ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

http://kingworldnews...cked_Bonds.html

 

ยูโรบอนด์ - คิว อี สาม

 

ที่สำคัญคือไม่รู้ว่าจะมีทองเหลือมาค้ำ bond หรือเปล่า

 

 

The Greek/B.I.S. Currency Gold Swap

 

 

 

6 months ago we informed readers that Greece, Italy, Portugal, and Spain’s gold reserves would be grabbed prior to the end of the PIIGS’ debt crisis.

It appears we were 100% correct on the outcome, and 100% wrong on the timing.

The BIS HAD ALREADY GRABBED THE GOLD WITH CURRENCY SWAPS PRIOR TO ANY OFFICIAL BAILOUT DISCUSSIONS!!!

 

 

The Bank of International Settlement holds 500.7 tonnes of gold as at the end of 2010. In the third quarter of 2009 it held just under 120 tonnes. These were part of currency/gold swaps. There are no details of the names of the counter-parties. Coincidentally, they could be nearly the total of the ‘official’ gold holdings of Greece, Portugal and Spain.

In the first quarter of 2010 the B.I.S. recorded the jump in gold holdings that it had acquired. Four years prior to that Portugal and Spain had sold gold through the Central Bank Gold Agreement on the open market. So we do not link sales under that agreement with these B.I.S. transactions.

The B.I.S. acquired this gold though a set of Currency / Gold arrangements the details of which have not been made public. But it was at about this time that the Eurozone debt crisis reared its ugly head. In advance of any rescue plans, when the respective central banks probably first began discussions on the matter it would have been deemed prudent to make a collateral arrangement using the asset of last resort, gold, to secure their gold against any future bailout package being offered.

While a swap arrangement is not a sale of gold nor is it a disposal, it is sufficient for the B.I.S. to record the gold swapped as an acquisition in its books. But the central banks involved need not record its disposal, giving us a rather clandestine situation.

Read more:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันที่ 4 มิถุนายน 2555 04:00 news_img_ceo_6.jpg ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ คอลัมนิสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเศรษฐกิจ คอลัมน์ "เศรษฐศาสตร์จานร้อน" จำนวนคนอ่าน 56 คน

ผลกระทบจากวิกฤติของกรีซต่อเศรษฐกิจเอเชีย

 

โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

news_img_454781_1.jpg

 

แบงก์ออฟอเมริกาเมอร์ริล ลินช์ (BOAML) ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร ได้ตีพิมพ์บทวิเคราะห์ 2 ฉบับ

ที่ ผมเห็นว่าน่าจะเป็น ประโยชน์ในการให้ทัศนะเกี่ยวกับวิกฤติของกรีซและผลกระทบต่อเศรษฐกิจเอเชีย ผมจึงขอนำมาสรุปให้อ่านกันในวันนี้ครับ

 

บทวิเคราะห์ฉบับแรกประเมินว่าผลการเลือกตั้งของกรีซที่จะมีขึ้นในวันที่ 17 มิ.ย.นั้น น่าจะนำไปสู่ ทางออกได้ 3 ทาง คือ

 

1. กรีซยังสามารถอยู่ในระบบเงินยูโรได้ต่อไป ซึ่งเป็นทางออกที่ BOAML มองว่ามีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด ทั้งนี้ จะต้องมีการผ่อนปรนเงื่อนไขในการรัดเข็มขัดทางการคลังให้กับกรีซบ้างในระดับ หนึ่งและจะต้องกระทำอย่างรวดเร็ว เพื่อนำความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมาโดยเร็ว การคาดการณ์ดังกล่าวต้องยอมรับว่าเป็นการคาดการณ์ที่มองโลกในแง่ดีอย่างยิ่ง เพราะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การดำเนินนโยบายของผู้นำยุโรปนั้นขาดความชัดเจนและเด็ดขาดในการจัดการปัญหา อย่างเบ็ดเสร็จ (แต่จะดำเนินมาตรการเฉพาะหน้าเพื่อซื้อเวลา) ซึ่งถ้าสถานการณ์พัฒนาไปอย่างราบรื่นดังกล่าวข้างต้น เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปก็จะหดตัวเพียง 0.5% ในปีนี้ และจะฟื้นตัวได้ในปีหน้าและปีต่อๆ ไป

 

2. กรีซออกจากระบบเงินยูโรแต่ยังสามารถรักษาเสถียรภาพเอาไว้ได้ ในกรณีนี้จะต้องมีการออกมาตรการเพื่อปกป้องมิให้เกิดผลกระทบลุกลามไปสู่ ประเทศอื่นๆ อย่างเต็มที่และทันท่วงที หมายความว่า จะต้องมีออกมาตรการที่เหนือความคาดหมายและสร้างความมั่นใจอย่างสูงเช่น

 

ก. ทั้ง 16 ประเทศที่เหลือในระบบเงินยูโรประกาศสนับสนุนให้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซื้อพันธบัตรรัฐบาลทุกประเทศที่อาจมีปัญหาอย่างไม่มีข้อจำกัด

 

ข. ประกาศค้ำประกันเงินฝากทั้งระบบโดยไม่จำกัดจำนวน

 

ค. เพิ่มทุนธนาคารพาณิชย์ของยุโรปอย่างครบถ้วนทั้งระบบตามความจำเป็น

 

ง. อีซีบีปล่อยกู้ระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่องของระบบธนาคาร (LTRO) ในจำนวนที่ไม่จำกัดเป็นรอบที่ 3

 

จ. การดำเนินการอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลกลุ่มยูโรที่จะออกพันธบัตรยูโรร่วมกัน (Eurobond) กล่าวคือ ทุกรัฐบาลร่วมกันค้ำประกันพันธมิตรยูโร แปลว่าในทางปฏิบัติรัฐบาลเยอรมนีจะช่วยร่วมค้ำประกันหนี้ให้กับรัฐบาลสเปน เป็นต้น

 

ฉ. อีซีบีจะต้องลดดอกเบี้ยลงและสัญญาว่าจะกดดอกเบี้ยลงอีกนาน

 

ในกรณีดังกล่าว BOAML มองว่าเศรษฐกิจยุโรปจะหดตัวประมาณ 1.5% แต่ทั้งนี้ จะต้องดำเนินมาตรการข้างต้นโดยทันที

 

3. กรีซออกจากกลุ่มเงินยูโรและผลกระทบลุกลามออกไป จะเป็นกรณีที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งเกิดจากการดำเนินมาตรการไม่ครบถ้วนดังที่กล่าวข้างต้น (กรณี 2) หรือดำเนินการล่าช้าไป 2-3 เดือน ทั้งนี้ BOAML มองว่าผลกระทบในกรณีเลวร้ายนี้จะไม่รุนแรงเช่นที่เกิดขึ้นหลังการล่มสลายของ เลแมน บราเธอร์ส แต่ความตกต่ำอาจยืดเยื้อยาวนานกว่า เพราะในครั้งนั้น ธนาคารกลางและรัฐบาลทั่วโลกสามารถออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและปรับสภาพ คล่องได้อย่างรวดเร็วและพร้อมเพรียงกัน ในกรณีเลวร้ายนี้ BOAML มองว่าอีซีบีจะสามารถซื้อพันธบัตรรัฐบาลอย่างไม่มีข้อจำกัด (ข้อ ก.ในกรณี 2) และปล่อยกู้ระยะสั้น (LTRO III) ได้อย่างฉับพลัน แต่รัฐบาลกลุ่มยูโรไม่สามารถตกลงกันเพื่อออกมาตรการอื่นๆ ได้อย่างทันท่วงที เช่น การค้ำประกันเงินฝากทั้งระบบและการเพิ่มทุนธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบทำให้ระบบ การธนาคารเผชิญกับความชะงักงัน ซึ่ง BOAML มองว่าจะฉุดให้เศรษฐกิจยุโรปติดลบมากถึง 4%

 

ทีมเศรษฐกิจของ BOAML ได้ปรับการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ลงโดยสะท้อนความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในยุโรป ประกอบ กับความเป็นห่วงที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความเสี่ยงที่สหรัฐอาจไม่ต่อ อายุมาตรการลดภาษีที่จะหมดอายุลงในปีนี้ (เรื่องนี้ผมเคยเขียนถึงแล้วเมื่อวันที่ 14 พ.ค.) หรือที่เรียกกันว่า Fiscal Cliff นอกจากนั้น ก็ยังมีความกังวลเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ทำให้ BOAML ปรับลดการขยายตัวของเอเชียลงจาก 7.1% ในปีนี้เป็น 6.6% และปี 2013 ปรับลงจาก 7.4% เป็น 7% (ตาราง 1)

 

การปรับเปลี่ยนการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจในรายละเอียดของแต่ละประเทศนั้นมี ข้อน่าสังเกต 3 ประการ คือ

 

1. ประเทศเล็กที่มีเศรษฐกิจเปิด เช่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ สิงคโปร์และไต้หวันจะได้รับผลกระทบมากที่สุด

 

2. ประเทศที่มิได้ปรับการคาดการณ์หรือปรับการคาดการณ์เล็กน้อย คือ ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซียและอินโดนีเซีย

 

3. ประเทศเสาหลักในเอเชีย คือ จีน อินเดียและอินโดนีเซียดูเสมือนว่าจะยังขยายตัวได้ดีมาก แต่ผมเองเป็นห่วงเป็นการส่วนตัวว่าทั้ง 3 ประเทศดังกล่าวอาจได้รับผลกระทบในทางลบ มากกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ก็ได้

 

ส่วน ปัญหาเงินเฟ้อนั้น มีความกังวลลดลง คือ เงินเฟ้อในเอเชียจะอยู่ที่ระดับ 3.9% ในปี 2012 และ 3.7% ในปี 2013 (สำหรับไทยคาดว่าจะอยู่ที่ 3.4% ในปี 2012 และ 3.0% ในปี 2013) ประเทศที่ยังน่าจะมีความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ คือ อินเดียที่เงินเฟ้อจะยังสูงถึง 7.6% ในปี 2012 และ 6.5% ในปี 2013 และอินโดนีเซียที่คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 4.7% ในปี 2012 และ 5.5% ในปี 2013 โดยรวมนั้น BOAML จึงมองว่าดอกเบี้ยจึงจะไม่ต้องปรับขึ้นหรือลง สำหรับประเทศส่วนใหญ่ แต่อาจมีการปรับดอกเบี้ยลงในเกาหลีและอินเดียในปี 2012

 

ในกรณีที่เลวร้าย คือ กรีซออกจากเงินสกุลยูโรและเกิดผลกระทบลามออกไป รวมทั้งสหรัฐเกิด Fiscal Clift BOAML มองว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียจะปรับลดลงอย่างมาก (ตาราง 2)

http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/supavut/20120604/454781/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2.html

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Fiscal Cliff

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วันที่ 14 พฤษภาคม 2555 04:00 news_img_ceo_6.jpg ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ คอลัมนิสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเศรษฐกิจ คอลัมน์ "เศรษฐศาสตร์จานร้อน" จำนวนคนอ่าน 2104 คน

ปัญหานโยบายการคลังของสหรัฐ

 

เมื่อ พูดถึงปัญหา นโยบายการคลังเรามักจะนึกถึงประเทศในกลุ่มผู้ใช้เงินยูโร โดยเฉพาะกรีกซึ่งยังไม่สามารถตั้งรัฐบาลผสม เพื่อสานต่อนโยบายรัดเข็มขัด

 

ทาง การคลังเพื่อแลกกับ เงินช่วยเหลือจาก Troika (ไอเอ็มเอฟ+สหภาพยุโรป+ธนาคารกลางยุโรป) ได้ ขณะนี้หลายฝ่ายจึงกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่ากรีกจะต้องเลือกตั้ง อีกหรือไม่และหากเลือกตั้งอีกครั้งประชาชนจะ “เสียงแตก” หรือจะมอบอำนาจให้ตั้งรัฐบาลผสมที่จะสานต่อนโยบายเดิมหรือไม่ ฝ่ายที่มองโลกในแง่ดีเชื่อว่าประชาชนกรีก 70% ต้องการจะอยู่ในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโรเช่นปัจจุบัน แม้จะต้องเผชิญกับความตกต่ำทางเศรษฐกิจที่ต้องแลกมากับการต้องรัดเข็มขัดทาง การคลังเพิ่มขึ้นไปอีก

 

แม้ ว่ากรีกจะเป็นประเทศเล็กแต่หากต้องถูกออกจากกลุ่มผู้ใช้เงินสกุลยูโร ก็เกรงว่าจะทำให้เกิดการความกังวลว่าประเทศอื่นๆ เช่น โปรตุเกสและสเปนก็อาจต้องตกอยู่ในสภาวะเดียวกับกรีกเป็นรายต่อไป ซึ่งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของยุโรปและเศรษฐกิจโลก

 

หลาย คนอาจมองว่าสหรัฐมีความแตกต่างจากยุโรปเพราะไม่มีปัญหาความขัดแย้ง ทางนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ตรงกันข้ามผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐนายเบอร์นันเก้ตอกย้ำเสมอว่าหากเศรษฐกิจ สะดุดตัวลงเมื่อใด เขาก็พร้อมที่จะพิมพ์เงินใส่เข้าไปในระบบเพิ่ม โดยมาตรการที่นักลงทุนเฝ้ารอคอยอยู่คือการพิมพ์เงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลรอบ ที่ 3 (QE3) ซึ่งผลในทางปฏิบัติคือกดดอกเบี้ยระยะสั้นและดอกเบี้ยระยะยาวให้ต่ำติดดิน เพื่อให้รัฐบาลกู้เงินเพิ่มได้อย่างสะดวก (ในช่วง 4 ปีของรัฐบาลโอบามา รัฐบาลกลางสหรัฐขาดดุลงบประมาณปีละ 8-10% ของจีดีพี)

นอก จากนั้นนายเบอร์นันเก้บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าการกดดอกเบี้ยให้ต่ำติดดิน ทั้งระบบนั้นเพื่อกดดันให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนต่ำจากการลงทุนในสินทรัพย์ ที่ปลอดภัย (เช่นพันธบัตรรัฐบาล) จนต้องหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่นการซื้อหุ้นและการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยนายเบอร์นันเก้มองว่านโยบายการเงินที่สุดโต่งเช่นนี้จะช่วยให้เศรษฐกิจ สหรัฐฟื้นตัวได้ ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจขยายตัวและแข็งแกร่งขึ้นแล้ว สหรัฐก็จะมีศักยภาพในการจัดการกับปัญหาหนี้สาธารณะในโอกาสต่อไป (อีก 2-3 ปีข้างหน้า)

 

นโยบาย “ซื้อเวลา” และ "กระตุ้นก่อน-จ่ายทีหลัง" นี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับนโยบายของยุโรปที่ถูกกำกับโดยนายกรัฐมนตรีแอ งเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนีที่ยึดหลักการ “ไม่ซื้อเวลา” และ “ต้องรัดเข็มขัด+ปฏิรูปเศรษฐกิจทันที” เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือเป็นงวดๆ จึงเป็นเรื่อง ที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่าเมื่อเวลาผ่านไปสัก 10 ปีแล้วน่าจะสามารถมองย้อนหลังกลับมาดูได้ว่าแนวคิดของฝ่ายใดถูกต้องระหว่าง ยุโรปกับสหรัฐ

 

แต่การดำเนิน นโยบายเศรษฐกิจมหภาคของสหรัฐนั้นก็ใช่ว่าจะราบรื่นไปทั้งหมด ปัจจุบันตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่ดีวันดีคืนเริ่มอ่อนตัวลง (เช่น การจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นเพียง 115,000 ตำแหน่ง เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 160,000 ตำแหน่ง) แต่นักลงทุน (ในตลาดหุ้น) บ่นว่าตัวเลขไม่ดีมากแต่ก็ไม่ย่ำแย่จนจะทำให้นายเบอร์นันเก้ต้องประกาศใช้ QE3 ออกมากระตุ้น จึงกำเนิดศัพท์ใหม่ “bad Goldilocks” กล่าวคือนิทานเรื่อง Goldilocks นั้นสะท้อนความรู้สึกของเด็กผู้หญิงที่หลงป่าและเข้าไปพักพิงในบ้านของครอบ ครัวหมีและพบว่าทุกอย่างของลูกหมีนั้นมีความพอดีคือไม่แข็งเกินไปหรืออ่อน เกินไปและไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป จึงนำมาสู่คำศัพท์ที่ใช้กันในหมู่นักลงทุนว่าหากเศรษฐกิจมีลักษณะ Goldilocks ก็หมายความว่าเป็นเศรษฐกิจที่มีความพอดีไม่ร้อนแรงเกินไปจนต้องเป็นห่วงว่า ธนาคารกลางจะปรับดอกเบี้ยขึ้น แต่ก็ไม่เย็นเกินไปคือเศรษฐกิจไม่ได้ขยายตัวอย่างเชื่องช้าจนกระทั่งทำมาหา กินฝืดเคือง แต่ในสภาวการณ์ปัจจุบันที่เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างเชื่องช้าและกระท่อนกระแท่น นักลงทุนก็มุ่งหวังแต่จะให้นายเบอร์นันเก้จ่ายยาโด๊ป กระตุ้นเศรษฐกิจให้กระเตื้องขึ้นจึงเกิดการรอคอยให้ตัวเลขเศรษฐกิจย่ำแย่จน กระทั่งนายเบอร์นันเก้ต้องยอมออกมาตรการ QE3 จึงเกิดสำนวนใหม่คือ bad Goldilocks หมายความว่าเศรษฐกิจไม่ร้อนแต่ก็ไม่เย็นชาเพียงพอที่จะกระตุ้นให้นายเบอร์ นันเก้ออกมาตรการกระตุ้น ถือได้ว่าเป็นยุคใหม่ที่นายธนาคารกลางถูกมองว่าเป็นเจ้ามือตลาดหุ้นทั่วโลก

 

นอกจากปัญหา bad Goldilocks แล้วนัก ลงทุนก็กำลังเพิ่มความกังวลว่านักการเมืองสหรัฐอาจไม่สามารถหาข้อ ตกลงกันเรื่องมาตรการภาษีต่างๆ ภายในสิ้นปีนี้ ทำให้ประชาชนต้องมีภาระภาษีเพิ่มขึ้นเพราะมาตรการลดภาษีชั่วคราวจะหมดอายุลง โดยประชาชนต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น 470,000 ล้านดอลลาร์ มาตรการช่วยเหลือผู้ว่างงานอื่นๆ ที่จะหมดอายุลงอีก 100,000 ล้านดอลลาร์และการลดรายจ่ายภาครัฐตามเงื่อนไขที่กำหนดเอาไว้ในปีก่อนอีก 150,000 ล้านดอลลาร์ หากนักการเมืองสหรัฐไม่สามารถหาข้อยุติได้อย่างรวดเร็วหลังการเลือกตั้ง เสร็จสิ้นลงในเดือนพฤศจิกายนนี้ ทำให้ไม่สามารถผ่านกฎหมายเพื่อขยายเวลามาตรการต่างๆ ข้างต้น ประชาชนสหรัฐจะต้องเผชิญกับภาระภาษีที่เพิ่มขึ้นและการใช้จ่ายของภาครัฐที่ ลดลงสูงถึง 720,000 ล้านดอลลาร์หรือ 4.6% ของจีดีพี ซึ่งถือว่าเป็นเม็ดเงินที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจสหรัฐที่จะขยาย ตัว 2% หากมีการช่วยเหลือด้านภาษีและรายจ่ายต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ทำให้เปรียบเปรยประเด็นด้านการคลังดังกล่าวว่าเป็น fiscal cliff หรือความเสี่ยงว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจตกหน้าผาทางการคลังได้ในปี 2013 หากนักการเมืองสหรัฐไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงที ในขณะที่ความเห็นยังแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งมองว่านักการเมืองจะหันหน้าเข้าหากันเพื่อแก้ปัญหาให้ได้ในที่ สุด เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะทางเศรษฐกิจ แต่อีกฝ่ายกลัวว่าความแบ่งแยกทางการเมืองของสหรัฐที่นับวันจะทำให้เกิดความ ชะงักงันในการดำเนินนโยบาย (gridlock) ได้เพิ่มความเสี่ยงอย่างมากว่านักการเมืองจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างทัน ท่วงทีคือต้องปล่อยให้ความเสียหายทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นก่อนจึงจะลงมือแก้ ปัญหาร่วมกันอย่างจริงจัง

 

ประเด็น ที่น่าสนใจที่สุดคือการวิเคราะห์ของนาย Donald Luskin ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุนของ Trend Macrolytics ที่ปรากฏใน Wall Street Journal (7 พฤษภาคม 2012) โดยนาย Luskin ฟันธงว่าการไม่ต่ออายุภาษีเงินปันผลและภาษีกำไรจากสินทรัพย์ เช่น หุ้นและพันธบัตร (capital gain tax) อาจทำให้ราคาหุ้นต้องปรับตัวลง 30% โดยยกตัวอย่างหุ้น ก. ที่ปัจจุบันราคา 100 ดอลลาร์และจ่ายเงินปันผล 10 ดอลลาร์ต่อปีทำให้ผู้ถือหุ้นมีผลตอบแทน 8.50 ดอลลาร์หลังหักภาษี 15% แต่เมื่อพ้นปีนี้ไปแล้วภาษีเงินปันผลจะเพิ่มขึ้นจาก 15% เป็น 39.6% ตามเดิม นอกจากนั้นประธานาธิบดีโอบามายังจะเก็บภาษีเงินปันผลเพิ่มอีก 3.8% เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้ภาษีเงินปันผลเพิ่มขึ้นเป็น 43.3% ตั้งแต่ 1 มกราคม 2013 เป็นต้นไป

 

นัก ลงทุนที่ถือหุ้น ก. ที่เคยได้รับปันผล 8.50 ดอลลาร์ต่อปีจะลดลงเหลือเพียง 5.66 ดอลลาร์ต่อปี หากนักลงทุนยังต้องการผลตอบแทนในอัตราเท่าเดิม สิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นคือราคาหุ้นจะต้องปรับตัวลงจาก 100 ดอลลาร์เหลือ 66.6 ดอลลาร์ (หรือลดลง 33.4%) เงินปันผลที่ได้รับ (5.66 ดอลลาร์หลังเสียภาษี) จึงจะคิดเป็นสัดส่วนเท่ากับ 8.5% ของราคาหุ้น จริงอยู่ผู้ถือหุ้นบางประเภท เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับยกเว้นภาษีเงินปันผลและผู้ถือหุ้นบางคนก็อาจไม่ ได้เน้นการถือหุ้นเพื่อรับเงินปันผล นอกจากนั้นอัตราภาษีดังกล่าวยังเป็นอัตราภาษีที่จะเก็บจากคนรวย ดังนั้นคนที่มีรายได้น้อยจะไม่ต้องเสียภาษีเงินปันผลที่อัตราสูงดังกล่าว แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าคนที่ถือหุ้นจำนวนมากคือคนรวยและมีความเป็นไปได้ น้อยมากที่ประธานาธิบดีโอบามาและพรรคเดโมแครตจะยอมต่ออายุมาตรการลดภาษีเงิน ปันผลที่จะให้ประโยชน์ส่วนใหญ่ตกกับคนที่มีรายได้สูงอยู่แล้ว

 

ใน ทำนองเดียวกันอัตราภาษีที่เก็บจากราคาหุ้นและพันธบัตรที่ปรับตัวเพิ่ม ขึ้น (capital gains tax) จะเพิ่มขึ้นจาก 15% เป็น 23.8% ซึ่งนาย Luskin คำนวณว่าจะทำให้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ซึ่งปัจจุบันให้ผลตอบแทน 2% จะต้องได้รับผลกระทบคือราคาพันธบัตรจะต้องปรับตัวลดลงประมาณ 12-15% เพื่อให้ผู้ที่ถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐได้ผลตอบแทนหลังภาษีเท่าเดิม

 

กล่าว โดยสรุปคือประเด็นเกี่ยวกับภาษีเงินปันผลและภาษีกำไรจากราคาหุ้นและ พันธบัตรที่จะปรับเพิ่มขึ้นในปี 2013 นั้น แม้จะเห็นได้ว่าอาจส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นและราคาพันธบัตร แต่ไม่น่าจะมีนักการเมืองสหรัฐคนใดจะยื่นมือเข้ามาต่อสู้เพื่อขยายเวลาการลด ภาษีดังกล่าวต่อไปอีก เพราะการลดภาษีดังกล่าวมองได้ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับคนรวยอย่าง ชัดเจนครับ

 

http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/supavut/20120514/451156/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90.html

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สำหรับบทความของคุณศุภวุฒิ สายเชื้อ ทั้งเก่าและใหม่ตามอ่านที่นี่ได้เลยครับ

http://www.bangkokbiznews.com/home/news/business/ceo-blogs/supavut/news-list-1.php

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

http://sgtreport.com/2012/06/marc-faber-laughs-maniacally-predicts-massive-market-crash-in-the-fall/

 

มาร์ค ฟาเบอร์ บอกว่า :

  • ถ้า S&P ทำ new high ได้ใหม่ในฤดูร้อนนี้ ตลาดน่าจะล้มในช่วงฤดูใบไม้ร่วง
  • สิ่งที่สำคัญที่สุดของนักลงทุนตอนนี้ ไม่ใช่ว่าจะสามารถทำกำไรได้เท่าไหร่
    แต่จะทำอย่างไร ให้เสียเงิน เจ็บตัวน้อยที่สุด (ในวิกฤตเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น)
  • global recession น่าจะเกิดขึ้นภายในหนึ่งปี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ระวังทองที่เก็บไว้จะเปลี่ยนสีเป็นแบบนี้นะค้าบ

 

.มิน่าาาาาาา..

สูติแพทย์ของโรงพยาบาลรู้สึกแปลกใจเป็นอันมาก

เมื่อชายหนุ่มที่เพิ่งเป็นพ่อหมาดๆ

รายหนึ่งเดินเข้ามาหาเป็นการส่วนตัว

“ผมพอจะช่วยอะไรคุณได้บ้างมั่งครับ “ คุณหมอถามไถ่อย่างอารมณ์ดี

“หมอ “ คุณพ่อลูกอ่อน ครางเสียงอ่อย

“ผมกลุ้มใจเหลือเกินลูกผมทำไมถึงหัวแดงออกน้ำตาลอย่างนั้น “

“ทำไมกะอีแค่เด็กผมแดงออกน้ำตาลหน่อย คุณถึงกับกลัดกลุ้มมากนัก

“หมอถามเพราะยังงงๆอยู่

“คืองี้ครับ ... ไอ้ผมเองก็ผมดำ แม่เด็กก็ผมดำ

ปู่ย่าตาทวดเราก็ผมดำทั้งนั้น” สามีอธิบายหมอ

“หมอพอจะอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ไหมว่า ทำไมลูกผมจึงผมแดง “

หมอนั่งคิดสักครู่

พร้อมกับซักไซ้ไล่เรียงเทือกเถาเหล่ากออยู่ไปเป็นนาน

ก็หาคำตอบไม่ได้ สุดท้ายหมอก็ถามว่า

“ถามจริงๆ เหอะ คุณกับภรรยานอนกันบ่อยแค่ไหน “

“เอ่อ ....ก็ ...ก็ ..เดือนละครั้ง สองครั้ง “

“มิน่า ........” หมอตบเข่าหนึ่งฉาด

“เพราะอะไรหรือหมอ “ สามีถามอย่างกระตือรือล้น

“นานๆ ใช้ที มันก็ขึ้นสนิมนะซิ หัวเด็กผ่านออกมา ก็เลยติดสนิมหนะ “

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีเพื่อนๆทุกคนครับ ขอบคุณทุกข้อมูลข่าวสารครับผม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

http://financialsurvivalnetwork.com/2012/06/martin-armstrong-dominoes-dont-always-fall-in-a-straight-line/

มาร์ติน อาร์มสตรอง คุยกับ เครรี่ ลัทซ์

  • มาร์ตินฯ มองว่าญี่ปุ่นเศรษฐกิจแย่กว่ายุโรปตั้งเยอะ แต่ไม่มีใครพูดถึง
  • เศรษฐกิจในแต่ละประเทศจะค่อยๆล้ม แล้วดึงกันลงไปเรื่อยๆ เงินจากประเทศต่างๆ
    ก็จะย้ายไปประเทศ/สกุล ที่คนคิดว่าดีกว่า (flight to quality) และเงินสกุลสุดท้ายที่จะล้มคือดอลล่าร์สหรัฐ
    และเมื่อถึงเวลานั้น คนก็จะหันมาแย่งกันซื้อทองคำ
  • มาร์ตินฯ มองว่าน่าจะเกิดขึ้นประมาณปี ๒๐๑๗
  • สำหรับคนสัญชาติอเมริกันนั้น มาร์ตินฯ บอกว่า ถ้าอยากจะออกนอกประเทศจริงๆ
    ตอนนี้ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ น่าจะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด
  • มาร์ตินยังบอกต่ออีกว่า ถ้าจะย้ายไปอยู่ประเทศอื่น ให้ย้ายไปประเทศที่พึ่งออกจากระบบ
    คอมมิวนิสต์ เพราะประเทศพวกนี้ยังไม่มีหนี้สาธารณะ
  • หนังสือเล่มใหม่ของมาร์ตินฯ กำลังพยายามจะเค้นให้คลอดก่อนเลือกตั้งปธน.ปีนี้
    ในหนังสือเล่มนี้มาร์ตินเขียนเรื่องช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยในอเมริกาสมัยก่อน มาร์ตินบอกว่า
    คนส่วนมากจะบอกว่าเป็นเพราะตลาดหุ้นที่ตกต่ำ แต่จริงๆแล้วมันเป็นเพียงผลจากระบบการเงิน
    ที่ล้มเหลวในสมัยก่อน ... ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีใครพูดกัน

http://traffic.libsyn.com/kerrylutz/Martin_Armstrong_MF_060412_.mp3

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แ บ บ ท ด ส อ บ ว่ า เ ป็ น ค น บ้ า อ๊ ะ ป่ า ว! ! ! ! ! ! ! ! ! !

ขณะเข้าไปเยี่ยมชมโรงพยาบาลโรคจิต อุดมได้ถามนายแพทย์คนหนึ่งว่ามีอะไรเป็นเครื่องวัดมั้ยว่า คนไข้คนไหนบ้า สมควรเข้ารับการรักษาที่นี่ "มีครับ เราจะเปิดน้ำใส่อ่างอาบน้ำให้เต็ม แล้วก็มีช้อน ถ้วยกาแฟ กับถังน้ำให้คนไข้เลือกว่าจะใช้อะไรวิดน้ำออกจากอ่างให้หมด" นายแพทย์บอก "อ้อ ผมเข้าใจล่ะว่า คนปกติธรรมดาก็จะใช้ถังใช่มั้ย เพราะมันใหญ่กว่าช้อนกับถ้วยกาแฟ" อุดมว่า

(แล้วถ้าเป็นคุณ คุณจะเลือกอะไร คิดให้ดีๆก่อนจะไปดูคำตอบจากนายแพทย์ด้านล่าง)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ใครชอบพาแฟนไปดำน้ำบ้าง ยกมือขึ้น

 

ชอบพาไปว่ายน้ำ

วันหนึ่งนิดกับสามีพี่สาวได้มาคุยกันนิดเลยเอ่ยพูดก่อนว่า

นิด-ทำไมพี่ต้องชอบพาพี่สาวของหนู(เมียเขานะแหละ)ไปดำนำบ่อยๆๆๆๆๆมากๆๆด้วยล่ะคะ

สามีพี่สาว-ก็เป็นเวลาเดียวที่พี่อยู่กับพี่สาวของหนูแล้วไม่ได้ยินเสียงบ่นไงจ๊ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แ บ บ ท ด ส อ บ ว่ า เ ป็ น ค น บ้ า อ๊ ะ ป่ า ว! ! ! ! ! ! ! ! ! !

ขณะเข้าไปเยี่ยมชมโรงพยาบาลโรคจิต อุดมได้ถามนายแพทย์คนหนึ่งว่ามีอะไรเป็นเครื่องวัดมั้ยว่า คนไข้คนไหนบ้า สมควรเข้ารับการรักษาที่นี่ "มีครับ เราจะเปิดน้ำใส่อ่างอาบน้ำให้เต็ม แล้วก็มีช้อน ถ้วยกาแฟ กับถังน้ำให้คนไข้เลือกว่าจะใช้อะไรวิดน้ำออกจากอ่างให้หมด" นายแพทย์บอก "อ้อ ผมเข้าใจล่ะว่า คนปกติธรรมดาก็จะใช้ถังใช่มั้ย เพราะมันใหญ่กว่าช้อนกับถ้วยกาแฟ" อุดมว่า

(แล้วถ้าเป็นคุณ คุณจะเลือกอะไร คิดให้ดีๆก่อนจะไปดูคำตอบจากนายแพทย์ด้านล่าง)

 

ตอบว่า ดึงจุกที่อุดอ่างออก ...... ใช่ป่าวคะ :ghost

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...