ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

1 กรกฎาคม 2556 07:45

กูรูฟันธงทองไม่สิ้นเสน่ห์ เฟเบอร์จ้องซื้อ

news_img_514414_1.jpg

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

"มาร์ค เฟเบอร์"ไม่ห่วงราคาทองลงต่อ แม้ปรับลงมากกว่าที่เขาคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ย้ำราคาลงยิ่งเป็นโอกาสทยอยซื้อเก็บตุนทองไว้ในพอร์ต

 

ราคาทองคำเมื่อวันศุกร์ (28 มิ.ย.)ที่ผ่านมา แตะต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี โดยราคาทองคำตลาดซื้อขายทันทีที่สิงคโปร์เคลื่อนไหวอยู่ที่ 1,180.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงเช้า ก่อนไต่ขึ้นมาอยู่ที่ 1,203.75 จุด

 

ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์จากสถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นมอร์แกน สแตนเลย์, เครดิตสวิส กรุ๊ป เอจีและโกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป อิงค์. พากันปรับลดคาดการณ์ราคาทองคำ จากความวิตกถึงแนวโน้มที่สหรัฐเตรียมจะลดการใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณ (คิวอี) ภายในปีนี้

 

อเล็กซานดรา ไนท์ นักเศรษฐศาสตร์เนชั่นแนล ออสเตรเลีย แบงก์ มองว่าตัวเลขดีเชิงบวกมากมายออกมาจากสหรัฐ และผู้คนยังเพ่งเล็งไปที่สหรัฐเริ่มส่งสัญญาณว่าจะปรับลดการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้นราคาทองคำจึงได้รับผลกระทบอย่างหนัก มีการสูญเสียความเชื่อมั่นในทองคำอย่างมาก แต่ยังมีกลุ่มคนที่ยังสนใจในทองคำ เพราะราคาทองคำร่วงลงมากแล้ว แต่กลุ่มคนเหล่านี้จะยังรอให้ราคาลงอย่างมีเสถียรภาพก่อนเข้าไปซื้อ

 

หาจังหวะทองลงเข้าซื้อ

 

ทั้งนี้ มาร์ค เฟเบอร์ กรรมการผู้จัดการบริษัทมาร์ค ฟาเบอร์ จำกัด เจ้าของวารสาร "อึมครึม เฟื่องฟูและหายนะ" ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้คนที่ยังสนใจในทองคำ แม้ราคาทองคำจะร่วงลงอย่างมากกว่า 26%แล้วนับจากต้นปีนี้ โดยเขากล่าวผ่านสื่อต่างประเทศว่า ไม่ว่าราคาทองคำจะลงไปอยู่ที่ระดับ 1,200 ดอลลาร์ หรือ 1,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่เขาไม่กังวลหรือกลัวแต่อย่างใด พร้อมกับคอยหาจังหวะที่ราคาทองคำลง เข้าไปซื้อทองคำเก็บไว้อย่างต่อเนื่อง

 

โดยต้นปีนี้ เฟเบอร์เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มราคาทองคำในปี 2556 ว่า ราคาทองคำอาจปรับตัวลดลง และไม่คิดว่าราคาช่วงปีนี้จะปรับขึ้น แต่กระนั้นก็ตามเขายังคงทยอยซื้อและถือครองทองคำไว้

 

"เราอาจได้เห็นราคาทองปรับตัวลง 10% หรืออยู่ในช่วงขาลง เพราะผมเห็นว่ารัฐบาลของหลายประเทศจะยังพิมพ์เงินออกมาอีก สำหรับผมแล้วยังต้องการถือทองคำไว้เหมือนเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิต" เฟเบอร์ ให้สัมภาษณ์ซีเอ็นบีซี

 

ทั้งนี้เฟเบอร์ให้ความเห็นไว้ในวารสารวิจารณ์แนวโน้มตลาดโภคภัณฑ์ ประจำเดือนม.ค.ปีนี้ เป็นการคาดการณ์ราคาทองคำไว้ว่า อาจปรับลดลงอยู่ระหว่าง 1,550-1,600 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และยอมรับว่าเขาตั้งใจจะเพิ่มสถานการณ์ถือครองทองคำ ไม่ว่าทองคำปรับตัวลงต่อเนื่องก็ตาม และแม้ว่าเขารู้สึกกังวลกรณีดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น อาจสร้างความปั่นป่วนให้กับราคาทองคำที่ปรับตัวขึ้นอย่างคึกคัก

 

ราคาทองคำส่งมอบทันทีในตลาดสิงคโปร์เมื่อวันศุกร์ (28 มิ.ย) ปีนี้ ซื้อขายกันอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 34 เดือน และช่วงเช้าวันศุกร์ราคาไหลลงต่ำกว่า 1,200 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และหากย้อนดูช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ราคาทองคำปรับลดลงกว่า 10% แล้ว เทียบกับระดับสูงสุดเคยทำได้ในเดือนก.ย.ปี 2554 ภายใต้สัญญาณบ่งบอกว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงมีอยู่ให้เห็น และวิกฤติหนี้รัฐยุโรปลดลง

 

นอกจากนี้ เฟเบอร์ซึ่งทำนายวิกฤติการเงินเอเชียปี 2540 ได้อย่างแม่นยำ คาดการณ์ด้วยว่า จากนี้ไปธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) จะยังคงใช้นโยบายผ่านคลายการเงิน (คิวอี) อย่างต่อเนื่อง เพราะเศรษฐกิจสหรัฐแท้จริงแล้วยังไม่ดีขึ้นอย่างที่หลายฝ่ายวิเคราะห์ ทำให้เฟดยังต้องอัดฉีดเงินเข้าระบบอีกถึง 99 ครั้ง หรือหมายความว่าเฟดต้องอัดฉีดเงินเข้าระบบแบบไม่อั้น

 

http://www.bangkokbiznews.com/

ถูกแก้ไข โดย Namchiang

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (28 มิ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากแรงขายทำกำไร

 

ดัชนี Stoxx 600 ลดลง 0.5% ปิดที่ 285.02 จุด

 

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3,738.91 จุด ลดลง 23.28 จุด หรือ -0.62% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 7,959.22 จุด ลดลง 31.53 จุด หรือ -0.39% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,215.47 จุด ลดลง 27.93 จุด หรือ -0.45%

 

-- -ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อวันศุกร์ (28 มิ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ซึ่งทำให้นักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ต่อไปหรือไม่ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากเจ้าหน้าที่ของเฟดได้ออกมาแสดงท่าทีสนับสนุนการปรับลดขนาด QE

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลงปิดวันทำการล่าสุดที่ 14,909.60 จุด ร่วงลง 114.89 จุด หรือ -0.76% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,606.28 จุด ลดลง 6.92 จุด หรือ -0.43% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 3,403.25 จุด เพิ่มขึ้น 1.38 จุด หรือ +0.04%

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อวันศุกร์ (28 มิ.ย.) หลังจากเจ้าหน้าที่ของเฟดได้ออกมาแสดงท่าทีสนับสนุนการปรับลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐ

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค.ลดลง 49 เซนต์ ปิดที่ 96.56 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนส.ค.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 66 เซนต์ ปิดที่ 102.16 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อวันศุกร์ (28 มิ.ย.) เนื่งอจากนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญาทองคำดิ่งลงไปแตะระดับต่ำสุดในรอบ 34 เดือน

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.พุ่งขึ้น 12.1 ดอลลาร์ หรือ 1.0% ปิดที่ 1,223.7 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 91.7 เซนต์ ปิดที่ 19.470 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 0.2 เซนต์ ปิดที่ 3.0575 ดอลลาร์/ปอนด์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ปิดที่ 1336.90 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 11.70 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 660.70 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 10.00 ดอลลาร์

 

--ราคาทองคำตลาดลอนดอนปิดวันทำการล่าสุด (28 มิ.ย.) ที่ 1,192.00 ดอลล์/ออนซ์

 

-- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (28 มิ.ย.) หลังจากเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางสหัฐ (เฟด) ได้ออกมาแสดงท่าทีสนับสนุนการปรับลดขนาดการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 99.18 เยน จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 98.39 เยน แต่ขยับลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 0.9438 ฟรังค์ จากระดับ 0.9447 ฟรังค์

 

ค่าเงินยูโรร่วงลงแตะระดับ 1.3018 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3048 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์ร่วงลงแตะระดับ 1.5212 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5261 ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลงแตะระดับ 0.9157 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9278 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ดัชนี FTSE ตลาดหุ้นลอดอนปิดลบเมื่อวันศุกร์ (28 มิ.ย.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ รวมถึงดัชนีภาคการผลิตในเขตชิคาโก

 

ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 6,215.47 จุด ลดลง 27.93 จุด หรือ -0.45%

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควทส์ (วันที่ 1 กรกฎาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารโลกเตือน โลกเสี่ยงเกิดเหตุประชาชนลุกฮือ เรียกร้องรัฐแก้ปัญหาปากท้อง แนะเร่งวางแผนยั่งยืน

 

จิมยองคิม ผู้ว่าการธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ออกโรงเตือนว่า ทุกประเทศทั่วโลกเสี่ยงเผชิญกับเหตุประชาชนลุกฮือเพื่อเรียกร้องให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคมและขจัดความยากจน ดังกรณีเหตุประท้วงในบราซิลและตุรกี ที่ประชาชนหลายแสนคนรวมตัวกดดันรัฐบาลเร่งแก้ปัญหาปากท้องและคอร์รัปชั่น เนื่องจากแต่ละประเทศยังล้มเหลวในการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืน

 

“ไม่มีประเทศใดในโลกที่มีภูมิคุ้มกันการเกิดเหตุมวลชนลุกฮือเพื่อเรียกร้องให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม แม้ประเทศนั้นๆ ได้วางมาตรการช่วยเหลือบ้างแล้วก็ตาม”ผู้ว่าการเวิลด์แบงก์ให้สัมภาษณ์พิเศษต่อเอเอฟพี

 

ผู้ว่าการเวิลด์แบงก์ ยกตัวอย่างกรณีของเหตุประท้วงในบราซิล ที่แม้ว่ารัฐบาลวางมาตรการให้ความช่วยเหลือต่อกลุ่ม|คนจนอย่างต่อเนื่อง ทว่าปัญหาความไม่เท่าเทียมกันยังคงมีให้เห็นในสังคม พร้อมแนะว่า ทางออกเดียวคือรัฐบาลต้องเร่งวางมาตรฐานกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่กับกระจายความเจริญแก่ทุกภาคส่วนของสังคมอย่างเท่าเทียม

 

กระนั้น จิมยองคิม เชื่อว่า ชาติตลาดเกิดใหม่เหล่านี้ยังเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกที่สำคัญแม้ต้องเผชิญกับเหตุความไม่สงบ เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วอย่างยุโรปยังคงถดถอย

 

นอกเหนือจากประเด็นด้านสังคม จิมยองคิม ยังออกโรงเรียกร้องให้ทุกประเทศเร่งออกมาตรการแก้ปัญหาและลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อนอย่างจริงจัง

 

"ผู้นำแต่ละชาติ ควรร่วมมือกันหาแนวทางการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ด้วยการหันมาใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น"

 

สำหรับประเด็นการมีส่วนร่วมมากขึ้นของตลาดเกิดใหม่ในการบริหารธนาคารโลก ซึ่งปัจจุบันผูกขาดอยู่กับสหรัฐและยุโรปนั้น จิมยองคิม ระบุว่า ยังต้องถกเถียงกันถึงการปฏิรูปการบริหาร ทว่ามองว่าในปัจจุบันเสียงของชาติตลาดเกิดใหม่ เริ่มมีอิทธิพลต่อองค์กรมากขึ้นตามลำดับ

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ (วันที่ 1 กรกฎาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เหลียวหลังแลหน้า พัฒนาการระบบเศรษฐกิจ และสถาบันการเงินไทย หลังวิกฤตการเงินครบรอบ 16 ปี

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยว่า ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2556 นี้ ถือเป็นวันครบรอบ 16 ปี ที่ทางการไทยตัดสินใจประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540 โดยการตัดสินใจครั้งดังกล่าวนั้นถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของเศรษฐกิจไทย อันนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจและการเงินไทยในระยะถัดมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงขอใช้โอกาสนี้ในการมองย้อนกลับไปที่วิกฤตเศรษฐกิจไทยปี 2540 พร้อมสรุปการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยในช่วง 16 ปีที่ผ่านมา เพื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

บทเรียนจากวิกฤตการณ์ปี 2540 ... นำมาสู่โครงสร้างเศรษฐกิจและระบบการเงินไทยที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่นมากขึ้น

 

ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 นั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไทยมีจุดอ่อนสำคัญ 3 ประการที่เกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียงและเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน อันเป็นองค์ประกอบสำคัญที่นำมาสู่วิกฤตการณ์ค่าเงินและวิกฤตการณ์สถาบันการเงินปี 2540 ประกอบด้วย

 

- การเก็งกำไรอย่างกว้างขวางในตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้น ท่ามกลางสภาพคล่องจากกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างประเทศที่ไหลเข้าสู่ระบบการเงินไทยอย่างรวดเร็ว เพื่อหาผลตอบแทนจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยกับต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ต่างประเทศระยะสั้น

 

- การดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้าเงินที่ไม่มีความยืดหยุ่นเพียงพอ ซึ่งทำให้ค่าของเงินบาทไม่สอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศ ซึ่งเผชิญปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงอย่างเรื้อรัง จนนำมาสู่การโจมตีค่าเงินบาทจากนักเก็งกำไร และทำให้ทางการต้องประกาศเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัวภายใต้การจัดการ ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540

 

- ระบบการเงินไทยยังคงเปราะบาง โดยขาดการบริหารความเสี่ยง การตรวจสอบและการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินกิจการวิเทศธนกิจ (BIBFs) ของสถาบันการเงินที่ทำให้เกิดความเสี่ยงทั้งจากการกู้ยืมเงินทุนระยะสั้นมาปล่อยกู้ระยะยาว และความเสี่ยงจากการปล่อยกู้สกุลเงินที่แตกต่างกัน (Maturity and Currency Mismatch) ซึ่งเมื่อผนวกกับการขาดการกำกับดูแลที่ดีเพื่อป้องกันพฤติกรรมการปล่อยกู้ที่เสี่ยงของสถาบันการเงิน ทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียที่ทวีความรุนแรงขึ้น จนกระทบความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงิน และนำมาสู่ปัญหาวิกฤตการณ์สถาบันการเงินในที่สุด

 

ทั้งนี้ ในช่วง 16 ปีที่ผ่านมานั้น จุดอ่อนเชิงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจไทยที่นำมาซึ่งวิกฤตการณ์ปี 2540 ได้รับการพัฒนาปรับปรุง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ซึ่งกลายเป็นจุดแข็งต่อพัฒนาการของเศรษฐกิจไทยในระยะปัจจุบัน ดังนี้

 

- ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้น ท่ามกลางการบริหารจัดการความเสี่ยงและการกำกับดูแลจากทางการที่ตรงตามมาตรฐานสากล โดยผลการดำเนินงานและสถานะทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ขณะเดียวกัน การบริหารความเสี่ยงด้านต่างๆ ของสถาบันการเงินก็เป็นไปในลักษณะที่ระมัดระวัง และเมื่อผนวกกับการนำหลักเกณฑ์สากลมาใช้ในการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ ก็เป็นที่แน่ใจได้ว่าระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีความเข้มแข็งขึ้นมาก เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนวิกฤตปี 2540

 

กระนั้นก็ดี เส้นทางการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน อาจมีบางประเด็นที่สร้างความกังวลให้กับสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะเป็นประเด็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจบางอย่างที่มีความคล้ายคลึงกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนวิกฤตปี 2540 โดยเฉพาะอย่างยิ่งความกังวลต่อภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์และการสะสมของปัญหาหนี้ครัวเรือน ท่ามกลางการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สถานการณ์ในปัจจุบันมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการซึ่งแตกต่างจากช่วงปี 2540 ดังนี้

 

- การสะสมของหนี้ครัวเรือน...อาจสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคมและการดำรงชีวิตของครัวเรือน ทั้งนี้ แม้ว่าหนี้ครัวเรือนไทยอาจเร่งตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 77.6% ต่อจีดีพีในปี 2555 แต่ต้องยอมรับว่า การเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนดังกล่าว อาจสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งการเข้าสู่สังคมเมือง ชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้น รายได้ที่สูงขึ้นของภาคชนบท รวมไปถึงการเข้าถึงบริการทางการเงินของสถาบันการเงินในระบบที่เพิ่มขึ้น (ซึ่งทดแทนการก่อหนี้นอกระบบ) ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุผลที่ทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีปรับเพิ่มขึ้นความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน...เป็นผลจากความต้องการที่อยู่อาศัยที่แท้จริงของครัวเรือน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจแล้ว พบว่า สัดส่วนสินเชื่อของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ (รวมผู้ประกอบกิจการก่อสร้าง) มีแนวโน้มลดลงตามลำดับ ขณะที่ สัดส่วนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยต่อจีดีพีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2555 ที่ระดับ 19.9% ต่อจีดีพี โดยการเร่งตัวขึ้นของสินเชื่อที่อยู่อาศัยดังกล่าวเป็นผลจากความต้องการที่อยู่อาศัยที่แท้จริงของครัวเรือนไทยที่มีแนวโน้มเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น รวมไปถึงความต้องการที่อยู่อาศัยตามแนวระบบขนส่งมวลชนระบบราง ซึ่งแตกต่างจากปี 2540 ที่เป็นไปเพื่อการเก็งกำไรเป็นหลัก ดังนั้น เมื่อผนวกประเด็นดังกล่าวกับราคาที่ดินและวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จึงส่งผลให้ราคาที่อยู่อาศัยในตลาดปรับตัวขึ้นในทิศทางเดียวกัน กระนั้นก็ดี ด้วยการคัดกรองลูกค้าของสถาบันการเงินและหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของทางการ ตลอดจนโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงจนกระทั่งกระทบกับความสามารถในการชำระหนี้มีค่อนข้างจำกัด จึงทำให้คาดได้ว่าการปรับตัวขึ้นของสินเชื่อที่อยู่อาศัยดังกล่าวจะไม่เป็นประเด็นเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต

 

สรุป ครบรอบ 16 ปี หลังเศรษฐกิจไทยที่ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ปี 2540 การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจและพัฒนาการของระบบสถาบันการเงินไทยที่มีความแข็งแกร่งมากขึ้น น่าจะช่วยเป็นหลักประกันได้ในระดับหนึ่งว่าเศรษฐกิจไทยจะไม่เดินซ้ำรอยประวัติศาสตร์ที่เคยบอบช้ำ และสถาบันการเงินจะมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะสามารถรับมือกับสถานการณ์อันไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ที่มา โพสต์ทูเดย์ (01/07/56)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แผนการค่อยๆ ยุติการพิมพ์เงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทำให้ตลาดเงินปั่นป่วน เพราะที่ผ่านมาเฟดอัดฉีดเงินเดือนละ 85,000 ล้านดอลลาร์เข้าสู่ ศก.

 

แต่ล่าสุดบอกจะชะลอการอัดฉีดในอัตราดังกล่าวและอาจยุติลงกลางปีหน้า สิ่งที่สร้างความกังวลแก่นักลงทุนคือไม่มีตำราเล่มไหนเขียนไว้เกี่ยวกับการยุติมาตรการมโหฬารดังกล่าว

 

ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ธนาคารกลางอังกฤษ ซึ่งนายมาร์ก คาร์นีย์จะขึ้นเป็นผู้ว่าการ รวมถึงธนาคารอีกหลายแห่งของโลกจะประชุมนโยบายการเงิน โดยในกรณีของอีซีบีนั้นคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ 0.5% ไปตลอดปีนี้ สิ่งที่อีซีบีน่าจะวิตกมากที่สุดคือการที่ธนาคารต่างๆ ลังเลที่จะปล่อยกู้ให้แก่สมาชิกยูโรโซนที่เศรษฐกิจอ่อนแอ และต้นทุนกู้ยืมที่สูงขึ้นของประเทศเหล่านี้หลังจากเฟดแสดงท่าทีจะเริ่มชะลอการเข้าซื้อพันธบัตร

 

ส่วนธนาคารกลางอังกฤษนั้น จะจัดการประชุมนโยบายวันพฤหัสบดี (4 ก.ค.) ซึ่งนายมาร์ค คาร์นีย์ อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางแคนาดา จะเปิดตัวครั้งแรกในฐานะผู้ว่าการธนาคารอังกฤษ

 

ที่ผ่านมา ธนาคารกลางอังกฤษพิมพ์เงิน 375,000 ล้านปอนด์เพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาล นักเศรษฐศาสตร์คาดว่ามีโอกาส 40% ที่จะมีการพิมพ์เงินปอนด์ออกมามากขึ้นก่อนสิ้นปีนี้ และไม่มีเครื่องบ่งชี้ว่าธนาคารกลางอังกฤษจะเริ่มชะลอนโยบายกระตุ้น หรือขึ้นดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้ โดยคาดว่าดอกเบี้ยจะอยู่ที่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ไปจนถึงปี 2558

 

กรณีของญี่ปุ่นนั้น สร้างความตื่นตะลึงแก่ตลาดเงินเมื่อวันที่ 4 เม.ย. ด้วยการรับปากจะอัดฉีดเงิน 1.4 ล้านล้านดอลลาร์เข้าเศรษฐกิจ เพิ่มการถือครองพันธบัตร 2 เท่าใน 2 ปี และเพิ่มการซื้อสินทรัพย์เสี่ยง หวังยุติภาวะเงินฝืด

 

ผู้เชี่ยวชาญบางคนชี้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจเพิ่มการซื้อสินทรัพย์เสี่ยง อย่างทรัสต์ฟันด์ที่ลงทุนในหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ หากตลาดยังผันผวนและคุกคามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

 

ด้านจีนนั้น ธนาคารกลางได้แจ้งไปยังธนาคารต่างๆ ว่าจะเข้มงวดเงื่อนไขด้านสินเชื่อ แต่ก็ได้ก้าวเข้ามาบรรเทาความตึงตัวหลังจากดอกเบี้ยกู้ยืมพุ่งขึ้น โดยธนาคารกลางจีนต้องการสกัดเงินไปยังระบบการเงิน "เงา" ที่ยิ่งทำให้เกิดการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์และหุ้น โดยต้องการดันเงินไปสู่ภาคที่ก่อให้เกิดผลผลิตต่อเศรษฐกิจเพื่อให้การเติบโตดำเนินไปอย่างยั่งยืน

 

แต่การตัดสินใจปล่อยให้ดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นพุ่งขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก่อให้เกิดความวิตกว่าภาวะตึงตัวชั่วคราวด้านสินเชื่ออาจลุกลามเป็นสินเชื่อตึงตัวระยะยาว

 

สำหรับตลาดเกิดใหม่ที่มีกระแสเงินทุน 8 ล้านล้านดอลลาร์ไหลมายังตลาดหุ้นและพันธบัตรนับจากปี 2547 ก็กำลังวิตกว่ากระแสทุนอาจเริ่มไหลออก

 

อินโดนีเซียนั้นได้ขึ้นดอกเบี้ยมาแล้ว 0.25% เป็น 6% เพราะถูกแรงกดดันจากค่าเงินรูเปียะห์ ซึ่งอ่อนค่าลงเหมือนเงินสกุลอื่นของเอเชีย

 

กรณีของอินเดียนั้น ตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ 7.25% หลังจากลดมาแล้ว 3 ครั้งในการประชุมก่อนหน้านี้ พร้อมเตือนถึงความเสี่ยงขาขึ้นของเงินเฟ้อ หลังจากเงินรูปีได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการที่นักลงทุนเทขายหุ้นในตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 1 กรกฎาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง

โดย...ดร.สมชัย อมรธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัย บลจ.กรุงไทย / somchaia@ktam.co.th

ในที่สุดเราก็ได้ความชัดเจนเกี่ยวกับอนาคตของ QE จากคุณเบน เบอร์แนนคี เองภายหลังการประชุม FOMC ที่ผ่านมา ซึ่งสัญญาณที่ส่งออกดูเหมือนว่า QE อาจจะสิ้นสุดเร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาด นับเป็นประเด็นหลักที่กดดันการลงทุนในปัจจุบัน

 

สิ่งที่เรามองว่าเบอร์แนนคีประสบความสำเร็จคือ การสร้างการคาดการณ์อย่างชัดเจนให้กับตลาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องว่าจะเริ่มลดการเข้าซื้อพันธบัตรเมื่อใด จะหยุดการเข้าซื้อเมื่อใด และจะขึ้นดอกเบี้ยเมื่อใด เห็นได้จากการสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ โดย Bloomberg ที่ถามว่าเฟดจะเริ่มลดการเข้าซื้อพันธบัตรเมื่อใด ก่อนหน้าการประชุม FOMC ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่านักวิเคราะห์ “ส่วนมาก” (Consensus) คาดว่าจะเกิดขึ้นการประชุมเดือน ก.ย.นี้ แต่คำว่า “ส่วนมาก” นี้หมายถึงนักวิเคราะห์เพียง 27% ของผู้ที่ตอบทั้งหมดเท่านั้น และที่เหลือกระจายอยู่ในกาประชุม 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นในสัดส่วนที่ไม่ต่างกันนัก แต่ภายหลังการแถลงการณ์ของเบอร์แนนคี ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่านักวิเคราะห์ “ส่วนใหญ่” หรือประมาณ 44% ของผู้ตอบ คิดว่าเฟดจะเริ่มชะลอในการประชุมเดือน ก.ย.นี้ ขณะที่การหยุดการเข้าซื้อก็น่าจะเป็นช่วงกลางปี 2557 ส่วนการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายยังคงอยู่ในช่วงกลางปี 2558 ซึ่งการที่นักวิเคราะห์มีความเห็นที่ใกล้เคียงกันมากขึ้น ก็น่าจะตกใจน้อยลงยาม เมื่อการลด QE เกิดขึ้นจริง ทำให้บางคนมองว่าเขา “สอบผ่าน” ในฐานะธนาคารกลางในด้านการสื่อสาร

 

แต่ตลาดไม่ได้ชอบภาพที่เบอร์แนนคีช่วยวาดให้นี้นัก จึงเกิดแรงเทขายอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสินทรัพย์ “เสี่ยง” และสินทรัพย์ “ปลอดภัย” โดยตลอดช่วงหนึ่งเดือนหลังจากที่เบอร์แนนคีไปแถลงที่รัฐสภา ในวันที่ 22 พ.ค. จนถึงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ผลตอบแทนจากการลงทุนปรับตัวลดลงในแทบทุกสินทรัพย์ หุ้นทั่วโลก (MSCI All Country World) ปรับตัวลดลง 7.0% หุ้นไทยลดลง 14.2% บอนด์ทั่วโลก (JPM GABI) ลดลงประมาณ |0.6% พันธบัตรรัฐบาลไทยลดลง 3.2% สินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก (S&P GSCI Total Return) ลดลง 1.6% น้ำมัน WTI ลดลง 0.5% และทองคำลดลง 5.4% ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นก่อนที่เฟดจะเริ่มลดการเข้าซื้อจริงๆ เสียอีก

 

ที่ผ่านมาการลงทุนได้รับประโยชน์จากปัจจัยสภาพคล่องค่อนข้างมาก เงินใหม่ที่เฟดช่วยเติมเข้ามาต่อเนื่องได้ผลักดันราคาสินทรัพย์ให้เพิ่มขึ้น และทำให้ครัวเรือนมั่งคั่งขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจยังอ่อนแอ แต่เมื่อปัจจัยสภาพคล่องเริ่มที่จะหมดไป เราก็คงต้องหันกลับไปมองดูที่พื้นฐานที่แท้จริงของเศรษฐกิจว่าเป็นอย่างไร ถ้าหากเศรษฐกิจเติบโตดี บริษัทต่างๆ ก็น่าจะทำกำไรได้ดี ส่งผลบวกต่อราคาหุ้นของบริษัทนั้นๆ

 

สำหรับเศรษฐกิจโลก เรามองว่าปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจแข็งแกร่งขึ้น ตัวฉุดรั้งที่เหลือคือ การลดการใช้จ่ายภาครัฐ คือ เรื่อง Sequestration ในสหรัฐและมาตรการรัดเข็มขัดในยุโรป ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบในเชิงลบน้อยลงไปเรื่อยๆ ขณะที่เศรษฐกิจในภาคส่วนอื่นดูดีขึ้น ท่าทีของนโยบายการเงินยังคงอยู่ในโหมด “ผ่อนคลาย” ต่อเนื่องในอีกหลายปีจากนี้ แม้ว่าอาจจะ “ผ่อนคลายน้อยลง” บ้าง เพราะไม่มี QE เข้ามาเพิ่มเติม แต่ก็อันเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นนั่นเอง และที่สำคัญคือ Downside Risk มีน้อยลงไปมาก ทั้งนี้ เบอร์แนนคีเพิ่งยืนยันว่ามี Bernanke Put มีอยู่จริง คือ ถ้าเศรษฐกิจแย่ลงกว่านี้ เฟดก็พร้อมที่จะเข้ากระตุ้นเพิ่มเติม ส่วนฝั่งยุโรปก็มีมาตรการ OMT คอยรองรับความเสี่ยงต่างๆ อยู่ ดังนั้น จากนี้ไปเรามองว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มดีขึ้น แม้ว่าอัตราการเติบโตอาจจะไม่ใช่ตัวเลขที่สูงนัก แต่เศรษฐกิจก็มีความแข็งแกร่งขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาปัจจัยสภาพคล่องอาจจะผลักดันราคาสินทรัพย์ขึ้นเกินปัจจัยพื้นฐานไป เราคงต้องเผชิญกับการปรับตัวในช่วงเปลี่ยนผ่านจากปัจจัยสภาพคล่องสู่ปัจจัยพื้นฐานที่แท้จริง แต่ทิศทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ทำให้การลงทุนในตราสารทุนยังดูน่าสนใจกว่าการลงทุนในตราสารหนี้อยู่ แต่อาจต้องรอให้คนคุ้นเคยกับภาพวาดใหม่ของลุงเบนเสียก่อนครับ

 

ที่มา โพสต์ทูเดย์ (01/07/56)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อินเตอร์แบงก์ของจีนร่วงลงต่อเป็นวันที่ 5 ในวันนี้ ซึ่งถือเป็นสถิติที่ร่วงลงติดต่อกันนานมากที่สุดในรอบอย่างน้อย 2 เดือน เนื่องจากธนาคารกลางจีนได้ส่งสัญญาณของการอัดฉีดเงินเข้าระบบเพื่อคลี่คลายภาวะสภาพคล่องตึงตัว

 

ในสัปดาห์นี้ ธนาคารกลางจีนได้ส่งสัญญาณว่า จะไม่ปล่อยให้ภาวะสภาพคล่องที่ตึงตัวส่งผลกระทบต่อตลาดเงิน และการให้การสนับสนุนเรื่องสภาพคล่องของธนาคารกลาง จะพุ่งเป้าไปที่ธนาคารที่ได้ปล่อยเงินกู้เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ

 

Interest-rate swap ระยะเวลา 1 ปี ร่วงลง 0.03% แตะ 3.88% เมื่อเวลา 9.54 น.ตามเวลาเซี่ยงไฮ้ โดยเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. Interest-rate swap อยู่ที่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 5.06% และปรับตัวขึ้น 0.57% ในเดือนนี้

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควทส์ (วันที่ 1 กรกฎาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด "นายเจเรมี สไตน์" ซึ่งถือเป็นเจ้าหน้าที่ทรงอิทธิพลรายหนึ่งขององค์กร ระบุ เดือนกันยายนอาจลดขนาดคิวอี

 

นายเจเรมี สไตน์ ย้ำถึง ความจำเป็นที่เฟดต้องวางแผนระยะยาว เพื่อความคืบหน้าทางเศรษฐกิจ และไม่ถูกปิดหูปิดตาไปกับข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาเมื่อเร็วๆ นี้

 

ถ้อยแถลงของนายสไตน์ ดึงดูดความสนใจจากบรรดานักเศรษฐศาสตร์ และนักลงทุนได้เป็นอย่างดี หลังจากที่เขายกตัวอย่างต่างๆ ที่เกี่ยวกับการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน นับแต่ที่เฟดประกาศโครงการเข้าซื้อพันธบัตรในตลาดเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว

 

ความเห็นของนายสไตน์ และยองนายเจฟรีย์ แลคเกอร์ ประธานเฟด สาขาริชมอนด์ ที่ออกมาในวันเดียวกัน สะท้อนถึงความเห็นที่ขัดแย้งกับความพยายามของเจ้าหน้าที่เฟดรายอื่นๆ ที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พยายามผ่อนคลายความตึงเครียดในตลาด จากเรื่อง ความเป็นไปได้ที่เฟดจะลดขนาดมาตร การลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือคิวอี

 

ทั้งนี้ การเข้าซื้อพันธบัตร และหุ้นกู้ที่มีสินทรัพย์จดจำนองค้ำประกัน เดือนละ 85,000 ล้านดอลลาร์ของเฟด ทำให้ตลาดการเงินเกิดสภาพคล่องไหลเวียนครั้งใหญ่ ช่วยหนุนให้ราคาทะยานขึ้นทั้งตลาดหุ้น และพันธบัตร อย่างไรก็ดี นายสไตน์ แนะให้นักลงทุนให้ความสนในจกับการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายในเดือนกันยายน ทั้งที่การประชุมครั้งต่อไปจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคมนี้

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 29 มิถุนายน 2556)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

YLG ย้ำ ราคาทองคำยังขาลง แนะ ตัดขาดทุน หากหลุด 1,150 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

 

นาง พวรรณ์ นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์ราคาทองคำอยู่ในทิศทางขาลง ราคาปรับลงต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันราคาทองคำปรับตัวลงมาค่อนข้างมาก เนื่องมาจากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือคิวอีที่มีแนวโน้มว่าจะชะลอในปี นี้และยุติในปีต่อไป

 

โดยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เดินหน้าออกมาสดใส อย่างต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่มาผ่านเป็นการยืนยันว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา เริ่มพลิกฟื้นขึ้นมาแล้ว อาทิ เป้ายอดขายบ้านใหม่,ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายหรือตัวเลขผู้ขอรับ สวัสดิการการว่างงาน

 

ทั้งนี้หากนับตั้งแต่ต้นช่วงต้นปีที่ ผ่านมาจนถึงปัจจุบันราคาทองคำในตลาดโลกร่วงลงไปแล้วกว่า 28% นับเป็นการปรับตัวลงที่ค่อนข้างรุนแรงมาก โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายนและในเดือนมิถุนายน ขณะเดียวกันบรรดาสถาบันชั้นนำต่างออกมาลดการคาดการณ์ราคาทองคำลงในปีนี้ลง ซึ่งได้แก่ โกลด์แมนแซคส์ ได้ปรับลดลงเหลือ 1,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ยูบีเอส ปรับลดลงเหลือ 1,440 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ดอยซ์แบงก์ ปรับลดเหลือ 1,428 ดอลลาร์ต่อออนซ์ รวมไปถึง มอร์แกน สแตนลีย์ซึ่งได้ปรับลดลงเหลือ 1,409 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยจะเห็นได้ว่าบรรดาสถาบันชั้นนำต่างมีมุมมองเชิงบวกที่ลดลงอย่างเห็นได้ ชัดเจน สอดคล้องกันกับกองทุน SPDR ซึ่งได้ลดการถือครองทองคำลงต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี สะท้อนจิตวิทยาของตลาดทองคำได้ในระดับหนึ่ง

 

นางพวรรณ์ กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ในช่วงนี้ วายแอลจี แนะนำให้นักลงทุนต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคมนี้ ที่จะมีการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมและอัตราการว่างงานของ สหรัฐฯ ซึ่งหากยังคงยืนยันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดแรงขายตามออกมาอีก อย่างไรก็ตามเนื่องจากราคาทองคำยังคงทำจุดต่ำสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง ทำให้แม้จะมีการดีดตัวขึ้นมาบ้างแต่ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ราคาทองคำสร้าง ฐานราคาได้

 

ทั้งนี้กลยุทธ์การลงทุน นักลงทุนอาจรอพิจารณาราคาทองคำในบริเวณ 1,150 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ 17,000 บาทต่อบาททองคำ ซึ่งประเมินว่าเป็นแนวรับสำคัญ หากราคาทองคำพยุงตัวเหนือแนวดังกล่าวอาจเข้าซื้อเพื่อหวังเก็งกำไร โดยตัดขาดทุนทันทีหากหลุด 1,150 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ที่มา : money channel (วันที่ 1 กค.56)

 

ปล. เด็กขายของก็เชื่อว่า " วันนี้ถึงเย็น ยังขาลง เหตุแบบเคยๆ.............. มาทีไร หลุดแนวรับทุกที ( ไม่ใช่ อาแปะ )

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

จริงๆ เช้าวันจันทร์ เส้นสัญญานฯ เจอวันหยุด 2 วันเสาร์อาทิตย์ อาจทำให้มีอาการผิดเพี้ยนไป เพราะนักลงทุนมีเวลาคิดและไตร่ตรองมากขึ้น รวมถึงทั้งข่าวคราวต่างๆ ที่ออกมา ก็จากความคาด ความคิด ของบรรดานักลงทุนผ่านสื่อฯ ออกมา ของจริงน่าจะผ่านการเยือนตลาดสหรัฐฯ ไปก่อน 1 วัน แล้วค่อยเข้าที่เข้าทาง

 

สมมุติว่า ถ้าเรายังยึดถือ เส้นสัญญานฯ ตัวปิดตลาดเช้าตรู่วันเสาร์ เป็นยังไงหนอ ? 12,26,9 บอกว่า อยู่ห่างๆ อย่าไปยุ่งเข้าซื้อทอง เพราะอาจราคายังผันผวนขึ้นลงได้ เพราะเส้นถ่างออกจากกันเหลือเกิน มองก็ยังเป็นขาลง อยู่ / พอรหัส 5,35,9 ก็ยังไม่ได้ส่ง Signal สัญญานนำทาง ว่า เป็นขาขึ้น แค่เส้นดำผงกหัว นิดเดียว ถ้าไปตื่นตูมตาม อาจเจ็บตัวไหมหนอ ? / พอมาที่เส้น 7,5,2 OK มันตัดกันก็จริง แดงโผล่ออกมาแล้วนิดเดียว แต่อาจจะเกิดจากการคกแต่งบัญชีกลางปี Window Dressing หรือเปล่า จากที่ Hui เข้าซื้อมากเลย อีกทั้ง อาทิตย์นี้ สหรัฐฯ จะมีหยุดยาว ปลายสัปดาห์อีก เพราะส่วนมาก พวกเขามักจะถือ เงินสดดอลล์สหรัฐฯ กันเยอะ ดอลล์ก็จะแข็ง ราคาทองก็จะลดลง ย่อลง / และอีกทั้ง $1245 ก็เป็นด่านฯ ต้านที่แข็ง / หมอดูหนุ่มก็ออกมาแทงขึ้น ก็ต้องบอกว่า ของจริงมันจะลง ตลอด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Support: - 1225.72, 1216.40, 1193.50 and 1181.25(main),1166.38, 1155.55

Resistance: - 1249.00 and 1261.40(main)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...