ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

พอมาดูรหัส 20,50,10 ขนานแบบเต็มๆๆ ยังไม่ยอมให้เข้าซื้อ แล้วเมื่อไหร่ จะได้ลงทุนเนี่ย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มาดูรหัสสุดท้าย 7,5,2 บ่งบอกชัดเจนว่า " ลงต่อ " แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อวานนี้ มันบอกเขียวขึ้นต่อ กลับลงมาอยู่ต่ำกว่า 1700 ฟังหูไว้สามหู กับสัญญาน ฯ เผื่อมีการสร้างปาฎิหารย์จากธนาคารกลางยุโรปบ้าง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดลบหลังปธ.เฟดเตือน QE4 ไม่ลดปัญหาการคลัง

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2555 06:46:47 น.

ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (13 ธ.ค.) หลังจากเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยอมรับว่า มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 4 (QE4) ด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนนั้น จะไม่สามารถบรรเทาผลกระทบที่รุนแรงของภาวะหน้าผาการคลัง (fiscal cliff) ของสหรัฐได้

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 0.4% ปิดที่ 279.63 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3643.13 ลบ 3.53 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 7581.98 ลบ 32.81 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนที่ 5929.61 ลบ 16.24 จุด

 

ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงหลังจากเบอร์นันเก้เตือนว่า การดำเนินการใดๆของเฟดในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงมาตรการ QE4 นั้นไม่สามารถที่จะชดเชยความเสียหายทางเศรษฐกิจซึ่งเกิดจากภาวะหน้าผาการคลัง หรือมาตรการการปรับขึ้นภาษีและปรับลดงบประมาณค่าใช้จ่ายของรัฐบาลซึ่งจะเริ่มมีผลในเดือนหน้า หลังจากที่ประธานาธิบดีโอบามาและเจ้าหน้าที่นิติบัญญัตของพรรครีพับลิกันมีความเห็นไม่ลงรอยกัน

 

“ผมหวังว่ารัฐสภาจะทำในสิ่งที่ถูกต้องในเรื่องหน้าผาการคลัง ปัญหากำลังใกล้จะเกิดขึ้นทุกขณะ และเฟดไม่สามารถชดเชยผลกระทบที่เกิดจากภาวะหน้าผาการคลังได้ เพราะนั่นเป็นปัญหาที่ใหญ่มาก" เบอร์นันเก้กล่าว

 

ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งล่าสุด เฟดได้ประกาศใช้มาตรการ QE4 ด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรอบใหม่ในวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน พร้อมกับให้คำมั่นสัญญาว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำเป็นพิเศษที่ 0-0.25% ไปจนกว่าอัตราว่างงานจะลดลงต่ำกว่า 6.5%

 

หุ้นดอยช์ แบงก์ ร่วงลง 2.7% หลังจากธนาคารเปิดเผยว่า ต้นทุนการปรับโครงสร้างองค์กรที่สูงขึ้นอาจจะทำให้ธนาคารมีผลกำไรน้อยกว่าที่คาดการณ์ในไตรมาส 4 ขณะที่หุ้นยูบีเอส ร่วงลง 1.1%

 

ส่วนความคืบหน้าเรื่องการกำกับดูแลภาคธนาคารของยูโรโซนนั้น ล่าสุดนายปิแอร์ มอสโควิซี รมว.คลังฝรั่งเศส กล่าวว่าบรรดารัฐมนตรีคลังยูโรโซนได้บรรลุข้อตกลงในการจัดตั้งกลไกกำกับดูแลภาคธนาคารที่เป็นหนึ่งเดียว ร่วมกับธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการดังกล่าว

 

แถลงการณ์ดังกล่าว ซึ่งมีขึ้นหลังการประชุมรัฐมนตรีคลังสหภาพยุโรป (อียู) ได้ยืนยันรายงานก่อนหน้านี้ที่ระบุว่าอียูได้ดำเนินการก้าวแรกที่มีความสำคัญในการจัดตั้งสหภาพการธนาคาร

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดลบ 74.73 จุดหลัง S&P ลดแนวโน้มเครดิตอังกฤษ

 

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2555 06:17:29 น.

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (13 ธ.ค.) หลังจากมีรายงานว่าการเจรจาระหว่างสภาคองเกรสและทำเนียบขาวของสหรัฐเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะหน้าผาการคลัง (fiscal cliff) ยังไม่มีความคืบหน้า นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากข่าวสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ประกาศลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือ AAA ของประเทศอังกฤษ เป็น "เชิงลบ"

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวลง 74.73 จุด หรือ 0.56% ปิดที่ 13,170.72 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 9.03 จุด หรือ 0.63% ปิดที่ 1,419.45 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 21.65 จุด หรือ 0.72% ปิดที่ 2,992.16 จุด

 

ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลงหลังจาก S&P ประกาศลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือ AAA ของประเทศอังกฤษ เป็น "เชิงลบ" จากเดิม "มีเสถียรภาพ" ซึ่งบ่งชี้ว่า มีโอกาส 1 ใน 3 ที่ S&P จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอังกฤษ หากภาวะเศรษฐกิจและการคลังของอังกฤษย่ำแย่ลงกว่าในปัจจุบัน

 

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะหน้าผาการคลังของสหรัฐ หลังจากนายจอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐกล่าวว่า ความคิดเห็นของเขาและประธานาธิบดีบารัค โอบามา ในเรื่องการคลังนั้น "ยังแตกต่างกันอยู่มาก" และประธานาธิบดีโอบามาก็ยังไม่ได้เสนอเรื่องการปรับลดงบประมาณการใช้จ่าย

 

นายโบห์เนอร์กล่าวว่า ข้อเสนอล่าสุดของประธานาธิบดีโอบามาในการจัดเก็บภาษีใหม่วงเงิน 1.4 ล้านล้านดอลลาร์นั้น ไม่สอดคล้องกับคำสัญญาของเขาในเรื่องการใช้วิธีการที่สมดุลในการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณ และข้อเสนอนี้จะไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาคองเกรส นอกจากนี้ นายโบห์เนอร์กล่าวว่า การเจรจาต่อรองในเรื่องนี้อาจดำเนินต่อไปตลอดช่วงวันหยุด และอาจยืดเยื้อต่อไปจนถึงเส้นตายในช่วงสิ้นปี

 

ความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาการคลังของสหรัฐได้บดบังปัจจัยบวกจากรายงานที่ว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 8 ธ.ค. ของสหรัฐปรับตัวลดลง 29,000 ราย มาอยู่ที่ระดับ 343,000 ราย ซึ่งทำสถิติลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 9 สัปดาห์ และลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 369,000 ราย

 

นอกจากนี้ ตลาดยังแทบจะไม่ได้รับแรงหนุนจากการที่ประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 4 (QE4) โดยระบุว่าจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรอบใหม่ในวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน พร้อมกับให้คำมั่นสัญญาว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำเป็นพิเศษที่ 0-0.25% ไปจนกว่าอัตราว่างงานจะลดลงต่ำกว่า 6.5%

 

หุ้นแอปเปิลร่วงลงกว่า 2% หลังจากมีรายงานว่าแอพพลิเคชัน Google Maps จะให้บริการบน app store ของแอปเปิล

 

หุ้นฟิลิปส์ 66 ร่วงลง 1.6% ขณะที่หุ้นเบสท์บาย ดิ่งลง 16% ส่วนหุ้นรีเสิร์ช อิน โมชัน ดีดตัวขึ้น 4.1%

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

(เพิ่มเติม) ผู้ว่า ธปท.มองสหรัฐใช้ QE4 ส่งผลสภาพคล่องไหลเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียเพิ่ม

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม 2555 15:23:00 น.

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) มองว่า การที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 4 หรือ QE4 จะทำให้มีสภาพคล่องในระบบไหลเข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้นในระยะต่อจากนี้ อย่างไรก็ตาม หากมีเงินไหลเข้ามาในประเทศไทยด้วย ธปท.ก็ยืนยันว่าจะไม่แทรกแซงค่าเงินบาทโดยไม่จำเป็น เพราะมีต้นทุนค่อนข้างสูง

 

 

การที่เฟดออกมาตรการ QE4 โดยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรอบใหม่ในวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน จากเดิมที่จำกัดวงเงินเพื่อ Morgage back Secuerity เพื่อช่วยภาคอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อตั้งใจรักษาระดับดอกเบี้ยของตลาดเงินโดยรวม กระตุ้นเศรษฐกิจ แก้ปัญหาการจ้างงาน ซึ่ง QE4 จะทำให้มีโอกาสอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบมากขึ้น ทำให้ปริมาณเงินในระบบการเงินโลกมากขึ้น และมีโอกาสเคลื่อนย้ายเงินเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียมากขึ้นด้วย

 

"ขอศึกษารายละเอียดมากกว่านี้ จึงจะให้ข้อมูลได้...การมี QE4 ทำให้สภาพคล่องมากขึ้น แต่ปัจจัยอื่นไม่เปลี่ยนไป ซึ่งภูมิภาคเอเซียเมื่อเทียบ 2 ปีก่อนไม่ได้เติบโตสูงและลักษณะของโครงการครั้งนี้ไม่ใช่เป็นเงินก้อนใหญ่แต่เป็นรายเดือน"ผู้ว่าการ ธปท. กล่าว

 

อย่างไรก็ตาม นายประสาร มองว่า เฟดมีภารกิจที่ผิดแบบจากหน้าที่ปกติของธนาคารกลางประเทศอื่น จากที่เคยดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจและเสถียรภาพการเงิน แต่กลับต้องมีภารกิจดูแลแก้ปัญหาการจ้างงาน ซึ่งถือว่ามากเกินไป เพราะลักษณะปัญหาดังกล่าวควรจะแก้ด้วยนโยบายการคลัง และภายใต้เครื่องมือทางการเงินที่มีจำกัด ทำให้เฟดต้องอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบค่อนข้างมาก

 

"การออก QE4 ถือเป็นประเด็นที่ ธปท.จะต้องจับตาและติดตามเช่นเดียวกับปัจจัยภายนอกอื่นๆ ซึ่งในสัปดาห์นี้จะมีการเลือกตั้งของญี่ปุ่นเช่นกัน"นายประสาร กล่าว

 

ทั้งนี้ ธปท.ยืนยันว่าจะไม่มีการฝืนตลาดในการดูแลค่าเงินหากไม่มีเหตุผลจำเป็น โดยจะยึดแนวทางดูแลตลาดเงินให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด และจะไม่ฝืนตลาด เพราะจะทำให้มีต้นทุนดำเนินการที่สูงมาก เห็นได้จากช่วง 2 ปีก่อนที่ทุกประเทศในภูมิภาคประสบปัญหาค่าเงินแข็งค่า ดังนั้น ธปท.จึงต้องดำเนินการเพื่อลดแรงกระแทก เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวได้

 

"การแทรกแซงตลาดมีต้นทุนมากตามมา เราพยายามที่จะหลีกเลี่ยงถ้าทำได้ จากผลการศึกษาของเรา การมีเงินไหลเข้า ไม่ใช่แค่มองที่ส่วนต่างดอกเบี้ยเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจประเทศนั้นๆ ที่เขาเอาเงินเข้าไป มีศักยภาพการเติบโตแค่ไหน หากเยอะก็เอาเงินเข้าไป หากไม่เยอะก็ต้องดู" ผู้ว่า ธปท. กล่าว

 

ผู้ว่า ธปท.ยังได้ปาฐกถาเรื่อง"การเตรียมความพร้อมของภาคธุรกิจและประชาชนในการลงทุน ปี 2013"ในงาน Thailand Smart Money ว่า บรรยากาศการลงทุนในปีหน้ายังจะดีต่อเนื่องจากปีนี้ โดยความอึมครึมของเศรษฐกิจโลกดูเหมือนจะน้อยลงกว่าช่วงก่อน แม้ไม่ได้กลับมาขยายตัวได้เป็นปกติ แต่ถือว่าผ่านจุดเลวร้ายไปแล้ว ในขณะที่เศรษฐกิจเอเชียหลายประเทศเริ่มกลับมาส่งออกและขยายตัวได้

 

อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยติดตามในระยะข้างหน้า ทั้งผลการต่ออายุมาตรการทางการคลังของสหรัฐฯ (fiscal cliff) หรือการหดตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่อาจเนิ่นนานกว่าที่คาด และในยุโรป แม้จะมีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนขึ้น แต่ยังต้องการแผนงานเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ในทางปฏิบัติ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุให้ตลาดการเงินยังคงมีความผันผวนอยู่ได้บ้างในระยะต่อไป

 

สำหรับเศรษฐกิจไทยในปีหน้า คาดว่าจะเติบโตได้ในอัตรา 4.6% โดยอาศัยแรงขับเคลื่อนจากการจับจ่ายใช้สอยและการลงทุนของภาคเอกชนในประเทศ อีกทั้งการใช้จ่ายของภาครัฐภายใต้มาตรการกระตุ้นต่าง ๆ เสถียรภาพโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ยังไม่มีสัญญาณการเกิดฟองสบู่ และความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อมีน้อย แต่อาจยังต้องระมัดระวังและจับตามองการปรับตัวของภาคธุรกิจจากมาตรการปรับขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทในระลอกสอง

 

แต่ในระยะต่อไป การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐที่จะช่วยแก้ปัญหาคอขวดของภาคการผลิต เช่น ด้านการขนส่ง จะช่วยลดต้นทุนของภาคธุรกิจลงได้ นอกจากนี้ การเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะเป็นทั้งความท้าทายและโอกาสอันดี ที่ภาคธุรกิจจะลงทุนเพื่อเตรียมพร้อมรับตลาดที่เปิดกว้าง และการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้นด้วย

 

อินโฟเควสท์ โดย จารุวรรณ ไหมทอง/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: sasithorn@infoquest.co.th--

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมื่อคืนเข้า เพิ่ม1689/ 24574 จะรอดไหมนี่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เมื่อคืนเข้า เพิ่ม1689/ 24574 จะรอดไหมนี่

ถ้ามีเงื่อนไขระยะเวลามาเกี่ยวข้อง ก็คางเหลืองบอบช้ำ แต่ถ้าไม่มี อาทิตย์หน้ามีหวังมาก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์อ่อนเทียบยูโร เหตุวิตกปัญหาการคลังสหรัฐ

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2555 07:23:04 น.

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (13 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลว่าสหรัฐอาจจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาวะหน้าผาการคลัง (fiscal cliff) หลังทำเนียบขาวและสภาคองเกรสสหรัฐยังไม่สามารถตกลงกันในเรื่องดังกล่าวได้

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง 0.03% เมื่อเทียบกับยูโรที่ 1.3076 ยูโร จากระดับของ 1.3072 ยูโร ขณะที่เงินปอนด์ร่วงลง 0.23% แตะที่ 1.6110 ปอนด์ จากระดับ 1.6147 ปอนด์

 

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.44% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 83.620 เยน จากระดับ 83.250 เยน และร่วงลง 0.27% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 0.9235 ฟรังค์ จากระดับ 0.9260 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.24% แตะที่ 1.0527 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0552 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้นอ่อนตัวลง 0.02% แตะที่ 0.8432 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8434 ดอลลาร์สหรัฐ

 

สกุลเงินดอลลาร์ยังคงอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโรเนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาการคลังของสหรัฐ โดยนายจอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐกล่าวว่า ความคิดเห็นของเขาและประธานาธิบดีบารัค โอบามา ในเรื่องการคลังนั้น "ยังแตกต่างกันอยู่มาก" และข้อเสนอล่าสุดของประธานาธิบดีโอบามาในการจัดเก็บภาษีใหม่วงเงิน 1.4 ล้านล้านดอลลาร์นั้น ไม่สอดคล้องกับคำสัญญาของเขาในเรื่องการใช้วิธีการที่สมดุลในการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณ ซึ่งเขามองว่าข้อเสนอนี้จะไม่ผ่านความเห็นชอบของสภาคองเกรส

 

ด้านเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ เตือนว่า การดำเนินการใดๆของเฟดในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงมาตรการ QE4 นั้นไม่สามารถที่จะชดเชยความเสียหายทางเศรษฐกิจซึ่งเกิดจากภาวะหน้าผาการคลัง หรือมาตรการการปรับขึ้นภาษีและปรับลดงบประมาณค่าใช้จ่ายของรัฐบาลซึ่งจะเริ่มมีผลในเดือนหน้า หลังจากที่ประธานาธิบดีโอบามาและเจ้าหน้าที่นิติบัญญัตของพรรครีพับลิกันมีความเห็นไม่ลงรอยกัน

 

ค่าเงินยูโรได้รับแรงหนุนหลังจากนายปิแอร์ มอสโควิซี รมว.คลังฝรั่งเศส กล่าวว่าบรรดารัฐมนตรีคลังยูโรโซนได้บรรลุข้อตกลงในการจัดตั้งกลไกกำกับดูแลภาคธนาคารที่เป็นหนึ่งเดียว ร่วมกับธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการดังกล่าว

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

S&P ลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือของอังกฤษเป็น เชิงลบ จาก มีเสถียรภาพ

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2555 05:52:40 น.

สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ประกาศลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือ AAA ของประเทศอังกฤษ เป็น "เชิงลบ" จากเดิม "มีเสถียรภาพ" ซึ่งบ่งชี้ว่า มีโอกาส 1 ใน 3 ที่ S&P จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอังกฤษ หากภาวะเศรษฐกิจและการคลังของอังกฤษย่ำแย่ลง

 

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดน้ำมัน: วิตกปัญหาการคลังสหรัฐ ฉุดน้ำมัน WTI ปิดลบ 88 เซนต์

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2555 06:57:29 น.

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลดลงเมื่อคืนนี้ (13 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อข่าวที่ว่า ทำเนียบขาวและสภาคองเกรสสหรัฐยังไม่มีความคืบหน้าในเรื่องการเจรจาเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะหน้าผาการคลัง (fiscal cliff) ซึ่งภาวะชะงักงันในเรื่องดังกล่าวอาจจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะถดถอยครั้งใหม่

 

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค.ลดลง 88 เซนต์ หรือ 1% ปิดที่ 85.89 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 85.81-86.97 ดอลลาร์

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนม.ค.ที่ตลาดลอนดอนร่วงลง 1.59 ดอลลาร์ หรือ 1.5% ปิดที่ 107.91 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 107.80-109.52 ดอลลาร์

 

สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงหลังจากนายจอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐกล่าวว่า ความคิดเห็นของเขาและประธานาธิบดีบารัค โอบามา ในเรื่องการคลังนั้น "ยังแตกต่างกันอยู่มาก" และประธานาธิบดีโอบามาก็ยังไม่ได้เสนอเรื่องการปรับลดงบประมาณการใช้จ่าย

 

นายโบห์เนอร์กล่าวว่า ข้อเสนอล่าสุดของประธานาธิบดีโอบามาในการจัดเก็บภาษีใหม่วงเงิน 1.4 ล้านล้านดอลลาร์นั้น ไม่สอดคล้องกับคำสัญญาของเขาในเรื่องการใช้วิธีการที่สมดุลในการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณ และข้อเสนอนี้จะไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาคองเกรส นอกจากนี้ นายโบห์เนอร์กล่าวว่า การเจรจาต่อรองในเรื่องนี้อาจดำเนินต่อไปตลอดช่วงวันหยุด และอาจยืดเยื้อต่อไปจนถึงเส้นตายในช่วงสิ้นปี

 

นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันที่เพิ่มขึ้น โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 7 ธ.ค. เพิ่มขึ้น 843,000 บาร์เรล แตะที่ 372.6 ล้านบาร์เรล ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะร่วงลง 2.2 ล้านบาร์เรล

 

ขณะที่สต็อกน้ำมันกลั่นเพิ่มขึ้น 3 ล้านบาร์เรล แตะที่ 118.1 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.5 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมันเบนซินพุ่งขึ้น 5 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 217.1 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.2 ล้านบาร์เรล

 

ส่วนประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) นั้น ที่ประชุมมติคงเป้าหมายการผลิตน้ำมันไว้ที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในการประชุมที่กรุงเวียนนาเมื่อวานนี้ ส่งสัญญาณว่าโอเปคพอใจกับราคาน้ำมันในขณะนี้ ด้านโฆษกของกลุ่มโอเปคกล่าวว่า โอเปคตัดสินใจคงเป้าหมายการผลิตน้ำมันไว้เท่าเดิม โดยพิจารณาจากความผันผวนและซบเซาของเศรษฐกิจโลกในปี 2556

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: แรงขายทำกำไรฉุดทองคำปิดร่วง 21.1 ดอลลาร์

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2555 06:33:06 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (13 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาเทขายทำกำไร หลังจากสัญญาทองคำพุ่งขึ้นขานรับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 4 (QE4) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เมื่อวันก่อน

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.ร่วงลง 21.1 ดอลลาร์ หรือ 1.23% ปิดที่ 1,696.8 ดอลลาร์/ออนซ์

 

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 32.355 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 1.427 ดอลลาร์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 5.60 เซนต์ ปิดที่ 3.6600 ดอลลาร์/ปอนด์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.ปิดที่ 1612.80 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 33.60 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 691.65 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 9.50 ดอลลาร์

 

สัญญาทองคำพุ่งขึ้น 8.3 ดอลลาร์เมื่อวันพุธ หลังจากเฟดประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 4 (QE4) โดยระบุว่าจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรอบใหม่ในวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน พร้อมกับให้คำมั่นสัญญาว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำเป็นพิเศษที่ 0-0.25% ไปจนกว่าอัตราว่างงานจะลดลงต่ำกว่า 6.5%

 

แต่สัญญาทองคำร่วงลงอย่างหนักในวันพฤหัสบดี เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาเทขายทำกำไร ขณะที่นักวิเคราะห์หลายคนคาดว่าทองคำอาจจะได้รับแรงกดดันจากคำสั่งขายในอีก 2 วันทำการข้างหน้า

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2555 07:36:44 น.

ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (13 ธ.ค.) หลังจากเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยอมรับว่า มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 4 (QE4) ด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนนั้น จะไม่สามารถบรรเทาผลกระทบที่รุนแรงของภาวะหน้าผาการคลัง (fiscal cliff) ของสหรัฐได้

 

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 0.4% ปิดที่ 279.63 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3643.13 ลบ 3.53 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 7581.98 ลบ 32.81 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนที่ 5929.61 ลบ 16.24 จุด

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (13 ธ.ค.) หลังจากมีรายงานว่าการเจรจาระหว่างสภาคองเกรสและทำเนียบขาวของสหรัฐเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะหน้าผาการคลัง (fiscal cliff) ยังไม่มีความคืบหน้า นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากข่าวสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ประกาศลดแนวโน้มความน่าเชื่อถือ AAA ของประเทศอังกฤษ เป็น "เชิงลบ"

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวลง 74.73 จุด หรือ 0.56% ปิดที่ 13,170.72 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 9.03 จุด หรือ 0.63% ปิดที่ 1,419.45 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 21.65 จุด หรือ 0.72% ปิดที่ 2,992.16 จุด

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลดลงเมื่อคืนนี้ (13 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อข่าวที่ว่า ทำเนียบขาวและสภาคองเกรสสหรัฐยังไม่มีความคืบหน้าในเรื่องการเจรจาเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะหน้าผาการคลัง (fiscal cliff) ซึ่งภาวะชะงักงันในเรื่องดังกล่าวอาจจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะถดถอยครั้งใหม่

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค.ลดลง 88 เซนต์ หรือ 1% ปิดที่ 85.89 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 85.81-86.97 ดอลลาร์

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนม.ค.ที่ตลาดลอนดอนร่วงลง 1.59 ดอลลาร์ หรือ 1.5% ปิดที่ 107.91 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 107.80-109.52 ดอลลาร์

 

-- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (13 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลว่าสหรัฐอาจจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาวะหน้าผาการคลัง (fiscal cliff) หลังทำเนียบขาวและสภาคองเกรสสหรัฐยังไม่สามารถตกลงกันในเรื่องดังกล่าวได้

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง 0.03% เมื่อเทียบกับยูโรที่ 1.3076 ยูโร จากระดับของ 1.3072 ยูโร ขณะที่เงินปอนด์ร่วงลง 0.23% แตะที่ 1.6110 ปอนด์ จากระดับ 1.6147 ปอนด์

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้น 0.44% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 83.620 เยน จากระดับ 83.250 เยน และร่วงลง 0.27% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 0.9235 ฟรังค์ จากระดับ 0.9260 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.24% แตะที่ 1.0527 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0552 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้นอ่อนตัวลง 0.02% แตะที่ 0.8432 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8434 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบเมื่อคืนนี้ (13 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าสหรัฐอาจจะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะหน้าผาการคลัง (fiscal cliff) หลังจากเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยอมรับว่า มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 4 (QE4) จะไม่สามารถบรรเทาผลกระทบที่รุนแรงของภาวะหน้าผาการคลังได้

 

ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ลดลง 16.24 จุด หรือ 0.27% ปิดที่ 5,929.61 จุด หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 5,918.57-5,947.85 จุด

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการการนำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริไปขยายผล ในพื้นที่ความมั่นคง ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 ณ โรงแรมแม๊กซ์ พระราม 9 “นายสุเมธ ตันติเวชกุล” เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ ขึ้นบรรยายในการประชุมดังกล่าว และในการบรรยายของ ดร.สุเมธในครั้งนั้นก็สร้างความชุ่มชื่นให้เกิดขึ้นในหัวใจของคนไทยทั้งแผ่น ดิน เพราะทำให้ทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยปวงชนชาวไทยตลอดเวลา

 

ดร.สุเมธกล่าวตอนหนึ่งว่า ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงงานอยู่ เพราะประชาชนยังยากจนอยู่ เมื่อยังมีความยากจน จึงไม่มีเสรีภาพ เขาจึงเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ ซึ่งปัญหาความยากจน ไม่ใช่เป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่โยงไปถึงการเมืองด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีโครงการทั้งหมดประมาณ 6,000 โครงการ ซึ่งไม่ซ้ำกับโครงการรัฐบาล เพื่ออุด ช่องโหว่ช่วยเหลือประชาชน แต่เมื่อราชการเข้ามาถึง จึงถอนออกมา

 

“จะเห็นได้ว่าโครงการต่างๆ ของพระองค์เน้นรักษา ดิน น้ำ ลม ไฟ หรือ ทรัพยากรธรรมชาติ เพราะถ้าไม่มีแผ่นดิน จะมีประเทศได้อย่างไร แผ่นดินนี้ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งหมายถึง ชีวิต ที่ผ่านมา ทุกคนใช้แผ่นดินนี้ด้วยความโลภ ทำลายแผ่นดิน"

 

ดร.สุเมธกล่าวด้วยว่า พระองค์ทรงทำได้ด้วยการให้คำแนะนำหรือสอนเท่านั้น เพราะคนที่ดูแลคนทั่วประเทศ คือ รัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ หากพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดี มีความสงบ ไม่ถูกข่มเหง ไม่ถูกโกง ทำได้เช่นนี้ประเทศมีความมั่นคง และไม่เป็นลัทธิบริโภคนิยม ไม่ใช้ทุกอย่างเกินตัว ต้องใช้อย่างพอประมาณ ต้องรู้ต้นทุนตัวเอง คนรวยแล้วต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่คดโกง ไม่คอร์รัปชัน

 

“ประเทศไทย คนไหนมีเงินก็ยึดไว้หมด ประชาชนเป็นแค่แรงงาน เงินค่าแรง 300บาท ไม่รู้ว่าตอนนี้ขึ้นค่าแรงครบหรือยัง และตอนนี้ข้าวแกงขึ้นไปเท่าไร ถ้าทำให้ประชาชนมีที่ดิน เป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติที่แท้จริง การฝักใฝ่ฝ่ายใดคงไม่มี และไม่มีแบ่งสีนั้น สีนี้ เหมือนปัจจุบัน ซึ่งปัญหาทุกอย่างเกิดขึ้นมีพื้นฐานมาจากด้านเศรษฐกิจทั้งหมด หากปากท้องอิ่ม ชีวิตไม่ต้องทนลำบาก ไม่ต้องเจอวิกฤต เมื่อนั้นจะมีประชาธิปไตยเกิดขึ้น”

 

ดร.สุเมธกล่าวด้วยว่าว่า ขณะนี้ปัญหาด้านความมั่นคงต้องตีให้แตกว่า มีสาเหตุจากอะไร เพราะปัญหาซ่อนเร้น ไม่เหมือนที่ผ่านมา เมื่อหาสาเหตุได้แล้ว ให้หาต้นเหตุการแก้ไขปัญหา ตามหลักชาวพุทธที่ให้แก้ปัญหาที่ต้นตอ ตราบใดที่หาต้นตอไม่ได้อย่าเพิ่งหมดหวัง ซึ่งเครื่องมือสำคัญที่แก้ไขปัญหา คือ การพัฒนา และการปกครองต้องมีความยุติธรรม มีความรัก เมตตา ความรับผิดชอบ การแก้ไขปัญหาง่ายๆ คือ ให้ประชาชนพ้นจากความยากจน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีหน้าที่แนะนำ ใครจะทำตามก็ได้ แต่เราต้องหาสาเหตุและต้นเหตุให้ได้ จึงจะแก้ไขปัญหาได้ มูลนิธิชัยพัฒนา หมายความว่า เราจะต้องใช้การพัฒนาเพื่อนำไปสู่ชัยชนะ และศึกครั้งนี้ พระองค์ท่านจะนำทัพเอง

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รมว.คลังฝรั่งเศสเผยรมว.คลังอียูบรรลุข้อตกลงกำกับดูแลภาคธนาคาร (14/12/2555)

นายปิแอร์ มอสโควิซี รมว.คลังฝรั่งเศส กล่าวว่าในเช้าวันนี้ บรรดารัฐมนตรีคลังยูโรโซนได้บรรลุข้อตกลงในการจัดตั้งกลไกกำกับดูแลภาคธนาคารที่เป็นหนึ่งเดียว ร่วมกับธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการดังกล่าว

 

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า แถลงการณ์ดังกล่าว ซึ่งมีขึ้นหลังการประชุมรัฐมนตรีคลังสหภาพยุโรป (อียู) ได้ยืนยันรายงานก่อนหน้านี้ที่ระบุว่าอียูได้ดำเนินการก้าวแรกที่มีความสำคัญในการจัดตั้งสหภาพการธนาคาร

 

ก่อนหน้านี้ ร่างแถลงการณ์ของการประชุมสุดยอดอียูแสดงให้เห็นว่า บรรดาผู้นำอียูจะพิจารณาความเป็นไปได้ของการสร้างระบบที่มีการรวมศูนย์มากขึ้นในการกำกับดูและภาคธนาคารและการปฏิรูปทางการคลังเมื่อมีการประชุมสุดยอดเป็นเวลา 2 วัน ซึ่งเปิดฉากขึ้นในวันนี้ที่กรุงบรัสเซลส์

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 14 ธันวาคม 2555)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

By Steve Goldstein

WASHINGTON (MarketWatch) -- A meeting between President Barack Obama and House Speaker John Boehner was "frank" and lasted 50 minutes, a Boehner spokesman said late Thursday. The two were discussing a plan to avert the fiscal cliff, the series of tax hikes and spending cuts due to hit next year without legislative action. Treasury Secretary Tim Geithner also attended the meeting, the department said in a statement.

 

นายโอบามา พบกับ นายโบห์เนอร์ แบบเปิดอกคุย และยืนยันว่า แผนของหลีกเลี่ยงหน้าผาการคลัง การขึ้นภาษี และ ตัดรายจ่าย จะแล้วเสร็จปีหน้าโดยจะไม่เอาการเมืองมาเล่นเกม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...