ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

กราฟ MACD รหัส 12,26,9 แบบดั้งเดิม ขาใหญ่สร้าง คิดเพื่อเป็นแนวทางมองดูว่านักลงทุนจะทำยังไง เพื่อเอออวย หรือ เพื่อล่อหลอก จากที่เส้นดำเส้นแดงตัดกันเมื่อวานนี้ ใครยึดถือ ก็ต้องเชืีอฟังเดินเข้าสู่ตลาดค้าทองทันใด ความจริงที่ออกมา ราคาทองก็ย่อลง และจากเส้น 2 เส้นที่ราคาปิดวันนี้ ออกมาแนววิ่งขนาน เส้นจะวิ่งขึ้นชูคอเหรอ ? มันก็อยู่แนวสูงเกินไปแล้ว ทางที่เป็นไปได้ค่อนข้างมาก ปักหัวลงมากกว่า ซึ่งก็อาจจะทำให้เกิดอาการ " ตัดกัน " อีกครั้ง เพื่อ Stop ตามกราฟรหัสฯ 12,26,9 อีกครั้ง หรือเปล่า จะต้อง Stop Loss อีกครั้งหรือไม่ ไม่น่าเกินวันนี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำหรับกราฟรหัส 5,35,9 แบบส่งสัญญานนำทาง Signal ก็ยังส่งสัญญานใน " ขาซื้อ " ต่อไป ฉะนั้น การที่ราคาย่อลงช่วงที่สัญญานบวก ก็ต้องทำใจ เพราะมุมมองขอบเขตของเส้นดำเส้นแดง โลดแล่นอยู่ในแดนสูง ขายมากไป ซื้อมากไป ต้องเบี่ยงๆ สายตา หลบเลี่ยงการมองรหัสฯ ขุดนี้ น้อยหน่อยเสียแล้ว

 

ปล. แต่การที่สัญญานออกมาแบบนี้ เดาได้ว่า จังหวะจะขึ้นชนแนวต้านมี และชนแนวรับด้านล่างก็มี และต้องมองว่า แนวต้านตอนนี้ควรอยู่ที่เท่าไหร่จากราคาปิด 1320

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กราฟรหัส 7,5,2 เส้นแดงก็ยังอยู่ด้านบน ยังส่งสัญญานบวกต่อราคาทอง แต่ RSI หัวปักลง เส้นดำอาจเงยขึ้นเพื่อให้เส้นทับกัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมันขึ้น-หุ้นสหรัฐฯบวก ทองคำลงแรงหลังดอลลาร์แข็งค่า

 

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 สิงหาคม 2556 05:01 น.

 

 

เอเอฟพี - ราคาน้ำมันวานนี้(13) ขยับขึ้นพอสมควร จากความยุ่งเหยิงด้านอุปทานพลังงานในลิเบีย ส่วนทองคำปิดลบแรง หลังดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ขณะที่วอลล์สตรีท บวกเล็กน้อย ตามการขับเคลื่อนของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนกันยายน เพิ่มขึ้น 72 เซนต์ ปิดที่ 106.83 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 85 เซนต์ ปิดที่ 109.82 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

นักวิเคราะห์มองว่าความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันวันอังคาร เป็นผลจากเหตุประท้วงในลิเบีย จนต้องปิดคลังส่งออกน้ำมันในเอส ไซเดอร์และราส ลานุฟ "ความยุ่งเหยิงทางอุปทานในลิเบีย ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น" คาร์สเทน ฟริตส์ช จากคอมเมิร์ซแบงค์กล่าว

 

ยอดการส่งออกน้ำม้นของลิเบียลดลงกว่าร้อยละ 70 ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม หลังเกิดการประท้วงเรียกร้องผลตอบแทนของตำรวจและเจ้าหน้าที่ตระเวนชายแดนซึ่งมีหน้าที่คุ้มกันแหล่งน้ำมันอันสำคัญของประเทศ ทั้งนี้แม้ดูเหมือนว่าการผลิตและส่งออกจะคืนสู่ภาวะปกติในอีกหลายวันต่อมา ทว่าเหตุประท้วงได้กลับมาใหม่อีกครั้งในสัปดาห์นี้

 

ด้านราคาทองคำวานนี้(13) ปิดลบครั้งแรกในรอบ 4 วัน จากดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นและความกังวลว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของสหรัฐฯ จะทำให้ธนาคารกลางอเมริกา(เฟด) เริ่มลดระดับโครงการเข้าซื้อพันธบัตรเร็วๆนี้ โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 13.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,320.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ส่วนตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(13) แกว่งตัวขยับขึ้นแดนบวกได้เล็กน้อย หลัง คาร์ล ไอคาห์น มหาเศรษฐกิจนักล่าบริษัทเผยว่าถือหุ้นจำนวนมากในแอปเปิล ส่งให้หุ้นของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่นี้ ดีดตัวขึ้นร้อยละ 4.8 เลยทีเดียว

 

ดัชนีดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 31.33 จุด (0.20 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 15,451.01 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 4.69 จุด (0.28 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,694.16 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 14.49 จุด (0.39 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,684.44 จุด

 

หุ้นของแอปเปิล ทะยานขึ้นไปปิดที่ 489.57 ดอลลาร์ต่อหุ้น หลังจาก ไอคาห์น นักลงทุนชื่อดังเผยบนทวิตเตอร์ว่าเขาครอบครองหุ้นของบริษัทแห่งนี้จำนวนมาก ซึ่งเขาประเมินว่าต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงพอสมควร

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบ่นสักนิด : จากที่กราฟรหัส 12,26,9 วิ่งขนานกันแต่ในแนวสูง จึงมีจังหวะย่อ เช่นเดียวกับ รหัส 5,35,9 เส้น RSI หักปักลง จึงมีจังหวะย่อ ถึงแม้ว่า รหัส 7,5,2 เส้นแดงยังวิ่งอยู่บน ส่งสัญญานบวกต่อราคาทอง จึงยังเป็นข้อสงสัยว่า ตกลงสรุปจะเอายังไงกันแน่ ราคาทองจะขึ้นไปต่อ หรือจะย่อลง จากจุดราคาปิด $1320 จึงต้องมาหาความน่าจะเป็นจาก ไอ้ HUI & US Index และข่าวสาร

 

1. ขออ้างอิงจาก กราฟรหัส 7,5,2 ของ ไอ้ HUI เส้นดำเส้นแดง ออกอาการจะตัดกัน คืนนี้ มีจังหวะที่จะติดลบตัวแดงต่อ ราคาทองก็อาจจะย่อลง

2. สี่โมงเย็นวันนี้ มีตัวเลข GDP ของยุโรปออก ไม่น่าจะดีขึ้น เพราะนักวิเดาฯ มองว่า ฟื้นตัวปีหน้า ราคาทองก็อาจจะย่อลง เพราะยูโรจะอ่อน ดอลล์จะแข็ง

3. ตัวเลขยอดขายปลีกเมื่อวาน ออกมาผสมกัน แต่ก็จัดว่าดี FED อาจจะมองประเด็นนี้ แล้วคืนนี้ Bullard กรรมการ Fed คนหนึ่ง อาจจะมากล่าวถึง จังหวะของการลดวงเงิน QE เข้าซื้อพันธบัตร ที่จะเริ่มเดือนหน้านี้แล้ว

4. ช่วงนี้ ฝรั่งไล่เก็บดอลล์สหรัฐฯ เพราะถือว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งจะทำให้ดอลล์สหรัฐฯ แข็งค่า เมื่อมันแข็ง อะไรบางอย่างก็อาจจะอ่อนค่าลง

 

เพราะฉะนั้น เด็กขายของก็ยังไม่เข้าซื้อคืนทองแท่งตัวเป็นๆ หนักๆ เข้าพอร์ต ในวันนี้ครับ ทนนิ่ง นิ่งทน ต่อไป เพราะยังเชื่อว่า ถ้าซืี้อเข้าไปแล้ว อาจเห็นราคาถูกกว่า ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 14 สิงหาคม 2556 07:44:01 น.

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (13 ส.ค.) หลังจากประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนต้าได้ออกมาส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะยังไม่ลดขนาดโครงการซื้อสินทรัพย์ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการประชุมเดือนก.ย.นี้

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 15,451.01 จุด เพิ่มขึ้น 31.33 จุด หรือ +0.20% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,694.16 จุด เพิ่มขึ้น 4.69 จุด หรือ +0.28% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 3,684.44 จุด เพิ่มขึ้น 14.49 จุด หรือ +0.39%

 

 

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (13 ส.ค.) ขานรับยอดค้าปลีกของสหรัฐที่ขยายตัวขึ้นในเดือนก.ค. นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากจากการคาดการณ์ที่ว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐจะปรับตัวลดลงอีก อันเนื่องมาจากการขับขี่ยานยนต์ในช่วงฤดูร้อนที่จะทำให้ความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย.เพิ่มขึ้น 72 เซนต์ ปิดที่ 106.83 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดลอนดอน เพิ่มขึ้น 85 เซนต์ ปิดที่ 109.82 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (14 ส.ค.) เพราะได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรและเงินเยน หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกที่ปรับตัวสูงขึ้นในเดือนก.ค.

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 13.7 ดอลลาร์ หรือ 1.03% ปิดที่ 1,320.5 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.เพิ่มขึ้น 0.4 เซนต์ ปิดที่ 21.343 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ปิดที่ 1499.70 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 1.00 ดอลลาร์ ส่วนสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 738.90 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 1.30 ดอลลาร์

 

-- สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (13 ส.ค.) หลังจากมีรายงานว่ายอดค้าปลีกของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4

 

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 98.23 เยน จากระดับของวันจันทร์ที่ 96.68 เยน และขยับขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9333 ฟรังค์ จากระดับ 0.9215 ฟรังค์

 

ยูโรร่วงลงแตะระดับ 1.3206 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3310 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะระดับ 1.5446 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5472 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลงแตะระดับ 0.9101 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9256 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (13 ส.ค.) นำโดยหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ที่ทำสถิติพุ่งขึ้นสูงสุด 4 วันติดต่อกันในรอบ 21 เดือน รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นในเยอรมนี

 

ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 6,611.94 จุด เพิ่มขึ้น 37.60 จุด, +0.57%

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (13 ส.ค.) ขานรับดัชนีความเชื่อมั่นของเยอรมนีที่พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนส.ค. ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจเยอรมนียังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 เพิ่มขึ้น 0.6% ปิดที่ 307.79 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค.

 

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 8,415.76 จุด เพิ่มขึ้น 56.51 จุด หรือ +0.68% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,092.50 จุด เพิ่มขึ้น 20.82 จุด หรือ +0.51% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,611.94 จุด เพิ่มขึ้น 37.60 จุด หรือ 0.57%

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์แข็งค่าหลังยอดค้าปลีกสหรัฐขยายตัวต่อเนื่อง

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 14 สิงหาคม 2556 07:40:37 น.

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (13 ส.ค.) หลังจากมีรายงานว่ายอดค้าปลีกของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4

 

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 98.23 เยน จากระดับของวันจันทร์ที่ 96.68 เยน และขยับขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9333 ฟรังค์ จากระดับ 0.9215 ฟรังค์

 

 

 

ยูโรร่วงลงแตะระดับ 1.3206 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3310 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะระดับ 1.5446 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5472 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลงแตะระดับ 0.9101 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9256 ดอลลาร์สหรัฐ

 

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้แรงหนุนหลังจาก กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดค้าปลีกปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนก.ค. ทำสถิติเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 แม้ตัวเลขดังกล่าวน้อยกว่าที่เพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนมิ.ย. และต่ำกว่าการคาดการณ์ที่ 0.3% อยู่เล็กน้อย สะท้อนว่าผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ท่ามกลางการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับสูง ค่าแรงที่ทรงตัว และภาษีที่สูงขึ้น

 

ขณะเดียวกัน กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ราคานำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.ค. หลังจากที่ลดลงตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นมาก ด้านราคาส่งออกในเดือนก.ค.ลดลง 0.1% เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ซึ่งทั้งราคานำเข้าและส่งออกในเดือนก.ค.ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

 

นักลงทุนจับตาดูกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.ค.ในวันนี้เวลา 19.30 น.ตามเวลาไทย ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าดัชนี PPI ทั่วไปเดือนก.ค.จะเพิ่มขึ้น 0.3% และคาดว่าดัชนี PPI พื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานจะเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.ค.

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นโตเกียว: นิกเกอิเปิดบวก 69.74 จุด หลังเยนอ่อน,ดาวโจนส์พุ่ง

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 14 สิงหาคม 2556 07:56:11 น.

ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวเปิดวันนี้ที่ 13,936.74 จุด เพิ่มขึ้น 69.74 จุด หรือ +0.50% เพราะได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินเยน และจากการปิดบวกของตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกที่ขยายตัวต่อเนื่อง

 

ตลาดหุ้นโตเกียวได้รับแรงหนุนจากการปิดบวกของดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ ภายหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดค้าปลีกปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนก.ค. ทำสถิติเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 แม้ตัวเลขดังกล่าวน้อยกว่าที่เพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนมิ.ย. และต่ำกว่าการคาดการณ์ที่ 0.3% อยู่เล็กน้อยก็ตาม

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อินเดียขึ้นภาษีนำเข้าทองครั้งที่ 3 ในปีนี้ หวังสกัดยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัด, หนุนรูปี

 

 

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 13 สิงหาคม 2556 21:42:46 น.

อินเดีย ซึ่งเป็นผู้ซื้อทองคำรายใหญ่สุดของโลก ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าทองคำเป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้ เพื่อจำกัดความต้องการโลหะมีค่าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และควบคุมยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่พุ่งทำสถิติสูงสุด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สกุลเงินรูปีอ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์

 

รัฐมนตรีคลังอินเดียประกาศว่า ภาษีนำเข้าทองคำและพลาตินัมจะเพิ่มขึ้นเป็น 10% จากปัจจุบันที่ 8% ขณะที่ภาษีนำเข้าเงินจะเพิ่มขึ้นเป็น 10% จาก 6% นอกจากนี้ ยังมีการขึ้นภาษีแร่ทองคำและทองแท่งดิบเป็น 8% จากปัจจุบันที่ 6% และทองคำบริสุทธิ์เพิ่มขึ้นเป็น 9% จาก 7%

 

 

 

อินเดียมีแผนลดการนำเข้าทองคำเหลือ 850 ตันในปีนี้ เพื่อลดยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และเพิ่มเงินทุนไหลเข้า โดยธนาคารกลางอินเดียระบุก่อนหน้านี้ว่า การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการนำเข้าน้ำมันดิบและทองคำ ถือเป็นความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดต่อเศรษฐกิจของอินเดีย

 

ข้อมูลจากสภาทองคำโลกแสดงให้เห็นว่า อินเดียนำเข้าทอง 478 ตันในช่วงครึ่งหลังของปีที่แล้ว ทำให้ปริมาณการนำเข้าตลอดทั้งปีอยู่ที่ 860 ตัน

 

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มองหาช่วงแกว่งขึ้นลง เดา แนวต้านบนไว้ที่ $1326 ไกลสุดได้ที่ $1333 ส่วนแนวรับ เดารับที่ $1316 รับสุดๆๆ $1300

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองครึ่งปีหลังขาลง เฟดหั่นคิวอี-จีนชะลอ (17/08/2556)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง

ศูนย์วิจัยทองคำประเมินแนวโน้มราคาทองคำในตลาดโลกร่วงต่อ รับแรงกดดันจากเฟดลดคิวอี และเศรษฐกิจจีนเริ่มชะลอตัว ฉุดแรงซื้อลดลง

 

นายภูษิต วงศ์หล่อสายชล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ กล่าวว่า แนวโน้มราคาทองคำในตลาดโลกในที่เหลือของปีนี้ จะยังปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ดังนั้นนักลงทุนต้องระมัดระวังการลงทุน เนื่องจากการเคลื่อนไหวราคาอาจผันผวน

 

“จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ค้าทองคำที่เป็นกลุ่มเป้าหมายงานวิจัย ให้คำแนะนำลงทุนว่า ควรเน้นการลงทุนทองคำระยะสั้น เพราะทิศทางราคายังคงผันผวน และควรลดสัดส่วนการลงทุนทองคำในระยะยาว”

 

นายภูษิต กล่าวว่า ราคาทองคำได้รับแรงกดดันจาก 4 ปัจจัยหลัก คือ การชะลอมาตรการคิวอี ซึ่งหลายฝ่ายเห็นตรงกันว่า การชะลอมาตรการคิวอี จะกระทบกับราคาทองคำในเชิงลบภายในปีนี้ รวมถึงปัจจัยเรื่องค่าเงินบาท เพราะค่าเงินบาทมีความผันผวน โดยได้รับแรงกดดันจากการเมืองภายในประเทศ ที่ทำให้นักลงทุนต่างประเทศเริ่มถอนการลงออกจากไทย ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวต่อเนื่อง

 

ปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจประเทศจีนที่เริ่มชะลอตัว จะกดดันความต้องการทองคำในตลาดโลก ซึ่งตามปกติแล้ว จีนมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง การชะลอตัวทางเศรษฐกิจครั้งนี้ จะทำให้ความต้องการในตลาดโลกลดลง ราคาก็จะลดลงเช่นกัน และปัจจัยการซื้อขายเก็งกำไร โดยเฉพาะการเข้าซื้อ-ขายของกองทุน SPDR ซึ่งล่าสุด มีการลงทุนในทองคำเหลือเพียง 700 ตัน ซึ่งต่ำสุดเท่าที่เคยถือครองมา

 

เตือนลงทุนเดือนส.ค.ผันผวน

 

“ในเดือนส.ค. ของทุกปี มักจะมีความผันผวนของราคาทองคำ นักลงทุนจึงควรมีความระมัดระวังมาก ส่วนความผันผวนของค่าเงินบาท ก็เป็นปัจจัยที่ควรระมัดระวังในระยะสั้น”

 

นายภูษิต กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญ คือ ให้นักลงทุนติดตามการชะลอมาตรการคิวอี ในช่วง 4 เดือนจากนี้ เพราะจะเป็นปัจจัยที่กำหนดทิศทางราคาทองคำในต้นปีหน้า

 

ทั้งนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นผู้ค้าทองคำ (Gold Trader Consensus) จำนวน 11 ตัวอย่าง เชื่อว่า ราคาทองคำในตลาดโลกช่วงเดือนส.ค. โดยรวมน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,150-1,420 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่ากรอบราคาต่ำสุดในเดือนส.ค. น่าจะอยู่ในช่วง 1,226-1,250 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่กรอบสูงสุด น่าจะอยู่ในกรอบ 1,326-1,350 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ส่วนราคาทองคำแท่งในประเทศ (ความบริสุทธิ์ 96.5%) กลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าราคาจะเคลื่อนไหวระหว่าง 17,000-21,000 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ และกรอบการเคลื่อนไหวต่ำสุดกลุ่มตัวอย่างให้น้ำหนักระหว่าง 18,000-18,500 บาทต่อหนึ่งบาท และมีกรอบการเคลื่อนไหวสูงสุดบริเวณ 20,000-20,500 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ โดยมีประเด็นเรื่องการชะลอมาตรการคิวอี เป็นแรงกดดันสำคัญ

 

ขณะที่ ความผันผวนของค่าเงินบาท เชื่อว่าจะยังกระทบต่อราคาทองคำในประเทศเดือนนี้ นอกจากนี้นักลงทุนยังต้องติดตามการขายของกองทุนขนาดใหญ่ การเก็งกำไรในตลาดและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน

 

ดัชนีราคาทองสะท้อนขาดความเชื่อมั่น

 

ด้าน นายกมลธัญ พรไพศาลวิจิต ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย กล่าวว่า งานวิจัยศูนย์วิจัยทองคำ ประจำเดือนส.ค. 2556 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำ (Gold Price Sentiment INDEX) ประจำเดือนส.ค. นี้ อยู่ที่ 53.35 จุด ฟื้นตัวเหนือระดับ 50 จุดที่ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานของดัชนีครั้งแรกในรอบ 3 เดือน โดยในตั้งแต่เดือนพ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่น อยู่ที่ 45.50 จุด เดือนมิ.ย. อยู่ที่ 32.91 จุด และเดือนก.ค. อยู่ที่ 33.77 จุด สะท้อนว่ากลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าราคาทองคำมีโอกาสฟื้นตัวหลังราคาปรับตัวลดลงติดต่อกัน

 

ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองกลับสวนทางความต้องการที่จะซื้อทองคำในเดือนส.ค. ของกลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะสะท้อนถึงความไม่แน่ใจของการฟื้นตัว

 

สำหรับดัชนีแยกตามกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีทัศนคติไปในทิศทางเดียวกัน คือ มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น และระดับความเชื่อมั่นอยู่เหนือ 50 จุดเล็กน้อย ทั้งกลุ่มนักลงทุนและกลุ่มผู้ค้า โดยดัชนีอยู่ที่ระดับ 52.78 จุด และ 57.36 จุดตามลำดับ ด้านดัชนีความเชื่อมั่นในระยะ 3 เดือนข้างหน้ามีการฟื้นตัวเช่นกันอยู่ที่ระดับ 55.74 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 10.86 จุด หรือ 24.19% สะท้อนทัศนคติเชิงบวกในระยะกลาง

 

นักลงทุนให้น้ำหนักคิวอีมากที่สุด

 

นายกมลธัญ กล่าวว่า ปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าจะมีผลต่อทิศทางราคาทองคำในเดือนส.ค. ได้แก่ การชะลอมาตรการคิวอี ทิศทางค่าเงินดอลลาร์ และค่าเงินบาท โดยให้น้ำหนักกับการชะลอคิวอีสูงสุด ที่ 49.72% นอกจากนี้เมื่อสอบถามความต้องการซื้อทองคำในช่วงถัดไป พบว่า 30.93% ของกลุ่มตัวอย่าง คาดว่าจะซื้อทองคำ

 

ขณะที่ 34.81% คาดว่าจะไม่ซื้อ และ 34.26% ไม่แน่ใจว่าจะซื้อทองคำหรือไม่ จะเห็นว่ากลุ่มตัวมีทัศนคติในเชิงบวกต่อราคามากขึ้น แต่ยังไม่แน่ใจต่อการเพิ่มขึ้นของราคาทองคำ ทำให้สัดส่วนต่อการซื้อมีการกระจายตัว และไม่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับดัชนี

 

ประธานเฟดคลีฟแลนด์ชี้พร้อมหั่นคิวอี

 

นางแซนดรา เพียนัลโต ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาคลีฟแลนด์ กล่าวว่า เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในเร็วๆ นี้ ถ้าหากการปรับตัวดีขึ้นในระยะนี้ของตลาดการจ้างงานในสหรัฐยังคงดำเนินต่อไป

 

ถึงแม้ว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ เพิ่มขึ้นเพียง 162,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำเกินคาด แต่ นางเพียนัลโต ก็มุ่งความสนใจไปที่ความแข็งแกร่งของการจ้างงานในระยะนี้

 

นางเพียนัลโต กล่าวว่า “การจ้างงานเติบโตขึ้นในระดับที่แข็งแกร่งกว่าที่ดิฉันคาดการณ์ไว้ และอัตราการว่างงานในปัจจุบันนี้ก็อยู่ในระดับต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนก.ย. ปีที่แล้ว ราว 0.5%”

 

“ถ้าหากตลาดแรงงานยังคงปรับตัวแข็งแกร่งขึ้นเหมือนกับในช่วงหลังฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้ว ดิฉันก็พร้อมที่จะปรับลดอัตราการเข้าซื้อสินทรัพย์รายเดือน” นางเพียนัลโตกล่าว

 

ทั้งนี้ เฟดดำเนินมาตรการคิวอี ในปัจจุบันด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ในอัตรา 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน

 

กระทรวงแรงงานสหรัฐ รายงานเมื่อวันศุกร์ที่ 2 ส.ค. ว่า การจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐเพิ่มขึ้น 162,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 184,000 ตำแหน่ง อย่างไรก็ดี อัตราการว่างงานลดลงสู่ 7.4% ในเดือนก.ค. จาก 7.6% ในเดือนมิ.ย.

 

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น นับตั้งแต่ นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด ส่งสัญญาณบ่งชี้ในเดือนพ.ค. และเดือนมิ.ย. ว่า เฟดอาจจะปรับลดขนาดคิวอีลงในอนาคต โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปี อยู่ที่ 2.599% ในช่วงท้าย วานนี้ เทียบกับระดับต่ำสุดในเดือนพ.ค. ที่ 1.614%

 

ยันไม่เกี่ยวปรับขึ้นดอกเบี้ย

 

อย่างไรก็ดี นางเพียนัลโต ตั้งข้อสังเกตว่า การปรับลดวงเงินคิวอีไม่ได้เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า เฟดกำลังจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นางเพียนัลโตกล่าวว่า “ตลาดแรงงานยังไม่ได้ฟื้นตัวขึ้นอย่างเต็มที่ ดังนั้นถึงแม้ว่าเฟดปรับลดขนาดโครงการเข้าซื้อสินทรัพย์ แต่เฟดก็จะยังคงมีภาระผูกพันในการส่งเสริมการเติบโตด้านการจ้างงาน และส่งเสริมเสถียรภาพของราคา”

 

เจ้าหน้าที่เฟด กล่าวว่า ตราบใดที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ เฟดก็จะไม่พิจารณาเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จนกว่าอัตราการว่างงาน จะร่วงลงแตะ 6.5%

 

ด้าน นายโจเซฟ ลาวอร์ญา หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สหรัฐ ของ ธนาคารดอยช์ แบงก์ กล่าวว่า “เฟดจะปรับลดขนาดคิวอีลงในช่วงต่อไปในปีนี้อย่างแน่นอน แต่ เฟด ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะปรับลดเมื่อใด ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐในขณะนี้อยู่ในภาวะที่ดีกว่าในช่วงที่เฟดเริ่มต้นใช้มาตรการคิวอี เป็นอย่างมาก”

 

ที่มา : MSN (วันที่ 14 สิงหาคม 2556)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...