ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ 32.54-32.56 บาท/ดอลลาร์ แนวโน้มแข็งค่าขึ้น คาดวันนี้แกว่ง 32.50-32.60 บาท/ดอลลาร์

 

 

นักบริหารเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า ค่าเงินบาทในวันนี้เปิดตลาดในวันนี้ที่ 32.54-32.56 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับสกุลอื่นๆในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากนักลงทุนมองว่าตลาดเอเชีย ยังเป็นตลาดที่น่าสนใจ เพราะอัตราดอกเบี้ยยังให้ผลตอบแทนสูงเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ประกอบกับเกิดเหตุการณ์ในสวิสเซอร์แลนด์ ส่งผลให้มีเงินไหลเข้าในตลาดเอเชียเพิ่มมากขึ้น ทำให้ค่าเงินบาทรวมไปถึงค่าเงินอื่น ๆในภูมิภาคเป็นที่สนใจของนักลงทุน ซึ่งคงต้องติดตามประเด็นดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป

 

ส่วนกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้คาดอยู่ที่ 32.50-32.60 บาท/ดอลลาร์

 

 

 

 

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (19/01/2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

IMF เตือน ศก.โลกยังซบเซาจากผลพวงของวิกฤตการเงิน แม้ราคาน้ำมันลด ศก.สหรัฐแกร่ง (19/01/2558)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวในที่ประชุมซึ่งจัดขึ้นโดยสภาวิเทศสัมพันธ์ของสหรัฐ ว่า เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับอุปสรรคใหญ่ แม้จะได้รับปัจจัยบวกหลายประการ เช่น การลดลงของราคาน้ำมันและเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งขึ้นก็ตาม

 

นางลาการ์ดกล่าวว่า การปรับตัวลงของราคาน้ำมันและการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐนั้น ไม่ใช่ยาขนานเอกที่สามารถเยียวยาความอ่อนแอที่หยั่งรากลึกของภาคส่วนอื่นๆได้ พร้อมระบุเพิ่มเติมว่า มีหลายประเทศมากเกินไปที่ยังคงได้รับแรงกดดันจากผลพวงของวิกฤตการเงิน ซึ่งรวมถึงหนี้และอัตราว่างงานที่อยู่ในระดับสูง

 

ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟกล่าวว่า ในบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้ว เศรษฐกิจสหรัฐและอังกฤษจะยังคงฟื้นตัวได้ดี แต่การขยายตัวในยูโรโซนและญี่ปุ่นยังต่ำมาก ส่วนเศรษฐกิจในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ รวมถึงจีน ก็ชะลอตัวลงเช่นกัน

 

นอกจากนี้ นางลาการ์ดกล่าวว่า เศรษฐกิจของกลุ่มตลาดเกิดใหม่อาจจะได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกที่สูงขึ้น และกระแสเงินทุนหมุนเวียนที่มีความผันผวนมากขึ้น ขณะที่ยูโรโซนและญี่ปุ่นยังคงมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะการขยายตัวที่อ่อนแอและเงินเฟ้อต่ำที่ยืดเยื้อยาวนาน รวมทั้งความเสี่ยงด้านการเมืองที่เพิ่มขึ้น

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 16 มกราคม 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ เปิดเผยในวันนี้ว่า การที่ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ประกาศยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อวานนี้ จะไม่มีผลกระทบในทันทีต่อการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ

 

S&P ระบุว่า การแข็งค่าอย่างมากของฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโรจะกระทบการส่งออกในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า แต่คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศจะสามารถรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นได้

 

"เราคาดว่าเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสวิตเซอร์แลนด์ และฐานะการคลังที่มั่นคงจะช่วยต้านทานภาวะตื่นตระหนกที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยน" แถลงการณ์ของ S&P ระบุ

 

ตลาดหุ้นสวิตเซอร์แลนด์ทรุดตัวลงเมื่อวานนี้ ส่งผลให้มูลค่าตลาดหายไปถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ หลังจากที่ SNB ประกาศยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโรที่ 1.20 ฟรังก์สวิส พร้อมลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ -0.75% จาก -0.25%

 

ทั้งนี้ ค่าเงินฟรังก์สวิสพุ่งขึ้นเกือบ 30% เพียงไม่กี่นาทีหลังการประกาศของ SNB โดยดีดตัวแตะ 0.8052 ฟรังก์สวิสต่อยูโร หลังจากที่ SNB ประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าวที่มีการกำหนดขึ้นในวันที่ 6 ก.ย. 2011 เพื่อควบคุมค่าเงินฟรังก์สวิสในขณะนั้นไม่ให้แข็งค่ามากเกินไปเมื่อเทียบกับยูโร รวมทั้งป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศถดถอย และตกอยู่ในภาวะเงินฝืด

 

นายนิค ฮาเย็ค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทสวอทช์ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตนาฬิกาชั้นนำของสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวว่า "นโยบายของธนาคารกลางสวิสถือเป็นการกระทำที่รุนแรงเหมือนคลื่นยักษ์สึนามิสำหรับอุตสาหกรรมส่งออกและการท่องเที่ยว และสุดท้ายจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วประเทศ"

 

ทางด้านนายคริสเตียน เลฟแรท หัวหน้าพรรคโซเชียล เดโมแครต ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายซ้ายของสวิส กล่าวโจมตีนโยบายของ SNB ว่าเป็นภัยคุกคามต่อการจ้างงานจำนวนหลายหมื่นตำแหน่งของชาวสวิส

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (16/01/58)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝรั่งตกใจ ทะลุขึ้นเหนือเป้าหมายครั้งก่อนได้ยังไง สาเหตุเพราะ ธนาคารสวิสเหรอ ? พร้อมแนวทางขาเสี่ยง ประจำอาทิตย์นี้

 

LONG GOLD above 1273 SL 1270 TP 1285-1293-1303

SHORT GOLD below 1270 SL 1273 TP 1254-1242-1231

 

ทุกๆ จุดมีความเป็นไปได้ ทยอยเข้าตามจุดรับ ทยอยขายตามจุดต้าน โชคดี

 

ปล. ประชุม ECB วันที่ 22 มกราคม 58

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มีการคาดการณ์อย่างกว้างขวางว่า ในการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 22 มกราคมนี้ นายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารอีซีบีจะประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือคิวอี ตามรอยธนาคารกลางชาติยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐ ญี่ปุ่น และอังกฤษ หลังอัตราเงินเฟ้อเดือนที่แล้วของกลุ่มยูโรโซนติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี แต่หลายคนยังกังขาว่า มาตรการดังกล่าวมีประสิทธิภาพคุ้มค่ากับต้นทุนหรือไม่

 

 

 

มาตรการซื้อตราสารหนี้รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลประเทศสมาชิก มีเป้าหมายเพื่ออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ ลดต้นทุนการกู้ยืม ซึ่งจะช่วยจูงใจให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนนำเงินมาลงทุนหรือใช้จ่ายมากขึ้น ที่สำคัญยังช่วยกดค่าเงินยูโรให้อ่อน และกระตุ้นการส่งออก อีซีบีหวังว่าเมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจคึกคักขึ้น ปัญหาเรื้อรังที่กัดกร่อนยูโรโซนมานานอย่าง อัตราการว่างงานเลข 2 หลัก การเติบโตที่ต่ำ และอัตราเงินเฟ้อระดับต่ำจะค่อยๆ คลี่คลายลง

 

แต่หากย้อนไปมอง 3 ประเทศที่เคยใช้คิวอีจะพบว่า มาตรการดังกล่าวไม่ได้ประสบความสำเร็จเสมอไป โดยเฉพาะการกระตุ้นเงินเฟ้อ วอลล์สตรีต เจอร์นัล ชี้ว่า ปัจจุบันญี่ปุ่นซึ่งใช้คิวอีมาตั้งแต่ปี 2553 ยังคงประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอยและเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ

 

ส่วนกรณีของสหรัฐ แม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะฟื้นตัวและการว่างงานลดลง แต่ถ้าเจาะลึกลงในรายละเอียดจะพบว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้านที่ลดลงจากคิวอี ไม่ได้ช่วยให้คนอเมริกันกู้ซื้อที่อยู่อาศัย หรือรีไฟแนนซ์หนี้ก้อนเดิมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยกู้ ตลาดอสังหาริมทรัพย์สหรัฐจึงยังซบเซานอกจากนั้น เหตุที่คิวอีส่งผลดีต่อเศรษฐกิจสหรัฐ เป็นเพราะระบบการเงินมะกันพึ่งพาตลาดทุนเป็นหลัก การเข้าซื้อตราสารหนี้ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จึงส่งผลกระทบแง่บวกอย่างมีนัยสำคัญการกู้ยืมของภาคธุรกิจ แต่ตลาดหุ้นกู้ในยุโรปมีขนาดเล็กกว่าในสหรัฐมาก 80% ของการกู้ยืมของภาคธุรกิจยุโรปดำเนินการผ่านสถาบันการเงินไม่ใช่ตลาดตราสารหนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ภาคการธนาคารในยูโรโซนยังมีโครงสร้างแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันอย่างในสหรัฐ การใช้คิวอีในยุโรปจึงอาจไม่เกิดผลดีดังหวัง

 

และถึงแม้ว่าภาวะเงินฝืดจะไม่ใช่สิ่งพึงประสงค์ แต่ก็เป็นสัญญาณถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตที่ยั่งยืน นายมิเชล เฮส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากบริษัทประกันอัลลิอันซ์ในมิวนิก ตั้งข้อสังเกตว่า อัตราเงินเฟ้อที่ลดต่ำในยูโรโซนมาจากการลดลงของราคาน้ำมัน ตลอดจนกระบวนการปฏิรูปเชิงโครงสร้างในโปรตุเกส สเปน และประเทศอื่น ๆ ที่เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ โดยนโยบายปรับโครงสร้างทำให้ระดับราคาและค่าจ้างที่เคยพุ่งสูงช่วงก่อนฟองสบู่แตกปรับตัวลดลง อันจะส่งผลดีต่อความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว

 

ดังนั้น อีซีบีไม่ควรตื่นตระหนกกับอัตราเงินเฟ้อที่ติดลบ 0.2% ในเดือนธันวาคมปีกลาย จนเร่งรีบคลอดคิวอี แม้ว่าตัวเลขข้างต้นจะต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ 2% ของอีซีบีก็ตาม

 

สำหรับกรณีของอังกฤษ แม้เศรษฐกิจจะสดใสขึ้นหลังการใช้คิวอี แต่นายเฮส์มองว่า ปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการกู้ยืมของผู้บริโภคเมืองผู้ดีและพลิกฟื้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ กระแสเงินทุนจากต่างชาติที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย การอพยพเข้ามาของแรงงานต่างชาติ การผ่อนคลายมาตรการรัดเข็มขัดและภาวะชะงักงันของซัพพลายที่อยู่อาศัย

 

ต้องยอมรับว่า ระบบการเงินที่แตกต่างกันใน 19 ประเทศสมาชิกยูโรโซน ทำให้มาตรการซื้อพันธบัตรของอีซีบียุ่งยากซับซ้อนกว่าในสหรัฐ ญี่ปุ่น และอังกฤษมาก อันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรแต่ละประเทศมีตั้งแต่ ระดับ AAA สำหรับพันธบัตรเยอรมนี ไปจนถึงระดับขยะอย่างตราสารหนี้รัฐบาลกรีซ พันธบัตรของประเทศใดบ้างที่จะเข้าซื้อและจะซื้อในสัดส่วนเท่าไร ล้วนเป็นประเด็นที่อีซีบีต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

 

อีกปัจจัยหนึ่งที่อาจบั่นทอนประสิทธิภาพของคิวอีเวอร์ชั่นยุโรป คือ ดีมานด์ต่อสินเชื่อของผู้บริโภค ผู้ประกอบการและนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในยูโรโซนยังคงอยู่ในระดับต่ำ

 

เห็นได้จากกลไกที่มีอยู่แล้วของอีซีบี (LTRO) เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบธนาคารก็ยังไม่เต็มวงเงิน ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจยูโรโซนไม่ได้ขาดแคลนสภาพคล่องและขาดความเชื่อมั่น ดังนั้นถึงแม้ว่าคิวอีจะฉุดให้ต้นทุนการกู้ยืมต่ำลงก็ไม่เพียงพอที่จะโน้มน้าวให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

 

อย่างไรก็ตาม อีซีบีอาจจำเป็นต้องประกาศใช้คิวอีหลังจากนายดรากิส่งสัญญาณให้ตลาดมาระยะหนึ่งแล้ว แม้ว่าประสิทธิภาพของมาตรการดังกล่าวยังไม่ชัดเจน เพราะ "ตลาดจะผิดหวังอย่างมากถ้าไม่มีคิวอี" นายทิมโมธี อดัมส์ ประธานสถาบันด้านการเงินระหว่างประเทศระบุ

 

อย่างน้อยคิวอีจะส่งผลทางจิตวิทยาและสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่ยูโรโซนกำลังขาดแคลน

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 19 มกราคม 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันจันทร์ที่ 19 มกราคม 2558 ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 32.54/32.56 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (16/1) ที่ระดับ 32.63/66 บาท/ดอลลาร์ ในคืนวันศุกร์ (16/1) กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดเงินเฟ้อลดลง 0.4% ในเดือนธันวาคม หลังจากที่ปรับตัวลง 0.3% ในเดือนพฤศจิกายน โดยการลดลงครั้งนี้ถือเป็นการปรับลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2551 นักเศรษฐศาสตร์มองว่า การลดลงของดัชนีราคาผู้บริโภคนี้เกิดจากปัญหาการลดลงอย่างรวดเร็วของราคาน้ำมันที่ลดลงมากกว่า 50% นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมาทำให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศต่าง ๆ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และทางธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะต้องพิจารณาชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยบออกไปจากกำหนดการเดิม นอกจากนี้ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐออกมาแย่กว่าที่คาด โดยได้รับตัวลดลง 0.1% ในเดือนธันวาคมหลังจากที่เพิ่มขึ้น 1.3% ในเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ ในวันนี้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางแข็งค่าจากแรงขายดอลลาร์ของนักลงทุน แรงซื้อในตลาดพันธบัตรและเงินทุนในภาคธุรกิจที่กำลังไหลเข้ามาในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยวันนี้ค่าเงินบาทแข็งค่าสุดที่ 32.51 บาท/ดอลลาร์ ถือเป็นการแข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือน โดยกรอบการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทระหว่างวันอยู่ที่ 32.51-32.59 บาท/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 32.57/59 บาท/ดอลลาร์

 

สำหรับค่าเงินยูโรวันนี้เปิดตลาดที่ระดับ 1.1558/60 ดอลลาร์/ยูโร ปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (16/1) ที่ 1.1624/27 ดอลลาร์/ยูโร ค่าเงินยูโรถูกกดดันมากขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้วหลังจากธนาคารกลาง สวิตเซอร์แลนด์ (SNB) สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดด้วยการยกเลิกเพดานค่าเงินฟรังก์ที่ใช้มาร่วม 3 ปีตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2554 โดย SNB ได้เข้าซื้อเงินยูโรนับพันล้านยูโรเพื่อป้องกันไม่ให้ค่าเงินฟรังก์แข็งค่า ทะลุระดับเพดานที่ตั้งไว้ที่ 1.20 ต่อยูโร โดยนักวิเคราะห์มองว่าการเปลี่ยนนโยบายแบบกะทันหันดังกล่าวเนื่องจากทาง สวิตเซอร์แลนด์ต้องการให้ค่างินของตัวเองกลับมาสู่กลไกตลาดที่แท้จริงและ เป็นการชิงประกาศก่อนการประชุมธนาคารกลางยุโรปในวันพฤหัส (22/1) ที่จะถึงนี้ โดยรายงานล่าสุดนายมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบีได้ประชุมกับนายกรัฐมนตรีแองเจลา เมอร์เดล ของเยอรมนีในสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อทำให้แนวทางในการประกาศมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ราบรื่นมากยิ่งขึ้นเ พราะก่อนหน้านี้ทางธนาคารกลางเยอรมนีได้คัดค้านมาตรการ QE อย่างรุนแรง โดยนักเศรษฐศาสตร์มองว่า นายดรากีจะทำการประกาศใช้มาตรการ QE ด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรวงเงินอย่างน้อย 1 พันล้านยูโร และอาจมีมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติมอื่น ๆ ทั้งนี้ล่าสุดในวันศุกร์ (16/1) สำนักงานสถิติแห่งชาติของสหภาพยุโรป หรือยุโรปสแตท รายงานว่า อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนร่วงลงสู่ระดับ -0.2% ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2552 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นส่งสัญญาณว่ายุโรปใกล้เข้าสู่ภาวะเงินฝืดและเป็นการ ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติมของอีซีบี ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 1.1550-1.1628 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 1.1603/04 ดอลลาร์/ยูโร

 

ส่วนของค่าเงินเยนวันนี้เปิดตลาดที่ระดับ 117.40/42 เยน/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (16/1) ที่ 116.50/52 เยน/ดอลลาร์ ค่าเงินเยนแกว่งตัวค่อนข้างผันผวนจากการที่ตลาดค่อนข้างตกใจกับการที่ธนาคาร กลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ตัดสินใจยกเลิกเพดานค่าเงินฟรังก์สวิสในวันพฤหัสบดี (15/1) โดยค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว และแข็งค่าสุดที่ระดับ 115.80 เยน/ดอลลาร์ ก่อนที่ตลาดจะเข้าสู่ความมีเสถียรภาพส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่ากลับมาอยู่ใน ระดับสูงกว่า 117.00 เยน/ดอลลาร์อีกครั้งในเช้าวันนี้ (19/1) อย่างไรก็ตามค่าเงินเยนได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการที่ความเชื่อมั่นผู้ บริโภคชาวญี่ปุ่นในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 38.8 ในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นจาก 37.7 ในเดือนพฤศจิกายนนอกจากนี้นายโคโซะ ยามาโมโต ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายการคลังและการเงินในพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ กล่าวว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการผ่อนคลายนโยบายการเงินลงอีกในปีนี้ เนื่องจากผลของการผ่อนคลายนโยบายการเงินในเดือนตุลาคมปีที่แล้วจะสามารถ กระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและจะเริ่มเห็นผลชัดเจนภายในฤดูร้อนปี นี้ โดยระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 116.90-117.38 เยน/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 117.29/31 เยน/ดอลลาร์

 

ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จีดีพีไตรมาสสี่ของจีน ดัชนีราคาผู้ผลิตและดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยสถาบัน ZEW ของเยอรมนี (20/1) ธนาคารกลางญี่ปุ่นแถลงมติการประชุมนโยบาย รายงานการประชุมคณะนโยบายการเงินของอังกฤษ ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านของสหรัฐ (21/1) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) แถลงมติการประชุมนโยบาย ดัชนีราคาบ้านของสหรัฐ (22/1) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อของยูโรโซนและสหรัฐ ยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐ (23/1)

 

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ +5.8/6.0 สตางค์/ดอลลาร์ และอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือน ต่างประเทศอยู่ที่ +4.5/5.5 สตางค์/ดอลลาร์

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 19 มกราคม 2558)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กระทรวงการคลังรัสเซียเตรียมนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศออกมาใช้แลกเปลี่ยน เป็นเงินรูเบิลและอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ นับเป็นความพยายามล่าสุดในการพยุงค่าเงินรูเบิลที่อ่อนลงอย่างรุนแรงที่สุด ในรอบ 17 ปี

 

นายอันทอน ซิลูอานอฟ รัฐมนตรีคลังรัสเซีย กล่าวว่า กระทรวงการคลังจะร่วมมือกับธนาคารกลางรัสเซีย นำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศส่วนหนึ่ง อาจเป็นมูลค่าเทียบเท่ากับเงิน 5 แสนล้านรูเบิล ออกมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินรูเบิล และนำเงินจำนวนดังกล่าวไปฝากกับธนาคารเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับเศรษฐกิจ

ทางการรัสเซียจำเป็นต้องหาวิธีการต่างๆ มาช่วยพยุงค่าเงินรูเบิลที่อ่อนค่าลงไปอย่างมาก จากผลของราคาน้ำมันดิบที่ลดลงเหลือต่ำกว่า 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ประกอบกับผลของการถูกคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกจากปัญหาความขัดแย้งกับยูเครน

อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงของการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้พยุงค่าเงินรูเบิล คือรัสเซียมีโอกาสสูญเสียความเชื่อมั่นในสายตานักลงทุนมากไปกว่าเดิม นายอเล็กไซ อุลยูคาเยฟ รัฐมนตรีเศรษฐกิจรัสเซีย กล่าวเตือนว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่อันดับเครดิตของประเทศจะถูกปรับลด ลงสู่ระดับต่ำกว่าระดับลงทุนเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี

นายอเล็กซี มอยซีเอฟ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของรัสเซีย กล่าวว่า เงินทุนสำรองทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งของจำนวน 5 แสนล้านรูเบิลจะถูกนำไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินรูเบิลโดยธนาคารกลางรัสเซีย ระหว่างช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ โดยธนาคารกลางรัสเซียจะเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องช่วงเวลาและวิธีการ

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ชี้ว่า เงินจำนวนดังกล่าวไม่มากเพียงพอสร้างความแตกต่าง ฟีนิกซ์ แคเลน นักวิเคราะห์จากโซซิเอเต้ เจเนอรัล กล่าวว่า "การอัดฉีดเงินจำนวนดังกล่าวจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นแน่นอน แต่จะไม่เพียงพอพยุงค่าเงินหรือเข้ามาเติมเต็มช่องว่างของงบประมาณ" ทั้งนี้ รัฐมนตรีคลังรัสเซียกล่าวว่า กระทรวงการคลังวางแผนลดงบประมาณรายจ่ายทุกภาคส่วนลง 10% ยกเว้นงบด้านการทหาร

รัฐบาลรัสเซียหวังว่าเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนมาก ที่ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะเพียงพอช่วยพยุงให้ประเทศผ่านพ้นภาวะวิกฤติจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลงอย่าง มากได้ในช่วงปีหรือ 2 ปีข้างหน้า นายเยอร์มัน เกรฟ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารสเบอร์แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของรัสเซีย กล่าวว่า เชื่อว่าราคาน้ำมันจะไม่ขยับขึ้นถึงระดับสูงสุดเท่าเดิม แต่หวังว่าจะปรับขึ้นสู่ระดับ 60-70 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลได้

เกรฟกล่าวว่า ที่ราคาน้ำมันปัจจุบัน รัสเซียจะใช้เงินทุนสำรองหมดภายในเวลา 2 ปี เกรฟชี้ว่ารัสเซียจำเป็นต้องปฏิรูประบบราชการและพัฒนาบรรยากาศการทำธุรกิจ เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุน ขณะที่การแซงก์ชันจากต่างชาติเป็นอุปสรรคที่ชะลอการปฏิรูป

ด้านนางเซเนีย ยูดาเอวา รองประธานธนาคารกลางรัสเซีย กล่าวว่า ธนาคารกลางรัสเซียได้ปรับตัวเลขคาดการณ์ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดเมื่อ ราคาน้ำมันดิบลดลงเหลือ 40 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังจากที่ก่อนหน้านี้สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดที่ธนาคารกลางรัสเซีย ประเมินไว้คือราคาน้ำมันดิบลดลงเหลือ 60 ดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่ผ่านมาทางการรัสเซียนำมาตรการต่างๆ มาใช้พยุงค่าเงินรูเบิลที่เมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมาอ่อนค่าสู่ระดับ ต่ำสุด 80.10 รูเบิลต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยธนาคารกลางรัสเซียประกาศปรับดอกเบี้ยขึ้นถึงระดับ 17% ขณะที่รัฐบาลได้สั่งให้บริษัทก๊าซพรอม และบริษัทผู้ส่งออกรายใหญ่ของรัฐอีก 4 ราย ลดการถือครองเงินตราต่างประเทศภายในวันที่ 1 มีนาคมให้ต่ำกว่าหรือเท่ากับระดับเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2557

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 18 - 21 มกราคม พ.ศ. 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

เจ้าหน้าที่อิหร่านระบุว่า ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณว่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) จะดำเนินมาตรการเพื่อพยุงราคาน้ำมัน และเสริมว่า อุตสาหกรรมน้ำมันของอิหร่านสามารถรับมือราคาน้ำมันที่อาจทรุดตัวลงแตะ 25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้

 

นายบิจาน วานกาเนห์ รมว.น้ำมันอิหร่าน กล่าวเรียกร้องให้สมาชิกโอเปกเพิ่มความร่วมมือกันมากขึ้น และระบุว่า "อิหร่านไม่มีแผนที่จะจัดประชุมฉุกเฉินสำหรับโอเปก และขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการหารือกับสมาชิกรายอื่นๆของโอเปกในความพยายาม เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาทรุดตัวลง แต่การหารือดังกล่าวยังไม่บรรลุผล"

 

ราคาน้ำมันได้ดิ่งลงกว่า 50% แล้วนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2014 สู่ระดับต่ำกว่า 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยถูกกดดันจากผลผลิตน้ำมันที่ล้นตลาดโลก และการที่โอเปกปฏิเสธที่จะปรับลดกำลังการผลิตในการประชุมครั้งก่อนในเดือน พ.ย.ปีที่แล้ว

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 20 มกราคม 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 19 ม.ค. 2558

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (19 ม.ค.) เพราะได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ครั้งใหญ่ในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งกระแสคาดการณ์ดังกล่าวช่วยหนุนตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกติดต่อกัน 3 วันทำการ

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวขึ้น 0.2% ปิดที่ 353.18 จุด

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 10,242.35 จุด เพิ่มขึ้น 74.58 จุด หรือ +0.73% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,585.53 จุด เพิ่มขึ้น 35.26 จุด หรือ +0.54% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,394.93 จุด เพิ่มขึ้น 15.31 จุด, +0.35%

 

-- ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (19 ม.ค.) เพราะได้รับปัจจัยบวกจากการพุ่งขึ้นของหุ้นเทสโก้ หลังจากมอร์แกน สแตนลีย์ ปรับเพิ่มน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นเทสโก้

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,585.53 จุด เพิ่มขึ้น 35.26 จุด หรือ +0.54%

 

-- ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทำการเนื่องในวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์

-- ตลาดทองคำนิวยอร์กปิดทำการเนื่องในวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์

-- ตลาดน้ำมันนิวยอร์กปิดทำการเนื่องในวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์

-- ตลาดเงินนิวยอร์กปิดทำการเนื่องในวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานยุโรปออกไปแล้ว 2 ตัว ไม่ดี แต่ฝรั่งยุโรปคงรอ 5 โมงเย็นประกาศตัวสำคัญ ก็ระวังไว้ด้วย

LONG GOLD above 1273 SL 1270 TP 1285-1293-1303

SHORT GOLD below 1270 SL 1273 TP 1254-1242-1231

 

จุดต้าน 1285 จุดรับ 1273

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท มีการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาคเนื่องจากดอลลาร์แข็งค่า นั่นคือ อ่อนค่าลง จากเมื่อวานอยู่ที่ 32.50-32.59 และคาดเดาว่าจะอ่อนค่าแบบนี้จนถึงวันพฤหัสฯ นี้ 32.75-32.95

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานสหรัฐฯ คืนนี้ก็ไม่มีประเด็น / ประเด็นน่าจะเป็นการอัดอั้นจากวันหยุดยาว 3 วันและเปิดทำการวันแรก น่าจะเป็นการเก็งกำไรค่าเงิน จากการที่ยูโรจะทำ QE และค่าเงินจะอ่อนลง ผลักดันให้ดอลล์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นไปอีก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน หรือ โอเปก ระบุว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มจะดิ่งลงไปเรื่อยๆ จนถึงสิ้นปีนี้อย่างแน่นอน โดยกลุ่มโอเปกมองว่าราคาน้ำมันที่ขณะนี้จ่อแตะระดับต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี จะยังคงปรับลดลงไปอีกตลอดปี 2558 ส่วนตลาดน้ำมันก็จะยังอยู่ในภาวะซบเซาต่อไปอีกนานด้วยเช่นกัน

 

ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำมันปัจจุบันอยู่ในภาวะล้นตลาดอย่างน้อยวันละ 1 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นผลให้ราคาน้ำมันลดฮวบ แต่ทางโอเปกก็ยังคงยืนยันจะคงกำลังการผลิตน้ำมันไว้ที่ระดับเดิม แม้ว่าสมาชิกโอเปกบางประเทศ อาทิ อิหร่าน และเวเนซุเอลา จะเรียกร้องให้ลดประมาณการผลิตลงเพื่อช่วยประครองราคาน้ำมันไม่ให้ย่ำแย่ลงกว่าเดิมก็ตาม

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 19 มกราคม 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

มันขึ้นแบบไม่แวะทักแนวต้าน 1285 เลยนิ เลยไปถึง 1293

 

LONG GOLD above 1273 SL 1270 TP 1285-1293-1303

SHORT GOLD below 1270 SL 1273 TP 1254-1242-1231

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...