ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ดึงมา เพื่อดู

 

LONG GOLD above 1202 SL 1199 TP 1208-1216-1222-1232-1238

SHORT GOLD below 1186 SL 1189 TP 1172-1166-1152-1145

สวัสดียามเช้าวันพุธ ราคาทองหลังจากปิดเมื่อวาน 1205 ( คือเหนือ 1202 ) ราคาทองก็ปรับเปลี่ยนมาวิ่งในกรอบต่อไป คือ แนวรับ 1208 และแนวต้าน 1216 แล้วมาปิดที่ 1219 แต่ตอนนี้ 1218 ทำให้ดูเหมือนว่า จะขยับกรอบขึ้นมาอีกขั้น คือ แนวรับ 1216 และ แนวต้าน 1222

 

ซึ่งส่วนตัวผม คือ อาจจะยังไม่สามารถขยับขึ้นไป 1232 และ 1238 ได้ในทันที คงต้องใช้ความพยายามหลายครั้ง ( ลงๆ ขึ้น ๆ ) และอาจสามารถมาถึง 1208 หรือ 1202 ก็ได้ ลงทุนแบบระมัดระวัง " ทยอยซื้อคืน ตามแนวรับ ทยอยขายทำกำไร ตามแนวต้าน "

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

หลังๆ ดูทองแปลกๆ

 

ทำไม SPDR ขายทองออกมาวันละ ตัน สองตัน ทองขึ้น 10$ 20$

 

วันไหน SPDR มีแรงซื้อ ทองไม่ขึ้น ให้หลัง ทองดันลง

 

มันแปลกกก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 ของค่าเงินดอลล์สหรัฐ ยังคงแข็งค่าขึ้น และวันนี้ ก็ดูเหมือนว่า แข็งมากเกินไปแล้ว ยังไงคงต้องอ่อนค่า ซึ่งจะทำให้หลายคนมองว่า เดาว่า " ดีสิ ดอลล์อ่อน ราคาทองจะได้พุ่งขึ้น " ผมไม่คิดแบบนั้นนะ ในกรณีนี้ ผมมองว่า

 

1. ขาใหญ่ หนีจากหุ้นดาวโจน เอาเงินมาซื้อดอลล์ ซื้อทอง แล้วถ้า ขาใหญ่ขายดอลล์ทำกำไร ขายทองทำกำไร ล่ะ

2. ผลที่ตามมา ทั้งดอลล์สหรัฐ และ ราคาทอง จะย่อทั้ง 2 ตัว ดอลล์อ่อน ทองย่อ ทำแบบให้สับสนระบบฯ

3. แล้วค่อยอาศัยจังหวะ ซื้อกลับ เมื่อราคาทั้ง 2 ตัว มาตามเป้าหมายที่คาดเดา

 

ดังนั้น ระวังในวันนี้ ค่าเงินดอลล์สหรัฐ จะทำให้สับสน ในการตัดสินใจเข้าถือทองคำ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท ไม่อ่อนค่า ตามดอลล์ที่แข็งค่าขึ้น แต่ก็อาจมีผันผวน เด้งจึ้นแตะ 33 บาท ได้อีกบางเวลา ในวันนี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 สัญญานนำทางของราคาทองคำ เส้นดำยังคงพุ่งขึ้นด้านบน ( ซื้อเข้ามากเกินไป ) จนเส้นสีแดง ( ยอดขายทำกำไร ) ตามไม่ทัน ทำให้ดูว่า อะไร อะไร มันดูขึ้นมากเกินไปชั่วคราว ต้องมีย่อลงมาบ้าง ไม่ 1208 ก็ 1202 ก็ค่อยๆ ดู เพื่อทยอยเข้าตามแนวรับ ชุดไหนที่ทยอยเข้าแล้วมีกำไรตามแนวต้าน ก็ทยอยออกทำกำไร พอเพียงในกำไร จะทำให้ได้เห็นกำไร อย่า รู้งี้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ส่วนประกอบบางอย่าง ที่คาดเดาว่า ราคาทองน่าจะย่อในวันนี้ คือการที่ รหัส 12,26,9 MACD ที่คนทั้งโลกมองเพื่อเล่นกันนั้น มันตัดกันมาจนถึงจุดๆหนึ่ง ที่ ผู้บัญชาการที่บ้านฯ สั่งสามีให้ขายทิ้ง ทำกำไร

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานยุโรป ทำราคาทองขยับแน่ ช่วงบ่าย 3 กว่าๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตัวเลขรายงานสหรัฐ คืนนี้ ก็ดีขึ้น ตามโพลฯ ระบุไว้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 6 ม.ค.2557

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) โดยดาวโจนส์ปิดในแดนลบติดต่อกัน 2 วันทำการ ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดอ่อนแรงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 5 เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทุบตลาดร่วงลงด้วย

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,371.64 จุด ร่วงลง 130.01 จุด หรือ -0.74% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,592.74 จุด ลดลง 59.83 จุด หรือ -1.29% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,002.61 จุด ลดลง 17.97 จุด หรือ -0.89%

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังต่อรายงานที่ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการของยูโรโซนในเดือนธ.ค.ชะลอตัวลงจากการประมาณการ เบื้องต้น นอกจากนี้ การร่วงลงของราคาน้ำมันดิบยังได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงด้วย

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.7% ปิดที่ 331.61 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,083.50 จุด ลดลง 27.86 จุด หรือ -0.68% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,469.66 จุด ลดลง 3.50 จุด หรือ -0.04% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,366.51 จุด ลดลง 50.65 จุด หรือ -0.79%

 

--ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงต่อเนื่องเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) หลังจากนักลงทุนผิดหวังกับข้อมูลเศรษฐกิจทั้งในประเทศ, ยูโรโซนและสหรัฐ

 

ดัชนี FTSE 100 ลดลง 50.65 จุด หรือ 0.79% ปิดที่ 6,366.51 จุด

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กยังคงปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) เนื่องจากการคาดการณ์ที่ว่าสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐจะยังคงปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งข่าวที่ว่าอิรักวางแผนที่จะเพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบในเดือนนี้

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ.ร่วงลง 2.11 ดอลลาร์ ปิดที่ 47.93 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดลอนดอน ร่วงลง 2.01 ดอลลาร์ ปิดที่ 51.1 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) โดยสัญญาทองคำปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 3 วันทำการ เนื่องจากตลาดหุ้นสหรัฐที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่องและวิกฤตการณ์ทางการเมืองใน ประเทศกรีซยังคงเป็นแรงกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็น สินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 15.4 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,219.40 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 42.4 เซนต์ ปิดที่ 16.637 ดอลลาร์/ออนซ์

ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 10.5 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,221.40 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 7.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 800.40 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- -ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเป็นวันที่ 2 ติดต่อกันเมื่อเทียบเงินเยน แต่ปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) ขณะที่การร่วงลงในช่วงที่ผ่านมาของราคาน้ำมันและตลาดหุ้นได้กระตุ้นความต้อง การสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย

 

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1914 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1939 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ 1.5165 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5254 ดอลลาร์

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 118.63 เยน เทียบกับระดับ 119.52 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0082 ฟรังค์ จาก 1.0064 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8109 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8091 ดอลลาร์

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,371.64 จุด ลดลง 130.01 จุด -0.74%

 

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,592.74 จุด ลดลง 59.83 จุด -1.29%

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเป็นวันที่ 2 ติดต่อกันเมื่อเทียบเงินเยน แต่ปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) ขณะที่การร่วงลงในช่วงที่ผ่านมาของราคาน้ำมันและตลาดหุ้นได้กระตุ้นความต้องการสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย

 

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1914 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1939 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ 1.5165 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5254 ดอลลาร์

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 118.63 เยน เทียบกับระดับ 119.52 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 1.0082 ฟรังค์ จาก 1.0064 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8109 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8091 ดอลลาร์

 

ราคาน้ำมันยังคงร่วงลงเมื่อคืนนี้ เนื่องจากตลาดคาดว่าปริมาณสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐจะเพิ่มขึ้น ขณะที่สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนท์ดิ่งลงแตะ 51.1 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 6 ปี

 

ขณะเดียวกัน ตลาดหุ้นสหรัฐอ่อนแรงลงในการซื้อขายช่วงเช้าและปิดในแดนลบ โดยดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 130.01 จุด มาปิดที่ 17,371.64 จุด

 

การปรับตัวที่ย่ำแย่ของราคาน้ำมันและตลาดหุ้นนิวยอร์กส่งผลให้เงินเยนปรับตัวขึ้น 0.83% เมื่อเทียบดอลลาร์ในระหว่างวัน

 

สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ต่างก็ออกมาในเชิงลบ โดยมาร์กิตเปิดเผยว่า ภาคบริการของสหรัฐเดือนธ.ค.2557 ลดลงแตะ 53.3 จาก 56.2 ในเดือนก่อนหน้า โดยนับเป็นการขยายตัวในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.ปีที่แล้ว ขณะที่การเติบโตในธุรกิจใหม่และการจ้างงานปรับตัวลดลง

 

ทางด้านสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) รายงานว่าดัชนีภาคบริการในเดือนธ.ค. อ่อนแรงลงแตะ 56.2 เทียบกับ 59.3 ในเดือนพ.ย.

 

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังรายงานว่าคำสั่งซื้อใหม่สำหรับสินค้าในภาคการผลิตลดลง 0.7% ในเดือนพ.ย. หลังจากร่วงลง 0.7% เช่นกันในเดือนต.ค. โดยเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 7 มกราคม 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) โดยสัญญาทองคำปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 3 วันทำการ เนื่องจากตลาดหุ้นสหรัฐที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่องและวิกฤตการณ์ทางการเมืองในประเทศกรีซยังคงเป็นแรงกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 15.4 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,219.40 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 42.4 เซนต์ ปิดที่ 16.637 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 10.5 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,221.40 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 7.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 800.40 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาทองคำยังคงได้รับปัจจัยบวกจากการที่นักลงทุนมองว่า ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยในยามที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับฐานลง อันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันดิบและความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศกรีซ โดยในการซื้อขายเมื่อคืนนี้ ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลง 130.01 จุด หรือ -0.74% ปิดที่ 17,371.64 จุด

 

ส่วนสถานการณ์การเมืองในกรีซนั้น ทางการกรีซจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 25 ม.ค.นี้ ขณะที่ผลสำรวจบ่งชี้ว่าพรรคไซรีซา ซึ่งคัคค้านการใช้มาตรการรัดเข็มขัดนั้น อาจจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ซึ่งหากผลการเลือกตั้งออกมาเป็นไปตามคาดการณ์ ก็อาจจะส่งผลให้กรีซพ้นจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มยูโรโซน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 7 มกราคม 2558)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอพี/รอยเตอร์/เอเอฟพี - น้ำมันเมื่อวันอังคาร(6ม.ค.) ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดรอบ 5 ปีครึ่งรอบใหม่ หลังซาอุดีอาระเบียย้ำอีกรอบว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการผลิต โดยปัจจัยราคาพลังงานประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯและความกังวลต่อยูโรโซน ฉุดให้วอลล์สตรีทดิ่งหนักอีกวัน ขณะที่นักลงทุนตื่นตระหนกแห่ถือครองสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ ดันราคาทองคำขยับขึ้นแรง

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ ลดลง 2.11 ดอลลาร์ ปิดที่ 47.93 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2009 เบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 2.01 ดอลลาร์ ปิดที่ 51.10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม 2009

 

เจ้าชายซัลมาน แห่งซาอุดีอาระเบีย ตรัสในนามกษัตริย์อับดุลเลาะห์ที่ทรงประชวร เมื่อวันอังคาร(6ม.ค.) ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกที่เติบโตอย่างอ่อนแอคือต้นตอของราคาน้ำมันที่ตกต่ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของชาติผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลกแห่งนี้ "เหตุการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในตลาดน้ำมัน และในอดีตประเทศของเราเคยรับมือกับมันด้วยความหนักแน่นและอย่างชาญฉลาด" พร้อมยืนยันว่าซาอุดีอาระเบียจะยังคงใช้แนวทางเดิม

 

คำตรัสดังกล่าวเป็นการยืนยันถึงความตั้งใจของริยาดในการปกป้องส่วน แบ่งของตลาดน้ำมันแทนที่จะยอมลดกำลังผลิต แม้เสี่ยงต่อการเห็นราคาดิ่งลงไปมากกว่านี้

 

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อวันอังคาร(6ม.ค.) ปิดลบ 5 วันติดต่อกัน หลังข้อมูลเผยให้เห็นภาวะเติบโตแบบชะลอตัวในภาคบริการของอเมริกาและความ กังวลต่อราคาน้ำมันที่ตกต่ำ

 

ดาวโจนส์ ลดลง 130.01 จุด (0.74 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 17,371.64 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 17.97 จุด (0.89 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,002.61 จุด แนสแดค ลดลง 59.84 จุด (1.29 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,592.74 จุด

 

ตลาดยังคงร่วงลงต่อเนื่องตามหลังราคาน้ำมันที่ดำดิ่งอย่างหนัก สวนทางสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยที่ขยับขึ้นถ้วนหน้า บ่งชี้ว่านักลงทุนเหลือความเชื่อมั่นเพียงน้อยนิดว่าเศรษฐกิจอเมริกาจะยังคง ขยายตัวต่อเนื่องจากร้อยละ 5.0 ของช่วงไตรมาสสุดท้ายปีก่อน ส่วนหนึ่งมาจากตัวเลขประมาณการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในส่วนอื่นๆ ของโลกโดยเฉพาะยุโรป

 

ขณะเดียวกันความเชื่อมั่นของนักลงทุนยังถูกซ้ำเติมจากข้อมุลที่น่า ผิดหวังของภาคบริการสหรัฐฯและคำสั่งซื้อภาคโรงงานที่เผยแพร่ออกมาในวัน อังคาร(6ม.ค.)

 

ยอดคำสั่งซื้อใหม่ในสินค้าโรงงานของสหรัฐฯลดงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน สะท้อนสัญญาณของการชะลอตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยภาพรวม โดยกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯรายงานว่ายอดคำสั่งซื้อภาคโรงงานในเดือน พฤศจิกายนลดลงร้อยละ 0.7 เป็นการลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ หลังจากก่อนหน้านี้เดือนตุลาคม ก็ลดลงร้อยละ 0.7 เช่นกัน

 

ปัจจัยเหล่านี้ประกอบกับความเป็นไปได้ที่กรีซจะออกจากยุโรโซนได้ สร้างความหวั่นกลัวและผลักให้นักลงทุนหันไปถือครองสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ต่ำ ในนั้นรวมถึงทองคำ ส่งผลให้ราคาโลหะมีค่าชนิดนี้เมื่อวันอังคาร(6ม.ค.) ขยับขึ้นแรง โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 15.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,219.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

จากผลสำรวจความคิดเห็นล่าสุดพบว่าพรรคไซรีซา มีคะแนนนิยมนำหน้าเล็กน้อยก่อนศึกเลือกตั้งทั่วไปกรีซจะมาถึงในวันที่ 25 มกราคม ซึ่งก่อความกังวลว่าหากพรรคไซรีซาซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านได้รับชัยชนะในการ เลือกตั้ง ก็อาจจะส่งผลให้กรีซเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ และอาจทำให้กรีซต้องพ้นจากการเป็นชาติสมาชิกของยูโรโซน เนื่องจากพวกเขามีแนวโน้มที่จะยุติมาตรการรัดเข็มขัดแทนที่จะหวนคืนสู่การ เจรจาขอกู้ยืมเงินจากนานานาชาติ

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ (วันที่ 7 มกราคม 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การดิ่งลงอย่างหนักของราคาน้ำมัน ฉุดตัวเลขเงินเฟ้อเยอรมนีให้ร่วงต่ำสุดในรอบ 5 ปี และยังเพิ่มแรงกดดันต่อธนาคารกลางยุโรป (ECB) ให้ใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจยูโรโซน ซึ่งเสี่ยงจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืด

 

ไฟแนนเชียล ไทมส์ ระบุว่า มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่อีซีบีจะเข้าซื้อพันธบัตรประเทศสมาชิกยูโรโซน เพื่ออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบและกระตุ้นอัตราเงินเฟ้อ หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อเดือนธันวาคมปีกลายของเยอรมนี เขตเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 1 ของยูโรโซน ลดเหลือเพียง 0.1% ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่ตุลาคม 2552 ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนพฤศจิกายน 2557 อยู่ที่ 0.5%สถานการณ์เงินเฟ้อของเมืองเบียร์เป็นไปในทิศทางเดียวกับสเปน ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่เปิดเผยออกมาในสัปดาห์ที่แล้วอยู่ที่ติดลบ 1.1% ทำให้คาดการณ์กันว่า อัตราเงินเฟ้อเดือนธันวาคมของทั้งกลุ่มยูโรโซนซึ่งจะประกาศวันพุธนี้ (7 ม.ค.) จะติดลบเป็นครั้งแรกนับจากตุลาคม 2552

 

ซึ่งถ้าเป็นไปตามคาด จะยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อนายมาริโอ ดรากิ ประธานอีซีบี ให้ตัดสินใจใช้ QE โดยจะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของอีซีบีนัดแรกของปีในวันที่ 22 มกราคมนี้

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 6 มกราคม 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...