ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ถึงป๋า พรุ่งนี้หวยออก ถูกซะทีได้มั้ย ให้ เดา เลข2 มีป่าวนะ

::

หวยแห่งชาติพรุ่งนี้ออก ราคาทองพุ่งขึ้นเร็วไป 1 วัน

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถึงป๋า หว่าย วันนี้ ในแผง เลขที่ป๋าแปะมีตรึมไม่ได้ซื้ออ่ะ ซื้ออะไรไม่บอกดีก่า เด๋วหน้าแตก อิอิ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Swiss bank ประกาศยกเลิกเพดานอัตราแลกเปลี่ยนswiss franc เทียบกับ euro ที่ 1.20. แล้วยังลดดอกเบี้ย ไ

ปที่ -0.75%. จากเดิม -0.25% / เมื่อวาน ตกใจในเรื่องค่าเงิน ดันราคาทองขึ้นจนคิดว่า คอมฯ ซื้อขายโดน Hacker เล่นงานเลียนแบบในหนังฝรั่ง BlackHat

 

ก็หวังว่า วันนี้ หวยแห่งชาติออก ก็มารับทรัพย์กันเพิ่มเข้าไปอีก จะได้มีเงินไว้ใช้จ่ายช่วงตรุษจีน 555

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 สัญญานนำทางของราคาทอง เส้นดำเส้นแดง / เส้นดำที่คาดเดาว่าจะปักลง เปลี่ยนใจเชิดหัวขึ้นไปอีกจากการรับทราบข่าวฯ จากธนาคารกลางสวิสฯ เส้นดำเส้นแดงจึงยังถ่างออก ยังไม่ได้ตัดกัน ใครถือทองคำแท่งตัวเป็นๆหนักๆ เอาไว้ตั้งแต่เส้น 2 เส้นตัดกันหนล่าสุด ก็ ทนถือ ถือทน กันต่อไป ส่วนเข้าๆ ออกๆ เส้นแดงมันสั้นกว่าเส้นดำ ก็ต้องระวังมีย่อ ฝรั่งนักลงทุนคงฟันทำกำไรกันบ้าง ในเมื่อราคาทองขึ้นมามากพอสมควรจากเมื่อวานนี้

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ส่วนค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ ยังคงอยู่ในสถานะแข็งค่าขึ้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีครับ คุณป๋า

 

เมื่อวานเมามันส์เลย

 

ขอบคุณนะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ โดยการนำของตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ร่วงลงหลังเงินเยนแข็งค่า เนื่องจากนักลงทุนตื่นตระหนกต่อข่าวที่ว่า ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ตัดสินใจยกเลิกมาตรการควบคุมสกุลเงินฟรังก์ ด้วยการยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโร

 

ดัชนี MSCI Asia Pacific Index (MXAP) ลดลง 0.1% แตะ 138.59 จุด เมื่อเวลา 9.00 น.ตามเวลาโตเกียว

 

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 16,812.96 จุด ลดลง 295.74 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 24,196.85 จุด ลดลง 154.06 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,245.77 จุด เพิ่มขึ้น 80.68 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,907.07 จุด ลดลง 7.07 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,325.53 จุด ลดลง 13.31 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,740.19 จุด ลดลง 4.81 จุด

 

ทั้งนี้ ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ประกาศยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโรที่ 1.20 ฟรังก์สวิส พร้อมลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ -0.75% จาก -0.25%

 

การประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าวที่มีการกำหนดขึ้นในวันที่ 6 ก.ย. 2554 นั้น มีเป้าหมายที่จะควบคุมค่าเงินฟรังก์สวิสไม่ให้แข็งค่ามากเกินไปเมื่อเทียบกับยูโร รวมทั้งไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศถดถอย และตกอยู่ในภาวะเงินฝืด

 

 

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 16 มกราคม 2558

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดทะยานขึ้นกว่า 30 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (15 ม.ค.) โดยสัญญาทองคำพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 4 เดือน หลังจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ตัดสินใจยกเลิกมาตรการควบคุมสกุลเงินฟรังก์ ด้วยการยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโร

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 30.3 ดอลลาร์ หรือ 2.45% ปิดที่ระดับ 1,264.80 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 11.4 เซนต์ ปิดที่ 17.102 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.พุ่งขึ้น 23.8 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,262.80 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ร่วงลง 14.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 766.35 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาทองคำทะยานขึ้นหลังจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ประกาศยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโรที่ 1.20 ฟรังก์สวิส พร้อมลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ -0.75% จาก -0.25%

 

การประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าวที่มีการกำหนดขึ้นในวันที่ 6 ก.ย. 2554 นั้น มีเป้าหมายที่จะควบคุมค่าเงินฟรังก์สวิสไม่ให้แข็งค่ามากเกินไปเมื่อเทียบกับยูโร รวมทั้งไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศถดถอย และตกอยู่ในภาวะเงินฝืด

 

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของธนาคารกลางสวิสได้เพิ่มน้ำหนักให้กับกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อาจจะประกาศโครงการซื้อพันธบัตรในระหว่างการประชุมวันที่ 22 ม.ค.นี้ เพื่อสกัดภาวะเงินฝืด

 

ทั้งนี้ สวิตเซอร์แลนด์เป็นหนึ่งในผู้ซื้อสกุลเงินยูโรรายใหญ่ของโลก ซึ่งการประกาศยกเลิกการควบคุมค่าเงินฟรังก์นั้น สะท้อนให้เห็นว่าสวิตเซอร์แลนด์ไม่มีความเชื่อมั่นในสกุลเงินยูโรและยังบ่งชี้ถึงความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในยูโรโซน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 16 มกราคม 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายไจคิ คาไทเนน รองประธานกรรมาธิการยุโรปฝ่ายการจ้างงาน, การขยายตัว, การลงทุน และความสามารถในการแข่งขัน ได้เริ่มเดินทางเยือนประเทศในยุโรปในวันนี้ เพื่อประชาสัมพันธ์แผนการลงทุนของสหภาพยุโรป (อียู) วงเงิน 3.15 แสนล้านยูโร (3.72 แสนล้านดอลลาร์)

 

ทั้งนี้ นายคาไทเนนจะเริ่มเดินทางเยือนอิตาลีเป็นเวลา 2 วันในวันนี้ ก่อนที่จะไปยังเยอรมนี, โครเอเชีย, สาธารณรัฐเช็ค, สเปน และฝรั่งเศส รวมทั้งประเทศที่เหลือในกลุ่มอียูที่มีสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ โดยเขาจะเปิดเผยถึงโอกาสทางธุรกิจครั้งใหม่สำหรับรัฐบาล, นักลงทุน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในภูมิภาค, สหภาพการค้า และประชาคมต่างๆ

 

ขณะที่เขาหวังว่าจะเสร็จสิ้นการเยือนทุกประเทศก่อนเดือนต.ค.นี้ นอกจากนี้ เขายังมีแผนการเดินทางเยือนประเทศนอกกลุ่มอียูด้วย

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 16 มกราคม 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานพุ่งสูงสุดรอบ 4 เดือนในสัปดาห์ที่แล้ว (16/01/2558)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยวันนี้ว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งใหม่เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนก.ย.2014 ในสัปดาห์ที่แล้ว แต่แนวโน้มโดยรวมยังคงบ่งชี้สัญญาณตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง

 

ทั้งนี้ กระทรวงระบุว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 19,000 ราย สู่ระดับ 316,000 รายในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 10 ม.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 291,000 ราย

 

ส่วนตัวเลขค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ของจำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงาน ซึ่งถือเป็นมาตรวัดตลาดแรงงานที่ดีกว่า เนื่องจากขจัดความผันผวนรายสัปดาห์ เพิ่มขึ้นเพียง 6,750 ราย สู่ 298,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว โดยอยู่ต่ำกว่าระดับ 300,000 รายเป็นเวลา 18 สัปดาห์ติดต่อกัน

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 15 มกราคม 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ฟรังก์สวิสทะยานขึ้นเมื่อเทียบสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและยูโรเมื่อคืนนี้ (15 ม.ค.) หลังจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ประกาศยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโร พร้อมทั้งปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐออกมาในเชิงลบ

 

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1612 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1778 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ 1.5188 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5220 ดอลลาร์

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 116.52 เยน เทียบกับระดับ 117.30 เยน และร่วงลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.8724 ฟรังก์ จาก 1.0197 ฟรังก์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8224 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8148 ดอลลาร์

 

เงินฟรังก์สวิสพุ่งขึ้นเมื่อเทียบยูโรและดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ได้สร้างความประหลาดใจแก่ตลาดด้วยการประกาศยกแลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโรที่ 1.20 ฟรังก์สวิส รวมทั้งได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ -0.75% จาก -0.25%

 

บรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่าการดำเนินการของ SNB แสดงให้เห็นถึงการขาดความเชื่อมั่นต่อสกุลเงินยูโร และได้หนุนกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางยุโรปจะประกาศแผนการซื้อพันธบัตรในระหว่างการประชุมกำหนดนโยบายที่มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 22 ม.ค.นี้ ซึ่งเป็นความพยายามที่จะจัดการกับภาวะเงินฝืด

 

ส่วนดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบยูโรและเงินเยน โดยได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา หลังกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งใหม่เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนก.ย.2557 ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยตัวเลขเพิ่มขึ้น 19,000 ราย สู่ระดับ 316,000 รายในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 10 ม.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 291,000 ราย

 

ขณะเดียวกัน กระทรวงรายงานว่าดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ปรับตัวลงมากที่สุดในรอบเกือบ 3 ปีในเดือนธ.ค. จากการดิ่งลงของราคาพลังงาน โดยดัชนี PPI สำหรับอุปสงค์ขั้นสุดท้ายร่วงลง 0.3% ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.2554 หลังจากลดลง 0.2% ในเดือนพ.ย.

 

เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PPI เพิ่มขึ้น 1.1% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นน้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2556 หลังจากเพิ่มขึ้น 1.4% ในเดือนพ.ย.

 

นักวิเคราะห์มองว่าดัชนี PPI ล่าสุดแสดงให้เห็นว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในระดับผู้ผลิตยังคงอ่อนแรง ซึ่งจะทำให้มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยต่ำเช่นในปัจจุบันไว้ต่อไป

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 16 มกราคม 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โอเปคเพิ่มผลิตฉุดน้ำมันดิ่งหนัก (16/01/2558)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ราคาน้ำมันดิบโลก ดิ่งลงอีกระลอก หลังโอเปค ผลิตน้ำมันเดือนธ.ค.สูงเกินเพดานกำหนด พร้อมหั่นความต้องการในปีนี้ลงมา

 

ราคาน้ำมันดิบเวสต์ เท็กซัส อินเตอร์มีเดียท ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ ที่ตลาดไนเม็กซ์ ของสหรัฐ ร่วงลง 2.23 ดอลลาร์ หรือราว 4.6% มาอยู่ที่ 46.25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ทะเลเหนือ ที่ตลาดลอนดอน อังกฤษ ส่งมอบเดือนเดียวกัน ปรับลดลง 1.02 ดอลลาร์ หรือ 2.1% ปิดซื้อขายที่ 47.67 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

เทรดเดอร์ ระบุว่า การประกาศของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือโอเปค ที่สวนทางกับความหวังของนักลงทุนว่าจะมีการลดการผลิตลงมานั้น เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาน้ำมันร่วงลงมา

 

โอเปคระบุในรายงานรายเดือนว่า ในเดือนที่แล้ว ทางกลุ่มมีการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 30.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าเพดานการผลิตที่กำหนดไว้ที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน

 

พร้อมกันนี้ ยังคาดการณ์ว่า ความต้องการน้ำมันโลกในปีนี้ จะร่วงลงมาอยู่ที่วันละ 28.8 ล้านบาร์เรล จากจำนวน 29.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อปีที่แล้ว

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (วันที่ 16 มกราคม 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...