ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

รหัส 5,35,9 ของค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ วันนี้ เส้นดำเส้นแดงตัดกัน เป็นการเปลี่ยนสถานะจากที่ดอลล์สหรัฐฯ จะมีแนวโน้มแข็งค่า เปลี่ยนเป็น จะมีแนวโน้มอ่อนค่า ส่งผลโดยตรงไปที่ค่าเงินบาท ที่น่าจะแข็งค่า เพราะดอลล์ส่งผลไปที่เงินสกุลต่างๆ รอบประเทศเราในเอเชียด้วย อาการของแข็งค่าย่อมมากระทบค่าบาท ตามมา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาท แข็งค่าขึ้น คืออย่าตกใจว่า เอ๊ะ ราคาทองต่างประเทศลงนิดเดียว แต่ไหงราคาทองสมาคมฯ ลดลงดูเยอะกว่า

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานยุโรป ไม่มีอะไรน่ากดดันราคาทองช่วงประกาศฯ ความผันผวนราคาทองคงไม่มี คงออก Sideway

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตัวเลขขาเสี่ยง สำหรับขาเสี่ยงของฝรั่งขอเดาของอาทิตย์นี้ คือ

 

SHORT GOLD below 1284 SL 1287 TP 1262-1254-1236-1228-1222

LONG GOLD above 1218 SL 1215 TP 1232-1248-1254-1268-1280

 

ณ. ตอนนี้ราคาทอง 1273 จึงมีจุดรับ 1262 ( ไม่น่ารับอยู่ ) และแนวต้าน 1284-1287 ทยอยเข้าตามแนวรับเว้นรับ เออ ! คือ หมายถึงเว้นช่วง ทยอยขายตามแนวต้าน ทุกๆ จุดสามารถเกิดขึ้นได้ โชคดี

เมื่อคืนที่ผ่านมา ออก Sideway แต่ก็ไม่ถึงแนวรับ 1262 มาแค่ 1267 และก็ไม่ถึงแนวต้าน 1284 มาแค่ 1282 แล้วก็กลับมาแถวจุดเดิม 1273 เป็นการ Sideway ที่โคตรกว้างมาก หรืออาจตกใจตามรายงานเศรษฐกิจ ก็ขึ้นอยู่แต่ละคนคิด เพราะเขียนไปว่าเกิดจากรายงาน หลายคนไม่เชื่อ 555

 

มาลุ้นกันในรายงานสหรัฐฯ คืนนี้ ตัวเลขคำสั่งซื้อโรงงานฯ ที่เกี่ยวข้องกับรายได้ของอเมริกันชน มีงานมีเงิน มีซื้อมีใช้วัตถุดิบ ตามโพลว่า ยอดคำสั่งซื้อโรงงาน จะลดลง ถ้าลดลงจริงทองก็ขึ้น แต่ถ้าไม่ลดลงล่ะ คนสั่งของเยอะ ราคาทองก็ลง

 

แต่เราก็ต้องไม่ลืมว่า รหัส 5,35,9 ราคาทองอยู่แนวโน้มรายวันที่น่าจะออกมาราคาปิดต่ำกว่า 1274.40 คือ ราคาปิดเมื่อเช้าที่ผ่านมาตามกราฟฯ

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 2 ก.พ. 2558

 

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (2 ก.พ.) เพราะได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบที่ดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งช่วยสกัดปัจจัยลบจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ รวมถึงตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,361.04 จุด พุ่งขึ้น 196.09 จุด หรือ +1.14% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,676.69 จุด เพิ่มขึ้น 41.45 จุด หรือ +0.89% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,020.85 จุด เพิ่มขึ้น 25.86 จุด หรือ +1.30%

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (2 ก.พ.) เพราะได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวขึ้น นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยบวกจากข้อมูลภาคการผลิตที่แข็งแกร่งของยูโรโซน

ดัชนี Stoxx Europe 600 ขยับขึ้น 0.1% ปิดที่ 367.28 จุด

 

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 10,828.01 จุด เพิ่มขึ้น 133.69 จุด หรือ +1.25% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,627.67 จุด เพิ่มขึ้น 23.42 จุด หรือ +0.51% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,782.55 จุด เพิ่มขึ้น 33.15 จุด หรือ +0.49%

 

-- ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (2 ก.พ.) โดยได้รับแรงหนุนจากการทะยานขึ้นของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลให้หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวแข็งแกร่ง

ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 33.15 จุด หรือ 0.49% ปิดที่ 6,782.55 จุด

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (2 ก.พ.) เนื่องจากการคาดการณ์ที่ว่า การผลิตน้ำมันในสหรัฐจะปรับตัวลดลง นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากข่าวการสไตร์คของสหภาพแรงงานน้ำมันสหรัฐ

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 1.33 ดอลลาร์ ปิดที่ 49.57 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค.ที่ตลาดลอนดอน เพิ่มขึ้น 1.76 ดอลลาร์ ปิดที่ 54.75 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (2 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาทองคำทะยานขึ้นกว่า 8% ในเดือนม.ค.

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 2.3 ดอลลาร์ หรือ 0.18% ปิดที่ระดับ 1,276.90 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 4.3 เซนต์ ปิดที่ 17.251 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 9.6 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,228.60 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบสกุลเงินหลักส่วนใหญ่เมื่อคืนนี้ (2 ก.พ.) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐออกมาในเชิงลบ แต่ดอลลาร์ปรับตัวแข็งแกร่งเมื่อเทียบฟรังก์สวิส หลังจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่าธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ได้ดำเนินความพยายามเพื่อ ทำให้สกุลเงินในประเทศอ่อนค่าลง

 

ค่าเงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1346 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1293 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ 1.5037 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5061 ดอลลาร์

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 117.23 เยน เทียบกับระดับ 117.53 เยน และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.9283 ฟรังก์ จาก 0.9174 ฟรังก์

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,361.04 จุด เพิ่มขึ้น 196.09 จุด, +1.14%

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,676.69 จุด เพิ่มขึ้น 41.45 จุด, +0.89%

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,020.85 จุด เพิ่มขึ้น 25.86 จุด, +1.30%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,627.67 จุด เพิ่มขึ้น 23.42 จุด, +0.51%

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 10,828.01 จุด เพิ่มขึ้น 133.69 จุด, +1.25%

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,782.55 จุด เพิ่มขึ้น 33.15 จุด, +0.49%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

นายอเล็กซิส ซิปราส นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของกรีซ กล่าวว่า รัฐบาลของเขาจะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ในการเจรจากับเจ้าหนี้ในยุโรป และจะไม่ขอความช่วยเหลือจากรัสเซีย

 

นายซิปราสยังได้ปฏิเสธความเป็นไปได้ที่กรีซจะออกจากยูโรโซน โดยระบุว่าสหภาพยุโรป (EU) และยูโรโซนจะขาดความเป็นเอกภาพ หากกรีซถอนตัวออกไป

 

นอกจากนี้ เขายังเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงกลไกของกลุ่มทรอยก้า หรือกลุ่มเจ้าหนี้ของกรีซที่ประกอบด้วยสหภาพยุโรป (EU) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในการตรวจสอบสถานะการเงินของกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอ

 

ทั้งนี้ มีการจัดการประชุมในวันศุกร์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินต่อกรีซระหว่างนายยานิส วารูเฟกิส รมว.คลังกรีซ และนายเจโรน ดิเซลบลูม หัวหน้ากลุ่มยูโรกรุ๊ป แต่ไม่ประสบความคืบหน้าแต่อย่างใด

 

โดยนายวารูเฟกิสได้ปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับกลุ่มทรอยก้า รวมทั้งไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอที่ให้มีการขยายโครงการดังกล่าวออกไป และการให้มีเจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศเข้าตรวจสอบกรีซเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญา

 

ทางด้านนายดิเซลบลูมยืนยันให้กรีซปฏิบัติตามเงื่อนไขภายใต้ข้อตกลงให้เงินช่วยเหลือ 2.40 แสนล้านยูโร และปฏิเสธข้อเสนอของนายวารูเฟกิสที่ต้องการให้มีการจัดประชุมพิเศษว่าด้วยเรื่องหนี้ของกรีซเป็นการเฉพาะ

 

นายวารูเฟกิสกล่าวก่อนหน้านี้ว่า เขาต้องการทำข้อตกลงฉบับใหม่ที่จะทดแทนมาตรการรัดเข็มขัดที่กรีซถูกบังคับให้ใช้ในปัจจุบันเพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ

 

นายวารูเฟกิสจะเดินทางไปพบปะกับรมว.คลังของอังกฤษ, อิตาลีและฝรั่งเศสในสัปดาห์นี้เพื่อขอการสนับสนุนในเรื่องดังกล่าว

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (02/02/58)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โอบามาเตรียมเปิดศึกคองเกรส หลังยื่นงบ 4 ล้านล้านดอลล์ ขณะรีดภาษีคนรวย (03/02/58)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ประธานาธิบดีบารัค โอบามายื่นงบประมาณวงเงิน 4 ล้านล้านดอลลาร์เข้าสู่สภาคองเกรสในวันนี้ โดยหวังที่จะเพิ่มการจัดเก็บภาษีจากคนรวยและภาคธุรกิจ รวมทั้งเพิ่มการใช้จ่ายภายในประเทศ

 

การยื่นงบประมาณดังกล่าวของปธน.โอบามาคาดว่าจะสร้างความขัดแย้งครั้งใหม่กับสภาคองเกรสที่มีพรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมาก และมีนโยบายสนับสนุนภาคธุรกิจ โดยทางพรรคกล่าวหาปธน.โอบามาว่าจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเผชิญความเสี่ยงจากการขึ้นภาษี และเพิ่มการใช้จ่าย โดยละเลยการแก้ไขปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของงบประมาณ ซึ่งก็คือ การใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากโครงการสวัสดิการของรัฐบาล

 

ทั้งนี้ ปธน.โอบามาต้องการเพิ่มการใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน โดยนำรายได้มาจากการเก็บภาษีต่อกำไรของบริษัทสหรัฐที่ดำเนินกิจการในต่างประเทศ

 

งบประมาณดังกล่าว ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่เดือนต.ค. จะส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐขาดดุล 4.74 แสนล้านดอลลาร์

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (02/02/58)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) เปิดเผยว่า ธุรกิจโลจิสติกส์ของจีนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในช่วงต้นปี 2558 อันเนื่องมาจากปัจจัยเทศกาลวันหยุด

 

ผลการสำรวจของ CFLP พบว่า ดัชนีการปรับตัวด้านโลจิสติกส์ (LPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดที่สำคัญเกี่ยวกับภาวะโลจิสติกส์ ปรับตัวลงแตะระดับ 56.3 ในเดือนม.ค. จาก 57.5 ในเดือนธ.ค. โดยดัชนีที่สูงกว่า 50 บ่งชี้ถึงการขยายตัวของกิจกรรมในภาคโลจิสติกส์

 

ข้อมูลดังกล่าวเป็นการปรับตัวลงในวงกว้าง โดยดัชนีย่อย 11 ใน 12 ดัชนี อ่อนแรงลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน

 

ทั้งนี้ ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งของดัชนี LPI ลดลงแตะ 53.2 ในเดือนม.ค.จากระดับ 53.7 ในเดือนธ.ค. ซึ่งบ่งชี้ถึงการอ่อนแรงลงของอุปสงค์ในภาคโลจิสติกส์ ขณะที่เทศกาลตรุษจีนใกล้จะมาถึงในเดือนก.พ.นี้

 

นายเหอ หุย รองผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลโลจิสติกส์ของจีนกล่าวว่า ผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นเพียงการปรับตัวตามฤดูกาล และดัชนี LPI ดังคงอยู่สูงกว่าระดับ 55 ซึ่งบ่งชี้ว่ากิจกรรมในภาคโลจิสติกส์ยังค่อนข้างคึกคัก สำนักข่าวเกียวโดรายงาน

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (02/02/58)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางการซื้อขายที่เต็มไปด้วยความผันผวน มีหุ้นกลุ่มพลังงานเป็นแกนนำขาขึ้น

 

 

ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปรับขึ้นมา 194.07 จุด หรือ 1.13% มาอยู่ที่ 17,359.02 จุด หลังระหว่างวัน ร่วงลงไปถึง 17,037.76 จุด ส่วนดัชนีเอส แอนด์ พี 500 ทะยานขึ้นมา 25.86 จุด หรือ 1.30% มาอยู่ที่ 2,020.85 จุด และดัชนีแนสแด็ก ปรับขึ้น 41.45 จุด หรือ 0.89% มาอยู่ที่ 4,676.69 จุด

 

นักวิเคราะห์ชี้ว่า ความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดนั้น เป็นเพราะนักลงทุนยังมีความกังวลกันอยู่ในหลายเรื่อง แต่ตลาดก็ได้แรงหนุนจากขาขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงาน รวมถึง ฮัลลิเบอร์ตัน ผู้ให้บริการขุดเจาะน้ำมันที่ราคาหุ้นทะยานขึ้นมาถึง 3.8% หลังราคาน้ำมันในตลาดโลกขยับสูงขึ้นมา 3 วันติดต่อกันแล้ว

 

 

ทางด้านตลาดหลักๆ ในยุโรป ก็ปรับตัวขึ้นมาอยู่ในแดนบวกเช่นกัน จากข่าวที่รัฐบาลชุดใหม่ของกรีซ หาเสียงสนับสนุนเพื่อการเปิดเจรจารอบใหม่ เกี่ยวกับเงินอัดฉีดจากกลุ่มเจ้าหนี้จำนวน 240,000 ล้านยูโร ทำให้นักลงทุนพากันจับตารอดูความคืบหน้าในเรื่องนี้

 

ดัชนีเอฟทีเอสอี ตลาดลอนดอน อังกฤษ ปรับขึ้น 0.49% มาอยู่ที่ 6,782.55 จุด ส่วนดัชนีแด็กซ์ 30 ตลาดแฟรงก์เฟิร์ต ของเยอรมนี ทะยานขึ้นมา 1.25% มาอยู่ที่ 10,828.01 จุด และดัชนีแค็ก40 ตลาดปารีส ฝรั่งเศส ปรับขึ้น 0.51% ปิดการซื้อขายที่ 4,627.67 จุด

 

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น หลังมีการเปิดเผยข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า บริษัทน้ำมันสหรัฐเริ่มลดการขุดเจาะน้ำมัน รับมือกับราคาที่ร่วงลงมาอยู่ในระดับต่ำ

 

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส อินเตอร์มีเดียท ส่งมอบเดือนมีนาคม ที่ตลาดไนเม็กซ์ สหรัฐ ปรับขึ้น 1.33 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 49.57 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ทะเลเหนือ ส่งมอบเดือนเดียวกัน ในตลาดลอนดอน อังกฤษ ทะยานขึ้นมา 1.76 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 54.75 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

การขุดเจาะน้ำมันที่ลดลง ยังเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ๆ รวมถึง เชฟรอน และ โคโนโคฟิลิปส์ ออกมาประกาศตัดงบใช้จ่ายในปีนี้ เพราะราคาน้ำมันที่ลดต่ำลง

 

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ (03/02/2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

เอชเอสบีซี เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของรัสเซียในเดือนม.ค. 2558 หดตัวแตะระดับ 47.6 จากระดับ 48.9 ในเดือนธ.ค. ซึ่งร่วงลงหนักสุดในรอบเกือบ 6 ปี

 

ตัวเลขที่ต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นถึงภาวะหดตัว และดัชนีที่สูงกว่า 50 บ่งชี้ว่ากิจกรรมภาคการผลิตของรัสเซียมีการขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า

 

ด้านนักเศรษฐศาสตร์มองว่า ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ภาคธุรกิจยังคงหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง

 

อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากที่สกุลเงินรูเบิ้ลได้อ่อนค่าลงอย่างหนักเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ จนส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าปรับตัวสูงขึ้น

 

นักเศรษฐศาสตร์ได้ออกมาเตือนว่า ฝ่ายกำกับดูแลด้านการเงินของรัสเซียควรใช้ความระมัดระวังในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย และไม่ควรผ่อนคลายการเงินเพิ่มเติม

 

ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางรัสเซียได้สร้างความประหลาดใจต่อตลาดด้วยการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย หลังจากที่เศรษฐกิจใกล้เข้าสู่ภาวะถดถอยจากราคาน้ำมันที่ดิ่งลง และการที่ชาติตะวันตกใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจเพื่อลงโทษรัสเซียกรณีเข้าแทรกแซงในยูเครน

 

ธนาคารกลางประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 สัปดาห์ ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 2% สู่ระดับ 15% โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงในระยะกลาง

 

ก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวม 11.5% ในปีที่แล้ว เพื่อรับมือกับภาวะตื่นตระหนกในตลาดปริวรรตเงินตรา และอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นแตะระดับ 11.4%

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (02/02/58)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจรัสเซียได้ทบทวนการคาดการณ์เศรษฐกิจของประเทศประจำปี 2558 และคาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จะหดตัวลง 3% ในปีนี้ หลังจากที่ราคาน้ำมันลดลงมาแตะที่ระดับ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

 

ก่อนหน้านี้ ราคาน้ำมันเคลื่อนตัวอยู่ที่ระดับ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล กระทรวงจึงคาดว่า GDP ของประเทศจะลดลงเพียง 0.8% ในปีนี้

 

นายอเล็กซี อัลยูคาเยฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจรัสเซีย เปิดเผยว่า "ขณะที่การคาดการณ์ส่วนใหญ่บ่งชี้ว่าระดับตัวเลขจะเพิ่มสูงขึ้น เราจึงคำนวณตัวเลขออกมาอย่างระมัดระวังที่สุด"

 

รมว.คาดว่า อัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 12% เทียบกับระดับคาดการณ์เดือนธันวาคมปี 2557 ที่ 7.5% โดยคาดการณ์ดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของการปรับเปลี่ยนคาดการณ์เศรษฐกิจประจำปี 2558 ที่ได้มีการนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อรอการอนุมัติ

 

ด้านกระทรวงการคลังของรัสเซียจะต้องปรับเปลี่ยนงบประมาณส่วนกลางเล็กน้อยสำหรับปีนี้ เนื่องจากคาดการณ์เศรษฐกิจที่ซบเซาลง

 

อเล็กซี อัลยูคาเยฟ ยังได้แสดงท่าทีสนับสนุนธนาคารกลางรัสเซียที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับ 17% มาอยู่ที่ 15% โดยระบุว่า การกระทำดังกล่าว "เป็นสิ่งที่เหมาะสม และจำเป็นที่สุด เพราะเป็นการบ่งชี้ว่าความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางการเงินได้ปรับตัวลดลงแล้ว"

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (02/02/58)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กลายเป็นประเทศล่าสุดและประเทศแรก ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กระโจนเข้าสู่สงครามค่าเงิน หลังธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ประกาศลดช่วงการเคลื่อนไหวของดอลลาร์สิงคโปร์แบบเหนือความคาดหมายของตลาด

 

วอลล์ สตรีต เจอร์นัล รายงานว่า ความเคลื่อนไหวของ MAS เพื่อชะลอการแข็งค่าของดอลลาร์สิงคโปร์ เมื่อเทียบกับตะกร้าเงินซึ่งประกอบด้วยเงินสกุลหลักของโลกรวมถึงดอลลาร์ สหรัฐ มีขึ้นนอกกำหนดการประชุมตามปกติของ MAS ที่จัดขึ้นปีละ 2 ครั้งในเดือนเมษายนและตุลาคม สะท้อนถึงความกังวลของทางการสิงคโปร์ต่อการแข็งค่าของสกุลเงินประเทศตน โดยอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือหลักในการกำหนดทิศทางนโยบายการเงินของ ประเทศดังกล่าว ต่างกับธนาคารกลางของชาติอื่นๆ ที่ใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายในการชี้นำตลาด

 

หลังตลาดทราบข่าว ดอลลาร์สิงคโปร์ร่วงลง 1.4% เหลือ 1.357 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอ่อนสุดในรอบมากกว่า 4 ปี

 

MAS ระบุสาเหตุของการตัดสินใจครั้งนี้ว่า เป็นเพราะการลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งร่วงลงกว่า 50% นับจากมิถุนายนปีกลาย ฉุดตัวเลขเงินเฟ้อของประเทศ แม้ในระยะยาวราคาน้ำมันที่ต่ำลง

 

จะสร้างอานิสงส์ต่อประเทศผู้นำเข้า พลังงาน เพราะช่วยลดต้นทุนของผู้ผลิตรวมถึงผู้บริโภค แต่ในระยะสั้นระดับราคาที่ลดลงอาจผลักดันให้สิงคโปร์เข้าสู่วัฏจักรเงินฝืด ซึ่งฉุดแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างที่ญี่ปุ่นเคยประสบในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา

 

แม้ MSA ไม่ได้เปิดเผยว่า ปรับลดช่วงการเคลื่อนไหวของดอลลาร์สิงคโปร์จาก 2% ต่อปีเมื่อเทียบกับตะกร้าเงินเหลือเท่าไหร่ แต่นักวิเคราะห์ประเมินว่า น่าจะเหลือ 0.5-1.5% ต่อปี

 

ทั้งนี้ ตัวเลขเงินเฟ้อของสิงคโปร์อยู่ในแดนลบตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว โดยติดลบ 0.3% ในเดือนพฤศจิกายน ก่อนติดลบ 0.2% ในเดือนธันวาคม ซึ่งนอกจากเป็นเพราะราคาน้ำมันดิ่งแล้ว การชะลอตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ MAS ยังได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ดัชนีราคาผู้บริโภคปีนี้จากเดิม 0.5-1.5% เหลือติดลบ 0.5-0.5% ส่วนอัตราการเติบโตของจีดีพีปีนี้ MAS มองว่าจะอยู่ที่ 2-4%

 

นายโฮเว่ย ลี นักวิเคราะห์การลงทุนจากฟิลิปส์ ฟิวเจอร์ในสิงคโปร์ มองการเคลื่อนไหวของ MAS ในแง่บวก เนื่องจากค่าเงินที่อ่อนลงจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกและท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ โดยจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกซึ่งแบกรับต้นทุนด้าน แรงงานที่สูงอยู่แล้ว

 

"การลดช่วงการเคลื่อนไหวค่าเงินจะช่วยปลดภาระ บางส่วนจากบ่าผู้ส่งออก ขณะที่ตลาดหุ้นสิงคโปร์น่าจะปรับตัวดีขึ้น เพราะสินค้าจากสิงคโปร์จะไม่เสียเปรียบสินค้าจากประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน"

 

สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง ทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน การดิ่งลงของราคาน้ำมันโลก อัตราเงินเฟ้อในระดับต่ำในยูโรโซน ทำให้หลายประเทศทยอยใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายตั้งแต่

 

ช่วงปลายปี ที่แล้ว เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ตุรกี สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก และอินเดีย ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรืออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ โดยเฉพาะยูโรโซนที่สัปดาห์ก่อน ตัดสินใจคลอดแพ็กเกจกระตุ้นเศรษฐกิจลอตใหญ่ด้วยการซื้อตราสารหนี้เป็นมูลค่า 6 หมื่นดอลลาร์ยูโรต่อเดือน

 

นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ในช่วงไตรมาสสองหรือสามของปีนี้จะมีประเทศในเอเชียอาคเนย์ ทยอยเข้าสู่กระแสนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายอีก แม้ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทยและมาเลเซียจะเพิ่งมีมติคงอัตรา ดอกเบี้ยนโยบาย โดยในกรณีมาเลเซียซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันและก๊าซของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการลดลงของราคาน้ำมัน จนต้องหาทางกระตุ้นการเติบโตในเร็วๆ นี้ ส่วนไทยอาจจำเป็นต้องลดอัตราดอกเบี้ย เพราะการส่งออกซึ่งเป็นตัวจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังคงชะลอตัว ประกอบกับดีมานด์ในประเทศซบเซา

 

อย่างไรก็ตาม มอร์แกนสแตนลีย์เตือนประเทศแถบเอเชียว่า แม้หลายประเทศจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยหรืออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ แต่อัตราดอกเบี้ยที่ปรับค่าเงินเฟ้อแล้วของภูมิภาคดังกล่าวยังอยู่ในระดับ สูง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และสร้างความยากลำบากให้กับภาคธุรกิจและครัวเรือนที่มีภาระหนี้สิน ดังนั้นบางประเทศควรใช้มาตรการเชิงรุกมากกว่าที่มีอยู่เพื่อผลักดันการเติบ โต

 

 

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ (วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนี PMI ภาคการผลิตกรีซเดือนม.ค.ร่วงแตะระดับต่ำสุดรอบ 15 เดือน เหตุยอดสั่งซื้อสินค้าอ่อนตัว (03/02/58)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ดัชนี PMI ภรคการผลิตของกรีซเดือนม.ค. 2558 ร่วงแตะระดับต่ำสุดรอบ 15 เดือนที่ 48.3 จากระดับเดือนธ.ค.ที่ 49.4 เหตุยอดสั่งซื้อสินค้าและผลผลิตของประเทศอ่อนตัวลง แม้ว่าการจ้างงานจะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยก็ตาม

 

ทั้งนี้ ดัชนีที่สูงกว่า 50 บ่งชี้ว่า ภาคการผลิตมีการขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า แต่ดัชนีที่ต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นถึงภาวะหดตัว

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (02/02/58)

 

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินเฟ้อเยอรมนีลดลงสู่ระดับติดลบเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 5 ปี ส่งสัญญาณว่าสถานการณ์เงินเฟ้อในยูโรโซนจะคงอยู่ในระดับติดลบต่อไปอีกระยะ หนึ่ง ซึ่งสนับสนุนการตัดสินใจของธนาคารกลางยุโรปในการออกมาตรการซื้อพันธบัตร มูลค่ามหาศาล

 

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า จากตัวเลขประมาณการเบื้องต้น ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือนมกราคม โดยคำนวณให้สอดคล้องกับระบบของยูโรโซน ลดลง 0.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากที่ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีอยู่ในระดับ 0.1%

สาเหตุหลักของอัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงสู่ระดับติดลบมาจากราคาน้ำมันที่ลด ลงอย่างมาก โดยราคาพลังงานลดลงถึง 9% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยครั้งสุดท้ายที่ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของยูโรโซนปรับลดลง คือในเดือนกันยายน 2552 ซึ่งราคาผู้บริโภคที่ลดลงในครั้งนี้แทบจะเป็นการยืนยันว่าภาวะเงินฝืดทั่วยู โรโซนในเดือนมกราคมจะเลวร้ายลงกว่าเดิม

ยอร์ค คราเมอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากคอมเมิร์ซแบงก์ กล่าวว่า ตัวเลขเงินเฟ้อของเยอรมนีแสดงถึงแรงกดดันด้านลบอย่างมากต่ออัตราเงินเฟ้อใน ยูโรโซน "ราคาน้ำมันที่ลดลงบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนจะอยู่ในระดับติดลบไปจน ถึงช่วงฤดูใบไม้ร่วง"

เงินเฟ้อทั่วยูโรโซนอยู่ในระดับ -0.2% เมื่อเดือนธันวาคมปีก่อน โดย 12 จาก 19 ประเทศสมาชิกมีเงินเฟ้อในระดับติดลบ ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วทั้งยูโรโซนในเดือน มกราคมจะอยู่ในระดับ -0.5%

สถานการณ์เงินเฟ้อต่ำที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานานและยังไม่มีทีท่าว่าจะฟื้น ตัวเข้าใกล้เป้าหมาย 2% ส่งผลให้เมื่อสัปดาห์ก่อนธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ตัดสินใจประกาศมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) หรือการซื้อพันธบัตรเป็นมูลค่ารวม 1.1 ล้านล้านยูโรเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อต่ำจนเสี่ยงที่จะกลายเป็นภาวะเงินฝืด โดยอีซีบีและธนาคารกลางของประเทศในยูโรโซนจะซื้อสินทรัพย์เป็นมูลค่า 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนจนถึงเดือนกันยายน 2559

"แม้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคที่ลดลงไปจะมีสาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันที่ลดต่ำ ลง แต่อีซีบีมองสถานการณ์ดังกล่าวอย่างกังวลใจ และน่าจะรู้สึกว่าการตัดสินใจรอบล่าสุดในการประกาศแผนการซื้อพันธบัตรเป็น สิ่งที่ถูกต้อง" วิโอลา จูเลียน นักเศรษฐศาสตร์จากเฮลาบา แบงก์ ให้ความเห็น

มาร์โก แวกเนอร์ นักเศรษฐศาสตร์จากคอมเมิร์ซแบงก์ กล่าวว่า ตัวเลขเงินเฟ้อของเยอรมนีสะท้อนให้เห็นว่าภาวะเงินฝืดในยูโรโซนอาจรุนแรง กว่าความคาดหมาย พร้อมกันนี้เชื่อว่าอีซีบีมีโอกาสเพิ่มขนาดการซื้อพันธบัตรต่อเดือนขึ้นอีก ในช่วงครึ่งหลังของปี เนื่องจากสถานการณ์เงินเฟ้อและการเติบโตทางเศรษฐกิจจนถึงเวลานั้นน่าจะยังคง อ่อนแอ

ราคาน้ำมันที่ลดลงมีแนวโน้มที่จะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคต่อ สินค้าและบริการในประเทศที่มีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ เช่น เยอรมนี ที่มีปัจจัยสนับสนุนจากอัตราว่างงานที่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่การรวม ประเทศ ขณะเดียวกันภาวะเงินเฟ้อต่ำหรือเงินฝืดจะเป็นอันตรายต่อประเทศในยูโรโซนที่ เศรษฐกิจอ่อนแอ เนื่องจากผู้บริโภคจะชะลอการซื้อสินค้าออกไป ส่งผลให้ความต้องการที่อ่อนแออยู่แล้วอ่อนแอลงอีก

คริสเตียน ชัลซ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากเบอเรนเบิร์ก แบงก์ มองว่าเงินเฟ้อในยูโรโซนน่าจะอยู่ในระดับติดลบตลอดช่วงครึ่งแรกของปี ก่อนที่ปัจจัยพื้นฐานและค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลงจะช่วยให้เงินเฟ้อกลับมาสู่ ระดับเป็นบวกเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม การฟื้นคืนสู่เป้าหมาย 2% ของอีซีบียังเป็นหนทางอีกยาวไกล

ขณะที่ มาร์โก บาร์เกล นักเศรษฐศาสตร์จากโพสต์แบงก์ กล่าวว่า มองไม่เห็นสัญญาณว่าเยอรมนีหรือยุโรปจะเผชิญกับภาวะเงินฝืดอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งหมายถึงการลงทุนและการบริโภคที่ชะลอตัวลงทั่วทั้งเศรษฐกิจ

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 1 - 4 กุมถาพันธ์ พ.ศ. 2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...