฟรังซัวส์ บาโรน อดีตรัฐมนตรีคลังของฝรั่งเศส กล่าวก่อนพ้นจากตำแหน่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ฝรั่งเศสจะสูญเสียราว 5 หมื่นล้านยูโร "แต่ปัญหากรีซ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ในตัวของมันเอง ไม่ใช่ความเสี่ยงขนานใหญ่ ธนาคารและบริษัทประกันภัยของเรา มีศักยภาพที่จะรับได้ ปัญหาที่น่าห่วงกว่า คือผลกระทบสำหรับประเทศในกลุ่มท้ายๆของสหภาพยุโรป พร้อมเตือนว่า การออกจากกลุ่มของสมาชิกใดๆก็ตาม อาจแพร่กระจายความสงสัย และความรู้สึกไม่เชื่อมั่นต่อสุขภาพของเงินยูโรในใจนักลงทุนต่างชาติ

 

ภารกิจอันดับหนึ่งของรัฐมนตรีคลังในกลุ่ม คือการทำให้ตลาดเชื่อว่า สถานการณ์ทุกอย่างควบคุมได้ จึงได้เห็นบรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงยุโรป ดาหน้าออกมายืนกรานว่า เงินยูโรจะอยู่รอดได้อย่างแน่นอน

 

นายจาคอบ จังค์ เคิร์กเคการ์ด นักวิชาการสถาบันเศรษศาสตร์ระหว่างประเทศปีเตอร์สัน ในนิวยอร์ค กล่าวว่า ยุโรปดูผ่อนคลาย มั่นใจว่าจะสามารถรับมือได้ ซึ่งตนคิดว่า เป็นผลจากการเตรียมการมานานหลายเดือน การเจรจาหลายครั้งที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์ ส่งอิทธิพลต่อผลการเลือกตั้งกรีซรอบใหม่ในเดือนหน้า และส่วนตัวก็คิดว่า ยุโรปอยู่ในสถานะที่จะรับมือกับสถานการณ์เลวร้ายที่สุดได้

 

แต่นายเคนเนธ เอส โรกอฟฟ์ ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และอดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่า ยุโรปมีความคืบหน้าอย่างมากก็จริง แต่ยังเตรียมการไม่มากพอ ที่จะควบคุมผลพวงที่ตามมาทุกอย่างได้ ยุโรป ยังขาดกลไกแข็งแรงพอที่จะรับประกันว่า ยังมีเงินกู้พร้อมจะปล่อยให้กับสมาชิกที่มีปัญหา อย่างสเปน และอิตาลี ยิ่งไปกว่านั้น ยุโรปยังขาดฉันทามติทางการเมือง เรื่องสนับสนุนการกู้ยืมจากทางการท้องถิ่นและบริษัทเอกชน "ยุโรปมีเวลาสองปีในการคิดเรื่องนี้ แต่ยังขาดแผนน่าเชื่อถือในระยะยาวที่จะรับประกันความอยู่รอดของเงินยูโร"

 

สอดคล้องกับนายยูริ ดาดุช อดีตผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจธนาคารโลก ที่ชี้ว่า ยุโรปมีความคืบหน้าหลายอย่างในด้านการเตรียมพร้อม แต่หากการออกจากยูโรโซนของกรีซ ถูกตีความเป็นสัญญาณว่า ยูโรโซนกำลังจะล้มครืน บรรดาผู้ฝากเงินในประเทศที่มีปัญหา อาจเริ่มถอนเงินออกจากธนาคารท้องถิ่น อัตราดอกเบี้ยอาจพุ่งทะยาน เช่น บริษัทอิตาลีที่กำลังดิ้นรนหนักเพื่อแข่งกับคู่แข่งในประเทศอื่นๆ เนื่องจากพวกเขาต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยในอัตราสูงกว่า ดังนั้น ยุโรปจะป้องกันเชื้อร้ายนี้ไม่ให้แพร่กระจายได้อย่างไร จึงยังเป็นคำถามใหญ่ให้ยุโรปต้องขบคิดหากกรีซออกจากยูโร

 

จาก"กรีซ"สู่"สเปน"ชนวนเปลี่ยนแปลงยุโรป

 

แทบทุกสายตากำลังจับจ้องไปที่ "สเปน" และ "กรีซ" ระเบิดเวลา 2 ลูกที่ยังไม่ถูกปลดชนวน และเป็นบททดสอบสำคัญว่า "ยูโรโซน" จะรอดหรือล่ม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตา Luk

เช้านี้หน้า GT กลับมาเหมือนเดิมแล้วนะ ไม่ต้องห่วง

 

คร๊าบ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นิด้าเชื่อกรีซถอนตัวออกจากยูโรโซนชั่วคราว

ข่าวเศรษฐกิจ วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2555 13:15น.

 

"นิด้า" เชื่อ กรีซ ถอนตัวออกจากยูโรโซนชั่วคราว หวังใช้นโยบายการเงินผ่อนปรน แนะ ไทย ดึง จีน-อินเดีย เที่ยวไทยทดแทนตลาดยุโรป

นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เปิดเผยถึง วิกฤติหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นในประเทศกรีซว่า มีแนวโน้มจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยการกระตุ้นการใช้จ่ายเงินของภาครัฐ หลังจากเคยประสบความสำเร็จในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจมาแล้ว อย่างไรก็ตาม หากใช้มาตรการดังกล่าวจริง จะต้องมีระบบกำกับดูแลการคลังที่ดี เพื่อป้องกันเงินรั่วไหล พร้อมกับใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนปรนเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยเข้ามากระตุ้นอีกทางหนึ่ง จึงจะสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจยุโรปในครั้งนี้ได้  แต่อย่างไรก็ตาม กรีซ ยังไม่สามารถใช้มาตรการทางการเงินดังกล่าวได้ เนื่องจาก ติดปัญหาอยู่ที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เป็นผู้กำหนดนโยบายการเงินของกลุ่มยูโรโซน จึงมีความเป็นไปได้สูงที่กรีซจะใช้มติทางการเมือง ขอถอนตัวออกจากกลุ่มยูโรโซนชั่วคราว เพื่อให้จัดการแก้ปัญหาวิกฤติหนี้ด้วยนโยบายการเงินที่ผ่อนปรน  และเชื่อว่า จะไม่ทำให้กลุ่มสหภาพยุโรปแตกออกจากกัน แต่ทั้งนี้ในส่วนของรัฐบาลไทย ควรติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจยุโรปอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมแผนรับมือผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ตามมา โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ซึ่งแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวจากยุโรปเดินทางมาท่องเที่ยวในไทย ประมาณ 6 ล้านคน จึงควรดึงนักท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศเอเชีย หรือ ประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง เช่น จีนและอินเดีย เข้ามาท่องเที่ยวในไทยมากขึ้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ออน 23375/23320

 

ถูกกว่าแกอีกตาลัก จะกดกลัวแม่งบ่ายๆถูกกง่านี้อีก ดอยเจ้เริ่มหมองอีกแล้ว นึกว่าอาทิตย์นี้จะหายหมองสะแล้ว

 

ไอ้กันมันเล่นแสบ ลอนดอยลากขึ้น พอปิดปุ๊บไอ้กันทิ้งปั๊บ

 

"รู้งี่" คัตลอสตั้งแต่เมื่อคืนซะก็ดี ไม่คิดว่าจะทิ้งหนักขนาดนี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...