ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

อาจจิตหลอน เิดความวนเวียน เวียนวนในจิตใจ คิดล่วงหน้า คาดล่วงหน้า เดาล่วงหน้าต่างๆนานา เย้ๆๆ ยี้ๆๆ สลับกันไป เหนื่อยที่หลายพันคนต้องมา เย้ๆ ยี้ๆ แทน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รู้และเห็นว่า สิ่งนี้คือ สิ่งที่อันตราย แต่ทำไมจึงกล้า เพราะความอยาก หรือ อะไรที่ทำให้เป็น ความโลภ ความไม่ระมัดระวัง ที่ฉุดให้คนอื่นที่มาเห็นต้องมานั่งคิดเสี่ยงตาย

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทเปิด 29.89/91 แนวโน้มอ่อนค่า รอลุ้นผลประชุม กนง.

 

 

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 29.89/91 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเย็นวันศุกร์ที่ตลาดที่ระดับ 29.84/86 บาท/ดอลลาร์ หลังคาดการณ์กันว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 20 ก.พ.นี้น่าจะลดดอกเบี้ย 0.25% แต่ตลาดยังกังวลว่าลดดอกเบี้ยแล้วหนี้ภาคครัวเรือนน่าจะเพิ่มขึ้น และเงินบาทที่แข็งไม่น่าจะมาจากเรื่องดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว เป็นเรื่องของหลายๆอย่างรวมกัน อาจจะเป็นเพราะประเทศไทยน่าลงทุน และความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจยังดีอยู่

 

"ถ้าลดดอกเบี้ยลงมาเท่ากับประเทศอื่น ให้ผลตอบแทนเท่ากัน บ้านเรายังมีความน่าลงทุนมากกว่า เช่น กรีซให้ผลตอบแทน 30% แต่กลับไม่มีใครอยากลงทุนที่กรีซ" นักบริหารเงิน กล่าว

 

ส่วนความเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศช่วงเช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 94.09/10 เยน/ดอลลาร์ ส่วนยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3338/3339 ดอลลาร์/ยูโร

นักบริหารเงิน คาดว่าวันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 29.90-30 บาท/ดอลลาร์ แนวโน้มเงินบาทน่าจะ Move ขึ้น

 

 

ล่าสุด SPOT อยู่ที่ระดับ 29.8975 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ 2.52537%

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดทองเอเชีย:แรงซื้อเก็งกำไรหนุนราคาทองฟื้นตัวจากนิวโลว์ 6 เดือน

 

 

ราคาทองดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนในช่วงเช้าวันนี้ ขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อเก็งกำไรอีกครั้ง และดีลเลอร์คาดว่าคำสั่งซื้อจากกลุ่ม ผู้ผลิตเครื่องประดับในเอเชียจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดการเงินของจีนเปิด ทำการอีกครั้งหลังวันหยุดเทศกาลตรุษจีนในสัปดาห์ที่แล้ว

 

 

ณ เวลา 11.13 น.ตามเวลาไทย ราคาทองสปอตปรับตัวขึ้น สู่ระดับ 1,614.01 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากร่วงสู่ระดับ 1,598 ดอลลาร์/ ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2012 จากดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น และแรงขายทางเทคนิค ขณะที่ราคาดิ่งลงมากที่สุดภายในวันเดียวนับตั้งแต่ เดือนธ.ค.

 

 

ราคาสัญญาทองส่งมอบเดือนเม.ย.ที่ตลาดนิวยอร์คดีดตัวสู่ระดับ 1,614.3 ดอลลาร์/ออนซ์ในวันนี้

 

 

ข้อมูลการค้าเมื่อวันศุกร์พบว่า กองทุนเฮดจ์ฟันด์ และนักเก็งกำไร รายใหญ่บางรายได้ขายสินค้าโภคภัณฑ์ในสหรัฐ โดยพุ่งเป้าไปที่ทองเป็นพิเศษ ขณะที่ทองสูญเสียความน่าสนใจในปีนี้

 

เจ้าหน้าที่ชาติตะวันตกเปิดเผยว่า ประเทศมหาอำนาจมีแผนที่จะ เสนอผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรที่ห้ามการซื้อขายทองและโลหะมีค่าอื่นๆ กับอิหร่าน เพื่อแลกกับการให้มีอิหร่านปิดโรงงานเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียม ฟอร์โดว์ที่เพิ่งมีการขยายโรงงาน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โกลเบล็กมองกรอบราคาทองมีโอกาสรีบาวน์ คาดวันนี้เคลื่อนไหวที่ 1,598-1,630 ดอลลาร์/ออนซ์(18/02/2556)

บมจ.โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมเนจเมนท์ แนะกลยุทธลงทุนทองคำวันนี้ ( 18 กุมภาพันธ์ 2556 ) กลยุทธ์การลงทุนในทองคำ นักลงทุนระยะสั้น ให้พิจารณาราคาทองคำ หากราคาไม่ผ่านแนวต้านที่ 1,630 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ออนซ์ ให้ผู้ที่มีสถานะทยอยขายออกมาก่อน ส่วนนักลงทุนระยะยาวหลังตัดขายไปแล้วให้รอสัญญาณกลับตัวก่อนเข้าซื้อเพิ่ม

 

ภาพรวมตลาดวานนี้

ราคาทองคำโลกปิดปรับตัวลดลง 24.02 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือ 1.48% มาอยู่ที่ 1,609.50 ดอลลาร์/ออนซ์ (จุดต่ำสุด-สูงสุดในรอบวันอยู่ที่ 1,598.29-1,636.10 ดอลลาร์/ออนซ์) ราคาทองคำปรับตัวลดลงจาดเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นจากการประกาศดัชนีภาคการ ผลิตเฟดสาขานิวยอร์กปรับตัวขึ้นสู่การขยายตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วง กลางปี 2555 โดยเพิ่มขึ้น 18 จุดมาอยู่ที่ระกับ 10 จุด จาก -7.8 ทำให้ราคาทองคำปรับตัวลงต่ำกว่าแนวรับ 1,625 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่งผลให้มีคำสั่ง stop loss ออกมาเพิ่มเติม ราคาทองคำจึงปรับตัวลงได้เร็ว แต่ก็มีแรงซื้อกลับทางเทคนิคกลับเข้ามาในช่วงท้ายตลาด

แนวโน้มตลาดวันนี้ (18 กุมภาพันธ์ 2556)

ในวันนี้มองกรอบราคาทองคำที่ 1,598-1,630 ดอลลาร์/ออนซ์ โดยราคาทองคำมีโอกาสรีบาวน์ขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,630 ดอลลาร์/ออนซ์ แต่หากราคาไม่ผ่านแนวต้านให้ทยอยขายออก เนื่องจากไม่มีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในวันนี้

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญประจำวันนี้

-สุนทรพจน์ประธานธนาคารกลางยุโรป เวลา 21.30 น.

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

สภาพคล่องที่ล้นโลก (18/02/2556)

ในครั้งที่แล้วผมเขียนถึงนาย Mark Carney ผู้ว่าการธนาคารกลางแคนาดาที่กำลังจะมารับตำแหน่งใหม่เป็นผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ

 

 

 

ตั้งแต่ 1 กรกฎาคมเป็นต้นไป โดยสรุปว่ารัฐบาลอังกฤษมองว่านาย Carney มีความสามารถที่โดดเด่นอย่างยิ่งและจะเป็นผู้ที่จะมีบทบาทสำคัญในการเข้ามาช่วยกอบกู้เศรษฐกิจของอังกฤษ

 

จากการติดตามการดำเนินการของธนาคารกลางอังกฤษที่ใช้นโยบายการเงินที่อิงเป้าเงินเฟ้อ (inflation targeting หรือไอที) โดยผู้ว่าการธนาคารกลางคนปัจจุบันคือ Sir Mervyn King นั้นก็ต้องยอมรับว่าได้ดำเนินนโยบายในกรอบของไอทีอย่างยืดหยุ่นมากอยู่แล้ว กล่าวคืออังกฤษเป็นประเทศแรกๆ ที่ทำการพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรรัฐบาล (หรือที่เรียกกันว่าคิวอี) พร้อมไปกับการลดดอกเบี้ยต่ำลงใกล้ศูนย์ แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจอังกฤษก็ยังไม่ฟื้นตัว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดทางการคลังอย่างไม่ลดละ ผมคิดว่ารัฐบาลอังกฤษคงต้องการให้นาย Carney เข้ามาหาแนวทางที่จะทำให้นโยบายการเงินของอังกฤษผ่อนปรนมากกว่านี้ ซึ่งเข้าใจว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินของอังกฤษมองไม่เห็นว่าจะทำอะไรได้มากกว่าการลดดอกเบี้ยลงใกล้ศูนย์และการพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 375,000 ล้านปอนด์และสัญญาว่าจะคงปริมาณดังกล่าวเอาไว้ (พันธบัตรที่หมดอายุจะถูกนำไปต่ออายุเพื่อคงปริมาณซื้อเอาไว้) ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงถึง 25% ของจีดีพีของอังกฤษสูงกว่าคิวอีของสหรัฐที่ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 2 ล้านล้านดอลลาร์หรือคิดเป็น 13% ของจีดีพีสหรัฐ

 

นาย Carney กล่าวกับรัฐสภาอังกฤษว่านโยบายไอทีที่ยืดหยุ่น (flexible inflation targeting) เป็นนโยบายที่พิสูจน์แล้วว่ามีศักยภาพที่สูง ดังนั้น การยกเลิกนโยบายดังกล่าวจึงไม่น่าจะทำได้โดยง่าย (ทั้งนี้เป็นการ “ถอย” จากการที่เขาเคยกล่าวที่ World Economic Forum เมื่อปลายปีที่แล้วเกี่ยวกับข้อดีของการเปลี่ยนเป้านโยบายการเงินจากเงินเฟ้อมาเป็นจีดีพีที่รวมเงินเฟ้อ) คำถามคือความยืดหยุ่นที่นาย Carney กล่าวถึงนั้นหมายถึงอะไร กล่าวคืออะไรจะยืดหยุ่นยิ่งกว่าการพิมพ์เงินเป็นจำนวนมากเพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาล

 

ตรงนี้นาย Carney น่าจะหมายถึงการผูกคิวอีเอาไว้กับตัวแปรทางเศรษฐกิจบางตัว เช่นที่นาย เบอร์นันเก้ผู้ว่าการธนาคารสหรัฐผูกคิวอีเอาไว้กับสภาวะการจ้างงาน กล่าวคือตราบใดที่การจ้างงานไม่ดีขึ้นจนเป็นที่พอใจของธนาคารกลาง ก็จะไม่มีการลดคิวอีหรือปรับขึ้นดอกเบี้ย การผูกนโยบายการเงินไปในอนาคตหลายปีโดยไม่มีกรอบเวลา (เพราะไม่ทราบว่าการจ้างงานจะดีขึ้นเมื่อใด) เป็นสิ่งที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของอังกฤษยังไม่ยอมทำ กล่าวคือ กนง. อังกฤษยอมพิมพ์เงินแต่ไม่ยอมให้คำมั่นกับตลาดและนักลงทุนว่าจะคงสภาวการณ์เช่นนี้ไปในอนาคตอีกหลายปี ซึ่งผมเข้าใจว่านาย Carney คงจะถูกว่าจ้างมาเพื่อโน้มน้าวให้ กนง. อังกฤษยอมคล้อยตามไปในทิศทางเดียวกับที่ธนาคารกลางสหรัฐกำลังทำอยู่ เรื่องนี้น่าสนใจมากว่า นาย Carney จะทำได้สำเร็จหรือไม่ เพราะ กนง.ของอังกฤษนั้นมีอยู่ 9 คน โดยเป็นผู้บริหารธนาคารกลางอังกฤษ 5 คน (รวมผู้ว่าการฯ) และ “คนนอก” 4 คนโดยหนึ่งในนั้นคือเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงการคลังอังกฤษ

 

ประเด็นสำคัญคือในการมอง “ภาพใหญ่” ของเศรษฐกิจการเงินของโลก คือ มีความชัดเจนมากว่าแนวคิดของประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นเสาหลักของเศรษฐกิจโลกคือสหรัฐ ยุโรป แคนาดา อังกฤษและญี่ปุ่นคือ

 

1. เงินเฟ้อไม่ใช่ปัญหา เป็นห่วงเงินฝืดมากกว่า เช่น กรณีของญี่ปุ่นที่มีปัญหาเงินฝืดยืดเยื้อ จนกระทั่งธนาคารกลางถูกกดดันทางการเมืองให้ปรับเป้าเงินเฟ้อจาก 1% เป็น 2% และต่อมาผู้ว่าการธนาคารกลางก็ต้องชิงลาก่อนหมดสมัย ในขณะที่ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐก็ประกาศว่าหากเงินเฟ้อเกินเป้า (2%) ไปบ้างก็จะยังคงมาตรการคิวอีและดอกเบี้ยต่ำใกล้ศูนย์ต่อไป ส่วนอังกฤษนั้นเงินเฟ้อเกินกว่าเป้า 2% มานานติดต่อกัน 37 เดือนแล้ว แต่ก็จะมีผู้ว่าการธนาคารกลางคนใหม่ที่มีหน้าที่หาทางเพิ่มการกระตุ้นทางการเงิน จะมีเพียงกลุ่มประเทศเดียวคือยุโรปที่ธนาคารกลางยังให้ความสำคัญกับเงินเฟ้อ (โดยกล่าวถึงเสมอ) และยังคงดอกเบี้ยที่ 0.75% แต่เศรษฐกิจยุโรปก็ยังอ่อนแออยู่มากจึงอาจต้องลดดอกเบี้ยหรือเพิ่มมาตรการคิวอีหากเศรษฐกิจทรุดตัวลงอีก

 

2. คงจะมีการพิมพ์เงินออกมาท่วมระบบอีกเป็นปี ในกรณีของสหรัฐนั้นให้คำมั่นสัญญาแล้วว่าจะพิมพ์เงินออกมาใหม่เดือนละ 85,000 ล้านดอลลาร์ หากทำไปอีก 2 ปีก็จะมีเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้นอีก 2.04 ล้านล้านดอลลาร์จากเดิมมีอยู่ 9 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2008 และเพิ่มในปี 2009 ถึง 2012 (รวม 4 ปี) รวมทั้งสิ้น 2 ล้านล้านดอลลาร์เป็น 2.9 ล้านล้านดอลลาร์ในปลายปี 2012 ส่วนญี่ปุ่นนั้นตัวเก็งที่จะเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นคนใหม่ คือนาย Kuroda ให้สัมภาษณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจเพิ่มการพิมพ์เงินใหม่มาซื้อพันธบัตรเร็วกว่าปี 2014 ที่ได้เคยตกลงเอาไว้กับนายก อาเบะ ก็ได้ ซึ่งน่าจะหมายความว่าหากเขาได้เป็นผู้ว่าการธนาคารกลางคนใหม่เขาอาจจะสั่งพิมพ์เงินเพิ่มในปีนี้เลย

 

3. เรื่องค่าเงินไม่พูดถึง แต่อ่อนก็ไม่ว่า ชัดเจนที่สุดคือกรณีของประเทศญี่ปุ่นที่เงินเยนอ่อนค่าลงอย่างน่าใจหายคืออ่อนค่าลงไป 17% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ในระยะเวลา 2-3 เดือน (และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินบาทไปเกือบ 20%) แต่นักลงทุนตอบสนองเป็นอย่างดีผลักให้หุ้นญี่ปุ่นราคาปรับตัวขึ้น 20% และส่งผลให้ความนิยมในนายก อาเบะ ดีวันดีคืนเพิ่มขึ้นเป็น 71% และในส่วนของสหรัฐฯ นั้นรัฐมนตรีคลังเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับค่าเงินดอลลาร์แต่ว่าที่รัฐมนตรีคลังคนใหม่คือ นาย Jack Lew นั้นเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงบประมาณและมีปัญหารีบเร่งที่จะต้องแก้ไข คือการขาดดุลการคลัง ดังนั้น คงจะไม่คิดอยากให้ดอลลาร์แข็งค่า ในตรงกันข้ามผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ แสดงความพึงพอใจที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนลงช่วยให้สหรัฐฯ ขาดดุลทางการค้าน้อยลง และเมื่อไม่นานมานี้เมื่อถูกถามว่าการเพิ่มเงินออกมามากๆ น่าจะทำให้เงินอ่อนค่าและเป็นการทุ่มสภาพคล่องออกมาทำให้เศรษฐกิจการเงินโลกผันผวน นายเบอร์นันเก้ตอบว่าเขาพิมพ์เงินอเมริกันออกมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลอเมริกัน (ไม่ได้ไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลอื่น) ที่ผ่านมาต่างชาติมารุมซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ดังนั้น ผลกระทบข้างเคียงนั้นเป็นภาระที่เกิดขึ้นกับต่างชาติที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ฟังดูแล้วก็รู้สึกขำที่ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ (รวมทั้งไทย) ที่รุมกันซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯเพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายเกินตัวของรัฐบาลสหรัฐฯ กลับถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้สร้างปัญหา ดังนั้นจึงอย่ามากล่าวโทษธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งไม่เห็นจะได้ทำอะไรผิดเลย

 

กล่าวโดยสรุป คือ นโยบายการเงินของประเทศพัฒนาแล้ว คือจะพิมพ์เงินจนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้น แนวทางสมัยก่อนที่พยายามรวมตัวกันประสานนโยบายการเงินเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจโลกถูกนำไปเก็บไว้ในลิ้นชัก ปัจจุบันมองได้ว่าเป็นนโยบาย “ตัวใครตัวมัน” ซึ่ง เมอร์ริลลินช์ประเมินว่าสภาพคล่องของโลก (ประเมินจากงบดุลของธนาคารกลางของประเทศเงินสกุลหลักบวกกับทุนสำรองของธนาคารกลางอื่นๆ) ได้เพิ่มขึ้นจาก 12 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2008 มาเป็น 21 ล้านล้านดอลลาร์ ในขณะนี้ จึงจะไม่น่าแปลกใจอะไรหากจะมี “เงินร้อน” หรือเงินทุนระยะสั้นไหลเวียนเป็นจำนวนมากทำให้เศรษฐกิจโลกเผชิญกับความผันผวนอย่างมากในอนาคต

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 25563)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บาท/ดอลลาร์เช้านี้อ่อนค่าหลังผู้ลงทุนทองซื้อดอลล์ แต่กรอบอ่อนตัวยังจำกัด (18/02/2556)

บาท/ดอลลาร์เช้านี้อ่อนค่า หลังมีแรงซื้อดอลลาร์จากผู้ลงทุนในทองคำ

แต่ดีลเลอร์มองว่า เงินบาทยังมีกรอบในการอ่อนค่าที่จำกัด เนื่องจาก

ยังมีแรงขายดอลลาร์รออยู่มาก หากเงินบาทอ่อนค่าไป

*ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐดิ่งลง 25.40 ดอลลาร์ สู่ 1,609.06

ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันศุกร์ ขณะที่ปัจจัยลบบางประการ

ซึ่งรวมถึงการแข็งค่าของดอลลาร์ กดดันราคาทองคำ

*เยนอ่อนค่าลงในช่วงเช้านี้ที่ตลาดเอเชีย หลังจากญี่ปุ่นรอดพ้นจากการ

วิพากษ์วิจารณ์ จากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา 19 ประเทศ

รวมทั้งสหภาพยุโรป (จี-20) ต่อนโยบายกระตุ้นเงินเฟ้อในเชิงรุก ซึ่ง

ทำให้เยนอ่อนค่าลง และทำให้นานาประเทศแสดงความไม่พอใจต่อความ

ได้เปรียบในด้านการแข่งขัน

*กลุ่มจี-20 ไม่ได้ระบุถึงญี่ปุ่น แต่มีพันธะสัญญาว่าจะระงับการแข่งขันกัน

ปรับลดค่าเงิน และระบุว่านโยบายการเงินจะมีเป้าหมายเพื่อเสถียรภาพ

ด้านราคาและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่ญี่ปุ่นระบุว่า นั่นเป็นการ

อนุมัติให้ญี่ปุ่นดำเนินนโยบายต่อไปได้

*เทรดเดอร์ในต่างประเทศ ระบุว่า ความเห็นจากกลุ่มจี-20 หมายความ

ว่า ตลาดจะยังคงขายเยนออกมาต่อไป ขณะที่นักวิเคราะห์จากบาร์เคลย์

แคปิตอล ระบุว่า ทิศทางช่วงขาลงในระยะกลางของเยนยังคงอยู่ และ

ยังคงคาดการณ์ว่าดอลลาร์/เยนจะอยู่ที่ 100 ในอีก 12 เดือนข้างหน้า

*ธนาคารกลางสหรัฐสาขานิวยอร์คระบุว่า การผลิตในรัฐนิวยอร์คมีการ

ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ขณะที่ผลการสำรวจของธอมสัน

รอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน พบว่า ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น

จากเดือนที่แล้ว และปรับตัวดีกว่าที่คาดการณ์ไว้

*อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคาร

ของ ธปท.วันนี้ อยู่ที่ 29.850 บาท

*09.13 น. บาท/ดอลลาร์ อยู่ที่ 29.89/94 จาก 29.84/87 เมื่อวันศุกร์

ขณะที่ใน offshore อยู่ที่ 29.89/94 จาก 29.85/87 เมื่อวันศุกร์

*เยน/ดอลลาร์ อยู่ที่ 94.04/05 จาก 93.54 ในตลาดนิวยอร์คเมื่อวันศุกร์

*ยูโร/ดอลลาร์ อยู่ที่ 1.3339/42 จาก 1.3362 ในตลาดนิวยอร์คเมื่อวันศุกร์

 

 

 

"บาทเช้านี้อ่อนค่า หลังจากวันศุกร์ทองไป test แถว 1,600 ดอลลาร์ก็ทำให้มีแรงซื้อ(ดอลลาร์) จาก investor ในทองคำเข้ามา แต่ขึ้นมาแถว 29.90 ก็ยังมีแรงขาย(ดอลลาร์) รออยู่มากเหมือนกัน ก็คงขึ้นไปไม่ได้มาก" ดีลเลอร์ กล่าว

 

เขา คาดว่า เงินบาทวันนี้จะแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 29.85-29.95 โดยบาท ได้รับแรงกดดันจากการเข้าซื้อดอลลาร์ จากผู้ลงทุนในทองคำ หลังราคาทองคำปรับตัว ลงมามากเมื่อวันศุกร์ แต่แรงขายดอลลาร์ที่ยังมีรออยู่ค่อนข้างหนาแน่น ก็เป็นปัจจัยที่ จำกัดการอ่อนค่าของเงินบาทเช่นกัน

 

ดีลเลอร์ กล่าวอีกว่า นักลงทุนยังรอดูผลการประชุมของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ในวันพุธนี้ ว่าจะออกมาอย่างไร ซึ่งหากมีการคงดอกเบี้ย หรือปรับลงเพียง 0.25% ตามที่ตลาดคาดไว้ ก็คงไม่ส่งผลต่อดอลลาร์/บาท มากนัก

 

แต่หากมีการปรับลดดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดคาด ก็จะทำให้ดอลลาร์/บาท มีความเคลื่อนไหวมากขึ้น หลังผลการประชุมออกมา

 

ที่มา:ทันหุ้น(วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"จี20" ไม่สมราคาปล่อยผ่านศึกค่าเงิน (18/02/2556)

“ทุกประเทศเห็นพ้องว่าจะมุ่งดำเนินนโยบายการเงินเพื่อสร้างการเติบโต และจะหลีกเลี่ยงการใช้มาตรการที่จะนำไปสู่การลดค่าเงินของตนเอง จนส่งผลกระทบให้ประเทศอื่นต้องใช้นโยบายดังกล่าวตอบโต้กลับ...และเราเห็นพ้องว่าจะไม่กำหนดค่าเงินเพื่อวัตถุประสงค์ในการแข่งขัน และอัตราแลกเปลี่ยนจะต้องเป็นไปตามกลไกของตลาด” แถลงการณ์ ที่ประชุมกลุ่ม 20 ประเทศชั้นนำเศรษฐกิจโลก (จี20) ระบุ

 

แม้ถ้อยแถลงดังกล่าวจะมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการสื่อความหมายว่าต้องการป้องปรามไม่ให้ความเสี่ยงสงครามค่าเงินลุกลามไปกว่านี้ แต่หากว่ากันตามตรงต้องบอกเลยว่า แถลงการณ์จี20 เป็นสิ่งที่น่าผิดหวัง และคาดว่าจะไม่ได้ช่วยนำไปสู่การแก้ไขปัญหาสงครามค่าเงินที่กำลังเริ่มคุกรุ่นอยู่ในขณะนี้เท่าไรนัก

 

ซ้ำร้ายจะยิ่งเป็นการยกระดับจนทำให้สงครามค่าเงินโลกยิ่งทวีความร้อนแรงมากขึ้น

 

เพราะสิ่งที่แถลงการณ์ระบุออกมาเป็นเพียงการกล่าวถึงในหลักการตามทฤษฎีกว้างๆ ทั่วไป ไม่ได้เป็นการกล่าวถึงปัญหาสงครามค่าเงินเลยแม้แต่คำเดียว และในขณะเดียวกันก็ไม่มีการกล่าวถึงญี่ปุ่นที่เป็นตัวจุดชนวนความกังวลเรื่องสงครามค่าเงินอีกด้วย หลังจากที่หันมาดำเนินนโยบายที่นำไปสู่การลดค่าเงินของตนลง จนเกิดความเสี่ยงว่าประเทศอื่นๆ จะทำตามอย่างบ้างเพื่อตอบโต้และรักษาความได้เปรียบในการส่งออกของตนเอง

 

ล่าสุดค่าเงินเยนต่อเงินเหรียญสหรัฐได้อ่อนค่าลงมาถึง 12% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา และคาดว่าจะอ่อนค่าลงมากกว่านี้ในอนาคต ซึ่งเป็นผลมาจากแถลงการณ์จี20 ที่ไม่ชัดเจน

 

ฉะนั้นจึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้ประเทศต่างๆ จะเริ่มมองว่าแถลงการณ์ของกลุ่มจี20 ก็ไม่ต่างอะไรกับการออกมารองรับและเปิดทางให้กับญี่ปุ่นยังสามารถที่จะดำเนินนโยบายที่จะนำไปสู่การอ่อนค่าของเงินเยนได้ต่อไป

 

“ตลาดจะมองทันทีว่าแถลงการณ์ดังกล่าวเป็นการรองรับความชอบธรรมของการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และเข้าซื้อสินทรัพย์ต่างๆ และการที่ไม่มีใครกล้าลุกขึ้นมาต่อว่าญี่ปุ่นอย่างตรงไปตรงมาในเวทีจี20 ก็เท่ากับว่าญี่ปุ่นจะยังสามารถอัดเงินเข้าระบบได้ต่อไป” นีล เมลเลอร์ นักยุทธศาสตร์ด้านค่าเงินของแบงก์ออฟนิวยอร์กเมลลอนในลอนดอน กล่าว

 

นอกจากนี้ แถลงการณ์จี20 ที่ขาดความชัดเจนต่อการเอ่ยถึงสงครามค่าเงินโดยตรงก็จะกลายเป็นข้ออ้างให้ทุกประเทศหันมาใช้มาตรการกดค่าเงินได้ เพราะทุกประเทศก็จะอ้างว่านโยบายค่าเงินตนเองสอดคล้องกับถ้อยแถลงจี20 ที่ออกมา โดยเฉพาะข้ออ้างที่ว่านโยบายดังกล่าวมุ่งหมายเพื่อเศรษฐกิจภายใน มิได้เป็นการมุ่งกดค่าเงินเพื่อสร้างความได้เปรียบตามที่ประเทศอื่นๆ กังวล

 

ทั้งนี้ หากมองกันให้ลึกลงไปกว่านั้น การที่ที่ประชุมจี20 ไม่ออกแถลงการณ์ตำหนิหรือกล่าวถึงญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการจุดชนวนปัญหาสงครามค่าเงิน ทั้งๆ ที่ก่อนการประชุมได้มีหลายประเทศออกมาวิพากษ์วิจารณ์ญี่ปุ่นอย่างหนัก นั่นก็เป็นเพราะว่า ญี่ปุ่นถือเป็นสมาชิกสำคัญและมีอิทธิพลไม่น้อยในกลุ่มจี20 อีกทั้งในเวลานี้ความสัมพันธ์กับลูกพี่ใหญ่อย่างสหรัฐก็แนบแน่น จึงทำให้การลงโทษหรือการกล่าวว่าใดๆ ดูจะทำได้ไม่ถนัดนัก

 

ส่วนเหตุผลที่สองคือ ต้องยอมรับว่า ญี่ปุ่นไม่ใช่ประเทศเดียวที่ใช้นโยบายการกดค่าเงินในลักษณะดังกล่าว เนื่องจากหลายประเทศในจี20 ก็ยังคงใช้นโยบายการกดค่าเงินเช่นกัน อาทิ จีน ฉะนั้นการต่อว่าญี่ปุ่นก็อาจหมายถึงการประจานตนเองไปด้วย

 

เหตุผลสุดท้ายคือ ด้วยการที่กลุ่มจี20 มาจากหลากหลายกลุ่ม เช่น ประเทศพัฒนาแล้ว กับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งจุดยืนในผลประโยชน์ต่างกันมากเกินไป ก็ทำให้การมองประเด็นปัญหายากแก่การหาฉันทามติร่วมกัน

 

ดังจะเห็นได้ว่า ในเวทีที่ประชุมดังกล่าวจึงมีบางประเทศในกลุ่มจี20 เช่น อินโดนีเซีย ออกมากางปีกปกป้องการดำเนินนโยบายการเงินของญี่ปุ่นอย่างออกนอกหน้า เพราะสถานการณ์ดังกล่าวกำลังสร้างประโยชน์ให้กับประเทศตนเองอยู่ ในขณะเดียวกันอินโดนีเซียกับญี่ปุ่นก็เป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แนบแน่น เห็นได้จากการที่ญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนรายสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในอินโดนีเซีย นอกจากนั้นเมื่อเดือนก่อน ชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ก็เพิ่งเดินทางไปเยือน

 

ส่วนอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้สงครามค่าเงินโลกร้อนแรงมากขึ้นก็คือ ความกดดันจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศยักษ์ใหญ่ของโลกที่ต่างอยู่ในภาวะย่ำแย่ไปตามๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นจีดีพีญี่ปุ่นไตรมาส 4 ปีที่แล้วที่หดตัวลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน ยูโรโซนในช่วงเวลาเดียวกันก็หดตัวลง 0.6% ก็คาดว่าจะทำให้ประเทศเหล่านี้หันมาใช้นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจหนักขึ้นกว่าเดิม

 

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของนักวิเคราะห์บางส่วนก็ไม่ได้จะเห็นด้วยเสมอไปกับประเด็นที่ว่าการลดค่าเงินเยนของญี่ปุ่นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันจะเป็นปัญหานำไปสู่สงครามค่าเงินโลก ซ้ำยังอาจเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม

 

เพราะมองว่าส่วนหนึ่งต้องเห็นใจญี่ปุ่นพอสมควร เนื่องจาก แม้ว่าค่าเงินเยนจะอ่อนลงมาก แต่หากมองไปให้กว้างกว่านั้น เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา เงินเยนญี่ปุ่นต่อเงินเหรียญสหรัฐแข็งค่าขึ้นมาถึง 13% ในขณะที่เงินสกุลอื่นๆ ในโลกกลับอ่อนค่าลง เช่น ยูโร ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อ่อนค่าลงถึง 16% ขณะที่เงินปอนด์ของอังกฤษ อ่อนลงถึง 20% เมื่อเทียบกับเงินสกุลเหรียญสหรัฐ

 

ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า การที่ค่าเงินอ่อนค่าลงถึง 15% ในปัจจุบัน ก็ไม่น่าใช่เรื่องเสียหาย และเป้าหมายของญี่ปุ่นก็เพื่อกู้ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาจากภาวะเงินฝืด และค่าเงินที่แข็งค่ามากเกินไปเท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ชอบธรรมที่รัฐบาลแดนปลาดิบจะทำได้

 

“ค่าเงินเยนที่อ่อนลง เป็นแค่การลดค่าเงินจากจุดที่แข็งค่ามากเกินไปเท่านั้น และคิดว่าจี20 จะต้องให้พื้นที่กับญี่ปุ่นได้หายใจบ้าง กับการลดค่าเงินของตนเองลง” วาสุ มีนอน รองประธานบริหารจัดการความมั่งคั่งของธนาคารโอซีบีซี กล่าวให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีเอ็นบีซี

 

นักวิเคราะห์จาก โอซีบีซี ยังกล่าวเสริมอีกว่า ประเด็นหนึ่งที่ทั่วโลก สื่อมวลชน และนักวิชาการ มองข้ามอยู่ก็คือ ญี่ปุ่นคือประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นเบอร์ 3 ของโลกรองจาก สหรัฐและจีน ดังนั้นการใช้นโยบายกระตุ้นต่างๆ ที่มุ่งหวังจะเพิ่มการบริโภค การใช้จ่ายในประเทศให้มากขึ้น ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวมอีกด้วย

 

จึงเป็นที่น่าจับตามองต่อแต่นี้ไปว่า สถานการณ์สงครามค่าเงินโลกจะเดือดขึ้นอีกครั้งหนึ่งหรือไม่

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ (วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฮือฮากันทั้งวงการสงฆ์ พายัพ ชินวัตร บวชพระ? ไปบวชไกลถึงวัดป่าพุทธคยา อินตะระเดีย

โกนหัวห่มผ้าเหลือง 10 กุมภาฯ หมาดๆ กำหนดสึก 11 มีนาฯ นี้

พระสงฆ์ที่บวชพร้อมกันในคณะหนนี้มี 85 รูป

 

ปล. วัดนี้ 15-16 ปีที่แล้ว เขาและอาจารย์จิ๋ว เป็นยุคบุกเบิก อะไรเป็นอะไรก็ย่อมรู้ดีในตัวเอง และ จิตใจ ในสถานที่นี้

รุ่นนี้ จึงมีชื่อขนานนามว่า รุ่น ..........

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Futures for the German DAX 30 (+0.22%) and the French CAC 40 (+0.01%) are signaling a higher opening ahead of EMU current account and ECB Draghi's speech

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โพลล์รอยเตอร์ชี้นักลงทุนลดสถานะซื้อบาท เก็งกนง.ลดดอกเบี้ย (18/02/2556)

รอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจระบุว่า นักลงทุนลดการถือครองสถานะ ซื้อสกุลเงินบาทลงในช่วงสองสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 ก.พ. ซึ่งถือเป็นการปรับ ลดลงในการสำรวจสองครั้งติดต่อกัน โดยบาทถือเป็นสกุลเงินที่แข็งค่ามากที่สุด ในบรรดาประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชียในปีนี้

 

 

ผลสำรวจนี้ประเมินสถานะซื้อ (long position) หรือสถานะขาย (short position) สุทธิในสกุลเงินในช่วงระดับ -3 ถึง +3 โดยคะแนน +3 บ่งชี้ว่า ตลาดมีสถานะซื้อดอลลาร์สหรัฐอย่างมาก ในขณะที่ระดับ -3 บ่งชี้ว่า ตลาดมีสถานะซื้อสกุลเงินของประเทศตลาดเกิดใหม่ประเทศนั้นเป็นอย่างมาก

 

 

สถานะดอลลาร์/บาทมีคะแนนอยู่ที่ -0.67 ในโพลล์ล่าสุด โดยปรับขึ้น จาก -0.81 ในโพลล์ประจำวันที่ 31 ม.ค. หลังจากที่เคยปรับขึ้นจาก -1.18 ในโพลล์ประจำวันที่ 17 ม.ค. โดยความเคลื่อนไหวนี้บ่งชี้ว่าสถานะซื้อบาทลดลง ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา

 

 

บาทแข็งค่าขึ้นมาแล้ว 2.7 % เมื่อเทียบกับดอลลาร์นับตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากเงินลงทุนที่หลั่งไหลเข้าสู่หุ้นและตราสารหนี้ของ ไทยอย่าง ต่อเนื่อง

 

 

อย่างไรก็ดี นักลงทุนลังเลที่จะเพิ่มการถือครองสถานะซื้อบาทในระยะนี้ เนื่องจากคาดว่าไทยอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมคณะกรรมการ นโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในวันที่ 20 ก.พ.นี้ นอกจากนี้ นักลงทุนยังกังวลว่าธปท.อาจจะเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อสกัดกั้นการแข็งค่า ของบาท

 

 

นอกจากนี้ ผลสำรวจระบุว่า ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในสกุลเงินวอนของ เกาหลีใต้เปลี่ยนทิศทางไปแล้ว โดยปริมาณการถือครองสถานะซื้อวอนเพิ่มขึ้นในช่วง สองสัปดาห์ที่ผ่านมา ถึงแม้ปริมาณการถือครองสถานะขายดอลลาร์ไต้หวันทะยานขึ้น แตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2012

 

 

โพลล์ครั้งก่อนที่ออกมาในวันที่ 31 ม.ค.ระบุว่า สถานะขายในวอนเพิ่มขึ้น เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 8 เดือน โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลที่ว่า ทางการ เกาหลีใต้จะเข้าแทรกแซงตลาดมากยิ่งขึ้นเพื่อสกัดกั้นการแข็งค่าของวอน

 

 

อย่างไรก็ดี วอนได้รับแรงหนุนในช่วงนี้จากกระแสเงินลงทุนที่หลั่งไหลเข้าสู่ หุ้นและตราสารหนี้เกาหลีใต้ เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว และอัตรา ผลตอบแทนพันธบัตรในประเทศพัฒนาแล้วก็อยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดี ธนาคารกลาง เกาหลีใต้ยังคงจับตาดูการแข็งค่าของวอนอย่างระมัดระวัง

 

 

นักลงทุนต่างชาติบางรายฉวยโอกาสเข้าช้อนซื้อสินทรัพย์เกาหลีใต้ในช่วง ที่วอนร่วงลงเมื่อเร็วๆนี้

สถานะ ดอลลาร์/วอนเคยมีคะแนนอยู่ที่ -1.39 ในโพลล์วันที่ 17 ม.ค. ก่อนจะพุ่งขึ้นสู่ +0.10 ในโพลล์วันที่ 31 ม.ค. และร่วงลงสู่ -0.03 ในโพลล์ วันที่ 14 ก.พ.

 

 

ผลสำรวจนักวิเคราะห์ 12 รายระบุว่า นักวิเคราะห์คาดการณ์ในทางบวก ต่อสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชีย โดยสถานะซื้อในสกุลเงินหยวนของจีนและเปโซของ ฟิลิปปินส์เพิ่มสูงขึ้น และมีการปรับลดสถานะขายในดอลลาร์สิงคโปร์, รูเปียห์ของ อินโดนีเซีย และริงกิตของมาเลเซีย

 

 

สถานะขายในรูเปียห์ร่วงลงแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนส.ค.2012 โดยสถานะดอลลาร์/รูเปียห์มีคะแนนร่วงลงสู่ +0.42 ในโพลล์วันที่ 14 ก.พ. จาก +0.84 ในโพลล์วันที่ 31 ม.ค.

 

 

รูเปียห์ยังคงได้รับแรงกดดันจากความต้องการซื้อดอลลาร์ของภาคเอกชน อินโดนีเซีย อย่างไรก็ดี กระแสเงินลงทุนที่หลั่งไหลเข้าสู่หุ้นและตราสารหนี้อินโดนีเซีย ช่วยลดช่วงลบของรูเปียห์

 

 

นักลงทุนคาดการณ์ในทางบวกต่อสกุลเงินเอเชีย ในขณะที่เยนชะลอการร่วงลง ในระยะนี้ และนักลงทุนรอดูผลการประชุมรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของ กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา 19 ประเทศ รวมทั้งสหภาพยุโรป (จี-20) ในวันที่ 15-16 ก.พ.ที่กรุงมอสโก โดยมีแนวโน้มว่าที่ประชุมจี-20 อาจหารือกันเรื่อง การแข่งขันกันปรับลดค่าเงินด้วย

 

 

สถานะขายในดอลลาร์ไต้หวันพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย. 2012 โดยสถานะดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ไต้หวันมีคะแนนอยู่ที่ +0.50 ในโพลล์วันที่ 14 ก.พ. โดยพุ่งขึ้นจาก +0.41 ในโพลล์วันที่ 31 ม.ค.

ดอลลาร์ สหรัฐพุ่งขึ้นแตะ 29.750 ดอลลาร์ไต้หวันในวันที่ 8 ก.พ. ซึ่งเป็น ระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย. 2012 โดยได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อชดเชยดอลลาร์ สหรัฐก่อนที่ตลาดการเงินไต้หวันจะปิดทำการนานหนึ่งสัปดาห์ในเทศกาลตรุษจีน

 

 

สถานะขายในสกุลเงินรูปีของอินเดียปรับขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ หลังจากอินเดีย รายงานในสัปดาห์ที่แล้วว่า เศรษฐกิจอินเดียมีแนวโน้มเติบโตเพียง 5 % ในปีงบประมาณ ปัจจุบัน

 

 

จะมีการนำเสนองบประมาณประจำปีของรัฐบาลกลางอินเดียในช่วงต่อไป ในเดือนนี้ และงบประมาณดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะชี้นำทิศทางรูปีในช่วงหลายสัปดาห์ ข้างหน้า ในขณะที่นักลงทุนรอดูว่าอินเดียจะใช้แผนการใดในการปรับลดยอดขาดดุล งบประมาณ

 

 

อินเดียเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามในเอเชีย โดยสถานะดอลลาร์/รูปีมีคะแนนอยู่ที่ +0.13 ในโพลล์วันที่ 14 ก.พ. พุ่งขึ้น จาก -0.54 ในโพลล์วันที่ 31 ม.ค.

 

 

คณะกรรมการการค้าสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ของสหรัฐ (CFTC) รายงานในวันศุกร์ที่ 8 ก.พ.ว่า นักเก็งกำไรเพิ่มการถือครองสถานะขายดอลลาร์ สหรัฐขึ้นสู่ 9.15 พันล้านดอลลาร์ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 ก.พ. จาก 8.86 พันล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ก่อนหน้านั้น

 

 

ผลสำรวจของรอยเตอร์ฉบับนี้มุ่งความสนใจไปยังสิ่งที่นักวิเคราะห์ เชื่อว่า เป็นสถานะการลงทุนในปัจจุบันในสกุลเงิน 9 สกุลในบรรดาประเทศตลาดเกิดใหม่ ในเอเชีย โดยสกุลเงิน 9 สกุลนี้ประกอบด้วยสกุลเงินบาทของไทย, หยวนของจีน, วอนของเกาหลีใต้, ดอลลาร์สิงคโปร์, รูเปียห์, ดอลลาร์ไต้หวัน, รูปี, เปโซ และริงกิตของมาเลเซีย

 

 

ข้อมูลในผลสำรวจนี้รวมสถานะสัญญาล่วงหน้าที่ไม่มีการส่งมอบ (NDF) ด้วย

 

 

ผลการสำรวจ (สถานะในรูปสกุลดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินแต่ละสกุล) มีรายละเอียดดังนี้

หยวน วอน SGD รูเปียห์ TWD รูปี ริงกิต เปโซ บาท

14-Feb -0.63 -0.03 0.16 0.42 0.50 0.13 0.00 -0.98 -0.67

31-Jan -0.60 0.10 0.29 0.84 0.41 -0.54 0.10 -0.91 -0.81

17-Jan -0.99 -1.39 -0.24 0.77 -0.20 -0.29 -1.11 -1.16 -1.18

3-Jan -0.93 -2.05 -0.48 0.81 -0.78 -0.38 -0.85 -1.63 -0.77

6-Dec -0.91 -1.04 -0.45 0.56 -0.35 0.19 -0.67 -1.42 -0.14

22-Nov -1.12 -1.53 -0.40 0.81 -0.27 0.79 -0.35 -1.06 -0.31

8-Nov -0.75 -1.47 -0.63 0.72 -0.60 0.16 -0.38 -1.12 -0.34

 

ที่มา : ทันหุ้น(วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พท.ปิดปากไม่คอมเม้นท์เรื่องป้ายทุจริตโรงพักของชูวิทย์

 

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้ติดต่อสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของพรรคเพื่อไทยหลายคน กรณีที่นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ส.ส.พรรครักประเทศไทย ติดตั้งป้ายแฉทุจริตโครงการสร้างโรงพัก 396 แห่งทั่วประเทศมูลค่า 5,848 ล้านบาท โดยทำคัตเอาท์ขนาดเท่าป้ายหาเสียงผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ติดตั้งในหลายพื้นที่ของ กทม. ปรากฏว่าไม่มีใครยอมพูด โดยบอกว่าผู้ใหญ่ของพรรคสั่งไม่ให้พูด "ท่านบอกว่าไม่ใช่เรื่องของเรา ไม่ควรเข้าไปยุ่ง และกำชับให้หาเสียงในเชิงสร้างสรรค์ ตามแนวทางของนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

'ประเสริฐ' ยัน ไม่มีล็อกเลขงวด 16 ก.พ.

ข่าวการเมือง วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 12:46น.

 

 

 

ชมคลิปวีดีโอ

ส.ว.ขอนแก่น "ประเสริฐ" ยัน ไม่มีล็อกเลข งวด 16 กุมภาพันธ์ แนะเชิญ ส.ส. ร่วมเป็นกรรมการออกรางวัล ลดข้อกังขา

นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์ ส.ว.ขอนแก่น กล่าวในฐานะประธานกรรมการออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล

งวดวันที่ 16 กุมภาพันธ์ โดยยืนยันว่า ไม่มีการล็อกเลข ในงวดดังกล่าว เพราะมีคณะกรรมการทั้งหมด 10 คน

ซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ กระทรวงการคลัง กรมธนารักษ์ สื่อมวลชน ซึ่งมีวงล้อทั้งหมด 12

วงล้อ โดยแต่ละคนไม่ทราบว่า จะได้ประจำวงล้อใด นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการตรวจรังสี วัดน้ำหนักลูกบอล

และมีการถ่ายทอดสด

 

ทั้งนี้ ส่วนตัวอยากให้ พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ ธารีฉัตร ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เชิญ ส.ส.

ทุกพรรค ไปเป็นประธานกรรมการและคณะกรรมการ เพื่อตัดปัญหาความเข้าใจผิดในการออกรางวัล

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สศช.ชี้ยังไม่ใช้มาตรการแรงสกัดเงินไหลเข้า

ข่าวเศรษฐกิจ วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 13:43น.

 

เลขาฯ สศช. ชี้ ยังไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการรุนแรงสกัดเงินไหลเข้า ยัน ดบ.ไทยอยู่ในระดับต่ำ แนะหน่วยงานเกี่ยวข้องดูปรับตามความเหมาะสม

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ค่าเงินบาทของไทยที่แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.75 สูงสุดในภูมิภาคอาเซียน แต่เป็นตามสภาพคล่องการเงินของโลกที่ไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาค และส่วนหนึ่งเกิดจากอัตราดอกเบี้ยของไทยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นแรงจูงใจ แต่ทั้งนี้ ต้องดูว่าเงินทุนดังกล่าวเป็นการไหลเข้ามาเก็งกำไรหรือเกิดจากพื้นฐานเศรษฐกิจไทย ซึ่งมองว่า ขณะนี้ ยังไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการรุนแรงเพื่อสกัดกั้นเงินทุนไหลเข้า และถึงแม้ว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ย จะเป็นมาตรการที่ให้ผลเร็ว แต่ควรพิจารณาถึงความเหมาะสม โดยดูมาตรการอื่นใช้ผสมผสานในการดูแลผลกระทบต่อภาคการส่งออก โดยควรพิจารณาเป็นรายภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ

 

อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยของไทยที่ร้อยละ 2.75 ถือว่าอยู่ในระดับต่ำ แต่จะต่ำมากพอต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในอนาคตหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องพิจารณา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...