ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ภาวะตลาดทองคำ by Hua Seng Heng Gold Futures (19/10/2555)

ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส

 

- ทองร่วงหลังเงินดอลลาร์กลับแข็งค่าขึ้น

 

- ประชุมผู้นำยุโรปวันนี้คาดยังไม่มีประเด็นใหม่

 

- ระวังแรงขายหากหลุดแนวรับ 1,730 เหรียญ

 

- ราคาทองคำและราคาโลหะเงินอ่อนตัวลงในการซื้อขายช่วงค่ำ หลังจากในระหว่างวันมีแรงซื้อกลับเข้ามา ตอบรับรายงานการขยายตัวทางเศรษฐกิจจีนไตรมาส 3 ที่ไม่ต่างจากที่ตลาดประเมิน รวมทั้งการขายพันธบัตรรัฐบาลของสเปนที่สามารถขายได้มากกว่าเป้า เป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ราคาทองดีดตัวกลับ แต่ด้วยรายงานตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่โดยรวมแล้วออกมาค่อนข้างดี กดดันราคาทองคำผ่านการแข็งค่าของเงินดอลลาร์

 

- สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนรายงานช่วงเช้าวานนี้ว่า เศรษฐกิจจีนไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมา ขยายตัวขึ้น 7.4% เท่ากับที่ตลาดประเมิน โดยเป็นระดับการขยายตัวที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2009 ส่วนรายงานยอดค้าปลีกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกันยายนของจีนกลับเริ่มขยายตัวขึ้น จึงอาจเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจจีนได้ผ่านพ้นช่วงต่ำสุดไปแล้ว และกำลังจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นในไตรมาส 4

 

- เมื่อวานนี้สเปนสามารถขายพันธบัตรได้สูงกว่าเป้าที่กำหนด และมีระดับผลตอบแทนที่ต่ำลง ภายหลังสเปนรอดพ้นการถูกปรับลดความน่าเชื่อถือ แต่นักลงทุนยังคงประเมินว่าสเปนจะต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน หากมีความชัดเจนในประเด็นนี้ก็จะเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ราคาทองฟื้นตัวกลับ ส่วนการประชุมของผู้นำยุโรปในคืนวันนี้ คาดว่าผลการประชุมคงไม่มีผลต่อตลาดมากนัก เพราะจะเป็นเพียงการหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรดูแลระบบธนาคารของประเทศสมาชิก ซึ่งต้องใช้เวลาอีกพอสมควร

 

- การเคลื่อนไหวของราคาทองยังคงมีแนวโน้มว่าราคาจะแกว่งตัวอยู่ระหว่าง 1,730-1,760 ดอลลาร์ หากปรับตัวลงไปต่ำกว่าแนวรับบริเวณ 1,730 ดอลลาร์ อาจมีแรงขายออกมามาก โดยมีแนวรับถัดไปอยู่ที่บริเวณ 1,715-1,720 และ 1,700 ดอลลาร์ ตามลำดับ หากราคาปรับตัวลงแรง ยังคงเป็นโอกาสในการกลับเขาซื้อเก็งกำไรการดีดตัวกลับ เนื่องจากประเด็นลบต่างๆโดยรวมแล้วยังมีมีประเด็นใหม่ และคาดว่าภาพรวมของราคาทองยังจะกลับฟื้นตัวขึ้นได้ต่อ ส่วนราคาโลหะเงินอ่อนตัวลงจากแนวต้านในการซื้อขายช่วงค่ำที่ผ่านมา โดยยังคงมีแนวโน้มว่าราคาจะแกว่งตัวอยู่ระหว่าง 32.5-33.5 ดอลลาร์ และอาจมีแรงขายออกมามากหากราคาไม่สามารถยืนเหนือแนวรับบริเวณ 32.5 ดอลลาร์ ได้ โดยมีแนวรับถัดไปอยู่ที่บริเวณ 32.0-32.1 ดอลลาร์

 

โกลด์ฟิวเจอร์สเดือนต.ค.55

 

Close chg. Support Resistance

 

25,470 -20 25,400/25,300 25,550/25,650

 

ราคาทองคำมีแนวโน้มที่จะแกว่งตัวอยู่ระหว่าง 1,730-1,760 ดอลลาร์ โดยมีแนวรับสำหรับเก็งกำไรฝั่งซื้ออยู่ที่บริเวณ 1,740 และ 1,730 ดอลลาร์ ตามลำดับ และมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนในกรณีที่ราคาปรับตัวลงไปต่ำกว่า 1,725-1,728 ดอลลาร์ หากราคาไม่สามารถยืนเหนือจุดปิดสถานะตัดขาดทุนได้ คาดว่าจะมีแรงขายกลับออกมามาก จนราคาปรับฐานลงไปยังแนวรับบริเวณ 1,715 และ 1,700 ดอลลาร์ ซึ่งยังสามารถกลับเข้าเปิดสถานะซื้อเก็งกำไรได้ต่อไป

 

ซิลเวอร์ฟิวเจอร์สเดือนต.ค.55

 

Close chg. Support Resistance

 

1,012 - 1,000/995 1,020/1,030

 

ราคาโลหะเงินอ่อนตัวลงสู่แนวรับสำหรับเก็งกำไรฝั่งซื้อบริเวณ 32.7 ดอลลาร์ และคาดว่าจะมีการดีดตัวในช่วงสั้นๆเกิดขึ้น จึงสามารถเลือกเปิดสถานะซื้อเก็งกำไรจากแนวรับบริเวณ 32.7 และ 32.5 ดอลลาร์ โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนอยู่ที่บริเวณ 32.3-32.4 ดอลลาร์

 

ที่มา : ThaiPR.net (วันที่ 19 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทเปิด 30.67/69 อ่อนค่าตามยูโรและภูมิภาค รอความชัดเจนกรณีสเปน-ผลประชุมอียู (19/10/2555)

 

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบีไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 30.67/69 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 30.62/64 บาท/ดอลลาร์ สอดคล้องกับค่าเงินยูโรและค่าเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาคที่ต่างก็ร่วงลง

 

“สเปนยังมีความไม่แน่นอนในการขอความช่วยเหลือทางการเงิน ก็เลยถ่วงให้ค่าเงินยูโรยังร่วงลงอยู่ ถึงแม้ว่าการประมูลพันธบัตรสเปนจะออกมาดีก็ตาม" นักบริหารเงิน กล่าว

 

ส่วนความเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศช่วงเช้าวันนี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 79.37/39 เยน/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วงเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 79.24/25 ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3071/3073 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นที่อยู่ที่ระดับ 1.3106/3107 ดอลลาร์/ยูโร

 

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทน่าจะแกว่งในกรอบแคบๆ เนื่องจากนักลงทุนรอผลการประชุมยูโรซัมมิต หรือ การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ในวันที่ 18-19 ต.ค.นี้ และตัวเลขการว่างงานของประเทศสหรัฐฯประจำสัปดาห์

 

ดังนั้น จึงประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ไว้ระหว่าง 30.65-31.75 บาท/ดอลลาร์

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 19 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธปท.ยังจับตาเงินทุนไหลเข้าออกใกล้ชิด แม้แรงกดดันค่าบาทน้อยลง(19/10/2555)

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แรงกดดันต่อเงินบาทจากเงินทุนไหลเข้าในปีนี้ น่าจะน้อยกว่าปี 53 แม้ว่าจะยังมีเงินไหลเข้าจากการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ แต่การส่งออกของไทยที่ชะลอตว ทำให้ปีนี้จะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ธปท.ไม่ได้ประมาทและยังคงติดตามสถานการณ์เงินทุนไหลเข้าออกอย่างใกล้ชิด

 

"เขาบอกว่าประเทศเรายังสวย ยังน่าลงทุน แต่ไม่ได้หมายความว่าเงินจะไหลเข้าทะลักทะลาย เพราะหากเทียบฝั่งยุโรปที่ตอนนี้ไม่สวยเลย ตอนนี้เราสวยกว่า" นายประสาร กล่าว

 

ด้านนางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการ ธปท.สายเสถียรภาพการเงิน กล่าวว่า ในวันที่ 22 ต.ค.55 จะมีการชี้แจงเกี่ยวกับมาตรการผ่อนคลายการนำเงินทุนออกนอกประเทศ เพื่อสนับสนุนการนำเงินไปลงทุนต่างประเทศ ซึ่ง ธปท.จะทยอยออกมาตรการดังกล่าว ทั้งการผ่อนคลายการนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ การโอนเงินระหว่างประเทศ การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 19 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอเชีย "เอาไม่อยู่" ลดดอกรับ ศก.โลกจ่อปากเหว (19/10/2555)

สร้างความประหลาดใจไม่น้อย เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.75% ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นเพียงไม่กี่วัน ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. ได้ย้ำนักย้ำหนาว่าประเทศไทยไม่มีความจำเป็นต้องลดอัตราดอกเบี้ยแต่อย่างใด

 

กระนั้นก็ตาม หากหันมามองดูความเป็นจริงจากบริบททางเศรษฐกิจในภูมิภาคและระดับโลก ที่กำลังพบกับภาวะการชะลอตัวลงอย่างหนักในขณะนี้และในอนาคต จะพบว่าสิ่งที่ ธปท. ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยลงมานั้นไม่ใช่เฉพาะเพียงรายเดียวเท่านั้นที่ทำ แต่เป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นไปทั้งภูมิภาคในขณะนี้ ไล่เรียงไปตั้งแต่ธนาคารกลางของเกาหลีใต้ที่ประกาศลดดอกเบี้ยก่อนหน้าไทยไม่กี่วันลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.75% เมื่อสัปดาห์ก่อน

 

ก่อนหน้านี้ไม่นาน ธนาคารกลางออสเตรเลียก็ประกาศตัดลดอัตราดอกเบี้ยลงเช่นกันที่ 0.25% ลงมาอยู่ที่ 3.25% ซึ่งการปรับลดดังกล่าวนับเป็นระดับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2552 อีกทั้งยังถือเป็นการปรับลดดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ภายในระยะเวลา 6 เดือนอีกด้วย

 

ฟิลิปปินส์กับมาเลเซีย แม้ว่าจะยังไม่ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมออกมาเหมือนดังเช่นประเทศอื่นๆ แต่ก็ได้ออกมาส่งสัญญาณอย่างชัดเจนแล้วว่า ในอนาคตมีแนวโน้มสูงที่จะใช้นโยบายดอกเบี้ยในท้ายที่สุดเช่นกัน

 

“ในตอนนี้ความกังวลต่อปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าความกังวลในด้านเงินเฟ้อ” เซติ อัคตา อาซิซ ผู้ว่าการธนาคารกลางมาเลเซีย กล่าวให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบลูมเบิร์ก

 

ท่าทีและนโยบายดอกเบี้ยจากธนาคารกลางในเอเชียเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นการส่งสัญญาณให้เห็นถึงผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังเริ่มออกอาการให้เห็นในเอเชีย เมื่อตัวเลขการส่งออกของหลายประเทศเริ่มฟุบตัว และยังไร้วี่แววที่จะฟื้นตัวในเร็วๆ วันนี้

 

ประการแรก ต้องยอมรับว่าวิกฤตหนี้ที่เกิดขึ้นในยุโรปนั้นยังไม่สามารถค้นหาทางออกได้เจอ ทั้งๆ ที่ล่วงเลยผ่านมาแล้ว 2 ปีครึ่ง แม้ว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เพียรพยายามหารือ รวมถึงหาแนวทางและสร้างข้อตกลงต่างๆ ออกมาใช้เป็นจำนวนมาก ทั้งการสร้างข้อตกลงวินัยการคลัง (ฟิสคัลแพค) การจัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพถาวรยุโรป (อีเอสเอ็ม) การออกมาตรการซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และล่าสุดคือการเตรียมจัดตั้งเป็นสหภาพธนาคารยุโรป

 

แต่ทว่าความแตกแยกและการแก้ปัญหาของยุโรปยังไม่เป็นเอกภาพมากพอ โดยเฉพาะเยอรมนีกับฝรั่งเศส รวมถึงอังกฤษ ที่มักมีความเห็นแย้งกันในหลายแผนการที่ออกมา โดยเฉพาะแผนการจัดตั้งสหภาพธนาคาร รวมถึงกลไกในการควบคุมธนาคารในยุโรป

 

นอกจากนี้ ประเทศที่ประสบปัญหาอย่างสเปนกับอิตาลี ก็ดูเหมือนจะยังดื้อดึงและไม่ยอมรับสภาพปัญหาที่แท้จริง ด้วยการยื่นขอความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป (อียู) เสียที เนื่องจากหวาดหวั่นผลกระทบจากเงื่อนไขของเงินกู้ที่จะได้รับ โดยเฉพาะแผนรัดเข็มขัด

 

ด้วยเหตุนี้จึงไม่ต้องหวังเลยว่า ภูมิภาคยุโรปซึ่งเคยเป็นตลาดส่งออกหลักของเอเชียจะหาทางออกได้ในเร็ววันนี้ และเมื่อไม่นานมานี้เจ้าหน้าที่ขององค์การเงินระหว่างประเทศรายหนึ่งได้ออกมาตอกย้ำอีกว่า วิกฤตดังกล่าวน่าจะลากยาวออกไปอย่างน้อยอีก 10 ปี

 

“การชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะที่มาจากยุโรป จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเอเชียในระยะสั้น ดังนั้นรัฐบาลต้องเร่งหามาตรการป้องกัน” ชังยองลี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) กล่าว

 

ที่มา : โพสต์ทูเดย์(วันที่ 19 ตุลาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

eurusd10182012h1.gif

 

http://www.fxtimes.com/technical-updates/can-eurusd-continue-higher-after-stalling-today/

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ป๋า วันเสาร์ไปดูหนังกัน ไปคุ้ยขยะได้มาอีก 10 ฝา ว่าจะไปบ่ายๆดูโดเรมอน กะ ลูก :Hi

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...