ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

อิตาลีเผยพรรคกลาง-ซ้ายจ่อครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 08:23:34 น.

ข้อมูลเบื้องจากกระทรวงมหาดไทยของอิตาลีเปิดเผยในช่วงเช้าวันนี้ว่า พรรคการเมืองฝ่ายกลาง-ซ้ายของอิตาลีมีแนวโน้มจะได้ครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรของอิตาลี หลังจากได้มีการนับคะแนนไปแล้ว 99.9%

 

อย่างไรก็ตาม มีโอกาสน้อยมากที่จะได้เสียงข้างมากในวุฒิสภา

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช/พันธุ์ทิพย์ โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th--

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: แรงซื้อเก็งกำไรหนุนทองคำปิดบวก 13.8 ดอลลาร์

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 07:22:06 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (25 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไร หลังจากที่สัญญาทองคำดิ่งลงไปแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือนเมื่อวันศุกร์

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 13.8 ดอลลาร์ หรือ 0.88% ปิดที่ 1,586.6 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 28.987 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 52.7 เซนต์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนมี.ค.ขยับขึ้น 1 เซนต์ ปิดที่ 3.543 ดอลลาร์/ปอนด์

 

 

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดที่ 1,620.70 ดอลลาร์/ออนซ์ พุ่งขึ้น 13.30 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 749.05 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 14.00 ดอลลาร์

 

นอกเหนือจากแรงซื้อเก็งกำไรแล้ว นักลงทุนยังเข้ามาซื้อสัญญาทองคำเนื่องจากความไม่แน่นอนของผลเลือกตั้งในอิตาลี และหลังจากที่มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอังกฤษลงมาอยู่ที่ระดับ AA1 จากระดับ AAA

 

นอกจากนี้ นักลงทุนยังเข้าซื้อทองคำหลังจากเอชเอสบีซีเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของจีนลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนที่ 50.4 ในเดือนก.พ. เทียบกับระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีที่ 52.3 ในเดือนม.ค.

 

อย่างไรก็ดี เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันแล้วที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่ากิจกรรมในภาคการผลิตของจีนยังคงขยายตัว ขณะที่ดัชนีที่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ถึงภาวะหดตัว

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ยูโรร่วงเทียบดอลล์ หวั่นการเมืองอิตาลีไร้ทิศทาง

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 07:33:07 น.

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 ก.พ.) เนื่องจากความไม่แน่นอนของผลการเลือกตั้งอิตาลีทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของยุโรป

 

ค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับ 1.3121 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.3179 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินปอนด์ร่วงลงแตะระดับ 1.5109 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5241 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9305 ฟรังค์ จากระดับ 0.9306 ฟรังค์ และอ่อนแรงลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 92.62 เยน จากระดับ 93.41 เยน

 

ค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐหลังจากมีรายงานว่าผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของอิตาลียังไม่มีการชี้ขาด โดยก่อนหน้านี้ตลาดวิตกว่ารัฐบาลใหม่ของอิตาลีอาจจะดำเนินนโยบายที่ส่งผลให้การเดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจและการคลังของประเทศต้องหยุดชะงัก โดยนายซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นตัวเก็งอันดับต้นๆว่าจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ ชูนโยบายหาเสียงต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด ทั้งที่เป็นเงื่อนไขที่อิตาลีต้องปฏฺบัติตามที่ได้ให้คำมั่นกับอียูเพื่อแลกกับการขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน

 

นอกจากนี้ ยูโรยังได้รับแรงกดดันหลังจากคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) เปิดเผยในคาดการณ์ล่าสุดว่า เศรษฐกิจยูโรโซนจะยังคงหดตัวในปี 2556 โดยคาดว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจจะหดตัวลง 0.3% หลังจากที่หดตัวลง 0.6% ในปีที่แล้ว ซึ่งตัวเลขดังกล่าวต่ำกว่าการประเมินก่อนหน้านี้ที่ระบุถึงการขยายตัว 0.1%

 

ส่วนเงินปอนด์ร่วงลงหลังจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอังกฤษลง 1 ขั้น จาก AAA สู่ระดับ Aa1 โดยแนวโน้มมีเสถียรภาพ

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
:01 :01 ป๋าปิดชอตยังคะมะวานเผลอหลับไปยังไม่ได้ปิดเลยค่ะ :17

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ในรหัส 7,5,2 เส้นสีแดงยังคงวิ่งเหนือเส้นสีดำ ก็บ่งบอกว่า มีจังหวะที่จะปิดราคาวันนี้ สูงกว่า เมื่อวานนี้ หรือหมายถึง โอกาสออกแท่งเขียววันนี้มี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:01 :01 ป๋าปิดชอตยังคะมะวานเผลอหลับไปยังไม่ได้ปิดเลยค่ะ :17

ซื้อคืนหมดแล้วครับ เพราะเป็นการเล่น Day Trade

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทเปิด 29.84/86 แข็งค่าเล็กน้อย คาดวันนี้แกว่งในกรอบ 29.80-29.90 (26/02/2556)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 29.84/86 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อยจากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 29.85/87 บาท/ดอลลาร์

 

"แข็งค่านิดหน่อย จริงๆภูมิภาคค่อนข้างอ่อน และค่อนข้างแกว่ง ก็ยังมองเรื่อง Flow อยู่ วันนี้ยังมองแกว่งตามภูมิภาค เพราะปัจจัยบ้านเราไม่มีอะไร ไม่มีตัวเลขอะไรที่สำคัญ" นักบริหารเงินกล่าว

 

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ระหว่าง 29.80-29.90 บาท/ดอลลาร์

 

*ปัจจัยสำคัญ

 

- อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคาร ของ ธปท.วันนี้ อยู่ที่ 29.834 บาท/ดอลลาร์

 

- เช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ 92.46/51 เยน/ดอลลาร์

 

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3082/3084 ดอลลาร์/ยูโร

 

- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 ก.พ.) เนื่องจากความไม่แน่นอนของผลการเลือกตั้งอิตาลีทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของยุโรป

 

- ยูโรยังได้รับแรงกดดันหลังจากคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) เปิดเผยในคาดการณ์ล่าสุดว่า เศรษฐกิจยูโรโซนจะยังคงหดตัวในปี 2556 โดยคาดว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจจะหดตัวลง 0.3% หลังจากที่หดตัวลง 0.6% ในปีที่แล้ว ซึ่งตัวเลขดังกล่าวต่ำกว่าการประเมินก่อนหน้านี้ที่ระบุถึงการขยายตัว 0.1%

 

- เงินปอนด์ร่วงลงหลังจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอังกฤษลง 1 ขั้น จาก AAA สู่ระดับ Aa1 โดยแนวโน้มมีเสถียรภาพ

 

- ตลาดหลักทรัพย์โชว์กำไรปี 2555 ทุบสถิติ กว่า 1.3 พันล้าน โต 22.7% จากปีก่อนหน้า หลังรายได้ตราสารทุน-เงินลงทุนเพิ่มขึ้น

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อังกฤษหลุด 'AAA' มูดีส์ชี้หนี้รัฐเยอะ (26/02/2556)

มูดี้ส์หั่นอันดับอังกฤษจาก AAA เหลือ Aa1 ระบุหนี้สินภาครัฐเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เศรษฐกิจขยายตัวไม่สูงพอลดภาระหนี้

 

 

 

บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำ มูดี้ส์ ปรับลดความน่าเชื่อถือของอังกฤษจาก AAA ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ลงหนึ่งขั้นเหลือ Aa1 ด้วยเหตุผลหลักว่า แม้มีความเข้มแข็งด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ แต่การเติบโตของอังกฤษมีแนวโน้มจะซบเซาไปอีก 2-3 ปี เพราะถูกจำกัดด้วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอของโลก โดยเฉพาะในยูโรโซน และการที่ภาคธุรกิจกับภาครัฐต้องเร่งลดภาระหนี้

 

มูดี้ส์ระบุว่าสภาพการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดผลพวงเป็นลูกโซ่ เพราะเศรษฐกิจที่ซบเซา ทำให้รัฐบาลลดการขาดดุลและจัดทำงบสมดุลได้ยากขึ้น ดังนั้นหนี้สินจึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

 

นอกจากนั้น มูดี้ส์ยังลดความน่าเชื่อถือของธนาคารกลางอังกฤษจาก AAA เหลือ Aa1

 

น.ส.ซารา คาร์ลสัน หัวหน้านักวิเคราะห์ด้านอังกฤษของมูดี้ส์ กล่าวว่าการลดอันดับมาจากหลายปัจจัย แต่หลักๆ คือกระบวนการที่ภาครัฐและเอกชนต้องเร่งลดหนี้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยหนี้สินภาครัฐเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเศรษฐกิจก็ขยายตัวได้ไม่สูงพอจะดึงหนี้ให้ลดลงก่อนปี 2559

 

ทั้งนี้ มูดี้ส์ระบุว่าอังกฤษหวังว่ารายได้จากการเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นมาก จะช่วยให้ฐานะของประเทศดีขึ้น แต่เศรษฐกิจที่ขยายตัวช้าทำให้การควบคุมการขาดดุลทำได้ยาก และหนี้สินของประเทศก็จะเพิ่มไปจนถึงจุดสูงสุดที่ 96% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ในปี 2559

 

"แม้โครงการเงินทุนเพื่อการปล่อยกู้ของรัฐบาล มีศักยภาพในการหนุนนำการเติบโต แต่มูดี้ส์เชื่อว่าความเสี่ยงสำหรับแนวโน้มการเติบโตยังอยู่ในขาลง" รายงานระบุ

 

อย่างไรก็ตาม มูดี้ส์จัดให้แนวโน้มของอังกฤษมีเสถียรภาพ เพราะมั่นใจว่าภาคการเมืองจะสร้างความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างระยะกลางได้ทัน อันจะช่วยบรรเทาการขาดดุล และแก้ปัญหาหนี้ได้ในที่สุด เพราะเศรษฐกิจอังกฤษมีความหลากหลายและมีโครงสร้างสถาบันที่แข็งแกร่งมาก

 

เงินปอนด์ร่วง

 

การเคลื่อนไหวนี้ทำให้เงินปอนด์ร่วงลง 0.8% ที่ 1.5131 ต่อดอลลาร์ หลังจากร่วงลงไปแล้ว 6.8% นับจากต้นปี เพราะนักลงทุนไม่มั่นใจนโยบายของรัฐบาล

 

นายโฮเวิร์ด อาร์เชอร์ นักเศรษฐศาสตร์แห่งไอเอชเอสโกลบอลอินไซต์ กล่าวว่าการลดอันดับของมูดี้ส์เป็นสิ่งที่นักลงทุนคาดหมายมานานแล้ว ดังนั้นจึงไม่น่าจะมีผลกระทบมากนัก แต่เรื่องนี้ถือเป็นสิ่งน่าอับอายสำหรับรัฐบาล ซึ่งแน่นอนว่าจะถูกวิจารณ์อย่างหนักจากฝ่ายตรงข้าม ทั้งการถูกลดอันดับยังเป็นการตอกย้ำถึงปัญหาอันยืดเยื้อและรุนแรงของเศรษฐกิจ

 

อังกฤษลั่นไม่หนีปัญหา

 

นายจอร์จ ออสบอร์น รัฐมนตรีคลังอังกฤษ กล่าวทำนองปกป้องตัวเองว่าการตัดสินใจของมูดี้ส์ทำให้รัฐบาลต้องเพิ่มความพยายาม 2 เท่าในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และรัฐบาลจะไม่วิ่งหนีปัญหา แต่จะเอาชนะให้ได้ พร้อมเสริมว่าการถูกลดอันดับตอกย้ำการท้าทายที่รัฐบาลเผชิญ

 

"เราได้รับการย้ำเตือนเกี่ยวกับปัญหาหนี้ และสิ่งที่เราต้องทำคือจัดวางแผนลดการขาดดุลรายไตรมาส ดึงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ และสร้างงานให้มาก" นายออสบอร์นแถลง พร้อมยอมรับว่าอังกฤษเผชิญการท้าทายในประเทศ จากหนี้สินที่พอกพูนมาหลายปี และเศรษฐกิจที่อ่อนแอมากของยุโรปก็ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ง่ายขึ้นเลย

 

การลดอันดับอังกฤษมีขึ้น 3 เดือน หลังจากมูดี้ส์ลดอันดับฝรั่งเศสจาก AAA ผลจากวิกฤติยุโรปที่กระทบต่อประเทศที่เคยแข็งแกร่งอันดับต้นๆ ของโลก

 

แผนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของฝรั่งเศสกับอังกฤษแตกต่างกันออกไป โดยฝรั่งเศสไม่ยอมลดการใช้จ่ายลงอย่างมากเพื่อให้งบประมาณสมดุล และเน้นที่การขึ้นภาษีคนรวย ขณะที่อังกฤษเลือกใช้มาตรการรัดเข็มขัด

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันทีี 24 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คาดหุ้นปรับลงตามตลาดตปท. (26/02/2556)

แนวโน้มดัชนีเช้าปรับลงตามตลาดต่างประเทศ ตลาดกังวลผลการเลือกตั้งอิตาลี

 

นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสานงานวิเคราะห์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้มีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการของอิตาลีที่ออกมาสร้างความไม่แน่นอนในการจัดตั้งรัฐบาล เนื่องจากคะแนนที่ออกมายังไม่ขาดลอย ส่งผลให้ตลาดหุ้นดาวน์โจนส์ปรับตัวลดลง 216 จุด และและเป็นปัจจัยกดดันให้ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียประบบตัวลดลงตามกันในช่วงเช้า

 

ส่วนปัจจัยภายนอกอื่นๆเกี่ยวกับความไม่แน่นอนการเมืองในยุโรปที่มีผลทำให้ค่าเงินยุโรปอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังแข็งค่าอย่างต่อเนื่องกระตุ้นให้ต่างชาติเน้นการขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยซึ่งเป็นปัจจัยกดดันตลาดอยู่

 

พร้อมให้แนวต้าน 1,546-1,547 จุด แนวรับ 1,525 จุด

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ (วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไอเอ็มเอฟชี้อย่าวิตกการแข่งลดค่าเงิน (26/02/2556)

รายงานไอเอ็มเอฟชี้ทั่วโลกวิตกเรื่องสงครามค่าเงินมากเกินไป ขณะที่ย้ำบีโอเจทำถูกที่เพิ่มเป้าเงินเฟ้อและซื้อสินทรัพย์ไม่จำกัดมูลค่า

 

 

 

รายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่เปิดเผยไปเมื่อวานนี้ (21 ก.พ.) ไม่ได้ให้ความสนใจกับความวิตกกังวลเกี่ยวกับการลดค่าเงินเพื่อประโยชน์ในด้านการแข่งขัน ซึ่งมีปัจจัยกระตุ้นจากการอ่อนค่าลงของเงินเยนเมื่อเร็วๆนี้

 

รายงานเกี่ยวกับแนวโน้มทั่วโลกและความท้าทายด้านนโยบาย ระบุว่า การอ่อนค่าลงอย่างมากของเงินเยนทำให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการทำให้ค่าเงินอ่อนลงเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน แต่เมื่อมองในมุมกว้างแล้ว ถือว่ามุมมองดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลที่มีมากจนเกินไป

 

เงินเยนอ่อนค่าลงหลังจากที่ญี่ปุ่น ให้คำมั่นว่า จะใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อหนุนเศรษฐกิจที่อ่อนแอ แก้ไขภาวะขาดดุลการค้าที่สูงขึ้น ทั้งนี้ มีการประเมินว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนมีมูลค่ามากเกินจริงในระดับปานกลาง

 

ไอเอ็มเอฟ มองว่า การตัดสินใจใช้เป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% และเปลี่ยนมาซื้อสินทรัพย์โดยไม่จำกัดมูลค่าของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ถือเป็นการดำเนินการที่ถูกต้อง แต่จำเป็นต้องให้คำมั่นที่จริงจังมากขึ้นและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ และเสริมว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นควรจะดำเนินการควบคู่กับมาตรการที่แกร่งมากขึ้น อาทิ การขยายขอบเขตโครงการซื้อสินทรัพย์ เป็นต้น

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยุโรป แถลงเศรษฐกิจของ 17 ชาติสมาชิกยูโรโซนจะหดตัวราว 0.3% ในปีหน้า (26/02/2556)

คณะกรรมาธิการยุโรป แถลงว่า เศรษฐกิจของ 17 ชาติสมาชิกยูโรโซนซึ่งมีสัดส่วนคิดเป็นเกือบ 1 ใน 5 ของเศรษฐกิจโลกจะหดตัวราวร้อยละ 0.3 ในปีหน้า ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับการประเมินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ ไอเอ็มเอฟ ที่ระบุว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะหดตัว ร้อยละ 0.2 ในปีนี้ และหมายความว่า เศรษฐกิจของยูโรโซนจะยังคงไม่หลุดพ้นจากภาวะถดถอยที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2552 .

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โอบามาเล็งกดดันอาเบะลดภาษีนำเข้ารถ (26/02/2556)

ผู้นำสหรัฐเล็งกดดันนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นลดอุปสรรคนำเข้ารถของบริษัทอเมริกันก่อนเจรจาทีพีพี ขณะที่อาเบะยันไม่เจรจาถ้าต้องยกเลิกภาษีนำเข้าทุกชนิด

 

 

 

ไมค์ โฟรแมน รองที่ปรึกษาความมั่นคงภายในด้านเศรษฐกิจระหว่งประเทศ เผยว่า ประเด็นในการเจรจาวันนี้ในการพบกันของประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามา และนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ จะอยู่ที่การเรียกร้องให้ญี่ปุ่นเปิดตลาดให้มากขึ้นแก่ผู้ผลิตรถสัญชาติอเมริกาอย่าง ฟอร์ด และ ไครสเลอร์ ก่อนที่จะมีการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ทีพีพี)

 

นายโฟรแมน ย้ำว่า ญี่ปุ่นจำเป็นต้องเปิดตลาดให้แก่ผู้ผลิตรถสัญชาติอเมริกาก่อนที่ทั้งสองฝ่ายจะมีการเซ็นข้อตกลงทีพีพี และกล่าวว่าข้อตกลงทีพีพีจะครอบคลุมรอบด้าน มีมาตรฐานสูง

 

โจ ไฮน์ริกส์ ประธานฟอร์ดในทวีบอเมริกา กระตุ้นโอบามาให้ใช้โอกาสนี้เพื่อกดดันให้อาเบะเปิดตลาดรถยนต์ญี่ปุ่นมากขึ้นและระงับไม่ให้ค่าเงินเยนออกตัวลงมากกว่านี้

 

เมื่อปีที่แล้ว รถยนต์ยี่ห้อต่างประเทศมียอดขายต่ำกว่า 4% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมดในญี่ปุ่น ทางด้านนายกรัฐมนตรีอาเบะ ยืนยันว่า จะไม่เจรจาในเงื่อนไขต่างๆของทีพีพีเด็ดขาดถ้าญีปุ่นจำเป็นจะต้องยกเลิกภาษีนำเข้าทุกชนิด

นอกเหนือจากประเด็นการเข้าร่วมเจรจาในด้านเศรษฐกิจข้างต้นแล้ว นายอาเบะ ยังต้องการจะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและอเมริกาท่ามกลางอำนาจที่แข็งแกร่งขึ้นทางเศรษฐกิจและทางทหารของจีน รวมถึงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ

 

 

สหรัฐอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการเจรจาข้อตกลงทีพีพีกับอีก 10 ชาติโดยหวังว่าจะลดกำแพงภาษีนำเข้า คุมเข้มกฎหมายจดสิทธิบัตร และเพิ่มการเข้าถึงสัญญาการทำธุรกิจกับรัฐบาล

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผู้ว่าธปท.เผยเงินบาทเริ่มทรงตัว เป็นไปตามกลไก ยันไม่ได้เข้าแทรกแซง (26/02/2556)

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ระบุว่า ในช่วง 3-4 สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทเริ่มทรงตัวเป็นไปตามธรรมชาติของตลาดเงิน โดยไม่มีเรื่องดอกเบี้ยเข้ามาเกี่ยวข้อง และธปท.ไม่ได้เข้าไปแทรกแซง แต่เป็นการใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็น automatic breaker หลังจากในช่วง 2 สัปดาห์แรกของปี 56 ที่มีเม็ดเงินเข้ามามาก ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่หากเทียบกับทั้งปี 55 เงินบาทแข็งค่าน้อยกว่าภูมิภาค

 

อย่างไรก็ตาม การดูแลเงินทุนไหลเข้า ธปท.ต้องมีเครื่องมือในการดูแล ทั้งการใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่น มาตรการสนับสนุนเงินทุนไหลออกไปลงทุนต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาตรการที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลังนั้น ธปท.ได้ส่งเรื่องให้พิจารณาแล้ว ทั้งนี้ยังมีมาตรการแทรกแซงตลาดที่ต้องดำเนินการในจังหวะเหมาะสม เพราะจะมีต้นทุนเกิดขึ้น และมาตรการป้องปราม เช่น การรายงานเงินทุนไหลเข้า การใช้มาตรการภาษี

 

"เรื่องพวกนี้เราติดตามและดูความเหมาะสม แต่พูดถึงรายละเอียดของการดำเนินการคงจะไม่ดีต่อประเทศ" นายประสาร กล่าว

 

ผู้ว่าฯ ธปท. ชี้แจงด้วยว่า การที่บางฝ่ายมองว่าการที่เงินทุนไหลเข้า เนื่องจากดอกเบี้ยสูงและทำให้สภาพคล่องล้นระบบนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะข้อเท็จจริงนั้นหากมีเงินจากต่างประเทศเข้ามาในรูปดอลลาร์โดยที่คนไทยใช้เงินบาทเข้าไปซื้อดอลลาร์ ถือว่าสภาพคล่องเท่าเดิม แต่หาก ธปท.เข้าไปซื้อดอลลาร์ก็ต้องมีมาตรการดูแลเพื่อไม่ให้สภาพคล่องสูงเกินเหตุ ซึ่งจะมีวิธีดูดซับสภาพคล่อง

 

"อย่างที่เข้าใจว่าเงินไหลเข้าทำให้เกิดสภาพคล่องสูง และเกิดฟองสบู่นั้นไม่ใช่ แต่คนเอาเงินไปซื้อหุ้น ซื้ออสังหาริมทรัพย์ เพราะตอนนี้เงินฝากให้ผลตอบแทนต่ำ ก็มีการจัดสรรออกไปซื้อสินทรัพย์เหล่านี้ ส่วนราคาสินทรัพย์จะสูงขึ้นขึ้นอยู่กับดีมานด์ ซัพพลาย" นายประสาร กล่าว

 

สำหรับในภาคอสังหาริมทรัพย์นั้น ขณะนี้มีเจ้าหน้าที่ติดตามการปล่อยสินเชื่อโดยเฉพาะคอนโดมิเนียม ซึ่งยังไม่มีข้อเสนอให้มีการปรับ LTV ซึ่งจากการติดตามข้อมูลการปล่อยสินเชื่อภาคอสังหาฯ ในปี 55 ของธนาคารพาณิชย์พบว่ายังอยู่ในระดับปกติ และธนาคารพาณิชย์มีระดับการดูแลการปล่อยสินเชื่อที่ดีในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังติดตามเรื่องดังกล่าวต่อไป

 

ส่วนกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ส่งสัญญาณจะถอดมาตรการ QE รวมถึงกรณีที่มีการคาดการณ์ว่าเงินเยนจะแข็งค่าขึ้น ทำให้อาจมีการเข้ามาเก็งกำไรในรูปแบบ Yen carry trade ถอนออกจากไทยนั้น นายประสาร กล่าวว่า ธปท.มีเงินสำรองระหว่างประเทศเพียงพอรองรับเงินทุนไหลออก ซึ่งที่ผ่านมา ธปท.ได้ระมัดระวังในการรักษาเงินสำรองเพื่อรองรับความผันผวนที่อาจจะเกิดขึ้น แม้ถูกมองว่าการดำเนินการของธปท.ทำให้เกิดผลขาดทุน แต่ถือเป็นการเตรียมการเพื่อรักษาประเทศในช่วงสถานการณ์พลิกผัน การทำงานของ ธปท.ไม่ได้หวังผลกำไร แต่มุ่งหวังจะดูเสถียรภาพเป็นหลัก

 

โดยขณะนี้ระดับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ระดับ 2 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่หนี้ต่างประเทศระยะสั้นของไทยอยู่ที่ 1.3 แสนล้านดอลลาร์

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปี 55 อีซีบีกำไรพุ่ง ได้อานิสงส์จากบอนด์ (26/02/2556)

อีซีบีเผยปี 2555 กำไรพุ่ง ผลพวงจากดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลของประเทศที่ประสบพิษเศรษฐกิจยูโร

 

 

 

ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เปิดเผยว่า ธนาคารมีกำไรสุทธิหลังจากหักลบความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจาก728 ล้านยูโรเมื่อปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 998 ล้านยูโร โดยกำไรส่วนใหญ่มาจากดอกเบี้ยที่มาจากนโยบายเข้าซื้อพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลของประเทศที่ประสบภาวะหนี้ เนื่องจากไม่สามารถระดมทุนจากตลาดเงินของตัวเองได้ หรือ Securities Markets Programme (เอสเอ็มพี)

 

โดยโครงการเอสเอ็มพี เป็นไอเดียของผู้ว่าการอีซีบีคนก่อน ฌอง-คล้อด ทริเชต์ แต่นโยบายนี้ถูกระงับลงตั้งแต่ช่วงต้นปี 2555 หลังจากที่ มาริโอ ดรากี นั่งตำแหน่งประธานอีซีบี

 

ภายใต้การนำของ มาริโอ ดรากี อีซีบีเปลี่ยนมาดำเนินนโยบาย Outright Monetary Transactions (โอเอ็มที) ซึ่งคล้ายกับเอสเอ็มพี แต่ประเทศต่างๆจะต้องตกลงกับเงื่อนไขเคร่งครัดที่อีซีบีกำหนดให้ก่อนที่อีซีบีจะเข้าซื้อพันธบัตรของรัฐบาลต่างๆ

 

อีซีบี ยังเปิดเผยเป็นครั้งแรกถึงรายละเอียดประเทศที่อีซีบีเข้าซื้อพันธบัตร โดยในจำนวนมูลค่าพันธบัตรทั้งหมด 2.087 แสนล้านยูโร พันธบัตรของรัฐบาลอิตาลีนำมาในอันดับหนึ่งด้วยมูลค่า 9.9 หมื่นล้านยูโร ตามมาด้วยสเปนที่อีซีบีถือพันธบัตรอยู่ 4.37 หมื่นล้านยูโร กรีซที่ 3.08 หมื่นล้านยูโร โปรตุเกสที่ 2.16 หมื่นล้านยูโร และไอร์แลนด์รั้งท้ายที่ 1.36 หมื่นล้านยูโร

 

อีซีบี กล่าวว่า รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.289 พันล้านยูโรเมื่อปีที่แล้ว ขึ้นมากจาก 1.999 พันล้านยูโรในปี 2554 โดยเป็นรายได้จากนโยบายเอสเอ็มพี 1.108 พันล้านยูโร

 

ทั้งนี้ แหล่งรายได้ของเอสเอ็มพี คือ การลงทุนในสินทรัพย์สำรองในต่างประเทศ หลักทรัพย์ในกองทุนของตัวเอง รายได้จากดอกเบี้ยจากธนบัตรยูโรที่หมุนเวียนในตลาด และ รายได้จากดอกเบี้ยจากพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศที่ถืออยู่

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์็ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปี 55 อีซีบีกำไรพุ่ง ได้อานิสงส์จากบอนด์ (26/02/2556)

อีซีบีเผยปี 2555 กำไรพุ่ง ผลพวงจากดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลของประเทศที่ประสบพิษเศรษฐกิจยูโร

 

 

 

ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เปิดเผยว่า ธนาคารมีกำไรสุทธิหลังจากหักลบความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจาก728 ล้านยูโรเมื่อปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 998 ล้านยูโร โดยกำไรส่วนใหญ่มาจากดอกเบี้ยที่มาจากนโยบายเข้าซื้อพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลของประเทศที่ประสบภาวะหนี้ เนื่องจากไม่สามารถระดมทุนจากตลาดเงินของตัวเองได้ หรือ Securities Markets Programme (เอสเอ็มพี)

 

โดยโครงการเอสเอ็มพี เป็นไอเดียของผู้ว่าการอีซีบีคนก่อน ฌอง-คล้อด ทริเชต์ แต่นโยบายนี้ถูกระงับลงตั้งแต่ช่วงต้นปี 2555 หลังจากที่ มาริโอ ดรากี นั่งตำแหน่งประธานอีซีบี

 

ภายใต้การนำของ มาริโอ ดรากี อีซีบีเปลี่ยนมาดำเนินนโยบาย Outright Monetary Transactions (โอเอ็มที) ซึ่งคล้ายกับเอสเอ็มพี แต่ประเทศต่างๆจะต้องตกลงกับเงื่อนไขเคร่งครัดที่อีซีบีกำหนดให้ก่อนที่อีซีบีจะเข้าซื้อพันธบัตรของรัฐบาลต่างๆ

 

อีซีบี ยังเปิดเผยเป็นครั้งแรกถึงรายละเอียดประเทศที่อีซีบีเข้าซื้อพันธบัตร โดยในจำนวนมูลค่าพันธบัตรทั้งหมด 2.087 แสนล้านยูโร พันธบัตรของรัฐบาลอิตาลีนำมาในอันดับหนึ่งด้วยมูลค่า 9.9 หมื่นล้านยูโร ตามมาด้วยสเปนที่อีซีบีถือพันธบัตรอยู่ 4.37 หมื่นล้านยูโร กรีซที่ 3.08 หมื่นล้านยูโร โปรตุเกสที่ 2.16 หมื่นล้านยูโร และไอร์แลนด์รั้งท้ายที่ 1.36 หมื่นล้านยูโร

 

อีซีบี กล่าวว่า รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.289 พันล้านยูโรเมื่อปีที่แล้ว ขึ้นมากจาก 1.999 พันล้านยูโรในปี 2554 โดยเป็นรายได้จากนโยบายเอสเอ็มพี 1.108 พันล้านยูโร

 

ทั้งนี้ แหล่งรายได้ของเอสเอ็มพี คือ การลงทุนในสินทรัพย์สำรองในต่างประเทศ หลักทรัพย์ในกองทุนของตัวเอง รายได้จากดอกเบี้ยจากธนบัตรยูโรที่หมุนเวียนในตลาด และ รายได้จากดอกเบี้ยจากพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศที่ถืออยู่

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์็ 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...