ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

อรุณสวัสดิ์เช้าวันศุกร์ ครับทุกๆท่าน

ราคาทองคำก็ร่วงลงมาอยู่ที่ 1.741

ตรงแนวรับที่ไม่อยากให้มาถึง

เพราะหลุดแนวนี้มีเสียววว

คงต้องพยายามไม่ให้หลุดแนวรับตรงนี้กันนะครับ

ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ

 

น้ำมัน-หุ้นสหรัฐฯ-ทองคำขยับลง กังวลศก.จีนและผลประกอบการกูเกิล blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 ตุลาคม 2555 05:32 น.

 

blank.gif 555000013503301.JPEG ผลประกอบการของกูเกิล ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ blank.gif เอเอฟพี/เดอะสตรีท - ราคาน้ำมันขยับลงวานนี้(18) ตามข้อมูลที่บ่งชี้เศรษฐกิจจีนเติบโตช้าลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนวอล์สตรีท ก็ปิดลบ หลังมีข่าวหลุดออกมาว่าผลประกอบการของกูเกิลไม่สดใสนัก ขณะที่ทองคำก็ทรุดลงตามๆกัน เหตุยังไม่มีแววว่าสเปนจะขอรับเงินช่วยเหลือเร็วๆนี้

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ลดลง 2 เซนต์ ปิดที่ 92.10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 80 เซนต์ ปิดที่ 112.42 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (เอ็นบีเอส) ของทางการจีนรายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาส 3 ปีนี้ ขยายตัวในอัตราร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว สอดคล้องกับการคาดการณ์ของบรรดานักเศรษฐศาสตร์

 

นับเป็นไตรมาสที่ 7 ติดต่อกันแล้วที่เศรษฐกิจของจีน เติบโตในอัตราที่ช้าลง กระนั้นก็ตาม ข้อมูลอื่นๆ ที่ออกมาพร้อมๆ กันเมื่อวันพฤหัสบดี (18) บ่งชี้ว่า การทรุดตัวน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้วและจีดีพีแดนมังกรจะฟื้นตัวขึ้นไปเล็กน้อย ในช่วงปลายปีนี้

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(18) ปิดลบ หลังตัวเลขผลประกอบการของกูเกิลที่หลุดออกมาก่อนกำหนด เผยให้เห็นว่าบริษัทแห่งนี้มีรายได้ในช่วงไตรมาส 3 ลดลง ซึ่งปัจจัยนี้ส่งผลกระทบโดยตรง แนสแดค ที่ดิ่งกว่า 1 เปอร์เซ็นต์

 

ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ ลดลง 8.06 จุด (0.06 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 13,548.94 จุด แนสแดค ลดลง 31.25 จุด (1.01 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,072.87 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 3.57 จุด (0.24 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,457.34 จุด

 

หุ้นของกูเกิลดิ่งลงถึงร้อยละ 10 ในช่วงหนึ่งของการซื้อขาย ก่อนกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยในช่วงท้ายและปิดตลาดที่ปรับลดร้อยะ 8.0 ปิดที่ 695.42 ดอลลาร์ต่อหุ้น หลังมีข้อมูลหลุดออกมาก่อนกำหนดโดยไม่ได้ตั้งใจ เผยให้เห็นตัวเลขผลประกอบการที่น่าผิดหวังของบริษัทแห่งนี้ในช่วงไตรมาส 3

 

ส่วนราคาทองคำวานนี้(18) ปิดลบแรง หลังความหวังว่าสเปนจะยื่นคำร้องขอเงินช่วยเหลือระหว่างการประชุมซัมมิทยูโร ช่วงปลายสัปดาห์นี้ เริ่มเลือนลางลงทุกขณะ ทองคำตลาดโคเมกซ์ของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนธันวาคม ลดลง 8.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,744.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดโลหะมีค่านิวยอร์ค:ทองร่วงลงตามตลาดหุ้น

 

 

ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐร่วงลง 8.60 ดอลลาร์ สู่ 1,741.09 ดอลลาร์ต่อ ออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี โดยราคาทองปรับฐานลงหลังจากที่เคยพุ่งขึ้น ในช่วงก่อนหน้านี้ โดยได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของตลาดหุ้นสหรัฐ และจาก การที่นักลงทุนไม่แน่ใจว่าเยอรมนีและฝรั่งเศสมีความมุ่งมั่นมากพอในการแก้ไข วิกฤติหนี้ยูโรโซนหรือไม่

 

 

ราคาสัญญาทองเดือนธ.ค.ปิดตลาดร่วงลง 0.5 % สู่ 1,744.70 ดอลลาร์ต่อ ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,739.00-1,753.40 ดอลลาร์

 

 

ราคาทองร่วงลง ในขณะที่ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร หลังจาก รัฐบาลเยอรมนีและฝรั่งเศสแสดงความเห็นขัดแย้งกันเกี่ยวกับการให้อำนาจแก่สหภาพยุโรป (อียู) มากยิ่งขึ้นในการควบคุมงบประมาณของประเทศต่างๆ และขัดแย้งกันเกี่ยวกับ ประเด็นอื่นๆด้วย ก่อนที่ผู้นำยุโรปจะประชุมสุดยอดกันในวันที่ 18-19 ต.ค.นี้

 

 

ราคาทองร่วงลงตามดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐ ซึ่งได้รับแรงกดดัน จากการที่กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก เพิ่มขึ้นสูงเกินคาดในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ต.ค. โดยเพิ่มขึ้น 46,000 ราย สู่ 388,000 ราย

 

 

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ราคาทองได้ปรับตัวรับการคาดการณ์ในทางบวกเกี่ยวกับ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในเดือนก.ย.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไปแล้ว โดยราคาทอง ยังคงอยู่สูงกว่าระดับในช่วงกลางเดือนส.ค.ราว 150 ดอลลาร์ ถึงแม้ราคาทองปรับลงใน ช่วงนี้ก็ตาม

 

 

นายคาร์ลอส เปเรซ-ซานตายา โบรกเกอร์ของบริษัทพีวีเอ็ม ฟิวเจอร์สกล่าวว่า "ถ้าหากไม่มีปัจจัยใหญ่เข้ามากระทบตลาด ราคาโลหะมีค่าก็อาจจะอยู่ในระดับอ่อนแอต่อไป และจะลงไปทดสอบระดับต่ำ" เพราะว่าผู้ที่เข้าซื้อทองในช่วงก่อนหน้านี้ไม่ต้องการอดทน รอให้ราคาทองพุ่งขึ้นอีกครั้ง

 

สำหรับราคาโลหะมีค่าที่ตลาด COMEX ในวันพฤหัสบดีมีดังต่อไปนี้

ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)

ทองเดือนธ.ค. 1,744.70 - 8.30

เงินเดือนธ.ค. 32.868 - 36.40(เซนต์)

 

 

 

ส่วนราคาโลหะมีค่าที่ตลาด NYMEX ในวันพฤหัสบดีมีดังต่อไปนี้

ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)

พลาตินั่มเดือนม.ค. 1,643.70 - 26.80

พัลลาเดียมเดือนธ.ค. 647.20 - 6.20

 

ปล. คงค้องติดตามดูว่า การประชุมสุดยอดผู้นำยุโรป จะมีอะไรออกมาบ้างฯ น่าจะมีใครออกมาแถลงข่าวการประชุมฯ แต่เด็กขายของไม่อยากให้พวกเขาพูดจากใจเลย น่าจะเปลี่ยนมาท่องจำจากคำร่างที่มีคนเขียนให้ท่องจะดีมาก หรือ ท่องจำเฉพาะคำนิยามที่สวยหรู ก็ได้ เช่น จะร่วมมือกัน / จะติดตามอย่างใกล้ขิด / จะกระทำโดยเร่งด่วน / ช่วยเหลือเยียวยาเต็มที่ สำหรับประเทศที่มีปัญหา

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองฟิว​เจอร์ลดลง หลังยู​โรอ่อนค่าก่อนประชุมสุดยอดอียู​เปิดฉาก

ข่าวต่างประ​เทศ สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม 2555 21:22:52 น.

 

ราคาทองฟิว​เจอร์ปรับตัวลงตามสกุล​เงินยู​โรที่อ่อนค่าลง​เมื่อ​เทียบกับดอลลาร์ ขณะที่นักลงทุนรอดูทิศทาง​ความ​เคลื่อน​ไหวจากยุ​โรป ​ใน​โอกาสที่บรรดา​ผู้นำสหภาพยุ​โรป (อียู) จะประชุมร่วมกัน​ในวันนี้​และวันพรุ่งนี้

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบ​เดือนธันวาคมร่วงลง 7.50 ดอลลาร์ ​หรือ 0.4% ​แตะที่ 1,745.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ​เมื่อ​เวลาประมาณ 21.00 น.ตาม​เวลาประ​เทศ​ไทยวันนี้

 

สกุล​เงินยู​โรร่วงลง​เมื่อ​เทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่นางอัง​เกลา ​แมร์​เคล นายกรัฐมนตรี​เยอรมนี​ได้ออกมา​เรียกร้อง​ให้มี​การรวมตัวกันมากขึ้น​ในสหภาพยุ​โรป (อียู) ด้วย​การมอบอำนาจ​แก่​เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้าน​เศรษฐกิจของอียู​ใน​การออก​เสียงวี​โต้ประ​เด็นงบประมาณของประ​เทศสมาชิก

 

​แมร์​เคลกล่าวต่อสภาล่างของ​เยอรมนี (Bundestag) ​เพียง​ไม่กี่ชั่ว​โมงก่อนที่​การประชุมสุดยอด​ผู้นำจาก 27 ประ​เทศของอียูจะ​เริ่มขึ้นที่กรุงบรัส​เซลส์ว่า คณะกรรมาธิ​การด้าน​เศรษฐกิจของอียูควรมีสิทธิอำนาจ​ใน​การประกาศ​ให้งบประมาณ "​เป็น​โมฆะ" ​ซึ่ง​การ​แสดง​ความคิด​เห็นของ​แมร์​เคล​เป็น​ไป​ในทิศทาง​เดียวกับนาย​โวล์ฟกัง ชอย​เบิล รมว.คลัง​เยอรมนี​ซึ่ง​เสนอมาตร​การปฏิรูปอียู รวม​ถึง​การอนุญาต​ให้​เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้าน​การ​เงินของอียูมีสิทธิออก​เสียงวี​โต้​ในประ​เด็นงบประมาณของประ​เทศสมาชิก

 

ดอลลาร์สหรัฐที่​แข็งค่าขึ้น​ไม่​เป็นผลดีต่อราคาทอง ​เพราะ​ทำ​ให้ทอง​ซึ่งซื้อขายกัน​ในสกุล​เงินดอลลาร์มีราคา​แพงขึ้นสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุล​เงินอื่นๆ นักลงทุน​จึงสน​ใจ​เข้าซื้อทองคำลดลง

 

​การประชุมสุดยอดสหภาพยุ​โรปจะจัดขึ้นที่กรุงบรัส​เซลส์ ประ​เทศ​เบล​เยียม ​เป็น​เวลา 2 วัน คือ​ในวันที่ 18-19 ต.ค.นี้ ​โดยจะพุ่ง​เป้า​ไปที่ประ​เด็นต่างๆที่​เกี่ยวกับวิกฤตยู​โร​โซน ​ซึ่งประ​เด็นสำคัญคือ ​แผน​การจัดตั้งสหภาพธนาคารของยู​โร​โซน ​ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า​เป็นองค์ประกอบสำคัญ​ใน​การฟื้น​ความ​เชื่อมั่น​ในกลุ่มยู​โร​โซน

 

นอกจากนี้ คาดว่าที่ประชุมจะหารือ​เกี่ยวกับประ​เด็น​การกำกับดู​แลด้าน​การธนาคาร ​การ​เพิ่ม​การคุม​เข้มด้าน​การคลัง ​และ​การนำ​เงินจากกองทุนช่วย​เหลือของภูมิภาคมา​เพิ่มทุน​โดยตรง​ให้กับธนาคารที่ประสบปัญหา

 

​ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่​การประชุมจะ​เปิดฉากขึ้น ​เยอรมนีพยายามผลักดัน​ให้ประ​เทศสมาชิกอียูพิจารณา​เรื่อง​การรวมกลุ่มทาง​เศรษฐกิจมากขึ้น ขณะที่กรีซ​ซึ่ง​เป็นศูนย์กลางของวิกฤตหนี้ยุ​โรป​เตรียมพร้อมรับมือกับ​การประท้วงอีกรอบ นับ​เป็น​การประท้วงครั้งที่ 20 ตั้ง​แต่วิกฤตหนี้ปะทุขึ้น​ในกรีซ​เมื่อ 2 ปีก่อน

--อิน​โฟ​เควสท์ ​แปล​และ​เรียบ​เรียง​โดย ปนัยดา ปัทม​โกวิท/รัตนา ​โทร.02-2535000 ต่อ 327 อี​เมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

EU Summit มุ่งหารือวิกฤตยูโรโซน(19/10/2555)

EU Summit มุ่งหารือวิกฤตยูโรโซน 18-19 ต.ค.นี้

 

 

 

การประชุมสุดยอดสหภาพยุโรป (อียู) จัดขึ้นที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียมในวันที่ 18-19 ต.ค.นี้ โดพุ่งเป้าไปที่ประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับวิกฤตยูโรโซน

 

ซึ่งประเด็นสำคัญคือ แผนการจัดตั้งสหภาพธนาคารของยูโรโซน ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในการฟื้นความเชื่อมั่นในกลุ่มยูโรโซน นอกจากนี้ ที่ประชุมจะหารือเกี่ยวกับประเด็นการกำกับดูแลด้านการธนาคาร การเพิ่มการคุมเข้มด้านการคลัง และการนำเงินจากกองทุนช่วยเหลือของภูมิภาคมาเพิ่มทุนโดยตรงให้กับธนาคารที่ประสบปัญหา

 

ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่การประชุมจะเปิดฉากขึ้น เยอรมนีพยายามผลักดันให้ประเทศสมาชิกอียูพิจารณาเรื่องการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจมากขึ้น ขณะที่กรีซซึ่งเป็นศูนย์กลางของวิกฤตหนี้ยุโรปเตรียมพร้อมรับมือกับการประท้วงอีกรอบ นับเป็นการประท้วงครั้งที่ 20 ตั้งแต่วิกฤตหนี้ปะทุขึ้นในกรีซเมื่อ 2 ปีก่อน

 

ที่มา : money channel (วันที่ 19 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กูรูชื่อดังของโลก ระบุ เศรษฐกิจปีหน้ายังมืดมน(19/10/2555)

นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของโลก มองแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปีหน้าย่ำแย่ลงอีก

 

 

 

ในการอภิปรายหัวข้อ “East Meets West” ในการประชุม Skybridge Alternatives Conference” ที่สิงคโปร์ นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของโลกอย่างนายนูเรียล รูบินี บอกว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังไม่สดใส โดยเขาบอกว่า ปีหน้า เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วจะอ่อนแอลงอีก ขณะที่เศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่สำคัญอีกจำนวนหนึ่งก็ชะลอตัวลงเช่นกัน นอกจากนี้ ก็ยังมองว่า เศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบางอย่างมาก โดยมีความไม่แน่นนอนทั้งในส่วนของเศรษฐกิจมหภาค//การเงิน และการคลัง

 

ขณะเดียวกัน นายริชาร์ด ซี คู หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของโนมูระ เจ้าของแนวคิด “balance sheet recession” หรือการชะลอตัวเนื่องจากการหดตัวของงบดุล บอกว่า ตอนนี้แนวคิดนี้สามารถใช้ได้กับเศรษฐกิจประเทศตะวันตกเกือบทุกแห่ง และเขาก็เกรงว่า สถานการณ์ในยุโรปจะแย่ลงเรื่อยๆ ด้วย

 

และเมื่อพูดถึงจีน นักเศรษฐศาสตร์มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดยนักเศรษฐศาสตร์ของโนมูระเชื่อว่า จีนอาจพบกับช่วงเวลายากลำบากในระยะสั้น แต่รูบินีคิดว่า อาจเป็นเรื่องยากที่จีนจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างรุนแรงได้ภายในปลายปีหน้า

 

ที่มา : money chanel (วันที่ 19 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดซื้อขายดอลลาร์/เยน:เยนร่วงรับคาดการณ์บีโอเจผ่อนคลายนโยบาย (19/10/2555)

เยนร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือนเมื่อเทียบกับยูโรและ 2 เดือน เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในการซื้อขายช่วงเช้านี้ที่ตลาดเอเชีย ขณะที่นักลงทุนมีความ เชื่อมั่นมากขึ้นว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะผ่อนคลายนโยบายการเงินลง อีกในเดือนนี้

 

 

ข่าวที่ว่าบีโอเจจะพิจารณาดำเนินมาตรการผ่อนคลายในการประชุม นโยบายวันที่ 30 ต.ค.นั้น ได้กระตุ้นให้นักเก็งกำไรลดสถานะซื้อเยน

 

 

ยูโรปรับตัวขึ้นสู่ 104.15 เยนและปรับตัวขึ้น 2% แล้วในสัปดาห์นี้ ขณะที่ดอลลาร์อยู่ที่ 79.31 เยน ใกล้ดับระดับสูงสุดที่ 79.47 เยนที่เข้าทดสอบ เมื่อวานนี้

 

 

ดัชนีดอลลาร์ดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือนเมื่อเทียบกับตะกร้า สกุลเงินสำคัญ ขณะที่ยูโรอยู่ที่ 1.3072 ดอลลาร์ ลดลงจากระดับสูงของเมื่อวานนี้ ที่ราว 1.3129 ดอลลาร์

 

ที่มา : ทันหุ้น(วันที่ 19 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นเอเชียขยับลงเล็กน้อยเช้านี้ หลังหุ้นเทคโนโลยีร่วง (19/10/2555)

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงเล็กน้อย หลังจากที่กูเกิล อิงค์ และ ไมโครซอฟท์ คอร์ป เปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวัง ส่งผลให้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลง อย่างไรก็ดี ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือนก.ย. ช่วยสกัดขาลงของตลาดไม่ให้ดิ่งหนัก

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific ขยับลงไม่ถึง 0.1% ที่ระดับ 123.84 จุด ณ เวลา 9.48 น.ตามเวลาโตเกียว

 

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 8,944.03 จุด ลดลง 38.83 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,129.82 จุด ลดลง 1.87 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 21,565.75 จุด เพิ่มขึ้น 47.04 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 7,443.61 จุด ลดลง 21.80 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,954.33 จุด ลดลง 4.79 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,053.79 จุด ลดลง 6.57 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 5,435.94 จุด ไม่เปลี่ยนแปลง, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,665.23 จุด ลดลง 0.19 จุด และดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 4,562.00 จุด เพิ่มขึ้น 2.60 จุด

 

หุ้นยาฮู เจแปน คอร์ป ลดลง 2.9% และหุ้นเจมส์ ฮาร์ดี อินดัสทรีส์ ขยับขึ้น 0.3%

ตลาดได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หลังจากบริษัท กูเกิล เปิดเผยว่า ผลกำไรรายไตรมาสร่วงลง 20% เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นและราคาโฆษณาสินค้าบนเว็บปรับตัวลดลง

 

อย่างไรก็ดี ตลาดไม่ร่วงลงไปมากกว่านี้เนื่องจากคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวขึ้น 0.6% ในเดือนก.ย. เพราะได้รับปัจจัยหนุนจากการอนุญาตก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นแข็งแกร่ง โดยดัชนีชี้นำเดือนก.ย.ขยายตัวมากสุดในรอบ 7 เดือน และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% หลังจากที่ดัชนีร่วงลงในเดือนส.ค.

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 19 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปธ.สภายุโรปเผยผู้นำอียูจะจัดทำกรอบการกำกับดูแลแบงก์ยุโรปภายใน 1 ม.ค.56 (19/10/2555)

 

นายเฮอร์มาน ฟาน รอมปาย ประธานสภายุโรป เปิดเผยในเช้าวันนี้ว่า บรรดาผู้นำของสหภาพยุโรป (อียู) เห็นพ้องกันในการจัดทำกรอบการทำงานทางกฎหมายสำหรับหน่วยงานกำกับดูแลระบบการธนาคารของภูมิภาคให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 ม.ค.2556 และคาดว่าจะระบบดังกล่าวจะดำเนินการในปี 2556 สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 19 ตุลาคม 2555)

 

 

เยอรมนีและฝรั่งเศสมีท่าทีประนีประนอมกันในแผนการจัดตั้งสหภาพธนาคารเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตหนี้สินยูโรโซน (19/10/2555)

 

เยอรมนีและฝรั่งเศสมีท่าทีประนีประนอมร่วมกันเมื่อวานนี้ ในแผนการที่สหภาพยุโรป หรืออียู จะจัดตั้งสหภาพธนาคารเพื่อควบคุมดูแลธนาคารพาณิชย์ในอียู ซึ่งเป็นมาตรการแก้ปัญหาวิกฤตหนี้สินยูโรโซน

ท่าทีประนีประนอมระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนีเกิดขึ้นในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอียูในกรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม ซึ่งผู้นำอียูเห็นพ้องกันว่าจะร่างกรอบกฎหมายในการจัดตั้งสหภาพธนาคารให้เสร็จภายในปีนี้ และจะจัดตั้งสหภาพธนาคารในปีหน้า นายฟรองซัวส์ ออลลองด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ย้ำเมื่อวานนี้ถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่อียูจะต้องมีระบบสหภาพธนาคาร ขณะที่นางอังเกล่า เมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ต้องการให้เพิ่มอำนาจคณะกรรมาธิการยุโรปให้สามารถใช้สิทธิ์ยับยั้งเพื่อการควบคุมดูแลงบประมาณรายจ่ายประเทศสมาชิกอียู แต่มองก่อนหน้านี้ว่า ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดตั้งสหภาพธนาคาร

ที่มา : สำนักข่าวแห่งชาติ (วันที่ 19 ตุลาคม 2555)

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กูรูชี้กรีซถอนตัวยูโรโซนอาจก่อวิกฤต ศก.โลก (19/10/2555)

ผลศึกษาการคาดการณ์เศรษฐกิจของ Bertelsmann Stiftung มูลนิธิไม่แสวงหาผลกำไรภาคเอกชนรายใหญ่ที่สุดในเยอรมนี ระบุว่า การถอนตัวออกจากยูโรโซนของกรีซ อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อเศรษฐกิจยุโรป และอาจนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจโลก

 

รายงานของมูลนิธิ ระบุว่า การถอนตัวของกรีซอาจส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ตลอดทั้งยุโรปและภูมิภาคอื่นๆ และอาจทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ได้รับความเสียหายเป็นมูลค่าสูงถึง 1.64 แสนล้านยูโร (2.15 แสนล้านดอลลาร์) ภายในปี 2563 ขณะที่ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 42 อันดับแรกของโลก จะซึมซับเอาความเสียหายดังกล่าวเป็นมูลค่าถึง 6.74 แสนล้านยูโร

 

นอกจากนี้ ผลศึกษาดังกล่าวยังระบุว่า การถอนตัวของกรีซ อาจส่งผลกระทบต่อประเทศสมาชิกยูโรโซนอื่นๆที่กำลังประสบกับปัญหาหนี้สินด้วยเช่นกัน พร้อมกับเสริมว่า การถอนตัวอาจส่งผลให้เศรษฐกิจของอีก 3 ประเทศชะงักงัน

 

นายอาร์ท เดอ จีอุส ประธานและซีอีโอบอร์ดผู้บริหารของมูลนิธิ เตือนว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน ต้องมั่นใจว่าวิกฤตในยุโรปจะไม่ลุกลามเหมือนไฟป่า ความไม่แน่นอนในตลาด อันเนื่องมาจากการถอนตัวของกรีซ และโปรตุเกส จะส่งผลให้ความเสี่ยงด้านการชำระเงินเพิ่มสูงขึ้น ในประเทศที่ประสบปัญหาหนี้สินอยู่แล้ว อย่าง สเปน และ อิตาลี ซึ่งอาจกัดเซาะเศรษฐกิจยูโรโซนได้มากยิ่งขึ้น

 

กรีซ ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ ภายใต้เงื่อนมาตรการรัดเข็มขัดที่เคร่งคัด รวมถึง การปรับลดเงินเดือน และเพิ่มอายุการเกษียณงาน แลกกับเงินกู้รอบที่สองจำนวน 3.15 หมื่นล้านยูโร หรือ 4.06 หมื่นล้านดอลลาร์ จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งถูกเลื่อนติดต่อกันมาเป็นวลาหลายเดือนแล้ว

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 19 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มูดีส์ประกาศคงแนวโน้มเครดิตภาคธนาคารเยอรมนีในเชิงลบ หลังผลกำไรย่ำแย่ (19/10/2555)

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ประกาศคงแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของระบบธนาคารของเยอรมนีเอาไว้ที่ "เชิงลบ" โดยมีสาเหตุหลักๆดังนี้คือ ผลกำไรที่ยังคงได้รับแรงกดดันผลกำไรจากการแข่งขันที่รุนแรง, อัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำ และการขยายตัวอย่างจำกัดของสินเชื่อ

 

นอกจากนี้ มูดีส์ยังพิจารณาถึงความอ่อนแอในด้านการดำเนินงาน อันเนื่องมาจากภาวะถดถอยของเศรษฐกิจทั่วยุโรป ตลอดจนคุณภาพสินทรัพย์ที่ถดถอย และศักยภาพที่มีอยู่อย่างจำกัดในการรับมือกับภาวะขาดทุนของธนาคาร

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 19 ตุลาคม 2555)

 

ผู้นำ EU หารือแผนสหภาพธนาคาร-วิกฤตยูโรโซน(19/10/2555)

ผู้นำประเทศกลุ่มอียู เริ่มประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับแผนสหภาพธนาคาร และการแก้ปัญหาวิกฤตยูโรโซนวันนี้

 

 

 

การประชุมสูงสุดผู้นำกลุ่มสหภาพยุโรป หรือ อียู ซัมมิต ในวันนี้ จะเน้นเรื่องแผนระยะยาวสำหรับเศรษฐกิจและภาคธนาคารในภูมิภาค ทั้งประเด็นการตั้งหน่วยงานกลางเพื่อกำกับดูแลภาคธนาคาร//การตั้งสหภาพธนาคาร และงบประมาณกลางของยูโรโซน ซึ่งนักวิเคราะห์ประเมินว่า ไม่น่าจะมีการตัดสินใจเรื่องสำคัญในการประชุมรอบนี้

 

การประชุมครั้งนี้ มีขึ้นในช่วงเวลาที่สเปนส่งสัญญาณว่ากำลังเตรียมพร้อมที่จะขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากกลุ่มยูโรโซน หลังจากได้ขอเงินกู้เพื่อเพิ่มทุนให้กับธนาคารพาณิชย์ที่มีปัญหาไปแล้ว ขณะที่บรรดาผู้นำยูโรโซน และเจ้าหน้าที่ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ก็กำลังหารือเรื่องการให้เงินกู้งวดต่อไปแก่กรีซเช่นกัน

 

เจ้าหน้าที่ของยูโรโซนบอกว่า ที่ประชุมรอบนี้อาจหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ของสเปน และกรีซ และอาจมีการออกแถลงการณ์สรุปทั่วไปสำหรับกรีซ แต่คาดว่าจะไม่มีการตัดสินใจสำคัญใดๆ ออกมา

 

ด้านนักวิเคราะห์มองว่า ประเด็นที่คาดว่าจะมีการถกเถียงกันมากในการประชุมนัดนี้คือ กรอบเวลาในการเปิดตัวหน่วยงานกลางเพื่อกำกับดูแลภาคธนาคารในภูมิภาค ซึ่งล่าสุด ตอนนี้มีประเทศสมาชิกยูโรโซนอย่างน้อย 5 ประเทศ นำโดยเยอรมนี ที่กำลังผลักดันให้เลื่อนเวลาเส้นตายสิ้นปีนี้ไปก่อน โดยบอกว่า ต้องการหารือเกี่ยวกับคุณภาพของโครงการ มากกว่าการเร่งดำเนินโครงการ //ทั้งนี้กรอบเวลาจะเป็นปัจจัยตัดสินว่า กองทุนกลไกสร้างเสถียรภาพยุโรป หรือ ESM จะสามารถเพิ่มทุนโดยตรงให้แก่ธนาคารได้เมื่อไหร่ ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อประเทศที่กำลังมีปัญหาเช่น สเปน ไอร์แลนด์

 

ที่มา : money channel (วันที่ 19 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิตกศก.จีน ฉุดทองคำปิดร่วง $8.3

วันศุกร์, 19 ตุลาคม 2555 07:23 | อัพเดตล่าสุดเมือ วันศุกร์, 19 ตุลาคม 2555 07:23

 

วิตกเศรษฐกิจจีน,ดอลล์แข็ง ฉุดทองปิดร่วง $8.3

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 8.3 ดอลลาร์ หรือ 0.47% ปิดที่ 1,744.7 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,739.00-1,753.40 ดอลลาร์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดที่ 32.868 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 36.40 เซนต์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.ปิดที่ 1,643.70 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 26.80 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดที่ 647.20 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 6.20 ดอลลาร์

 

โดยสัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (18 ต.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน นอกจากนี้ การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ยังได้ฉุดสัญญาทองคำร่วงลงด้วย

 

http://www.moneychannel.co.th/index.php/2012-06-30-12-32-53/5137-121

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สเปนอาจขอความช่วยเหลือทางการเงินจากยูโรโซนในเดือนพฤศจิกายน (19/10/2555)

เจ้าหน้าที่ยูโรโซนกล่าวว่า รัฐบาลสเปนอาจขอความช่วยเหลือทางการเงินจากยูโรโซนในเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ สเปนกลายเป็นจุดสนใจสำคัญในวิกฤติหนี้ยูโรโซนในช่วงต้นปีนี้ ขณะที่นักลงทุนไม่ต้องการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสเปนเนื่องจากปัจจัยลบหลายประการ ซึ่งรวมถึงการที่ภาคธนาคารของสเปนอยู่ในภาวะอ่อนแอ, รัฐบาลหลายแคว้นของสเปนมีหนี้สินสูง, เศรษฐกิจสเปนเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งที่สองในรอบ 3 ปี และหนี้สินที่เพิ่มสูงขึ้นของสเปน

 

ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 19 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน : บมจ.ไทยออยล์ (19/10/2555)

ราคาน้ำมับดิบปรับลดลงเล็กน้อยจากตัวเลขภาคแรงงานสหรัฐฯ ที่ออกมาไม่ดี "

เบรนท์ส่งมอบ ธ.ค. ปรับลดลง 0.80 เหรียญฯ ปิดที่ 112.42 เหรียญฯ ส่วนเวสต์เท็กซัส ส่งมอบ พ.ย. ปรับลดลง 0.02 เหรียญฯ ปิดที่ 92.10 เหรียญ

 

ผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานของสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ปรับเพิ่มขึ้นเหนือคาด 46,000ตำแหน่ง มาอยู่ที่ 388,000ตำแหน่ง แต่ผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานโดยเฉลี่ยเดือน ต.ค.ยังอยู่ในระดับที่ดีกว่าเดือนก่อนหน้า ชี้ให้เห็นว่าการฟื้นฟูตลาดแรงงานค่อนข้างช้ากว่าที่คาดไว้

 

- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวลดลงจากปริมาณน้ำมันดิบของแหล่งทะเลเหนือที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นหลังหลุม Buzzard จะกลับมาจากการซ่อมบำรุงในสุดสัปดาห์นี้

 

- โกลแมนแซกส์ ออกมาปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปี 2556 จากที่ราคา 130เหรียญฯต่อบาร์เรล ลดลงมาอยู่ที่ 110เหรียญฯต่อบร์เรล ทั้งนี้ให้เหตุผลว่า อุปทานน้ำมันดิบโลกจะปรับเพิ่มจากกลุ่มนอกโอเปก โดยเฉพาะแคนาดาและสหรัฐฯ

 

+ จีดีพีไตรมาส 3/55 ของจีน อยู่ที่ 7.4% ปรับลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 7.6% โดยตัวเลขที่ประกาศนี้เป็นไปตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์และ 9 เดือนที่ผ่านมาจีนขยายตัวที่ 7.7% ซึ่งยังสูงกว่าเป้าหมายของรัฐบาลจีนที่ 7.5% เนื่องจากจีนได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาลง

+ ท่อส่งน้ำมันดิบคีย์สโตนของบริษัททรานส์ที่กำลังส่ง 590,000 บาร์เรลต่อวันจากอัลเบอร์ตาไปยังสหรัฐฯ แคนาดา ถูกปิดเป็นเวลาสามวันเพื่อทำการตรวจสอบระบบท่อขนส่งหลังจากพบความผิดปกติของระบบตรวจสอบเมื่อวานนี้ ทำให้น้ำมันดิบที่เข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ปรับลดลง

 

+ มีรายงานว่าอิหร่านยังคงแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์แบบลับๆ เนื่องจากปริมาณการใช้แร่ยูเรเนียมของอิหร่านได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ดีทางอิหร่านได้ให้เหตุผลว่าแร่ยูเรเนียมที่ใช้มากขึ้นนั้นเพื่อเครื่องปฏิกรณ์เชื้อเพลิงสำหรับใช้ในการแพทย์เท่านั้น

 

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากตลาดถูกกดดันจากอุปทานที่ปรับเพิ่มขึ้นในภูมิภาคและตลาดในสหรัฐฯและยุโรปที่ปรับตัวลดลง

 

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ ประกอบกับปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังที่สิงคโปร์ที่ปรับเพิ่มขึ้นสร้างแรงกดดันต่อสภาพตลาดในภูมิภาค รวมถึงอุปสงค์ที่มีแนวโน้มว่าจะปรับลดลง

 

ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง

 

กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์หน้า เบรนท์ 110 - 118 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 87 - 95 เหรียญฯ

 

ติดตามสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางระหว่างซีเรียและตุรกีและอิหร่านกับชาติตะวันตก และตัวเลขเศรษฐกิจและการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในสัปดาห์หน้า ส่วนในวันนี้ติดตามการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป (วันสุดท้าย) โดยจะมีการหารือในการแก้ปัญหาหนี้ยุโรปและตัวเลขยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯ

 

ตัวเลขเศรษฐกิจ / ผลประกอบการไตรมาส 3/55 ของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ได้แก่

วันศุกร์: ยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯ / แมคโดนัลด์

วันจันทร์: -- / แคทเทอร์พิลาร์ และยาฮู

วันอังคาร: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหภาพยุโรป/ 3เอ็ม ยูไนเต็ด เทคโนโลยีและซีร็อค

วันพุธ: ดัชนีภาคการผลิตและยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐฯ รวมถึงดัชนีสภาพแวดล้อมธุรกิจเยอรมนี (Ifo business climate) และดัชนีภาคการผลิตจีน (HSBC Flash Manufacturing PMI) / เอที แอนด์ ที และโบว์อิ้ง

วันพฤหัสฯ: ยอดขายสินค้าคงทน ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จาการว่างงาน และยอดขายบ้านรอปิดการขายของสหรัฐฯ /แอปเปิ้ล

วันศุกร์: จีดีพีไตรมาส 3/2555 และความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

 

- การกลับมาของแหล่งผลิตน้ำมันดิบ Buzzard ในบริเวณทะเลเหนือที่คาดว่าจะกลับมาผลิตได้ตามปกติในสัปดาห์หน้า หลังปิดซ่อมบำรุงมานานกว่า 1 เดือนครึ่ง

 

- สเปนจะขอความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติมจากสหภาพยุโรปเมื่อไร หลังรัฐบาลได้ประกาศแผนปฏิรูปเศรษฐกิจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะนำไปสู่การที่ธนาคารกลางยุโรปจะเริ่มเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลของสเปน ล่าสุดคาดว่าจะเป็นเดือน พ.ย.

- การตัดสินใจให้เงินช่วยเหลืองวดถัดไปแก่กรีซจาก EC/ECB/IMF ขึ้นอยู่กับรายงานการตรวจสอบสถานะการเงินกรีซในช่วงกลางเดือน พ.ย. รวมถึงการดำเนินการของรัฐบาลต่อมาตรการรัดเข็มขัด 11.5 พันล้านยูโรและแผนปฏิรูปเศรษฐกิจ

- สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างซีเรียและตุรกี โดยการปะทะกันในบริเวณชายแดนของทั้งสองประเทศยังคงดำเนินอยู่ ส่งผลให้ตลาดกังวลว่าอาจจะสร้างความเสียหายต่อท่อส่งน้ำมันในตุรกีที่ส่งน้ำมันดิบจากตอนเหนือของอิรัก

- ความกังวลต่อปัญหาโครงการนิวเคลียร์อิหร่านยังคงมีอยู่ แม้ว่าอิหร่านจะแสดงท่าที่พร้อมเจรจาอีกครั้งเพื่อแลกเปลี่ยนการจำกัดการเพิ่มสมรรถนะยูเรเนียมที่ไม่เกิน 20% กับการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก แต่ทางตะวันตกปฏิเสธและออกมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่านเพิ่มเติม

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 19 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

FriSeptember20111139_223465.jpg

 

รับอยู่นะ แนวต้าน 1738 รับอยู่นะ อย่าหลุดๆ แล้วหนาว

 

Res: 1742, 1747, 1753, 1756

Sup: 1738, 1734, 1728, 1717

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...