ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

น้ำมัน-หุ้นสหรัฐฯ-ทองคำล้วนพุ่งแรง หลังECBหั่นอัตราดอกเบี้ย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤษภาคม 2556 05:30 น.

556000005520501.JPEG

เอเอฟพี - ราคาน้ำมันวานนี้(2) ดีดเกือบ 3 ดอลลาร์ ส่วนวอลล์สตรีทก็พุ่งแรง โดยเอสแอนด์พี500 ทุบสถิติสูงตลอดกาลรอบใหม่ จากข้อมูลภาคแรงงานสหรัฐฯและธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี)หั่นอัตราดอกเบี้ยลง ปัจจัยหลังนี้เองก็ช่วยส่งให้ทองคำปิดบวกกว่า 21 ดอลลาร์

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.96 ดอลลาร์ ปิดที่ 93.99 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 2.90 ดอลลาร์ ปิดที่ 102.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

เมื่อวันพฤหัสบดี(2) ธนาคารกลางยุโรป มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 0.50 เปอร์เซ็นต์ นับเป็นระดับต่ำที่สุดตลอดกาล ทั้งนี้แม้ความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเป็นไปตามคาดหมาย แต่มันก็เป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนราคาน้ำมัน

 

ขณะเดียวกันราคาน้ำมันยังได้แรงหนุนจากตัวเลขผู้เข้ารับสิทธิประโยชน์คนว่างงานสหรัฐฯที่ดีเกินคาดหมาย บ่งชี้ว่าตลาดงานเริ่มมีความมั่นคงแล้ว

 

รายงานของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯระบุว่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีผู้ยื่นขอรับสิทธิประโยชน์คนว่างงานรายใหม่ลดลงจากหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้านั้น 18,000 อัตรา เหลือ 324,000 อัตรา แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมกราคมปี 2008 บ่งชี้ว่าอัตราการปลดคนงานเริ่มเบาบางลง

 

ปัจจัยดังกล่าวก่อความคึกคักแก่นักลงทุนเป็นอย่างมาก และเป็นผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(2) ปิดบวกแรง โดยเฉพาะเอสแอนด์พี 500 ที่ทุบสถิติสูงสุดตลอดกาลอีกครั้ง

 

ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 130.63 จุด (0.89 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 14,831.58 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 41.49 จุด (1.26 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,340.62 จุด ขณะที่เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 14.89 จุด (0.94 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,597.59 จุด ทุบสถิติสูงสุดตลอดกาลที่ทำไว้เมื่อวันอังคาร(30เม.ย.) แค่เล็กน้อย

 

"นักลงทุนกลับสู่สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง หลังอีซีบีปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในความพยายามกระตุ้นการเติบโตและผลักยูโรโซนออกจากภาวะถดถอย" นักวิเคราะห์จากเวลส์ ฟาร์โก ระบุ "นอกจากนี้ภาพตลาดแรงงานที่ดีขึ้นก็ช่วยก่อความคึกคักแก่ตลาดด้วย"

 

ด้านราคาทองคำวานนี้(2) พุ่งแรง หลังอีซีบีหั่นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ย้ำคำมั่นถึงการคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป ทองคำตลาดโคเมกซ์ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 21.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,467.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000053054

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)[1] อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และประธานกรรมการคณะกรรมการกำกับตลาดทุน และเป็นประธานกลุ่ม ก.ล.ต. อาเซียน (ACMF) 2 สมัย

 

มีผู้สื่อข่าวสอบถามผมว่ารัฐมนตรีคลังมีอำนาจในการปลดผู้ว่าแบงค์ชาติหรือไม่

พรบ. ธนาคารแห่งประเทศไทย มาตรา 28/19 กำหนดการพ้นตำแหน่งโดยการดำเนินการของรัฐมนตรีคลังไว้สองข้อ

 

(4) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออกโดยคําแนะนําของรัฐมนตรีเพราะมีความ

ประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรงหรือทุจริตต่อหน้าที่

(5) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออกโดยคําแนะนําของรัฐมนตรีหรือการเสนอของ

รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการธปท. เพราะบกพร่องในหน้าที่อย่างร้ายแรง หรือหย่อนความสามารถโดยมติดังกล่าวต้องแสดงเหตุผลในการให้ออกอย่างชัดแจ้ง

 

ตอบว่ามีอำนาจครับ แต่ต้องแสดงเหตุผลอย่างชัดแจ้ง

 

ขณะนี้รัฐมนตรีคลังขัดแย้งกับผู้ว่าในงานนโยบาย จึงไม่เข้าลักษณะที่จะใช้ (4) ได้ เพราะไม่มีการประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรงหรือทุจริตต่อหน้าที่ ส่วนการใช้ (5) นั้น รัฐมนตรีทำได้โดยตนเอง แต่ต้องพิสูจน์ว่ามีการบกพร่องในหน้าที่อย่างร้ายแรง หรือหย่อนความสามารถ

 

สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้เป็น KPI สำหรับผู้ว่านั้น มีเฉพาะเป้าหมายเงินเฟ้อ ที่แบงค์ชาติต้องตกลงกับกระทรวงคลังทุกปี และขณะนี้ยังไม่เกินเป้า จึงยังไม่สามารถใช้เรื่องเงินเฟ้อในการอ้างเหตุ

 

สิ่งที่รัฐมนตรีพูด แต่กฎหมายมิได้กำหนดไว้ คือผลขาดทุนของ ธปท. แต่ถ้าจะอ้างเรื่องนี้ ก็จะมีปัญหาว่าขาดทุนที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผู้ว่าคนนี้อยู่ในตำแหน่งนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการซื้อดอลลาร์ที่เกิดขึ้นในอดีต ก่อนหน้าที่ผู้ว่าคนนี้เข้าไปรับตำแหน่ง ดังนั้น จะเหมาให้ผู้ว่าคนนี้รับผิดคนเดียว คงไม่ได้

 

สิ่งที่พูดอีกเรื่องหนึ่ง คือการที่เงินบาทแข็งและกระทบส่งออก แต่ถ้าจะอ้างเรื่องนี้ ก็จะมีปัญหาว่าผู้ว่าเขาไม่ได้เป็นคนทำให้เงินบาทแข็ง เงินบาทมันแข็งเอง ในอดีต แบงค์ชาติเคยเข้าไปแทรกแซงด้วยการซื้อดอลลาร์เพื่อชะลอการแข็งค่า แต่ประธาน ธปท. เขาไม่เห็นด้วยเพราะจะทำให้แบงค์ชาติขาดทุน ผู้ว่าเขาจึงไม่ได้เข้าไปแทรกแซงหนักมือเหมือนดังในอดีต

 

ที่จริงเมื่อเช้านี้ คุณสมชาย สกุลสุรรัตน์ ได้กรุณาชี้ให้ผมเห็นประเด็นว่า สาเหตุหนึ่งที่บาทแข็ง เนื่องจากรัฐบาลออกพันธบัตรกู้เงินมากเกินไป เปิดช่องให้เงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาในตลาดพันธบัตร ดังนั้น รัฐบาลเป็นคนทำให้เงินบาทแข็ง ไม่ใช่แบงค์ชาติ

 

สิ่งที่พูดอีกเรื่องหนึ่ง คือการดื้อไม่ลดดอกเบี้ย แต่เรื่องนี้ไม่ใช่อำนาจของผู้ว่า แต่เป็นของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ผู้ว่าเป็นเพียงกรรมการคนหนึ่ง ถ้าจะปลดก็ต้องปลดกรรมการทั้งชุดเสียโน่น

 

สรุปแล้วผมเห็นยังไม่เห็นว่าการดำเนินการของผู้ว่าในเรื่องต่างๆ นั้น จะมีเรื่องใดที่จะเข้าลักษณะของกฎหมายที่จะปลดผู้ว่าโดยชอบธรรมได้เลยดูเพิ่มเติม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เขาว่ากราฟก็ยังคงเป็นขาลงอยู่น๊ะ มีเเนวรับ 1400 แนวต้าน 1500

กรอบนี้ 1484 มีเส้นกดอยู่ผ่านยาก

 

ที่ว่ามาผม "ละเมอครับ"

ถูกแก้ไข โดย GB2514

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

:: ในส่วนรหัส 7,5,2 เด็กขายของก็ยังเชื่ออยู่ว่า ราคาทองจะต้องมีย่อแรง ถึงแม้ตอนนี้จะ 1475 ประกอบกับบาทอ่อน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทเปิด 29.52/54 อ่อนค่าตามภูมิภาค จับตาเงินไหลเข้า-ออก

 

 

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 29.52/54 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจากเย็นวานนี้ที่ระดับ 29.42/44 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค และเมื่อเวลา 08.47 น.เงินบาทอยู่ที่ระดับ 29.54/57 บาท/ดอลลาร์

 

 

"เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าหลังไม่ผ่านแนวต้าน 29.50(บาท/ดอลลาร์)" นักบริหารเงิน กล่าว

 

 

นักบริหารเงิน กล่าวว่า ระยะนี้ไม่สามารถประเมินทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินบาทได้ ต้องดูปัจจัยเรื่องเงินทุนไหลเข้า-ออก

 

 

 

*ปัจจัยสำคัญ

 

- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ 29.4130 บาท/ดอลลาร์

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 98.04/06 เยน/ดอลลาร์ จากระดับ 97.23/26 เยน/ดอลลาร์

- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3071/3073 ดอลลาร์/ยูโร จากระดับ 1.3167/3169 ดอลลาร์/ยูโร

- ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) จะเข้ายื่นหนังสือข้อเสนอมาตรการแก้ปัญหาค่าเงินบาท 5 ข้อต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล ที่ได้จากการประชุมหารือร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมและสมาคมที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการแข็งค่าของค่าเงินบาทและการส่งออกเมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา

- นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ภาคเอกชนมองว่ามีผลกระทบต่อการส่งออกของไทยอย่างมาก โดยเฉพาะคำสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าจากต่างชาติลดลง เพราะผู้ประกอบการไทยไม่สามารถตั้งราคาขายได้ เนื่องจากค่าเงินบาทยังคงผันผวน

- สมาคมแลกเปลี่ยนทองคำและเงินของจีน รายงานราคาทองคำที่ตลาดฮ่องกงพุ่งขึ้น 118 ดอลลาร์ฮ่องกง เปิดที่ระดับ 13,650 ดอลลาร์ฮ่องกง/ตำลึง หรือเทียบเท่ากับ 1,476.56 ดอลลาร์สหรัฐ/ทรอยออนซ์ เพิ่มขึ้น 12.77 ดอลลาร์สหรัฐ

- นักวิเคราะห์คาดตลาดหุ้นไทยวันนี้พลิกมาบวกแรง และมีโอกาสทำนิวไฮอีกครั้งในรอบ 19 ปี จากตลาดหุ้นต่างประเทศปรับตัวขึ้นถ้วนหน้า หลังจาก ECB ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลง ตัวเลขแรงงานสหรัฐไม่ได้แย่อย่างที่คิด และมองว่าต่างชาติยังเข้ามาเก็งกำไรหุ้นไทยต่อเนื่อง ให้แนวต้านไว้ที่ 1,612 จุด แนวรับที่ 1,578 จุด

- ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนขานรับข้อมูลแรงงานที่สดใสของสหรัฐ โดยดัชนี MSCI Asia Pacific ไม่รวมญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเวลา 10.24 น.ตามเวลาซิดนีย์, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 8,157.51 จุด เพิ่มขึ้น 29.00 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,967.88 จุด เพิ่มขึ้น 10.67 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,398.88 จุด ลดลง 3.51 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,711.54 จุด ลดลง 1.92 จุด และดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 5,142.10 จุด เพิ่มขึ้น 12.10 จุด

- กระทรวงแรงงานสหรัฐ เผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 27 เม.ย. ปรับตัวลง 18,000 ราย สู่ระดับ 324,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 345,000 ราย สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มนายจ้างในสหรัฐยังคงมีการจ้างงานแม้ว่าเศรษฐกิจส่งสัญญาณการชะลอตัวก็ตาม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"ดอลลาร์/บาท ก็ค่อยๆขึ้นมาเรื่อยๆ(บาทอ่อนค่า) ช่วงนี้ปัจจัยหนุน ไม่ค่อยจะมี ตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศก็ไม่ค่อยดี แล้ว concern ในเรื่องของ มาตรการแบงก์ชาติ ก็ยังกดดันอยู่ เพราะแบงก์ชาติก็โดนกดดันหนักเหมือนกัน" ดีลเลอร์ กล่าว

 

 

เขา กล่าวว่า เงินบาทเช้านี้ยังคงถูกกดดันจากความกังวลว่า ธนาคาร แห่งประเทศไทย(ธปท.) และคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) อาจมีการ ปรับลดอกเบี้ยนโยบาย หรือออกมาตรการเสริมในการดูแลเงินบาท หลังรัฐบาลและ ภาคธุรกิจ ยังเรียกร้องให้ธปท.ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

 

 

ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจในต่างประเทศ ที่ออกมาในเชิงลบ ก็เป็นปัจจัย กดดันสินทรัพย์เสี่ยงเช่นกัน

ดีลเลอร์คาดว่า เงินบาทวันนี้จะมีแนวรับที่บริเวณ 29.60 และแนวต้าน ที่ 29.40

 

 

ตลาดซื้อขายดอลลาร์/เยน:ยูโรดีดตัวขึ้นเทียบดอลล์-จับตาข้อมูลจ้างงานสหรัฐ

 

 

ยูโรปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในการซื้อขายช่วงเช้านี้ที่ตลาดเอเชีย โดยทรงตัวหลังจากร่วงลงเมื่อวานนี้ ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ลดอัตราดอกเบี้ย และได้ระบุถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการดำเนินนโยบายเพิ่มเติม

 

 

อีซีบีลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.5% เมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมาย

 

 

ยูโรเผชิญกับแรงกดดัน หลังจากนายมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบีกล่าวว่า อีซีบีมีความพร้อมทางเทคนิคสำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ติดลบ และได้ระบุถึง ความเสี่ยงช่วงขาลงต่อเศรษฐกิจ

 

 

อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ติดลบจะหมายความว่า ธนาคารต่างๆจะต้องจ่าย เงินให้อีซีบีเพื่อเป็นค่ารักษาเงินฝากสกุลยูโร ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าวอาจจะ ทำ ให้เม็ดเงินไหลออกจากยูโรโซนไปยังสินทรรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า และจะส่ง เสริมให้ธนาคารปล่อยกู้ แทนที่จะฝากไว้กับอีซีบี ในช่วงเช้านี้ ยูโรปรับตัวขึ้น 0.1% มาที่ 1.3071 ดอลลาร์ โดย ทรงตัวหลังจากที่ร่วงลง 0.9% เมื่อวานนี้

 

 

เนื่องจากยูโรอ่อนค่าลง ดอลลาร์จึงพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับตะกร้าเงิน ดัชนีดอลลาร์อยู่ที่ 82.194 โดยทรงตัวเหนือระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนที่ 81.331 ที่เคยเข้าทดสอบเมื่อวันพุธ

 

 

นักลงทุนจะรอดูรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนเม.ย. ของสหรัฐ ขณะที่ผลสำรวจของรอยเตอร์คาดว่า การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 145,000 ตำแหน่งในเดือนที่แล้ว เพิ่มขึ้นจาก 88,00 ตำแหน่งในเดือน

มี.ค. และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ 7.6%

 

 

ถ้าข้อมูลจ้างงานเพิ่มสัญญาณภาวะชะลอตัวในเศรษฐกิจสหรัฐ นั่นอาจจะทำให้มีการคาดการณ์มากขึ้นว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะไม่ลดโครงการซื้อพันธบัตรในเร็วๆนี้ และการดำเนินการครั้งต่อไปอาจจะเป็นการเพิ่มวงเงินซื้อ ซึ่งข่าวลือดังกล่าวอาจจะถ่วงดอลลาร์

 

 

ดอลลาร์ทรงตัวที่ 98.01 เยน หลังจากพุ่งขึ้นราว 0.7% เมื่อวาน นี้ และดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ 96.99 เยนที่ทำไว้เมื่อ วันที่ 30 เม.ย.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำ by Hua Seng Heng Gold Futures (03/05/2556)

กรุงเทพฯ--3 พ.ค.--ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส

 

- ทองฟื้นรับข่าว ECB ลดดอกเบี้ยตามคาด

 

- SPDR ถือทองลดลง 6.02 ตัน

 

- ค่ำนี้ติดตามรายงานจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐ

 

- ราคาทองคำและโลหะเงินฟื้นตัวขึ้นในการซื้อขายช่วงเย็นวานนี้ หลังจากในระหว่างวันราคาเคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัว โดยเป็นการปรับตัวขึ้นตอบรับผลการประชุมของธนาคารกลางยุโรปซึ่งปรับลดดอกเบี้ยลงตามที่ตลาดประเมิน เงินบาทที่อ่อนค่าลงส่งผลให้ราคาในประเทศวานนี้ปรับตัวลงน้อยกว่าปกติ

 

- ธนาคารกลางยุโรปมีมติปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ระดับ 0.5% โดยให้เหตุผลว่าเป็นเพราะแรงกดดันจากตลาดแรงงานในยุโรปที่ยังอ่อนแอและมีแนวโน้มว่ายังไม่สามารถฟื้นตัวขึ้นได้ในช่วงสั้นๆ ประกอบกับเงินเฟ้อในปัจจุบันเคลื่อนไหวในระดับค่อนข้างต่ำ จึงสามารถลดดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เริ่มฟื้นตัว

 

- ราคาทองฟื้นตัวขึ้นแม้ว่าเงินดอลลาร์จะดีดตัวแข็งค่าขึ้นในการซื้อขายช่วงค่ำที่ผ่านมา โดยเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นตอบรับรายงานตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ซึ่งกลับมีจำนวนลดลงสวนทางกับที่ตลาดประเมิน อย่างไรก็ตามการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างานเดือนเมษายนของสหรัฐในคืนวันนี้ ยังเป็นประเด็นที่นักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ

 

- ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นในการซื้อขายวานนี้ แต่ยังไม่สามารถผ่านขึ้นไปเคลื่อน ไหวเหนือแนวต้านบริเวณ 1,480-1,490 ดอลลาร์ได้ จึงยังต้องระวังแรงขายที่อาจมีกลับออกมา และหากราคากลับลงไปเคลื่อนไหวต่ำกว่า 1,430-1,440 ดอลลาร์ ก็จะเป็นสัญญาณขายกดดันให้ราคาอ่อนตัวลงสู่แนวรับบริเวณ 1,400 ดอลลาร์ ต่อไป ตลาดการเงินของไทยจะปิดทำการในวันจันทร์ ส่วนการซื้อขายทองคำแท่งระบบออนไลน์ของฮั่วเซ่งเฮงยังเปิดซื้อขายตามปกติ

 

- การเคลื่อนไหวของราคาโลหะเงินยังมีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลง โดยมีแนวรับสำหรับเก็งกำไรระยะสั้นอยู่ที่บริเวณ 23.0-23.20 ดอลลาร์ หากไม่สามารถยืนเหนือแนวรับดังกล่าวได้ คาดว่าจะมีแรงขายกลับออกมามากจนราคาปรับตัวลงสู่แนวรับบริเวณบริเวณ 22.60 และ 22.0 ดอลลาร์ ต่อไป

 

โกลด์ฟิวเจอร์สเดือนมิ.ย.56

 

Close chg. Support Resistance

 

20,600 +180.00 20,500/20,300 20,650/20,700

 

ราคาทองคำฟื้นตัวขึ้นจากแนวรับบริเวณ 1,440-1,450 ดอลลาร์ แต่คาดว่าการฟื้นตัวคงยังมีปริมาณค่อนข้างจำกัด ประกอบกับตลาดอนุพันธ์ของไทยจะปิดทำการต่อเนื่องในวันจันทร์ หากถือครองสถานะซื้อจากแนวรับดังกล่าวควรปิดสถานะเพื่อลดความเสี่ยง หรือรอเปิดสถานะใหม่ช่วงที่ราคาปรับตัวลงเข้าใกล้แนวรับบริเวณ 1,440-1,450 ดอลลาร์ โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนฝั่งซื้อหรือกลับมาเปิดสถานะขายเก็งกำไรในช่วงที่ราคาไม่สามารถยืนเหนือแนวรับบริเวณ 1,430-1,435 ดอลลาร์

 

ซิลเวอร์ฟิวเจอร์สเดือนมิ.ย.56

 

Close chg. Support Resistance

 

704 -1.0 700/690/680 710/725/730

 

คาดว่าราคาโลหะเงินยังมีแนวโน้มอ่อนตัว หากราคาปรับตัวลงไปต่ำกว่าแนวรับบริเวณ 23.0-23.20 ดอลลาร์ หรือดีดตัวขึ้นเข้าใกล้แนวต้านบริเวณ 24.30-24.50 ดอลลาร์ สามารถเลือกเปิดสถานะขายเก็งกำไร โดยมีจุดปิดสถานะตัดขาดทุนอยู่ที่บริเวณ 24.60-24.70 ดอลลาร์

 

ที่มา : ThaiPR.ne (วันที่ 3 พฤษภาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน : บมจ.ไทยออยล์(03/05/2556)

น้ำมันดิบดีดกลับ หลัง ECB ลดดอกเบี้ย ตลาดแรงงานอเมริกันส่งสัญญาณบวก"

 

เวสต์เท็กซัสส่งมอบเดือน มิ.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 2.96 เหรียญฯ ปิดที่ 93.99 เหรียญฯ และเบรนท์ส่งมอบเดือน มิ.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 2.90 ปิดที่ 102.85 เหรียญฯ

 

+ ราคาน้ำมันดิบทะยานหลังจากธนาคารกลางยุโรป(ECB) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก 0.75 เปอร์เซ็นต์ ลงเหลือเพียง 0.50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนโยบายดังกล่าวสร้างแรงจูงใจให้นักลงทุนลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความ เสี่ยง เช่น ตลาดทุน และตลาดน้ำมันนอกจากนี้ธนาคารกลางยุโรปยังย้ำชัดถึงเจตนารมณ์เดิมที่จะสนับ สนุนทางการเงินต่อธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในยุโรป เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจยุโรปให้ผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตไปได้

 

+ ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ปรับลดลง 18,000 ตำแหน่ง มาอยู่ที่ 324,000 ตำแหน่ง แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2551ต่างกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 345,000 ตำแหน่ง ซึ่งการปรับลดลงดังกล่าวส่งสัญญาณบวกต่อตลาดแรงงานสหรัฐฯ นอกจากนี้นักวิเคราะห์ยังมองภาพตลาดแรงงานดีขึ้น โดยคาดการณ์ว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเมษายน จะเพิ่มขึ้น 88,000 ตำแหน่ง มาอยู่ที่ 140,000 ตำแหน่ง อีกทั้งยังคาดว่า อัตราการว่างงานจะอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี ที่ 7.6 เปอร์เซ็นต์

 

+ โรงกลั่น CVR ซึ่งมีกำลังการกลั่น 70,000 บาร์เรลต่อวัน ณ รัฐโอคลาโฮม่า ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ปิดซ่อมบำรุงกะทันหันเป็นเวลา 16 วัน เนื่องจากตรวจพบปัญหาที่หน่วยการกลั่นน้ำมันเบนซิน

 

- อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเศรษฐกิจยูโรโซนออกมาไม่ดีนัก ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน (Markrit)เดือนเมษายน ปรับลดลงมาอยู่ที่ 46.7 จาก 46.8ในเดือนก่อนหน้า อันเป็นผลจากดัชนีภาคการผลิตในประเทศสมาชิกยูโรโซนปรับลงลด โดยเฉพาะเยอรมนี และฝรั่งเศส โดยดัชนีภาคการผลิตต่ำว่า 50 แสดงถึงภาวะหดหัว

 

- นอกจากนี้ดัชนีภาคการผลิตจีน (HSBC) เดือนเมษายน ยังปรับลดลงมาอยู่ที่ 50.4 จาก 51.6 ในเดือนก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากยอดส่งออกที่ปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบปี

 

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังที่สิงค์โปร์ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุด ในรอบ 15 เดือน นอกจากนี้จีนและอินเดียมีการส่งออกน้ำมันเบนซินมากขึ้นอีกด้วย

 

ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบเล็กน้อย เนื่องจากปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังที่สิงค์โปร์ปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับความต้องต้องการใช้น้ำมันดีเซลในภูมิภาค โดยเฉพาะ เวียดนาม มาเลเซีย และออสเตรเลียยังเบาบาง

 

ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง

กรอบการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบสัปดาห์หน้า คาดว่าเบรนท์จะอยู่ที่กรอบ 97 - 105 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนเวสต์เท็กซัสที่ 87 -95 เหรียญ คืนนี้ติดตามยอดคำสั่งซื้อของโรงงานและสินค้าคงทน ดัชนีภาคบริการ การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานสหรัฐฯ ดัชนีภาคบริการจีน

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ได้แก่

วันศุกร์: ยอดคำสั่งซื้อของโรงงานและสินค้าคงทน ดัชนีภาคบริการ การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานสหรัฐฯ ดัชนีภาคบริการจีน

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์หน้าได้แก่

วันจันทร์: ดัชนีภาคการผลิตและบริการ ยอดขายปลีก ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนยูโรโซน ดัชนีภาคบริการจีนโดย HSBC

วันอังคาร: ยอดคำสั่งซื้อของโรงงานเยอรมนี การผลิตภาคอุตสาหกรรมฝรั่งเศส

วันพุธ: การผลิตภาคอุตสาหกรรมเยอรมนี ดุลการค้าจีน

วันพฤหัส: ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน ยอดขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ รายงานภาวะเศรษฐกิจของธนาคารกลางยุโรป การผลิตภาคอุตสาหกรรมและประกาศอัตราดอกเบี้ยนโยบายอังกฤษ

วันศุกร์: การประชุมกลุ่มประเทศ G7 การผลิตอุตสาหกรรมอิตาลี

 

- ติดตามการประชุมกลุ่มประเทศ G7 ในวันที่ 10 พ.ค. ว่าจะมีมุมมองต่อทิศทางเศรษฐกิจโลกและการดำเนินนโยบาทางเศรษฐกิจอย่างไร หลังตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ จีนและยุโรปเริ่มชะลอตัวลงจากช่วงต้นปี

- จับตานโยบายการบริหารประเทศ โดยเฉพาะนโยบายด้านเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอิตาลี ซึ่งไม่สนับสนุนนโยบายรัดเข็มขัดและต้องการที่จะเพิ่มมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจอื่นเพื่อเพิ่มการจ้างงานและรายได้ของคนในประเทศ

 

- ติดตามท่าทีของสหรัฐฯจากการใช้อาวุธเคมีในซีเรีย ว่าจะมีการใช้การแทรกแซงทางการทหารหรือไม่ อย่างไรก็ตามล่าสุดกลุ่มติดอาวุธฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอนได้ออกมาสนับสนุน รัฐบาลซีเรียในการปราบปรามกลุ่มผู้ต่อต้าน

 

- ติดตามความรุนแรงในอิรักที่ยังมีเหตุปะทะระหว่างกองกำลังของรัฐกับผู้ ประท้วงชาวสุหนี่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการสู้รบระหว่างกลุ่มหัวรุนแรงในไนจีเรียกับกองกำลังของรัฐบาล

 

- ติดตามการเจรจาเรื่องโครงการนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับทบวงการพลังงาน ปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA)ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 15 พ.ค. ณ นครเวียนนา ประเทศออสเตรีย

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 3 พค.56)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดทองเอเชีย:ทองขยับขึ้นเล็กน้อยเช้านี้ (03/05/2556)

ราคาทองขยับขึ้นเล็กน้อยในวันนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อ สินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง หลังจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่สถิติต่ำสุดที่ 0.50% เมื่อวานนี้ และหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศว่า เฟดจะยังคงเข้าซื้อ ตราสารหนี้ต่อไปเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยราคาทองมี แนวโน้มปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน

 

 

ราคาทองสปอตอยู่ที่ระดับ 1,472.36 ดอลลาร์/ออนซ์ ณ เวลา 08.51 น.ตามเวลาไทย โดยขยับขึ้น 50 เซนต์จากระดับปิดวานนี้

 

 

ส่วนราคาสัญญาทองส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดนิวยอร์คอยู่ที่ 1,471.90 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 4.10 ดอลลาร์จากระดับปิดวานนี้

 

 

 

นักลงทุนรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนเม.ย.ที่ รัฐบาลสหรัฐจะรายงานออกมาในช่วงต่อไปในวันนี้ เนื่องจากรายงานดังกล่าว จะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของเฟดจะมีแนวโน้มเป็น เช่นใดในระยะยาว

 

 

การปรับขึ้นของราคาทองจะยังคงถูกจำกัดไว้ด้วยกระแสเงินลงทุนที่ไหล ออกจากกองทุน ETF ในแต่ละวัน โดยกองทุน SPDR Gold Trust ซึ่ง เป็นกองทุน ETF ทองที่ใหญ่ที่สุดในโลกระบุว่า ปริมาณการถือครองทองของ กองทุนแห่งนี้ร่วงลง 0.56% สู่ 1,069.22 ตันในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็น จุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2009

 

ที่มา : ทันหุ้น(วันที่ 3 พค.56)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ยูโรร่วงเทียบดอลล์ หลังอีซีบีประกาศลดดอกเบี้ย (03/05/2556)

สกุลเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (2 พ.ค.) หลังจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) มีมติลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมเมื่อวานนี้ ขณะที่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ รวมถึงจำนวนคนว่างงานรายสัปดาห์ที่ลดลงอย่างเหนือความคาดหมาย

 

ค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับ 1.3057 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 1.3211 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ร่วงลงแตะระดับ 1.5532 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5589 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลงแตะระดับ 1.0257 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0292 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 97.96 เยน จากระดับ 97.40 เยน และขยับขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9352 ฟรังค์ จากระดับ 0.9258 ฟรังค์

 

สกุลเงินยูโรร่วงลงหลังจากอีซีบีมีมติลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 0.50% ในการประชุมวันนี้ ซึ่งสอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยนายมาริโอ ดรากิ ประธานอีซีบีแถลงต่อผู้สื่อข่าวภายหลังการประชุมว่า การที่อีซีบีตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในวันนี้เนื่องจากอีซีบีเล็งเห็นว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ต่ำ เมื่อพิจารณาจากปัจจัยในระยะกลาง

 

ในระหว่างการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวานนี้ นายดรากิกล่าวว่า การคาดการณ์เงินเฟ้อสำหรับยูโรโซนยังคงสอดคล้องเป้าหมายในการรักษาเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ แต่คาดว่าในระยะกลางนี้ เงินเฟ้อจะเคลื่อนไหวใกล้ระดับ 2% ส่วนภาวะเศรษฐกิจโดยทั่วไปนั้น นายดรากิกล่าวว่า ตลาดแรงงานในยูโรโซนยังคงอ่อนแอ และคาดว่าภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจจะยังคงยืดเยื้อไปจนถึงช่วงฤดูใบไม้ผลิปีนี้ อย่างไรก็ตาม นายดรากิกล่าวว่า ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในยูโรโซนนั้น ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง

 

ส่วนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 27 เม.ย. ปรับตัวลง 18,000 ราย สู่ระดับ 324,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 345,000 ราย สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มนายจ้างในสหรัฐยังคงมีการจ้างงานแม้ว่าเศรษฐกิจส่งสัญญาณการชะลอตัวก็ตาม

 

ขณะที่ยอดขาดดุลการค้าเดือนมี.ค.ของสหรัฐ ร่วงลง 11% สู่ระดับ 3.883 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากยอดการนำเข้าลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2551 และลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะปรับลงมาอยู่ที่ระดับ 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 3 พฤษภาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ (03/05/2556)

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (2 พ.ค.) ขานรับธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ที่ตัดสินใจประกาศลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อวานนี้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากรายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาดของบริษัทหลายแห่ง รวมถึงรอยัล ดัทช์ เชลล์

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 เพิ่มขึ้น 0.3% ปิดที่ 297.88 จุด

 

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 7,961.71 จุด เพิ่มขึ้น 48.00 จุด หรือ 0.61% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3,858.76 จุด เพิ่มขึ้น 2.01 จุด เพิ่มขึ้น 0.05% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,460.71 จุด เพิ่มขึ้น 9.42 จุด เพิ่มขึ้น 0.15%

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (2 พ.ค.) ขณะที่ดัชนี S&P 500 ทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากนักลงทุนขานรับธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งประกาศลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อวานนี้ และจำนวนคนว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐลดลงอย่างเหนือความคาดหมาย

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์พุ่งขึ้น 130.63 จุด หรือ 0.89% ปิดที่ 14,831.58 จุด ดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 41.49 จุด หรือ 1.26% ปิดที่ 3,340.62 จุด และดัชนี 14.89 จุด หรือ 0.94% ปิดที่ 1,597.59 จุด

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (2 พ.ค.) เพราะได้แรงหนุนจากรายงานที่ว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐลดลงอย่างเหนือความคาดหมาย ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดหวังว่าการฟื้นตัวของตลาดแรงงานจะช่วยหนุนความต้องการพลังงานให้แข็งแกร่งขึ้นด้วย นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยบวกจากข่าวธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อวานนี้

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.พุ่งขึ้น 2.96 ดอลลาร์ หรือ 3.25% ปิดที่ 93.99 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดลอนดอน พุ่งขึ้น 2.9 ดอลลาร์ หรือ 2.9% ปิดที่ 102.85 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (2 พ.ค.) ขานรับข่าวธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันนี้ และยังได้แรงหนุนจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตัดสินใจเดินหน้ามาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ไปจนกว่าตลาดแรงงานจะฟื้นตัวอย่างยั่งยืน

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.พุ่งขึ้น 21.4 ดอลลาร์ หรือ 1.48% ปิดที่ 1,467.6 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค.ปิดที่ 23.830 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 48.70 เซนต์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 2.45 เซนต์ ปิดที่ 3.1045 ดอลลาร์/ปอนด์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ปิด 1,500.20 ดอลลาร์/ออนซ์ พุ่งขึ้น 30.70 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดที่ 693.30 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 8.55 ดอลลาร์

 

--ราคาทองคำตลาดลอนดอนปิดวันทำการล่าสุด (2 พ.ค.) ที่ 1,469.25 ดอลล์/ออนซ์

 

-- สกุลเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (2 พ.ค.) หลังจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) มีมติลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมเมื่อวานนี้ ขณะที่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ รวมถึงจำนวนคนว่างงานรายสัปดาห์ที่ลดลงอย่างเหนือความคาดหมาย

 

ค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับ 1.3057 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพุธที่ 1.3211 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ร่วงลงแตะระดับ 1.5532 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5589 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลงแตะระดับ 1.0257 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0292 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 97.96 เยน จากระดับ 97.40 เยน และขยับขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9352 ฟรังค์ จากระดับ 0.9258 ฟรังค์

 

-- ดัชนี FTSE 100 ที่ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (2 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนขานรับธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งประกาศลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อวานนี้

 

ดัชนี FTSE 100 ปิดเพิ่มขึ้น 9.42 จุด หรือ 0.15% ที่ 6,460.71 จุด

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 3 พฤษภาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อีซีบี หมดท่า ลดดอกเบี้ย ก็ไม่ช่วยอะไร (03/05/2556)

เป็นไปตามความคาดหมายเมื่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคาร กลางยุโรป (อีซีบี) ได้ตัดสินใจตัดลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ลงมาเหลืออยู่ที่ 0.50% จากเดิม 0.75% โดยสาเหตุที่ทำให้อีซีบีต้องยอมตัดลดดอกเบี้ยลงในครั้งนี้ ก็เนื่องจากว่าสถานการณ์วิกฤตหนี้ยูโรโซนได้วกกลับมาอยู่ในจุดที่ย่ำแย่อีก ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 12.1% ในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา หรือมีคนที่ไม่มีงานทำมากถึง 19.2 ล้านคน ขณะที่ดัชนีภาคการผลิตและบริการก็ย่ำแย่ต่อเนื่อง

 

นอกจากนี้ ก็ยังมีความเสี่ยงอีกว่าสโลวีเนียอาจจะต้องกลายเป็นประเทศที่ 6 ของยูโรโซนต่อจากกรีซ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ สเปน และไซปรัส ที่ต้องแบมือขอรับเงินช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เนื่องจากเมื่อเร็วๆ นี้ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ได้ออกมาประกาศหั่นอันดับเครดิตของประเทศสโลวีเนียลง 2 ขั้น จาก Ba1 ลงมาอยู่ที่ Baa2 หรือระดับจังก์ พร้อมให้แนวโน้มเป็นลบ โดยให้เหตุว่าเกิดจากปัญหาหนี้สินในภาคการเงินธนาคาร รวมถึงความน่าเชื่อถืองบดุลของประเทศดังกล่าว

 

อย่างไรก็ตาม การตัดลดอัตราดอกเบี้ยของอีซีบีดังกล่าวดูเหมือนว่าจะไม่สามารถนำพายูโรโซน ฟื้นจากวิกฤตได้ โดยสิ่งที่พิสูจน์ไดอย่างดีก็คือการใช้มาตรการตรึงอัตราดอกเบี้ยต่ำที่ 0.75% ของอีซีบี ในตลอดระยะเวลามากกว่า 8 เดือนที่ผ่านมานั้น ไม่สามารถเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตหนี้ที่ผ่านมาได้อย่างเป็นรูปธรรมเลย

 

เพราะว่าประโยชน์ที่เกิดจากการตัดลดดอกเบี้ย เพื่อทำให้ต้นทุนการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ต้นทุนต่ำนั้น ไม่ได้ถูกส่งไปถึงมือของภาคเศรษฐกิจจริงอย่างภาคการผลิต การบริการ และการจ้างงานเลย โดยเฉพาะภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในยูโรโซนช่วงหลายเดือนหลังที่ผ่านมานั้น แทบจะไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ จากการตรึงอัตราดอกเบี้ยต่ำเลย แต่ในทางกลับกันเงินจำนวนมากกลับไหลเข้าไปอยู่ในภาคสินทรัพย์ การเก็งกำไรในตลาดทุนมากกว่า

 

ความล้มเหลวของการใช้มาตรการกระตุ้นของอีซีบีที่ผ่านมา สามารถยืนยันได้จากผลสำรวจปริมาณการปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจรายย่อยในยูโรโซน ที่ปรับตัวลดลง 0.8% ในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ผลสำรวจเอสเอ็มอี 7,510 แห่ง พบว่าส่วนใหญ่มองว่าปริมาณเงินกู้ในระบบนั้นลดลงเช่นเดียวกัน ขณะที่ภาคการผลิตและการบริการของยูโรโซนก็ยังย่ำแย่ต่อเนื่อง

 

นอกจากนี้ ภาคการจ้างงาน การผลิต และการบริการ ซึ่งล้วนเป็นตัวบ่งชี้ถึงทิศทางของสภาวะเศรษฐกิจจริงก็ยังย่ำแย่อย่างต่อ เนื่อง โดยดัชนีการผลิตที่จัดทำโดยบริษัท มาร์กิต ระบุในเดือน เม.ย.ว่า ทั่วทั้งยูโรโซนมีการหดตัวลงไปอยู่ที่ 46.7 จุด จากเดิมเดือน มี.ค. ซึ่งอยู่ที่ 46.8 จุด ขณะที่ยอดคนว่างงานของยูโรโซนก็พุ่งขึ้นทำสถิติต่อเนื่องไปที่ 12.1%

 

จึงสรุป ณ ที่นี้ได้สั้นๆ ว่าบทเรียนจากการใช้มาตรการอัดฉีดของอีซีบีในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถช่วยฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจจริง และเปิดทางให้ธุรกิจรายย่อยในยุโรป และภาคครัวเรือนได้เข้ามารับประโยชน์ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเหมือนอย่าง ที่อีซีบีต้องการ

 

ดังนั้น ไม่ว่าจะมีการตัดลดดอกลงอีก 0.25% หรือไม่ ผลที่ออกมาก็จะเหมือนเดิม และก็คงจะไม่ช่วยทำให้สภาวะเศรษฐกิจของยูโรโซนดีขึ้นกว่าเดิมด้วย เพราะถึงแม้จะมีการตัดลดดอกลงมาอยู่ที่ 0.50% จริง แต่ก็เป็นเพียงการให้ยาที่เบากว่าอาการป่วยทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของยูโรโซน

 

สิ่งที่กล่าวมาในข้างต้นสอดรับกับความเห็นของ จอร์จ แอสมูสเซน ผู้บริหารระดับสูงของอีซีบี ที่ออกมากล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยระลอกใหม่ของอีซีบี อาจไม่ได้ช่วยประเทศในกลุ่มยูโรโซนซึ่งกำลังเผชิญกับภาวะถดถอยได้มากนัก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากอยู่แล้วในปัจจุบัน อาจไปไม่ถึงกลุ่มธุรกิจและผู้บริโภคในประเทศที่ประสบปัญหาได้เท่าที่ควร

 

“นโยบายการเงินไม่ใช่ยาวิเศษที่รักษาได้ทุกโรคทางเศรษฐกิจ” แอสมูสเซน กล่าว

 

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่แปลกที่เหล่านักวิเคราะห์และกูรูผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจจำนวนไม่น้อยจึง พากันออกมาชี้แนะให้อีซีบีกล้าที่จะเดินหน้าใช้ยาแรง ด้วยการจัดชุดยาแรงออกมาใช้โดยด่วน อย่างเช่นมาตรการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำระยะยาว 3 ปี (แอลทีอาร์โอ) ที่เคยออกมาใช้แล้ว 2 ครั้ง เมื่อ 2 ปีที่แล้ว จนมีส่วนสำคัญที่ทำให้การไหลเวียนของภาคการเงินของยุโรปเริ่มดีขึ้นอย่าง เห็นผลได้ชัด หรือไม่เช่นนั้นก็จัดมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ (คิวอี) เหมือนอย่างเช่นที่สหรัฐและญี่ปุ่นกำลังใช้อยู่ในขณะนี้

 

“การตัดลดดอกเบี้ยลง 0.25% เป็นสิ่งที่ล่าช้าเกินไปและน้อยเกินไป และก็ไม่ได้ช่วยให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซนดีขึ้นเลย ดังนั้นในตอนนี้อีซีบีจึงต้องกล้าที่จะเดินหน้าใช้มาตรการอัดฉีดแรงๆ อย่างโครงการแอลทีอาร์โอ หรือไม่ก็คิวอีออกมา ซึ่งจะมีส่วนสำคัญต่อการทำให้สถานการณ์กลับมาดีขึ้น” ไมเคิล กัลลาเกอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยไอเดียโกลบอล กล่าว

 

ถึงกระนั้นก็ตาม แม้ว่าการใช้มาตรการกระตุ้นของอีซีบีจะถูกโจมตีและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ อย่างหนักถึงประสิทธิภาพที่มีต่อเศรษฐกิจ แต่ก็ใช่ว่าอีซีบีจะไม่มีการปรับตัวและรับข้อบกพร่องมาปรับปรุงแก้ไขเลย ดังเห็นได้จากเมื่อเดือนที่แล้วที่คณะบอร์ดบริหารอีซีบีได้ตั้งคณะทำงานขึ้น มาเป็นการเฉพาะ เพื่อทำการศึกษาแนวทางในการทำให้มาตรการกระตุ้นสินเชื่อต่างๆ ได้ลงไปถึงมือภาคธุรกิจรายย่อยมากขึ้น

 

ขณะที่หลายประเทศในยูโรโซนก็ออกมาขานรับแนวทางดังกล่าวด้วยเช่นกัน โดยเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เยอรมนี และสเปน ประกาศว่าจะร่วมมือกันในการสนับสนุนการลงทุนของภาคธุรกิจเอสเอ็มอีให้เพิ่ม มากขึ้น เพื่อช่วยสร้างงานพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสเปนให้ฟื้นตัว และหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้โดยเร็ว

 

ทั้งนี้ ภาคธุรกิจเอสเอ็มอีถือเป็นกระดูกสันหลังสำคัญทางเศรษฐกิจของหลายประเทศในยู โรโซน โดยเฉพาะในสเปนและอิตาลีนั้น เอสเอ็มอีถือเป็นตัวสร้างการจ้างงานมากกว่าครึ่งหนึ่งของการจ้างงานทั่วทั้ง ประเทศ

 

ฉะนั้น จึงเป็นที่น่าจับตามองว่า หลังจากนี้อีซีบีจะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และแนวทางในการกอบกู้วิกฤตหนี้อย่างไร ในอนาคตเพิ่มเติมอีก เพราะการตัดลดดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียวนั้น ดูเหมือนว่าเริ่มจะไม่ใช่คำตอบที่เพียงพอสำหรับปัญหาในปัจจุบันเสียแล้ว

 

ที่มา : โพสต์ทูเดย์(วันที่ 3 พค.56)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...