ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
tt2518

ขอเดา(ราคาทอง)กับเขาบ้าง

โพสต์แนะนำ

จากสัญญานนำทาง รหัส 5,35,9 ณ. จุดราคาปิด 1218 จนย่อมาที่ 1206 นั้น ถ้าผมนำมาอ้างอิงกับ รหัส 7,5,2 แบบวันต่อวัน นั้น ราคาปิดพรุ่งนี้ ไม่น่าสูงกว่า 1218 นะ เพราะเส้นดำมันยาวกว่าเส้นแดง เดาว่าราคาปิดต่ำกว่า 1218 ส่วนคัวเลขเดาที่เท่าไหร่ ค่อยๆ ติดตามโพสต์อันต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ฝรั่งขาเดารายอาทิตย์ สำหรับอาทิตย์ให้ตัวเลขขาเสี่ยง ดังนี้

 

LONG GOLD above 1204 SL 1201 TP 1214-1222-1232-1238-1248-1264

SHORT GOLD below 1190 SL 1193 TP 1178-1164-1152-1144-1131

 

ทุกๆ จุด มีจังหวะสัมผัสและเกิดขึ้นได้ สูงกว่า 1204 หรือ เกิดอาการย่อออกมาต่ำมา 1190 แต่ก็คงไปมองที่ รหัส 5,35,9 ที่ลงยังไง ต่อให้ยังไม่ตัดกัน ผมก็ต้องมโนว่า ย่อแล้วขึ้นต่อได้

 

แต่วิธีของฝรั่งตรงนี้ ที่ผมทำคือ " ทยอยซื้อเข้าทุกแนวรับ แล้วทยอยขายออกทุกแนวต้าน " สำหรับเป้าหมายวันนี้ ก็คงปิดราวๆ 1214 จากราคาทองตอนนี้ หรือถ้าแย่ๆๆ ก็ป้วนเปี้ยนหยุดพัก หลังจากเหตุการณ์เมื่อวานนี้ แถวๆ 1201-1204 ( ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ

ถูกแก้ไข โดย เด็กขายของ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รายงานเศรษฐกิจฝั่งนุโรป ไม่น่าสนใจ ไม่มีอะไรที่จะกระทุ้งราคาทองไปต่อ จึงเกรงว่า มันจะหาเรื่องทำกำไรจากราคาทองที่ขึ้นมาหรือเปล่า โปรดระวังด้วย ยันราคาไว้ไม่ต่ำกว่า 1200 นะครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ส่วนยามค่ำ รายงานสหรัฐฯ จับตามองนางเยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ตามเคย ว่าจะทำให้ดอลล์แข็ง หรืออ่อนค่า เดาว่าอ่อนค่า เพราะตอนนี้ สหรัฐฯ เจอวิกฤติต่อต้านเรื่องสีผิว เมืองเฟอร์กูสัน และ หิมะละลายจะกลายเป็นน้ำท่วมครั้งใหญ่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เช้านี้ เที่ยงนี้ จับตา การขอคืนพื้นที่ของรัฐบาลจีน ที่จะกระทำในฮ่องกง ต่อจากเมื่อวานนี้ ในเขต Admilarity จากขยายไปพื้นที่อื่นหรือไม่ Mongkok หรือ Causewaybay เพราะ ราคาทองอาจวิ่งปรู้ด เพราะ " ตกใจ "

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 1 ธ.ค.2557

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (1 ธ.ค.) หลังจากผลสำรวจของสหพันธ์ค้าปลีกแห่งชาติของสหรัฐ (NRF) ระบุว่า ยอดการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลขอบคุณพระเจ้าซบเซาลง และสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) รายงานว่า ดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ย.ของสหรัฐชะลอตัวลง

 

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,776.80 จุด ลดลง 51.44 จุด หรือ -0.29% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,727.35 จุด ลดลง 64.28 จุด หรือ -1.34% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,053.44 จุด ลดลง 14.12 จุด หรือ -0.68%

 

-- ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (1 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเทขายหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังจากกลุ่มโอเปคมีมติคงเพดานการผลิตน้ำมัน นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากผลสำรวจของมาร์กิตที่ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนชะลอตัวลงในเดือนพ.ย.

 

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.5% ปิดที่ 345.64 จุด

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,377.33 จุด ลดลง 12.85 จุด หรือ -0.29% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,963.51 จุด ลดลง 17.34 จุด หรือ -0.17% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,656.37 จุด ลดลง 66.25 จุด หรือ -0.99%

 

-- ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (1 ธ.ค.) นำโดยหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มเหมือง เนื่องจากนักลงทุนมีความวิตกเกี่ยวกับข้อมูลภาคการผลิตจีนที่ชะลอตัวลงใน เดือนพ.ย. ขณะที่สหรัฐก็รายงานถึงภาคการผลิตที่ขยายตัวลดลงเช่นกัน

 

ดัชนี FTSE 100 ลดลง 66.25 จุด หรือ 0.99% ปิดที่ 6,656.37 จุด

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (1 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนแห่เข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากมูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่น

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 42.6 ดอลลาร์ หรือ 3.62% ปิดที่ 1,218.1 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 1.136 ดอลลาร์ ปิดที่ 16.692 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.พุ่งขึ้น 30.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,241.60 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 5.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 808.10 ดอลลาร์/ออนซ์

 

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (1 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบร่วงลงติดต่อ กันหลายวันทำการก่อนหน้านี้ อันเนื่องมาจากการที่กลุ่มโอเปคตัดสินใจคงเพดานการผลิตในการประชุมล่าสุด

 

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนม.ค.พุ่งขึ้น 2.85 ดอลลาร์ ปิดที่ 69 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนม.ค.เพิ่มขึ้น 2.39 ดอลลาร์ ปิดที่ 72.54 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

-- ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆเมื่อคืนนี้ (1 ธ.ค.) หลังจากที่มีรายงานว่าภาคการผลิตของสหรัฐยังคงมีการขยายตัว แต่เป็นอัตราที่ชะลอลง

 

ค่าเงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2477 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2443 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.5740 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5629 ดอลลาร์

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 118.28 เยน เทียบกับระดับ 118.75 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9640 ฟรังค์ จาก 0.9657 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8511 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8504 ดอลลาร์

 

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,776.80 จุด ลดลง 51.44 จุด -0.29%

 

ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,727.35 จุด ลดลง 64.28 จุด -1.34%

 

ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,053.44 จุด ลดลง 14.12 จุด -0.68%

 

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,656.37 จุด ลดลง 66.25 จุด -0.99%

 

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,963.51 จุด ลดลง 17.34 จุด -0.17%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดวงพักตรา ไชยพงษ์

หลายคนคงรู้สึกยินดีปรีดากับราคาน้ำมันโลกที่ปรับลดลงอย่างที่เรียกว่า คาดไม่ถึงกันเลยทีเดียว โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ธ.ค.2557 ราคาน้ำมันโลกดิ่งต่ำสุดในรอบ 5 ปี โดยน้ำมันดูไบปรับลดลงเหลือ 68.77 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล น้ำมันเวสเทกซัส (WTI) เหลือ 66.15 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และน้ำมัน เบรนต์เหลือ 68.77 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

 

ราคาน้ำมันโลกที่ลดต่ำกว่า 70 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล สร้างความแปลกประหลาดให้กับผู้ใช้เป็นอย่างมาก และกูรูด้านพลังงานก็เริ่มจะไม่กล้าฟันธงกันแล้วว่าราคาน้ำมันจะเป็นไปอย่าง ไร เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนับว่าเหลือความคาดหมายอย่างมาก

 

สำหรับทิศทางราคาน้ำมันโลกนั้น กูรูหลายคนปรับประมาณการราคาน้ำมันโลกในปี 2558 กันใหม่ บ้างก็ว่าจะทรงตัวระดับ 95-100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล บ้างก็ว่าจะไม่ถึง 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลไปจนถึงกลางปี 2558

 

อย่างไรก็ตาม การที่ราคาน้ำมันโลกดิ่งลงอย่างต่อเนื่องนั้น ผลดีย่อมตกกับผู้บริโภคแน่นอน แต่ผลเสียก็ตกอยู่กับผู้ผลิตและสำรวจปิโตรเลียม เนื่องจากราคาน้ำมันในขณะนี้ไม่จูงใจให้เสี่ยงที่จะสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ออกมาขาย เพราะต้นทุนผลิตสูง แต่ราคาน้ำมันต่ำ ขายออกมาก็ไม่คุ้มค่า ดังนั้นต้องจับตาดูว่าการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติประกาศเปิดเชิญชวนอยู่ และจะหมดเขตในเดือน ก.พ.2558 นั้น จะมีผู้สนใจเข้าร่วมสำรวจหรือไม่

 

นอกจากนี้ นับเป็นโอกาสดีที่กระทรวงพลังงานจะปรับโครง สร้างราคาพลังงานให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งด้านภาษีน้ำมัน กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) เพื่อยุติการบิดเบือนราคา และทำให้ราคาแปรผันไปตามทิศทางที่เกิดขึ้นจริง แต่เชื่อว่ารัฐบาลยังคงเหลือการอุดหนุนไว้สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยต่อไป

 

ส่วนการปรับโครงสร้างแอลพีจีภาคครัวเรือนและขนส่งก็จะทำได้ง่ายขึ้น เพราะเหลือการปรับขึ้นราคาอีกแค่ 1.30 บาทต่อลิตร ราคาแอลพีจีดังกล่าวก็จะเข้าสู่ภาวะลอยตัว เช่นเดียวกับราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมแล้ว ซึ่งคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ก็มีโอกาสดำเนินการได้เอง ไม่ต้องรอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีมาพิจารณาให้ยุ่งยาก

 

ทั้งนี้ แม้การปรับโครงสร้างราคาพลังงานจะมีผลดี ช่วยให้กลไกราคาพลังงานเดินสู่ทางที่ควรจะเป็น และช่วยให้ประชาชนรับรู้ถึงสถานการณ์ราคาของโลก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงานได้ง่าย ก่อให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย โดยไม่ต้องสร้างแรงจูงใจมากนัก เพราะประชาชนเห็นและเผชิญกับราคาที่แท้จริงของโลกด้วยตัวเอง

 

แต่สิ่งที่ควรระวัง คือ อย่าเพิ่งหลงดีใจ ว่าราคาน้ำมันโลกจะต่ำไปเรื่อยๆ หรือต่ำนานๆ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า ราคาน้ำมันโลกผันผวน มีลงก็ต้องมีขึ้นเป็นธรรมดา แต่สิ่งที่ต้องระวังให้ดีคือ ความรู้สึกของประชาชน โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาน้ำมันปรับขึ้น ประชาชนจะรับรู้การเปลี่ยนแปลงค่าครองชีพอย่างรวดเร็วขึ้น

 

เนื่องมาจากการถูกปรับโครงสร้างราคาพลังงานน้ำมันและก๊าซแล้ว ประชาชนต้องเผชิญกับราคาพลังงานโลกอย่างแท้จริง ซึ่งไม่คุ้นชินกับราคาพลังงานที่ลอยตัวเท่าไหร่นัก และอาจส่งผลทางจิตวิทยากับค่าครองชีพและเงินเฟ้อของประชาชนและประเทศได้

 

ดังนั้น ช่วงรอยต่อระหว่างราคาน้ำมันกำลังกลับหัว ปรับขึ้นราคา ทางกระทรวงพลังงานต้องบริหารราคาพลังงานในประเทศให้ดี ค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งควรเตรียมซ้อมแผนการให้พร้อมว่าจะใช้สเต็ปแบบใดในการปรับราคา เพื่อป้องกันความอ่อนไหวทางด้านจิตวิทยาสังคม โดยเฉพาะเงินที่เก็บเข้ากองทุนน้ำมันฯ ที่กระทรวงพลังงานตั้งเป้าหมายจะใช้ดูแลรักษาเสถียรภาพราคาพลังงานไม่ให้ แกว่งตัวอย่างรวดเร็วนั้น ก็ต้องระมัดระวังการใช้ไม่ให้ประวัติศาสตร์กลับมาซ้ำรอยเป็นหนี้มากมายอีก ด้วย แต่ก็ควรต้องใช้เพื่อเบรกความร้อนแรงหากราคาน้ำมันโลกดีดกลับมา

 

นอกจากนี้ สิ่งที่กระทรวงพลังงานกำลังดำเนินการล่าสุด คือ เตรียมจะปฏิรูปพลังงาน 5 ด้าน ได้แก่ 1.น้ำมัน 2.แอลพีจี เอ็นจีวี 3.แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาว (พีดีพี) ฉบับใหม่ 4.การอนุ รักษ์พลังงาน และ 5.พลังงานทดแทน ซึ่งมีแนวทางกำหนดทิศทางการพัฒนาอย่างชัดเจน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงภาคเอกชน ไม่ว่าจะค่ายรถยนต์ โรงกลั่นน้ำมัน ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมัน หน่วยงานด้านไฟฟ้า เป็นต้น ต่างได้รับทราบแนวทางที่ชัดเจน และบริหารธุรกิจให้สอดคล้องกับทิศทางที่กระทรวงพลังงานกำลังจะปฏิรูปใหม่

 

ดังนั้น ช่วงฤดูนี้คือช่วงของการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานประ เทศ ซึ่งการปฏิรูปพลังงานในช่วงนี้สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เพราะโอกาสเอื้ออำนวย แต่ขณะนี้รัฐบาลควรมองไปข้างหน้า ในช่วงที่ราคาน้ำมันจะดีดกลับขึ้นมาด้วย เพราะโอเปกคงไม่อยู่เฉย รอดูน้ำมันล่วงลงไปเรื่อยๆ แน่ ฉะนั้นต้องเตรียมแผนรับมือกับช่วงทิศทางราคาพลังงานขาขึ้นไว้เนิ่นๆ เพราะอย่าลืมว่า ประชาชนยังไม่คุ้นชินกับราคาพลังงานโลก เนื่องจากเพิ่งถูกเปลี่ยนโครงสร้างพลังงานมา

 

กระทรวงพลังงานต้องพร้อมรับสถานการณ์ราคาน้ำมันขาขึ้นไว้ก่อน และไม่ปล่อยให้ประชาชนต้องเผชิญกับราคาพลังงานโลกที่แท้จริงเพียงลำพังด้วย.

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ (วันที่ 2 ธันวาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"ไทยออยส์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 65-71 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 70-76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล"

 

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (1 - 5 ธ.ค. 57)

ราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้คาดว่าจะปรับลดลงต่อเนื่อง จากท่าทีของตลาดต่อการตัดสินใจคงกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกเมื่อสัปดาห์ที่ ผ่านมา นอกจากนั้นจับตาท่าทีของประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่มีต้นทุนสูงว่าจะออกมาตอบรับ กับการตัดสินใจของโอเปกในครั้งนี้อย่างไร อย่างไรก็ดีตลาดเฝ้าจับตาการประชุมธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในช่วงปลายสัปดาห์ว่าจะมีการหารือถึงวิธีที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจของกลุ่มยูโร โซนเพิ่มเติมหรือไม่ หลังข้อมูลเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาไม่ค่อยดีนัก

 

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

ติดตามท่าทีของตลาดที่ตอบรับต่อการคงกำลังการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปก ที่ระดับเดิมที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในการประชุมวันที่ 27 พ.ย ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าการประชุมจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่สมาชิกบางประเทศที่มีต้นทุนการผลิตน้ำมันดิบสูง อย่างเวเนซุเอลา อิหร่าน ยังแสดงความผิดหวังต่อมติการประชุม นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกอย่างรัสเซียที่มีต้นทุนสูงเช่นกัน ซึ่งล้วนได้รับผลกระทบจากระดับราคาน้ำมันในปัจจุบัน

 

ตลาดจับตาการหาวิธีการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของยูโรโซน ในการประชุมครั้งต่อไปของอีซีบีในวันที่ 4 ธ.ค. นี้ ภายหลังข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาก่อนหน้าไม่ค่อยดีนัก โดยเฉพาะเงินเฟ้อที่อาจแตะระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 52 ส่งผลให้ประธานอีซีบี มีแถลงการณ์ถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการดูแลเงินเฟ้อให้ปรับตัวดีขึ้น อีกทั้งรองประธานอีซีบียังออกมาย้ำถึงความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มมาตรการ QE ในไตรมาสหน้า

 

พร้อมกันนี้ติดตามภาพรวมของเศรษฐกิจจีนว่าจะกระเตื้องขึ้นหรือไม่ หลังธนาคารกลางของจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปีลง 0.4% มาอยู่ที่ 5.6% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.75% ซึ่งหากนโยบายดังกล่าวประสบผลสำเร็จก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจจีนแข็งแกร่งขึ้น และอาจส่งแรงหนุนให้อุปสงค์น้ำมันจากจีนปรับตัวเพิ่มขึ้น

 

โรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ ยังคงทยอยกลับมาจากการปิดซ่อมบำรุง รวมถึงอากาศที่หนาวเย็นของสหรัฐฯ ส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจหนุนราคาน้ำมันดิบให้ปรับตัวเพิ่มขึ้น

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิตและตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน รวมถึงดัชนีภาคการผลิตจีน

 

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (24 - 28 พ.ย. 57)

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลงราว 10.36 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปิดที่ 66.15 เหรียญสหรัฐฯต่อบาเรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลงเช่นกัน 10.21 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ปิดที่ 70.15 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์ที่ผ่านมาถือว่าเป็นการทรุดลงของราคาน้ำมันอย่าง มากที่สุดในรอบ 4 ปี หลังจากการประชุมโอเปกในวันที่ 27 พ.ย. ที่ผ่านมาได้ข้อสรุปว่าโอเปกจะคงกำลังการผลิตน้ำมันดิบไว้ที่ระดับเดิมที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด ประกอบกับเศรษฐกิจในทวีปยุโรปที่กำลังชะลอตัว ก็เป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมันดิบเพิ่มเติม

 

อย่างไรก็ดี การประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนและความล้มเหลวใน การเจรจายุติปัญหานิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านและกลุ่มชาติมหาอำนาจ เป็นปัจจัยสนับสนุนราคาน้ำมันให้ปรับขึ้นมาเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ (วันที่ 2 ธันวาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (1 ธันวาคม 2557) สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 42.6 ดอลลาร์ หรือ 3.62% ปิดที่ 1,218.1 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ในช่วงแรกนั้น สัญญาทองคำร่วงลงหลังจากผลการลงประชามติของสวิตเซอร์แลนด์ในประเด็นการถือ ครองทองคำสำรองของธนาคารกลางสวิสระบุว่า ประชาชนส่วนใหญ่ปฏิเสธข้อเสนอในการเพิ่มทองคำสำรองของธนาคารกลาง

อย่างไรก็ตาม สัญญาทองคำดีดตัวขึ้นหลังจากมูดีส์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่น สู่ระดับ A1 จาก Aa3 เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสามารถของญี่ปุ่นในการฟื้นฟูสถานะการ คลังซึ่งส่งผลให้นักลงทุนแห่เข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

 

 

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจออนไลน์ (02/12/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ราคาทองคำวานนี้เคลื่อนไหวผันผวน โดยมีแรงขายออกมามากตั้งแต่เปิดการซื้อขายภาคเช้า ก่อนที่ในระหว่างวันจะมีแรงซื้อกลับเข้ามามากจนราคาดีดตัว กลับขึ้นมาเคลื่อนไหวเหนือ 1,200 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ ได้อีกครั้ง...

 

รายงานข่าวการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่นกระตุ้นให้มีแรงซื้อ ทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยกลับเข้ามามาก และคาดว่าประเด็นดังกล่าวยังเป็นปัจจัยบวกที่จะทำให้ราคาทองคำยังคงมีแนว โน้มฟื้นตัว โดยราคาทองคำปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ 1,211.30 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ เพิ่มขึ้น 44.07 ดอลลาร์ ราคาทำจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดที่ 1,142 และ 1,211 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ ตามลำดับ

 

ส่วนราคาซื้อขายทองคำแท่งในประเทศชนิด 96.5% เมื่อวานนี้ ขายออกที่บาทละ 18,350 บาท และรับซื้อคืนที่บาทละ 18,250 บาท กองทุน SPDR ไม่มีรายงานการเปลี่ยนแปลงปริมาณการถือครองทองคำ โดยปัจจุบันกองทุนถือครองทองคำรวม 717.63 ตัน

 

ราคาทองได้รับแรงกดดันจากการที่ชาวสวิสส่วนใหญ่คัดค้านข้อเสนอเกี่ยวกับ การถือครองทองคำของธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ในการลงประชามติที่จัดช่วงสุด สัปดาห์ ข้อเสนอ "Save Our Swiss Gold" ซึ่งร่างขึ้นโดยสมาชิกจำนวนมากของพรรคสวิส พีเพิลส์ พาร์ตีนั้น กำหนดให้ธนาคารกลางสวิสถือทองคำเป็นสัดส่วนอย่างน้อย 20% ของสินทรัพย์ของธนาคารกลาง

 

นอกจากนี้ยังห้ามไม่ให้ธนาคารกลางสวิสขายทองคำ และกำหนดว่าทองคำ 30% ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในแคนาดาและอังกฤษนั้น จะต้องถูกส่งกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หากมีการเห็นชอบกับข้อเสนอดังกล่าว ก็อาจทำให้สวิตเซอร์แลนด์กลายเป็นผู้ถือครองทองคำรายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก และยอดสั่งซื้อทองคำน่าจะอยู่ที่ 1,500 ตันเป็นอย่างต่ำในช่วงระยะเวลา 5 ปี

 

อย่างไรก็ตามหลังจากราคาทองคำปรับตัวลงตอบรับผลการลงมติดังกล่าว รายงานข้อมูลเศรษฐกิจจากทั่วโลกซึ่งส่วนใหญ่มีสัญญาณชะลอตัวทั้งดัชนีผู้ จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนซึ่งปรับตัวลดลงสู่ 50.3 จาก 50.8 ในเดือนตุลาคม ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนในเดือนพฤศจิกายนที่ปรับตัวลงสู่ 50.1 ในเดือน จากระดับ 50.6 ในเดือนตุลาคม และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐฯในเดือนพฤศจิกายนซึ่งลดลงสู่ 54.8 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน สร้างความกังวลต่อการเก็งกำไรในตลาดสินทรัพย์เสี่ยง และกระตุ้นให้มีแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยกลับเข้ามา

 

และนอกจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจแล้ว รายงานข่าวการลดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่นจากมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ซึ่งได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือหนี้ของรัฐบาลญี่ปุ่นลง 1 ขั้น สู่ระดับ A1 จาก Aa3 เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสามารถของญี่ปุ่นในการฟื้นฟูสถานะการ คลัง ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กระตุ้นให้มีแรงซื้อทองคำกลับเข้ามา และคาดว่าการเคลื่อนไหวของราคาทองยังคงมีแนวโน้มที่จะแกว่งตัวผันผวนต่อไป

 

ส่วนภาพการเคลื่อนไหวทางเทคนิคของราคาทองซึ่งวานนี้ราคาทองฟื้นตัวจากแนว รับ 1,145-1,150 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ และกลับขึ้นมาเคลื่อนไหวเหนือจุดสูงสุดของการซื้อขายสัปดาห์ก่อน จึงเป็นสัญญาณซื้อในทางเทคนิคและมีแนวโน้มที่ราคาทองจะปรับตัวขึ้นต่อ แต่ด้วยการฟื้นตัวที่เกิดขึ้นวานนี้เกิดจากการดีดตัวตอบรับประเด็นข่าวที่ อยู่นอกเหนือการประเมินของนักลงทุน

 

การเคลื่อนไหวของราคาทองจึงยังจะมีความผันผวนต่อเนื่องจากเมื่อวาน แนวรับสำหรับเก็งกำไรในระหว่างวันอยู่ที่บริเวณ 1,195-1,200 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ โดยมีแนวต้านอยู่ที่บริเวณ 1,220 และ 1,235-1,240 ดอลลาร์ ต่อ ออนซ์ ตามลำดับ

 

 

 

 

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (02/12/2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (1 ธ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนแห่เข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากมูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่น

 

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 42.6 ดอลลาร์ หรือ 3.62% ปิดที่ 1,218.1 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 1.136 ดอลลาร์ ปิดที่ 16.692 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.พุ่งขึ้น 30.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,241.60 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 5.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 808.10 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ในช่วงแรกนั้น สัญญาทองคำร่วงลงหลังจากผลการลงประชามติของสวิตเซอร์แลนด์ในประเด็นการถือครองทองคำสำรองของธนาคารกลางสวิสระบุว่า ประชาชนส่วนใหญ่ปฏิเสธข้อเสนอในการเพิ่มทองคำสำรองของธนาคารกลาง

 

อย่างไรก็ตาม สัญญาทองคำดีดตัวขึ้นหลังจากมูดีส์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนแห่เข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

 

มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือหนี้ของรัฐบาลญี่ปุ่นลง 1 ขั้น สู่ระดับ A1 จาก Aa3 เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสามารถของญี่ปุ่นในการฟื้นฟูสถานะการคลัง

 

การทบทวนอันดับครั้งนี้มีขึ้นสองสัปดาห์หลังจากที่นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ตัดสินใจเลื่อนการขึ้นภาษีการบริโภคจาก 8% เป็น 10% ออกไปเป็นเดือนเม.ย. 2560 จากเดิมที่ได้มีการวางแผนว่าจะขึ้นภาษีในเดือนต.ค. 2558 ส่งผลให้เกิดความกังวลว่า การฟื้นฟูสถานะการคลังของญี่ปุ่นอาจจะล่าช้าออกไป

 

นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่า ธนาคารกลางอินเดียได้ประกาศผ่อนคลายกฎระเบียบเกี่ยวกับการควบคุมการนำเข้าทองคำเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เนื่องจากใกล้จะถึงเทศกาลวิวาห์ ซึ่งจะเป็นช่วงที่อินเดียต้องใช้ทองคำในปริมาณมาก

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 2 ธันวาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆเมื่อคืนนี้ (1 ธ.ค.) หลังจากที่มีรายงานว่าภาคการผลิตของสหรัฐยังคงมีการขยายตัว แต่เป็นอัตราที่ชะลอลง

 

ค่าเงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.2477 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2443 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์เพิ่มขึ้นที่ 1.5740 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5629 ดอลลาร์

 

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 118.28 เยน เทียบกับระดับ 118.75 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9640 ฟรังค์ จาก 0.9657 ฟรังค์

 

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8511 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8504 ดอลลาร์

 

ดอลลาร์อ่อนแรงลงหลังจากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ย.ลดลงสู่ระดับ 58.7 จาก 59.0 ในเดือนต.ค. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตของสหรัฐขยายตัวชะลอลงเล็กน้อย

 

ขณะเดียวกัน มาร์กิตเปิดเผยผลสำรวจที่ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐในเดือนพ.ย.ลดลงแตะ 54.8 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน จาก 55.9 ในเดือนต.ค.

 

ส่วนเงินเยนได้รับแรงกดดันจากข่าวที่ว่ามูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่นลง 1 ขั้น สู่ระดับ A1 จาก Aa3 เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสามารถของญี่ปุ่นในการฟื้นฟูฐานะทางการคลัง

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 2 ธันวาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ (2 ธ.ค.) ที่ระดับ 32.80/82 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจากช่วงปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 32.89/90 บาท/ดอลลาร์ ตามทิศทางตลาดต่างประเทศ ผลจากค่าเงินญี่ปุ่นถูกดาวน์เกรดลงมา

 

"ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่า ทำให้ค่าเงินทั้งภูมิภาคปรับแข็งค่าขึ้นตาม ๆ กัน"

 

นักบริหารเงิน ธนาคารกสิกรไทย ระบุว่า ตลาดช่วงท้ายปีไม่ค่อยมีปัจจัยอะไรมากดดันมากนัก โดยกรอบวันนี้คาดการณ์เคลื่อนไหวระหว่าง 32.75-32.85 บาท/ดอลลาร์

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (วันที่ 2 ธันวาคม 2557)

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

นายชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กำลังเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนัก หลังจากที่มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่นลง 1 ขั้น สู่ระดับ A1 จากระดับ Aa3 เนื่องจากความไม่แน่นอนที่ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะสามารถกอบกู้สถานะการคลังให้แข็งแกร่งขึ้นได้หรือไม่

 

การที่มูดีส์ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่นนั้น มีขึ้นเพียงวันเดียวก่อนที่การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในญี่ปุ่นจะเริ่มขึ้น ซึ่งในการหาเสียงครั้งนี้ นายอาเบะต้องการที่จะชูประเด็นนโยบายเศรษฐกิจ แต่การที่ญี่ปุ่นถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือได้ทำให้นายอาเบะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากการที่มูดีส์ได้แสดงความไม่มั่นใจว่า ญี่ปุ่นจะสามารถบรรลุเป้าหมายการลดยอดขาดดุลและหนุนเศรษฐกิจให้เติบโตได้

 

นักวิเคราะห์จากเครดิต อะกริโคล ได้แสดงความเห็นว่า การที่มูดีส์ลดอันดับความน่าเชื่อถือญี่ปุ่นในครั้งนี้ จะผลักดันให้นายอาเบะ เริ่มฟื้นฟูเศรษฐกิจเป็นลำดับแรก และจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการคลังในเวลาต่อมา พร้อมกับกล่าวว่า การลดอันดับเครดิตจะช่วยย้ำเตือนให้ญี่ปุ่นได้ตระหนักว่า สถานะการคลังของประเทศยังคงย่ำแย่

 

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 2 ธันวาคม 2557)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...