ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

เงินบาทเปิดแข็งค่า ล่าสุด 30.07/09 มองมีโอกาสแตะ 30 จับตาทุนไหลเข้า

 

 

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบีไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ที่ระดับ 30.15/17 บาท/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 30.22/25 บาท/ดอลลาร์ ล่าสุดยังแข็งค่าต่อเนื่องมาที่ระดับ 30.07/09 บาท/ดอลลาร์ คาดว่าเป็นผลมาจากมีเงินทุนไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง

เมื่อเวลา 11.10 น. เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 30.09/11 บาท/ดอลลาร์

"น่าจะมีเงินทุนไหลเข้ามา แต่ภูมิภาคยังทรงๆตัว มีริงกิตอาจจะแข็งบ้าง ส่วนยูโรทรงๆตัว ขณะที่เยนไม่แตกต่างจากเมื่อวานเท่าไหร่"นักบริหารเงิน กล่าว

ส่วนความเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศช่วงเช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 89.56/60 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 89.36/37 เยน/ดอลลาร์ ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3387/3389 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 1.3385/3386 ดอลลาร์/ยูโร

นักบริหารเงิน คาดว่า เงินบาทวันนี้น่าจะยังแข็งค่า มองกรอบไว้ที่ 30.00-30.20 บาท/ดอลลาร์ แต่คาดว่าวันนี้ไม่น่าจะหลุดระดับ 30 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้มีโอกาสแตะ 30 แต่ยังไม่น่าจะหลุด 30...จับตาเงินทุนไหลเข้า"นักบริหารเงิน กล่าว

ล่าสุด SPOT อยู่ที่ 30.0971 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ 2.72401%

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

'เบอร์นันเก้'ผนึก'โอบามา'กดดันคองเกรส15/01/56

เบน เบอร์นันเก้ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ออกมาเรียกร้องให้สมาชิกสภาคองเกรสเพิ่มเพดานการกู้ยืมด่วน เพื่อเลี่ยงไม่ให้สหรัฐตกอยู่ในสภาพผิดนัดชำระหนี้ พร้อมเตือนว่า เศรษฐกิจสหรัฐตกอยู่ในสภาพเสี่ยงจากการงัดข้อทางการเมืองเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาขาดดุลงบประมาณ

 

เบอร์นันเก้ กล่าวในงานสัมมนาของมหาวิทยาลัยมิชิแกนโดยเปรียบเปรยว่า เพดานหนี้ก็เหมือนกับครอบครัวที่พยายามแก้ปัญหาหนี้ ปากก็รับว่าจะประหยัดค่าใช้จ่าย แต่กลับมีพฤติกรรมไม่ยอมจ่ายหนี้

 

อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐมองภาพรวมการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในแง่ดี แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณชัดเจน ว่า เฟดจะหยุดเข้าซื้อพันธบัตรช่วงไหน ท่ามกลางคาดการณ์ว่าเฟดคงหยุดแผนซื้อพันธบัตรในปีนี้

 

เบอร์นันเก้ ยังประนามคองเกรสที่ทำให้ประเทศตกอยู่ในสภาพลุ้นระทึกว่า จะมีเงินมาชำระหนี้ได้หรือไม่ โดยส่งสัญญาณชัดเจนไปยังสภาคองเกรสว่า เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่สภาคองเกรสต้องเพิ่มเพดานหนี้เพื่อเลี่ยงไม่ให้รัฐบาลถังแตก และเสียเครดิต

 

ในความเป็นจริงหนี้สหรัฐชนเพดาน 16.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐมาตั้งแต่ 31 ธันวาคมที่ผ่านมา แต่ได้รับการยืดอายุไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และกระทรวงการคลังกำลังกังวลว่า หนี้สหรัฐอาจชนเพดานก่อนกำหนด หรือประมาณกลางกุมภาพันธ์นี้

 

ทั้งนี้ พรรครีพับลิกันต้องการใช้การเพิ่มเพดานหนี้เป็นไม้ตายสำหรับต่อรองให้รัฐบาลโอบามาตัดค่าใช้จ่ายระดับสูง เพื่อแก้ปัญหายอดขาดดุลงบประมาณที่เรื้อรัง แต่ผู้นำสหรัฐ แถลงว่า เขาปิดประตูตายและจะไม่ยอมเจรจาต่อรองเพื่อขอเพิ่มเพดานหนี้

 

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ (15/01/56)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประธานเฟดเตือนเศรษฐกิจสหรัฐยังเสี่ยงจากปัญหาชะงักงันทางการเมือง(15/01/2556)

สหรัฐ 15 ม.ค. - ประธานธนาคารกลางของสหรัฐ หรือ เฟด เผยว่า ขณะนี้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องการเพิ่มเพดานหนี้อยู่ในช่วงวิกฤตที่ยังหา ทางออกไม่ได้

 

นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางของสหรัฐ หรือ เฟด กล่าวถึงปัญหาความขัดแย้งเรื่องการเพิ่มเพดานหนี้ของประเทศ ว่าอยู่ในขั้นวิกฤตหนัก และเรียกร้องให้บรรดาสมาชิกสภาคองเกรสทั้งจากพรรคริพับลิกันและเดโมแครต เร่งตกลงกันให้ได้เพื่อดำเนินการปรับเพิ่มเพดานหนี้ ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยหลีกเลี่ยงมหันตภัยจากปัญหาผิดนัดชำระหนี้ได้ พร้อมทั้งเตือนว่าขณะนี้เศรษฐกิจสหรัฐ ยังอยู่ในภาวะเสี่ยงจากปัญหาชะงักงันทางการเมือง โดยระบุว่า แม้สภาคองเกรสสามารถตกลงยืดอายุมาตรการลดภาษีออกไปเพื่อแก้ปัญหาหน้าผาทาง การคลังได้ แต่ก็เป็นเพียงมาตรการชั่วคราว เพราะขณะนี้ยังมีปัญหาทางการเงินการคลังอีกหลายประการที่จ่อรอการ แก้ไข.-

ที่มา : สำนักข่าวไทย (วันที่ 15 มกราคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รับมือบาทแข็งหลังปท.ยักษ์ใช้ค่าเงินอ่อน(15/01/2556)

ค่าเงินป่วนศก.คาดเงินบาทแตะ29บาท/เหรียญสหรัฐ ส่งออกกำไรหดต้นทุนพุ่ง ท่องเที่ยวแฟบ

 

ความพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของมหาอำนาจเศรษฐกิจโลก สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป (อียู) ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยทั้งหมดชูนโยบายค่าเงินอ่อน ล่าสุด นายชินโสะอาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้กดดันให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ขยายเพดานเงินเฟ้อจาก 1% ไปเป็น 2% ขณะเดียวกันยังมีรายงานว่าญี่ปุ่นมีแผนจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอีก ล็อตใหญ่ เพื่อกดดันให้เงินเยนอ่อนค่าลงอีกอย่างต่อเนื่องด้วย

 

ผลกระทบที่เกิดขึ้นในขณะนี้ คือ ทำให้เกิดเงินทุนไหลบ่ามาในเอเชีย ซึ่งในปลายปีที่แล้ว ฮ่องกงต้องออกมาตรการสกัดเงินไหลเข้า ขณะนี้เงินไหลบ่ากำลังเป็นปัญหาต่อสิงคโปร์ จนรัฐบาลต้องประกาศมาตรการใหม่เพื่อควบคุมความร้อนแรงของตลาดอสังหาริม ทรัพย์หลังจากที่ราคาอสังหาริมทรัพย์หลังจากที่ราคาพุ่งสวนทางกับสภาพ เศรษฐกิจขาลง โดยจะขึ้นภาษีชาวต่างชาติที่ต้องการซื้อบ้านในสิงคโปร์ และขยายเงินดาวน์ขั้นต่ำจาก 10% เป็น 25% สำหรับผู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 ขึ้นไป

 

สำหรับประเทศไทย ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ค่าเงินบาทขณะนี้แข็งค่าที่สุดในรอบ 15 เดือน ธปท.จับตาดูอย่างใกล้ชิด แต่ยังถือว่าไม่แข็งค่าเร็วเกินไป เมื่อเทียบกับพื้นฐานเศรษฐกิจ เป็นผลมาจากเงินไหลเข้าซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งภูมิภาค ไม่ได้ไหลเข้ามาที่ไทยแห่งเดียว เห็นได้จากตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ และเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นตามทิศทางของพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่ปรับดีขึ้น ด้วย

 

นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น ทั้งในสหรัฐ ยุโรป และจีน ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มมีความมั่นใจที่จะนำเงินออกมาลงทุนในเอเชีย ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงมากขึ้น จึงคาดว่าในระยะยาวค่าเงินบาทมีโอกาสจะปรับตัวแข็งค่าขึ้นไปถึง 29 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

 

น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ปีนี้ผู้ส่งออกจะเผชิญกับรายได้ที่ลดลง เพราะเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นบวกกับการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินก็ทำให้ ผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่ม อีกทั้งการท่องเที่ยวอาจจะได้รับผลกระทบ เพราะทัวร์‌ไทยมีราคาแพงขึ้น

 

ที่มา : โพสต์ทูเดย์ (วันที่ 15 มกราคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางญี่ปุ่นปรับลดการประเมินเศรษฐกิจใน 8 เขตหลังศก.โลกชะลอตัว (15/01/56)

ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ปรับลดการประเมินเขตเศรษฐกิจระดับภูมิภาค 8 เขต จากทั้งหมด 9 เขต เมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการปรับลดการประเมิน 2 ไตรมาสติดต่อกัน หลังจากที่เศรษฐกิจในประเทศต่างๆชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจนส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต

 

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า มีการปรับลดการประเมินภาวะเศรษฐกิจใน 8 เขต ยกเว้นเศรษฐกิจในฮอกไกโด โดยธนาคารกลางญี่ปุ่นระบุในรายงานรายไตรมาสที่มีการเผยแพร่หลังการประชุมผู้จัดการสาขาว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้หยุดชะงักลง โดยเศรษฐกิจอยู่ในภาวะอ่อนแรง หรือทรงตัว

 

ในรายงานที่ได้มีการเผยแพร่เมื่อเดือนต.ค.นั้น เศรษฐกิจ 8 เขต จากทั้งหมด 9 เขต ถูกปรับลดลงเช่นกัน ซึ่งสะท้อนถึงเศรษฐกิจของนานาประเทศที่ชะลอตัวลง

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (15/01/56)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางอังกฤษไม่ขยายโครงการ QE(15/01/2556)

ธนาคารกลางอังกฤษตัดสินใจไม่ขยายมาตรการโครงการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) แม้ว่าสำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) ได้ปรับลดการขยายตัวของจีดีพีไตรมาส 3 ปี 2555 เป็น 0.9% จากเดิม 1.0% เนื่องจากภาคบริการ การค้า และการใช้จ่ายผู้บริโภคขยายตัวน้อยกว่าการประเมินก่อนหน้านี้ โดยการค้าสุทธิของอังกฤษขยายตัว 0.5% ลดลงจากรายงานก่อนหน้านี้ที่ 0.7% ส่วนการใช้จ่ายผู้บริโภคขยายตัว 0.4% ต่ำกว่าตัวเลขเดิมที่ 0.6%

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 15 มกราคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ต่างชาติเริ่มเทขายบอนด์(15/01/2556)

สมาคมตราสารหนี้ ยอมรับ ขณะนี้ต่างชาติมีการเทขายพันธบัตร เพื่อนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เหตุ ดอกเบี้ยไทยต่ำ

 

 

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หรือ ThaiBMA ให้สัมภาษณ์ Money Channel ถึงสภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในขณะนี้ว่า เนื่องจากพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะ 10 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเป็น 1.8% จึงทำให้มีการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐสูงที่สุดในรอบ 8 เดือน ซึ่งเป็นการเทขายพันธบัตรเพื่อไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยทิศทางของตลาดตราสารหนี้ไทยก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดโลก

 

 

นอกจากนี้ การที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.75% และ การคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจในการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น

 

 

ทั้งนี้ ล่าสุดพบว่า มีเม็ดเงินต่างชาติ หรือ Fund Flow ไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทยด้วย ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีการซื้อสุทธิจากต่างชาติแล้ว 3 หมื่น 6 พันล้านบาท โดย 90% ของเม็ดเงินดังกล่าวเป็นการซื้อพันธบัตรระยะสั้น หรือ ระยะ 3 เดือน // 6 เดือน อันเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า นักลงทุนมีความระมัดระวังสูงมากในการลงทุน

 

 

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของมูลค่าการถือครองจากต่างชาติจนถึงขณะนี้มีมูลค่าสูงถึง 7 แสน 3 หมื่นล้านบาท จาก 7 แสน 1 หมื่นล้านบาท เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา โดย 70% ของการถือครอง ส่วนใหญ่เป็นตราสารระยะยาว หรือ มากกว่า 1 ปี ขึ้นไป จึงไม่น่าจะเห็นการซื้อหรือขายออกอย่างรวดเร็ว

 

 

สำหรับแนวโน้มตราสารหนี้ในระยะอันใกล้นี้ นักลงทุนควรจะจับตาเศรษฐกิจโลก และ การแก้ปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ซึ่งหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกถอถอยอีกครั้ง และ Fund Flow ที่มีอยู่ในตลาดเงินตลาดทุนต่างๆ ทั่วโลก ก็จะไหลกลับเข้าสู่ Save Haven

 

ที่มา : money channel (วันที่ 15 มกราคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำ ไม่แทรกแซงบาท (15/01/2556)

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำ ไม่จำเป็นต้องแทรกแซงค่าเงินบาทในช่วงนี้ เหตุ แข็งค่าตามภูมิภาค ไม่ได้เคลื่อนไหวผิดปกติ

 

 

นาย ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กล่าวถึง ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย รองจากริงกิต มาเลเซีย ว่า หากการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนไม่เปลี่ยนไปมากนัก ธปท.ก็คงต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด ซึ่งขณะนี้การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้เคลื่อนไหวผิดปกติ หากเทียบกับเหตุผลจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

 

ผู้ว่า ธปท.ย้ำว่า ธปท.ไม่มีเจตนาอะไรที่จะเข้าไปแซกแทรกในช่วงนี้ และถ้าจะทำ ก็ต่อเมื่อเห็นว่า มีเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่สอดคล้องด้านเศรษฐกิจ จนทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวผิดปกติไป

ซึ่งปัจจุบันก็เคลื่อนไหวไปตามเศรษฐกิจภูมิภาค

 

ส่วนเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้ายที่เริ่มเห็นการไหลเข้าในภูมิภาคเอเชียค่อน ข้างมากในช่วงนี้ นายประสาร บอกว่า ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะบางช่วงย่อมมีเงินไหลเข้าออกทั้งน้อยและมาก แตกต่างเพียงจังหวะและเวลา ซึ่งเงินทุนเคลื่อนย้ายครั้งนี้ถือเป็นปรากฏการณ์ทั้งภูมิภาค ตามการเติบโตของเศรษฐกิจ ที่ปัจจุบันนักลงทุนเล็งเห็นว่า เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียเริ่มดี โดยเฉพาะปี 2556 ที่ตลาดการเงินคาดการณ์ว่า จะเติบโตค่อนข้างดี ดังนั้นจึงมีการลงทุนค่อนข้างสูง

 

ที่มา : money channel (วันที่ 15 มกราคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

“โอบามา" เรียกร้องคองเกรสเพิ่มเพดานหนี้เพื่อเลี่ยงผลกระทบความเชื่อมั่น,เศรษฐกิจ (15/01/56)

ในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐจะทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งสมัยที่ 2 อย่างเป็นทางการ ปธน.โอบามาได้เรียกร้องให้สภาคองเกรสปรับเพิ่มเพดานหนี้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อเลี่ยงผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

 

ปธน.โอบามากล่าวในการแถลงข่าวที่ทำเนียบขาวว่า การเพิ่มเพดานหนี้ของประเทศไม่ใช่การให้อำนาจในการใช้จ่ายแก่รัฐบาลมากขึ้น แต่เป็นการทำให้ประเทศสามารถจัดการกับรายจ่ายที่ก่อขึ้นได้

 

ปธน.โอบามาเตือนว่า การที่สภาคองเกรสปฏิเสธที่จะเพิ่มเพดานหนี้จะเป็นการสร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจของสหรัฐเอง และจะส่งผลให้มีการชะลอการเบิกจ่ายผลประโยชน์แก่ผู้ที่รับสวัสดิการสังคม รวมทั้งอาจจะฉุดให้ประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอย

 

หนี้สินของรัฐบาลกลางสหรัฐได้เพิ่มแตะระดับเพดานที่ 16.4 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.2555 และกระทรวงการคลังได้ดำเนินมาตรการพิเศษเพื่อเลื่อนวันผิดนัดชำระหนี้ออกไปชั่วคราว

 

นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รมว.คลังสหรัฐกล่าวเมื่อวานนี้ในจดหมายฉบับหนึ่งที่เสนอต่อบรรดาผู้นำสภาคองเกรสว่า คาดว่ารัฐบาลสหรัฐจะหมดหนทางในการชำระหนี้สินตามสัญญาในช่วงกลางเดือนก.พ.ถึงต้นเดือนมี.ค.

 

หากคองเกรสไม่ดำเนินการเพื่อขยายอำนาจในการกู้ยืม การเบิกจ่ายเงินด้านสวัสดิการสังคม โครงการประกันสุขภาพของรัฐบาลกลาง (Medicare) และโครงการอื่นๆที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ก็จะตกอยู่ในภาวะเสี่ยง

 

“นี่จะก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงต่อประชาชนและภาคธุรกิจทั่วประเทศ" นายไกธ์เนอร์กล่าว

 

ปธน.โอบามากล่าวว่า ขณะที่ภัยคุกคามของการผิดนัดชำระหนี้ของรัฐบาลกำลังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและกำลังบั่นทอนเศรษฐกิจนั้น การพิจารณาที่จะไม่ปรับขึ้นเพดานหนี้เป็นเรื่องที่ไร้เหตุผล

 

ทั้งนี้ การแสดงความคิดเห็นของปธน.โอบามามีขึ้นในวันเดียวกับที่นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน โดยกดดันให้สภาคองเกรสเพิ่มเพดานการกู้ยืมของประเทศเพื่อเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ครั้งเลวร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (15/01/56)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รมว.คลังออสเตรเลียมั่นใจเศรษฐกิจจีน-เอเชียมีเสถียรภาพ (15/01/56)

นายเวย์น สวอน รองนายกฯออสเตรเลียกล่าวว่าตนมีมุมมองบวกต่อเศรษฐกิจของจีน และเอเชียในอนาคต

 

“เศรษฐกิจของจีนมีเสถียรภาพมาตลอด และกำลังจะกลับมาสมดุลอีกครั้งหลังจากมีการดำเนินมาตรการควบคู่กับการผลักดันของการบริโภค ขณะนี้เศรษฐกิจจีนขยายตัวถึง 40% เพิ่มขึ้นจากอัตราการขยายตัวในปลายปี 2550 และกำลังส่งผลดีอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจโลก" เขากล่าวในการประชุมการเงินเอเชีย หรือ เอเอฟเอฟ (AFF) ในฮ่องกง

 

เขาแสดงความเห็นว่าเศรษฐกิจในเอเชียจะได้รับการพัฒนาอย่างมากในอนาคต เนื่องจากมีแรงงานหนุ่มสาวที่เพียงพอ นอกจากนี้ เขากระตุ้นให้ภูมิภาคปรับใช้ระบบการเงินให้เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยเอเชียจำเป็นต้องสร้างระบบการเงินให้ยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงบูรณาการอย่างลึกซึ้ง และจัดการให้เข้าถึงได้ดีขึ้น เพื่อปกป้องผลประโยชน์ในระยะยาว

 

“มีโอกาสอีกมากมายในการร่วมกันปล่อยทุนอิสระที่ไม่จำกัดอยู่ที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สร้างความมั่งคั่งให้มากขึ้น และช่วยให้ผู้คนพ้นจากความอดอยาก" เขาเสริมต่อว่า ประเทศต่างๆในเอเชียควรร่วมกันปฏิรูปโครงสร้างภายในระบบการเงินที่จะช่วยสร้างงานมากขึ้น และส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจ

 

การประชุม AFF ครั้งที่ 6 ในหัวข้องาน “เอเชีย ผู้กำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลกในอนาคต" มีขึ้นในฮ่องกง เมื่อวันที่ 14-15 ม.ค. มีผู้เข้าร่วมงานระดับโลกมากกว่า 90 คน เข้าร่วมงาน ได้แก่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังจากนานาประเทศ นักธุรกิจชื่อดัง และผู้นำทางด้านการเงิน เพื่อร่วมหารือเกี่ยวกับบทบาทสำคัญของเอเชียในเศรษฐกิจโลก สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (15/01/56)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำหรับวันนี้ ฝรั่งนักวิเคราะห์ กล่าวว่า จากการที่ราคาทองวิ่งอยู่ในช่วงกรอบแคบลง 1694-1674 ท่ามกลางการรอหาเหตุผลบางประการที่จะ ดันราคาทองให้พุ่งไปข้างหน้าเร็วๆ นี้ ระดับสูงกว่า 1700 โดยที่วันนี้ประเมินสถานการณ์ จากตอนนี้ คงรอย่อสักพักก่อน แต่ไม่ควรเห็นต่ำกว่า 1660 ไม่งั้นเสียตังค์ ถ้าแทงยาว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Futures for the German DAX 30 (-0.20%) and the French CAC 40 (-0.13%) are signaling a lower opening ahead of the Germany GDP and real GDP growth, due at 08:00 GMT. The German HICP came in lower than expected, rising from 1.9% to 2.0%, instead of 2.1% in December. WTI crude oil is down to $93.74 (-0.40%) and Gold moves at $1676 (+0.50%).

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...