ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

รหัส 5,35,9 สัญญานนำทางของค่าเงินดอลล์สหรัฐ เส้นดำเส้นแดงยังไม่ตัดกัน ยังคงทิศทางด้านแข็งค่าต่อไป ส่วนในสถานการณ์ตอนนี้นั้น เส้นสายต่างๆ ชนเพดาน การมีอ่อนค่าลงก็เสมือนการอ่อนลงเพื่อทำกำไร และ อนาคตการแข็งตัวเพื่อดีดเลยเพดาน วันนี้วันศุกร์ก็น่าจะอ่อนค่าจากการขายทำกำไรค่าเงินของนักลงทุน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 32.86 มองกรอบวันนี้ แข็งในกรอบ 32.80-32.90

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 สัญญานนำทางของราคาทอง เข้าสู่วันที่ 10 ของแท่งกราฟแท่งเทียน หลังจาก แท่งสีแดงติดต่อกันมา 9 วัน ราคาลดลงประมาณ 75 เหรียญสหรัฐ เส้นดำเส้นแดงของ MACD รหัส 5,35,9 ยังไม่มีทีท่าว่าจะตัดกันเพื่อเปลี่ยนทิศทางแบบบวกต่อราคาทอง ทองแท่งถือกลับบ้านตัวเป็นๆ หนักๆ ก็ต้องได้แต่มอง อย่าไปซื้อกลับบ้าน ส่วนขาเสี่ยงรายวัน เล่นตามตัวเลขขาเสี่ยงเช่นเดิม มีขึ้นมีย่อ เข้าสู่จุดงงงวยทิศทาง 116x ถ้าจะขึ้นไปต่อจุดต้านบน ก็ต้อง 1170 ถ้าอยากจะย่อต้องหยุดที่ต่ำกว่า 1167 แล้วกลับมาที่ 1152 แต่กรอบงงงวย 1167-1170

 

SHORT GOLD below 1167 SL 1170 TP 1155-1142-1131-1118

LONG GOLD above 1170 SL 1167 TP 1188-1194-1201-1206-1212-1218

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานยุโรป ไม่มีประเด็น แบบนี้ผมว่าดีนะ ไม่ต้องมีรายงานอะไรแย่ๆ มาดักตีหัวทำยูโรร่วง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานสหรัฐ ตามโพล ดีก่อนแล้วก็ไม่ดี แต่ตลาดดอลล์สหรัฐ น่าจะขายทำกำไร นานแล้วที่ไม่ได้แตะระดับ 99-100

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

นักเศรษฐศาสตร์ฟันธงรอบนี้กนง.ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ชี้ทุนไหลเข้าจากคิวอียุโรปไม่แรง ขณะที่ต้องจับตาเฟดอาจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด จากเศรษฐกิจสหรัฐฯมีสัญญาณบวกชัดเจน ที่จะดึงเงินทุนไหลออกทำตลาดผันผวน อีกทั้งไม่ตอบโจทย์การส่งออก แถมซ้ำเติมหนี้ครัวเรือนหวั่นกดดันสู่ภาวะฟองสบู่

กรณีธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เดินหน้ามาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(คิวอี) งวดแรก 6 หมื่นล้านยูโร เริ่มวันที่ 9 มีนาคมนี้ เพื่ออัดฉีดปริมาณเงิน เข้าระบบเศรษฐกิจของยูโรโซน 19 ประเทศ ไปจนถึงเดือนกันยายน 2559 รวมอย่างน้อย 1.1 ล้านยูโร ท่ามกลางการจับตาของนักเศรษฐศาสตร์ว่า จะก่อกระแสทุนเคลื่อนย้ายไปทั่วโลกเช่นเดียวกับคิวอีสหรัฐฯที่เพิ่งสิ้นสุด ลงหรือไม่ ขณะที่ตลาดยังคงจับตาทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย สำหรับการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) รอบ 2/58 วันที่ 11มีนาคมนี้ ท่ามกลางแรงกดดันให้พิจารณาปรับลดดอกเบี้ย นั้น

ต่อประเด็นดังกล่าวนายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กนง. จะให้น้ำหนักรอบด้าน ทั้งการทำคิวอีเพิ่มเติมของอีซีบี ความเป็นไปได้ของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา และตัวเลขเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยทั้ง 3 ปัจจัย จะเห็นว่า ปัจจัยการทำมาตรการคิวอีของอีซีบี มีผลต่อการตัดสินใจของกนง.น้อยมาก เนื่องจากไม่สามารถทำได้ทันที เช่น คิวอีของสหรัฐฯ เพราะมีประเทศสมาชิกจำนวนมาก ใช้เวลาในการจัดสรรวงเงิน ต้องปรับแก้เงื่อนไขอีกระยะกว่ามาตรการจะเกิดผลสัมฤทธิ์ และกลุ่มยูโรโซนเพิ่งฟื้นตัวยังไม่แน่นอน ธนาคารพาณิชย์ยังไม่กล้าเทขายพันธบัตร เพราะไม่รู้จะเอาสภาพคล่องไปปล่อยกู้ต่อได้อย่างไร รวมถึงสร้างภาระการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) ให้กับธนาคารพาณิชย์

ปัจจัยที่กนง.จะให้น้ำหนักคือ เรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายนนี้ จากตัวเลขการว่างงานของสหรัฐฯปรับตัวดีขึ้น เหลือเพียง 5.5% หากเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วจะมีผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย และความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุน รวมถึงค่าเงินที่สามารถแกว่งได้ ขณะเดียวกันธปท.ยังรอดูตัวเลขเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งกำหนดจะปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจใหม่วันที่ 20 มีนาคม2558 นี้ก่อน จึงจะยังไม่เห็นการปรับดอกเบี้ยลงในการประชุมครั้งนี้

ส่วนเสียงเรียกร้องให้ธปท.ลดดอกเบี้ยนั้น ถ้าเป็นภาวะที่ไม่มีปัจจัยอื่นแทรกซ้อน การลดดอกเบี้ยสามารถช่วยลดต้นทุนทางการเงิน ซึ่งเป็นผลดีต่อภาคธุรกิจ แต่การตัดสินใจรอบนี้ของกนง.มีปัจจัยที่ซับซ้อน ทั้งโจทย์ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย ผลต่อเนื่องเงินทุนเคลื่อนย้าย ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง หากลดดอกเบี้ยลงจะกดดันให้เกิดภาวะฟองสบู่ ส่วนเรื่องจะหนุนการส่งออกเป็นโจทย์ทางโครงสร้าง จะหวังเรื่องค่าเงินอย่างเดียวไม่ได้ ผู้ประกอบการต้องหาทางออก เช่น การเปลี่ยนสินค้าที่มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพ ผลิตสินค้าที่ถูกใจผู้ซื้อ จะช่วยตัดเรื่องของการแข่งขันด้านราคา หรือสินค้าที่ต้องมีการแข่งขันด้านราคาควรย้ายฐานการผลิตไปในพื้นที่ที่ ถูกกว่า ดังนั้น เรื่องของค่าเงินไม่สามารถปรับให้ถูกใจทุกคนได้ทั้งหมด

"ถ้าลดดอกเบี้ยขณะที่เฟดปรับขึ้นก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลย เพราะเงินจะไหลออกอยู่ดี ดังนั้นถ้าลดแล้วไม่เกิดประสิทธิผลอย่าทำ จะสูญเสียความเชื่อมั่น โจทย์หลักของธปท.คือ รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ส่วนความสามารถในการแข่งขันเป็นโจทย์ธุรกิจ นโยบายการเงินช่วยได้นิดเดียว เพราะถ้าช่วยมากไปจะไปกระทบด้านอื่นทำให้เสียวินัยทางการเงิน"

 

เช่นกันดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย บมจ.ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ประเมินว่า กนง.จะให้น้ำหนักเฟดเป็นหลัก โดยจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้เพื่อรอดูสถานการณ์ เพราะสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในไตรมาสที่ 3 ซึ่งจะกดดันเงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ รวมถึงประเทศไทยอีกครั้ง แม้ว่าช่วงก่อนหน้านี้นโยบายการเงินจะเป็นการแข่งขันลดดอกเบี้ยก็ตาม แต่ไทยจะแข่งขันลดดอกเบี้ยตามคงไม่ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทางการเงินบ่อยครั้ง จะทำลายความเชื่อมั่น และเศรษฐกิจจะไม่ตอบรับ

ประกอบกับอานิสงส์จากผลการทำคิวอีของอีซีบี จะไม่มากเท่ากับคิวอีของสหรัฐฯ จึงไม่เห็นเม็ดเงินไหลเข้ามาไทย และที่ผ่านมาการถือครองพันธบัตรของต่างชาติก็ค่อนข้างน้อย ทั้งมีแรงเทขายออก หากมีการลดดอกเบี้ยเพื่อให้บาทอ่อน ก็ไม่ได้สะท้อนว่าต่างชาติจะกลับเข้ามาถือพันธบัตร อีกทั้งยังมองว่า ปัญหาของการส่งออกเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ไม่ได้เป็นปัญหาด้านราคา และกรณีจะลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนนั้น ปัจจุบันดอกเบี้ยไทยอยู่ในระดับต่ำแล้ว แต่การที่คนไม่บริโภคเป็นเพราะถูกแรงกดดันจากภาระหนี้ครัวเรือนที่สูง และราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ขณะที่การลงทุนไม่เกิดขึ้น เพราะคนยังขาดความเชื่อมั่น

สอดคล้องกับนายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ บมจ.ธนาคารทหารไทยที่เห็นด้วยว่า การประชุมกนง.ครั้งนี้จะวางน้ำหนักที่ปัจจัยเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก ส่วนข้อเรียกร้องให้ลดดอกเบี้ยเพื่อดูแลค่าบาทนั้น ธปท.มีเครื่องมือดูแลอัตราแลกเปลี่ยนอยู่แล้ว และพยายามไม่ให้ค่าเงินบาทบั่นทอนผู้ส่งออก อีกทั้งธปท.ต้องการความมั่นใจว่า ลดดอกเบี้ยแล้วจะมีผลในการดูแลเศรษฐกิจภาพรวม ไม่ใช่ดูแลด้านต่างประเทศหรือลดแรงจูงใจเงินไหลเข้าอย่างเดียว เพราะดอกเบี้ยของไทยอยู่ในระดับต่ำรองจากไต้หวัน

ข้อเรียกร้องให้ลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจยังไม่เพียงพอ การที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า ภาคการส่งออกแย่ลง สะท้อนการฟื้นตัวเศรษฐกิจทั้งไทยและต่างประเทศไม่แข็งแกร่ง อีกทั้งการประชุม 2-3 ครั้งที่ผ่านมา กนง.รอผลการเบิกจ่ายและการลงทุนภาครัฐ จึงขึ้นอยู่กับว่ากนง.จะรอความชัดเจนจากภาครัฐต่อไป หรือจะตัดสินใจใช้เครื่องมือทางการเงินเอง เพราะเวลานี้ไม่มีแรงกดดันจากเงินเฟ้อเลย

 

อย่างไรก็ดี ด้วยปัจจัยเดิมที่ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ทีเอ็มบีจึงคงมุมมองว่า กนง.จะคงดอกเบี้ยในการประชุมรอบ2ของปีนี้ เพราะสะท้อนมุมมองของกนง. อีกทั้งเศรษฐกิจที่ติดขัดเวลานี้ไม่เกี่ยวกับปัจจัยดอกเบี้ยสูง แต่เป็นเรื่องของรายได้และการดำเนินนโยบายการคลัง ซึ่งกนง.รอความชัดเจนมา 2-3 รอบการประชุมแล้ว ขณะเดียวกันยังมีปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินการคลังในระยะต่อไป คือ ความเสี่ยงจากต่างประเทศ นอกจากภาวะเศรษฐกิจโลกแล้ว ในส่วนของสหรัฐฯนั้นจะเริ่มพิจารณางบประมาณ ตั้งแต่เดือนมีนาคมไปอีก 2 ไตรมาส ซึ่งต้องเจรจาระหว่างฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ทั้ง 2 สภาฯ ดังนั้น ประเด็นหน้าผาการคลังอาจจะกลับมาอีกครั้ง และความเสี่ยงในประเทศเช่น ความล่าช้าของการดำเนินนโยบายการคลัง หนี้ครัวเรือน ราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ เป็นต้น

อนึ่ง หน้าผาการคลัง หรือ Fiscal Cliff เป็นนโยบายของพรรคริพับลิกัน ที่เน้นประสิทธิภาพเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มภาษีและลดค่าใช้จ่ายพร้อมกัน เพื่อแก้ปัญหาขาดดุลการคลังและหนี้สาธารณะ

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 12 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

นายเยนส์ ไวด์แมน ประธานธนาคารกลางเยอรมนี (บุนเดสแบงก์) และสมาชิกคณะกรรมการบริหารของธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวในวันนี้ว่า กรีซได้สูญเสียความน่าเชื่อถือไปอย่างมาก และรัฐบาลในยูโรโซนจะต้องตัดสินใจว่าจะเข้าซื้อพันธบัตรของกรีซหรือไม่

 

นายไวด์แมนกล่าวว่า ธนาคารกลางของประเทศในยูโรโซนจะต้องมีความมั่นใจว่าสภาพคล่องของธนาคารกรีซจะไม่ย่ำแย่ลงจากการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลกรีซ

 

นอกจากนี้ นายไวด์แมนยังระบุว่า อัตราเงินเฟ้อติดลบในยูโรโซนขณะนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว โดยเป็นผลของราคาน้ำมันที่ดิ่งลง

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (12/03/58)

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทเช้านี้เปิดที่ 32.82/84 บาท/ดอลลาร์ (13/03/2558)

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ (13 มีนาคม 2558) อยู่ที่ระดับ 32.82/84 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 32.80/81 บาท/ดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม มองว่า เงินบาทวันนี้มีโอกาสเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่แข็งค่า หลังจากเมื่อคืนนี้ยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ในเดือนก.พ. ออกมาลดลง 0.6% ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่เงินยูโรรีบาวน์ขึ้น

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.75-32.85 บาท/ดอลลาร์

สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนที่สำคัญเช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 121.42/45 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 121.15 เยน/ดอลลาร์ ส่วนเงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0605 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0594 ดอลลาร์/ยูโร

อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.8550 บาท/ดอลลาร์

 

 

 

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจออนไลน์ (13/03/2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

ศูนย์วิจัยทองคำเผยทองคำไทยได้อานิสงส์ กนง.ลดดอกเบี้ยทำราคาไม่ลงแรง สวนทางตลาดโลกขาลง เหตุบาทอ่อนค่าช่วยหนุน แต่คาดหลัง มี.ค.อาจเห็นราคาทองทำสถิติต่ำสุดรอบใหม่ ตลท.ห่วง ศก.แย่ชี้ไม่บ่อยนักที่ ธปท.จะใช้ดอกเบี้ยกระตุ้น ศก.

 

นายกมลธัญ พรไพศาลวิจิต ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ เปิดเผยว่า จากการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมานั้น ทองคำในประเทศจะได้รับอานิสงส์จากค่าเงินบาทอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากแนวโน้มทองคำในตลาดโลกอยู่ในช่วงขาลง ผลจากความวิตกว่าธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่ากำหนด จึงคาดว่าหลังเดือนมีนาคมนี้จะได้เห็นราคาทองคำลงไปทำราคาต่ำสุดใหม่เมื่อเทียบกับปี 2557 ที่มีราคาต่ำสุดที่ 1,130 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ และคาดว่าราคาต่ำสุดของปีน่าจะอยู่ที่ 1,100 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ ทั้งนี้ หากทองทำจุดต่ำสุดที่ 1,130 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ ราคาขายทองคำในประเทศคงจะไม่ลงมากนักเพราะค่าเงินบาทอ่อนค่า หากค่าเงินบาทอยู่ที่ 32.8 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ราคาทองจะอยู่ที่บาทละ 17,600-17,800 บาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 18,050 บาท

 

"ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง 0.10 บาทจะส่งผลต่อราคาทองคำให้ปรับขึ้นประมาณ 53 บาทต่อบาททองคำ มองว่าแนวโน้มราคาทองคำยังเป็นช่วงขาลงต่อเนื่อง 3-5 ปี โดยราคาที่เหมาะสมที่จะเข้าซื้อเพื่อถือระยะยาวควรอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าบาทละ 18,000 บาท ส่วนนักลงทุนเก็งกำไรระยะสั้นควรใช้วิธีซื้อขายสั้น" นายกมลธัญกล่าว

 

นายกมลธัญกล่าวว่า ผลสำรวจความเห็นผู้ค้าทองคำประจำเดือนมีนาคม 2558 กลุ่มผู้ค้ารายใหญ่มองว่าราคาทองคำระหว่างเดือนจะลดลงหรืออาจเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับปีก่อน โดยราคาจะเคลื่อนไหวอยู่ที่บาทละ 17,500-20,000 บาท ความเชื่อมั่นลดลงเหลือ 45.56 จุด สะท้อนทัศนคติเชิงลบ เพราะวิตกเรื่องเงินดอลลาร์แข็งค่า เฟดขึ้นดอกเร็วกว่าคาด แต่มีปัจจัยบวกจากค่าเงินบาทอ่อนค่า และความเสี่ยงเรื่องเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

 

น.ส.ปิญาภรณ์ สดศรีวิบูลย์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า กนง.ลดดอกเบี้ยไม่ส่งผลกระทบต่อกระแสเงินทุนต่างชาติไหลออกมากนัก เพราะปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติถือครองหุ้นไทยในระดับต่ำ ส่วนเงินฝากที่จะหันมาลงทุนในหุ้นประเมินว่าอาจมีไม่มาก เพราะดอกเบี้ยลดลงเพียงเล็กน้อย

 

นายภากร ปีตธวัชชัย รองผู้จัดการ ตลท. กล่าวว่า มีความกังวลอย่างมากที่เศรษฐกิจไทยที่ยังไม่ฟื้นตัว การบริโภคในประเทศซบเซา การลงทุนล่าช้า สะท้อนให้เห็นจาก กนง.ใช้เครื่องมือดอกเบี้ยกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งไม่บ่อยนักที่ ธปท.จะใช้เครื่องมือดังกล่าวกระตุ้นเศรษฐกิจ หากการเติบโตของเศรษฐกิจยังชะลอตัวเช่นนี้จะกระทบกับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนด้วย สิ่งที่ ตลท.คาดหวังจะให้เกิดขึ้นคือ การเร่งการเบิกจ่ายของภาครัฐบาลให้รวดเร็วมากขึ้น เพราะถือว่าเป็นเครื่องมือเดียวที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้

 

 

 

 

 

ที่มา : มติชนออนไลน์ (13/03/2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ข่าววิ่ง - ข่าววิ่ง(ไทย)

"โฆสิต" เผยกนง. หั่นดอกเบี้ยมีผลด้านจิตวิทยา แต่ไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจ เหตุปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง

 

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า การลดดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงินหรือกนง. ลง0.25%ทำให้ดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ 1.75% มีผลจิตวิทยาแต่ไม่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพราะปัญหาหนี้ครัวเรือนยังอยู่ ระดับสูง และถ้าเศรษฐกิจไม่ได้ฟื้นตัวขึ้นอย่างที่หวังจะทำให้เกิดปัญหาได้เนื่อง จากดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ระดับต่ำแต่สภาพคล่องในประเทศสูงอาจมีการเก็งกำไร การลงทุนที่ไม่เหมาะสมนอกจากนี้ไม่ได้ช่วยให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมากนักและ การดูแลค่าเงินเป็นหน้าที่ของธปท.ส่วนเศรษฐกิจไทยปีนี้คาดว่าจะโต3-4% และเครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจไทยคือการเบิกจ่ายภาครัฐ สำหรับการลดดอกเบี้ยธนาคารจะเป็นเมื่อใดนั้น ต้องขอเวลาพิจารณาก่อน

 

นายกอบ ศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า การลดดอกเบี้ยนโยบายก็ไม่ช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าลงเนื่องจากเงินบาทแข็งค่า จากความไม่สมดุลเกิดขึ้นจากราคาน้ำมันถูกลงเพราะปกติในแต่ละปีไทยซื้อน้ำมัน ปีละ 1.4 ล้านล้านบาทแต่หลังจากที่ราคาน้ำม้นในตลาดโลกลดไทยจ่ายเงินซื้อน้ำมันเพียง 700,000 ล้านบาท

 

 

 

 

 

ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์ (13/03/2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ตัวเลขรายงานเศรษฐกิจ ออกมาแต่ละตัว ไม่ดี ซึ่งน่าจะทำให้ดอลล์สหรัฐอ่อนค่า แต่ตอนนี้ ค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ ทะลุเกิน 100 ไปแล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...