ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

กราฟรหัส 7,5,2 เส้นแดงอยู่เหนือเส้นดำ บ่งบอก ยังไปได้ทางขึ้น อยู่ รูปแบบเส้นยังไม่น่าจะเกิดการย่อตัวในราคาปิดพรุ่งนี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กราฟรหัส 5,35,9 แบบส่งสัญญานนำทาง ตัดกันไปแล้วเมื่อวานนี้ ระหว่างดำแดง รูปแบบยิ่งดูดีถ่างออกจากกัน ไม่ลงแล้วไม่ย่อแล้ว จากราคานี้ 1260 มีแต่จะขึ้นอย่างเดียว แต่ได้เท่าไหร่ ต้องเผชิญ 1264 ให้ผ่านอย่างเร็ว จากตัวเลขสหรัฐฯ คืนนี้ ( คนตกงาน ) ที่ว่ามา ทั้งโม้ทั้งบ่น 555 แต่อยากให้มันเกิดขึ้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท ยังให้น้ำหนักทางอ่อนค่า 32.47-32.55

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานทางยุโรป ช่วงบ่าย ถ้านักลงทุนสนใจตัวเลขรายงาน ราคาทองอาจผันขึ้น กลัวพวกเขาจะรอเล่นแต่ พนันบอล สิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝั่งสหรัฐฯ น่าจะวิ่ง เพราะ สหรัฐฯ ไม่เล่น Soccer เล่นแต่ American Football มีกระตุกต่อมตกใจ อุ้ย ขึ้นแล้ว อุ้ย ย่อแล้ว อุ้ยขึ้นอีกแล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองปิดตลาดทรงตัวใกล้ระดับปิดของวันอังคาร โดยในระหว่างวันราคาแกว่งตัวในกรอบค่อนข้างแคบ ประเด็นข่าวต่างๆ ที่มีผลต่อราคาทองในระยะนี้ยังไม่มีประเด็นใหม่ ราคาทองจึงแกว่งตัวขึ้นลงในกรอบแคบตามปัจจัยทางเทคนิค...

 

วานนี้ราคาทองปิดตลาดที่ 1,260.55 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 0.70 ดอลลาร์ ราคาทำจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดที่ 1,257 และ 1,265 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตามลำดับ ส่วนราคาซื้อขายทองคำแท่งในประเทศชนิด 96.5% เมื่อวานนี้ ขายออกที่บาทละ 19,450 บาท และรับซื้อคืนที่บาทละ 19,350 บาท กองทุน SPDR ไม่มีรายงานการเปลี่ยนแปลงปริมาณการถือครองทองคำ โดยปัจจุบันกองทุนถือครองทองคำรวม 787.08 ตัน

 

ราคาทองวานนี้โดยรวม แล้วเคลื่อนไหวในกรอบแคบเนื่องจากขาดปัจจัยชี้นำทั้งในด้านบวกและลบ นักลงทุนต่างติดตามการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ทั้งยอดค้าปลีกเดือนพฤษภาคม และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิต ซึ่งรายงานต่างๆ จะมีออกมาในช่วงปลายสัปดาห์ การเคลื่อนไหวของราคาทองวานนี้จึงเป็นการแกว่งตัวในกรอบค่อนข้างแคบ โดยในช่วงค่ำวันนี้จะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจจากสหรัฐฯ ทั้งรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และรายงานยอดค้าปลีกเดือนพฤษภาคม โดยผลสำรวจประเมินว่ายอดค้าปลีกจะขยายตัวขึ้น 0.5% หลังจากในเดือนก่อนหน้าขยายตัว 0.1% ส่วนรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ผลสำรวจประเมินว่าจะอยู่ที่ 3.06 แสนราย จากสัปดาห์ก่อนที่ 3.12 แสนราย

 

ทั้งนี้ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯโดยรวมแล้วยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัว ซึ่งกดดันราคาทองผ่านการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ นักลงทุนต่างยังเลือกเก็งกำไรในตลาดสินทรัพย์เสี่ยงซึ่งได้รับประโยชน์จาก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่วนราคาทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยในระยะนี้คาดว่าจะแกว่งตัวขึ้นลงในกรอบ แคบต่อไป ส่วนภาพเทคนิคของราคาทองยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นต่อ โดยมีแนวต้านของวันอยู่ที่บริเวณ 1,270 และ 1,285 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตามลำดับ หากราคาปรับฐานลงเข้าใกล้แนวรับรับบริเวณ 1,250 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ยังคงเป็นแนวรับที่คาดว่าจะใช้เป็นจุดดีดตัวกลับ

 

อย่างไรก็ตามภาพการเคลื่อนไหวโดยรวมของราคาทองยังเป็นการเคลื่อนไหวในทิศ ทางขาลง หากไม่สามารถยืนเหนือแนวรับ ควรระวังแรงขายที่จะมีออกมามากขึ้น.

 

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (12/06/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ประท้วงในแอฟริกาหนุนทองคำปิดเพิ่ม

 

 

สัญญาทองคำล่วงหน้าตลาดสหรัฐ ปิดปรับตัวขึ้น อานิสงส์จากการนัดหยุดงานประท้วงนาน 5 สัปดาห์ในแอฟริกาใต้ และความต้องการแร่พาลาเดียม ที่เพิ่มขึ้นจากอุตสาหกรรมรถยนต์

 

ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ สหรัฐ ส่งมอบเดือนส.ค. ปิดตลาดปรับตัวขึ้น 1.10 ดอลลาร์ ปิดที่ราคา 1,261.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หุ้นสหรัฐฯ ‘ร่วง’ กันถ้วนหน้า ธนาคารโลกปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจโลก ปี 2557 จะเติบโต ลดลงจาก 3.2% เหลือแค่ 2.8% เท่านั้น

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดตลาดวานนี้ (11 มิ.ย.) หุ้นทุกตัว ‘ร่วง’กราว เมื่อได้ยิน ธนาคารโลก หรือเวิล์ด แบงก์ ปรับลดการคาดการณ์ เศรษฐกิจโลกจะเติบโตลดลงเหลือแค่ 2.8% หลังจากที่เคยคาดไว้ก่อนหน้าว่า เศรษฐกิจโลกปี 2557 จะโต 3.2% อันเนื่องมาจากฤดูหนาวในสหรัฐฯที่หนาวเย็นจัด และผลกระทบจากวิกฤตการณ์ในยูเครน

 

ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ ซึ่งทำสถิติสูงสุดก่อนปิดตลาดติดต่อมา 4 วัน กลับร่วงลงไปถึง 102.04 จุด หรือ 0.60% ปิดที่ 16,843.88 เช่นเดียวกับ ดัชนีหุ้น S&P500 ที่ร่วงลงไป 6.90 จุด หรือ 0.35% ซึ่งถือว่าร่วงมากที่สุดภายในวันเดียวนับตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา ปิดที่ 1,943.89 ขณะที่ ดัชนีหุ้นแนสแดค ร่วง 6.07 จุด หรือ 0.14% ปิดที่ 4,331.93

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (วันที่ 12 มิถุนายน 2557)

 

 

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ โดยได้รับปัจจัยถ่วงจากตลาดหุ้นสหรัฐที่ร่วงลงอย่างหนัก หลังจากที่ธนาคารโลกหรือเวิลด์แบงก์ ได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกสำหรับปีนี้

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific ร่วงลง 0.5% เมื่อเวลา 9.52 น.ตามเวลาโตเกียว

 

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 14,942.15 จุด ลดลง 127.33 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,051.58 จุด ลดลง 3.37 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 23,127.82 จุด ลดลง 129.47 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,209.99 จุด ลดลง 19.81 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,013.60 จุด ลดลง 1.07 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,284.33 จุด ลดลง 5.71 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,877.67 จุด ลดลง 0.71 จุด

 

ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดทำการวันนี้ เนื่องในวันชาติ

 

ทั้งนี้ ธนาคารโลกได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ลงสู่ระดับ 2.8% จากที่เคยประเมินไว้ในเดือนม.ค.ที่ระดับ 3.2% พร้อมระบุว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีการขยายตัวที่น่าผิดหวัง

 

ธนาคารโลกได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาลงสู่ระดับ 4.8% ในปีนี้ จากที่คาดการณ์ไว้ในเดือนม.ค.ที่ระดับ 5.3% ซึ่งนับเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันที่เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาขยายตัวต่ำกว่า 5%

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 12 มิถุนายน 2557)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบเงินเยนเมื่อคืนนี้ (11 มิ.ย.) จากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะยังไม่ขยายมาตรการกระตุ้นทางการเงิน

 

ค่าเงินยูโรลดลงเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3528 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3544 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ปรับขึ้นที่ 1.6793 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6755 ดอลลาร์

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 102.03 เยน จากระดับ 102.36 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9001 ฟรังค์ จากระดับ 0.8993 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.9384 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9370 ดอลลาร์สหรัฐ

 

สกุลเงินเยนปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ขณะที่บีโอเจแทบไม่ส่งสัญญาณที่จะดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มขึ้นในการประชุมกำหนดนโยบายที่จะเปิดฉากขึ้นในวันนี้

 

ส่วนดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ขณะที่นักลงทุนรอดูท่าทีด้านนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งมีกำหนดจัดการประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์หน้า

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 12 มิถุนายน 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กลุ่มโอเปกมีมติตรึงเพดานการผลิตน้ำมันวันละ 30 ล้านบาร์เรลเช่นเดิม แม้ความต้องการจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

 

 

 

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานผลการประชุมขององค์กรร่วมประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก (โอเปก) ครั้งที่ 165 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวานนี้ ตามเวลาท้องถิ่น โดยที่ประชุมมีมติคงอัตราเพดานการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มไว้ในระดับเดิม หรือวันละ 30 ล้านบาร์เรล แม้จะทำให้ปริมาณการผลิตต่ำกว่าคาดการณ์ปริมาณความต้องการน้ำมันในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีความต้องการน้ำมันดิบราว 30.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ก็ตาม

 

ปัจจุบันโอเปกมีสมาชิกทั้งสิ้น 12 ประเทศ ได้แก่ แอลจีเรีย อังโกลา เอกวาดอร์ อิหร่าน อิรัก คูเวต ลิเบีย ไนจีเรีย กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวเนซุเอลา

 

ทั้งนี้ รัฐมนตรีกลุ่มประเทศโอเปกกล่าวระหว่างการประชุมว่า กลุ่มโอเปกจะปรับกำลังการผลิตน้ำมันให้เหมาะสมกับความต้องการในตลาดโลก แม้จะตรึงเพดานการผลิตคงเดิม ทว่า การเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นช่วงครึ่งหลังของปีนี้เป็นภาระของประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งซาอุดิอาระเบียมีศักยภาพเพียงพอที่จะผลิตน้ำมันได้สูงถึงวันละ 12.5 ล้านบาร์เรล เมื่อเทียบกับปริมาณการผลิตในปัจจุบันที่ระดับ 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน

 

อย่างไรก็ดี ความวุ่นวายทางการเมือง รวมทั้งการประท้วงหยุดงานในลิเบีย และการใช้มาตรการคว่ำบาตรระงับการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน เนื่องจากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงด้านโครงการนิวเคลียร์ได้ ก็เป็นข้อจำกัดสำคัญในการส่งออกน้ำมันดิบ

 

 

 

ที่มา : โพสต์ทูเดย์(12 มิถุนายน 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางเกาหลีใต้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 2.5% ในการประชุมวันนี้ ซึ่งเป็นการตรึงอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 13 ครั้งติดต่อกัน ขณะที่ความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบในด้านลบจากอุบัติเหตุเรือเฟอร์รี่อับปาง ลดน้อยลง ท่ามกลางสัญญาณบ่งชี้บางด้านที่ระบุว่าการอุปโภคบริโภคเริ่มฟื้นตัวขึ้น

 

ทั้งนี้ นายลี จู-ยอล ผู้ว่าการธนาคารกลางเกาหลีใต้และคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินทั้ง 5 คนของธนาคารกลาง ได้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2.5% โดยธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้ตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0.25% นับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2556

 

การตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันนี้ เป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาด เนื่องจากตลาดคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ซบเซาลง อันเนื่องมาจากโศกนาฎกรรมเรือเฟอร์รีอับปาง ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก สำนักข่าวซินหัวรายงาน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 12 มิถุนายน 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของอังกฤษในเดือนพ.ค.ลดลง 27,400 ราย ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะลดลง 25,000 ราย ส่งผลให้จำนวนรวมอยู่ที่ 1.09 ล้านราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2551

 

จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 19 ติดต่อกันในเดือนที่ผ่านมา หลังจากที่ลดลง 28,400 รายในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีการปรับทบทวนจากเดิมที่รายงานว่าลดลง 25,100 ราย

 

ขณะที่จำนวนคนว่างงานลดลง 161,000 รายในช่วงสามเดือนจนถึงเม.ย. สู่ระดับ 2.16 ล้านราย ส่วนจำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น 345,000 ราย สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 30.5 ล้านราย

 

ด้านอัตราว่างงานในช่วงเดือนก.พ.-เม.ย. ปรับลงมาอยู่ที่ 6.6% จาก 6.8% ในช่วง 3 เดือนก่อนหน้านั้น

 

ทั้งนี้ อัตราว่างงานของอังกฤษล่าสุดลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 5 ปี เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศมีการฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 12 มิถุนายน 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองฟิวเจอร์แทบจะทรงตัว ในการซื้อขายทางระบบอิเล็กทรอนิกที่ตลาดเอเชียในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากที่ดีดตัวขึ้นสูงกว่าระดับ 1,260 ดอลลาร์ต่อออนซ์เมื่อวานนี้ ซึ่งทำให้ทองคำกลายเป็นที่ต้องการหลังจากที่ธนาคารโลกได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

 

เมื่อเวลาประมาณ 11.52 น.ตามเวลาประเทศไทย สัญญาทองส่งมอบเดือนส.ค.ที่ตลาด COMEX ทรงตัว ที่ 1262.1 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ สัญญาทองคำเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 1.10 ดอลลาร์ หรือ 0.1% ปิดที่ 1,261.20 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ธนาคารโลกได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลงเหลือ 2.8% จากการคาดการณ์เมื่อเดือนม.ค.ที่ 3.2% เนื่องจากสภาพอากาศที่รุนแรงช่วงฤดูหนาวในสหรัฐ และเหตุขัดแย้งในยูเครน

 

รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรในภาคเอกชนของญี่ปุ่นปรับตัวลดลง 9.1% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค. มาอยู่ที่ 8.513 แสนล้านเยน

 

ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ภาคเอกชนยังคงต้องการที่จะรอดูว่า ผลพวงจากการปรับขึ้นภาษีการค้าของรัฐบาลญี่ปุ่นเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา จะออกมาในรูปแบบใด

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 12 มิถุนายน 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไม่เพียงธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตัดสินใจกระตุ้นเศรษฐกิจรวมถึงควบคุมปัญหาเงินฝืดในยูโรโซน ด้วยมาตรการเชิงรุกชนิดเหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ แต่ยังส่งสัญญาณให้ตลาดได้ลุ้นว่า อาจใช้เครื่องมือสำคัญอย่างการกว้านซื้อพันธบัตรรัฐบาลลอตใหญ่ แบบเดียวกับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

 

 

จากการรายงานของเอพี การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบของเฟด ธนาคารกลางอังกฤษและธนาคารกลางญี่ปุ่นผ่านการซื้อหุ้นกู้ของรัฐประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจ เพราะสามารถดึงอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้ต่ำลง ลดต้นทุนกู้ยืมของผู้บริโภคและภาคธุรกิจซึ่งนำไปสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ 3 ประเทศดังกล่าว แต่ถ้าอีซีบีจะเลียนแบบ อาจไม่ง่ายอย่างที่คิด

 

อีซีบี มีปัญหาทั้งทางเทคนิคและทางปฏิบัติหลายอย่างที่ธนาคารกลางอื่น ๆ ไม่ต้องเจอ เช่น ยูโรโซนประกอบด้วยสมาชิก 18 ประเทศ หมายความว่าอีซีบีต้องพิจารณาสถานการณ์ในตลาดพันธบัตร 18 แห่ง และเกิดคำถามว่าจะซื้อพันธบัตรจากตลาดไหน เป็นมูลค่าเท่าไหร่ รวมถึงจะใช้เกณฑ์อะไรมาพิจารณา

 

ยิ่งไปกว่านั้น การขยายฐานเงินด้วยการซื้อตราสารหนี้ภาครัฐก็ถูกคัดค้านเสียงแข็งจากเยอรมนีมาโดยตลอด ทำให้นายมาริโอ ดรากิ ประธานอีซีบียังคงสงวนท่าทีในประเด็นนี้

 

จนกระทั่งการประชุมบอร์ดอีซีบีในสัปดาห์ที่แล้ว เป็นครั้งแรกที่นายดรากิแสดงท่าทีชัดเจนว่าพร้อมใช้มาตรการคิวอีถ้าอัตราเงินเฟ้อยังลดลงต่อเนื่อง โดยตอบข้อสงสัยของผู้สื่อข่าวหลังเสร็จสิ้น

 

การประชุมว่า "ความพยายามของเรามีเท่านี้ใช่หรือไม่ คำตอบคือ ไม่"

 

ก่อนหน้านั้นนายดรากิได้เปิดเผยว่า อีซีบีตัดสินใจหั่นอัตราดอกเบี้ยเหลือ 0.15% จากเดิม 0.25% พร้อมกับคิดอัตราดอกเบี้ยติดลบ 0.1% เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จากเงินฝากส่วนเกินที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับอีซีบี ซึ่งเท่ากับว่าหากสถาบันการเงินพักเงินไว้ที่อีซีบีมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้ธนาคารกลางด้วย เพื่อกดดันให้ธนาคารพาณิชย์นำเงินสดที่มีในมือไปปล่อยกู้ให้ภาคครัวเรือนหรือภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

 

ทั้งนี้ ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนที่แล้วอยู่ที่ 0.5% ต่ำกว่าเป้าหมายของอีซีบีซึ่งกำหนดไว้ที่ระดับใกล้ 2% กดดันให้เกิดความกังวลว่ายูโรโซนอาจเข้าสู่ภาวะเงินฝืดแบบเดียวกับที่ญี่ปุ่นเคยประสบมาแล้ว ซึ่งวิธีที่จะป้องกันปัญหาดังกล่าว ต้องกระตุ้นให้เกิดการกู้ยืมและปล่อยสินเชื่อ เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น

 

นายเจิร์ก เครเมอร์ และนายคริสโตเฟอร์ เวล นักวิเคราะห์จากคอมเมิร์ซแบงก์มองว่า มีโอกาส 40% ที่อีซีบีจะตัดสินใจใช้มาตรการคิวอี แต่ก็คาดว่ามาตรการที่อีซีบีเพิ่งคลอดออกมาจะมีประสิทธิภาพเพียงพอในการรับมือปัญหา ช่วยให้อีซีบีไม่จำเป็นต้องหันมาพึ่งคิวอี แต่ถ้าอัตราเงินเฟ้อยังเป็นขาลงต่อเนื่อง นายดรากิก็อาจไม่มีทางเลือกอื่น เพราะอีซีบีระบุว่าได้ปรับอัตราดอกเบี้ยลงต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้แล้ว สะท้อนว่าเครื่องมือทั่วไปในการดูแลเศรษฐกิจแทบไม่มีเหลือ

 

แม้อีซีบีจะตัดสินใจเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลในที่สุด ซึ่งจะมีผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรลดลง แต่ประสิทธิภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจอาจไม่มากเท่ากับกรณีสหรัฐ เพราะภาคธุรกิจในยุโรปพึ่งพาการกู้ยืมจากสถาบันการเงินมากกว่านักลงทุนในตลาดหุ้นกู้ ถ้าธนาคารพาณิชย์ยังปฏิเสธที่จะปล่อยสินเชื่อเพราะกลัวว่าจะเป็นหนี้เสีย อีซีบีจะใช้มาตรการเชิงรุกแค่ไหนก็คงไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ดังหวัง

 

 

 

 

 

ที่มา : ประชาชาติออนไลน์ (12/06/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงในช่วงบ่ายวันนี้ หลังจากที่ตลาดหุ้นสหรัฐอ่อนตัวลง โดยดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่าขึ้นหลังจากที่ธนาคารกลางนิวซีแลนดฺ์ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่ตลาดจับตาและจะมีการเปิดเผยในวันนี้ ได้แก่ ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานและยอดค้าปลีกของสหรัฐ

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific อ่อนตัว 0.4% เมื่อเวลา 11.49 น.ตามเวลาโตเกียว

 

ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้ โดยปรับขึ้น 0.25% ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Official Cash Rate - OCR) อยู่ที่ 3.25% พร้อมระบุว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วทำให้เกิดแรงกดดันเงินเฟ้อ

 

นายเกรเม วีลเลอร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางนิวซีแลนด์คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวประมาณ 4% ในรอบปีที่สิ้นสุดเดือนมิ.ย. และการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศคู่ค้าค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 12 มิถุนายน 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...