ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

แปะให้ ป๋า คุณกัปตัน และทุกท่านค่ะ

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หุ้นเอเชียเปิดตลาดเช้านี้ (21 ส.ค.) เทรดซบเซา ในแดนลบในตลาดสำคัญทั้งนิคเคอิลบ 0.08% หั่งเส็งลบ 0.28% สวนทางจีนบวก 0.2% เกาหลีบวก 0.33% ออสเตรเลียบวก 0.17% สิงคโปร์บวก 0.12% ตามหุ้นสหรัฐปิดตลาดแทบไม่เปลี่ยนแปลงในแดนลบ แต่ยังอยู่ในระดับใกล้เคียงจุดสูงสุดรอบ 4 ปี เหตุนักลงทุนกลับมาวิตกวิกฤติหนี้ยุโรป กดดันหุ้นยุโรปร่วงลงในแดนลบเช่นเดียวกัน รวมถึงราคาน้ำมันไนเม็กซ์อ่อนตัวลง 4 เซนต์ปิดที่ 95.97 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สวนทางราคาทองปรับขี้นแข็งแกร่ง 3.60 ดอลลาร์ยืนที่ 1,623 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นสหรัฐทรงตัวได้ จากราคาหุ้นแอ็ปเปิ้ลช่วยพยุงตลาด เหตุแอ็ปเปิ้ลกลายเป็นหุ้นที่ทรงคุณค่ามากที่สุดในปัจจุบันมีมาร์เก็ตแค็ปสูงถึง 6.23 แสนล้านดอลลาร์ หลังราคาพุ่งทะลุถึง 665 ดอลลาร์ เทียบกับเมื่อปี 2004 ที่มีมาร์เก็ตแค็ปเพียง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ และเมื่อ 3 ปีก่อนอยู่ที่ 1 แสนล้านดอลลาร์

 

ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดวานนี้ (20 ส.ค.) ลดลง 3.56 จุดหรือ 0.03% ที่ 13,271.64 ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ลดลง 0.03 จุด หรือ 0% ปิดที่ 1,418.13 ดัชนีแนสแด็กร่วงลง 0.38 จุด หรือ 0.01% ปิดที่ 3,076.21

 

ด้านฟากฝั่ง 3 ตลาดหุ้นยุโรปขยับลดลงในทิซทางเดียวกัน โดย FT100 ลอนดอนลบ 0.48% CAC40 ฝรั่งเศสลบ 0.22% และ DAX เยอรมันลบ 0.1%j

 

หุ้นสหรัฐปิดลบ เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤติหนี้ยุโรป หลังจากธนาคารกลางเยอรมนี แสดงความเห็นวิจารณ์ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ที่เตรียมจะซื้อพันธบัตรรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือประเทศยุโรปที่ประสบปัญหา

 

รายงานดังกล่าว ส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการลุกลามของวิกฤตหนี้ ต่างจากช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ซึ่งตลาดทะยานขึ้นอย่างแข็งแกร่ง หลังจากนายมาริโอ ดรากิ ประธานอีซีบี กล่าวว่า อีซีบีอาจจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศที่ประสบปัญหา เพื่อฉุดต้นทุนการกู้ยืมให้ปรับตัวลดลง และข่าวที่ว่านางแองเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ยืนยันเจตนารมณ์ที่จะช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหา

 

นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยวันพุธ สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติจะเปิดเผยยอดขายบ้านมือสองเดือนก.ค. และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเปิดเผยรายงานการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 31 ก.ค.-1 ส.ค. วันพฤหัสบดี กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และกระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยยอดขายบ้านใหม่เดือนก.ค. ส่วนวันศุกร์ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.ค.

 

ดอลล์อ่อนหนุนทองปิดบวก3.60ดอลล์

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์คปิดบวก เพราะได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับมาตรการแก้ไขวิกฤตหนี้ยุโรปยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ส่งมอบเดือนธ.ค.ขยับขึ้น 3.60 ดอลลาร์ หรือ 0.22% ปิดที่ 1,623 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับมาตรการแก้ไขวิกฤตหนี้ยุโรป ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ล่าสุด ธนาคารกลางเยอรมนี แสดงความเห็นวิจารณ์ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ที่เตรียมจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือประเทศยุโรปที่ประสบปัญหา โดยบอกว่า การซื้อพันธบัตร จะก่อให้เกิดความเสี่ยงตามมา ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวบ่งชี้ถึงความคิดเห็นที่ไม่ลงรอยกันมากขึ้นเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในภูมิภาค

 

นักลงทุนจับตาดูความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ว่าจะใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณครั้งใหม่หรือไม่ เพราะมาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ และจะกระตุ้นให้มีแรงซื้อเข้ามาในตลาดทองคำ เนื่องจากทองคำเป็นสินทรัพย์ที่นักลงทุนมักจะถือครองเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ

 

 

 

วิตกตอ.กลาง-ยูโรโซนฉุดน้ำมันไรเม็กซ์ทรงตัวลบ

 

ราคาน้ำมันดิบตลาดสหรัฐปิดตลาด ปรับตัวลง เหตุนักลงทุนวิตกสถานการณ์ตะวันออกกลางและปัญหาหนี้ยูโรโซน

 

ราคาน้ำมันดิบไลท์สวีท ตลาดไนเม็กซ์ สหรัฐ ส่งมอบเดือนก.ย. ปิดที่ 95.97 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ร่วงลง 4 เซนต์ จากระดับราคาปิดเมื่อวันศุกร์ ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ทะเลเหนือ ส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 1 เซนต์ ปิดตลาดที่ 113.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ราคาน้ำมันดิบตลาดสหรัฐ ปิดตลาดร่วงลง เพราะนักลงทุนกังวลปัญหาหนี้ยุโรป และรอฟังผลการประชุมของกลุ่มผู้นำยุโรป ที่ประชุมร่วมกันเพื่อหารือเกี่ยวกับการรับมือกับวิกฤตหนี้สาธารณะในภูมิภาค

 

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนมีมุมมองที่เป็นบวกต่อรายงานข่าวที่ว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียในเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 3% จากเดือนพ.ค. สู่ระดับ 10.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 7.84 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยปริมาณการผลิตของซาอุดิอาระเบียเพิ่มขึ้นแซงหน้ารัสเซีย ที่ผลิตน้ำมันดิบได้ 9.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน

 

แต่นักลงทุนจับตาดูการประชุมผู้นำยุโรป โดยคาดว่านายฌอง-คล้อด ยุงเกอร์ นายกรัฐมนตรีลักเซมเบิร์ก และประธานยูโรกรุ๊ป จะเดินทางไปยังกรุงเอเธนส์ของกรีซในวันที่ 22 ส.ค.นี้ เพื่อหารือกับคำร้องขอของนายแอนโตนิส ซามาราส นายกรัฐมนตรีกรีซ ที่ต้องการขยายโครงการปรับงบประมาณเป็นเวลา 2 ปี ขณะที่นายกรัฐมนตรีซามาราส จะเดินทางไปยังเยอรมนีและฝรั่งเศสในวันที่ 24-25 ส.ค.หลังจากที่นายฟรองซัวส์ ออลลองด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และนางแองเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ประชุมร่วมกันเสร็จสิ้นในวันที่ 23 ส.ค.นี้

 

นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาดูข่าวที่ว่า คณะทำงานของประธานาธิบดีบารัก โอบามา ของสหรัฐ หารือกันเกี่ยวกับการแผนการระบายน้ำมันออกจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ในปีนี้ เมื่อราคาค้าปลีกน้ำมันเบนซินโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเกือบแตะระดบ 4 ดอลลาร์/บาร์เรล และสหภาพยุโรป เตรียมใช้มาตรการระงับการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน

 

ปัจจุบัน สหรัฐมีน้ำมันในคลังยุทธภัณฑ์สำรอง (Strategic Petroleum Reserve - SPR) ในปริมาณปริมาณ 697 ล้านบาร์เรล โดยรัฐบาลสหรัฐ จะระบายน้ำมันออกจากคลังดังกล่าว ก็ต่อเมื่อเกิดภาวะอุปทานตึงตัวที่เป็นผลมาจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ การโจมตีของผู้ก่อการร้าย และสถานการณ์ตึงเครียดทางการเมือง

 

แบงก์ชาติเยอรมนีจวกแผนการซื้อพันธบัตรอีซีบี

 

แบงก์ชาติเยอรมนีจวกแผนการซื้อพันธบัตรอีซีบี ชี้เพิ่มความเสี่ยงต่อเสถียรภาพ

 

ธนาคารกลางเยอรมนี หรือ บุนเดสแบงก์ คัดค้านแผนการซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งบ่งชี้ถึงความคิดเห็นที่ไม่ลงรอยกันมากขึ้นเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในภูมิภาค

 

"ธนาคารกลางเยอรมนี มีความเห็นว่า การซื้อพันธบัตรรัฐบาลในยูโรโซน เป็นเรื่องอันตรายและส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้" ธนาคารกลางเยอรมนีระบุในรายงานประจำเดือน

 

รายงานของบุนเดสแบงก์ ที่เผยแพร่ล่าสุด ระบุว่า แผนการซื้อพันธบัตรครั้งใหม่อาจไม่มีข้อจำกัด และชี้ว่า การจะแบ่งปันความเสี่ยงด้านเสถียรภาพ (Solvency risk) ในภูมิภาคร่วมกันหรือไม่นั้น ควรเป็นการตัดสินใจของรัฐบาลหรือรัฐสภา ไม่ใช่ธนาคารกลาง

 

การแสดงความเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวของธนาคารกลางเยอรมนี สะท้อนให้เห็นว่า นายเจนส์ ไวด์มันน์ ประธานบุนเดสแบงก์ จะไม่สนับสนุนมาตรการของอีซีบีซึ่งกำลังเร่งตัดสินใจเพื่อช่วยลดต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลหลายประเทศในยูโรโซน ควบคู่กับการดำเนินการปฏิรูปทางการคลัง

 

ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของสเปนและอิตาลี ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่าหนึ่งเดือนครึ่ง หลังจากที่นิตยสารแดร์ สปีเกล ของเยอรมนีรายงานว่า แผนการซื้อพันธบัตรครั้งใหม่ของอีซีบีอาจจะมีการกำหนดเพดานผลตอบแทน แต่อีซีบีได้อออกแถลงการณ์ปฏิเสธรายงานข่าวดังกล่าว โดยระบุว่า การรายงานเกี่ยวกับประเด็นที่ยังไม่มีการตัดสินใจอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้

 

ธนาคารกลางเยอรมนี ไม่เห็นด้วยมาโดยตลอดเกี่ยวกับการที่อีซีบีเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล โดยในการแถลงข่าวของอีซีบีเดือนนี้ นายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรปกล่าวว่า ประธานบุนเดสแบงก์เป็นคนเดียวที่ไม่เห็นด้วยกับความเคลื่อนไหวของอีซีบี ที่มีแผนจะเข้าซื้อพันธบัตรมากขึ้น และชี้ว่า การคัดค้านของนายไวด์มันน์เป็นการขัดขวางอีซีบีไม่ให้ดำเนินมาตรการที่เด็ดขาดกว่านี้

 

สื่อเยอรมนีชี้กรีซต้องการเงินอีก1.4หมื่นล้านยูโร

 

นิตยสาร Der Spiegel ของเยอรมนีรายงานว่า กรีซอาจจะต้องปรับลดค่าใช้จ่ายลงอีก 2.5 พันล้านยูโรในช่วง 2 ปีข้างหน้า เพื่อปฏิบัติตามข้อกำหนดของผู้ปล่อยกู้ระหว่างประเทศเพื่อแลกกับความช่วยเหลือทางการเงิน

 

นิตยสารดังกล่าว ระบุถึงรายงานของกลุ่มทรอยกา ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี), ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ว่า กรีซอาจจะต้องการเงิน 1.4 หมื่นล้านยูโรในอีก 2 ปีข้างหน้า เพื่อทำให้ยอดขาดดุลลดลงต่ำกว่า 3% ภายในสิ้นปี 2557 เพิ่มขึ้นจาก 1.15 หมื่นล้านยูโรที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ โดยยอดขาดดุลงบประมาณของกรีซอยู่ที่ 9.3% ในปีที่แล้ว

 

ยอดขาดดุลงบประมาณ ที่เพิ่มขึ้นมาจากความล่าช้าในแผนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และเศรษฐกิจปรับตัวย่ำแย่กว่าที่คาดไว้ โดยกรีซประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นปีที่ 5 แล้ว

 

ผู้แทนกลุ่มทรอยกา ได้เขียนรายงานหลังการเยือนกรุงเอเธนส์ครั้งล่าสุด และจะกำหนดจำนวนเงินที่แท้จริงที่กรีซต้องการในการเยือนกรีซครั้งต่อไปในช่วงต้นเดือนหน้า

 

"คณะผู้แทนยังวิจารณ์ในรายงานว่า รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีแอนโทนิส ซามาราสไม่สามารถชี้แจงว่า ควรจะลดค่าใช้จ่าย 1.15 หมื่นล้านยูโรอย่างไร"นิตยสาร ระบุ

 

เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว เจ้าหน้าที่รัฐบาลกรีซกล่าวว่า กรีซมีความคืบหน้าในการลดค่าใช้จ่าย โดยตกลงที่จะลดค่าใช้จ่าย 1.08 หมื่นล้านยูโรจาก 1.15 หมื่นล้านยูโรตามข้อเรียกร้อง

 

ขณะที่ นายซามาราสจะหารือกับผู้นำของฝรั่งเศสและเยอรมนีในสัปดาห์นี้ รวมทั้งนายฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธานรมว.คลังยูโรกรุ๊ป คาดว่าจะล็อบบี้ให้มีการขยายเส้นตายในการลดยอดขาดดุลงบประมาณของกรีซออกไปอีก 2 ปี

 

หนังสือพิมพ์กรีซฉบับหนึ่ง รายงานว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังคำนวณว่า เศรษฐกิจกรีซ จะฟื้นตัวเร็วขึ้น และจะมีความสามารถมากขึ้นในการชำระหนี้ ถ้ากรีซได้รับผ่อนผันอีก 2 ปี แต่ผู้นำของประเทศเจ้าหนี้อาจจะไม่อนุมัติให้ง่ายๆ แต่มีเงื่อนไขข้อหนึ่งในโครงการช่วยเหลือวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร (1.607 แสนล้านดอลลาร์) แก่กรีซ ที่ระบุว่า อาจจะมีการขยายเวลาสำหรับการปรับยอดขาดดุลถ้าหากภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงเกินคาด

 

เศรษฐกิจกรีซหดตัวลง 6.35% ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เทียบกับที่อียู และไอเอ็มเอฟคาดว่าจะหดตัวลง 4.7% ทั้งปี และนายซามาราสกล่าวในเดือนที่แล้วว่า เศรษฐกิจกรีซจะหดตัวลงกว่า 7% ในปีนี้

 

ที่มา : สิทธิชัยหยุ่น(วันที่ 21 สิงหาคม 2555)

 

ข่าวยางพาราล่าสุด

เกษตรกรปลูกยางสุรินทร์สร้างรายได้ครัวเรือนละ 259,029 บาท รวมกว่า 598.10 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา(21/08/2555)

วิตกหนี้ยุโรปสยบหุ้น-น้ำมันลบสวนทางทองแกร่ง (21/08/2555)

ปตท.ประเมินแนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 20-24 ส.ค. 55 (21/08/2555)

กสิกรไทยชี้ศก.Q2โตสูงกว่าคาดทำให้คงประมาณการจีดีพีทั้งปีที่5.0%(21/08/2555)

ส.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของนักลงทุนของเยอรมนีลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 (21/08/2555)

ก.ค.การส่งออกของสิงคโปร์ขยายตัว 5.8% (21/08/2555)

อินโดนีเซียวางแผนเพิ่มการลงทุนในปีหน้า 15%เพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ (21/08/2555)

Q2อุปสงค์ทองคำในจีนอยู่ที่ 144.9 ตัน (21/08/2555)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นช่วงเช้าวันนี้ ก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยยอดขายบ้านและยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.ค.ในสัปดาห์นี้ เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าข้อมูลดังกล่าวจะแข็งแกร่งขึ้น

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific Index (MXAP) บวก 0.2% ที่ระดับ 120.91 จุด ณ เวลา 9.40 น.ตามเวลาโตเกียว

 

ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 9,165.15 จุด ลดลง 6.01 จุด, ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 20,111.97 จุด เพิ่มขึ้น 7.7 จุด, ดัชนีเวทเต็ดตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 7,459.50 จุด เพิ่มขึ้น 27.59 จุด, ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นโซลเปิดวันนี้ที่ 1,954.51 จุด เพิ่มขึ้น 8.20 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,061.91 จุด ลดลง 0.20 จุด และดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 4,365.00 จุด เพิ่มขึ้น 0.70 จุด

 

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดทำการวันนี้ เนื่องในวันหยุด

 

หุ้นซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้น 0.9% ในโซล, หุ้นวู้ดไซด์ ปิโตรเลียม บวก 2.2% ในออสเตรเลีย ขณะที่หุ้นชาร์ป คอร์ป ลดลง 1.7%

 

สหรัฐมีกำหนดเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญหลายตัวในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสองเดือนก.ค. ในคืนวันพุธ, ยอดขายบ้านใหม่เดือนก.ค. ในคืนวันพฤหัสบดี และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.ค. ในช่วงค่ำวันศุกร์

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 21 สิงหาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 31.49/51 บาทดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าเล็กน้อยจากเย็นวานนี้ที่ระดับ 31.51/53 บาท/ดอลลาร์ และเมื่อเวลา 08.55 น.ขยับแข็งค่ามาอยู่ที่ระดับ 31.47/49 บาท/ดอลลาร์ โดยเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับค่าเงินภูมิภาค

 

"(เงินบาท) ขยับแข็งค่าจากเย็นวานนี้ แต่ยังอยู่ในกรอบ" นักบริหารเงิน กล่าว

 

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทยังเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโรเป็นสำคัญ เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามาเพิ่มเติม

 

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศที่สำคัญ เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2256/2257 ดอลลาร์/ยูโร ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับ 1.2318/2322 ดอลลาร์/ยูโร ส่วนเงินเยนอยู่ที่ระดับ 79.38/39 เยน/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจากระดับ 79.46/49 เยน/ดอลลาร์

 

นักบริหารเงินประเมินค่าเงินบาทวันนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.45-31.60 บาท/ดอลลาร์

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 21 สิงหาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การผลิตทองคำของฟิลิปปินส์ในครึ่งแรกของปีนี้ ลดลง 63% สู่ 8,382 กิโลกรัม

 

แหล่งข่าวในรัฐบาลฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า การผลิตทองคำของฟิลิปปินส์ลดลง 63% เมื่อเทียบรายปี สู่ 8,382 กิโลกรัม เนื่องจากธนาคารกลางฟิลิปปินส์ลดการซื้อทองคำลง 95% ในครึ่งแรกของปีนี้

 

ทั้งนี้ สำนักงานเหมืองแร่และวิทยาศาสตร์ธรณีวิทยา (MGB) กระทรวงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (DENR) ของฟิลิปปินส์เปิดเผยในวันนี้ว่า ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ซื้อทองคำเพียง 786 กิโลกรัมในช่วง 6 เดือนแรกของปี เมื่อเทียบกับจำนวน 15,003 กิโลกรัมที่ซื้อในปีที่แล้ว

         

นายลีโอ ฮาซาเรโน ผู้อำนวยการ MGB แถลงว่า “ด้วยเหตุนี้ การซื้อทองคำของธนาคารกลางฟิลิปปินส์จึงมีสัดส่วนเพียง 9.37% ของการผลิตทองคำทั้งหมด เมื่อเทียบกับ 74% ในปีที่แล้ว"

        

นายรามอน ปาเจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม แถลงว่า เมื่อพิจารณาจากราคาทองคำที่ปรับตัวสูงต่อเนื่องและจำนวนเหมืองแร่ทองคำขนาดเล็กที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก การที่ธนาคารกลางซื้อทองคำลดลงจึงบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าทองคำที่ผลิตกำลังเข้าสู่ตลาดมืดและมีการลักลอบซื้อขายทองคำ

 

ที่มา : money channel (วันที่ 21 สิงหาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หลังจากมีกระแสข่าวว่า ทำเนียบขาวกำลังพิจารณาที่จะระบายน้ำมันออกจากคลังสำรองเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อกดราคาน้ำมันเบนซินที่กำลังสูงขึ้น//ล่าสุด ประเทศพันธมิตรของสหรัฐในเอเชีย และผู้อำนวยการสำนักงานพลังงานสากล หรือ IEA บอกว่ายังไม่จำเป็นต้องดำเนินการดังกล่าว

 

นางมาเรีย แวน เดอร์ โฮเวน  ผู้อำนวยการของ IEA บอกว่า ยังไม่มีเหตุผล ที่จะต้องระบายน้ำมันจากคลังสำรองเชิงยุทธศาสตร์ เพราะเมื่อประเมินจากข้อมูลและความเป็นจริงแล้ว พบว่า ตลาดยังมีปริมาณน้ำมันเพียงพอ

 

ขณะเดียวกัน  อังกฤษและฝรั่งเศส มีท่าทีเปิดกว้างที่จะหารือความเป็นไปได้ในการระบายน้ำมันจากสต็อก แต่เจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ บอกเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า ยังไม่มีเหตุผลที่จะทำเช่นนั้น 

 

ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันเบนซินของสหรัฐ ยังปรับสูงขึ้น ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 6 พฤศจิกายน ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ก็อาจเผชิญแรงกดดันให้ต้องระบายน้ำมันจากสต็อก เพื่อกดราคาน้ำมันให้ลดลง 

 

ที่มา : money channel (วันที่ 21 สิงหาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กูรูมองวิกฤติหนี้ยุโรปนานกว่าคาด จับตาเดือนก.ย.ศาลเยอรมนีชี้ขาด จุดพลิกผันการเงินโลก

 

 

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ในครึ่งปีหลัง สศช.ได้การปรับประมาณการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศใหม่ โดยประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะขยายตัวประมาณ 5.5-6.0%

 

การประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2555 คาดว่าจะขยายตัว 5.5 – 6.0% จากการขับเคลื่อนของอุปสงค์ภายในประเทศ และการเร่งตัวขึ้นของภาคอุตสาหกรรมในครึ่งปีหลัง โดยคาดว่าการบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมจะขยายตัว 4.8% และ 11.3% ตามลำดับ

 

ในขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัว 7.3% ลดลงจากประมาณการเดิมเมื่อวันที่ 21 พ.ค.ที่คาดว่าจะขยายตัว 15.1%

 

ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วง2.9 – 3.4% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 0.1% ของ GDP

 

การประมาณการเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัว5.5 – 6.0% เทียบกับการขยายตัว 0.1% ในปี 2554 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 2.9 – 3.4% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 0.1% ของ GDP เทียบกับเฉลี่ย 3.8% และ3.4% ของ GDP ในปี 2554

 

ในการแถลงข่าววันที่ 20 สิงหาคม 2555 สศช. ได้ปรับช่วงการประมาณการทางเศรษฐกิจให้แคบลงจาก 5.5 – 6.5% ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 เป็น 5.5 – 6.0% ในการประมาณการครั้งนี้ โดยมีเหตุผลที่สำคัญ ๆ คือ การปรับสมมติฐานการประมาณการโดยเฉพาะสมมติฐาน ด้านอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก รวมทั้งสมมติฐานด้านราคาส่งออกและนำเข้าซึ่งมีสาเหตุมาจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

 

ขณะที่ความล่าช้าในการฟื้นตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมในประเทศซึ่งในประมาณการเดิมคาดว่าจะสามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ภายในครึ่งปีแรก เหตุผล ทั้ง 2 ประการดังกล่าวทำให้โอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเกิน 6.0% ลดลง

 

 

ผลกระทบจากภายนอกที่ส่งผลต่อภาคการส่งออกอย่างชัดเจนที่สุด คือ วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหภาพยุโรป ซึ่งขณะนี้ ยังมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเรื่อยๆ โดยมีบางส่วนที่มีสัญญาณการปรับตัวที่ดีขึ้น เช่น การปรับตัวของธนาคารและสถาบันการเงินในสเปนหลังจากที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากธนาคารกลางยุโรปตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

 

"ในยุโรปสถานการณ์ยังไม่นิ่ง แม้ในบางส่วนจะมีทิศทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น มีสัญญาณที่อาจนำไปสู่การฟื้นตัวได้ แต่อาจจะเป็นการฟื้นตัวแค่ชั่วคราว เพราะการได้รับเงินช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆ หรือองค์กรภายนอกก็อาจทำให้เศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ กระเตื้องขึ้นในช่วงสั้น แต่ปัญหาในการมีรายจ่ายมากก็ยังเป็นปัญหาที่ยุโรปต้องแก้ไข แน่นอนว่า ต้องมีการรัดเข็มขัดก็อาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อบางรายสินค้าของไทยที่ส่งออกไปยังตลาดดังกล่าว" นายอาคมกล่าว

 

@ธปท.ชี้ยังไม่มีปัจจัยใหม่

 

 

นายประสาร  ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.จะแถลงภาวะเศรษฐกิจครั้งต่อไปเมื่อสิ้นไตรมาส 3  ซึ่งเมื่อพิจารณาสถานการณ์ในปัจจุบันแล้วยังไม่มีปัจจัยที่มีผลต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ จึงทำให้ ธปท.ยังคงประมาณการเศรษฐกิจตามเดิมไว้

 

โดยปกติ ธปท.จะแถลงประมาณการเศรษฐกิจทุกไตรมาส  แต่ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีการประเมินภาวะเศรษฐกิจทุกครั้ง  และการประชุมครั้งล่าสุด ธปท.ขออนุญาต กนง.เพื่อขอแถลงภาวะเศรษฐกิจล่าสุดเลยเพื่อให้ประชาชนเข้าใจเหตุผลจึงทำให้การแถลงครั้งที่แล้วเกิดขึ้นก่อนกำหนด

 

ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา ธปท.ปรับประมาณการเศรษฐกิจปี 2555 เหลือ 5.7 % ลดลงจากประมาณการเดิมที่ 6% เนื่องจากมีปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจที่สมควรแถลงให้ประชาชนทราบ  และถ้าไม่แถลงอาจส่งผลให้นักธุรกิจต่อการวางแผนธุรกิจของผู้ประกอบการ

 

ธปท.เห็นว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจเปิดจึงแยกตัวจากผลกระทบจากเศรษฐกิจสหภาพยุโรป (อียู) ไม่ได้  โดยปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบ 3 คือ 1. การค้าระหว่างประเทศ 2. ตลาดการเงิน 3. สถาบันการเงิน  ซึ่งไทยจะได้รับผลกระทบต่อการส่งออกมากกว่าตลาดการเงินและสถาบันการเงิน

 

"กระทบต่อธุรกิจที่ผลิตเพื่อส่งออกไปอียูและสหรัฐ  รวมทั้งส่งผลต่อการส่งออกไปเอเชียด้วย และต่อไปอาจกระทบการผลิตในประเทศ และอาจกระทบกับการบริโภคในประเทศ จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป"

 

@ชี้ต้องเตรียมรับวิกฤตินานกว่าคาด

 

 

น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (สแตนชาร์ต) กล่าวว่า ปัญหาวิกฤติหนี้รัฐยุโรปยังไม่จบและยังแก้ไม่ได้ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญสุดที่กำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยครึ่งหลังปีนี้

 

"ยิ่งวิกฤติยืดเยื้อถึงปีหน้า ยิ่งเป็นความเสี่ยงหลักสำคัญ ไทยจึงต้องตระหนักว่าผลกระทบเกิดกับเศรษฐกิจอาจจะยืดเยื้อมากกว่าคาดไว้ได้ ยิ่งปัญหาแก้ไม่ตกแน่นอนเป็นความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยกับโลกชะลอตัวยาวไม่หยุดแค่ครึ่งหลังปีนี้"

 

สิ่งที่น่ากังวล คือ หากมีบางอย่างไม่เป็นไปตามคาด ถ้าวิกฤติยุโรปขยายวงกว้าง ซึ่งขณะนี้ลุกลามในสเปนแล้ว รอเพียงแค่การขอความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการเหมือนกรีซ และถ้าวิกฤติลามจากสเปนไปอิตาลี  จะทำให้ปัญหาทวีความรุนแรงมากในอนาคต กลายเป็นความตกใจและอาจทำให้ความเชื่อมั่นการบริโภคและลงทุนแย่กว่าเดิม ตลาดเงินผันผวนมากขึ้น ปฏิกิริยาผู้กำหนดนโยบายการเงินการคลังมีมากกว่าเดิม กลายเป็นผู้คนตกใจบวกความผันผวนตามมา

 

"ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ นักลงทุนและผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกตระหนักอยู่แล้วว่าโลกมีแนวโน้มชะลอตัว แต่ส่วนใหญ่ก็ยังมองว่าเศรษฐกิจปีหน้าน่าจะดีกว่าปีนี้ถือเป็นความเสี่ยง ทุกฝ่ายจึงต้องมองถึงเศรษฐกิจปีหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงไว้ ไม่ใช่วางแผนแค่ครึ่งหลังปีนี้ไม่พอ แต่ต้องวางแผนเผื่อปีหน้าเลย"

 

@จับตาคำชี้ขาดศาล รธน.เยอรมนี 12 ก.ย.

 

ปัจจัยเสี่ยงต้องจับตาเฝ้าระวังในครึ่งหลังปีนี้ น.ส.อุสรา กล่าวว่า เรื่องแรก คือ วันที่ 12 กันยายนนี้ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีจะพิจารณาว่าเห็นชอบกับรัฐบาลหรือไม่ในการตั้งกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (อีเอสเอ็ม) แบบถาวร ถ้าไม่เห็นชอบเพราะเยอรมนีถือเป็นเสาหลักมีเงินเยอะสุดในยูโรโซน 17 ชาติ กลายเป็นประเด็นสำคัญคนตีความว่าแย่ขาดความเชื่อมั่นและวิกฤติลุกลามปั่นป่วนได้อีกรอบ

 

เรื่องที่สองวิกฤติจะลามจากสเปนไปอิตาลีหรือไม่ต้องตามดูใกล้ชิดช่วง 6 เดือนหน้า ถ้าเกิดจริงสะท้อนว่าวิกฤติยุโรปยังไม่ถึงจุดต่ำสุดเหมือนไฟยังไม่หยุดไหม้ความเสียหายยิ่งกินวงกว้าง สุดท้ายเป็นเรื่องต้องตามดูเจ้าหนี้กรีซจะเอาอย่างไรกับกรีซ ซึ่งผลออกมาในเดือนกันยายนนี้

 

"ปัจจัยเสี่ยงจะมากระจุกตัวในเดือนกันยายน ถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำหรับทิศทางตลาดเงินโลกและทิศทางเศรษฐกิจโลกปีหน้า แต่ความเสี่ยงเหล่านี้ก็ถือเป็นแผนที่การเดินทางให้นักธุรกิจ นักลงทุนและผู้กำหนดนโยบายในไทยจัดการวางแผนตัวเองในปีหน้าเช่นกัน"

 

 

เมื่อให้มองปัจจัยบวกช่วยบรรเทาผลกระทบเกิดกับไทย น.ส.อุสราเห็นว่าอันดับแรกราคาน้ำมันระยะยาวเฉลี่ยปีหน้าไม่น่าสูงกว่าปีนี้ ซึ่งน่าจะอยู่ระดับใกล้เคียงกัน โดยราคาน้ำมันต่ำจะช่วยลดแรงกดดันมูลค่านำเข้ากับเงินเฟ้อ ดังนั้น ไทยมีโอกาสใช้นโยบายการเงินกระตุ้นเศรษฐกิจถ้าจำเป็น โดยไม่ต้องห่วงเงินเฟ้อ อันดับสองไทยมีกำลังใช้นโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะหนี้ภาครัฐของไทยยังต่ำราว 40% ของจีดีพี

 

สุดท้ายปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจไทยค่อนข้างแข็งแกร่ง พิจารณาจากสถานะการคลังแข็งแกร่ง ภาคเอกชนมีงบบัญชีแข็งแกร่ง และภาคการเงินกับธนาคารแข็งแกร่งเช่นกัน เหตุวิกฤติครั้งนี้ความแรงไม่น้อยกว่าวิกฤติซับไพร์ม และจะยากกว่าเพราะวิกฤติครั้งนี้ยืดเยื้อไม่จบเร็วเหมือนซับไพร์ม แต่เศรษฐกิจไทยน่าจะมีภูมิคุ้มกันอยู่ แม้แรงกระแทกจากเศรษฐกิจโลกชะลอ การถดถอยยุโรปกระทบส่งออก อย่างไรก็ตาม ผลสุดท้ายจะกระทบต่อจีดีพีไทย

 

น.ส.อุสรา เสนอว่าหากวิกฤติยุโรปลากยาวต่อเนื่อง วิธีการบริหารจัดการต้องแตกต่างกัน กล่าวคือ ไทยอาจต้องเก็บกระสุนหรือยาที่มีอยู่อย่างจำกัดไว้ใช้ในยามจำเป็น คือ อาจจำเป็นต้องลดดอกเบี้ยเพื่อหนุนความเชื่อมั่น แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าจังหวะกับเวลาเหมาะสมว่าจะใช้กระสุนหรือยาเมื่อใด จึงต้องรอใช้ตอนชัดเจนช่วงวิกฤติลุกลามจริงๆ

 

"คิดว่าอย่างกรณีเฟดเขามีคิวอี 3 แน่ๆ เพียงแต่ว่าเขารอดูให้เห็นจุดต่ำสุดของวิกฤติหนี้ยุโรปเสียก่อนแล้วค่อยใช้ สำหรับไทยทุกคนเห็นตรงกันว่าการลดดอกเบี้ยช่วยหนุนเศรษฐกิจไทยได้ แต่อาจต้องใจเย็นรอจุดต่ำสุดของวิกฤติ จึงใช้นโยบายลดดอกเบี้ยดึงความเชื่อมั่นให้ถูกเวลา" น.ส.อุสรากล่าวปิดท้าย

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 20 สิงหาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายจอร์จ อัสมุสเซน สมาชิกสภาบริหารของธนาคารกลางยุโรป กล่าวว่า กรีซควรจะอยู่ในกลุ่มยูโรโซนต่อไป เนื่องจากการออกจากกลุ่มจะส่งผลกระทบอย่างมาก อีกทั้งยังทำให้การว่างงานในยุโรปเพิ่มสูงขึ้น

 

ส่วนทางด้าน นายโวล์ฟกัง ชอยเบล รัฐมนตรีคลังเยอรมนี บอกว่า ความช่วยเหลือที่ให้แก่กรีซมีขอบเขตจำกัด และกรีซไม่ควรคาดหวังว่า จะมีการจัดทำมาตรการให้ความช่วยเหลือจากต่างประเทศเพิ่มอีก

 

สำหรับสัปดาห์นี้ บรรดาผู้นำยูโรโซนจะมีการเดินสายหารือเรื่องวิกฤตนี้ โดย นายฌอง-คล้อด ยุงเกอร์ นายกรัฐมนตรีลักเซมเบิร์ก ประธานคณะรัฐมนตรีคลังยูโรโซน หรือ ยูโรกรุ๊ป จะเดินทางไปกรีซในวันพุธที่ 22 สิงหาคมนี้ เพื่อหารือกับนายกรัฐมนตรีกรีซ  เรื่องการให้เวลากรีซเพิ่มอีก 2 ปี เพื่อปฏิบัติเงื่อนไขการคลังที่เจ้าหนี้กำหนด เพื่อแลกกับการรับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ จากนั้น ในวันที่ 24 และ 25 นายกรัฐมนตรีกรีซ จะเดินทางไปเยอรมนี เพื่อพบปะหารือกับนายฟรองซัวส์ โอลลองด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และนางแองเจลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ต่อไป

 

ที่มา : money channel (วันที่ 21 สิงหาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายจอร์จ อัสมุสเซน สมาชิกสภาบริหารของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวว่า กรีซควรจะอยู่ในกลุ่มยูโรโซนต่อไป เนื่องจากการออกจากกลุ่มจะส่งผลกระทบอย่างมาก อีกทั้งยังทำให้อัตราว่างงานในยุโรปเพิ่มสูงขึ้น

 

การแสดงความคิดเห็นดังกล่าวมีขึ้นก่อนหน้าการหารือระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนีและกรีซในวันนี้

 

ทั้งนี้ ประธานาธิบดีฟรังซัวส์ ออลลองด์ ของฝรั่งเศส และนายกรัฐมนตรีแองเจลา แมร์เคล ของเยอรมนี จะประชุมร่วมกันในวันที่ 23 ส.ค.นี้ ขณะที่นายกรัฐมนตรีอันโตนิส ซามาราส ของกรีซ จะเดินทางไปเยอรมนีวันถัดไป ก่อนที่จะเดินทางไปยังฝรั่งเศสในวันที่ 25 ส.ค.

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 21 สิงหาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ระบุในรายงานฉบับหนึ่งว่ากลุ่มประเทศสมาชิกที่อ่อนแอของยูโรโซน อย่าง กรีซและไอร์แลนด์อาจจำเป็นต้องใช้เวลาจนถึงปี 2559 เพื่อหนุนฐานะการคลังที่ไม่มั่นคงให้เสร็จสมบูรณ์ ขณะที่การจัดการวิกฤตในกลุ่มประเทศที่ย่ำแย่ได้ดำเนินไปเพียงครึ่งทาง

 

มูดี้ส์ระบุว่าสเปน โปรตุเกสและอิตาลีอาจจะพ้นจากภาวการณ์ที่ยากลำบากในปัจจุบันภายในปี 2556 และทั้ง 5 ประเทศข้างต้นได้ดำเนินการปฏิรูปที่ยากลำบากแต่มีความจำเป็นแล้ว

 

อย่างไรก็ตาม มูดี้ส์ระบุว่าการปฏิรูปดังกล่าวได้ดำเนินไปเพียงครึ่งทางเป็นอย่างมากที่สุดในขณะนี้

 

รายงานชี้ว่า การปฏิรูปเชิงโครงสร้างมีความสำคัญเชิงพื้นฐานต่อการเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันในประเทศที่มีฐานะเศรษฐกิจอ่อนแอ ขณะที่มีความเป็นไปได้ที่นโยบายที่มีความจำเป็นจะไม่ได้มีการดำเนินการอย่างเต็มที่ โดยความรับผิดชอบส่วนใหญ่อยู่ที่รัฐบาลของแต่ละประเทศ มากกว่าการสนับสนุนจากต่างชาติ

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 21 สิงหาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ตลาดล่วงหน้าลอนดอนปิดปรับตัวลงในวันจันทร์ หลังการซื้อขายที่ผันผวน ขณะที่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความพยายามของธนาคาร กลางยุโรป (อีซีบี) ที่จะแก้ไขวิกฤติหนี้ถ่วงราคาน้ำมันลง แต่ปริมาณน้ำมันดิบ ทะเลเหนือที่ตึงตัวและความปั่นป่วนในตะวันออกกลางเป็นแรงหนุนตลาด

 

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.ปิดลบ 1 เซนต์หรือ 0.01% สู่ระดับ 113.70 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังปรับตัวในช่วง 112.87- 114.70 ดอลลาร์

 

ที่มา : ทันหุ้น (วันที่ 21 สิงหาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดโลหะมีค่ายุโรป:ราคาพลาตินั่มทะยานจากวิตกอุปทานในแอฟริกาใต้

 

 

ราคาทองปิดตลาดยุโรปปรับตัวขึ้นในวันจันทร์ ขณะที่ราคาพลาตินั่ม ทะยานขึ้นเกือบ 2% แตะระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือนหลังจากความรุนแรงที่ เหมืองในแอฟริกาใต้ทำให้เกิดแรงซื้อเก็งกำไรจากความวิตกเกี่ยวกับอุปทาน

พลาตินั่ม

 

ราคาโลหะเงินและพัลลาเดียมปิดตลาดปรับตัวขึ้นเช่นกัน

 

ระดับปิดของราคาโลหะมีค่าในตลาดลอนดอนเป็นดังนี้

ทอง - ปิดที่ 1,620.09 ดอลลาร์/ออนซ์ บวก 4.50 ดอลลาร์

เงิน - ปิดที่ 28.77 ดอลลาร์/ออนซ์ บวก 0.74 ดอลลาร์

พลาตินั่ม - ปิดที่ 1,485.20 ดอลลาร์/ออนซ์ บวก 20.70 ดอลลาร์

พัลลาเดียม - ปิดที่ 603.50 ดอลลาร์/ออนซ์ บวก 1.20 ดอลลาร์

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โบรกคาดตลาดแกว่งกรอบแคบจากแรงเก็งกำไร

ข่าวเศรษฐกิจ วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2555 10:18น.

 

นักวิเคราะห์ คาด ตลาดแกว่งกรอบแคบ จากแรงเก็งกำไร จับตาผลหารือแกนนำยุโรปกับ รบ.กรีซ กรณีขอยืดแผนรัดเข็มขัด ออกไปอีก 2 ปี ให้แนวรับ 1,205 - 1,225 จุด แนวต้าน 1,235 - 1,245 จุด

 

นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วันนี้ว่า ตลาดมีโอกาสที่จะเกว่งตัวในกรอบแคบ จากแรงเก็งกำไรที่คาดว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรในตลาดรองลดลง หลังจากมีรายงาน ECB จะใช้มาตรการซื้อพันธบัตร แต่อาจจะไม่ประกาศจำกัดดอกเบี้ย และจนกว่าจะมีความชัดเจน ตลาดจะเกว่งตัวจากความไม่แน่นอน จนถึงต้นเดือนกันยายน ส่วนในระยะสั้น จะต้องรอดูผลการประชุม ระหว่างแกนนำยุโรป กับรัฐบาลกรีซ ในวันพรุ่งนี้ ว่า จะมีการยืดเวลาการรัดเข็มขัดไปอีก 2 ปีได้หรือไม่ โดยวันนี้ให้แนวรับที่ 1,205 - 1,225 จุด  แนวต้านที่ 1,235 - 1,245  จุด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เผย "โอบาม่า" ไม่ใช่ผู้นำที่เด็ดขาด ชี้"คลินตัน" คือตัวจริง

 

 

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซท์แท็บลอยด์ เดลี่เมล ของอังกฤษ รายงานอ้างบางส่วนในหนังสือเล่มใหม่ล่าสุด " ลีดดิ้งฟรอม บีฮายด์ : เดอะ รีลักเทิ่นท์ เพรสสิเด๊นท์ แอนด์ ดิ แอดไวเซอร์ส ฮู ดีไซด์ ฟอร์ ฮิม " ( Leading from Behind: The Reluctant President and the Advisors Who Decide for Him )ที่มีกำหนดจะวางจำหน่ายในวันนี้ว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ของสหรัฐ ได้ล้มเลิกภารกิจสังหารโอซาม่า บิน ลาเดน ผู้นำเครือข่ายก่อการร้ายอัล ไกดา ถึง 3 ครั้ง ก่อนจะตัดสินใจสั่งเดินหน้าภารกิจในที่สุด หลังจากนางฮิลลารี่ คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศ ยืนยันให้เดินหน้าต่อไป

 

ผู้ที่เจาะลึกเรื่องราวความลับระดับเอ็กซ์คลูซีพนี้ คือ ริช มินิเตอร์ อดีตผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์วอลล์ สตรีท เจอร์นัล , วอชิงตัน ไทม์ส และซันเดย์ ไทม์ส ออฟ ลอนดอน โดยอ้างการเปิดเผยของแหล่งข่าวในศูนย์บัญชาการปฏิบัติการพิเศษร่วม ที่ระบุว่า ภารกิจสังหารบิน ลาเดน ถูกโอบาม่าล้มเลิกไปถึง 3 ครั้ง คือ ในเดือนมกราคม , กุมภาพันธ์และมีนาคม ปี 2554 ซึ่งแย้งกับสิ่งที่ทำเนียบขาวได้บรรยายภาพของโอบาม่าว่า เป็นผู้นำที่เด็ดเดี่ยว ตัดสินใจเฉียบขาดในการออกคำสั่งสังหารบิน ลาเดน แม้ว่าเหล่าที่ปรึกษาของเขาจะไม่แน่ใจในภารกิจนี้ก็ตาม

 

การสังหารบิน ลาเดน ถูกนำมาใช้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ของโอบาม่า และมีแนวโน้มที่คณะที่ปรึกษาของเขา จะหยิบยกขึ้นมาเป็นไฮไลท์สำคัญอีกครั้ง ในวาระครบรอบปีที่ 11 ของเหตุวินาศกรรมโจมตีสหรัฐ เมื่อวันที่ 11 กันยายน ในเดือนหน้า ซึ่งตัวโอบาม่าเอง ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักอยู่แล้วจากบรรดาอดีตหน่วยซีลส์ ที่เชิดชูบทบาทของตัวเองในภารกิจสังหารบิน ลาเดน

 

ปัจจุบัน ยังไม่มีใครกล้าเปิดเผยว่า โอบาม่าไม่เต็มใจออกคำสั่งให้สังหารบิน ลาเดน แต่ในหนังสือของมินิเตอร์ ระบุว่า นางคลินตัน คือกำลังหลักที่อยู่เบื้องหลังการปลิดชีพบิน ลาเดน และโอบาม่าผู้ไม่เด็ดขาด ก็ถูกครอบงำโดยเหล่าผู้หญิงที่ทรงอิทธิพล ตั้งแต่นางคลินตัน ,นางวาเลอรี่ จาร์เร็ตต์ ที่ปรึกษาคนสำคัญ พันธมิตรเก่าแก่ตั้งแต่สมัยเขายังอยู่ทีชิคาโก ที่เป็นคนบอกให้เขายกเลิกภารกิจสังหารบิน ลาเดน ครั้งแรกในจำนวน 3 ครั้ง และนางมิเชล สุภาพสตรีหมายเลข 1

 

มินิเตอร์ ระบุว่า นายลีออน พาเน็ตต้า พันธมิตรสำคัญของนางคลินตัน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางของสหรัฐ หรือ ซีไอเอ และปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม , พลเอกเดวิด เพตราอุส ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสหรัฐและกองกำลังขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต้ ในอัฟกานิสถานและปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการซีไอเอ ต่างต้องการให้นำตัวบิน ลาเดน ไปเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

 

ในหนังสือ ระบุด้วยว่า ตอนเริ่มเข้ารับตำแหน่งใหม่ ๆ โอบาม่า ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาดว่า จะสังหารบิน ลาเดน หรือไม่ เขาไม่ยอมเอาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องแม้แต่ประเด็นเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีบิน ลาเดน และมักปล่อยให้การตัดสินใจที่สำคัญนี้อยู่ในความรับผิดชอบของนายพาเน็ตต้า , นายโรเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกลาโหมในสมัยนั้นและนางคลินตัน เพราะเขากลัวว่าตัวเองจะต้องรับผิดชอบในปฏิบัติการโจมตีที่เสี่ยง และอาจจะเกิดความผิดพลาดอย่างมหันต์

 

มินิเตอร์ บอกด้วยว่า โอบาม่าคอยแต่ฟังนางจาร์เร็ตต์ว่าจะไล่ล่าบิน ลาเดน ดีหรือไม่ ซึ่งนางจาร์เร็ตต์ต่อต้านแนวคิดนี้ เธอวิตกต่อผลที่จะกระทบถึงโอบาม่า ถ้าปฏิบัติการเกิดล้มเหลว

หรือแม้ว่าจะสำเร็จก็ตาม ซึ่งนางคลินตันไม่พอใจจุดยืนของนางจาร์เร็ตต์อย่างมาก และตลอดปี 2552 โอบาม่าได้เรียกขอข้อมูลข่าวเกรองเกี่ยวกับบิน ลาเดน ไม่หยุดหย่อน ขณะที่นางจาร์เร็ตต์พยายามเตือนโอบาม่าและเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนอื่น ๆ ตระหนักถึงความล้มเหลวด้านข่าวกรองในสมัยของจอร์จ ดับเบิลยู บุช

 

ตอนที่ซีไอเอ ประสบความสำเร็จในการรวบรวมข่าวกรองและพิสูจน์ได้ว่า บิน ลาเดน กบดานอยู่ที่เมืองอับบอตตาบัด ก็เกิดการวางหมากถ่วงเวลาจนต้องมีการถกเถียงกันว่าจะทำอย่างไรต่อไป และแม้นางคลินตัน จะเป็นผู้แพ้ในศึกชิงการเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อปี 2551 แต่เธอกลับมีชัยเหนือโอบาม่าและมีอิทธิพลเต็มที่ในระหว่างการประชุมรายสัปดาห์ที่ห้องทำงานรูปไข่ รวมถึงการตัดสินใจปลิดชีพบิน ลาเดน ด้วย

 

นางคลินตัน ทราบดีว่า บิล คลินตัน สามีของเธอ ต้องได้รับผลกระทบทางการเมืองหนักเพียงใดตอนที่ไม่อาจยับยั้งบิน ลาเดน ได้ก่อนที่จะเกิดวินาศกรรม เมื่อ 11 กันยายน และทราบดีว่าโอบาม่าก็จะต้องเจ็บตัวเหมือนกัน ถ้าไม่จัดการบิน ลาเดน ทั้งที่รู้แหล่งกบดาน และแม้โอบาม่าจะทราบดีว่าควรจัดการกับบิน ลาเดน แต่เขาก็ยังไม่ตัดสินใจอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเกรงว่าจะเกรงว่า จะเกิดการสูญเสียชีวิตชาวอเมริกัน และปากีสถาน ไปในปฏิบัติการครั้งนี้ ทั้งนี้การปลิดชีพบิน ลาเดน เป็นการตัดสินใจครั้งที่ 4 ของโอบาม่า แต่ทำเนียบขาวได้แถลงว่า เพราะสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้ปฏิบัติการล่าช้าออกไป แต่ในหนังสือของมินิเตอร์ได้มีรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพอากาศของของศูนย์พยากรณ์อากาศของกองทัพอากาศด้วยว่าสภาพอากาศแจ่มใสเหมาะสำหรับปฏัติการบุกของหน่วยซีล

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:Hi สวัสดียามสายค่ะคุณป๋า คุณDJ คุณเก้ียมอี๋ คุณpasaya คุณluk คุณarthas และทุกๆท่านนะคะ

มีความสุข ร่ำรวย เฮงกันทุกท่านนะคะ

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...