ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

วันนี้เขาว่าอยู่ระหว่าง 1460-1480 จะหลุดทางขึ้นหรือหลุดทางลง ?

ถ้าหลุดลงก็ 1450, 1447 ขา L ต้องพิจารณา

ถ้าหลุดขึ้นก็ 1487, 1500 ขา S ต้องพิจารณา

 

ที่ว่ามาทั้งหมด ละเมอ ครับ

ลืมไปวันนี้ร้านทองปิดหรือเปล่า ?

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับป๋า เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

 

ได้หวัด + เจ็บคอ เวอร์ชั่นฮ่องกงมาครับ

 

สงสัยต้องงดเทรด เด๋ว Order ผิดฝั่ง

 

จะเด้ง 2 ต่อ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ (01/05/2556)

-ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (30 พ.ค.) ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยียังช่วยหนุนตลาดดีดตัวขึ้นด้วย

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 14,839.80 จุด เพิ่มขึ้น 21.05 จุด หรือ 0.14% ดัชนี Nasdaq ปิดบวก 21.77 จุด หรือ 0.66% แตะที่ 3,328.79 จุด และดัชนี S&P 500 ปิดบวก 3.96 จุด หรือ 0.25% แตะที่ 1,597.57 จุด

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (30 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรก่อนที่จะรับทราบผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในสัปดาห์นี้

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 1.04 ดอลลาร์ ปิดที่ 93.46 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดลอนดอน ร่วงลง 1.44 ดอลลาร์ ปิดที่ 102.37 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (30 เม.ย.) เพราะได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐและยุโรปจะใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.พุ่งขึ้น 4.7 ดอลลาร์ หรือ 0.32% ปิดที่ 1,472.1 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ปิดที่ 24.185 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 1.9 เซนต์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ปิด 1,507.20 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 20 เซนต์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดที่ 697.80 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 1.40 ดอลลาร์

 

-- -สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (30 เม.ย.) เนื่องจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังคงเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ด้วยการซื้อพันธบัตร ในการประชุมสัปดาห์นี้

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 97.52 เยน จากระดับของวันจันทร์ที่ 98.01 เยน และอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9293 ฟรังค์ จากระดับ 0.9371 ฟรังค์

 

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.3162 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3096 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.5531ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5489 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.0363 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0358 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดวันทำการล่าสุดที่ 6,430.12 จุด ลดลง 27.90 จุด หรือ 0.43% หลังจากมีรายงานว่าภาคการผลิตสหรัฐชะลอตัวลง นอกจากนี้ การร่วงลงของหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ยังเป็นอีกปัจจัยที่ฉุดตลาดหุ้นลอนดอนปรับตัวลงด้วย

 

สถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM) ของสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก ลดลงแตะ 49 ในเดือนเม.ย. จากระดับ 52.4 ในเดือนมี.ค

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 1 พฤษภาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองปิดบวก 4.7 ดอลล์ (01/05/2556)

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวก4.7 ดอลล์ ที่ 1,472.1 ดอลลาร์/ออนซ์จากคาดการณ์เฟดใช้นโยบายผ่อนคลาย

 

 

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.พุ่งขึ้น 4.7 ดอลลาร์ หรือ 0.32% ปิดที่ 1,472.1 ดอลลาร์/ออนซ์

 

นักลงทุนเจับตาดูการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในสัปดาห์นี้ โดยมีการคาดการณ์ว่าเฟดจะยังคงเดินหน้าโครงการซื้อพันธบัตรวงเงิน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน และคาดว่าอีซีบีจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป

 

ที่มา : โพสต์ทูเดย์ (01 เมษายน 2556)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลลาร์ร่วง จากคาดการณ์เฟดเดินหน้าโครงการ QE (01/05/2556)

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (30 เม.ย.) เนื่องจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังคงเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ด้วยการซื้อพันธบัตร ในการประชุมสัปดาห์นี้

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 97.52 เยน จากระดับของวันจันทร์ที่ 98.01 เยน และอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9293 ฟรังค์ จากระดับ 0.9371 ฟรังค์

 

ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.3162 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3096 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.5531ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5489 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.0363 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0358 ดอลลาร์สหรัฐ

 

สกุลเงินดอลลาร์ได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะเดินหน้าโครงการซื้อพันธบัตรมูล่า 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน หลังจากมีข้อมูลบ่งชี้ถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐ โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขประมาณการครั้งแรกของจีดีพีที่แท้จริงประจำไตรมาส 1/2556 ขยายตัว 2.5% ซึ่งต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ แม้จะดีกว่าไตรมาส 4/2555 ที่ขยายตัวเพียง 0.4%

 

นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนแรงลงหลังจากสถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM) ของสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก ลดลงแตะ 49 ในเดือนเม.ย. จากระดับ 52.4 ในเดือนมี.ค.

 

ดัชนีเดือนเม.ย.ถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2552 โดยตัวเลขที่อยู่ต่ำกว่า 50 บ่งชี้ถึงภาวะหดตัวในกลุ่มผู้ผลิตแถบมิดเวสต์ ซึ่งสะท้อนว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐยังเปราะบาง

 

ส่วนสกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้นหลังจากรัฐบาลใหม่ของอิตาลีได้รับการลงมติไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวานนี้ หลังจากนายกรัฐมนตรีเอ็นริโก เลตตา ให้คำมั่นที่จะผ่อนคลายมาตรการรัดเข็มขัดบางส่วน ซึ่งได้ถ่วงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 1 พฤษภาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จีนเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนเม.ย.ชะลอตัวลงแตะ 50.6 (01/05/2556)

สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนเม.ย.ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50.6 จากเดือนพ.ค.ที่ระดับ 50.9

 

อย่างไรก็ตาม ดัชนีที่สูงกว่า 50 บ่งชี้ว่ากิจกรรมในภาคบริการมีการขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 1 พฤษภาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รัฐสภาไซปรัสประชุมร่วมกัน มุ่งรับรองข้อตกลงกับยูโรกรุ๊ป, ไอเอ็มเอฟ (01/05/56)

รัฐสภาไซปรัสประชุมร่วมกันในวันนี้เพื่อรับรองข้อตกลงความช่วยเหลือมูลค่า 1 หมื่นล้านยูโรกับยูโรกรุ๊ปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)

 

รัฐสภาไซปรัสถูกเรียกประชุมในช่วงสายวันนี้ ก่อนที่จะเริ่มถกกันเรื่องร่างกฎหมายหลายฉบับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงความช่วยเหลือ และเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นของการรับรองข้อตกลงความช่วยเหลือและการให้เงินทุนช่วยเหลือฉุกเฉินในช่วงต้นเดือนพ.ค.

 

ส่วนการหารือเกี่ยวกับข้อตกลงความช่วยเหลือจริงๆนั้น คาดว่าจะเริ่มขึ้นในช่วงบ่ายและจะใช้เวลาหลายชั่วโมง

 

รัฐบาลไซปรัสโดยการนำของประธานาธิบดีนิคอส อนาสตาเซียเดส ต้องการเสียงโหวตจากพรรคร่วมรัฐบาล 3 พรรคเพื่อผลักดันข้อตกลงนี้ให้ผ่านรัฐสภาด้วยเสียงข้างมาก 29 ต่อ 27 เสียง สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (01/805/56)

 

เศรษฐกิจยูโรโซนยังถดถอย อัตราเงินเฟ้อร่วงต่ำ-ว่างงานสูง (01/05/2556)

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือยูโรสแตท ได้ออกมาเปิดเผยรายงานอัตราเงินเฟ้อรายปีในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร 17 ประเทศว่า ลดลงสู่ระดับ 1.2% ในเดือนเมษายน จากระดับ 1.7% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์2553 และอยู่ต่ำกว่าเพดาน 2% ของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์2556

ขณะที่การขยายตัวของราคาผู้บริโภคที่ชะลอตัวลงในเดือนเมษายนมีสาเหตุหลักมาจากราคาพลังงานซึ่งลดลง 0.4% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 1.7% ในเดือนก่อนหน้า หากไม่รวมราคาพลังงานและอาหารที่มีความผันผวน ราคาผู้บริโภคพื้นฐานยูโรโซนลดลงแตะ 1% จาก 1.5%

นอจากนี้ ยูโรสแตทยังได้เปิดเผยอัตราว่างงานยูโรโซนที่เพิ่มขึ้นแตะ 12.1% ในเดือนมีนาคมจาก 12.0% ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งอัตราว่างงานล่าสุดนับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่มีการจัดทำข้อมูลสถิติในปี 2538

ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 1 พฤษภาคม 2556)

 

 

นายกฯ ใหม่อิตาลีเล็งคลายมาตรการรัดเข็มขัด (01/05/2556)

นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอิตาลี ประกาศลั่นจะผ่อนคลายนโยบายรัดเข็มขัด ยันเห็นผลงานภายใน 18 เดือน

 

 

 

นายเอนริโก เลตตา นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอิตาลี แถลงว่า รัฐบาลผสมของเขาจะเร่งผ่อนคลายนโยบายรัดเข็มขัด ซึ่งเขามองว่าเป็นการทำลายประเทศ และเรียกร้องให้ประเทศในยุโรปร่วมกันขับเคลื่อนการเติบโตของภูมิภาค

นายเลตตา กล่าวในพิธีสาบานตนต่อรัฐสภาว่า อิตาลีกำลังล่มจมจากนโยบายรัดเข็มขัดเพียงประเทศเดียว ดังนั้นจึงไม่ควรรีรอที่จะใช้นโยบายผลักดันการเติบโต นอกจากนี้เขายังให้คำมั่นว่าการดำเนินนโยบายต่างๆ จะต้องเห็นผลภายใน 18 เดือน หากไม่สำเร็จก็จะขอแสดงความรับผิดชอบ

 

อิตาลีซึ่งประสบภาวะตกต่ำ อยู่ภายใต้แรงกดดันให้จัดการปัญหาเรื้อรังด้านสังคม เศรษฐกิจ และหน่วยงานราชการโดยเร็ว

 

สุนทรพจน์อันมุ่งมั่นของนายเลตตาสามารถเรียกความเชื่อมั่นจาก ส.ส.ในสภาได้ โดยรัฐบาลของเขาได้รับคะแนนไว้วางใจ 453 ต่อ 153 เสียง

 

นายเลตตาจะเผชิญบททดสอบความมุ่งมั่นที่จะบริหารประเทศสวนทางกับนโยบายรัดเข็มขัดของยุโรป ระหว่างการเดินทางไปกรุงเบอร์ลินในวันนี้เพื่อพบกับนายกรัฐมนตรีเยอรมนี หลังจากนั้นนายเลตตาก็จะเดินทางต่อไปที่กรุงบรัสเซลส์เพื่อพบกับประธานสหภาพยุโรป

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 30 เมษายน 2556)

 

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อียูเล็งคุ้มครองผู้ฝากเงิน (01/05/2556)

อียูเล็งคุ้มครองผู้ฝากเงินจากการล้มละลายของธนาคาร หวังเรียกคืนความเชื่อมั่น

 

 

 

สมาชิกสหภาพยุโรปหรืออียู กำลังหารือประเด็นเกี่ยวกับการให้ผู้ฝากเงิน เป็นกลุ่มสุดท้ายที่ต้องสูญเงิน ในกรณีที่ธนาคารเกิดล้มละลาย โดยการกระทำดังกล่าวจะช่วยคุ้มครองผู้ฝากเงินจากการสูญเงินแบบที่เกิดขึ้นในไซปรัส

 

แนวคิดดังกล่าวมีขึ้นในช่วงที่ประเทศสมาชิกอียูกำลังพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ ที่อาจทำให้ผู้ฝากเงินรายใหญ่สูญเงินอย่างถาวรจากวิกฤตการณ์ธนาคารในอนาคต อย่างไรก็ตาม บรรดาเจ้าหน้าที่ของอียูต่างกังวลว่าแผนการดังกล่าวจะทำให้ผู้ฝากเงินแตกตื่นและรีบถอนเงินออกจากธนาคาร

 

ในเอกสารที่ให้ข้อมูลคร่าวๆ เกี่ยวกับการอุ้มผู้ฝากเงินและมาตรการอื่นเพื่อรับมือกับธนาคารที่ประสบปัญหานั้น เจ้าหน้าที่เผยว่าในกรณีที่มีการขาดทุนผลจากธนาคารล้มละลาย น่าจะเป็นการดีในการให้ผู้ถือพันธบัตรรับความสูญเสียไปก่อน ส่วนผู้ฝากเงินรายเล็กที่มีเงินฝากน้อยกว่า 10,000 ยูโรจะได้รับการคุ้มครองในทุกกรณี

 

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่อียูได้หยิบยกประเด็นความเป็นไปได้ที่ผู้ฝากเงินรายใหญ่จะไม่ต้องสูญเงินในกรณีที่ธนาคารเกิดล้มละลาย

 

การเคลื่อนไหวนี้เป็นความพยายามของเจ้าหน้าที่อียูที่จะเรียกคืนความเชื่อมั่น หลังจากก่อนหน้านี้เคยมีความพยายามเก็บภาษีเงินฝากแก่ผู้มีบัญชีเงินฝากในธนาคารของไซปรัส พุ่งเป้าไปที่ผู้ฝากเงินรายย่อยด้วย แต่ได้เปลี่ยนแปลงในภายหลัง

 

มาตรการที่ดูแลผู้ฝากเงินรายใหญ่ ซึ่งอาจเริ่มนำมาใช้ได้ในปี 2558 ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกลางยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 1 พฤษภาคม 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอกชนพอใจธปท.รับปากดูแลค่าเงินบาท (01/05/2556)

สอท.พอใจ ธปท. รับปากดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเกินปัจจัยพื้นฐาน แย้มจะใช้ 3 เครื่องมือดูแลอัตราแลกเปลี่ยน

 

วันนี้เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น.นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) และคณะ เดินทางเข้าพบนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และคณะผู้บริหาร ธปท. เพื่อหารือถึงแนวทางการดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากเกินไปจนกระทบต่อภาคธุรกิจ ซึ่งการหารือใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง

 

นายพยุงศักดิ์ กล่าวว่า การหารือเพื่อยื่นข้อเสนอ 7 ข้อของส.อ.ท.ให้ธปท.ช่วยดูแลค่าเงินในวันนี้ ถือว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยผู้ว่าการ ธปท. รับปากว่าจะช่วยดูแล โดยใช้เครื่องมือ 3 ประสาน คือ การพิจารณาใช้ดอกเบี้ย การดูแลอัตราแลกเปลี่ยน และมาตรการในการดูแลเงินทุนไหลเข้า เพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามากจนเกินปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยเหมือนในช่วงที่ผ่านมา โดยหากค่าเงินบาทแข็งค่ามากเกินไป ธปท. อาจจะต้องใช้มาตรการที่เข้มข้นขึ้น

 

“ส่วนการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงมาเพื่อดูแลไม่ให้เงินทุนไหลเข้ามามากจนส่งผลต่อค่าเงินบาทแข็งค่านั้น คำตอบไม่ได้บอกว่าจะลดหรือไม่ลด แต่ท่านผู้ว่าการ ธปท.ท่านบอกว่า การใช้ดอกเบี้ยจะใช้เมื่อจำเป็นจริงๆเท่านั้น ซึ่งก็โชคดี ด้านมาตรการดูแลเงินทุนไหลเข้าที่อาจจะนำมาใช้หากจำเป็นนั้น ทางธปท.ไม่ได้เปิดเผยในรายละเอียด เพราะอาจจะกระทบต่อภาวะตลาด ไม่ควรเปิดเผย ฉะนั้น ทางเราก็จะขอดูสถานการณ์ไปอีกระยะหนึ่งก่อน ถ้าเงินบาทยังแข็งเกินปัจจัยพื้นฐาน แข็งค่าขึ้นไปถึง 6-7% อีกก็จะกลับมาพบธปท.ใหม่ ตอนนี้ก็ต้องให้เวลาธปท.ทำงานก่อน” นายพยุงศักดิ์กล่าว

 

นายพยุงศักดิ์ กล่าวว่า ในเรื่องระดับอัตราแลกเปล่ยนที่เหมาะสม หรือไม่เกินปัจจัยพื้นฐานนั้น ทางธปท.ไม่ได้บอกว่าจะดูแลให้อยู่ระดับใดชัดเจน แต่เข้าว่าคงไม่ให้แข็งไปที่ระดับ 28.50 บาทต่อเหรียญสหรัฐหรือแข็งค่ามากเป็นอันดับ 4 ของโลกอีก เพราะการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากเกินประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคก็จะกระทบความสามารถในการแข่งขันและเป้าหมายในการส่งออกปีนี้ด้วย

 

ด้านนายวัลลภ วิตนากร รองประธาน สอท. และรองประธานสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากค่าเงินบาทแข็งค่าที่ระดับ 28 บาทกว่า หรือในระดับปัจจุบันจะกระทบให้การส่งออกขยายตัวลดลง จากเดิมที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าเอาไว้ที่ระดับ 8-9% และสอท.มองไว้ที่ 6.9% อาจจะเหลือเพียง 4.92% เท่านั้น มูลค่าการส่งออกจะลดลงไปประมาณ 4.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ จึงอย่าให้ทางการดูแลไม่ให้แข็งค่าจนเกินเพื่อนบ้านมากนัก

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ (วันที่ 1 พฤษภาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...