ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

นับจากปี 2554 ที่ราคาทองคำเคยขึ้นไปทำสถิติสูงสุดที่ระดับกว่า 1,920 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ หรือบาทละ 27,000 บาท แต่หลังจากนั้นราคาทองคำก็มีทิศทางซึมตัวต่อเนื่องมากว่า 2 ปี ทำให้ภาพแห่งความคึกคักจากการต่อแถวยาวเหยียดเพื่อรอซื้อทองที่ "เยาวราช" กลายเป็นความทรงจำในอดีตเท่านั้น และแล้วเมื่อช่วงต้นปีนี้ ราคาทองกลับมาทะยานขึ้นรวดเร็ว นักลงทุนมีความหวังว่า "สัญญาณลงทุนจะฟื้นตัวกลับมาเร็วกว่าที่คาด"

 

ความคาดหวังของนักลงทุนไทยที่อยากให้ราคาทองฟื้นตัวเป็นขาขึ้น ไม่ได้เกินไปกว่าความเป็นจริงนัก เพราะในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ ราคาทองได้ทะยานตัวขึ้นไปอย่างมาก จนแตะระดับสูงสุดที่ 1,350 เหรียญต่อออนซ์ หรือบาทละ 20,100 บาท ในวันที่ 21 ม.ค. 2558 ส่งผลให้กราฟราคาทองทะยานขึ้นเป็นทางชัน บ่งบอกถึงการฉีกตัวอย่างมากจากราคาปกติ

 

"นายแพทย์กฤชรัตน์ หิรัณยศิริ" ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ แม่ทองสุก ระบุว่า การกลับทิศของราคาทองในครั้งนี้ เป็นผลสะท้อนจากการที่ "ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์" (SNB) ประกาศยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิส พร้อมกับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ -0.75% จากเดิม -0.25% โดยมีเป้าหมายที่จะควบคุมค่าเงินฟรังก์สวิสไม่ให้แข็งค่ามากเกินไป เมื่อเทียบกับยูโร รวมทั้งไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศถดถอย และตกอยู่ในภาวะเงินฝืด

 

"ตามกลไกปกติเราจะพบว่า หากค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ราคาทองคำก็จะมีแนวโน้มอ่อนตัวลง แต่ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว นักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจในระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนมาก จากนโยบายของธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ จึงได้หันมาลงทุนในทองคำแทน ทำให้ทองคำได้รับสถานะ Safe Haven คืน จากที่ผ่านมามีสถานะเป็นสินทรัพย์เพื่อเก็งกำไร"

 

ดังนั้น "นายแพทย์กฤชรัตน์" จึงประเมินว่า ราคาทองคำอาจมีโอกาสเข้าสู่ช่วง "ขาขึ้น" เร็วกว่าที่คาด แต่ต้องอยู่ภายใต้สมมติฐานที่ราคาทองต้องปรับตัวขึ้นสูงกว่าระดับ 1,380 เหรียญต่อออนซ์ หรือบาทละ 20,800 บาท ส่วนแนวต้านประเมินที่ระดับ 1,180 เหรียญต่อออนซ์ หรือบาทละ 18,200 บาท

 

เช่นเดียวกับ "ฐิภา นววัฒนทรัพย์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด ที่มีความเห็นว่า ทองคำได้กลับเข้าสู่สถานะ "Safe Haven" อย่างชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องรอลุ้นมาตรการของธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

 

"สัญญาณบ่งชี้ที่น่าสนใจคือ ยอดการซื้อสะสมของกองทุนขนาดใหญ่อย่าง SPDR ที่ล่าสุดถือครองทองทั้งสิ้น 742.24 ตัน เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2558 จากต้นปีที่ถืออยู่ราว 709.02 ตัน และธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ เช่น รัสเซีย รวมถึงจีนที่มีแนวโน้มการซื้อสะสมทองคำมากขึ้น ดังนั้นจึงทำให้ราคาทองในช่วงนี้ปรับตัวขึ้นได้ค่อนข้างมาก" ฐิภากล่าว

 

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต้องจับตาสัญญาณทางเทคนิคด้วยว่า ราคาทองสามารถปรับตัวขึ้นไปสูงกว่า 1,350 เหรียญต่อออนซ์ หรือบาทละ 27,000 บาท ได้หรือไม่ เนื่องจากระดับดังกล่าวเป็นแนวต้านสำคัญที่บ่งบอกว่า ราคาทองคำได้กลับเข้าสู่ช่วง "ขาขึ้น" แล้วหรือยัง ส่วนแนวรับประเมินที่ระดับ 1,150 เหรียญต่อออนซ์ หรือบาทละ 18,000 บาท

 

ด้าน "กมลธัญ พรไพศาลวิจิต" ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัท จีทีเวลธ์ แนะนักลงทุนควรจับตาประเด็นสำคัญ ได้แก่ การเลือกตั้งของกรีซ ในวันที่ 25 มกราคมนี้ เพราะหากพรรคไซรีซา ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านได้รับเลือกเข้ามาเป็นรัฐบาล อาจไม่เป็นผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรปนัก เนื่องจากพรรคดังกล่าวต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด อย่างไรก็ตามผลสะท้อนจากประเด็นนี้จะทำให้เกิดความผันผวนของค่าเงินและมีผลดีต่อราคาทองคำ

 

นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาส2ซึ่งจะกดดันให้ราคาทองคำปรับตัวลดลงได้ในระยะสั้น

 

ส่วนกลยุทธ์การลงทุน ภายใต้มุมมองของ "ธนรัชต์ พสวงศ์" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส รวมถึงผู้ค้าทองรายอื่น ๆ มีความเห็นตรงกันว่า นักลงทุนไม่ควรรีบร้อนเข้าซื้อในครั้งเดียวโดยใช้เงินจำนวนมาก แต่ควรลงทุนโดยใช้วิธี "ทยอยซื้อ" ในทองคำแท่ง ส่วนสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า (Gold Futures) แนะนำให้เปิดสถานะ "Long" หรือซื้อล่วงหน้า ด้วยการเล่นตามกรอบลงทุนระยะสั้น เพราะระหว่างทางอาจมีความเปลี่ยนแปลงด้านประเด็นการลงทุน จนทำให้เกิดความเสี่ยงจากแรงขายได้

 

แม้ทองคำจะสามารถทวงคืนบัลลังก์ "Safe Haven" ได้แล้ว แต่จะเป็นขาขึ้นหรือไม่นั้น นักลงทุนคงต้องรอจับสัญญาณด้านอื่นด้วย

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 27 มกราคม 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝรั่งเดาราคาทองตามขาเสี่ยงให้มองในรายอาทิตย์สุดท้ายของเดือน มกราคา 58

 

LONG GOLD above 1294 SL 1291 TP 1306-1320-1342-1350

SHORT GOLD below 1276 SL 1279 TP 1252-1236-1222

 

ทุกๆ จุดมีการคาดหวังจะปรากฎพบ ทยอยซื้อตามแนวรับ ทยอยขายตามแนวต้าน ไม่ทุ่มไม่เท จนหมดหน้าตัก โชคดี

เข้าสู่คืนวันพุธ กลางสัปดาห์ ราคาทองยังวนเวียน Sideway ในช่วงคลำทิศ 1277 ถึง 1293 ใน 2 วันที่ผ่านมา / ดึงตัวเลขขาเสี่ยงมาดู

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 สัญญานนำทางของราคาทอง เส้นดำเส้นแดงยังไม่ได้ตัดกัน แต่ทุกๆวันที่ผ่านมา ราคาทอง Sideway วนเวียนในช่วงราคา 1277-1293 ทำให้เส้นดำห้อยหัวต่ำลงมาเกือบจะแตะเส้นแดง จุดตัดเส้นดำเส้นแดง น่าจะ 1276 ตามตัวเลขขาเสี่ยงรายอาทิตย์ ทองแท่งตัวเป็นๆหนักๆ พอร์ตว่าง ก็ทนว่างต่อไป เล่นสูงต่ำอาจจะสูงก่อนค่อยลงต่ำ จึงน่าจะเล่นแบบเดิม คือ ทยอยเข้าตามแนวรับ ทยอยขายตามแนวต้าน ไม่ทุ่มไม่เท หมดหน้าตัก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 ของค่าเงินดอลล์สหรัฐ / เริ่มเข้าที่เข้าทางในแง่ของเหตุและผลระหว่าง ดอลล์แข็งทองลง ดอลล์อ่อนทองย่อ จังหวะดอลล์แข็งค่ารอคอยอยู่ในรายงานเศรษฐกิจที่จะออกในวันนี้ ทั้ง รายงานยุโรปของเยอรมันพี่ใหญ่ออกมาไม่ดี และ รายงานสหรัฐฯ ออกมาดี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท จากที่เมื่อวาน คณะกรรมการกำกับนโยบายการเงินของประเทศ คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่เดิม 2% ก็คงทำให้ค่าเงินบาทไม่อ่อนค่าลง จะแข็งค่า จากเงินตราต่างประเทศไหลเข้ามา กรอบ 32.45-32.50

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานยุโรปภาคบ่าย ตัวเลขตามโพลบอกว่า ออกมาดีขึ้น ความผันผวนของราคาทองอาจจะขยับขึ้น แต่คงต้องไม่ลืมว่ามีจุดต้านที่ 1293

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานยุโรปภาคกลางคืน 2 ทุ่มของเยอรมัน โพลบอกมาว่า ไม่ดี และ รายงานสหรัฐฯ โพลออกมาดีขึ้น ตัวเลขคนลงทะเบียนว่างงานลดน้อยลง ตรงนี้ จะส่งเสริมค่าเงินดอลล์สหรัฐให้แข็งค่าขึ้น ราคาทองมีจังหวะย่อลง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายซิกมาร์ กาเบรียล รมว.เศรษฐกิจเยอรมัน กล่าวในวันนี้ว่า เขาคัดค้านการยกหนี้ให้กรีซ และเรียกร้องให้รัฐบาลกรีซเปิดกว้างต่อการเจรจาที่เป็นธรรม และปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน

 

นายอเล็กซิส ซิปราส นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของกรีซ สร้างความวิตกกังวลต่อยุโรป หลังจากที่เขาประกาศว่าต้องการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในมาตรการรัดเข็มขัดที่กรีซทำไว้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และสหภาพยุโรป (อียู) โดยหวังให้มีการลดหนี้ และยุติมาตรการรัดเข็มขัด

 

นายกาเบรียลระบุว่า เยอรมนี และประเทศอื่นในยูโรโซนจะยังคงให้ความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับกรีซต่อไป แต่กรีซก็จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อตกลงเดิม ขณะที่เขากล่าวว่า เยอรมนีต้องการให้กรีซยังคงอยู่ในยูโรโซนต่อไป

 

อย่างไรก็ดี นายยานิส วารูเฟกิส รมว.คลังกรีซ กล่าวในวันนี้ว่า เขามีแผนที่จะพบปะกับรัฐมนตรีคลังของยุโรปเพื่อทำข้อตกลงฉบับใหม่ที่จะทดแทนมาตรการรัดเข็มขัดที่กรีซถูกบังคับให้ใช้ในปัจจุบันเพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ

 

นายวารูเฟกิสระบุว่า เขาจะหารือกับนายเจโรน ดิเซลบลูม หัวหน้ากลุ่มยูโรกรุ๊ปในสัปดาห์นี้ รวมทั้งประชุมกับรมว.คลังของอิตาลีและฝรั่งเศสเพื่อขอการสนับสนุนในเรื่องดังกล่าว

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (28/01/58)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายยานิส วารูเฟกิส รมว.คลังกรีซ กล่าวในวันนี้ว่า เขามีแผนที่จะพบปะกับรัฐมนตรีคลังของยุโรปเพื่อทำข้อตกลงฉบับใหม่ที่จะทดแทนมาตรการรัดเข็มขัดที่กรีซถูกบังคับให้ใช้ในปัจจุบันเพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ แต่เขาหวังว่าจะสามารถหาทางออกโดยไม่สร้างความขัดแย้งกับยุโรป

 

นายวารูเฟกิสระบุว่า เขาจะหารือกับนายเจโรน ดิเซลบลูม หัวหน้ากลุ่มยูโรกรุ๊ปในสัปดาห์นี้ รวมทั้งประชุมกับรมว.คลังของอิตาลีและฝรั่งเศสเพื่อขอการสนับสนุนในเรื่องดังกล่าว

 

นายวารูเฟกิส วัย 53 ปี ซึ่งเป็นนักวิชาการฝ่ายต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และสหภาพยุโรป (อียู) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีคลังของกรีซเมื่อวานนี้

 

นายวารูเฟกิสอยู่ในคณะเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ของกรีซกับกลุ่มประเทศเจ้าหนี้ เนื่องจากเขามีจุดยืนที่แข็งกร้าวในการยกเลิกมาตรการรัดเข็มขัดที่กรีซถูกบังคับให้ปฏิบัติตามเพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ

 

นายวารูเฟกิสเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในกรีซและต่างประเทศจากการบรรยาย และการแสดงความเห็นในบทความ และหนังสือต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการวิกฤติหนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเขาโจมตีการกำหนดเงื่อนไขที่เข้มงวดของไอเอ็มเอฟ และอียูในการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลกรีซ

 

ด้านนายอเล็กซิส ซิปราส นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของกรีซ ประกาศว่า เขาจะเปิดฉากการเจรจาครั้งใหม่เกี่ยวกับเงื่อนไขการชำระหนี้ของกรีซต่อไอเอ็มเอฟ และอียู โดยหวังให้มีการลดหนี้ และยุติมาตรการรัดเข็มขัด

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (28/01/58)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (28 ม.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้กดดันให้นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำ

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.ร่วงลง 5.8 ดอลลาร์ หรือ 0.45% ปิดที่ระดับ 1,285.90 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 0.4 เซนต์ ปิดที่ 18.088 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 5.8 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,258.50 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาทองคำร่วงลงหลังจากสกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น โดยดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นมาตรวัดความเคลื่อนไหวของสกุลเงินหลักๆในตะกร้าเงินนั้น พุ่งขึ้น 0.25% แตะที่ 94.2610 ส่งผลให้นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์ เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์จะทำให้สัญญาทองคำมีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจ

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 29 มกราคม 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด มีมติเอกฉันท์ให้คงดอกเบี้ยระดับต่ำใกล้ 0% ต่อไปอีก ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง

 

การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เมื่อวานนี้มีมติเป็นเอกฉันท์ 10-0 ให้คงอัตราดอกเบี้ยใกล้ 0% แม้จะเห็นสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง

โดยในถ้อยแถลงของ FOMC ยังคงมีการใช้คำว่า “อดทน” ต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งเป็นถ้อยคำที่คงไว้จากการประชุมครั้งที่แล้วในเดือนธันวาคม แต่คำว่า “อีกระยะเวลาหนึ่ง” ไม่มีปรากฏในผลการประชุมครั้งนี้แล้ว

เฟดระบุว่าเห็นอัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลง และอาจจะลดลงอีกในอนาคต แต่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะมีการปรับเพิ่มขึ้นในระยะกลาง ไปที่ 2% ตามที่มีการตั้งเป้าหมายไว้ จากตลาดแรงงานที่มีการปรับตัวดีขึ้น และผลกระทบจากราคาพลังงานที่ลดลง

และในแถลงการณ์ยังระบุว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่าง “แข็งแกร่ง” เพิ่มขึ้นจากการประชุมครั้งที่แล้ว ที่มีการขยายตัว “ในระดับปานกลาง” ซึ่งเฟดยังตั้งข้อสังเกตุว่า การจ้างงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก และอัตราว่างงานได้ลดต่ำลง

สำหรับปัจจัยในต่างประเทศ เฟดยังคงมีการจับตามองพัฒนาการของเศรษฐกิจโลก เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไปอีกนานแค่ไหน

หลังจากแถลงการณ์ออกมา สำนักข่าวบีบีซี ระบุว่านักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ เชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไปในเดือนมีนาคม และเดือนเมษายน หรือก่อนการประชุมกลางปีนี้ ในเดือนมิถุนายน -

 

Source: money channel (29/01/2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

บอร์ดนโยบายการเงิน(กนง.)มีมติคงดอกเบี้ยที่ระดับ 2% ชี้เศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัว หลังน้ำมันลด แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจชาติคู่ค้าหลายแห่งยังมีปัญหา ตลาดการเงินโลกผันผวน ต้องเกาะติดใกล้ชิด

 

นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) แถลงผลการประชุมกนง. ในวันที่ 28 มกราคม 2558 ว่าคณะกรรมการฯ มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง คงให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.00% ต่อปี โดย 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ต่อปี

 

ประเด็นที่คณะกรรมการฯ ให้ความสำคัญในการตัดสินใจนโยบายในครั้งนี้ก็คือเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2557 ฟื้นตัว

ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน โดยเป็นผลจากการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้น ช่วยชดเชยอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวต่ำกว่าคาดเล็กน้อยในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจไทยจะยังมีแนวโน้มฟื้นตัว โดยราคาน้ำมันที่ปรับลดลงมากจะช่วยให้การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศเข้มแข็งขึ้น

 

อย่างไรก็ดี ปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกยังมีอยู่ ทั้งจากการฟื้นตัวช้าของคู่ค้าสำคัญหลายประเทศ ปัญหาการเมือง และการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศหลักที่มีทิศทางแตกต่างกันซึ่งอาจทำให้ตลาดการเงินโลกมีความผันผวน

 

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงตามราคาพลังงาน และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะหลุดขอบล่างของกรอบเป้าหมายในปีนี้ แต่ไม่ถือเป็นภาวะเงินฝืด เพราะอุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวและราคาสินค้าส่วนใหญ่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับน้ำมันไม่ได้ปรับลดลง ซึ่งทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัว อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มจะปรับสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ตามแนวโน้มราคาน้ำมันโลกเมื่ออุปทานและอุปสงค์ทยอยปรับตัวเข้าสู่สมดุล เสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ต้องติดตามคุณภาพของสินเชื่อครัวเรือนและการปรับตัวของราคาสินทรัพย์

 

“ช่วงที่ผ่านมาได้ติดตามสถานการณ์ภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยพบว่าขณะนี้ยังไม่พบสัญญาณฟองสบู่ในภาคอสังหาฯตามที่หลายฝ่ายกังวล แม้จากการลงพื้นที่จะพบว่าเริ่มเห็นบางโครงการตามหัวเมืองจะไม่สามารถจบโครงการได้ แต่ในโครงการในกทม.และปริมณฑลยังเดินหน้าได้ปกติ แต่อย่างไรก็ตามจะติดตามสถานการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิดต่อไปส่วนปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนในปัจจุบันเริ่มเห็นสัญญาณชะลอตัวลง เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวการบริโภคเริ่มปรับตัวดีขึ้น”

 

นายเมธีกล่าวว่าการตัดสินใจนโยบายกรรมการส่วนใหญ่ประเมินว่านโยบายการเงินปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ผ่อนปรนเพียงพอต่อการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อีกทั้งการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะไม่เพิ่ม ความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงิน ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องมานานและตลาดการเงินโลกมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้น

 

อย่างไรก็ดีกรรมการ 2 ท่านเห็นว่านโยบายการเงินควรสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเพิ่มเติม ในช่วงที่ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลกมีมากขึ้น แรงกระตุ้นจากภาคการคลังยังต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผลชัดเจน และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต่ำมากไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปรับตัวสูงขึ้น

 

ทั้งนี้ในระยะต่อไปกรรมการมีความเห็นพ้องกันถึงความจำเป็นที่นโยบายการเงินควรอยู่ในระดับผ่อนปรนต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างชัดเจน โดยกรรมการจะติดตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจและการเงินไทยอย่างใกล้ชิดและพร้อมที่จะดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสม ต่อไป

 

นอกจากนี้ที่ประชุมกนง.ยังได้มีการหารือกันถึงเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้ายโดยมองว่าการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงนโยบาย(คิวอี) ของธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) แตกต่างจากธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) เนื่องจากมาตรการคิวอีของอีซีบีไม่ได้เพิ่มสภาพคล่องมาทางตลาดเอเชีย จึงไม่มีน่าจะมีผลต่ออาเซียนและประเทศไทยมากนักนอกจากนี้การดูแลเงินทุนเคลื่อนย้าย นั้น มองว่ามีหลายเครื่องมือที่จะนำมาใช้บริหารจัดการ ส่วนการใช้นโยบายดอกเบี้ย กรรมการหลายคนใน กนง.เห็นว่าถ้าจำเป็นจริงๆ ให้ใช้เครื่องมืออื่นก่อน เพราะขณะนี้อัตราแลกเปลี่ยนของไทยยังไม่หลุดจากปัจจัยพื้นฐานเมื่อเทียบกับค่าเงินในภูมิภาค

 

“เรามองว่าการทำคิวอีของยุโรป แตกต่างจากสหรัฐ เพราะยุโรปจะเป็นในแง่ของเพิ่มสภาพคล่อง แต่ไม่ได้มาทางตลาดเอเชีย และไม่ไหลเข้าเท่าตอนที่สหรัฐทำคิวอี ส่วนเรื่องของค่าเงินบาทอาจจะแข็งค่ากว่าเล็กน้อย ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบการเก็งกำไรค่าเงิน ด้านเงินทุนไหลเข้า-ออกยังไม่มีสัญญาณที่ผิดปกติ โดยเรื่องของเงินทุนเคลื่อนย้าย กนง.ไม่ได้เป็นห่วงมากเท่ากับที่ตลาด แต่ได้มีการติดตามดูแลตามความเหมาะสม” นายเมธีกล่าว

 

 

 

ที่มา แนวหน้า (29 มกราคม 2558)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 32.59/61 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 32.53/54 บาท/ดอลลาร์/

 

วันนี้เงินบาทคาดว่าจะยังทรงตัว หลังจากที่เมื่อวานนี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2% ส่วนกรณีที่เมื่อคืนนี้ธนาคารกลางสหรัฐ(FED) ยังไม่ตัดสินใจเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะรอดูสถานการณ์ภายหลังจากที่ธนาคารกลางยุโรป(ECB) ประกาศมาตรการ QE และคงดอกเบี้ยในระดับต่ำไว้เช่นเดิมนั้น ก็น่าจะเป็นจุดดีที่ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐยังมีทิศทางที่แข็งค่าได้ต่อ

 

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 32.55-32.65 บาท/ดอลลาร์

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายแอนตัน ไซลัวนอฟ รมว.คลังรัสเซีย เปิดเผยว่า ปัจจัยลบจากต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการร่วงลงของราคาน้ำมัน จะสร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจของรัสเซียเป็นมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ โดยเขากล่าวเตือนว่ากองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ 2 กองทุนจะหมดลงภายในช่วง 2 ปีข้างหน้า หากการใช้จ่ายด้านงบประมาณยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

 

“ปัจจัยลบจากภายนอกจะส่งผลกระทบต่องบดุลบัญชีของรัสเซียเป็นมูลค่าราว 2 แสนล้านดอลลาร์" นายไซลัวนอฟกล่าวในการประชุมวุฒิสภาของรัสเซีย โดยระบุว่าราคาน้ำมันที่ร่วงลงเป็นสาเหตุสำคัญ ในปัจจุบัน ราคาน้ำมันได้ร่วงลงต่ำกว่าระดับ 50 ดอลลาร์/บาร์เรลแล้ว

 

เขากล่าวว่า ราคาน้ำมันจะไม่ดีดตัวขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างที่เคยเกิดขึ้นในปี 2551-2552 และไม่มีแนวโน้มที่ราคาน้ำมันจะกลับมาอยู่ที่ระดับ 100 ดอลลาร์อีกครั้งในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่าการร่วงลงของราคาน้ำมันจะยังคงยืดเยื้อในระยะยาว

 

รมว.คลังรัสเซียกล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ตกต่ำจะยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่ออัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินรูเบิลและเงินเฟ้อของรัสเซีย ซึ่งเขาประเมินว่าจะแตะ 12.5% ในเดือนม.ค. ขณะที่ตัวเลขของทางการคาดว่าเงินเฟ้อปี 2558 จะอยู่ที่ 7.5%

 

เขากล่าวเสริมว่า รัสเซียต้องลดการใช้จ่ายด้านงบประมาณเพื่อสกัดเงินเฟ้อ พร้อมกล่าวเตือนว่าเงินทุนของกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ 2 กองทุน ซึ่งได้แก่ National Wealth Fund และ Reserve Fund จะหมดลงในช่วง 1 ปีครึ่งถึง 2 ปีข้างหน้า หากการใช้จ่ายด้านงบประมาณยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

 

“หนึ่งในภารกิจสำคัญของเราในขณะนี้ก็คือการคงเงินสำรองดังกล่าว เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ซึ่งได้มีการสร้างขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา"

 

นายไซลัวนอฟกล่าวว่า ในช่วงหลายปีข้างหน้า รัฐบาลต้องพิจารณาทบทวนการใช้จ่ายด้านงบประมาณการลงทุน และชะลอโครงการก่อสร้างใหม่ๆในปี 2558

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 29 มกราคม 2558

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...