ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

สวัสดีตอนเช้าครับ

 

ขอบคุณ ป๋า หลาย ๆ ทีเลยครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ถึงตอนนี้ 1174 จึงมีแนวต้านที่ 1177 และ 1188 / มีแนวรับที่ 1171 อยากเล่น รอเข้า Long ที่ 1171 เป้าหมาย 1188 ตามตัวเลขขาเสี่ยงรายสัปดาห์

 

LONG GOLD above 1154 SL 1151 TP 1171-1177-1188-1201-1208-1218

SHORT GOLD below 1148 SL 1151 TP 1141-1132-1127-1120-1110

 

รหัส 5,35,9 แบบส่งสัญญานนำทาง เกิดอาการทับกันของเส้นดำเส้นแดง ณ. ตำแหน่งราคา ทอง 1166 คล้ายกับว่าจะตัดกัน เพื่อเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รหัส 5,35,9 ของค่าเงินดอลล์ เส้นดำเส้นแดง ยังไม่ตัดกัน แค่ปักหัวลงมาจะตัด ยังคงแนวโน้มทางด้านแข็งค่าอยู่ แต่จากข่าวสาร ที่ธนาคารจีนจัดตั้งธนาคารฯ โดยมีหลายประเทศเข้ามาร่วมที่ใช้เงินหยวน นั้น การที่ดอลล์สหรัฐ จะแข็งค่า ยิ่งเป็นการสนับสนุนให้มีการเข้าร่วมกับจีนมากขึ้น สหรัฐฯ ในฐานะที่คิดไปเองว่า ตัวเองใหญ่ แต่เป็นลูกหนี้ของหลายประเทศทั่วโลก ยิ่งยอมไม่ได้ที่ใครจะขึ้นมาแข่งขันแบบง่ายๆ ต้องขัดขวาง แล้วในที่นี้คือ หันกลับมาทำให้ดอลล์อ่อนค่าลง แต่ช้าไปแล้วต๋อย เขาไม่เอากับมรึงแล้วในอนาคต

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พอดอลล์อ่อน สิ่งที่ต้องเกิด คือ บาทแข็ง สิ่งที่ตามมา มูลค่าราคาทองในประเทศหายไปตาม บาทแข็ง กรอบวันนี้ 32.60-32.70

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอเอฟพี/มาร์เก็ตวอชต์ - วอลล์สตรีทและราคาน้ำมันวานนี้(18มี.ค.) พุ่งแรง หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ส่งสัญญาณอย่างระมัดระวังในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ปัจจัยนี้ฉุดดอลลาร์อ่อนค่าลงและผลักให้ทองคำขยับขึ้นเล็กน้อย

 

ดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 227.11 จุด (1.27 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 18,076.19 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 25.22 จุด (1.22 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,099.50 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 45.39 จุด (0.92 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,982.83 จุด

 

แม้เฟดตัดคำว่า "จะยังอดทน" เกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ย ส่งสัญญาณว่ายังมีความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงกลาง ปี หลังจากคงในระดับใกล้ 0 เปอร์เซ็นต์มานานกว่า 6 ปี

 

แต่อีกด้านหนึ่งของถ้อยแถลงเฟดที่ย้ำว่าจะยังไม่เร่งรีบขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยและปรับลดประมาณการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของอเมริกา ได้กลายเป็นแรงสนับสนุนต่อวอลล์สตรีท

ด้านราคาน้ำมันในวันพุธ(18มี.ค.) พุ่งขึ้นแรง หลังถ้อยแถลงระมัดระวังของเฟด กลบความกังวลต่อภาวะอุปสงค์อันอ่อนแอของสหรัฐฯ ที่พบว่าสต๊อกเชื้อเพลิงสำรองยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 1.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 44.66 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากช่วงหนึ่งขยับลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปีครั้งใหม่ ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้น 2.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 55.91 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ถ้อยแถลงเฟดที่บอกว่าจะยังไม่เร่งรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ดอลลาร์อ่อนค่าลง และเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักให้ราคาน้ำมันวานนี้ ปิดบวกอย่างแรง

 

ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันเมื่อวันพุธ(18มี.ค.) มีขึ้นแม้กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ เผยแพร่ข้อมูลว่าในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 มีนาคม คลังน้ำมันดิบสำรองของประเทศ เพิ่มขึ้นถึง 9.6 ล้านบาร์เรล ทำให้สต๊อกน้ำมันดิบของประเทศ แตะระดับสูงสุดที่ไม่เคยพบเห็นมาอย่างน้อยๆก็ 80 ปี บ่งชี้ว่าอุปสงค์อ่อนแออย่างมาก

 

ดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ตามหลังคำแถลงของเฟด ผลักให้ราคาทองคำวานนี้(18มี.ค.) ปิดบวกเช่นกัน โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 3.10 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,151.30 ต่อออนซ์

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ (วันที่ 19 มีนาคม 2558)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ลงมติในการประชุมเมื่อวานนี้ ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยใกล้ 0% ต่อไป ขณะที่เปิดโอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางปี แต่ก็แสดงเหตุผลให้เห็นว่าเฟดยังไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

 

ทั้งนี้ แถลงการณ์เฟดได้ยกเลิกการใช้คำว่า "อดทน" ในการพิจารณากำหนดเวลาสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย.นี้ อย่างไรก็ดี เฟดระบุว่า จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ต่อเมื่อเฟดมีความเชื่อมั่นว่าภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำในขณะนี้กำลังจะปรับตัวกลับสู่ระดับ 2% ซึ่งเป็นเป้าหมายของเฟด และตราบใดที่ตลาดแรงงานยังคงฟื้นตัวขึ้น

 

นอกจากนี้ เฟดมีท่าทีระมัดระวังมากขึ้นต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และได้ปรับลดคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเฟดยังคงมีความกังวลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

 

เฟดเปิดเผยว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย "ไม่มีแนวโน้ม" ที่จะเกิดขึ้นในการประชุมเดือนเม.ย. และระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสิ่งชี้นำอัตราดอกเบี้ยไม่ได้หมายความว่าเฟดได้ตัดสินใจเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว

 

ขณะเดียวกันเฟดได้ปรับลดมุมมองทางด้านเศรษฐกิจ โดยระบุว่าการขยายตัวได้ชะลอลงเล็กน้อย โดยแตกต่างจากในเดือนธ.ค.ที่เฟดระบุว่าการขยายตัวเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง

 

เจ้าหน้าที่เฟด 15 จาก 17 รายคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ แต่พวกเขาได้ปรับลดคาดการณ์ระดับอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้เฟดยังได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ และอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจะเป็นปัจจัยกำหนดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงหลายเดือนข้างหน้า

 

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่เฟดได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ โดยคาดว่าจะเติบโต 2.3%-2.7% ในปีนี้ จากเดิมที่คาดการณ์ในเดือนธ.ค.ที่ 2.6%-3.0% และเฟดยังได้ปรับลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2016 และ 2017 เช่นกัน

 

ขณะเดียวกัน เฟดได้ปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ สู่ระดับ 0.6%-0.8% ส่วนในปี 2016 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 1.7%-1.9% ขณะที่ปี 2017 คาดว่าจะอยู่ใกล้ระดับ 2%

 

นอกจากนี้ เฟดคาดการณ์ว่า อัตราการว่างงานจะแตะ 5% ในปลายปีนี้ และจะปรับตัวลงอีกในปี 2016 และ 2017

 

เฟดยังได้ปรับลดคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น สู่ระดับ 0.625% ในปลายปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ในเดือนธ.ค. และเฟดยังปรับลดคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในปลายปี 2016 และ 2017 สู่ระดับ 1.875% และ 3.125% ตามลำดับ

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (18/03/58)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานยุโรป ยกมุมมองไปที่การประชุมเฟดเมื่อคืน ที่จะส่งผลให้ยูโรดูแข็งแรง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานสหรัฐ ตามโพล คนลงทะเบียนตกงานมากขึ้น จังหวะดีของการขึ้นของราคาทอง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

โว๊ะ จังหวะขึ้นแล้ว ๆ ๆ ๆ

 

ขอบคุณครับ คุณป๋า ^^

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงดอกเบี้ยเข้าใกล้ 0% ต่อไป แม้ว่าจะมีการถอดคำว่า “อดทน” ออกจากแถลงการณ์ แต่ก็มีการส่งสัญญาณไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

 

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ลงมติในการด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยใกล้ 0% ต่อไป โดยเปิดโอกาสให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางปี ประมาณเดือนมิถุนายน แต่ตลาดคาดการณ์ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจริงน่าจะเป็นเดือนกันยายน หลังจากที่เฟดมีการลดประมาณการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจและตัวเลขเงินเฟ้อ

 

ซึ่งแถลงการณ์เฟดได้ยกเลิกการใช้คำว่า "อดทน" ในการพิจารณากำหนดเวลาสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ก็ระบุว่า จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ต่อเมื่อภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำในขณะนี้ปรับตัวกลับสู่ระดับ 2% ซึ่งเป็นเป้าหมายของเฟด และเมื่อตลาดแรงงานมีการฟื้นตัว โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย "ไม่มีแนวโน้ม" ที่จะเกิดขึ้นในการประชุมเดือนเม.ย.

 

นอกจากนี้ เฟดยังมีท่าทีระมัดระวังมากขึ้นต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ด้วยปรับลดมุมมองต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจลง โดยระบุจะเติบโตปานกลาง แตกต่างจากเมื่อเดือนธันวาคม ที่อ้างว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจกำลังขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง

 

โดยเฟดได้มีการปรับลดประมาณการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ โดยคาดว่าจะเติบโต 2.3%-2.7% ในปีนี้ จากเดิมที่คาดการณ์ในเดือนธ.ค.ที่ 2.6%-3.0% และยังได้ปรับลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2016 และ 2017 เช่นกัน

 

ส่วนคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ ปรับลดลงสู่ระดับ 0.6%-0.8% ส่วนในปี 2016 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 1.7%-1.9% ขณะที่ปี 2017 คาดว่าจะอยู่ใกล้ระดับ 2%

 

ด้านอัตราการว่างงาน คาดว่าอาจจะแตะ 5% ในปลายปีนี้ และจะปรับตัวลงอีกในปี 2016 และ 2017

และสุดท้าย เฟดยังได้ปรับลดคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น สู่ระดับ 0.625% ในปลายปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ในเดือนธ.ค. และเฟดยังปรับลดคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในปลายปี 2016สู่ระดับ 1.875% และ 2017 สู่ระดับ3.125% อีกด้วย

 

นายคริสรัปคีย์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของแบงก์ออฟโตเกียว-มิตซูบิชิ คาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจเกิดขึ้นในเดือน ก.ย. ปีนี้ โดยมั่นใจว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะไม่เกิดขึ้นในเดือน มิ.ย. อย่างแน่นอน -

 

ที่มา: money channel (19/03/2558)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ออกแถลงการณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ซึ่งเสร็จสิ้นลงเมื่อคืนนี้ว่า ข้อมูลที่ได้รับนับตั้งแต่ที่คณะกรรมการ FOMC ประชุมกันในเดือนม.ค.บ่งชี้ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ชะลอลงไปบ้าง ภาวะตลาดแรงงานได้ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งและอัตราว่างงานลดต่ำลง ปัจจัยชี้วัดต่างๆเกี่ยวกับตลาดแรงงานบ่งชี้ว่าภาวะการใช้ประโยชน์ในระดับต่ำเกินไปจากทรัพยากรด้านแรงงานนั้น ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง การใช้จ่ายภาคครัวเรือนกำลังเพิ่มขึ้นปานกลาง การปรับตัวลงของราคาพลังงานได้หนุนกำลังซื้อของภาคครัวเรือน การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของภาคธุรกิจกำลังปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การฟื้นตัวในภาคที่อยู่อาศัยยังคงชะลอลงและการขยายตัวด้านการส่งออกอ่อนแรงลง เงินเฟ้อได้ปรับตัวต่ำกว่าเป้าหมายระยะยาวของคณะกรรมการต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่สะท้อนถึงการร่วงลงของราคาพลังงาน มาตรวัดการชดเชยเงินเฟ้อที่อิงกับตลาดยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่มาตรวัดการคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะยาวที่อิงกับผลสำรวจยังคงทรงตัว

 

คณะกรรมการ FOMC พยายามที่จะสนับสนุนการจ้างงานในระดับสูงสุดและความมีเสถียรภาพด้านราคา ซึ่งสอดคล้องกับขอบเขตอำนาจหน้าที่ของเฟด คณะกรรมการคาดว่า ด้วยการผ่อนคลายนโยบายอย่างเหมาะสม กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราปานกลาง โดยปัจจัยชี้วัดตลาดแรงงานกำลังปรับตัวใกล้ระดับที่คณะกรรมการพิจารณาว่าสอดคล้องกับเป้าหมายหลัก 2 ประการของเฟด คณะกรรมการยังคงเล็งเห็นถึงความเสี่ยงต่อแนวโน้มของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน ซึ่งเกือบจะมีความสมดุล โดยคาดว่าเงินเฟ้อจะยังคงปรับตัวใกล้ระดับต่ำของช่วงที่ผ่านมาในระยะใกล้ แต่คณะกรรมการคาดว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปสู่ระดับ 2% ในระยะกลาง ขณะที่ตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง และผลกระทบชั่วคราวจากการปรับตัวลงของราคาพลังงานและปัจจัยอื่นๆ ค่อยๆลดน้อยลง คณะกรรมการจะยังคงจับตาดูความคืบหน้าด้านเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด

 

ในส่วนของการสนับสนุนให้มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องสู่การจ้างงานสูงสุดและความมีเสถียรภาพด้านราคานั้น คณะกรรมการได้ยืนยันอีกครั้งในวันนี้ถึงมุมมองที่ว่า ช่วงเป้าหมายในปัจจุบันสำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (federal funds rate) ที่ 0-0.25% นั้น ยังคงมีความเหมาะสม และในการที่จะตัดสินใจว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ช่วงเป้าหมายนี้ต่อไปนานเพียงใดนั้น คณะกรรมการจะประเมินความคืบหน้าสู่เป้าหมายของการจ้างงานในระดับสูงสุดและเงินเฟ้อที่ 2% ทั้งในแง่ความเป็นจริงและคาดการณ์ การประเมินนี้จะพิจารณาข้อมูลในวงกว้าง ซึ่งรวมถึงการประเมินภาวะตลาดแรงงาน, ปัจจัยชี้วัดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและการคาดการณ์เงินเฟ้อ ตลอดจนการพิจารณาถึงความคืบหน้าทางการเงินและสถานการณ์ระหว่างประเทศ คณะกรรมการพิจารณาว่าการปรับเพิ่มช่วงเป้าหมายสำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นยังคงไม่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในการประชุมนโยบายการเงินเดือนเม.ย. ซึ่งสอดคล้องกับแถลงการณ์ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการคาดว่าจะมีความเหมาะสมในการปรับเพิ่มช่วงเป้าหมายสำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น เมื่อตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง และเมื่อเฟดค่อนข้างเชื่อมั่นว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวกลับสู่เป้าหมายที่ 2% ในระยะกลาง การเปลี่ยนแปลงนี้ในสัญญาณชี้นำล่วงหน้า (Forward Guidance) ไม่ได้หมายความว่าคณะกรรมการได้ตัดสินใจเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการเริ่มปรับขึ้นช่วงเป้าหมายสำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นแล้ว

 

คณะกรรมการยังคงดำเนินนโยบายที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อไปในการนำเงินต้นที่ได้รับจากการถือครองตราสารหนี้ของหน่วยงานที่รัฐบาลให้การสนับสนุนและหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน (MBS) ของหน่วยงานที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ไปลงทุนใหม่ใน MBS ของหน่วยงานที่รัฐบาลให้การสนับสนุน และเข้าซื้อพันธบัตรชุดใหม่เมื่อพันธบัตรเดิมครบกำหนดไถ่ถอนในการประมูล นโยบายนี้น่าจะช่วยให้ยังคงมีภาวะทางการเงินที่ผ่อนคลาย โดยที่คณะกรรมการยังคงถือครองหลักทรัพย์ระยะยาวขึ้นเป็นจำนวนมาก

 

เมื่อคณะกรรมการตัดสินใจที่จะเริ่มยกเลิกการผ่อนคลายด้านนโยบาย ก็จะใช้วิธีการที่มีความสมดุล ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวว่าด้วยการจ้างงานในระดับสูงสุดและเงินเฟ้อที่ 2% โดยในปัจจุบันนี้ คณะกรรมการคาดว่า แม้ว่าหลังจากการจ้างงานและเงินเฟ้อปรับตัวใกล้ระดับที่สอดคล้องกับเป้าหมายหลักแล้ว แต่ภาวะเศรษฐกิจอาจจะเป็นเหตุผลในการคงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ต่ำกว่าระดับที่คณะกรรมการมองว่าเป็นระดับปกติในระยะยาว ต่อไปสักระยะหนึ่ง

 

ผู้ที่ออกเสียงสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินของ FOMC ได้แก่ เจเน็ต แอล. เยลเลน ประธานเฟด, วิลเลียม ซี. ดัดลีย์ รองประธานเฟด, เลล เบรนาร์ด, ชาร์ลส์ แอล. อีแวนส์, สแตนลีย์ ฟิสเชอร์, เจฟฟรีย์ เอ็ม. แล็คเกอร์, เดนนิส พี. ล็อคฮาร์ท, เจอโรม เอช. เพาเวล, แดเนียล เค. ทารุลโล และจอห์น ซี. วิลเลียมส์

 

ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (19/03/58)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

** ส่องสภาวะหุ้นบ่าย

 

 

น.ส.อาภาภรณ์ แสวงพรรค ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส(ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้ปรับตัวขึ้นได้ดีก่อนที่จะมีแรง take profit ออกมา ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวคล้ายกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่ผ่อนคลายความกังวลหลังการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ออกมาแล้ว จะไม่เร่งรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้ Sentiment ไปในทาง Positive

แต่ตลาดฯ ยังมีความกังวลเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวเนื่องจากกำลังซื้อยังไม่แข็งแรง และคาดว่าธนาคารแห่งประเทศๆทย(ธปท.)จะปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในวันที่ 20 มี.ค.นี้ นอกจากนี้ นักลงทุนหันมาเฝ้าติดตามปัจจัยทางการเมืองในประเทศ ซึ่งล่าสุดวันนี้ศาลฎีกาฯได้รับฟ้องคดี"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"อดีตนายกรัฐมนตรีกรณีทุจริตจำนำข้าว และนัดพิจารณาครั้งแรก 19 พ.ค.โดยต่างรอดูว่าจะมีแรงกระเพื่อมทางการเมืองหรือไม่

แนวโน้มการลงทุนในช่วงบ่ายนี้ ตลาดฯน่าจะยืนในแดนบวกได้อยู่แต่คงจะไม่มาก เพราะนักลงทุนคงจะรอความชัดเจนาจาก ธปท.ปรับลด GDP Growth ในวันพรุ่งนี้ก่อน พร้อมให้แนวรับ 1,510-1,500 จุด ส่วนแนวต้าน 1,540-1,550 จุด

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...