ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

บาทผันผวน รอผลประชุม ธปท.นอกรอบ"(01/05/2556)

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทประจำวันอังคารที่ 30 เมษายน 2556 ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 29.24/26 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดวานนี้ (29/4) ที่ 29.30/32 บาท/ดอลลาร์ หลังการคลี่คลายทางการเมืองในอิตาลีได้หนุนให้มีแรงซื้อสินทรัพย์เสี่ยงมาก ขึ้นรวมถึงค่าเงินบาทด้วย รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงในช่วงหลังและอัตราเงินเฟ้อที่ ชะลอตัวลงของทางสหรัฐที่อาจกดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมก็เป็นอีกปัจจัยที่กดดันค่าเงิน ดอลลาร์ให้ปรับตัวอ่อนค่าลงเทียบกับตะกร้าสกุลเงิน แต่วานนี้สหรัฐก็ได้เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ค่อนข้างดีออกมา โดยดัชนียอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เพิ่มขึ้น 1.5% สู่ 105.7 ในเดือน มี.ค. ดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือน มี.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือน ก.พ. อย่างไรก็ดี ตลาดจะจับตาการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เป็นเวลาสองวันซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันนี้ โดยตลาดกำลังจับตาดูว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างเฉื่อยชาและการชะลอตัวของ อัตราเงินเฟ้อจะส่งผลให้เจ้าหน้าที่เฟดยุติการหารือเรื่องการชะลอมาตรการ เข้าซื้อตราสารหนี้หรือไม่ นอกจากนี้ปัจจัยดังกล่าวอาจกระตุ้นให้เฟดเข้าซื้อตราสารหนี้มากยิ่งขึ้นด้วย อย่างไรก็ดี ระหว่างวันค่าเงินบาทมีการปรับตัวค่อนข้างผันผวนและได้อ่อนค่าลงอย่างต่อ เนื่องอันเป็นผลมาจากความตระหนกต่อการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการจัด ประชุมพิเศษเพื่อหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าเงินบาท ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าจะมีมาตรการควบคุมค่าเงินบาทออกมาหรือไม่ ทั้งนี้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวระหว่างวันอยู่ในกรอบ 29.24-29.40 บาท/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 29.33/35 บาท/ดอลลาร์

 

 

 

ความเคลื่อนไหวค่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ค่าเงินยูโรเปิดตลาดที่ระดับ 1.3090/92 ดอลลาร์/ยูโร ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์และเทียบกับระดับปิด ตลาดวานนี้ที่ระดับ 1.3081/82 ดอลลาร์/ยูโร โดยได้รับแรงหนุนจากสภาวะการเมืองในประเทศอิตาลีที่ผ่อนคลายลงหลังจากอิตาลี สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จและยุติความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ดำเนินมา สองเดือน ทั้งนี้ รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเอ็นริโก เลตตา ได้รับคะแนนเสียงท่วมท้นด้วยคะแนนเสียง 453 ต่อ 153 เสียงในสภาผู้แทนราษฎรตามความคาดหมาย หลังจากเขาให้สัญญาว่าจะผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงในสหภาพยุโรป (อียู) โดยต้องการให้อียูหันเหความสนใจออกจากมาตรการรัดเข็มขัดและมุ่งความสำคัญไป ยังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงาน สถานการณ์การเมืองที่ดีขึ้นได้หนุนทั้งตลาดหุ้นอิตาลีและกดต้นทุนการกู้ยืม ของอิตาลีในตลาดพันธบัตรให้ลดลงด้วย ทั้งนี้ อิตาลีสามารถประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี และ 10 ปี ได้จำนวน 6 พันล้านยูโร สำหรับพันธบัตรประเภทอายุ 10 ปีนั้น ประมูลได้ทั้งหมดในวงเงิน 3 พันล้านยูโร ด้วยอัตราผลตอบแทน 3.94% ซึ่งต่ำกว่าระดับ 4.66% จากเดือนก่อน โดยที่อัตราการกู้ยืมของอิตาลีอายุ 10 ปี ได้ลงไปถึง 3.91% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2010 อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่นักลงทุนยังคงจับตาอย่างใกล้ชิดต่อการประชุมธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) วันที่ 2 พ.ค. ที่กรุงบราติสลาวา ประเทศสโลวาเกีย โดยมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้มากกว่าในช่วงใด ๆ นับตั้งแต่อีซีบีปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายในเดือน ก.ค. 2012 โดยอีซีบีมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 0.50% ซึ่งปัจจัยนี้อาจทำให้ค่าเงินยูโรปรับร่วงลงอย่างมากเทียบกับสกุลหลักอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ ระหว่างวันค่าเงินยูโรมีกรอบการเคลื่อนไหวระหว่าง 1.3057-1.3120 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนจะปิดตลาดที่ระดับ 1.3072/73 ดอลลาร์/ยูโร

 

 

 

ค่าเงินเยนเปิดตลาดที่ระดับ 97.86/87 เยน/ดอลลาร์ ไม่เปลี่ยนแปลงมากจากระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 97.78/79 เยน/ดอลลาร์ ทั้งนี้ข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาล่าสุดในวันนี้เป็นที่น่าพอใจและบ่งชี้ได้ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ฟื้นตัวขึ้นบ้างแล้ว โดยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนพุ่งขึ้น 5.2% ในเดือน มี.ค.จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการพุ่งสูงสุดในรอบ 9 ปี และสูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 1.8% รวมทั้งอัตราว่างงานของชาวญี่ปุ่นลดลงสู่ 4.1% ในเดือน มี.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 4 ปี ขณะที่ระดับคาดการณ์อยู่ที่ 4.3% อันเป็นสัญญาณที่แสดงว่าอุปสงค์ในประเทศมีบทบาทสำคัญในการหนุนการขยายตัวทาง เศรษฐกิจในอีกหลายเดือนข้างหน้า ทั้งนี้ค่าเงินเยนมีกรอบการเคลื่อนไหวระหว่างวันที่ 97.51-98.12 เยน/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 97.51/56 เยน/ดอลลาร์

 

 

 

อัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ +5.2/5.4 สตางค์/ดอลลาร์ และอัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ +6.0/7.0 สตางค์/ดอลลาร์

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ(วันที่ 1 พค.56)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปูกำชับจับตาค่าเงินบาทโต้งสารภาพส่งออกสะดุด (01/05/2556)

กรุงเทพฯ * "ยิ่งลักษณ์" สั่งรัฐมนตรีเกี่ยว ข้องจับตาค่าบาทต่ออีก 4-5 วัน "โต้ง" ยอม รับส่งผลส่งออกโตสะดุดไม่เป็นตามเป้า สภาผู้ส่งออกฯ คาดปีนี้โตไม่ถึง 5% แน่ ธปท.ชี้เรื่องอ่อนไหว ยิ่งคิดว่าแข็งเงินยิ่งไหลเข้า "ส.อ.ท." เชื่อเร็วๆ นี้แบงก์ชาติออกมาตร การสกัดทุนนอก

 

เมื่อวันอังคาร นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์หลังการ ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า นายกิตติ รัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐ มนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้รายงานให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ ครม.รับทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ค่าเงินบาท พร้อมทั้งกรณี ได้ส่งจดหมายถึงผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และประธานคณะกรรมการ ธปท.เพื่อสอบถามความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ค่าเงินบาทในปัจจุบัน ว่าน่าเป็นห่วงหรือไม่อย่างไร ซึ่งผู้ว่าฯ ธปท. ได้ตอบกลับมาว่า ในฐานะผู้ว่าฯ ธปท.ไม่มีอำนาจก้าวก่ายการตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แต่ ธปท.ป็นห่วงว่าหากลดดอกเบี้ยนโยบายแล้วอาจมีผลต่ออัตราสินเชื่อในตลาด และจะส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์เร่งตัว

 

"นายกิตติรัตน์ยังได้รายงานผลการหารือระหว่างผู้ส่งออกกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงค่าเงินบาทมีผลกระทบต่อการส่งออก โดยเฉพาะคำสั่งซื้อลดลง ซึ่งอาจทำให้การส่งออกของไทยปีนี้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่า 8-9% เพราะในไตรมาสแรกเติบโตได้เพียงกว่า 4% เท่านั้น" นายอารีพงศ์กล่าว

 

รายงานจาก ครม.แจ้งว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้กำชับให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องติดตามเรื่องค่าเงินต่อไปอีก 4-5 วันและขอให้ดูข้อมูลให้ครบทุกด้านด้วย

 

นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธปท. กล่าวถึงค่าเงินบาทว่า สิ้นไตรมาสที่ 1 ของปี 2556 ปิดตลาดที่ 29.29 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น 4.31% จากสิ้นไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริงอยู่ที่ 110.18 แข็งค่าขึ้น 6.84% จากสิ้นปี 2555 จากเงินทุนที่ไหลเข้ามาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตร ธปท.

 

"ค่าเงินบาทเป็นเรื่องค่อนข้างต้องระมัดระวัง เพราะช่วงที่คนคิดว่าค่าเงินบาทแข็งจะมีผลกระทบต่อจำนวนของการไหลเข้า เรื่องความคิดของนักลงทุนที่มีต่อสภาพตลาดเป็นสิ่งสำคัญทำให้ค่าเงินบาทมีโอกาสแข็งไปเรื่อยๆ" นายเมธีกล่าว

 

นายเมธียังแถลงถึงเศรษฐกิจประจำเดือน มี.ค.ว่า การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนชะลอลงจากเดือน ก.พ. แต่ไม่ได้รุนแรง โดยหากเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเศรษฐกิจยังขยายตัวเป็นบวกอยู่ โดยต้องติดตามต่อไปว่าจะชะลอลงยืดเยื้อยาวนานหรือไม่ โดยการส่งออกขยายตัว 4.9% จากเดือนก่อนตามความต้องการจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัวดีต่อเนื่อง ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจึงถือว่ามีเสถียรภาพ อัตราการว่างงานอยู่ในระดับที่ต่ำ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลง

 

ขณะเดียวกัน นายนพพร เทพสิทธรา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือสภาผู้ส่งออกฯ กล่าวว่า มูลค่าการส่งออกไทยในเดือน มี.ค. ยังคงได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท โดยเพิ่มขึ้นเพียง 1.47% แต่หากคิดเป็นเงินดอลลาร์จะเพิ่มขึ้น 4.55% ทำให้สภาผู้ส่งออกฯ คาดว่าการส่งออกทั้งปี 2556 จะอยู่ที่ 4.92% โดยตลาดที่คาดว่าหดตัวรุนแรงที่สุดคือ ญี่ปุ่น เพราะค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินเยนแข็งค่าขึ้นถึง 24.7% ซึ่งสินค้าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือสินค้าเกษตรและแปรรูป

 

วันเดียวกัน นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้เข้าหารือกับประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้เข้าหารือกับนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าฯ ธปท. เกี่ยวกับการดูแลค่าเงินบาท โดยระบุว่า รู้สึกพอใจในการหารือ เนื่องจาก ธปท.มีความคืบหน้าในการเข้าดูแลค่าเงิน แต่ยังกังวลอยู่ 2 เรื่อง คือค่าเงินบาทที่อาจผันผวนมากเกินไป และการดูแลให้ค่าเงินเคลื่อนไหวสอดคล้องกับภูมิภาค ซึ่ง ธปท.ก็รับปากว่าจะดูแล แต่หากค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าอีกครั้ง ส.อ.ท. จะเข้าพบ ธปท.ทันที โดยไม่รอให้ถึงวันที่ 29 พ.ค.ที่เป็นวันประชุมในครั้งถัดไป

 

แหล่งข่าว ส.อ.ท.กล่าวว่า คาดว่าเร็วๆ นี้ ธปท.น่าจะมีมาตรการออกมาสกัดการลงทุนจากต่างชาติและหาแนวทางในการกำกับการลงทุนกองทุนเก็งกำไรมากขึ้น

 

ด้านความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น กรรมาธิการในซีกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นำโดยนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรค ระบุว่า ขอเรียกร้องให้ประชาชนติดตามเรื่องนี้ใกล้ชิด และให้ลุกขึ้นมากดดันให้รัฐบาลชะลอการกู้เงิน เพราะพบความไม่ชอบมาพากลหลายอย่างในแผนกู้เงิน ไม่ว่าจะเป็นความไม่พร้อมของตัวโครงการ รวมถึงการส่อเค้าทุจริตในหลายประเด็น

 

"สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือรัฐบาลเริ่มตีความกฎหมายใหม่ ซึ่งเดิมบอกเป็นโครงการเวลา 7 ปี แต่บอกว่าต้องกู้ให้เสร็จภายในปี 2563 เท่านั้น ไม่ได้หมายถึงการสร้างโครงการให้เสร็จ โดยอาจเป็นเพียงแค่การทำสัญญาลงนามกู้เงินเท่านั้น" นายกรณ์กล่าว

 

นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อ ปชป. กล่าวว่า มีโครงการมูลค่าถึง 1.99 ล้านล้านบาท ที่ยังไม่มีรายละเอียด ในขณะที่อีก 9 พันล้านบาท ก็ไม่มีโครงการหรือแผนเลย

 

นายวิฑูรย์ นามบุตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ปชป. กล่าวว่า เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ยิ่งกว่าการเซ็นเช็คเปล่า เพราะรัฐบาลทำเหมือนได้เงินฟรีโดยไม่ต้องใช้หนี้ ยิ่งกว่าการเซ็นเช็คเปล่า เพราะรัฐบาลทำเหมือนได้เงินฟรีโดยไม่ต้องใช้หนี้ เนื่องจากทุกโครงการไม่พร้อม ในขณะที่โครงการขนาดเล็กที่พร้อมก็เป็นโครงการเดิมที่ถอดจากงบปกติมาใส่เงินกู้เท่านั้น.

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ (วันที่ 1 พฤษภาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เปิดเบื้องหลังสคริปนายกฯปาฐกถา"ประชาธิปไตย"มองโกเลีย

 

 

จากกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางถึงเนื้อหาในการปาฐกถาพิเศษของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29เม.ย.ที่ผ่านมา ในเวทีการประชุมประชาธิปไตย ที่เมืองอูลัน บาตอ ประเทศมองโกเลีย ซึ่งเวทีดังกล่าวมีชาติสมาชิกระดับรัฐมนตรีมาร่วมฟังมากกว่า 150 ประเทศ และมีการตั้งคำถามว่า สคริปนี้ นายกฯเขียนเองหรือไม่ โดยแหล่งข่าวระดับสูงที่ร่วมเดินทางไปกับคณะนายกฯที่มองโกเลีย เปิดเผยกับสำนักข่าวเนชั่นว่า เมื่อช่วงเดือนกันยายนปี 2555 ในการประชุมงานเดียวกันนี้จัดที่สหรัฐอเมริกา โดยมีการเชิญนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศไปร่วมประชุม และมีการเชิญให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาปาฐกถาในปีหน้าหรือปี 2556 ในฐานะผู้นำประเทศ ที่มองโกเลียเป็นเจ้าภาพ ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ได้แจ้งตอบรับผ่านกระทรวงการต่างประเทศว่าจะเดินทางไปพูด

 

ส่วนเนื้อหาในการปาฐกถานั้น แหล่งข่าวเปิดเผยด้วยว่า ก่อนหน้านี้เนื้อหาไม่ใช่แบบนี้ เพราะก่อนเดินทางจะมีการประชุมเตรียมการก่อนไปเยือน และกระทรวงการต่างประเทศได้รับมอบหมายในการจัดทำร่างปาฐกถาของนายกฯ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้สอบถามนายกฯว่าจะพูดเรื่องอะไร โดยนายกฯบอกว่าจะพูดเรื่องประชาธิปไตยในไทยและเรื่องการศึกษา ซึ่งนายกฯก็พูดแค่นั้น และหลังจากนั้นกระทรวงการต่างประเทศก็ส่งร่างปาฐกถามาที่ตึกไทยคู่ฟ้าจำนวนเนื้อหาประมาณ 6-7 หน้าเอสี่ และหลังจากนั้นคณะทำงานด้านการจัดทำสคริปให้นายกฯ นำโดยนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ก็มีการปรับเนื้อหาให้กระชับขึ้นแล้วส่งให้นายกฯดู จนมาถึงวันที่ 27เม.ย. วันเดินทางเนื้อหาในปาฐกถาก็ยังไม่นิ่ง เห็นว่านายกฯคุยกับคณะทำงานและนายสุรนันทน์บนเครื่องบินระหว่างบินไปมองโกเลีย นายกฯบอกให้แก้ไข อยากให้พูดให้เขียนให้ชัดเจน ตรงๆไปเลย ใส่ชื่อพี่ชายคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรไปเลย รวมทั้งอยากให้พูดถึงคนที่ติดคุกจำนวนมากด้วยซ้ำแต่ก็ถูกตัดออก ระหว่างการเดินทาง 5 ชั่วโมงบนเครื่องบินมีการแก้ไข แล้วก็ปริ๊นด้วยเครื่องปริ๊นไร้สาย (Portable) ปริ๊นแล้วก็แก้ ปริ๊นแล้วก็แก้ ในที่สุดจนได้เนื้อหาตามที่นายกฯต้องการ คือไม่ใช่ภาษาทางการทูตและภาษาที่สวยงามของกระทรวงการต่างประเทศ" แหล่งข่าวกล่าว

 

ส่วนการส่งข่าวกลับมาที่ประเทศไทยนั้น แหล่งข่าวเล่าว่า ทีมงานของนายกฯได้ร่างเป็นภาษาอังกฤษแล้วมอบให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอีกครั้ง ทั้งนี้นายกฯมีคิวขึ้นพูดในเวลา 08.30น. ซึ่งเป็นเวลาที่มองโกเลีย แต่ที่ไทยคือ 07.30น. จึงสั่งให้ทีมงานส่งเข้าอีเมลล์ประจำตัวของผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล อีเมลล์ของสำนักข่าวสำนักต่าง ๆ ก่อนที่จะมีการยิงขึ้นเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล 30 นาที เพราะหวังว่าผู้สื่อข่าวจะเห็นข่าวก่อนแล้วก็ยิงข่าวขึ้นเว็บและรายงานข่าว โดยนายกฯย้ำว่าไม่ต้องแก้ไขให้เป็นภาษาข่าว ขอให้พูดอย่างไรก็ส่งไปตามทั้ง แต่ปรากฏว่าส่งอีเมลล์เร็วเกินไปทำให้ผู้สื่อข่าวยังอาจจะไม่ตื่นมาเช็คอีเมลล์ เพราะเห็นข่าวออกอีกทีก็ช่วงสายๆ

 

"เมื่อนายกฯปาฐกถาจบพอลงจากเวทีก็ถามทีมงานว่าที่ไทยมีข่าวอัพหรือยัง พอนายกฯรู้ว่ามีข่าวขึ้นแล้วก็ยิ้มและดีใจแล้วก็สอบถามว่าเขาพาดหัวในเว็บกันยังไงบ้างด้วยสีหน้าท่าทางที่อารมณ์ดีเป็นพิเศษ"

 

http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=679896&lang=T&cat=

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พิษบาทเขย่าเก้าอี้ผู้ว่าธปท. (01/05/2556)

การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)วานนี้ ได้มีการหารือถึงมาตรการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าจนทำให้การส่งออกชะลอ ตัวลง แต่หลังการประชุมจบลงทางกระทรวงการคลังได้ขอประชุมลับต่อ โดยให้ข้าราชการออกจากห้องประชุมทั้งหมด

 

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้สอบถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลดดอกเบี้ย 0.25-0.5% ซึ่งได้รับคำตอบว่าคงเป็นไปไม่ได้ เพราะ ธปท.ไม่ยอมลดดอกเบี้ย และระบุว่าการเมืองไม่ควรแทรกแซงเรื่องนี้หากจะลดดอกเบี้ยเพื่อให้เงินร้อน หยุดไหลเข้าจะต้องลดอย่างน้อย 1%

 

"ที่ประชุมจึงถามว่า การให้ผู้ว่าการ ธปท.พ้นจากตำแหน่งจะต้องทำอย่างไร ได้รับการชี้แจงว่ามี 2 ทางคือ บอร์ด ธปท.ให้ออก และ ครม.ให้พ้นจากตำแหน่ง แต่เมื่อมีการถามว่า แล้วใครจะเสนอ ครม. ปรากฏว่าไม่มีคำตอบ" แหล่งข่าวจากที่ประชุมครม.เปิดเผย

 

สำหรับการประชุม ครม.ในช่วงที่ไม่ได้หารือเป็นเรื่องลับนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า รมว.คลังรายงานความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทให้ครม.ทราบ รวมทั้งการส่งหนังสือถึงประธานกรรมการ ธปท.ไปก่อนหน้านี้ และเมื่อเร็วๆนี้ ก็ได้ส่งจดหมายถึงนายประสาร ไตรรัตน์วรกุลผู้ว่าการ ธปท. สอบถามว่าการลดดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยลดการไหลเข้าของเงินทุนหรือไม่ การดูดซับสภาพคล่องการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศมีผลกระทบต่อการดำเนินงาน ของ ธปท.หรือไม่ และให้นำข้อเสนอที่ได้หารือร่วมกันเมื่อวันที่ 26 เม.ย. ขึ้นมาพิจารณา

 

นายอารีพงศ์ กล่าวว่า ผู้ว่าการธปท. ตอบกลับมาว่า ได้สอบถามผู้ประกอบการพบว่าส่วนใหญ่ปรับตัวให้สอดรับกับเงินบาทที่แข็งค่า ขึ้นต่อเนื่องแล้วและ ธปท.ยืนยันว่าหากค่าบาทขึ้นแตะระดับ 27 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เศรษฐกิจไทยยังจะสามารถเติบโตได้ 4% และที่ผ่านมา ธปท.ใช้มาตรการตักเตือนด้วยวาจาให้ดูแลค่าบาทอย่างใกล้ชิด และระหว่างนี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)อยู่ระหว่างหารือมาตรการเหมาะสมออกมาช่วยเหลือ

 

นายอารีพงศ์ ระบุว่า ผู้ว่าการธปท.ยังตอบว่า เงินทุนไหลเข้าส่วนใหญ่ไหลเข้าตลาดตราสารหนี้สูงกว่าในตลาดหุ้นและตลาด อสังหาริมทรัพย์ถึง 8 เท่า การลดดอกเบี้ยนโยบายจะไม่ช่วยลดการไหลเข้าของเงินทุนในตลาดพันธบัตรและ ธปท.กังวลว่าสินเชื่อในภาคอสังหาริมทรัพย์จะเร่งตัวขึ้นจนเกิดภาวะฟองสบู่

อย่างไรก็ดี ในวันนี้ นายกฯเรียกประชุม ครม.เศรษฐกิจเพื่อหารือเรื่องค่าเงินบาทอีกครั้ง

 

ที่มา : โพสต์ทูเดย์(วันที่ 1 พค.56)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แบงก์ชาติกล่อม สอท. ยันรับมือค่าบาทไหว (01/05/2556)

เมื่อวันที่ 30 เม.ย. นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังการหารือกับนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับแนวทางในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนว่า ข้อสรุปเบื้องต้นอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยธปท.ยืนยันว่าจะเข้าไปดูแลอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น พร้อมยืนยันว่าจะดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวนมากจนเกินไปและให้สอดคล้องกับค่าเงินของภูมิภาค ส่วนแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอีนั้น อาจให้สถาบันการเงินเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการส่งออกมากขึ้น

 

ทั้งนี้ ธปท.ยอมรับว่าการแข็งค่าที่ระดับ 28.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ถือเป็นระดับผิดพื้นฐานเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งธปท.รับปากว่าจะดูแลค่าเงินแบบผสมผสานระหว่างเงินทุนเคลื่อนย้าย อัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม หน้าที่การดูแลทั้ง 3 ด้านดังกล่าว ต้องดูแลร่วมกับกระทรวงการคลัง โดยเฉพาะการดูแลด้านเงินทุเคลื่อนย้าย ซึ่งธปท.ได้ย้ำในที่ประชุมว่า ธปท.ได้ประสานงานและหารือร่วมกับกระทรวงการคลังในเรื่องดังกล่าวแล้ว ส่วนเรื่องอัตราดอกเบี้ยจะเป็นเรื่องที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)จะเป็นผู้ดูแล โดยจะนำข้อมูลในการหารือรอบดังกล่าวนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณา ด้านการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนธปท.ได้ย้ำว่าจะพยายามไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในระยะต่อไป

 

“อย่างไรก็ตามการหารือในครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งส.อ.ท.ค่อนข้างเบาใจและพอใจ และจะติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด แม้ว่าระยะนี้ค่าเงินบาทจะจะอ่อนค่าลงมาที่ 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐแล้วก็ตาม แต่หากค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าจะเข้าพบธปท.อีกครั้ง โดยไม่รอให้ถึงวันที่ 29 พ.ค. ที่เป็นวันประชุมกนง.นัดถัดไป สำหรับความผู้ประกอบการนั้นขณะนี้ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทอย่างหนัก ส่งผลให้ผู้ประกอบการปรับเป้าการส่งออกลงเหลือ 4.92% ส่วนค่าเงินบาทที่เชื่อว่าผู้ประกอบการขนาดใหญ่รับไหวคือต้องไม่ต่ำกว่า 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เอสเอ็มอีต้องไม่ต่ำกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ” นายพยุงศักดิ์ กล่าว..

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (วันที่ 1 พฤษภาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

GOLD has stopped movement and waiting for ECB decision, it's quite possible to reverse to the downside soon, and for this another fail of 1485 is needed.

For today:

 

SHORT GOLD below 1485 SL 1490 TP 1465-1440-1420-1400

LONG GOLD above 1490 SL 1485 TP 1515-1525

 

เดี๋ยวเพื่อนๆ จะ งง. ของคืนนี้ Fed ธนาคารกลางสหรัฐ ประเด็นหลัก ส่วนพรุ่งนี้ ECB ธนาคารยูโร นะครับ

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 11:03:00 น.

1 พ.ค.56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊คส่วนตัวที่ใช้ username ว่า Thirachai Phuvanatnaranubala เกี่ยวกับแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง โดยยืนยันว่า ธปท.มีมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมเงินทุนไหลเข้า (capital control) ที่สามารถดำเนินการได้แบบเป็นขั้นๆ จากระดับอ่อน ไปจนถึงระดับเข้ม มีข้อมูลและตัวอย่างมาตรการแบบอ่อนไปถึงแบบเข้มที่ประเทศอื่นๆ เคยนำมาใช้อยู่พร้อมเพรียงแล้ว

 

 

 

วิธีลดแรงกดดันเงินบาทที่ได้ผลที่สุด ก็คือการดูแลเงินที่ไหลเข้าตลาดพันธบัตร ซึ่งการลดดอกเบี้ยนโยบายที่มีอายุเพียง 1 วัน จะไม่แก้ปัญหาตรงจุด แต่ต้องใช้มาตรการ capital control ซึ่งสามารถทำได้จากระดับอ่อน ไปถึงระดับเข้มด้วยการเก็บภาษี เริ่มทำเมื่อใด แรงกดดันบาทแข็งก็จะยุติเมื่อนั้น

 

ข้อความที่นายธีระชัยโพสต์ในเฟซบุ๊ค พร้อมกราฟแสดงสัดส่วนของพันธบัตรไทย

สำหรับการถกเถียงกันเรื่องวิธีการที่จะชะลอเงินบาทแข็งขึ้นนั้น นอกจากการเก็บภาษีเงินทุนที่ไหลเข้ามาในตลาดพันธบัตร ซึ่งเป็นมาตรการที่ค่อนข้างเข้มแล้ว ยังมีมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมเงินทุนไหลเข้า (capital control) ที่สามารถดำเนินการได้แบบเป็นขั้นๆ จากระดับอ่อน ไปจนถึงระดับเข้มอีกด้วย

 

เริ่มต้นด้วยการกำหนดให้เงินทุนไหลเข้าต้องมีการลงทะเบียน หรือเปิดเผยข้อมูล

หรือทำให้ขั้นตอนการนำเงินเข้าหรือออกไปนั้น ต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายบางประการ

หรือเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับนักลงทุนต่างชาติให้เหมือนกับนักลงทุนไทย

ฯลฯ

ซึ่งแบงค์ชาติเขามีข้อมูลและตัวอย่างมาตรการแบบอ่อนไปถึงแบบเข้มที่ประเทศอื่นๆ เคยนำมาใช้อยู่พร้อมเพรียงแล้ว

 

กราฟนี้จัดทำโดย Asian Development Bank แสดงสัดส่วนของพันธบัตรไทยที่ถือโดยนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา สัดส่วนนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว แสดงถึงเงินทุนไหลเข้าที่มุ่งเข้าไปในตลาดพันธบัตรไทยเป็นหลัก และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้บาทแข็ง ทั้งนี้ เงินทุนที่ไหลเข้าในตลาดพันธบัตร เป็นจำนวนเงินที่สูงกว่าเงินที่ไหลเข้าในตลาดหุ้นหลายเท่า

 

วิธีลดแรงกดดันเงินบาทที่ได้ผลที่สุด ก็คือการดูแลเงินที่ไหลเข้าตลาดพันธบัตร ซึ่งการลดดอกเบี้ยนโยบายที่มีอายุเพียง 1 วัน จะไม่แก้ปัญหาตรงจุด แต่ต้องใช้มาตรการ capital control ซึ่งสามารถทำได้จากระดับอ่อน ไปถึงระดับเข้มด้วยการเก็บภาษี เริ่มทำเมื่อใด แรงกดดันบาทแข็งก็จะยุติเมื่อนั้น

 

ถามว่าทำไมกระทรวงการคลังจึงไม่เลือกใช้มาตรการด้านนี้ แต่หันไปกดดันแบงค์ชาติให้ลดดอกเบี้ยแทน

 

มาตรการคุมเงินไหลเข้าตลาดพันธบัตร ถึงแม้จะได้ผลในการลดแรงกดดันบาทแข็ง แต่จะทำให้มีเงินมาซื้อพันธบัตรน้อยลงในอนาคต ดังนั้น เมื่อรัฐบาลมีแผนจะกู้เงิน 2 ล้านล้าน ก็อาจจะไม่อยากไปแตะต้องตลาดพันธบัตร เป็นเรื่องธรรมดา นอกจากนี้ ธุรกิจที่อาศัยเงินทุนไหลเข้าดังกล่าวไปบูมโครงการต่างๆ โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ แหล่งเงินก็จะมีน้อยลง เขาก็ย่อมไม่ชอบ เป็นเรื่องธรรมดา

 

ทุกมาตรการมีข้อดีข้อเสียครับ ไม่ว่า ก. แบงค์ชาติลดดอกเบี้ยนโยบาย หรือ ข. ใช้ capital control หรือ ค. แบงค์ชาติเข้าไปแทรกแซงซื้อดอลลาร์ หรือแม้แต่ ง. ปล่อยให้บาทแข็งและบังคับให้ผู้ส่งออกต้องปรับตัว

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กรมการปกครองแจ้งสมาร์ทการ์ดหมดทั่วประเทศ

 

 

นายสถาพร ศิริภักดี รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมการปกครอง ได้มีหนังสือด่วนที่สุดแจ้งงานมายังผู้ว่าราชการทุกจังหวัดและปลัดกรุงเทพมหานคร ว่า บริษัทผู้รับจ้างจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนให้กับกรมการปกครอง ไม่สามารถจัดส่งวัสดุบัตรได้ตรงตามเวลาในสัญญา ซึ่งจะทำให้บัตรประจำตัวประชาชนขาดแคลน และส่งผลกระทบต่อการบริการประชาชน และเพื่อให้การบริการประชาชนเป็นสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง จึงให้ทุกอำเภอออกใบรับ บป.2 หรือ บัตรเหลือง ตามระยะเวลาที่กำหนด 30 วัน ให้กับประชาชนนำไปใช้ในการติดต่อราชการ หรือทำธุรกรรมต่างๆ ไปก่อน รอจนกว่าบริษัทจะจัดส่งมาให้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แนวรับแนวต้าน ประจำวันที่ 1 พฤษภาคม

 

Supports: 1467, 1460, 1453, 1433

Resistances: 1474, 1478, 1487, 1495, 1500

 

http://www.fxstreet.com/technical/forex-forecasts/todays-gold-forecast/2013/05/01/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

China’s growth rebound has taken another hit, with its manufacturing sector expanding less than expected according to an official survey of business sentiment. China’s purchasing mangers’ index fell to 50.6 in April from 50.9 the prior month, just missing a consensus estimate of around 50.7. The slump in sentiment in the heart of China’s economy is cornering, especially a decline in new export orders. While the headline figure is holding in expansion territory, albeit only just, new export orders fell into contraction territory, dropping to 48.6 from 50.9.

รายงานของจีนเมื่อเช้านี้ ที่บอกว่า ตัวเลขผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของจีนลดลงจากเดิม และต่ำกว่าที่คาดการณ์ อาจจะส่งผลถึงตลาดสหรัฐฯ คืนนี้ด้วย ในทาง " ย่อลง "

 

Chinese Manufacturing PMI

 

Actual:50.60

Forecast:51.00

Previous:50.90

Importance: Currency:CNYSource Of Report:China Logistics Information Center (Release URL)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...