ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ฝรั่งเดาทองราคา กล่าวว่า ป้วนเปี้ยนแถว 1299-1302 ไม่ยอมไปไหน โดยมีแนวรับที่ต้องรับไว้ได้ตรง 1297 และ รอผู้นำฯ ว่าได้ยินข่าวอะไรบ้างที่จะกระทุ้งราคาทองขึ้น ด่าน 1306-1308 แข็งแรง แต่ถ้าพังขึ้นมาก็ 132x แบบชิวๆๆ ใครถือทองแท่งตัวเป็นๆๆ ขาซื้อ ก็ต้อง ทนถือ ถือทน ตามสัญญานนำทาง MACD 5,35,9 ที่เส้นตัดกันแล้ว ราคาทองน่าจะค่อยๆ ขึ้น พร้อมแนวขาเสี่ยง คือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผมหวังว่า ลงมาเพื่อมีแรงดันขึ้น ตามเส้นสีเขียว

 

http://www.fxstreet.com/analysis/todays-gold-forecast/2014/04/28/

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 แบบส่งสัญญานนำทาง เส้นแดงที่เคยอยู่ด้านบนเส้นดำ แต่ในตอนนี้เกิดอาการทับกัน แต่ผมถือว่ายังไม่ได้ตัดกัน และอาการแบบนี้ แบบไหน แบบทับกัน ให้ลุ้นว่าไปทางไหนดีเอ่ย มักเกิดขึ้นเสมอในช่วงประชุมเฟด แต่เมื่อเส้นไม่ตัดกัน ก็ต้อง ทนถือ ถือทนกันต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บ่ายนี้ มีตัวเลขของยุโรปที่สำคัญออก ซึ่งน่าจะทำให้ราคาทองเคลื่อนไหว ตัวเลขออกมาดี ทองก็ขึ้น ออกมาแย่ ทองก็ร่วง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ส่งนรหัส 7,5,2 แบบไวไว เส้นแดงยังอยู่เหนือเส้นดำ ถึงแม้ว่าราคาทองจะลดลง มาระดับต่ำกว่า 1300 แต่เส้นสัญญานก็ยังหนุนให้มีทางเดินไปแนว 1300 อยู่เลย ก็ตัองลุ้นสู้กันไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 28 เม.ย.2557

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (28 เม.ย.) เพราะได้แรงหนุนจากข่าวการควบรวมกิจการและซื้อกิจการของบริษัทเอกชน และข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง รวมทั้งดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถสกัดปัจจัยลบจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ ตึงเครียดในยูเครน

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,448.74 จุด เพิ่มขึ้น 87.28 จุด หรือ +0.53% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,074.40 จุด ลดลง 1.16 จุด หรือ -0.03% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,869.43 จุด เพิ่มขึ้น 6.03 จุด หรือ +0.32%

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (28 เม.ย.) โดยสัญญาปิดร่วงหลุดจากระดับ 1,300 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐทำให้นักลงทุนลดการถือครอง ทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย นอกจากนี้ นักลงทุนยังได้เทขายทำกำไรหลังจากสัญญาพุ่งขึ้นติดต่อกัน 3 วันทำการที่ผ่านมา

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ลดลง 1.8 ดอลลาร์ หรือ 0.14% ปิดที่ 1,299.0 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ลดลง 10.3 เซนต์ ปิดที่ 19.588 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ร่วงลง 4.60 ดอลลาร์ ปิดที่ 1419.70 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 10.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 800.70 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (28 เม.ย.) เพราะได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ รวมถึงดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 24 เซนต์ ปิดที่ 100.84 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 1.46 ดอลลาร์ ปิดที่ 108.12 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (28 เม.ย.) แม้ว่ามีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสจากสหรัฐ

 

ค่าเงินยูโรเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3853 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3837 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ปรับขึ้นสู่ระดับ 1.6812 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.6801 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 102.43 เยน จากระดับ 102.13 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.8800 ฟรังค์ จากระดับ 0.8809 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.9253 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9269 ดอลลาร์สหรัฐ

 

-- ดัชนี FTSE 100 ที่ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (28 เม.ย.) ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว นำโดยหุ้นแอสทราเซเนกา

 

ดัชนี FTSE 100 ปิดเพิ่มขึ้น 14.47 จุด หรือ 0.22% ที่ 6,700.16 จุด

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (29 เม.ย.) เพราะได้ปัจจัยบวกจากข่าวการควบรวมกิจการและซื้อกิจการของบริษัทเวชภัณฑ์ราย ใหญ่ของยุโรป นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 เพิ่มขึ้น 0.2% ปิดที่ 334.13 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,460.53 จุด เพิ่มขึ้น 16.90 จุด หรือ +0.38% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,446.36 จุด เพิ่มขึ้น 44.81 จุด หรือ +0.48% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,700.16 จุด เพิ่มขึ้น 14.47 จุด หรือ +0.22%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายวิเตอร์ คอนสแตนซิโอ รองประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เปิดเผยวานนี้ (28 เมษษยน 2557) ในงานนำเสนอรายงานว่าด้วยเสถียรภาพและบูรณาการทางการเงินของยุโรปปี 2556 ของคณะกรรมาธิการยุโรป และรายงานว่าด้วยบูรณาการทางการเงินในยุโรปปี 2557 ของอีซีบีว่า เสถียรภาพทางการเงินในยูโรโซนได้ปรับตัวดีขึ้น แต่วิกฤตการเงินยังไม่สิ้นสุดลง ทั้งนี้ เชื่อว่านโยบายที่มีความรอบคอบในเชิงมหภาคมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับยูโร โซน เนื่องจากในหลักการแล้ว เครื่องมือด้านนโยบายมหภาคที่รอบคอบจะทำให้เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายสามารถ จัดการกับความไร้สมดุลทางการเงินในแนวทางที่ค่อยเป็นค่อยไปและมีความเฉพาะ เจาะจงสำหรับแต่ละประเทศได้มากขึ้น

 

ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ(วันที่ 29 เมย.57)

 

 

ราคาน้ำมันลอนดอนวานนี้(28) ลงแรง เมินตะวันตกคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่และให้ความสำคัญกับลิเบียกำลังเพิ่มการ ส่งออก ส่วนวอลล์สตรีทก็ไม่ใส่ใจวิกฤตยูเครน ปิดบวกเล็กน้อยหลังคาดตัวเลขเศรษฐกิจแข็งแกร่ง ส่วนทองคำขยับลงในกรอบแคบๆ

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้น 24 เซนต์ ปิดที่ 100.84 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนมิถุนายน ลดลง 1.46 ดอลลาร์ ปิดที่ 108.12 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

มีแรงเทขายในน้ำมันดิบตลาดลอนดอน หลังถูกกดดันจากบริษัทพลังงานแห่งชาติของลิเบีย ประกาศว่าเหตุสุดวิสัยที่คลังน้ำมันซูเออิตินาได้สิ้นสุดลงแล้ว และกำลังเปิดทางสำหรับกลับคืนสู่การส่งออก

 

ขณะเดียวกันเหล่านักวิเคราะห์ก็มองว่ามาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ของ วอชิงตันและยุโรป ที่มีเป้าหมายเล่นงานเหล่าคนใกล้ชิดของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ต่อความล้มเหลวบรรเทาความตึงเครียดในยูเครน ถือว่าเบาบางกว่าที่คาดหมายไว้ก่อนหน้านี้

 

ส่วนตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(28) ปิดบวกเล็กน้อย นักลงทุนไม่ใส่ใจมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ของตะวันตกต่อรัสเซีย และจับตาไปที่ข้อมูลข่าวทางเศรษฐกิจและรายงานผลประกอบการบริษัท ที่จะเผยแพร่ออกมามากมายตลอดทั้งสัปดาห์นี้

 

ดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 87.28 จุด (0.53 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,448.74 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 6.03 จุด (0.32 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,869.43 จุด แนสแดค ลดลง 1.16 จุด (0.03 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,074.40 จุด

 

ท่ามกลางการซื้อขายไปเบาบาง นักลงทุนต่างพากันจับตาไปที่ถ้อยแถลงของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินธนาคาร กลางสหรัฐฯในวันพุธ(30) และข้อมูลตลาดแรงงานรายเดือนในวันศุกร์(2พ.ค.)

 

ด้านราคาทองคำวานนี้(28) ขยับลงในกรอบๆ จากแรงเทขาย หลังปิดบวกพอสมควร หนึ่งวันของการซื้อขายก่อนหน้านี้ โดยราคาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 1.80 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,299.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์

 

วันที่ 29 เมษายน 2557

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝรั่งเศสออกโรงเตือนถึงผลลัพธ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้หากวิกฤตในยูเครนเลวร้ายย่ำแย่ลงกว่าเดิม พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลรัสเซียและกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่นิยมรัสเซีย ยุติการกระทำใดๆ ที่อาจเป็นการโหมเชื้อไฟแห่งความขัดแย้งให้ลุกลามหนักข้อขึ้น

 

โลร็องต์ ฟาบิอูส์ รัฐมนตรีต่างประเทศของฝรั่งเศสให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งในแดน น้ำหอม โดยยอมรับว่าสถานการณ์ในยูเครนเวลานี้น่าเป็นกังวลอย่างยิ่ง และอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เลวร้ายจนไม่อาจจะคาดเดาได้

 

ฟาบิอูส์ วัย 67 ปีซึ่งเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2012 ยังเรียกร้องให้รัฐบาลรัสเซียรวมถึงบรรดากลุ่มติดอาวุธแบ่งแยกดินแดนนิยมรัส เซียที่กำลังออกอาละวาดบุกเข้ายึดสถานที่ราชการหลายแห่งทั่วภาคตะวันออกของ ยูเครนอยู่ในเวลานี้ ยุติการกระทำใดๆที่จะมีผลให้วิกฤตในยูเครนทวีความตึงเครียด พร้อมย้ำ รัสเซียควรเคารพในอธิปไตยของยูเครน ดังเช่นที่ทุกชาติในยุโรปเคารพในอธิปไตยของรัสเซีย

 

ความเคลื่อนไหวล่าสุดของรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสมีขึ้นไม่ถึง 24 ชั่วโมงก่อนที่บรรดาผู้แทนทางการทูตของ 28 ชาติสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) จะประชุมกันที่กรุงบรัสเซลส์ของเบลเยียมในวันจันทร์ (28) เพื่อเตรียมออกมาตรการคว่ำบาตรชุดใหม่ต่อรัสเซีย ที่คาดว่าอาจพุ่งเป้าเล่นงานไปที่อุตสาหกรรมพลังงานของแดนหมีขาวซึ่งเป็น แหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาลมอสโก

 

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ใน การประชุมรอบที่ 3 ของปี 2557 ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 29-30 เม.ย.นี้ คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐ (FOMC) น่าจะมีมติให้ปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ ภายใต้โครงการคิวอี ลงอีก 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ/เดือน เหลือ 45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ/เดือน หลังจากข้อมูลบ่งชี้ว่าภาพรวมของพัฒนาการเศรษฐกิจสหรัฐให้ภาพที่สดใสมากขึ้น โดยเครื่องชี้การบริโภคสหรัฐเริ่มให้ภาพที่สดใส หลังอ่อนตัวลงในช่วงเดือนธ.ค. 2556-ม.ค. 2557 การจ้างงานนอกภาคการเกษตรฟื้นตัวขึ้น

 

 

 

อย่างไรก็ตาม คาดว่าเฟดยังไม่มีความจำเป็นในการที่จะต้องพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบายในระยะเวลาอันใกล้ เนื่องจากตลาดแรงงานสหรัฐยังไม่ได้มีสัญญาณของการฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ในขณะที่แรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยอยู่ในระดับ 1.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (YoY) ในเดือนมี.ค. ซึ่งต่ำกว่าระดับที่เหมาะสมต่อเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ 2.0% อยู่มาก อันอาจเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเงินฝืดซึ่งจะกระทบต่อศักยภาพในการขยาย ตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ

 

 

 

ทั้งนี้ คาดว่าเฟดจะคงดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำไปอย่างต่อเนื่องอีกระยะเวลาหนึ่ง โดยมองว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของเฟดน่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นในช่วงหลัง ของปี 2558 มากกว่าในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2558

 

 

 

นับเป็นเวลา กว่า 4 เดือน ที่เฟดได้เริ่มต้นในการทยอยปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ลงตั้งแต่เดือนม.ค. 2557 และส่งผลให้ประเทศในตลาดเกิดใหม่บางประเทศเผชิญกับความผันผวนของตลาดการเงิน แต่ผล กระทบต่อตลาดการเงินไทยยังคงอยู่ในขอบเขตที่จำกัด เนื่องจากเสถียรภาพภายนอกประเทศของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี ผลของการปรับลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนของไทยยังคง อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้

 

 

 

อย่างไรก็ดี ยอมรับว่าภาวะชะงักงันของเศรษฐกิจไทยจากปัจจัยการเมืองในประเทศที่สร้างผล กระทบเชิงลบต่อแนวโน้มการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ รวมทั้งส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตร รัฐบาลสหรัฐที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะในช่วงที่เฟดสิ้นสุดโครงการซื้อสินทรัพย์ เป็นปัจจัยที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด

 

 

 

เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการไหลออกของเงินทุนในอนาคต

 

ที่มา: ข่าวสด(วันที่ 29 เมย.57)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (28 เม.ย.) แม้ว่ามีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสจากสหรัฐ

 

ค่าเงินยูโรเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3853 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3837 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ปรับขึ้นสู่ระดับ 1.6812 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.6801 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 102.43 เยน จากระดับ 102.13 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.8800 ฟรังค์ จากระดับ 0.8809 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.9253 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9269 ดอลลาร์สหรัฐ

 

เมื่อคืนนี้ สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ (NAR) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนมี.ค.เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับแต่เดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว หรือในรอบ 9 เดือน ซึ่งส่งสัญญาณว่าตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐกำลังกระเตื้องขึ้น หลังจากที่เผชิญกับภาวะซบเซาในช่วงต้นปี

 

นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาดัลลัสเปิดเผยว่า ภาวะทางธุรกิจในภาคการผลิตของเท็กซัสในเดือนเม.ย.ทะยานขึ้นแตะ 11.7 จาก 4.9 ในเดือนมี.ค. หลังจากดัชนีย่อยหลายตัวได้พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 4 ปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าภาคการผลิตมีการขยายตัวที่สดใสมากขึ้น

 

สำหรับสถานการณ์ทางการเมืองเกี่ยวกับวิกฤตยูเครนนั้น แม้ว่าสหรัฐได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ต่อรัสเซียเมื่อวานนี้ แต่ก็ไม่มีสัญญาณบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าความตึงเครียดเกี่ยวกับยูเครนได้ทวีความ รุนแรงขึ้น ดังนั้น เงินเยน ซึ่งถือเป็นสกุลเงินที่มีความปลอดภัย จึงอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

 

ทั้งนี้ นักลงทุนต่างก็จับตาดูการประชุมกำหนดนโยบายการเงินของเฟด ซึ่งจะเปิดฉากในวันนี้และจะทราบผลในเช้าวันพฤหัสบดี ตามเวลาไทย รวมทั้งข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญหลายรายการของสหรัฐที่จะรายงานในสัปดาห์นี้ อาทิ ประมาณการครั้งแรกจีดีพีสหรัฐช่วงไตรมาส 1 ปี 2557 ในวันพุธและข้อมูลจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเม.ย.ในวันศุกร์

 

ที่มา: อินโฟเควสท์(วันที่ 29 เมย.57)

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (28 เม.ย.) โดยสัญญาปิดร่วงหลุดจากระดับ 1,300 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐทำให้นักลงทุนลดการถือครอง ทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย นอกจากนี้ นักลงทุนยังได้เทขายทำกำไรหลังจากสัญญาพุ่งขึ้นติดต่อกัน 3 วันทำการที่ผ่านมา

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ลดลง 1.8 ดอลลาร์ หรือ 0.14% ปิดที่ 1,299.0 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค.ลดลง 10.3 เซนต์ ปิดที่ 19.588 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ร่วงลง 4.60 ดอลลาร์ ปิดที่ 1419.70 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 10.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 800.70 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐทำให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำซึ่ง เป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย โดยสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ (NAR) เผย ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนมี.ค.เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับแต่เดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว หรือในรอบ 9 เดือน ซึ่งส่งสัญญาณว่าตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐกำลังกระเตื้องขึ้น หลังจากที่เผชิญกับภาวะซบเซาในช่วงต้นปี

 

ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาดัลลัสเปิดเผยว่า ภาวะทางธุรกิจในภาคการผลิตของเท็กซัสในเดือนเม.ย.ทะยานขึ้นแตะ 11.7 จาก 4.9 ในเดือนมี.ค. หลังจากดัชนีย่อยหลายตัวได้พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 4 ปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าภาคการผลิตมีการขยายตัวที่สดใสมากขึ้น

 

นักลงทุนจับตาดูสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตกอย่าง ใกล้ชิด โดยมีรายงานว่าทำเนียบขาวประกาศมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่อรัสเซียเมื่อวาน นี้ โดยพุ่งเป้าไปที่เจ้าหน้าที่รัฐบาล 7 รายและบริษัท 17 แห่งที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซีย

 

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่าการคว่ำบาตรครั้งใหม่นี้อาจจะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงมากนัก และคาดว่าสัญญาทองคำจะปรับฐานลงสู่กรอบ 1,287.50 - 1,282.99 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 29 เมษายน 2557)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับป๋า

 

ขอบคุณนะครับ

 

กราฟรหัส และ วิแคะ ^^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...