ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

ในช่วงที่ผ่านมา ผู้ที่ถือครองทองคำคงบอบช้ำกับการแข็งค่าของเงินบาทไม่มากก็น้อย เพราะการแข็งค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ได้ไปบั่นทอนการปรับขึ้นของราคาทองคำในประเทศ จนนักลงทุนบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า “ทำไมราคาทองคำโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ราคาทองคำในประเทศกลับไม่ยอมปรับตัวเพิ่มขึ้นตาม” หรือเกิดอาการงงๆว่า ราคาทองคำโลกฟื้นตัวกลับขึ้นมาแถวบริเวณที่เคยซื้อไป แต่ผลปรากฏว่ายังเกิดผลขาดทุนจากการลงทุนอยู่

ทั้งนี้ ถ้าพิจารณาแบบเผินๆ นักลงทุนในทองคำก็ควรจะพอใจกับการแข็งค่าของเงินบาทมากกว่าการอ่อนค่าของเงินบาท เพราะประเทศไทยไม่สามารถผลิตทองคำเพื่อรองรับกับความต้องการในประเทศได้อย่างพอเพียง การบริโภคทองคำส่วนใหญ่จึงต้องเป็นลักษณะของการนำเข้าทองคำจากต่างประเทศมากกว่า ดังนั้น การแข็งค่าของเงินบาทน่าจะส่งผลดีมากกว่าการอ่อนค่าของเงินบาท เพราะจะทำให้เราสามารถนำเข้าทองคำได้มากขึ้นโดยจ่ายเงินเท่าเดิม แต่เนื่องด้วย สถานะของทองคำในปัจจุบัน ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการลงทุนมากกว่าการใช้เพื่อนำไปผลิตเป็นเครื่องประดับ นักลงทุนส่วนใหญ่จึงพึงพอใจกับปรากฏการณ์อะไรก็ได้ที่ส่งผลบวกกับราคาทองคำในประเทศ ซึ่งการอ่อนค่าลงของเงินบาทที่ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าทองคำแพงขึ้น ถือเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่ทำให้นักลงทุนพึงพอใจ เพราะนั่นหมายถึง นักลงทุนจะได้กำไรจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคานั่นเอง

และเนื่องจาก การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเริ่มมีความผันผวนขึ้น และเริ่มส่งผลกระทบกับราคาทองคำในประเทศอย่างมีนัยสำคัญด้วยเช่นกัน เราจึงอยากนำเสนอมุมมองที่มีต่อค่าเงินบาทไว้ในบทความฉบับนี้

 

 ทำไมค่าเงินบาทจึงแข็งค่าขึ้นอย่างมากในระยะนี้: เรามองว่าสาเหตุที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงเป็นผลมาจาก 4 ปัจจัยด้วยกัน คือ

1) การกลับมาอ่อนค่าลงของเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ: จากผลของการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯในช่วงหลังที่ออกมาไม่สดใสต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภาคการผลิต(ดัชนีภาคการผลิตในนิวยอร์คเดือน ก.ค. อยู่ที่ 7.1 แม้จะมากกว่างวดก่อนที่ 5.1 แต่น้อยกว่าคาดการณ์ของโพลล์ที่ 7.5 ส่วนดัชนีภาคการผลิตในฟิลลาเดเฟียอยู่ที่ -7.7 แย่กว่างวดก่อนและคาดการณ์ของโพลล์ที่ 5.1 และ 7.5) ภาคการบริโภค(ค่าใช้จ่ายและได้ส่วนบุคคลเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 0.4% MoM และ 0.2% MoM ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ Conference Board ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน) ภาคแรงงาน(การจ้างงานนอกภาคเกษตรลดลง 131,000 คน แม้จะดีกว่างวดก่อนที่ลดลงถึง 221,000 คน แต่แย่กว่าโพลล์ที่คาดจะลดลง 65,000 คน) และภาคอสังหาริมทรัพย์(ยอดขายบ้านใหม่เดือน ก.ค. ลดลง 12.4% MoM และยอดขายบ้านมือสองลดลง 27.2% MoM) ซึ่งข้อมูลที่ออกมาแย่ได้ทำให้เกิดกระแสเงินสดส่วนเกินเกิดขึ้นทั่วโลก (Excess Fund Flow) โดยกระแสเงินส่วนใหญ่ได้หลั่งไหลออกจากการถือครองเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ ไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าอย่างตลาดหุ้นเอเชียที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งประเทศไทยก็ถือเป็นหนึ่งในนั้น จึงทำให้มีแรงซื้อเงินบาทเข้ามาอย่างหนาแน่น

2) แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.): นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 2 ครั้ง ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งที่ 5 (14 ก.ค. 53) และครั้งที่ 6 (25 ส.ค. 53) คราวละ 0.25% ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.75% ในปัจุบัน ซึ่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งติดต่อกันได้ส่งผลให้เงินบาทมีความน่าสนใจในการถือครองมากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นที่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่า ในขณะเดียวกัน ท่าทีของว่าที่ผู้ว่า ธปท. คนใหม่ที่มีแนวโน้มว่าจะใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดมากขึ้น จากการออกมาให้ความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 2.00% ภายในสิ้นปีนี้ ก็ยิ่งกระตุ้นให้เกิดจิตวิทยาเชิงบวกสำหรับการเข้าถือครองเงินบาท ทั้งในภาคของการเก็งกำไรที่มองว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆ และภาคของการส่งออกที่กลัวว่าจะนำเงินที่ได้รับจากการขายสินค้าในรูปของสกุลเงินต่างประเทศมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทได้น้อยลง

3) ข้อมูลทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ดี: โดยเฉพาะยอดเกินดุลการค้าสะสมในปีนี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยเกินดุลการค้าไปแล้ว 5,437.90 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งยอดเกินดุลการค้าในรูปของเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯที่อยู่ในระดับสูง ได้ส่งผลให้มีแรงซื้อเงินบาทจากการแลกเงินของผู้ส่งออกเข้ามาเป็นจำนวนมาก

 

แหล่งที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย, รอยเตอร์, และ GBX

4) กระแสเงินไหลเข้าตลาดหุ้นไทยมากขึ้น: หลังจากสถานการณ์ทางการเมืองมีแนวโน้มผ่อนคลายลง ตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นล้าหลังกว่าตลาดหุ้นอื่นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ก็ได้รับความน่าสนใจในการลงทุนมากขึ้นเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นที่อยู่ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่เดียวกันทันที และถึงแม้ยอดซื้อขายสุทธิสะสมของนักลงทุนต่างประเทศในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-ก.ค. 53) จะยังแสดงเป็นยอดขายสุทธิอยู่ 10,448 ล้านบาท แต่ก็ถือว่าดีขึ้นเมื่อเทียบกับยอดขายสุทธิสะสมในช่วง 5 เดือนแรก(ม.ค.-พ.ค. 53) ที่ 20,302 ล้านบาท

 

แหล่งที่มา: รอยเตอร์, และ GBX

 เงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็นอันดับต้นๆของภูมิภาคเอเชีย แม้จะสมเหตุสมผลกับโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจไทย แต่ก็ดูร้อนแรงเกินไป: ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปแล้ว 5.88% ซึ่งหากเทียบกับค่าเงินของประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ถือว่าค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของภูมิภาค โดยเป็นรองเพียงแค่มาเลเซีย ริงกิต ของประเทศมาเลเซียที่แข็งค่าขึ้น 8.24% เท่านั้น ซึ่งการแข็งค่ามากมายขนาดนี้ ได้ก่อให้เกิดคำถามตามมาว่าสอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยที่พึ่งพิงการส่งออกเป็นหลักหรือไม่ ในขณะเดียวกัน ก็ถือเป็นบททดสอบสำคัญว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีมาตรการสกัดกั้นกระแสเงินที่เข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาท โดยไม่ให้กระทบกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นครั้นออกมาตรการ Capital Control เมื่อ 18 ธ.ค. 49 ได้อย่างไร

 

แหล่งที่มา: รอยเตอร์, และ GBX

ในมุมมองของเรา มีความเห็นว่า การแข็งค่าของเงินบาทที่เกิดขึ้นอยู่ ณ ปัจจุบัน ดูค่อนข้างสมเหตุสมผลเมื่อเทียบกับข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่ตัวเลข GDP ครึ่งปีแรกเติบโตในอัตราสูงถึง 10.1% YoY(ไตรมาส 1/2553 โต 12% YoY ไตรมาส 2 โต 9.1% YoY) แต่ถ้าพิจารณาในองค์ประกอบของ GDP พบว่า ภาคการบริโภคและการใช้จ่ายของภาครัฐเป็น 2 องค์ประกอบที่มีบทบาทในการผลักดันตัวเลข GDP ปีนี้อย่างมาก โดยในครึ่งปีแรก ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9.8% YoY และ 8.8% YoY ตามลำดับ ขณะที่ภาคการลงทุนของเอกชน (แม้จะปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 19.0% YoY แต่ถ้าพิจารณาในแง่ของตัวเงินก็ถือว่าอยู่ในระดับปกติเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา) และยอดการส่งออกสุทธิกลับไม่ได้หนุนการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ GDP มากนัก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงนี้มาจากปัจจัยในประเทศมากกว่านอกประเทศ ซึ่งถือว่าเป็น 2 ตัวแปรที่กำลังมีความอ่อนไหวและเปราะบางเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้น เราจึงมองว่าภาพการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอาจเป็นเพียงปรากฏกาณณ์ชั่วคราว ซึ่งนั่นหมายถึงการแข็งค่าของเงินบาทที่กำลังเกิดขึ้นอยู่อาจดูร้อนแรงเกินไป

โดยถ้าจะให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นก็คือ ตัวเลขดุลการค้าที่กระทบการเคลื่อนไหวของเงินบาทโดยตรงในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ แสดงยอดเกินดุลการค้าสะสมอยู่เพียง 5.4 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นเพียง 29% ของยอดเกินดุลการค้าสะสมตลอดทั้งปีก่อนที่ 18.7 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในขณะที่เงินบาทช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้แข็งค่าขึ้นถึง 5.88% ซึ่งมากกว่าตลอดทั้งปีก่อนที่แข็งค่าขึ้น 3.95% จึงเป็นไปได้สูงที่ยอดเกินดุลการค้าสะสมตลอดทั้งปีนี้จะน้อยกว่าปีก่อน นั่นหมายถึง ความต้องการเงินบาทของผู้ส่งออกก็ควรจะน้อยกว่าปีก่อนด้วยเช่น

นอกจากนี้หากเทียบกันระหว่างตัวเลข GDP และค่าเงินบาทของประเทศไทย กับตัวเลข GDP และค่าเงินสิงคโปร์ดอลล่าร์ของสิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นประเทศที่กระแสเงินสามารถเคลื่อนย้ายเข้า-ออกได้อย่างเสรี และเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปีนี้ จะพบว่า ที่ระดับอัตราการเติบโตของ GDP ประมาณ 10.1% ค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาควรแข็งค่าขึ้นไม่เกิน 4.0% จึงจะถือว่าเหมาะสม

 

แหล่งที่มา: IMF, และ GBX

 แนวโน้มค่าเงินบาทมีโอกาศแข็งค่าขึ้นต่อ แต่อาจชะลอลงเมื่อเทียบกับภาวะปัจจุบัน: แนวโน้มเงินบาทหลังจากนี้ยังมีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง สาเหตุเพราะเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลง จากความกังวลที่ว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคการบริโภคของสหรัฐฯจะกลับไปย่ำแย่เหมือนครั้นวิกฤติซับไพร์ม (Double Dip Recession) โดยเราคาดการณ์กรอบการเคลื่อนไหวของ Dollar Index ในช่วงที่เหลือของปีไว้ที่ 69-88 จุด ซึ่งหมายความว่ายังมี Downside Risk จากระดับปัจจุบันที่ 83 จุดอยู่พอสมควร แต่เราเชื่อว่า อัตราการแข็งค่าของเงินบาทจะเริ่มชะลอตัวลงจากระดับ 5.88% ในช่วง 7 เดือนแรก เพราะ 1) เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วจะไปบั่นทอนความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยลงเรื่อยๆ ซึ่งจะทำให้ยอดเกินดุลการค้าสะสมของประเทศลดลงตามไปด้วย 2) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะเข้ามาควบคุมการเคลื่อนไหวอย่างเข้มงวดมากขึ้น หรืออาจยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อรอดูผลกระทบที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม เพราะอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางแห่งประเทศไทยอยู่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ 1.50-1.75% ซึ่งถือเป็นความห่างที่ค่อนข้างเหมาะสมเมื่อเทียบกับในอดีตแล้ว ขณะเดียวกัน ถ้าเทียบกับเป้าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของว่าที่ผู้ว่าการ ธปท. คนใหม่ที่มองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะขึ้นแตะ 2.00% ในปลายปีนี้ ก็เหลือ Upside การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียง 0.25% เท่านั้น ซึ่งไม่น่าจะจูงใจให้กระแสเงินหลั่งไหลเข้ามาเก็งกำไรในเงินบาทมากนัก 3) ตลาดหุ้นไทยยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางการเมืองที่พร้อมประทุขึ้นได้ตลอดเวลา กระแสเงินที่ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยส่วนใหญ่จึงเป็นกระแสเงินชั่วคราวที่พร้อมไหลออกกลับไปได้ทุกเมื่อเช่นกัน โดยเราคาดการณ์กรอบค่าเงินบาทในช่วงที่เหลือของปีไว้ที่ 30.50-33.00 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ และคาดการณ์ค่ากลางไว้ที่ 31.50 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ

 เมื่อผนวกแนวโน้มค่าเงินบาทกับแนวโน้มราคาทองคำ: ทาง บมจ. โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์ ยังคงเป้าการปรับขึ้นของราคาทองคำปลายปีไว้ที่ $1,350-1,400/Oz โดยแรงหนุนสำคัญอยู่ที่ การใช้ทองคำเป็นแหล่งพักเงินชั้นดี(Safe Haven), การอ่อนค่าลงของเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ, วัฏจักรขาขึ้นของราคาทองคำที่ยังไม่จบสิ้น, และปัจจัยทางด้านฤดูกาลที่เป็นช่วง High Season ของราคาทองคำ ซึ่งเมื่อคำนวณเป็นราคาทองคำในประเทศบนสมมติฐานค่าเงินบาทที่ 31.00 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 19,800 บาท/บาททอง ต่ำกว่าประมาณการในช่วงต้นปีที่ 21,400 บาท/บาททอง อยู่ 1,600 บาท/บาททอง โดยสาเหตุที่ต่ำกว่าก็เป็นผลมาจากการแข็งค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่องนั่นเอง ซึ่งในช่วงต้นปีที่ทำประมาณการนั้น ค่าเงินบาทอยู่ที่ 33.50 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทุกๆ 0.01 บาทจะทำให้ราคาทองคำในประเทศอ่อนตัวลงประมาณ 5 บาท/บาททอง

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณคะเสี่ย ช่วงนี้ค่าเงินบาทมีผลกับน้องทองมั่กมาก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ในช่วงที่ผ่านมา ผู้ที่ถือครองทองคำคงบอบช้ำกับการแข็งค่าของเงินบาทไม่มากก็น้อย เพราะการแข็งค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ได้ไปบั่นทอนการปรับขึ้นของราคาทองคำในประเทศ จนนักลงทุนบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า “ทำไมราคาทองคำโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ราคาทองคำในประเทศกลับไม่ยอมปรับตัวเพิ่มขึ้นตาม” หรือเกิดอาการงงๆว่า ราคาทองคำโลกฟื้นตัวกลับขึ้นมาแถวบริเวณที่เคยซื้อไป แต่ผลปรากฏว่ายังเกิดผลขาดทุนจากการลงทุนอยู่

ทั้งนี้ ถ้าพิจารณาแบบเผินๆ นักลงทุนในทองคำก็ควรจะพอใจกับการแข็งค่าของเงินบาทมากกว่าการอ่อนค่าของเงินบาท เพราะประเทศไทยไม่สามารถผลิตทองคำเพื่อรองรับกับความต้องการในประเทศได้อย่างพอเพียง การบริโภคทองคำส่วนใหญ่จึงต้องเป็นลักษณะของการนำเข้าทองคำจากต่างประเทศมากกว่า ดังนั้น การแข็งค่าของเงินบาทน่าจะส่งผลดีมากกว่าการอ่อนค่าของเงินบาท เพราะจะทำให้เราสามารถนำเข้าทองคำได้มากขึ้นโดยจ่ายเงินเท่าเดิม แต่เนื่องด้วย สถานะของทองคำในปัจจุบัน ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการลงทุนมากกว่าการใช้เพื่อนำไปผลิตเป็นเครื่องประดับ นักลงทุนส่วนใหญ่จึงพึงพอใจกับปรากฏการณ์อะไรก็ได้ที่ส่งผลบวกกับราคาทองคำในประเทศ ซึ่งการอ่อนค่าลงของเงินบาทที่ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าทองคำแพงขึ้น ถือเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่ทำให้นักลงทุนพึงพอใจ เพราะนั่นหมายถึง นักลงทุนจะได้กำไรจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคานั่นเอง

และเนื่องจาก การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเริ่มมีความผันผวนขึ้น และเริ่มส่งผลกระทบกับราคาทองคำในประเทศอย่างมีนัยสำคัญด้วยเช่นกัน เราจึงอยากนำเสนอมุมมองที่มีต่อค่าเงินบาทไว้ในบทความฉบับนี้

 

 ทำไมค่าเงินบาทจึงแข็งค่าขึ้นอย่างมากในระยะนี้: เรามองว่าสาเหตุที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงเป็นผลมาจาก 4 ปัจจัยด้วยกัน คือ

1) การกลับมาอ่อนค่าลงของเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ: จากผลของการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯในช่วงหลังที่ออกมาไม่สดใสต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภาคการผลิต(ดัชนีภาคการผลิตในนิวยอร์คเดือน ก.ค. อยู่ที่ 7.1 แม้จะมากกว่างวดก่อนที่ 5.1 แต่น้อยกว่าคาดการณ์ของโพลล์ที่ 7.5 ส่วนดัชนีภาคการผลิตในฟิลลาเดเฟียอยู่ที่ -7.7 แย่กว่างวดก่อนและคาดการณ์ของโพลล์ที่ 5.1 และ 7.5) ภาคการบริโภค(ค่าใช้จ่ายและได้ส่วนบุคคลเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 0.4% MoM และ 0.2% MoM ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ Conference Board ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน) ภาคแรงงาน(การจ้างงานนอกภาคเกษตรลดลง 131,000 คน แม้จะดีกว่างวดก่อนที่ลดลงถึง 221,000 คน แต่แย่กว่าโพลล์ที่คาดจะลดลง 65,000 คน) และภาคอสังหาริมทรัพย์(ยอดขายบ้านใหม่เดือน ก.ค. ลดลง 12.4% MoM และยอดขายบ้านมือสองลดลง 27.2% MoM) ซึ่งข้อมูลที่ออกมาแย่ได้ทำให้เกิดกระแสเงินสดส่วนเกินเกิดขึ้นทั่วโลก (Excess Fund Flow) โดยกระแสเงินส่วนใหญ่ได้หลั่งไหลออกจากการถือครองเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ ไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าอย่างตลาดหุ้นเอเชียที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งประเทศไทยก็ถือเป็นหนึ่งในนั้น จึงทำให้มีแรงซื้อเงินบาทเข้ามาอย่างหนาแน่น

2) แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.): นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 2 ครั้ง ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งที่ 5 (14 ก.ค. 53) และครั้งที่ 6 (25 ส.ค. 53) คราวละ 0.25% ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.75% ในปัจุบัน ซึ่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งติดต่อกันได้ส่งผลให้เงินบาทมีความน่าสนใจในการถือครองมากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นที่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่า ในขณะเดียวกัน ท่าทีของว่าที่ผู้ว่า ธปท. คนใหม่ที่มีแนวโน้มว่าจะใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดมากขึ้น จากการออกมาให้ความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 2.00% ภายในสิ้นปีนี้ ก็ยิ่งกระตุ้นให้เกิดจิตวิทยาเชิงบวกสำหรับการเข้าถือครองเงินบาท ทั้งในภาคของการเก็งกำไรที่มองว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆ และภาคของการส่งออกที่กลัวว่าจะนำเงินที่ได้รับจากการขายสินค้าในรูปของสกุลเงินต่างประเทศมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทได้น้อยลง

3) ข้อมูลทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ดี: โดยเฉพาะยอดเกินดุลการค้าสะสมในปีนี้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยเกินดุลการค้าไปแล้ว 5,437.90 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งยอดเกินดุลการค้าในรูปของเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯที่อยู่ในระดับสูง ได้ส่งผลให้มีแรงซื้อเงินบาทจากการแลกเงินของผู้ส่งออกเข้ามาเป็นจำนวนมาก

 

แหล่งที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย, รอยเตอร์, และ GBX

4) กระแสเงินไหลเข้าตลาดหุ้นไทยมากขึ้น: หลังจากสถานการณ์ทางการเมืองมีแนวโน้มผ่อนคลายลง ตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นล้าหลังกว่าตลาดหุ้นอื่นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ก็ได้รับความน่าสนใจในการลงทุนมากขึ้นเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นที่อยู่ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่เดียวกันทันที และถึงแม้ยอดซื้อขายสุทธิสะสมของนักลงทุนต่างประเทศในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-ก.ค. 53) จะยังแสดงเป็นยอดขายสุทธิอยู่ 10,448 ล้านบาท แต่ก็ถือว่าดีขึ้นเมื่อเทียบกับยอดขายสุทธิสะสมในช่วง 5 เดือนแรก(ม.ค.-พ.ค. 53) ที่ 20,302 ล้านบาท

 

แหล่งที่มา: รอยเตอร์, และ GBX

 เงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็นอันดับต้นๆของภูมิภาคเอเชีย แม้จะสมเหตุสมผลกับโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจไทย แต่ก็ดูร้อนแรงเกินไป: ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปแล้ว 5.88% ซึ่งหากเทียบกับค่าเงินของประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ถือว่าค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของภูมิภาค โดยเป็นรองเพียงแค่มาเลเซีย ริงกิต ของประเทศมาเลเซียที่แข็งค่าขึ้น 8.24% เท่านั้น ซึ่งการแข็งค่ามากมายขนาดนี้ ได้ก่อให้เกิดคำถามตามมาว่าสอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยที่พึ่งพิงการส่งออกเป็นหลักหรือไม่ ในขณะเดียวกัน ก็ถือเป็นบททดสอบสำคัญว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีมาตรการสกัดกั้นกระแสเงินที่เข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาท โดยไม่ให้กระทบกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นครั้นออกมาตรการ Capital Control เมื่อ 18 ธ.ค. 49 ได้อย่างไร

 

แหล่งที่มา: รอยเตอร์, และ GBX

ในมุมมองของเรา มีความเห็นว่า การแข็งค่าของเงินบาทที่เกิดขึ้นอยู่ ณ ปัจจุบัน ดูค่อนข้างสมเหตุสมผลเมื่อเทียบกับข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่ตัวเลข GDP ครึ่งปีแรกเติบโตในอัตราสูงถึง 10.1% YoY(ไตรมาส 1/2553 โต 12% YoY ไตรมาส 2 โต 9.1% YoY) แต่ถ้าพิจารณาในองค์ประกอบของ GDP พบว่า ภาคการบริโภคและการใช้จ่ายของภาครัฐเป็น 2 องค์ประกอบที่มีบทบาทในการผลักดันตัวเลข GDP ปีนี้อย่างมาก โดยในครึ่งปีแรก ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9.8% YoY และ 8.8% YoY ตามลำดับ ขณะที่ภาคการลงทุนของเอกชน (แม้จะปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 19.0% YoY แต่ถ้าพิจารณาในแง่ของตัวเงินก็ถือว่าอยู่ในระดับปกติเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา) และยอดการส่งออกสุทธิกลับไม่ได้หนุนการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ GDP มากนัก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงนี้มาจากปัจจัยในประเทศมากกว่านอกประเทศ ซึ่งถือว่าเป็น 2 ตัวแปรที่กำลังมีความอ่อนไหวและเปราะบางเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้น เราจึงมองว่าภาพการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอาจเป็นเพียงปรากฏกาณณ์ชั่วคราว ซึ่งนั่นหมายถึงการแข็งค่าของเงินบาทที่กำลังเกิดขึ้นอยู่อาจดูร้อนแรงเกินไป

โดยถ้าจะให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นก็คือ ตัวเลขดุลการค้าที่กระทบการเคลื่อนไหวของเงินบาทโดยตรงในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ แสดงยอดเกินดุลการค้าสะสมอยู่เพียง 5.4 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นเพียง 29% ของยอดเกินดุลการค้าสะสมตลอดทั้งปีก่อนที่ 18.7 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในขณะที่เงินบาทช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้แข็งค่าขึ้นถึง 5.88% ซึ่งมากกว่าตลอดทั้งปีก่อนที่แข็งค่าขึ้น 3.95% จึงเป็นไปได้สูงที่ยอดเกินดุลการค้าสะสมตลอดทั้งปีนี้จะน้อยกว่าปีก่อน นั่นหมายถึง ความต้องการเงินบาทของผู้ส่งออกก็ควรจะน้อยกว่าปีก่อนด้วยเช่น

นอกจากนี้หากเทียบกันระหว่างตัวเลข GDP และค่าเงินบาทของประเทศไทย กับตัวเลข GDP และค่าเงินสิงคโปร์ดอลล่าร์ของสิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นประเทศที่กระแสเงินสามารถเคลื่อนย้ายเข้า-ออกได้อย่างเสรี และเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปีนี้ จะพบว่า ที่ระดับอัตราการเติบโตของ GDP ประมาณ 10.1% ค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาควรแข็งค่าขึ้นไม่เกิน 4.0% จึงจะถือว่าเหมาะสม

 

แหล่งที่มา: IMF, และ GBX

 แนวโน้มค่าเงินบาทมีโอกาศแข็งค่าขึ้นต่อ แต่อาจชะลอลงเมื่อเทียบกับภาวะปัจจุบัน: แนวโน้มเงินบาทหลังจากนี้ยังมีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง สาเหตุเพราะเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลง จากความกังวลที่ว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคการบริโภคของสหรัฐฯจะกลับไปย่ำแย่เหมือนครั้นวิกฤติซับไพร์ม (Double Dip Recession) โดยเราคาดการณ์กรอบการเคลื่อนไหวของ Dollar Index ในช่วงที่เหลือของปีไว้ที่ 69-88 จุด ซึ่งหมายความว่ายังมี Downside Risk จากระดับปัจจุบันที่ 83 จุดอยู่พอสมควร แต่เราเชื่อว่า อัตราการแข็งค่าของเงินบาทจะเริ่มชะลอตัวลงจากระดับ 5.88% ในช่วง 7 เดือนแรก เพราะ 1) เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วจะไปบั่นทอนความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยลงเรื่อยๆ ซึ่งจะทำให้ยอดเกินดุลการค้าสะสมของประเทศลดลงตามไปด้วย 2) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะเข้ามาควบคุมการเคลื่อนไหวอย่างเข้มงวดมากขึ้น หรืออาจยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อรอดูผลกระทบที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม เพราะอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางแห่งประเทศไทยอยู่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ 1.50-1.75% ซึ่งถือเป็นความห่างที่ค่อนข้างเหมาะสมเมื่อเทียบกับในอดีตแล้ว ขณะเดียวกัน ถ้าเทียบกับเป้าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของว่าที่ผู้ว่าการ ธปท. คนใหม่ที่มองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะขึ้นแตะ 2.00% ในปลายปีนี้ ก็เหลือ Upside การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียง 0.25% เท่านั้น ซึ่งไม่น่าจะจูงใจให้กระแสเงินหลั่งไหลเข้ามาเก็งกำไรในเงินบาทมากนัก 3) ตลาดหุ้นไทยยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางการเมืองที่พร้อมประทุขึ้นได้ตลอดเวลา กระแสเงินที่ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยส่วนใหญ่จึงเป็นกระแสเงินชั่วคราวที่พร้อมไหลออกกลับไปได้ทุกเมื่อเช่นกัน โดยเราคาดการณ์กรอบค่าเงินบาทในช่วงที่เหลือของปีไว้ที่ 30.50-33.00 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ และคาดการณ์ค่ากลางไว้ที่ 31.50 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ

 เมื่อผนวกแนวโน้มค่าเงินบาทกับแนวโน้มราคาทองคำ: ทาง บมจ. โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์ ยังคงเป้าการปรับขึ้นของราคาทองคำปลายปีไว้ที่ $1,350-1,400/Oz โดยแรงหนุนสำคัญอยู่ที่ การใช้ทองคำเป็นแหล่งพักเงินชั้นดี(Safe Haven), การอ่อนค่าลงของเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ, วัฏจักรขาขึ้นของราคาทองคำที่ยังไม่จบสิ้น, และปัจจัยทางด้านฤดูกาลที่เป็นช่วง High Season ของราคาทองคำ ซึ่งเมื่อคำนวณเป็นราคาทองคำในประเทศบนสมมติฐานค่าเงินบาทที่ 31.00 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 19,800 บาท/บาททอง ต่ำกว่าประมาณการในช่วงต้นปีที่ 21,400 บาท/บาททอง อยู่ 1,600 บาท/บาททอง โดยสาเหตุที่ต่ำกว่าก็เป็นผลมาจากการแข็งค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่องนั่นเอง ซึ่งในช่วงต้นปีที่ทำประมาณการนั้น ค่าเงินบาทอยู่ที่ 33.50 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทุกๆ 0.01 บาทจะทำให้ราคาทองคำในประเทศอ่อนตัวลงประมาณ 5 บาท/บาททอง

 

แปะไว้ก่อน 1 แต้มค่ะ..วันนี้หมดโควตา เพราะแจกเพลิน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กลยุทธ์ โอกาสอ่อนตัวยังมี เพราะแพงไปเมื่อเทียบกับDollar และสินทรัพย์เสี่ยงฟื้นตัว

 

สรุปภาพรวมตลาดวานนี้ ราคาทองคำโลกปิดปรับตัวลดลง $3.30/Oz มาอยู่ที่ $1,242.35 (จุดต่ำสุด-สูงสุดในรอบสัปดาห์อยู่ที่ $1,242.43-1,254.45/Oz) โดยถูกกดดันจากแรงขายทำกำไรหลังจากราคาทะยานขึ้นแรงในวันก่อนหน้า และการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของราคาสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ (หุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มขึ้น 2-3%) หลังจีน ออสเตรเลีย ยุโรป และสหรัฐฯเปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจโดยรวมออกมาสดใส โดยในฝั่งของจีนเปิดเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตเพิ่มขึ้น 51.7 จุด มากกว่างวดก่อนที่ 51.2 จุด ขณะที่ ดัชนีเดียวกันที่จัดทำโดย HSBC เพิ่มขึ้นเป็น 51.9 จุด มากกว่างวดที่ 49.4 จุด ในฝั่งของออสเตรเลียเปิดเผยตัวเลข GDP ไตรมาส 2/2553 เพิ่มขึ้น 1.2% QoQ มากกว่างวดก่อนที่ 0.7% QoQ ในฝั่งยุโรปเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 55.1 จุด มากกว่างวดก่อนที่ 55.0 จุด ส่วนในฝั่งของสหรัฐฯ แม้ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของ ADP จะลดลง 10,000 คน แย่กว่างวดก่อนที่เพิ่มขึ้น 37,000 คน แต่นักลงทุนให้น้ำหนักกับดัชนี ISM ภาคการผลิตที่ออกมาดีมากกว่า โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 56.3 จุด มากกว่างวดก่อนที่ 55.5 จุด อย่างไรก็ตาม การปรับตัวลงของราคาทองคำเป็นไปอย่างจำกัด โดยปรับตัวลดลงเพียง 0.26% เมื่อเทียบกับวันก่อนหน้า เพราะยังได้แรงหนุนจากปัจจัยทางด้านฤดูกาลที่กำลังเข้าสู่ช่วง High Season, การอ่อนค่าลงของเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯกว่า 0.82% เมื่อเทียบกับวันก่อนหน้า, และการเพิ่มสถานะถือครองทองคำของ SPDR เป็นวันที่ 2 ติดต่อกันอีก 1.52 ตัน มาอยู่ที่ 1,304.03 ตัน ซึ่งปัจจัยหนุนทั้ง 3 สิ่งดังกล่าว ได้ทำให้นักลงทุนต้องการถือครองทองคำอย่างต่อเนื่อง

 

แนวโน้มตลาดวันนี้ เราคาดว่าราคาทองคำจะพักฐานลงต่อเนื่องในวันนี้ หลังราคาสินทรัพย์เสี่ยงมีการฟื้นตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นไปได้ว่ากระแสเงินจะไหลออกจาก Safe Haven เข้าไปเก็งกำไรในสินทรัพย์เสี่ยงชั่วคราว ขณะที่ การประชุมธนาคารกลางยุโรปในช่วงเย็น และการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯในช่วงกลางคืน น่าจะช่วยเพิ่มความต่อเนื่องในการฟื้นตัวของสินทรัพย์เสี่ยงได้ เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ไม่ได้คาดหวังกับการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจในวันนี้มากนัก โดยสหรัฐฯจะเปิดเผย 1) ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ โพลล์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 475,000 คน มากกว่างวดก่อนที่ 473,000 คน 2) ประสิทธิภาพการผลิตนอกภาคเกษตร โพลล์คาดว่าจะลดลงอีก 1.6% QoQ แย่กว่างวดก่อนที่ -0.9% QoQ 3) ยอดขายบ้านรอปิดการขาย โพลล์คาดว่าจะทรงตัว ซึ่งดีกว่างวดก่อนที่ -2.6% MoM ขณะที่ ในส่วนของภาพทางเทคนิค ให้พิจารณาที่ราคาปิดคืนนี้เป็นหลัก หากไม่สามารถยืนเหนือระดับ $1,245/Oz ได้ ภาพการพักฐานระยะสั้นจะชัดเจนมากขึ้น แต่ถ้ายังสามารถเลี้ยงตัวเหนือระดับดังกล่าวได้ต่อเนื่อง ราคาจะดีดตัวขึ้นต่อเพื่อทดสอบจุดสูงสุดเดิมแถวบริเวณ $1,260/Oz ทันที ในมุมมองของเราเชื่อว่า การปรับขึ้นของราคาทองคำในระยะนี้จะเป็นระลอกสุดท้ายก่อนที่จะพักตัวอย่างมีนัยสำคัญเพื่อปรับตัวขึ้นต่อในลำดับถัดไป เพราะดัชนีบ่งชี้อยู่ในเขตซื้อมากเกินไปอย่างเต็มตัว ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ระหว่างราคาทองคำและ Dollar Index ที่สะท้อนว่า Upside ของราคาทองคำในช่วงสั้นค่อนข้างจำกัดที่ระดับ $1,252/Oz ในขณะที่ Downside ค่อนข้างเปิดกว้างที่ระดับ $1,210-1,227/Oz มุมมองจึงยังคงเดิมคือเน้นยืนข้างขายเป็นหลัก

 

ปัจจัยที่กระทบช่วงเช้า ให้น้ำหนักเป็นบวก โดยปัจจัยบวกได้แก่ 1) ราคาน้ำมันดิบ Brent เช้านี้ทรงตัวที่ $75.80/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ NYMEX เมื่อคืนปิดเพิ่มขึ้น $1.99/บาร์เรล มาอยู่ที่ $73.91/บาร์เรล 2) SPDR Gold Trust เพิ่มสถานะถือครองทองคำเป็นวันที่ 2 ติดต่อกันอีก 1.52 ตันมาอยู่ที่ 1,304.03 ตัน ส่วนปัจจัยลบได้แก่ 1)อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8 bps. ทำให้ทองคำมีได้รับความน่าสนใจในการถือครองด้วยคุณสมบัติ Safe Haven น้อยลงเมื่อเทียบกับการถือครองพันธบัตรสหรัฐฯ 2) Dollar Index เคลื่อนไหวทรงตัวที่ 82.53 จุด ทำให้ทองคำได้รับความน่าสนใจในการเก็งกำไรด้วยความสัมพันธ์ที่ผกผันกันน้อยลง

 

นักลงทุนระยะสั้น(เล่น 1-2 วัน) ยังแนะนำขายหรือ Short GF เพราะ Upside จำกัด คาดกรอบที่ $1,235 - 1,255/Oz หรือ 18,200 - 18,500 บาท/บาททอง

นักลงทุนระยะกลาง-ยาว ซื้อต้นสัปดาห์ขายปลายสัปดาห์ คาดกรอบ $1,210-1,250/Oz หรือ 17,950-18,550 บาท/บาททอง ส่วนระยะยาวสำหรับการลงทุนระดับเดือน แนะนำให้ถือต่อไป โดยขยับจุดถอยขึ้นเป็นที่ $1,160/Oz

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แปะไว้ก่อน 1 แต้มค่ะ..วันนี้หมดโควตา เพราะแจกเพลิน

 

 

 

อย่าลืมนะครับบบบ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ

 

เมื่อวานเพิ่งฟังเสี่ยไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณครับ

 

เมื่อวานเพิ่งฟังเสี่ยไป

 

 

 

กลางวันหรือกลางคืนครับ แต่ไม่ว่าเวลาไหนก็ยังมองคล้ายกันอยู่ครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ติดคะแนนไว้เหมือนกันค่ะ พรุ่งนี้จะเก็บไว้ให้เสี่ยจ้า :)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แปะไว้ก่อนเหมือนกันค่ะโควต้าคะแนนหมด ขอบคุณค่ะ :D :D :D

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...