ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

World Markets : สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ (03/04/2556)

ตลาดหุ้นยุโรปปิดพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อคืนนี้ (2 เม.ย.) ขานรับรายงานที่ว่ายอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือนก.พ. นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของอิตาลีปรับตัวลง

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 พุ่งขึ้น 1.3% ปิดที่ 297.52 จุด

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 7,943.87 จุด เพิ่มขึ้น 148.56 จุด หรือ 1.91% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3,805.37 จุด เพิ่มขึ้น 73.95 จุด หรือ1.98% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,490.66 จุด เพิ่มขึ้น 78.92 จุด หรือ 1.23%

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (2 เม.ย.) เพราะได้แรงหนุนจากรายงานยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือนก.พ. นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยบวกจากแรงซื้อที่ส่งเข้าหนุนหุ้นกลุ่มประกันสุขภาพ และจากการที่นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ไซปรัส

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ดีดตัวขึ้น 89.16 จุด หรือ 0.61% ปิดที่ 14,662.01 จุด ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 8.08 จุด หรือ 0.52% ปิดที่ 1,570.25 จุด และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 15.69 จุด หรือ 0.48% ปิดที่ 3,254.86 จุด

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (2 เม.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดสั่งซื้อภาคโรงงานที่เพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือนก.พ. ซึ่งทำให้นักลงทุนมีความหวังว่าเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นจะช่วยหนุนความต้องการพลังงานให้แข็งแกร่งขึ้นด้วย

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 12 เซนต์ หรือ 0.12% ปิดที่ 97.19 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 39 เซนต์ หรือ 0.35% ปิดที่ 110.69 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (2 เม.ย.) โดยสัญญาทองคำดิ่งลงมาปิดที่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 4 สัปดาห์ เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ การดีดตัวขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐยังได้กระตุ้นให้นักลงทุนเทขายทองคำและหันไปลงทุนในตลาดหุ้น

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 25 ดอลลาร์ หรือ 1.56% ปิดที่ 1,575.9 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ปิดที่ 27.248 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 69.6 เซนต์ ส่วนสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 0.4 เซนต์ ปิดที่ 3.3785 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ปิดที่ 1,574.20 ดอลลาร์/ออนซ์ ดิ่งลง 24.60 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดที่ 769.40 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 14.55 ดอลลาร์

 

-- ราคาทองคำตลาดลอนดอนปิดวันทำการล่าสุด (2 เม.ย.) ที่ 1,583.50 ดอลล์/ออนซ์

-- สกุลเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (2 เม.ย.) เพราะได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่าอัตราว่างงานในยูโรโซนยังอยู่ในระดับที่สูงมาก ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นหลังจากสหรัฐเผยยอดสั่งซื้อภาคโรงงานปรับตัวสูงขึ้น

 

ค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับ 1.2814 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.2851 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอน์ร่วงลงแตะระดับ 1.5107 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5232 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.0448 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0424 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 93.37 เยน จากระดับ 93.36 เยน และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9493 ฟรังค์ จากระดับ 0.9471 ฟรังค์

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อคืนนี้ (2 เม.ย.) หลังหอการค้าอังกฤษระบุว่าเศรษฐกิจอังกฤษจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดภอยได้อีกครั้ง

 

ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 78.92 จุด หรือ 1.23% ปิดที่ 6,490.66 จุด

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 3 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ดอลล์แข็ง,หุ้นพุ่ง ฉุดทองคำปิดร่วง 25 ดอลลาร์ (03/04/2556)

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ (2 เม.ย.) โดยสัญญาทองคำดิ่งลงมาปิดที่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 4 สัปดาห์ เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ การดีดตัวขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐยังได้กระตุ้นให้นักลงทุนเทขายทองคำและหันไปลงทุนในตลาดหุ้น

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 25 ดอลลาร์ หรือ 1.56% ปิดที่ 1,575.9 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ปิดที่ 27.248 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 69.6 เซนต์ ส่วนสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 0.4 เซนต์ ปิดที่ 3.3785 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ปิดที่ 1,574.20 ดอลลาร์/ออนซ์ ดิ่งลง 24.60 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดที่ 769.40 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 14.55 ดอลลาร์

 

สัญญาทองคำร่วงลงเนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน ก่อนที่การประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ โดยดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินสกุลดอลลาร์ในตระกร้าเงินเมื่อเทียบกับสกุลอื่นๆ พุ่งขึ้นแตะระดับ 82.877 จุด เมื่อวานนี้ จากระดับของวันจันทร์ที่ 82.744 จุด

 

นอกจากนี้ การที่ตลาดหุ้นสหรัฐดีดตัวขึ้นยังได้กระตุ้นให้นักลงทุนเทขายทองคำและหันไปลงทุนในตลาดหุ้น โดยดัชนีดาวโจนส์พุ่งขึ้นกว่า 0.6% หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานปรับตัวขึ้น 3.0% ในเดือนก.พ. หลังจากที่ลดลง 1% ในเดือนม.ค. นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 5 เดือน

 

อย่างไรก็ตาม นายเกอร์ฮาร์ด ชูเบิร์ท ผู้อำนวยการฝ่ายโลหะมีค่าของธนาคารเอมิเรทส์ เอ็นบีดี กล่าวว่า แม้ว่าราคาทองปรับตัวลง แต่คาดว่าทองอาจจะกลับมาเป็นที่ต้องการอีกครั้ง หากไม่มีความคืบหน้าที่น่าพอใจในยูโรโซน

 

นายชูเบิร์ทตั้งข้อสังเกตว่าธนาคารกลางที่ใช้ทองคำในการสร้างความหลากหลายในการลงทุนที่นอกเหนือจากสกุลเงินนั้น กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนต่อทองคำต่อไป สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควทส์ (วันที่ 3 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก : ยูโรร่วงเหตุวิตกอัตราว่างงานยูโรโซนยังสูงมาก (03/04/2556)

สกุลเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (2 เม.ย.) เพราะได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่าอัตราว่างงานในยูโรโซนยังอยู่ในระดับที่สูงมาก ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นหลังจากสหรัฐเผยยอดสั่งซื้อภาคโรงงานปรับตัวสูงขึ้น

 

ค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับ 1.2814 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.2851 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอน์ร่วงลงแตะระดับ 1.5107 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5232 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.0448 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0424 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 93.37 เยน จากระดับ 93.36 เยน และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9493 ฟรังค์ จากระดับ 0.9471 ฟรังค์

 

สกุลเงินยูโรร่วงลงหลังจากสำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือยูโรสแตท รายงานในวันนี้ว่า อัตราว่างงานยูโรโซนในเดือนก.พ. ทรงตัวอยู่ที่ 12.0% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจภูมิภาคยังคงอยู่ในภาวะถดถอยอย่างต่อเนื่อง

 

การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวมีขึ้นก่อนที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) มีกำหนดจะจัดการประชุมนโยบายในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งมีแนวโน้มว่าอัตราว่างงานดังกล่าวอาจจะเป็นปัจจัยที่กดดันให้อีซีบีปรับลดดอกเบี้ยลง หลังจากที่มีการตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.75% มานับแต่เดือนก.ค.ปีที่แล้ว

 

ขณะที่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเพราะได้รับแรงหนุนหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานปรับตัวขึ้น 3.0% ในเดือนก.พ. หลังจากที่ลดลง 1% ในเดือนม.ค. นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 5 เดือน

 

นักลงทุนจับตาดูการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในวันพฤหัสบดีนี้ โดยเฉพาะบีโอเจนั้น จะเป็นการประชุมครั้งแรกภายใต้การนำของนายฮารุฮิโกะ คูโระดะ ผู้ว่าการบีโอเจคนใหม่ โดยนายคูโรดะย้ำว่าเขาจะทำทุกอย่างเพื่อให้ญี่ปุ่นบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ภายในเวลา 2 ปี

 

นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาดูกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.ในวันศุกร์นี้ ซึ่งนักวิเคราะห์จำนวหนึ่งคาดว่าตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ 7.7%

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 3 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หุ้นพุ่ง-ดอลลาร์แข็ง กดทองคำปิดร่วง$25(03/04/2556)

ทองปิดร่วง 25 ดอลลาร์ ที่ 1,575.9 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังดอลลาร์กลับมาแข็ง-ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่ง รับตัวเลขยอดสั่งซื้อภาคโรงงานปรับตัวเพิ่มขึ้น

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 25 ดอลลาร์ หรือ 1.56% ปิดที่ 1,575.9 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาทองคำร่วงลงเนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน ก่อนที่การประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ โดยดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินสกุลดอลลาร์ในตระกร้าเงินเมื่อเทียบกับสกุลอื่นๆ พุ่งขึ้นแตะระดับ 82.877 จุด เมื่อวานนี้ จากระดับของวันจันทร์ที่ 82.744 จุด

 

นอกจากนี้ การที่ตลาดหุ้นสหรัฐดีดตัวขึ้นยังได้กระตุ้นให้นักลงทุนเทขายทองคำและหันไปลงทุนในตลาดหุ้น โดยดัชนีดาวโจนส์พุ่งขึ้นกว่า 0.6% หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานปรับตัวขึ้น 3.0% ในเดือนก.พ. หลังจากที่ลดลง 1% ในเดือนม.ค. นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 5 เดือน

 

อย่างไรก็ตาม นายเกอร์ฮาร์ด ชูเบิร์ท ผู้อำนวยการฝ่ายโลหะมีค่าของธนาคารเอมิเรทส์ เอ็นบีดี กล่าวว่า แม้ว่าราคาทองปรับตัวลง แต่คาดว่าทองอาจจะกลับมาเป็นที่ต้องการอีกครั้ง หากไม่มีความคืบหน้าที่น่าพอใจในยูโรโซน

 

นายชูเบิร์ทตั้งข้อสังเกตว่าธนาคารกลางที่ใช้ทองคำในการสร้างความหลากหลายในการลงทุนที่นอกเหนือจากสกุลเงินนั้น กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนต่อทองคำต่อไป

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (03 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แห่ทิ้งเงินยูโร-บอนด์มะกันรุ่ง (03/04/2556)

ประเทศกำลังพัฒนาลดการถือครองยูโรวิ่งถือเงินสกุลอื่น ด้านพันธบัตรสหรัฐขายดีที่สุดในรอบ 4 ปี

 

ธนาคารกลางในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ต่างพากันขายทิ้งเงินยูโรหลังจากที่สกุลเงินยูโรไร้เสถียรภาพ ประกอบกับสถานะทางเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนยังน่าเป็นห่วง ทำให้ธนาคารเหล่านี้เริ่มลดการให้ความสำคัญกับการถือครองเงินสกุลยูโรอย่างต่อเนื่อง

 

ตามรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) พบว่า ธนาคารกลางในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ได้ขายทิ้งเงินยูโรจากคลังสกุลเงินต่างประเทศรวมทั้งสิ้น 4.5 หมื่นล้านยูโร หรือคิดเป็น 8% ในปี 2555

 

ข้อมูลดังกล่าวเป็นการบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่า สถานะของค่าเงินยูโรในระบบการเงินการคลังของโลกนั้นกำลังอยู่ในสถานะที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง อันเป็นผลจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนเอง

 

ด้าน เจฟฟรีย์ แฟรงเกิล ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ จากวิทยาลัยเคนเนดี มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้ความเห็นว่า แน่นอนว่าค่าเงินยูโรยังคงเป็นสกุลเงินอันดับ 2 ของโลก แต่ทว่าไม่มีทางที่ค่าเงินยูโรจะขึ้นไปเทียบเงินเหรียญสหรัฐได้เลยในขณะนี้

 

ทั้งนี้ ปริมาณเงินสกุลยูโรที่อยู่ในเงินคงคลังของธนาคารกลางประเทศต่างๆ ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนานั้น ลดต่ำลงมากที่สุดในปีที่ผ่านมา คิดเป็นเพียง 24% ของเงินคงคลังทั้งหมด ซึ่งถือเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2545 ทีเดียว

 

รายงานระบุด้วยว่า ประเทศกำลังพัฒนากำลังหันไปถือเงินสกุลอื่นๆ มากขึ้น เช่น เงินเหรียญออสเตรเลีย ซึ่งในปีที่แล้วค่าเงินเหรียญออสเตรเลียเป็นเงินสกุลหนึ่งในโลกที่มีผลงานดีที่สุดทีเดียว

 

กระนั้นก็ตาม แฟรงเกิล กล่าวด้วยว่า เงินยูโรยังคงศักยภาพการแข่งขันอยู่ต่อไป เนื่องจากเศรษฐกิจยูโรโซนมีขนาดใหญ่โตมาก ทว่าสำหรับตลาดพันธบัตรนั้นถือว่ายูโรโซนไม่ใช่ตลาดที่มีความคล่องตัวสูงอีกต่อไป เนื่องจากนักลงทุนหวั่นเกรงความน่าเชื่อถือของตลาดพันธบัตรยูโรโซนมากขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจในสเปนและอิตาลี ในระยะนี้

 

วันเดียวกัน บลูมเบิร์ก รายงานว่า นักลงทุนต่างประเทศได้เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในไตรมาสสุดท้ายของปี|ที่แล้วมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552 อันเป็นผลมาจากค่าเงินยูโรที่ไร้เสถียรภาพและค่าเงินเยนที่ญี่ปุ่นกำลังเข้าแทรกแซง

 

รายงานระบุว่า ปริมาณพันธบัตรสหรัฐที่ถือไว้โดยธนาคารกลางในต่างประเทศนั้นเพิ่มขึ้น 6.35 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 2.4% ไปอยู่ที่ 2.95 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยจีนยังคงเป็นผู้ถือพันธบัตรสหรัฐรายใหญ่ที่สุดในโลก

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ (วันที่ 3 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทเปิด 29.45/47 อ่อนค่าตามทิศทางภูมิภาค มีแนวโน้มแตะ 29.50 (03/04/2556)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 29.45/47 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจากเย็นวานนี้ที่ระดับ 29.29.35/37 บาท/ดอลลาร์

 

"เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ปรับตัวอ่อนค่าตามภูมิภาค" นักบริหารเงิน กล่าว

 

ทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้น่าจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่า เงินในภูมิภาค แม้จะมีประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) แต่คาดการณ์ว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ตามเดิมที่ 2.75% ต่อปี

นักบริหารเงิน ประเมินการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ในกรอบระหว่าง 29.40-29.50 บาท/ดอลลาร์

 

"แนวโน้มน่าจะปรับตัวอ่อนค่าไปแตะ 29.50 บาท/ดอลลาร์" นักบริหารเงิน กล่าว

 

 

 

 

 

*ปัจจัยสำคัญ

 

- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคาร ธปท.วันนี้อยู่ที่ 29.3440 บาท/ดอลลาร์

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 93.59/61 เยน/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากระดับ 93.31/33 เยน/ดอลลาร์

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2801/2803 ดอลลาร์/ยูโร อ่อนค่าจากระดับ 1.2840/2842 ดอลลาร์/ยูโร

- สกุลเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (2 เม.ย.) เพราะได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่าอัตราว่างงานในยูโรโซนยังอยู่ในระดับที่ สูงมาก ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นหลังจากสหรัฐเผยยอดสั่งซื้อภาคโรงงานปรับตัว สูงขึ้น

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 93.37 เยน จากระดับ 93.36 เยน

- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส(WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้(2 เม.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดสั่งซื้อภาคโรงงานที่เพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือน ก.พ. ทำให้นักลงทุนมีความหวังว่าเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นจะช่วยหนุนความต้องการ พลังงานให้แข็งแกร่งขึ้นด้วย โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน เม.ย.เพิ่มขึ้น 12 เซนต์ หรือ 0.12% ปิดที่ 97.19 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์(BRENT) ส่งมอบเดือน พ.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 39 เซนต์ หรือ 0.35% ปิดที่ 110.69 ดอลลาร์/บาร์เรล

- ราคาทองคำที่ตลาดฮ่องกงดิ่งลง 200 ดอลลาร์ฮ่องกง เปิดที่ระดับ 14,600 ดอลลาร์ฮ่องกง/ตำลึง หรือเท่ากับ 1,585.40 ดอลลาร์สหรัฐ/ทรอยออนซ์ ลดลง 21.63 ดอลลาร์สหรัฐ

- ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 วัน หลังจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยุโรป ขณะที่สหรัฐเปิดเผยยอดสั่งซื้อภาคโรงงานที่ดีเกินคาด

- สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เผย ผลสำรวจหุ้นไทยจากนี้มีลุ้นทะลุ 1,700 จุด รับแรงหนุนการลงทุนโครงสร้าง พื้นฐาน 2.2 ล้านล้านบาท รวมทั้งรับปัจจัยบวกเศรษฐกิจโต 4.9% กำไร บจ.ขยายตัว 20% ซึ่งสูงกว่ามุมมองครั้งก่อน เชื่อเงินต่างชาติปีนี้จะไหลเข้าสุทธิ 2.7 หมื่นล้านบาท

- แบงก์พาณิชย์ เชื่อแบงก์ชาติ ยังคงตรึงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่เดิม เหตุแรงกดดันจากเรื่องของเงินเฟ้อลดลง เหตุราคาสินค้าหลักทั้งพลังงาน อาหาร ลดลงจากเดือนก่อน ซ้ำผลกระทบจากเงินบาทแข็งไม่ได้รุนแรงอย่างที่เข้าใจ เผยผู้ส่งออกเองได้ประโยชน์จากต้นทุนเครื่องจักร วัตถุดิบลดลง

 

ที่มา : ทันหุ้น(วันที่ 3 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

'เงิน​เฟ้อ-บาท​แข็ง’​ไม่กดดันมากนัก-ธปท.คุม​เข้มกู้บ้าน0% ​แบงก์คาดกนง.ตรึงดบ.อีก (3/4/56)

แบงก์พาณิชย์ ​เชื่อ​แบงก์ชาติ ยังคงตรึงดอก​เบี้ยน​โยบาย​ไว้ที่​เดิม​เหตุ​แรงกดดันจาก​เรื่องของ​เงิน​ เฟ้อลดลง ​เหตุราคาสินค้าหลัก​ทั้งพลังงาน อาหาร ลดลงจาก​เดือนก่อน ซ้ำผลกระทบจาก​เงินบาท​แข็ง​ไม่​ได้รุน​แรงอย่างที่​เข้า​ใจ ​เผย​ผู้ส่งออก​เอง​ได้ประ​โยชน์จากต้นทุน​เครื่องจักร วัตถุดิบลดลง

 

​ผู้สื่อข่าวรายงานว่า​ในวันที่ 3 ​เมษายน นี้ จะมี​การประชุมของคณะกรรม​การน​โยบาย​การ​เงิน (กนง.) ของธนาคาร​แห่งประ​เทศ​ไทย​ในวันพุธที่ 3 ​เมษายนนี้ ​ซึ่งหลายฝ่ายกำลังจะจับตามองว่ากนง.ตัดสิน​ใจ​เรื่องน​โยบายดอก​เบี้ยอย่าง ​ไร ​ซึ่งที่ผ่านมากระทรวง​การคลัง ​และภาค​เอกชนส่วน​ใหญ่กดดันทาง​แบงก์ชาติตลอด​เวลา​ให้ลดอัตราดอก​เบี้ยน​ โยบายลง ​เพื่อบรร​เทาสถาน​การณ์ที่ค่าง​เงินบาท​แข็งตัวอย่างมาก ​ในขณะที่​แบงก์ชาติ​เอง​ก็ยังตรึงดอก​เบี้ยน​โยบาย​ไว้ที่ 2.75%มา​เป็น​เวลา 6 ​เดือน (ตุลาคม 2555- มีนาคม 2556) จาก​การประชุม กนง. ​แล้ว 3 ครั้ง ​โดย​แบงก์ชาติ ยังคงอ้าง​เหตุผลที่ตรึงดอก​เบี้ย​ไว้ที่​เดิม ​เพื่อ​แตะ​เบรก​การร้อน​แรง​ในภาคอสังหาฯ​และตลาดหุ้น

 

และก่อนที่จะมี​การประชุมกนง.​ในวันที่ 3 ​เมษายนนี้ หลายฝ่าย​โดย​เฉพาะ​แบงก์พาณิชย์ต่างออกมาวิ​เคราะห์​แนว​โน้ม

 

​การตัดสินของกนง. ​โดยศูนย์วิ​เคราะห์​เศรษฐกิจที​เอ็มบี ​หรือ TMB Analytics ระบุว่า กนง. ​ในวันพุธที่ 3 ​เมษายน นี้นั้น ทางศูนย์วิ​เคราะห์ฯ ประ​เมินว่า ทิศทาง​การฟื้นตัวทาง​เศรษฐกิจ​โลก​ไม่​ได้​เปลี่ยน​แปลง​ไปจาก​การประชุม ครั้งก่อนอย่างมีนัยสำคัญ อีก​ทั้ง ผลกระทบ​โดย​แท้จริงจาก​การ​แข็งค่าของค่า​เงินบาทต่อ​ผู้ส่งออก​ไทยอาจ​ไม่ ​ได้รุน​แรงอย่างที่หลายฝ่าย​เป็นกังวล ​ทำ​ให้คาดว่า กนง. จะมีมติคงอัตราดอก​เบี้ยน​โยบาย​ไว้ที่ระดับ 2.75% ​เนื่องจากยังมี​ความ​เหมาะสมต่อ​เสถียรภาพของ​เศรษฐกิจ​ไทยต่อ​ไป

 

ศูนย์วิ​เคราะห์​เศรษฐกิจที​เอ็มบี ระบุว่า ​เรื่องของค่า​เงินบาทที่​แข็งตัวขึ้นอย่างต่อ​เนื่องจน​ไปซื้อขาย​เข้า​ ใกล้ระดับ 29 บาทต่อดอลลาร์ จะ​ทำ​ให้ต้นทุน​ใน​การนำ​เข้าสินค้า ​ไม่ว่าจะ​เป็น​เครื่องมือ​เครื่องจักร สินค้าขั้นกลาง/วัตถุดิบ​ใน​การผลิต ตลอดจนสินค้า​เพื่อ​การอุป​โภคบริ​โภคมีราคาถูกลง

 

“​ในภาพรวม​เกือบ 90% ของ​ผู้ประกอบ​การ​ไทยที่​ทำธุรกิจ​เกี่ยว​เนื่องกับ​การส่งออกสินค้า มี​การนำ​เข้าวัตถุดิบ ​และ สินค้าสำ​เร็จรูป มาจากต่างประ​เทศ​เพื่อมาดำ​เนินธุรกิจด้วย​เช่นกัน ข้อมูลดังกล่าวสะท้อน​ให้​เห็นว่า ​แท้จริง​แล้ว​ผู้ส่งออก​ไทยอาจ​ไม่​ได้รับผลกระทบด้านลบ​ทั้งหมดจาก​การ​ แข็งค่าขึ้นของค่า​เงินบาท ​แต่​ก็​ได้รับประ​โยชน์จากต้นทุน​การนำ​เข้าสินค้าที่ถูกลงด้วย​เช่นกัน”

 

​ในขณะที่ตัว​เลขภาค​การท่อง​เที่ยว ยัง​ไม่สะท้อน​ถึง​ความกังวลที่อาจจะ​เกิดขึ้นจาก​การ​แข็งค่าของ​เงินบาท ​โดย​ใน​เดือนกุมภาพันธ์ยังขยายตัว​ถึง 25% ​และ​เป็น​การ​เปิดปีด้วยตัว​เลขนักท่อง​เที่ยวที่สูงขึ้น​แท่น ​ทำสถิติ​เป็นอันดับสอง​เกือบ 2.4 ล้านคน

 

นอกจากนี้ ​การบริ​โภคภาย​ในประ​เทศ​ก็จะ​ได้รับผลดีจาก​การ​แข็งค่าขึ้นของค่า​เงิน บาทด้วย​เช่นกัน ทางภาคครัว​เรือนอาจมี​การ​เร่งตัวขึ้น​ในส่วนของ​การ​ใช้จ่ายสินค้าอุป​โภค บริ​โภคที่ต้องนำ​เข้ามาจากต่างประ​เทศ ​ในขณะที่ทางภาคธุรกิจ​ก็จะ​ได้รับผลดีจาก​การนำ​เข้า​เครื่องมือ​เครื่อง จักรด้วยค่า​ใช้จ่ายที่ต่ำลงด้วย นอกจากนี้ ภาค​เอกชน​และภาครัฐบาล ที่มีภาระหนี้อยู่​ในรูป​เงินตราต่างประ​เทศ สามารถ​ใช้ประ​โยชน์จาก​โอกาสดังกล่าว​ใน​การลดภาระต้นทุนทาง​การ​เงินลง​ ได้จาก​การ​แข็งค่าขึ้นของค่า​เงิน​ในประ​เทศ

 

ขณะที่ศูนย์วิจัย​เศรษฐกิจ​และธุรกิจ ธนาคาร​ไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ​ได้ประ​เมิน​แนว​โน้มอัตรา​เงิน​เฟ้อ​ในปี 2556 ​ซึ่ง​เป็นปัจจัยหนึ่งที่​แบงก์ชาติมักจะนำ​เอามา​เป็น​เหตุผลสำคัญ​ใน​การ ตัดสิน​ใจกำหนดน​โยบายดอก​เบี้ย

 

​ทั้งนี้ศูนย์วิจัยฯ ยังคงประมาณ​การ​เงิน​เฟ้อทั่ว​ไป​เฉลี่ยปี 2556 อยู่ที่ราว 3.0% ​เนื่องจากยัง​ไม่มีปัจจัย​ใหม่ที่จะส่งผลกระทบ

 

ต่อ​แนว​โน้มราคาน้ำมันที่ประ​เมิน​ไว้​เดิม อีก​ทั้งสัญญาณของ

ผลกระทบจากน​โยบายค่าจ้างขั้นต่ำต่อราคาสินค้ายัง​ไม่รุน​แรง ​ในขณะที่อัตรา​เงิน​เฟ้อพื้นฐานน่าจะอยู่ที่ราว 1.8% ​เช่น​เดิม

 

ส่วนที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศอัตรา​เงิน​เฟ้อ​เดือนมีนาคม 2556 ​ซึ่งลดลง จากช่วง​เดียวกันของปีก่อน ​และลดลง​เมื่อ​เทียบกับ​เดือนก่อนหน้านั้น ​เป็น​เพราะ​การลดลงของราคาสินค้า​ในหมวดพลังงาน ​เช่น จากราคาน้ำมัน​เชื้อ​เพลิงขายปลีก​ในประ​เทศปรับลดราว 0.4% ​เมื่อ​เทียบกับ​เดือนก่อนหน้า ​ทั้งนี้ ราคาอาหารปรุงสำ​เร็จ​เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผล​ให้​เงิน​เฟ้อพื้นฐานชะลอตัว ดัชนีราคาสินค้า​ในหมวดอาหารปรุงสำ​เร็จ​ซึ่ง​เป็นปัจจัยองค์ประกอบสำคัญของ ราคาสินค้าพื้นฐาน (​ไม่รวมราคาสินค้า​ในหมวดพลังงาน​และอาหารสด) ​ก็ชะลอลงจาก​เดือนกุมภาพันธ์

 

ขณะที่นักบริหาร​เงินจากธนาคารซี​ไอ​เอ็มบี​ไทย ​เปิด​เผยว่า ​เงินบาทวันที่ 2 ​เมษายน ​เปิดตลาดที่ระดับ 29.30/32 บาท/ดอลลาร์ ​แข็งค่าขึ้น​เล็กน้อยจาก​เมื่อวันที่ 1 ​เมษายน ที่ปิดตลาดที่ระดับ 29.32/33 บาท/ดอลลาร์

 

“ปัจจัยสำคัญ​ในประ​เทศที่ต้องติดตามคือ ​การประชุม​เรื่องอัตราดอก​เบี้ยน​โยบายของคณะกรรม​การน​โยบาย​การ​เงิน (กนง.) ​ในวันที่ 3 ​เม.ย.” นักบริหาร​เงิน ระบุ

 

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์​แนวหน้า (3/4/56)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กสิกรไทยมองแนวโน้มเงินเฟ้อทรงตัวต่อไป (03/04/2556)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มอง แนวโน้มยังคงทรงตัวในช่วงหลายเดือนข้างหน้า แต่จับตาการปรับราคาก๊าซแอลพีจี

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ให้มุมมองแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยในปีนี้ ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของไทยในเดือนมี.ค. 2556 ชะลอลงมาอยู่ที่ 2.69% (YoY) และ 1.23% (YoY) ซึ่งต่ำสุดในรอบ 9 เดือน และ 27 เดือน ตามลำดับ สถานการณ์ราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค ขยับขึ้นเพียง 0.07% จากเดือนก.พ. 2556 โดยการปรับสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดผักและผลไม้ ถูกหักล้างโดยการปรับตัวลงของราคาในหมวดเนื้อสัตว์ และราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ

 

แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2556 : มีโอกาสชะลอลงกว่าคาดการณ์กรณีพื้นฐาน

 

แม้เงินเฟ้อในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 ยังคงออกมาสอดคล้องกับที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดี หากประเมินสถานการณ์ ณ ขณะนี้ คงต้องยอมรับว่า มีหลายตัวแปรที่อาจส่งผลช่วยบรรเทาแรงกดดันเงินเฟ้อของไทย แม้ว่าระดับราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคในระยะข้างหน้า จะยังคงเป็นภาพการไล่ระดับขึ้นตามกระบวนการส่งผ่านภาระต้นทุนของผู้ประกอบการก็ตาม ทั้งนี้ คงต้องจับตาตัวแปรชะลอแรงหนุนเงินเฟ้อในช่วงหลายเดือนข้างหน้าอย่างใกล้ชิด โดยนอกเหนือไปจากตัวแปรค่าเงินบาทและทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลกแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มาตรการดูแลภาวะค่าครองชีพและราคาพลังงานของภาครัฐ อาจทำให้เงินเฟ้อมีแนวโน้มผ่อนคลายลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ (ท่ามกลางกลไกดูแลความเคลื่อนไหวภาพรวมของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคจากกระทรวงพาณิชย์อย่างใกล้ชิด)

 

แม้ทิศทางเงินเฟ้อในช่วงระหว่างเดือนเม.ย. 2556 อาจขยับขึ้นตามราคาสินค้าในหมวดอาหารสดที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะอากาศที่ร้อนแล้ง แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ก็คาดว่า อัตราเงินเฟ้อไทยในเดือนเม.ย. 2556 ไม่น่าจะเร่งตัวขึ้นสูงกว่าระดับ 2.69% (YoY) ในเดือนมี.ค. 2556 มากนัก เนื่องจากกำหนดการของแนวทางการปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG และมาตรการดูแลภาวะค่าครองชีพประชาชนด้านการเดินทางของภาครัฐ มีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิม โดยที่ประชุมครม. มีมติขยายเวลาสำหรับมาตรการลดค่าครองชีพของประชาชนด้านการเดินทาง ทั้งรถเมล์-รถไฟฟรี ออกไปอีก 6 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่ 1 เม.ย.-30 ก.ย. 2556 ขณะที่ กบง.ก็ได้เลื่อนเวลาการปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG ออกไป 2 เดือน เนื่องจากการสำรวจฐานข้อมูลเพื่อบรรเทาผลกระทบแก่ผู้มีรายได้น้อยยังไม่แล้วเสร็จ โดยราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน จะตรึงไว้ที่ระดับเดิมต่อไปจนถึงสิ้นเดือนพ.ค.2556

 

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงประเมินว่า การเลื่อนกำหนดการปรับโครงสร้างราคา LPG (และน่าจะเริ่มดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป) แนวทางการดูแลภาวะค่าครองชีพประชาชนและการชดเชยราคาเชื้อเพลิงบางประเภทผ่านกลไกกองทุนน้ำมันฯ ที่ครอบคลุมช่วงเวลาส่วนใหญ่ของปี ตลอดจนภาวะการบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอการขยายตัวสู่ภาวะปกติ เมื่อรวมเข้ากับจังหวะเงินบาทที่แข็งค่า และทิศทางผ่อนคลายของราคาน้ำมันตลาดโลก อาจช่วยบรรเทาแรงผลักเงินเฟ้อในส่วนที่ส่งผ่านมาจากต้นทุนของผู้ประกอบการ

 

ปัจจัยดังกล่าว น่าจะทำให้ค่าเฉลี่ยของเงินเฟ้อไทยในปี 2556 เคลื่อนจากกรณีพื้นฐานที่ 3.3% เข้าใกล้กรอบล่างของประมาณการที่ 3.0-3.6% ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สถานการณ์เงินเฟ้อไทย ณ ขณะนี้ น่าจะเอื้อให้ธปท.ยังคงมีเวลาในการรอประเมินความต่อเนื่องของโมเมนตัมเศรษฐกิจไทย ท่ามกลางหลายตัวแปรความเสี่ยงในระยะข้างหน้า

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ (วันที่ 3 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอกชนผวาบาทแข็งหลุด29-ทุบส่งออกเดี้ยง นายแบงก์ฟันธงกนง.คงดอกเบี้ย(03/04/2556)

นาย ชาติชาย พยุหนาวีชัย รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า คาดว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 3 เม.ย.นี้ จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.75% ซึ่งถือเป็นระดับที่เหมาะสม เพราะประเมินว่ากนง. ยังมีความกังวลต่อความเสี่ยงจากเงินเฟ้อไตรมาส 1/2556 เพิ่มขึ้น 3.09% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ประกอบกับความเสี่ยงจากภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ยังคงต้องจับตามองต่อไปอย่าง ใกล้ชิด ทั้งนี้ หากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อและฟองสบู่ยังมีอยู่ อาจมีโอกาสได้เห็นกนง. คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.75% ไว้จนถึงสิ้นปีนี้ ส่วนที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการ ส่งออกที่ลดลงนั้น เห็นว่าดอกเบี้ยไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่มีผลต่อค่าเงินบาท

 

 

 

นาย บุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า กนง.น่าจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 2.75% ซึ่งเป็นระดับที่เอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ เพราะเชื่อว่ากนง.ยังคง ให้น้ำหนักเรื่องการดูแลเสถียรภาพเงินเฟ้อ และเสถียรภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจเป็นหลัก

 

 

 

ด้านนายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส่วนตัวเชื่อว่า กนง. จะยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.75% แม้ว่าภาคเอกชนจะเสนอให้ลดดอกเบี้ยลง 0.25-0.5% เชื่อว่าจะไม่เป็นผล ทั้งนี้ มองว่าหากกนง. ตัดสินใจคงดอกเบี้ย จะส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มแข็งค่าหลุด 29 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจุบันที่ 29.23 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ โดยเชื่อว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ค่าเงินบาททรงๆ เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติอยู่ระหว่างรอดูการตัดสินใจนโยบายของกนง. หากตรึงดอกเบี้ยเชื่อว่าเงินทุนจะไหลเข้ามาอีกระลอก

 

 

 

"ที่ ผ่านมาแม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเข้ามาดูแลแล้วก็ยังไม่เพียงพอ จะเห็นได้จากค่าบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆ หากแข็งค่าทะลุเกิน 29 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ จะมีปัญหาต่อการส่งออกสินค้าในช่วงไตรมาส 2 เป็นต้นไป เพราะไม่สามารถกำหนดราคาขายได้ " นายวัลลภกล่าว

 

 

 

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองเลขาธิการ หอการค้าไทย กล่าวว่า การส่งออกในเดือนก.พ.ที่ผ่านมาลดลง แสดงให้เห็นว่าได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นแล้ว ซึ่งกนง. คงต้องวัดว่าจะให้ความสำคัญกับคนกลุ่มใดระหว่างผู้ส่งออกที่ต้องการให้ปรับ ลดดอกเบี้ยลง 0.25% เพื่อลดภาวะกดดัน แต่หากไม่มีการปรับลดจะมีเงินไหลเข้ามาในประเทศเพื่อทำกำไรจากดอกเบี้ยของ ไทยที่สูง ซึ่งเป็นการทำกำไรชั่วข้ามคืนแล้วก็ไหลออก

 

 

 

นาย ไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ทิสโก้ ประธานกรรมการสภาตลาดทุนไทย กล่าวว่า คาดว่ากนง. จะคงดอกเบี้ยนโยบาย 2.75% เนื่องจากดอกเบี้ยไทยขณะนี้อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ ขณะเดียวกันการเติบโตของตลาดสินเชื่อที่ดี ตลอดจนสถาบันการเงินเริ่มมีการแข่งขันแย่งชิงเงินฝาก ฉะนั้นถ้าสภาพแวดล้อมเป็นแบบนี้ ดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันถือว่าเหมาะสม

 

ที่มา : ข่าวสด(วันที่ 3 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน : บมจ.ไทยออยล์(03/04/2556)

เบรนท์ปรับตัวลดลงสวนทางกับ WTI จากตัวเลขเศรษฐกิจยุโรปที่ยังเปราะบาง"

 

เบรนท์ส่งมอบเดือน พ.ค. ปรับลดลง 0.39 ปิดที่ 110.69 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน พ.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 0.12 ปิดที่ 97.19 เหรียญฯ

- ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซนปรับลดลงจาก 47.9 ในเดือน ก.พ. มาอยู่ที่ระดับ 46.8 ในเดือนมี.ค.โดยได้รับแรงกดดันจากวิกฤตหนี้ภาคธนาคารในไซปรัส ล่าสุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายมิคาลิส ซาร์ริส ได้ยื่นใบลาออกหลังประสบความสำเร็จในการขอเงินช่วยเหลือ 10,000 ล้านยูโรจาก Troika นอกจากนี้อัตราว่างงานในยูโรโซนในเดือนก.พ. ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 12% โดยอัตราว่างงานสำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 25 อยู่ที่ระดับ 23.9% ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เศรษฐกิจยุโรปยังคงต้องเผชิญกับภาวะถดถอยตลอดปี 2556

+ ยอดคำสั่งซื้อของโรงงานสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 3% ในเดือน ก.พ. มากกว่าในเดือน ม.ค.ที่ปรับลดลง 1% และมากกว่านักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.9% การเพิ่มขึ้นดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนที่ปรับเพิ่ม ขึ้น 5.6% โดยเฉพาะจากอุตสหกรรมการบิน

- บริษัทเอ็กซอนโมบิลกำลังดำเนินการแก้ไขเหตุรั่วไหลของท่อส่งน้ำมันดิบเพกา ซุสซึ่งมีกำลังส่งมากกว่า 90,000 บาร์เรลต่อวันและส่งน้ำมันดิบจากรัฐอิลลินอยส์มายังโรงกลั่นในแถบรัฐเทกซัส เหตุการณ์ดังกว่าวยังคงเป็นปัจจัยที่คอยกดดันราคาน้ำมัน WTI ไม่ให้ปรับเพิ่มขึ้นมากนัก จากความกังวลว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังทางตอนกลางฝั่งตะวันตกในสหรัฐฯจะปรับ เพิ่มขึ้น ล่าสุดยังไม่มีการระบุวันที่แน่นอนในการเสร็จสิ้นการซ่อมบำรุง

- เงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินเยน จากอานิสงค์ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับดีขึ้น ประกอบกับการคาดการณ์ของนักลงทุนที่ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นซึ่งจะมีการประชุม ภายในสัปดาห์นี้จะมีมาตราการเพิ่มเติมในการเข้าซื้อพันธบัตรเพื่อให้บรรลุ เป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง

-สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปิด ณ วันที่ 29 มี.ค. 56 ปรับเพิ่มขึ้น 4.7 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.2 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำมันดิบที่คุชชิ่งปรับลดลง 287,000 บาร์เรล ส่วนน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลคงคลังปรับลดลง 5 ล้านบาร์เรลและ 1.85 ล้านบาร์เรล ตามลำดับ

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในภูมิภาคที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะจากเวียดนามและปากีสถาน

ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดู ไบ เนื่องจากอุปสงค์จากเวียดนามที่ดีขึ้น รวมทั้งโอกาสในการส่งออกไปยุโรปเริ่มมีความเป็นไปได้มากขึ้น

ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง

กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้เบรนท์ 105-112 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัส 92-99 เหรียญ ติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรปและการเจรจาระหว่างอิหร่านกับ 6 ประเทศมหาอำนาจ ส่วนวันนี้ติดตามตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนและดัชนีภาคบริการสหรัฐฯ ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน ดัชนีภาคบริการจีนโดยทางการจีนและ HSBC

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่

วันพุธ: การจ้างงานภาคเอกชนและดัชนีภาคบริการสหรัฐฯ ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน ดัชนีภาคบริการจีนโดยทางการจีนและ HSBC

วันพฤหัส: การประชุมธนาคารกลางยุโรป ดัชนีภาคบริการยูโรโซน ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ

วันศุกร์: ยอดขายปลีกยูโรโซน ยอดคำสั่งซื้อของโรงงานเยอรมนี ดุลการค้า อัตราการว่างงานและตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร

- ติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรปในวันที่ 4 เม.ย. ว่าจะมีนโยบายทางการเงินอย่างไร โดยเฉพาะนโยบายดอกเบี้ย หลังภาวะเศรษฐกิจยูโรโซนยังอยู่ในภาวะเปราะบาง

- ติดตามผลกระทบต่อประเทศสมาชิกยูโรโซน หลังจากธนาคารกลางยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศอนุมัติเงินช่วยเหลือไซปรัสจำนวน 10,000 ล้านยูโร แลกกับการประกาศล้มละลายธนาคารใหญ่อันดับสองของประเทศ

- จับตาความคืบหน้าในการจัดตั้งรัฐบาลของอิตาลี หลังจากไม่มีฝ่ายใดได้เสียงข้างมากทั้งสภาผู้แทนฯและวุฒิสภาหากไม่สำเร็จ อาจทำให้อิตาลีต้องมีการแต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราว จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง

- ติดตามการเจรจาระดับหัวหน้าผู้แทนระหว่างอิหร่าน และ 6 ชาติมหาอำนาจในวันที่ 5-6 เม.ย.นี้ ว่าจะสามารถตกลงกันได้หรือไม่ โดย 6 ชาติมหาอำนาจยื่นข้อเสนอลดมาตรการคว่ำบาตรกับอิหร่าน เพื่อแลกกับการที่อิหร่านลดการเก็บสะสมและลดสมรรถนะแร่ยูเรเนียมให้อยู่ใน เกณฑ์ที่ไม่สามารถสร้างอาวุธนิวเคลียร์ได้

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 3 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โกลเบล็กมองกรอบราคาทองคำวันนี้ที่ 1,555-1,592 ดอลลาร์/ออนซ์(03/04/2556)

บมจ.โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเมนท์ แนะนำกลยุทธ์การลงทุนในทองคำวันนี้ (3 เมษายน 2556) นักลงทุนระยะสั้น หากราคารีบาวน์ไม่ผ่านแนวต้าน $1,580/Oz ให้ทยอยขายออก โดยมีจุดซื้อกลับทำกำไรที่ $1,555/Oz

 

ส่วนนักลงทุนระยะกลาง-ยาว รอราคาสร้างฐานได้ก่อนเข้าลงทุนอีกครั้ง

ภาพรวมตลาดวานนี้

Gold – ราคาทองคำโลกปิดปรับตัวลง $23.00/Oz หรือ 1.44% มาอยู่ที่ $1,575.70/Oz (จุดต่ำสุด-สูงสุดในรอบวันอยู่ที่ $1,573.70-1,603.90) ราคาทองคำปรับตัวลงจากการขายของกองทุน SPDR จำนวน 8.13 ตันและปรับตัวลงตามเงินยูโรหลังยุโรปเผยอัตราว่างงานยูโรโซนในเดือนก.พ. ทรงตัวอยู่ที่ 12.0% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยถูกกดดันจากการเผยยอดสั่งซื้อภาคโรงงานสหรัฐปรับตัวขึ้น 3.0% ในเดือนก.พ. หลังจากที่ลดลง 1% ในเดือนม.ค. นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 5 เดือน ทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเป็นผลลบต่อราคาทองคำ

แนวโน้มตลาดวันนี้

Gold – ราคาปรับตัวลงเป็นแท่งเทียนแดงหลุดแนวรับที่ $1,585/Oz ส่งผลให้มีโอกาสปรับตัวลงต่อได้หากในวันนี้ราคารีบาวน์ไม่ถึงแนวต้านที่ $1,585/Oz ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของการปรับตัวลงคืนวานนี้ มองกรอบราคาทองคำที่ $1,555-1,592/Oz

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญประจำวันนี้

•ยอดจ้างงานทั่วประเทศสหรัฐ เวลา 19.15 น.

•ดัชนีภาคบริการสหรัฐ เวลา 21.00 น.

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 3 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำ by Hua Seng Heng Gold Futures (03/04/2556)

ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส

 

- ทองร่วงหลังภาคการผลิตยุโรปดีกว่าคาด

 

- SPDR ถือทองลดลง 8.13ตัน

 

- ค่ำนี้ติดตามรายงานการจ้างงานสหรัฐ

 

- ราคาทองคำและโลหะเงินปรับตัวลงแรงในการซื้อขายช่วงค่ำ หลังจากนักลงทุนกลับเข้าเก็งกำไรในสินทรัพย์เสี่ยงตอบรับรายงานตัวเลขเศรษฐกิจของยุโรปที่ออกมาดีกว่าคาด ประกอบกับแรงขายทางเทคนิคซึ่งมีกลับออกมาในช่วงที่ราคาโลหะทั้ง 2 ไม่สามารถยืนเหนือแนวรับ จนทำให้ราคาปรับตัวลงค่อนข้างแรง

 

- การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทยในวันนี้ คาดว่าจะมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.75% แต่ด้วยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาก และอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันที่ต่ำกว่าระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจทำให้คณะกรรมการ นโยบายการเงินตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยลง ซึ่งจะเป็นการสร้างความประหลาดใจต่อนักลงทุน และส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงสั้นๆ

 

- คืนนี้จะมีการรายงานตัวเลขการจ้างงานทั่วประเทศของสหรัฐเดือนมีนาคม โดยผลสำรวจระบุว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่ง จากเดือนก.พ. หากรายงานออกมาดีกว่าที่คาด ก็จะเป็นปัจจัยลบกดดันการเคลื่อนไหวของราคาทอง อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังรอติดตามรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรในคืนวันศุกร์ ซึ่งเป็นรายงานตัวเลขที่ธนาคารกลางสหรัฐให้ความสำคัญ

 

- ราคาทองไม่สามารถยืนเหนือแนวรับบริเวณ 1,590 ดอลลาร์ และมีแนวโน้มว่าราคาจะปรับตัวลงต่อ โดยมีแนวรับระยะสั้นอยู่ที่บริเวณ 1,565-1,570 และ 1,555-1,560 ดอลลาร์ ซึ่งที่แนวรับหลัง เป็นระดับแนวรับที่คาดว่าจะเป็นจุดดีดตัวกลับสำหรับการเก็งกำไรรอบใหม่ แต่กรณีที่ไม่สามารถยืนเหนือแนวรับนี้ได้ การเคลื่อนไหวโดยรวมก็จะอ่อนตัวลงตามการเคลื่อนไหวในทิศทางขาลงต่อไป

 

ราคาโลหะเงินปรับตัวลงสู่แนวรับบริเวณ 27.30 ดอลลาร์ และมีแนวโน้มว่าราคาจะอ่อนตัวลงสู่แนวรับบริเวณ 27.0 ดอลลาร์ต่อไป และหากมีการดีดตัวเกิดขึ้น คาดว่าที่แนวต้านบริเวณ 27.80-28.0 ดอลลาร์ จะมีแรงขายกลับออกมามาก จนทำให้ราคาปรับตัวลงต่อไป

 

โกลด์ฟิวเจอร์สเดือนเม.ย.56

 

Close chg. Support Resistance

 

22,340 +10.00 22,000/21,900 22,400/22,600

 

ราคาทองอ่อนตัวลงมาเคลื่อนไหวต่ำกว่าแนวรับบริเวณ 1,590 ดอลลาร์ รวมทั้งจุดปิดสถานะซื้อตัดขาดทุนบริเวณ 1,580 ดอลลาร์ ภาพการเคลื่อนไหวในระยะสั้นจึงกลับมีทิศทางอ่อนตัว หากราคาดีดตัวขึ้นในระหว่างวัน แนวรับที่เปลี่ยนกลับมาเป็นแนวต้านบริเวณ 1,585-1,590 ดอลลาร์ เป็นระดับที่สามารถเลือกเปิดสถานะขายเก็งกำไร โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนอยู่ที่บริเวณ 1,595-1,600 ดอลลาร์

 

ซิลเวอร์ฟิวเจอร์สเดือนเม.ย.56

 

Close chg. Support Resistance

 

845 - 820/810/800 860/865-867/880

 

ราคาโลหะเงินปรับตัวลงแรงหลังจากไม่สามารถยืนเหนือแนวรับซึ่งเป็นจุดปิดสถานะซื้อตัดขาดทุนและเปิดสถานะขายบริเวณ 27.90-28.0 ดอลลาร์ โดยราคากลับลงมาเคลื่อนไหวที่แนวรับบริเวณ 27.30 ดอลลาร์ และมีแนวโน้มว่าจะปรับตัวลงต่อ หากถือครองสถานะขายในช่วงที่ราคาอ่อนตัวลงต่ำกว่าแนวรับ สามารถปิดสถานะเพื่อลดความเสี่ยง และในช่วงที่ราคาดีดตัวขึ้นเข้าใกล้แนวต้านบริเวณ 27.70-27.80 ดอลลาร์ ก็ยังสามารถเลือกเปิดสถานะขายเก็งกำไร โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนอยู่ที่บริเวณ 28.0 ดอลลาร์

 

ที่มา : ThaiPR.net (วันที่ 3 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สารพัดมาตรการกระตุ้นไร้ผลโลกทำใจรับยุคเงินฝืด(03/04/2556)

เนื่องจากการโหมใช้นโยบายทางการเงินของนานาประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น เพื่ออัดเงินเข้าระบบกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างดุเดือด นักวิเคราะห์จึงไม่ลังเลที่จะคาดการณ์แกมเตือนว่าเศรษฐกิจโลกกำลังจะเผชิญ หน้ากับภาวะเงินเฟ้อจากสภาพคล่องล้นระบบ

 

อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ส่วนหนึ่งกลับเชื่อว่า แท้จริงแล้วสภาพเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันกำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุคเงินฝืดที่ เศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะลอตัวซบเซาเรื้อรัง และนโยบายการเงินที่งัดขึ้นมาใช้เป็นเพียงสิ่งที่ช่วยผัดผ่อนให้โลกเข้าสู่ ยุคดังกล่าวช้าลงเท่านั้น

 

เพราะ 1) การค้าปัจจุบันมีแนวโน้มสนับสนุนมาตรการกีดกันทางการค้าเพื่อปกป้องผลประโยชน์ พร้อมแข่งลดค่าเงิน 2) เศรษฐกิจขณะนี้ทำให้เงินหายากจนคนไม่เชื่อมั่นที่จะจับจ่ายและเลือกออมมากขึ้น และ 3) ภาคธนาคารปล่อยสินเชื่อไม่เต็มที่ เพราะต้องลดสัดส่วนสินทรัพย์ต่อทุน เพื่อทยอยล้างหนี้ ซึ่งจะทำให้นโยบายกระตุ้นภาครัฐดำเนินการได้ไม่เต็มที่

 

ทั้งนี้ เมื่อเทียบระหว่างเงินเฟ้อกับเงินฝืด สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญไม่อยากเห็นมากที่สุดก็คือภาวะเงินฝืด เพราะเศรษฐกิจจะตกต่ำนานจนถดถอย เหตุจากคนไม่ใช้จ่าย จนธุรกิจขาดทุนหมุนเวียน ต้องหาทางลดต้นทุนที่รวมถึงการปลดคนงาน ซึ่งจะยิ่งทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าลดลงไปอีก

 

แต่ถึงจะใช้ยาแรงกระตุ้นเพื่อเลี่ยงเงินฝืดเพียงใด เอ.แกรี ชิลลิง นักวิเคราะห์์ประจำบลูมเบิร์กกลับเห็นว่า รัฐบาลหลายประเทศอาจผิดหวัง เพราะมีปัจจัยขวางการเติบโตในระยะยาว อย่างการกีดกันการค้าและการแข่งกันลดค่าเงิน

 

ระบบกีดกันทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจโลกช้าลง ทว่าที่น่ากลัวยิ่งกว่าก็คือ แม้จะตระหนักดีว่าเป็นภัยต่อระบบการค้าเสรี แต่มาตรการกีดกันกลับเริ่มได้รับความเห็นชอบเต็มที่ โดยผลสำรวจนักธุรกิจระดับผู้บริหาร 3,000 คน ใน 25 ประเทศ โดยบริษัท เจนเนอรัล อิเลคทริค (จีอี) เมื่อเร็วๆ นี้พบว่า 71% ของผู้บริหารต่างต้องการให้รัฐบาลออกกฎปกป้องธุรกิจของประเทศ

 

นอกจากนี้ การที่สภาพเศรษฐกิจโลกเผชิญกับปัญหาซบเซานาน ทำให้ความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นไปในลักษณะของการช่วงชิงผลประโยชน์เข้า ตัว ซึ่งนักวิเคราะห์เห็นว่ายิ่งเอื้อให้มีการใช้มาตรการกีดกันได้ง่ายขึ้น โดยหนึ่งในนั้นรวมถึงการแข่งขันลดค่าเงินที่หลายประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มจะ เดินหน้าใช้มากขึ้น เพื่อสร้างความได้เปรียบในการส่งออก และสกัดสินค้านำเข้า

 

แน่นอนว่า การค้าระหว่างประเทศที่ติดขัดนี้ จะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งที่สุดแล้วผู้ที่ได้รับผลกระทบหนักมากที่สุด ย่อมหนีไม่พ้นประชาชนของประเทศนั้นๆ เอง

 

ทั้งนี้ การที่ธุรกิจไม่สามารถเติบโตได้จะส่งผลต่อภาวการณ์ลงทุน มีการผลิตลดลงจนไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานอีกต่อไป ทำให้คนจะตกงานเพราะนายจ้างเลือกตัดลดต้นทุนการผลิต หรือเพิ่มส่วนต่างกำไรด้วยการปลดแรงงาน ทำให้แรงงานขาดรายได้ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคลดลง อำนาจในการใช้จ่ายของผู้บริโภคเหลือน้อยลง และสภาวะที่ไม่แน่นอนดังกล่าว ทำให้คนเลือกเก็บเงินมากขึ้น

 

ยืนยันได้จากตัวเลขว่างงานหลายประเทศที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยสหรัฐอยู่ที่ 7.7% ภูมิภาคยุโรปโดยรวมที่ 12% ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4.3% ขณะที่จีนไม่เพิ่มไม่ลด อยู่ที่ 4.2% ขณะที่อัตราการออมของชาวสหรัฐปรับเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นทุนสำรองแทนบ้านและหุ้นในตลาด โดยมีการคาดการณ์กันว่า จากเดิมที่อัตราการออมรายปีของสหรัฐจะเพิ่มเฉลี่ย 0.5% ต่อปี น่าจะเปลี่ยนมาเป็น 1% ต่อปี หรือมีการออมมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การใช้จ่ายผู้บริโภคหายไปราว 1.5%

 

ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีที่ใช้ระบุราคาสินค้าและบริการว่าเพิ่มหรือลดลงเพื่อวัดเงินเฟ้อและ เงินฝืด แม้จะไม่ได้ติดลบแต่ก็อยู่ในสภาพที่อัตราเงินเฟ้อลดลง (Disinflation) ซึ่งเป็นผลจากการที่คนเริ่มหันมาออมเงินมากขึ้น

 

สำหรับสาเหตุสุดท้ายก็คือปัญหาหนี้เสียภาคธนาคาร ที่ทำให้ธนาคารต้องลดหนี้ ด้วยการลดสัดส่วนสินทรัพย์ต่อทุนและวางเงื่อนไขปล่อยกู้้ยากขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจไม่สามารถหาเงินมาหมุนได้ทัน จนกิจการบางแห่งต้องปิดตัว โดยปี 2555 อัตราเติบโตสหรัฐเฉลี่ยอยู่ที่ 0.1% ขณะที่ยุโรปยังซบ โดยหัวเรือใหญ่เช่นเยอรมนี จีดีพีหดเหลือ 0.1% ในไตรมาส 4 ของปี 2555 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านเศรษฐกิจอังกฤษอยู่ในภาวะที่นักวิเคราะห์เห็นว่าถดถอยแล้ว และการเติบโตจีนมีแนวโน้มชะลอตัวชัดเจน

 

ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์สรุปว่า สิ่งที่ทั่วโลกต้องเผชิญจากนี้ แม้จะมีมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐมากมาย คือภาวะเงินฝืดและเศรษฐกิจตกต่ำ เพราะการที่เศรษฐกิจการค้าโลกมีปัจจัยขวางการเติบโต ทั้งมาตรการกีดกันและการแข่งขันลดค่าเงิน จะทำให้สินค้าขายไม่ออกจนภาคธุรกิจขาดรายได้ จนต้องลดคนงาน คนตกงานเลยต้องประหยัด หันมาเก็บออมเพราะเงินกลายเป็นของหายาก

 

ที่มา : โพสต์ทูเดย์(วันที่ 3 เมษายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้กลับมาอยู่ในแดนบวกตามตลาดต่างประเทศหลังซึมตัว 2 วัน (03/04/2556)

นายเกียรติก้อง เดโช นักกลยุทธ์ บล.ซีไอเอ็มบี(ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะสามารถปรับตัวกลับขึ้นมาเป็นบวกได้ หลังจากที่ซึมติดต่อกันมา 2 วันแล้ว เนื่องจากตลาดต่างประเทศวันนี้ปรับตัวขึ้นไปอยู่ในแดนบวกทั้งตลาดหุ้นสหรัฐและตลาดหุ้นยุโรป

 

ส่วนประเด็นที่นักลงทุนยังติดตามอยู่ในวันนี้คือการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ที่ล่าสุดมองแนวโน้มการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ประกอบกับ การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ) ซึ่งนักลงทุนคาดว่าจะมีการเพิ่มวงเงินเพื่อซื้อพันธบัตรมากขึ้น ทำให้ตลาดภูมิภาควันนี้ปรับตัวขึ้นมาอยู่ในแดนบวกเช่นกัน

 

พร้อมให้กรอบแกว่งตัวไว้ที่ แนวรับ 1,540-1,545 จุด และแนวต้าน 1,560-1,

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 3 เมษายน 2556)

 

ตลาดหุ้นเอเชียดีดตัวขึ้นเช้านี้ ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐดีเกินคาด (03/04/2556)

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 วัน หลังจากที่นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยุโรป ขณะที่สหรัฐเปิดเผยยอดสั่งซื้อภาคโรงงานที่ดีเกินคาด

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific เพิ่มขึ้น 0.3% ที่ระดับ 134.14 จุด เมื่อเวลา 9.49 น.ตามเวลาโตเกียว

 

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 12,112.09 จุด เพิ่มขึ้น 108.66 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,232.69 จุด เพิ่มขึ้น 4.95 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 22,527.12 จุด เพิ่มขึ้น 159.30 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 7,949.12 จุด เพิ่มขึ้น 35.94 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,990.71 จุด เพิ่มขึ้น 4.56 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,323.81 จุด เพิ่มขึ้น 6.22 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,688.33 จุด เพิ่มขึ้น 3.33 จุด และดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 4,989.80 จุด เพิ่มขึ้น 4.30 จุด

 

หุ้นแคนนอน อิงค์ ขยับขึ้น 0.9% หุ้นฟาสต์ รีเทลลิ่ง ทะยาน 8.8% และหุ้นอลาเซอร์ โกลด์ คอร์ป ร่วงลง 6.3%

 

ตลาดหุ้นเอเชียได้รับแรงหนุนหลังจากที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานปรับตัวขึ้น 3.0% ในเดือนก.พ. หลังจากที่ลดลง 1% ในเดือนม.ค. นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 5 เดือน ซึ่งเป็นผลมาจากยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนที่ทะยานขึ้น นำโดยเครื่องบินพาณิชย์และยานยนต์ ซึ่งช่วยชดเชยยอดสั่งซื้อสินค้าทุนหลักที่ร่วงลง

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 3 เมษายน 2556)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

HSBC เผยดัชนี PMI ภาคบริการจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนมี.ค. (03/04/56)

iframe src="http://www.rubberthai.com/counter/news.php" frameborder="0" height="30" scrolling="no" width="30">

 

เอชเอสบีซี โฮลดิงส์เผย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนในเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 54.3 จาก 52.1 ในเดือนก.พ. ซึ่งบ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคบริการ เนื่องจากดัชนีปรับตัวเหนือระดับ 50

 

นายฉู หงปิน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเอชเอสบีซีกล่าวในแถลงการณ์ว่า ข้อมูล PMI ภาคบริการล่าสุดบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจในภาพรวม

 

ในวันเดียวกันนี้ สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) เผยดัชนี PMI ภาคบริการเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้นแตะ 55.6 จาก 54.5 ในเดือนก.พ.

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (03/04/56)

 

*บาท/ดอลลาร์เช้านี้อ่อนค่าตามภูมิภาค หลังมีแรงซื้อคืน-ราคาทองร่วง (03/04/2556)

บาท/ดอลลาร์เช้านี้อ่อนค่าตามสกุลเงินในภูมิภาค จากแรงซื้อคืนดอลลาร์

และการเข้าซื้อดอลลาร์ของผู้ลงทุนในทองคำ ขณะที่นักลงทุนยังรอติดตาม

ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ในวันนี้

*เยนอ่อนค่าจากระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือน เมื่อเทียบดอลลาร์ ในการ

ซื้อขายที่ตลาดเอเชียเช้านี้ ส่วนยูโรอ่อนค่าลงท่ามกลางตลาดที่ขาดความ

เชื่อมั่น ขณะที่นักลงทุนรอดูมติการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ)

และธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี)

*นักลงทุนวิตกว่า บีโอเจอาจจะไม่ทำตามที่คาดหวังไว้ ขณะที่ตลาดปรับตัว

รับมาตรการกระตุ้นแบบเชิงรุกไปแล้ว ขณะเดียวกันนักลงทุนกังวลกันว่า

อีซีบีอาจสร้างความประหลาดใจด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย ขณะที่แนวโน้ม

เศรษฐกิจในยุโรปยังมืดมน

*แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในต่างประเทศ คาดว่า อีซีบีจะชะลอการลด

อัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ โดยเลือกที่จะคลายความวิตกของตลาด ด้วยการ

ประกาศว่า จะอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบธนาคารต่อไป หลังผ่านพ้น

การจัดการกับภาวะล่มสลายทางการเงินของไซปรัสแล้ว

*ขณะเดียวกัน คาดว่าธนาคารกลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุม

นโยบายในวันพรุ่งนี้ แต่ก็คาดว่าจะมีการดำเนินการมากขึ้นในรูปแบบของ

โครงการซื้อพันธบัตรของรัฐบาลออกมาในไม่ช้า

*ผลสำรวจของเอชเอสบีซี บ่งชี้ว่าภาคบริการของจีนขยายตัวอีกครั้งในเดือน

มี.ค. โดยพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน หลังจากภาวะเศรษฐกิจ

ที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้ภาวะธุรกิจสดใสขึ้น และหนุนความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น

 

*อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคาร

ของ ธปท.วันนี้ อยู่ที่ 29.344 บาท

*09.22 น.บาท/ดอลลาร์ อยู่ที่ 29.43/47 จาก 29.35/38 เมื่อวาน

ขณะที่ใน offshore อยู่ที่ 29.43/47 จาก 29.35/37 เมื่อวาน

*เยน/ดอลลาร์ อยู่ที่ 93.61/65 จาก 93.39 ในตลาดนิวยอร์คเมื่อวาน

*ยูโร/ดอลลาร์ อยู่ที่ 1.2802/04 จาก 1.2815 ในตลาดนิวยอร์คเมื่อวาน

 

 

 

 

 

"ดอลลาร์/บาท วันนี้ขึ้นมา(แข็งค่า) ตามดอลลาร์/เอเชีย นักลงทุนที่ได้ short ดอลลาร์ไว้ก่อนหน้านี้ ก็มี cover กลับมา แล้วทองที่ปรับลงมาเยอะ ก็น่า จะทำให้มีแรงซื้อดอลลาร์เข้ามาด้วย"ดีลเลอร์ กล่าว

 

เงินบาทเช้านี้อ่อนค่าลงในทิศทางเดียวกับสกุลเงินภูมิภาค โดยมีแรงซื้อคืนจากนักลงทุนที่ขายดอลลาร์ออกมามากในช่วงก่อนหน้านี้ ขณะที่การปรับตัวลงค่อนข้างแรงของราคาทองคำ ทำให้มีแรงซื้อดอลลาร์จากผู้ค้าและ ผู้ลงทุนในทองคำ

 

ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตามในวันนี้ คือการประชุมคณะกรรม กนง.ว่า จะมี มติอย่างไรเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ซี่งตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะคงไว้ที่ 2.75%

 

 

ดีลเลอร์คาดว่า เงินบาทวันนี้จะมีแนวรับที่ 29.50 ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 29.38

 

ที่มา : ทันหุ้น(วันที่ 3 เมษายน 2556)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...