ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

เฟดเดินหน้าหารือขึ้นดอกเบี้ยกลางปีนี้ ขณะเศรษฐกิจสหรัฐแข็งแกร่ง (06/01/2558)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

นายจอห์น วิลเลียม ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาซาน ฟรานซิสโก กล่าวว่า เฟดยังคงมีการหารือกันเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะมีขึ้นในกลางปีนี้

 

นอกจากนี้ เขายังกล่าวในการประชุมประจำปีของสมาคมเศรษฐกิจอเมริกันว่า เศรษฐกิจสหรัฐได้แสดงสัญญาณที่น่าพึงพอใจในช่วงหลายไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่การร่วงลงของราคาน้ำมันถือเป็นปัจจัยบวกอย่างมากต่อเศรษฐกิจ

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 6 มกราคม 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โฆษกรัฐบาลเยอรมนีโต้สื่อ ยันยังคงหนุนกรีซอยู่ในยูโรโซน (06/01/2558)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

นายสเตฟเฟน ไซเบิร์ท โฆษกรัฐบาลเยอรมนี กล่าวในวันนี้ว่า เยอรมนีไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่มีต่อกรีซ โดยเป้าหมายของรัฐบาลยังคงเป็นไปเพื่อสร้างความแข็งแกร่งต่อยูโรโซน ซึ่งรวมถึงกรีซ

 

ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์ Spiegel ของเยอรมนีรายงานว่า นายกรัฐมนตรีแองเจลา แมร์เคิล เตรียมที่จะปล่อยให้กรีซออกจากยูโรโซน ถ้าหากกรีซมีรัฐบาลที่คัดค้านนโยบายรัดเข็มขัดที่กำลังมีการดำเนินการในขณะนี้

 

นายฟรองซัวส์ ออลลองด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส กล่าวในวันนี้ว่า กรีซมีอิสระในการออกจากยูโรโซน แต่ก็จะต้องปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้

 

"กรีซมีอิสระที่จะตัดสินใจในโชคชะตาของตนเอง แต่กรีซจะต้องเคารพในข้อผูกพันที่ได้เคยทำไว้" เขากล่าว ท่ามกลางความวุ่นวายทางการเมืองครั้งใหม่ในกรีซ

 

ก่อนหน้าการเลือกตั้งที่กำหนดมีขึ้นในวันที่ 25 ม.ค.

นายอันโตนิส ซามาราส นายกรัฐมนตรีกรีซ เปิดเผยว่า การเลือกตั้งทั่วไปซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 25 ม.ค.นี้ ถือเป็นการชี้ชะตาว่ากรีซจะสามารถรักษาสถานภาพการเป็นสมาชิกยูโรโซนต่อไปได้หรือไม่ พร้อมกับเตือนว่า หากพรรคไซรีซา ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ก็อาจจะส่งผลให้กรีซเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ และอาจทำให้กรีซต้องพ้นจากการเป็นชาติสมาชิกของยูโรโซน เนื่องจากนายอเล็กซิส ซิปราส หัวหน้าพรรคไซรีซา มีแนวโน้มที่จะยุติมาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี

 

เพื่อแลกกับการให้ความช่วยเหลือต่อกรีซ

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 5 มกราคม 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

เงินเฟ้อปี’57 เพิ่ม 1.89% โดยเฉพาะเดือนธันวาคม ขยายตัวแค่ 0.60% ต่ำสุดในรอบ 62 เดือน หรือ 5 ปี เหตุผลหลักมาจากราคาอาหารสด-น้ำมันปรับตัวลดลง พาณิชย์เตรียมทบทวนกรอบเงินเฟ้อปี’58 ใหม่

 

นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศหรือเงินเฟ้อเดือนธันวาคม 2557 เท่ากับ 106.65 ลดลง 0.50% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่สูงขึ้น 0.60% เมื่อเทียบกับปีก่อน นับเป็นอัตราการขยายตัวที่ชะลอตัวลง และต่ำสุดในรอบ 62 เดือน เนื่องจากราคาอาหารสด เช่น ไข่ไก่ เนื้อสุกร ไก่สด ผัก ผลไม้ปรับตัวลดลง เพราะผลผลิตมีสูง และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศปรับตัวลดลง ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2557 อยู่ที่ 1.89% ต่ำกว่าที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ในกรอบ 2.0-2.8%

 

“เมื่อเทียบอัตราเงินเฟ้อของไทยและเอเชีย พบว่าไทยมีอัตราเงินเฟ้อต่ำอยู่อันดับที่ 4 รองจากสิงคโปร์ที่ขยายตัว 1.1% ไต้หวัน 1.25% จีน 1.4% และไทย 1.89% เห็นได้ว่าทั่วโลกอัตราเงินเฟ้อขยายตัวค่อนข้างต่ำ เหตุผลหลักก็มาจากราคาน้ำมันที่ลดลง”

 

สำหรับการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธันวาคม 2557 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2557 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ดัชนีราคาลดลง 0.21% เพราะสภาพอากาศที่ดี ผลผลิตจึงออกมาสู่ตลาดมาก ส่วนหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ดัชนีราคาลดลง 0.67% เพราะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีก ซึ่งจากการสำรวจสินค้า 350 รายการ มีสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น 172 รายการ เช่น ข้าวสารเจ้า ไก่ย่าง ปลาทู อาหารตามสั่ง น้ำมันพืช ค่าโดยสารแท็กซี่ ค่าเช่าบ้าน ก๊าซหุงต้ม ด้านสินค้าที่ไม่เปลี่ยนแปลงมีจำนวน 181 รายการ และสินค้าที่ปรับตัวลดลง 97 รายการ เช่น ข้าวสารเหนียว เนื้อหมู ผลไม้สด ค่าผ่านทางพิเศษ เป็นตัน

 

“แม้ราคาน้ำมันจะลดลง แต่ก็ส่งผลกระทบต่อราคาอาหารสำเร็จรูปไม่มาก ส่วนการที่ราคาอาหารสำเร็จรูปยังทรงตัว และไม่ปรับลดลง แม้ราคาวัตถุดิบต่างๆ ในช่วงนี้จะปรับราคาลงนั้นผู้ประกอบการให้เหตุผลว่าปัจจุบันยอดขายอาหาร สำเร็จรูป การบริโภคของประชาชนมีน้อยลงมาก ทำให้ผู้ค้าต้องคงราคาเดิมไว้ เพื่อให้คุ้มทุน ทั้งจากค่าเช่าที่ ค่าสินค้าอื่นที่ยังทรงตัว คนกินน้อยลงของขายได้น้อย จึงต้องขายราคาเดิมเพื่อรักษาทุนไว้”

 

ในอนาคต 2-3 เดือนต่อจากนี้ ยังมองว่า เงินเฟ้อน่าจะลดลงต่อเนื่อง และทั่วโลกเองก็น่าจะลดลงด้วยเช่นกันโดยกระทรวงพาณิชย์ จะทบทวนการปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2558 อีกครั้งเร็วๆนี้ หรือหากราคาน้ำมันลดลงอีก หรือแสดงทิศทางว่าจะลงต่อเนื่อง สำหรับคาดการณ์เงินเฟ้อปี 2558 ขณะนี้ตั้งไว้ที่ 1.8-2.5% จากมีสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก อยู่ที่ 90-110 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยในไตรมาสที่ 1/2558 คาดว่าเงินเฟ้อจะขยายตัว 0.11% เนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลง ค่าไฟฟ้า(Ft) ที่จะลดลงอีกในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2558 ราคาสินค้าเกษตรที่ยังทรงตัวในระดับต่ำซึ่งจะส่งผลต่อรายได้ และกำลังซื้อของเกษตรกร ทำให้แรงกดดันต่อเงินเฟ้อลดลง

 

“เงินเฟ้อลดลง ส่วนใหญ่เหตุผลหลักมาจากราคาต้นทุนหลายๆ อย่างที่ลดลงไม่ใช่ผู้บริโภคไม่ต้องการบริโภคสินค้า เชื่อว่าเป็นแบบนี้ทั่วโลก แต่หากผู้บริโภคไม่ต้องการบริโภคสินค้าเมื่อไหร่ จะเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง ซึ่งกระทรวงจะต้องดูแลติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป”

 

ที่มา หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 6 มกราคม 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ปี 2557 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่ผันผวน ทั้งราคาน้ำมันที่ดิ่งลงหลังช่วงกลางปีแล้วถึงกว่า 50% อยู่ที่ประมาณ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล การประกาศยุติมาตรการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ (คิวอี) ของสหรัฐ ตลอดจนเศรษฐกิจของจีนที่ชะลอตัว กระทบไปถึงห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคอื่นๆ

 

นอกจากนี้ โลกยังต้องเผชิญกับสภาวะโรคระบาดอย่างเชื้อไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคดังกล่าวให้เข้าสู่สภาวะชะงักงันและถดถอย

 

ด้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประเมินการขยายตัวเศรษฐกิจโลกในปี 2557 ว่าอยู่ที่ราว 3.4% พร้อมตั้งเป้าไว้ว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2558 นี้จะขยายตัวที่ 4% โดยเขตเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างสหรัฐน่าจะกลับมาเป็นพระเอกฟื้นตัวได้ที่ราว 3% ขณะที่ในกลุ่มยูโรโซนน่าจะเติบโต 1.5% ส่วนญี่ปุ่นจะอยู่ประมาณ 1.1%ส่วนธนาคารโลกประเมินว่าศูนย์กลางการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะย้ายจากประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนากลับไปยังประเทศร่ำรวย โดยคาดว่าในช่วงปี 2558-2559 เศรษฐกิจโลกน่าจะขยายตัว 3.4-3.5%

 

ดิ อิโคโนมิสต์ ตั้งข้อสังเกตว่าเศรษฐกิจในปี 2558 นั้นมีวัฏจักรคล้ายคลึงกับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำมันมีราคาถูก และเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ โดยคาดการณ์ปีนี้การเติบโตทางเศรษฐกิจในสหรัฐอยู่ที่ 3%, จีน 7% ขณะที่ในญี่ปุ่นและกลุ่มยูโรโซนน่าจะเติบโตราว 1.1%

 

โดยหากเศรษฐกิจโลกในปี 2558 ไม่กระเตื้องขึ้นก็ต้องเสียสมดุลอย่างแน่นอน เนื่องจากหลายประเทศไม่สามารถดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากกว่านี้แล้ว เช่น สหรัฐที่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0-0.25% เท่านั้น

 

ขณะที่ในยุโรปก็ดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดเพื่อบริหารงบประมาณของประเทศ จนเริ่มมีกระแสความไม่พอใจจากนักลงทุนที่ไม่เห็นความพยายามในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล มีแนวโน้มจะเลือกพรรคนอกสายตาเข้ามาบริหารประเทศ

 

เจคอบ ลิว รัฐมนตรีคลังสหรัฐ เผยกับบลูมเบิร์ก อย่างน่าสนใจว่า "เศรษฐกิจโลกจะขับเคลื่อนได้ ต้องใช้ 4 ล้อ ได้แก่ สหรัฐ ญี่ปุ่น ยูโรโซน และจีน โดยถ้าไม่มีล้อใดล้อหนึ่ง การเดินทางก็จะไม่ราบรื่น" แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่จะต้องเกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาคพร้อมๆ กัน

 

 

 

อนาคตสหรัฐสดใส

 

วอลล์สตรีต เจอร์นัล ประเมินว่า เศรษฐกิจสหรัฐน่าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2558 เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ถูกลง และตลาดงานที่คึกคักมากขึ้น โดยอัตราการว่างงานในปีนี้ประเมินว่าน่าจะอยู่ที่ราว 5.3% โดยราคาน้ำมันที่ถูกลงน่าจะช่วยกระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือน และการขับเคลื่อนในภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก แต่ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงกับภาคการผลิตน้ำมันดิบจากหินดินดาน (เชลแก๊ส) ที่ได้รับผลกระทบจากกำไรติดลบส่วนภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงไม่มีดีมานด์มากนัก เนื่องจากขอสินเชื่อยาก

 

นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) น่าจะขึ้นดอกเบี้ยในปี 2558 เป็นราว 1.9% อาจส่งผลกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายกับอัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลก ซึ่งน่าจะส่งผลดีกับญี่ปุ่นและยุโรปที่ค่าเงินในภูมิภาคอ่อนลง และกระตุ้นการส่งออก แต่ขณะเดียวกันก็เป็นพิษกับบราซิลและอินเดียที่ต้องเผชิญสภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงขึ้น

 

 

 

จีนยังต้องพึ่งการลงทุน

 

หลังจากที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนพยายามปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนด้วยการบริโภคภายในประเทศ แต่กลับไม่เป็นผล ทำให้เศรษฐกิจจีนเสี่ยงเข้าสู่สภาวะเงินฝืด โดยสินค้าในประเทศนั้นมีราคาถูกลงตั้งแต่เมื่อปี 2555 เป็นต้นมา ขณะที่ การลงทุนยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของประเทศจีน คิดเป็นสัดส่วน 49% ของจีดีพี

 

อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงในแง่ของห่วงโซ่การผลิตโลกที่มองหาแหล่งผลิตที่มีแรงงานถูก ประกอบกับการลงทุนที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในการสร้างสาธารณูปโภค และโรงงานผลิตสินค้าในประเทศจีนทำให้เกิด สภาวะ "ตลาดล้นเกิน" โรงงานหลายแห่งต้องประสบกับภาวะขาดทุน กระทบกับห่วงโซ่การขนส่งวัตถุดิบทั่วโลก

 

 

 

ยูโรโซนยังซบเซา

 

ขณะที่ยูโรโซน 18 ประเทศเศรษฐกิจในปีนี้จะยังคงขยายตัวอย่างช้า ๆ โดยประเทศที่ถือว่ามีผลงานทางด้านเศรษฐกิจดีที่สุดในภูมิภาคอย่างเยอรมนียังคงขยายตัวเพียงราว 1% และไม่มีการลงทุนเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มเลย ขณะที่เมื่อมองในภาพรวม สภาวะการว่างงาน และการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐและเอกชนยังคงไม่กระเตื้อง เนื่องจากนโยบายทางการเงินที่เคร่งครัด

 

ด้านฝรั่งเศสและอิตาลีต่างออกมาโจมตีนโยบายรัดเข็มขัดของเยอรมนีอย่างรุนแรง โดยทั้ง 2 ประเทศต้องการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ขณะที่เยอรมนีตั้งให้ความสำคัญเรื่องการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ

 

 

 

ญี่ปุ่นรอฤทธิ์ลูกศรดอกที่ 3

 

หลังจากที่ประกาศขึ้นภาษีการขายเป็น 8% เมื่อเดือน เม.ย. 2557 เพื่อลดภาระหนี้สาธารณะ แต่ญี่ปุ่นภายใต้นโยบายเศรษฐกิจ "อาเบะโนมิกส์" กลับถอยหลังเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้ง เนื่องจากความต้องการบริโภคสินค้าในประเทศหดหาย ประกอบกับค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง ทำให้สินค้านำเข้ามีราคาแพง

 

อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาวะการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว ประกอบกับการประกาศอัดฉีดเงินเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น และแผนการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อกระตุ้นความสามารถในการแข่งขันของประเทศตามแผนซึ่งเป็น "ลูกศรดอกที่ 3" น่าจะทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวที่ราว 1-2%

 

 

 

รัสเซียอ่วมฤทธิ์คว่ำบาตร

 

รัสเซียอ่วมฤทธิ์คว่ำบาตรทำเอานักลงทุนหวั่นเกรงต่อสภาวะเศรษฐกิจที่อาจลุกลามไปทั่วโลก เช่นที่เกิดขึ้นเมื่อทศวรรษ 2540 หลังจากที่ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียตกต่ำเหลืองราว 60 รูเบิลต่อดอลลาร์สหรัฐ ธนาคารกลางรัสเซียทุ่มเงินกว่า 8 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อพยุงค่าเงินรูเบิลและปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 17% แต่สุดท้ายก็ไม่อาจต้านไหว ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ตกลงมาที่ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยถ้าอยู่ในระดับนี้ไปถึงสิ้นปี น่าจะทำให้รัสเซียต้องเผชิญกับวิกฤตทางการเงิน เนื่องจากรายได้หายไปกว่า 2 ใน 3 ของปี 2557

 

นอกจากนี้ เรื่องการคว่ำบาตรทางการค้าทำให้รัสเซียขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค และต้องมองหาแหล่งสินค้าแห่งใหม่ เปิดโอกาสทางการค้าให้กับหลายประเทศ

 

อย่างไรก็ตาม ฟอร์บส์ตั้งข้อสังเกตว่า ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับประเทศตะวันตกนั้นอาจนำไปสู่การเผชิญหน้าที่รุนแรงมากขึ้น จนส่งผลกระทบกับตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 5 มกราคม 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีตอนเช้าครับ

 

เช้านี้ บ่น ๆ + ข่าวสารจัดเต็ม

 

ชอบ ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยูโรอ่อนค่าลงอย่างมากในวันนี้ จากความกังวลที่ว่ากรีซอาจจะต้องออกจากยูโรโซน และจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อาจจะใช้มาตรการเข้าซื้อพันธบัตรครั้งใหญ่

 

ทั้งนี้ ยูโรร่วงลง 0.7% สู่ระดับ 1.1917 ดอลลาร์ ณ เวลา 07.11 น.ตามเวลาสหรัฐวันนี้ หลังอ่อนค่าแตะ 1.1864 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2006 และดิ่งลง 1% สู่ 143.18 เยน จากที่ร่วงแตะ 143.12 ก่อนหน้านี้ ซึงเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. 2014 ขณะที่ดอลลาร์ปรับตัวลง 0.3% สู่ระดับ 120.14 เยน

 

นายฟรองซัวส์ ออลลองด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส กล่าวในวันนี้ว่า กรีซมีอิสระในการออกจากยูโรโซน แต่ก็จะต้องปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้

 

"กรีซมีอิสระที่จะตัดสินใจในโชคชะตาของตนเอง แต่กรีซจะต้องเคารพในข้อผูกพันที่ได้เคยทำไว้" เขากล่าว ท่ามกลางความวุ่นวายทางการเมืองครั้งใหม่ในกรีซ

 

ก่อนหน้าการเลือกตั้งที่กำหนดมีขึ้นในวันที่ 25 ม.ค.

 

นายอันโตนิส ซามาราส นายกรัฐมนตรีกรีซ เปิดเผยว่า การเลือกตั้งทั่วไปซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 25 ม.ค.นี้ ถือเป็นการชี้ชะตาว่ากรีซจะสามารถรักษาสถานภาพการเป็นสมาชิกยูโรโซนต่อไปได้หรือไม่ พร้อมกับเตือนว่า หากพรรคไซรีซา ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ก็อาจจะส่งผลให้กรีซเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ และอาจทำให้กรีซต้องพ้นจากการเป็นชาติสมาชิกของยูโรโซน เนื่องจากนายอเล็กซิส ซิปราส หัวหน้าพรรคไซรีซา มีแนวโน้มที่จะยุติมาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี

 

เพื่อแลกกับการให้ความช่วยเหลือต่อกรีซ

 

นายมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบี ส่งสัญญาณการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ครั้งใหญ่ ด้วยการกล่าวให้สัมภาษณ์ต่อ Handelsblatt ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์เยอรมันว่า เขาไม่สามารถมองข้ามความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืดในยูโรโซน

 

ทั้งนี้ นายดรากีระบุว่า ความเสี่ยงที่อีซีบีจะไม่สามารถรักษาเสถียรภาพด้านราคา มีสูงกว่าเมื่อ 6 เดือนก่อน ทำให้อีซีบีต้องเตรียมพร้อมในการปรับวงเงินในมาตรการ QE ขณะเริ่มต้นปี 2015 หากมีความจำเป็น อย่างไรก็ดี เขาปฏิเสธที่จะระบุวงเงินที่อีซีบีจะใช้ในการซื้อพันธบัตรรัฐบาล

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 5 มกราคม 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์พุ่งเทียบยูโร ขณะกังวลสถานภาพกรีซในยูโรโซน (06/01/2558)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (5 ม.ค.) และพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 9 ปีเมื่อเทียบยูโร ท่ามกลางความวิตกที่ว่ากรีซอาจพ้นจากการเป็นสมาชิกของยูโรโซน หลังการเลือกตั้งที่มีกำหนดจัดขึ้นในปลายเดือนนี้

 

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1939 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2006 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ 1.5254 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5334 ดอลลาร์

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 119.52 เยน เทียบกับระดับ 120.34 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0064 ฟรังค์ จาก 1.0011 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8091 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8114 ดอลลาร์

 

สกุลเงินยูโรร่วลง จากข่าวที่ว่านายกรัฐมนตรีอันโตนิส ซามาราสของกรีซ กล่าวว่า การเลือกตั้งทั่วไปในปลายเดือนม.ค.นี้อาจส่งผลให้กรีซต้องออกจากการเป็นสมาชิกของยูโรโซน หากพรรคไซรีซาได้รับชัยชนะ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันว่าพรรคดังกล่าวคัดค้านมาตรการรัดเข็มขัดที่กรีซดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และคาดว่าพรรคไซรีซาจะมีคะแนนนำในการเลือกตั้งครั้งนี้

 

อัตรายูโร/ดอลลาร์ร่วงลง 0.48% ในระหว่างวัน และแตะที่ 1.1864 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับแต่เดือนมี.ค.2549

 

ส่วนเงินเยนปรับตัวขึ้นเทียบดอลลาร์ เนื่องจากการร่วงลงของตลาดหุ้นทั่วโลกและราคาน้ำมันได้กระตุ้นให้นักลงทุนมีความต้องการสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 6 มกราคม 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้ปรับลงตามตปท. เหตุราคาน้ำมันลงต่ำกว่าคาด-วิกฤตกรีซ (06/01/2558)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

นายถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายวิจัย บล.เคที ซีมิโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะปรับตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่เช้านี้ต่างปรับตัวลงราว 1-2% เป็นไปตามตลาดสหรัฐฯ และยุโรป โดยประเทศใหญ่ก็จะปรับตัวลงแรงกว่า

 

ทั้งนี้ เป็นผลจากปัจจัย 2 เรื่องที่เข้ามาเป็นเรื่องของราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงต่ำกว่าคาด ทำให้หุ้นในกลุ่มพลังงานมีโอกาสที่จะปรับตัวลงได้อีกจากแรงขาย แม้ว่าทุกคนจะคาดไว้อยู่แล้วว่าราคาน้ำมันจะลงต่ำสุดในช่วงครึ่งปีแรก(H1/58)อีกเรื่องเป็นวิกฤตของกรีซซึ่งทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่า และต่างก็คาดการณ์กันว่าการประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB)ในวันที่ 22 ม.ค.นี้ อาจจะมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ(QE)เพิ่ม

 

ด้วยปัจจัยทั้งสองอย่างนี้อาจจะถูกนำมาเป็นประเด็นในการอ้างอิงการขายหุ้นของนักลงทุน ซึ่งก็แล้วแต่ว่าใครจะนำเรื่องใดไปอ้างอิง พร้อมให้แนวรับ 1,460-1,442-1,422 จุด ตามลำดับ ส่วนแนวต้านให้ไว้ที่ 1,488 จุด

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 6 มกราคม 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

*เล่าเอี้ยฮู้ (ยันต์)* ขออนุญาตนำมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆคน ครับ*

 

เขาว่าถ้าท่าน Save บันทึกเก็บไว้ใน'โทรศัพท์มือถือ

ก็เสมือนกับมียันต์อันเป็นมหามงคลนี้ตามคุ้มครองติดตัวท่านตลอดเวลา* ให้ท่านมีสุขภาพร่างกายและจิตใจแข็งแรง, ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ, แคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง, เฮง เฮง เฮง รวย รวยรวย, ทำสิ่งใดก็สมปรารถนา, ตลอดปีและตลอดไป.ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดึงมา เพื่อดู

 

LONG GOLD above 1202 SL 1199 TP 1208-1216-1222-1232-1238

SHORT GOLD below 1186 SL 1189 TP 1172-1166-1152-1145

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แบงก์ชาติหนุนตั้งตลาดค้าทองคำ ฟากส.ค้าทอง-ตลท.นัดถกวางกรอบอีกรอบ เร่งหาข้อสรุปทั้งโครงสร้างผู้ถือหุ้นตลาด วิธีการซื้อขายและสกุลเงิน การชำระราคาและส่งมอบ รวมถึงผลกระทบค่าเงิน คาดตั้งตลาดได้กลางปี"58

 

นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการหารือร่วมกันในระดับนโยบายร่วมกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ, ผู้บริหารจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.), สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.), สมาคมค้าทองคำแห่งประเทศไทย, ธปท. และภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการจัดตั้งตลาดค้าทองคำ (Physical Gold) นั้น ในเบื้องต้นทุกฝ่ายเห็นชอบร่วมกันให้มีการจัดตั้งตลาดค้าทองคำในประเทศไทย โดยยังต้องมีการหารือต่อเนื่อง

 

"เชื่อว่าตลาดที่มีการกำกับดูแล อย่างเป็นระบบเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะขณะนี้การซื้อขายทองคำระบบออนไลน์ หรือการซื้อขายทองคำในปัจจุบันยังไม่ได้มีการดูแลอย่างเป็นระบบมากเท่าที่ควร ดังนั้น หากมีการตั้งตลาดค้าทองขึ้นมาอย่างเป็นทางการ จะทำให้ตลาดค้าทองคำมีความชัดเจนขึ้นระหว่างผู้ซื้อรายย่อย และผู้ซื้อรายใหญ่" นางผ่องเพ็ญกล่าว

 

ส่วนผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนนั้น นางผ่องเพ็ญกล่าวว่า ทุกวันนี้การซื้อขายทองคำมีผลกระทบด้านความผันผวนต่อค่าเงินบาทอยู่แล้ว เพราะการซื้อขายทองคำแต่ละปีมีน้ำหนักประมาณ 20% ของปริมาณการส่งออกและนำเข้าของประเทศทั้งหมด ดังนั้น หากมีการจัดตั้งตลาดค้าทองคำ ก็จะทำให้การซื้อขายทองคำเข้ามาอยู่ในระบบและสามารถติดตามข้อมูลการซื้อขาย และเงินเข้าออกได้ชัดเจนมากขึ้น

 

นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ กล่าวว่า จากการหารือร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ผ่านมา ในเบื้องต้นยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนนัก และจะต้องมีการหารือนอกรอบอีกครั้งเกี่ยวกับโครงสร้างของตลาดค้าทองคำ โดยสมาคมค้าทองคำและ ตลท.จะหารือร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปอีกครั้งในช่วงต้นปี"58

 

ส่วนจากการหารือในเบื้องต้นของรอบที่ผ่านมา รองนายกฯด้านเศรษฐกิจให้โจทย์เพิ่มเติม เพื่อให้ ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์หารือร่วมกันคือ การตั้งตลาดค้าทองคำในประเทศ จะมีผลกระทบต่อผู้ค้าทองรายย่อยหรือไม่ รวมถึงแนวทางการบริหารจัดการและวิธีการ เพื่อให้เป็นระบบที่เหมาะสม

 

"ทุก ฝ่ายอยากให้เกิดตลาดนี้ แต่ที่ยังไม่ชัดเจนคือ ใครจะมีส่วนในโครงสร้างตลาดนี้บ้าง เบื้องต้นก็ยังไม่ชัดเจน ซึ่งสมาคมค้าทองคำเป็นคนเสนอให้ตั้งตลาดนี้มา 10 กว่าปีแล้ว เพราะมองว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ทำให้รายได้เข้ามามหาศาล และการดึงสมาคมค้าทองคำ และผู้ค้าอื่น ๆ เข้ามาจะยิ่งเข้ามาช่วยพัฒนาตลาดให้เติบโต แต่หากไม่มีคนมาช่วยพัฒนาตลาดนี้ก็ไม่ต่างจากโกลด์ฟิวเจอร์สในปัจจุบันที่ การซื้อขายไม่ขยับไปไหน ไม่พัฒนาเท่าที่ควร" นายจิตติกล่าว

 

นายแพทย์กฤชรัตน์ หิรัณยศิริ ประธานกรรมการกลุ่ม บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ แม่ทองสุก จำกัด กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ฯ ธปท. สมาคมผู้ค้าทอง รวมถึงผู้ค้าทองรายอื่น ๆ ได้หารือร่วมกันในการจัดตั้งตลาดค้าทองคำ เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าทองคำในภูมิภาค ซึ่งเบื้องต้น ธปท.ได้รับหลักการในการจัดตั้งตลาดไว้แล้ว แต่จะต้องมีการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับโครงสร้างตลาดค้าทอง เช่น ขนาดของสัญญาการซื้อขายทองคำ วิธีการซื้อขายและส่งมอบ การกำหนดสกุลเงินที่จะใช้ในการซื้อขาย

 

"ยังมีรายละเอียดที่จะต้อง ศึกษากันอีก โดยเฉพาะประเด็นเรื่องค่าเงิน เพราะวางแผนกันว่า ตลาดค้าทองคำนี้จะเปิดโอกาสให้ทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติ ดังนั้นก็ต้องโค้ดคำสั่งซื้อขายด้วยสกุลดอลลาร์ เพื่อรับเป็นทองคำกลับไปได้ แต่ในกรณีที่มีการชำระราคากันเพื่อทำกำไรจากส่วนต่าง ก็จะกำหนดให้นักลงทุนได้รับเงินบาทที่เป็นกำไรกลับไป ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องก็ต้องกลับไปช่วยกันศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ว่า จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง แต่คาดว่าไม่เกิน 6 เดือนหลังจากนี้ หรือประมาณเดือนมิถุนายน 2558 น่าจะพร้อมตั้งตลาดค้าทองได้" นายแพทย์กฤชรัตน์กล่าว

 

สำหรับข้อดีของการจัดตั้งตลาดค้าทองคำ ประเมินว่าจะช่วยให้ประเทศไทยมีรายได้เข้าประเทศจากตลาดดังกล่าวมากขึ้น โดยเฉพาะหากเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ก็น่าจะดึงดูดนักลงทุนที่มีศักยภาพในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม ให้เข้ามาซื้อขายได้มากขึ้น

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 6 มกราคม 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถึงป๋า เอาฮู้มาแปะหน้าจอเลย ขอบคุณสิ่งดีๆที่มอบให้ค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันนี้เทรดสวนเทรนด์ ยังรับตัง อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...