ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

copy จากเฟสบุ๊คคุณJohnมาฝากครับ

 

 

 

Johnny Pereira

 

 

Bank Holiday (Part II - It has started)

 

เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ที่ผ่านมา ผมได้เขียนใน Status บอกเพื่อนๆ ไว้อย่างนี้ครับ

(คัดลอกข้อความเดิม)

 

**** Bank Holiday ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงวันหยุดของธนาคาร ตามวันหยุด นักขัตฤกษ์ นะ แต่เป็นการที่ธนาคารต่างๆ ถูกธนาคารของประเทศตัวเอง สั่งปิด ด้วยเหตุผลต่างๆ และเหตุผลที่จะปิดรอบนี้ก็คือความผันผวนเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลต่างๆ ทั่วโลก อันเป็นผลจากการเลิกใช้เงินสกุลยูโร ของประเทศสมาชิกกลุ่ม ยูโรโซนนั่นเอง มีการคาดการณ์กันว่าหากเหตุการณ์นี้ เกิดขึ้น ธนาคาร (และตลาดหลักทรัพย์) ของประเทศต่างๆ ในกลุ่มยูโรโซน และ เชื่อว่าจะถึง US UK และประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะต้องหยุดทำการ ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศต่างๆ ในกลุ่มยูโร กำหนดค่า+พิมพ์เงินสกุลของตัวเอง ให้เพียงพอต่อการใช้งาน และทำเคียร์ให้ระบบเข้าสู่สมดุลโดย มีปัญหาข้างเคียงน้อยที่สุด (เพราะหากตลาดใดไม่ปิดซื้อขาย ก็จะถูกเทขายจากนักลงทุน ที่ต้องการ cash out แน่ๆ) ลองย้อนไปตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง ประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่งชื่อประเทศไทย ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้ค่าเงินผันผวน ตลาดหุ้นติดลบไปทั้งโลก ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับหลายสิบประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าไทยมาก ย่อมส่งผลกระทบขนาดใหญ่กว่ามา Bank Holiday ที่พูดถึงอยู่นี้ คาดการณ์กันว่า ธนาคาร/ตลาด หลักทรัพย์ ทั่วโลก จะหยุดทำการประมาณ 5 วันทำการ (รวมเสาร์-อาทิตย์ ก็จะเป็น 9 วัน) ดังนั้นอยากบอก เพื่อนๆ ให้เตรียมเงินสด ติดบ้าน ติดตัวไว้ให้เพียงพอต่อกรใช้งานไม่ต่ำกว่า 15 วันนะครับ เพราะหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง เชื่อว่า ATM หรือ บัตรเครดิต ก็จะใช้การไม่ได้ครับ ****

 

 

สถานการณ์เศรษฐกิจเลวลงไวกว่าที่คิด ครับ สิ่งที่ได้กล่าวไว้ได้ข้างบน ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว วันนี้ ธนาคารขนาดใหญ่อันดับ 4 ของอิตาลีได้ประกาศ Bank Holiday หมายความว่าลูกค้าของธนาคารทั้งหมด ไม่ว่าจะธุรกิจ ข้าราชการบำนาญ บัญชีเงินเดือน ฯลฯ จะไม่สามารถทำธุรกรรมใดๆ กับ/ผ่าน ธนาคาร หรือ คุณไม่สามารถไปถอนเงินกับธนาคารได้นั่นเอง และที่สำคัญการประกาศ Bank Holiday เขาจะทำช่วงหยุดเสาร์อาทิตย์ และไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้าครับ without giving any prior notice to the depositors, leaving them in no condition to perform any type of operation, even basic ones for daily survival, such as withdrawals / payments, utilities payments, rates, taxes.

 

เพื่อนๆ อาจคิดว่าเก็บเงินไว้ที่ธนาคารปลอดภัยที่สุด คิดว่าเรื่องเช่นนี้คงไม่เกิดขึ้นกับประเทศไทย อยากให้ฉุกคิดครับ คนอิตาลีที่ฝากเงินไว้กับธนาคารแห่งนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเขาก็คิดแบบเดียวกัน แล้ววันนี้ผลเป็นไงครับ

 

เมื่อเวลานั้นมาถึง เมื่อโดมิโนตัวแรกเริ่มล้ม ตัวต่อๆ ไปจะล้มลงตาม กว้างขึ้น ใหญ่ขึ้น และเร็วยิ่งขึ้น เวลานั้นเงินฝากที่อยู่ในธนาคาร อาจกลายเป็นเพียงตัวเลขบนกระดาษ

 

ตรงนี้แหละครับที่ทองคำจะทำหน้าที่ของมัน

มันช่วงเก็บสะสมความมั่งคั่งของคุณ ในยามที่คุณไม่อาจไว้ใจนักการเมืองฉ้อฉล และระบบการเงิน การธนาคารที่เหลวแหลก

 

http://investmentwatchblog.com/report-italian-bank-declares-holiday/#.T9Xd2cVWNyx

 

 

-PAXP-deijE.gif

 

 

REPORT: ITALIAN BANK DECLARES 'HOLIDAY'

 

investmentwatchblog.com

BNI depositors unable to make withdrawals / payments, payments of utility bills, mortgage payments, taxes Peter Giordano, Adiconsum: "Grave of the Bank of Italy's attitude that takes action without considering the impact on depositors, and especially on single-income families and pensioners"

แชร์ · 23 ชั่วโมงที่แล้ว ·

 

 

Johnny Pereira

เราสบายดี ขอบคุณครับหนึ่ง เรื่อง Bank Holiday ดีกว่า Bankruptcy ไหม เราว่าน่าจะดีกว่าในระยะแรกๆ เท่านั้น Bank Holiday (กรณีเกิดเดี่ยวๆ เช่นเคสนี้ที่อิตาลี) เกิดกรณี Bank Run จนเงินเกลี้ยงธนาคาร ธนาคารมีเงินไม่พอให้ลูกค้าถอน หรือ ทำธุรกรรมอื่นๆ ได้ เลยต้องประกาศฉุกเฉินหยุดทำการซะงั้น ระหว่างหยุดก็หวังว่าธนาคารกลางจะเข้ามาช่วยเติมเงินฉุกเฉินให้ อย่าลืมว่า 1. ก่อนประกาศหยุด ธนาคารที่ประกาศ Bank Holiday ก็ได้ใช้วงเงินกู้จากธนาคารอื่นๆ และ ธนาคารกลางอยู่แล้ว 2. ลองนึกสภาพเปิดวันทำการวันแรก ลูกค้าก็จะแห่ไปถอนเงินออกจากธนาคารเหล่านั้นจนเกลี้ยง 3. เราจำตัวเลขแม่นยำไม่ได้ แต่ธนาคารในยุโรปต่างจากอเมริกา นิดหน่อย ธนาคารในอเมริกาจะ leverage ประมาณ 12-13 เท่า (เงินฝาก 100 ปล่อยกู้ 1200-1300) แต่ยุโรปจะ leverage สูงกว่านั้นเข้าใจว่าประมาณ 20-30 เท่า 4. ตอนนี้ Bank run เกิดกับธนาคารในหลายประเทศทั่วยุโรป น่าจะมีเพียงไม่กี่ประเทศที่เงินแห่เข้าเช่น สวิส และ เยอรมัน (ซึ่งก็สร้างปัญหาให้กับประเทศเหล่านี้เช่นกัน) และมีแนวโน้มสูงมากที่จะเกิดเรื่องเช่นเดียวกันนี้กับธนา คารอื่นๆ อีก จนถึงจุดๆ หนึ่ง ธนาคารของประเทศนั้นๆ (และหลายๆ ประเทศ) ช่วยเหลือต่อไปไม่ไหว ไหนจะภาระหนี้ภาครัฐ Sovereign Debt ที่ใช้เงินมากขึ้นไปอีก 5. ถึงจุดนั้น Bank Holiday ก็จะตามมาด้วย Bankruptcy อย่างแน่นอน (ก่อนธนาคารจะประกาศเปิดอีกครั้งด้วยซ้ำ)

7 ชั่วโมงที่แล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

 

<a href="http://bualuangblive.blogspot.com/2012/06/blog-post.html">เตรียมตัวอย่างไรกับวิกฤติหนี้ยุโรป

 

 

เศรษฐศาสตร์บัณฑิต

ดร.บัณฑิต นิจถาวร

 

10 มิถุนายน 2555

 

สถานการณ์ หนี้ยุโรปขณะนี้น่าห่วงมาก ข่าวที่ออกมาอาทิตย์ที่แล้ว โดยเฉพาะกรณีของสเปนชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ที่อ่อนไหวและขับคันมากขึ้น และหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้ดำเนินนโยบายในยุโรปเอง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ธนาคาร โลก และนักลงทุนสถาบันต่างออกมาแสดงความห่วงใยในสถานการณ์อย่างเปิดเผย ความไม่แน่นอนขณะนี้ก็คือ ความไม่ชัดเจนว่าการแก้ไขปัญหาในยุโรปจะเดินต่ออย่างไร ขณะที่ความเชื่อมั่นของตลาดเกี่ยวกับความสามารถของทางการที่จะดูแลปัญหาก็ลด ลง เห็นได้จากแรงกดดันของตลาดที่มีมากขึ้น เช่น ในสเปนที่อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมภาครัฐได้ปรับสูงขึ้นกว่าร้อยละ 6.6 ขณะที่ค่าเงินยูโรก็อ่อนลงต่อเนื่อง พูดได้ว่าสถานการณ์จากนี้ไปจะขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นที่นักลงทุนมีต่อความ สามารถของทางการยุโรปที่จะแก้ไขปัญหา ถ้าความเชื่อมั่นลดลงอย่างรุนแรง สถานการณ์ก็อาจผลิกผันไปสู่การเกิดวิกฤตได้ ดังนั้น เราจึงควรเตรียมตัว กับความเป็นไปได้ที่อาจเกิดขึ้น เพราะต้นทุนของการไม่เตรียมตัวแต่วิกฤตเกิดจะแพงมาก เมื่อเทียบกับต้นทุนของการเตรียมตัวแต่วิกฤตไม่เกิด

 

เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ความเชื่อมั่นหรือ Sentiment ในตลาดการเงินโลกลดลงมากจากสามปัจจัย หนึ่ง ความไม่แน่นอนในกรีซ เมื่อผลเลือกตั้งไม่มีข้อยุติ สร้างความไม่แน่นอนว่าการแก้ปัญหาในกรีซจะเดินต่ออย่างไร สอง การพูดอย่างเปิดเผยถึงความเป็นไปได้ที่กรีซอาจต้องใช้การลดค่าเงินเป็นวิธี แก้ปัญหา ซึ่งหมายถึงกรีซต้องออกจากระบบเงินยูโร ซึ่งสร้างความวิตกกังวลให้กับผู้ร่วมตลาด และ สาม ปัญหาของสถาบันการเงินในสเปนที่อาจทำให้สถานการณ์หนี้ยุโรปยุ่งยากมากขึ้น

 

ในกรณีของกรีซ ไม่ว่าผลการเลือกตั้งเดือนนี้จะออกมาอย่างไร ทางเลือกแรกที่ประชาชนกรีซต้องการก็คือ กรีซอยู่ในระบบเงินยูโรต่อไป แต่อยากให้เงื่อนไขการกู้ยืมที่กรีซต้องรัดเข็มขัดผ่อนคลายลง เพื่อให้เศรษฐกิจกรีซมีโอกาสฟื้นตัว ความเป็นไปได้นี้จะขึ้นอยู่กับรัฐบาลสหภาพยุโรปโดยเฉพาะ เยอรมนี และ ไอเอ็มเอฟ ว่าจะยอมตามหรือไม่ ถ้าไม่ยอม กรีซก็คงต้องเลือกที่ออกจากระบบเงินยูโร ซึ่งเป็นทางเลือกที่จะส่งผลกระทบต่อกรีซ สหภาพยุโรป และเศรษฐกิจโลกมาก ผล กระทบดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลสหภาพยุโรปและ ไอเอ็มเอฟ ต้องพยายามทำทุกทางรวมถึงการเข้าอุ้มภาระหนี้ของประเทศหนี้สูงในยุโรป และระบบการเงินถ้าจำเป็น เพื่อไม่ให้ปัญหากรีซลุกลามกระทบเสถียรภาพของประเทศอื่นๆ

 

สำหรับสเปน เศรษฐกิจสเปนขณะนี้กำลังเผชิญกับสามปัญหา หนึ่ง เศรษฐกิจชะลอตัวมาก และมีการว่างงานสูง ล่าสุดอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 24 สอง สถาบันการเงินในสเปนมีปัญหาหนี้เสียจากราคาบ้านที่ลดลง เศรษฐกิจที่ชะลอตัว และการว่างงานที่สูง หนี้เสียดังกล่าวทำให้ธนาคารในสเปนต้องเพิ่มทุน สาม มีเงินทุนไหลออกในรูปของการย้ายเงินฝากออกจากสถาบันการเงินในสเปน ทำให้ระบบการเงินสเปนขาดแคลนสภาพคล่อง ทั้งสามปัญหานี้เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสเปน และทำให้ความสามารถของรัฐบาลที่จะเข้าช่วยเหลือสถาบันการเงินลดลง ซึ่งกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุน กดดันให้อัตราดอกเบี้ยที่รัฐบาลสเปนกู้เพิ่มสูงขึ้น ล่าสุดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้รัฐบาลสเปนก็ถูกปรับลดลง ด้วยเหตุผลของปัญหาที่มีในระบบสถาบันการเงิน และความผิดหวังที่ตลาดมีต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

 

ดังนั้น สถานการณ์หนี้ยุโรปขณะนี้มีจุดเปราะบางมากขึ้น ความห่วงใยของนักลงทุนก็มีมากขึ้น สองปัจจัยนี้ทำให้ตลาดการเงินโลกปรับตัวมากในช่วงสองอาทิตย์ที่ผ่านมา ซึ่ง ลึกๆ แล้วก็สะท้อนช่องว่างที่มีอยู่ระหว่างสิ่งที่ผู้ทำนโยบายในยุโรปเชื่อและ สิ่งที่ตลาดเชื่อ กล่าวคือขณะที่ทางการยุโรปพูดถึงความจำเป็นที่การแก้ไขปัญหาจะต้องเดินตาม แนวทางเดิมต่อ แต่ตลาดปรับตัวเหมือนกับยอมรับแล้วว่าจะมีประเทศที่ต้องออกจากระบบเงินยูโร ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นตลาดปรับตัวมาก โดยการลดการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทุกประเภท เหมือนเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเลวร้ายลง

 

ในกรณีที่สถานการณ์ยุโรปผกผันจนเป็นวิกฤต คาดว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกจะมีมากด้วยสามเหตุผล คือ หนึ่ง ยุโรปเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้น ถ้าอะไรเกิดขึ้นกับยุโรป ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกจะมีมาก สอง เศรษฐกิจโลกในส่วนอื่นๆขณะนี้ก็ไม่สดใส หลายประเทศเริ่มชะลอ พูดได้ว่าเศรษฐกิจของประเทศสำคัญๆ ขณะนี้กำลังชะลอตัวลงอย่างพร้อมเพียงกัน แบบ Synchronized slowdown ไม่ว่าจะเป็น จีน อินเดีย บราซิล เกาหลี ไต้หวัน ออสเตรเลีย ดัง นั้นถ้าอะไรเกิดขึ้นในยุโรป ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกจะมาก เพราะเศรษฐกิจโลกจะไม่มีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่มาเป็น ตัวช่วย เหมือนตอนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกเมื่อสี่ปีก่อน สาม พื้นที่ด้านนโยบายที่กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมก็มีจำกัด เพราะหนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูง และอัตราดอกเบี้ยก็ต่ำมากแล้ว ทั้งสามเหตุผลนี้ชี้ว่า ถ้าปัญหายุโรปบานปลาย ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกจะมีมาก ความหวังขณะนี้อยู่ที่บทบาทของเยอรมนีที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เข้าช่วยเหลือเศรษฐกิจยุโรปอย่างเต็มที่

 

ประเทศ ไทย ซึ่งเป็นเศรษฐกิจเปิด คงถูกกระทบแน่ถ้าปัญหาหนี้ยุโรปบานปลาย ดังนั้น เราควรต้องตระหนักถึงความเป็นไปได้ของปัญหา และมีการเตรียมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพื่อผ่อนหนักให้เป็นเบา และเท่าที่ประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จะมีอย่างน้อยห้าด้าน

 

หนึ่ง การส่งออก จากที่ยุโรปเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหญ่ การส่งออกคงถูกกระทบแน่ และจะหวังพึ่งตลาดเอเชียมาทดแทนก็ยาก เพราะเศรษฐกิจเอเชียก็ชะลอเหมือนกัน การส่งออกจะถูกกระทบ ทั้งการผลิต รายได้ และการมีงานทำ ภาครัฐจึงควรเตรียมเข้ามาดูแลเพื่อให้ธุรกิจส่งออกสามารถปรับตัวได้

 

สอง ธนาคารพาณิชย์ในยุโรป คงลดทอนการปล่อยกู้ให้กับธนาคารพาณิชย์และลูกค้าในต่างประเทศ ซึ่งจะกระทบสภาพคล่องของภาคธุรกิจไทย โดยเฉพาะ สินเชื่อการค้า และสภาพคล่องของนักลงทุนไทยในต่างประเทศ ดังนั้นธนาคารพาณิชย์ไทยควรพร้อมเข้ามาเติมช่องว่างนี้ เพื่อให้ภาคธุรกิจเอกชนสามารถเดินต่อได้

 

สาม ผล ต่อสภาพคล่องในประเทศจากการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศ ที่จะสร้างความผันผวนให้กับตลาดเงินในประเทศ โดยเฉพาะอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย ควรดูแลสภาพคล่องทั้งเงินดอลล่าร์และเงินบาทให้เพียงพอ และให้อัตราแลกเปลี่ยนปรับตัวตามภาวะตลาดทั้งสองทิศทาง ไม่ฝืนตลาด และให้ความผันผวนอยู่ในขนาดที่ธุรกิจจะปรับตัวได้

 

สี่ ดูแลการกระจายสภาพคล่องในระบบธนาคารให้ถึงมือธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่ คงต้องปรับตัวมาก การกระจายควรเน้นการใช้กลไกราคามากกว่าการจัดสรรสินเชื่อ คืออัตราดอกเบี้ยอาจแพงแต่มีเงินให้กู้ จะดีกว่าจัดให้มีสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ แต่หากู้ไม่ได้ และ

 

ห้า สถานการณ์ยุโรปคงกระทบความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจกระทบความต้องการของเอกชน ที่จะใช้จ่ายและลงทุน ดังนั้นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยนโยบายการคลังและนโยบายการเงินอาจจำเป็น เพื่อประคองเศรษฐกิจไม่ให้ชะลอตัวหรือหดตัวมากเกินไป แต่การกระตุ้นต้องอยู่ภายใต้การรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ และวินัยด้านการเงินการคลัง

 

นอก จากนี้การสื่อความอย่างตรงไปตรงมาโดยภาครัฐ รวมถึงการให้ข้อมูลเศรษฐกิจที่ถูกต้อง ชัดเจนทันเวลา จะจำเป็นและสำคัญต่อการประเมินสถานการณ์ของภาคเอกชน เพื่อประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ

 

ก็หวังว่าข้อคิดเหล่านี้จะเป็นประโยชน์

http://bualuangblive.blogspot.com/search?updated-min=2012-01-01T00:00:00%2B07:00&updated-max=2013-01-01T00:00:00%2B07:00&max-results=6

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สหรัฐฯ ยอมยกเว้น “อินเดีย” จากแผนคว่ำบาตรน้ำมันอิหร่าน แต่ไม่ยกเว้นให้ “จีน” blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 มิถุนายน 2555 09:26 น.

 

 

Share5

blank.gif 555000007556101.JPEG ฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ประกาศให้ 7 ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่รวมถึงอินเดีย ได้รับการยกเว้นบทลงโทษในแผนคว่ำบาตรน้ำมันอิหร่าน ทว่ายังไม่ยกเว้นให้จีน blank.gif

เอเอฟพี - สหรัฐฯจะละเว้นบทลงโทษแก่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ 7 ประเทศ ในมาตรการคว่ำบาตรชุดใหม่ต่ออิหร่าน หลังจากที่ประเทศเหล่านี้ยอมลดการสั่งซื้อน้ำมันจากเตหะราน ทว่าจีนยังไม่อยู่ในข่ายที่ได้รับการยกเว้น

 

ฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ใส่ชื่ออินเดีย, มาเลเซีย, แอฟริกาใต้, เกาหลีใต้, ศรีลังกา, ตุรกี และไต้หวัน ลงไปในลิสต์ประเทศที่ได้รับการยกเว้นจากมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน โดยเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คลินตัน ก็ได้ประกาศละเว้นให้สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นไปแล้ว

 

ถ้อยแถลงดังกล่าวมีขึ้นวานนี้ (11) ก่อนที่คลินตันจะร่วมประชุมประจำปีกับเจ้าหน้าที่ของอินเดีย ซึ่งถือเป็นการผ่อนคลายปมขัดแย้งข้อใหญ่ระหว่าง 2 มหาอำนาจที่มีสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้

 

ภายใต้กฎหมายคว่ำบาตรที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ประกาศเมื่อปลายปีที่แล้ว สหรัฐฯ จะเริ่มใช้บทลงโทษต่อสถาบันการเงินต่างชาติที่ทำธุรกรรมกับธนาคารกลาง อิหร่าน ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายนนี้ เป็นต้นไป

 

คลินตันชี้ว่า 7 ประเทศที่ถูกยกเว้นได้ลดปริมาณการสั่งซื้อน้ำมันจากอิหร่านลงอย่างมาก ซึ่งนับเป็นความสำเร็จของวอชิงตันในการที่จะกดดันรัฐบาลประธานาธิบดีมะห์มูด อาห์มาดิเนจัด ที่อิสราเอลและเจ้าหน้าที่ตะวันตกเชื่อกันว่ากำลังลักลอบพัฒนาระเบิด นิวเคลียร์

 

อย่างไรก็ดี ประกาศละเว้นครั้งนี้มิได้ครอบคลุมถึงจีน ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาน้ำมันของอิหร่านและชาติอื่นเพื่อหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจ ที่มีขนาดใหญ่โต โดยสหรัฐฯยังอยู่ระหว่างเจรจากับปักกิ่งในเรื่องดังกล่าว

 

“เราได้แจ้งให้เพื่อนร่วมงานชาวจีนของเราทราบแล้วถึงขอบข่ายและความ เร่งด่วนของมาตรการคว่ำบาตร” เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์ พร้อมยืนยันว่าจีนซึ่งเป็นหนึ่งใน 6 ชาติที่จะเปิดเจรจากับอิหร่านที่กรุงมอสโกในสัปดาห์หน้า ยังเป็น “หุ้นส่วนสำคัญ” ของสหรัฐฯในแผนยับยั้งกิจกรรมนิวเคลียร์ของเตหะราน

 

วันศุกร์ที่ผ่านมา (8) ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา ของจีน เรียกร้องให้อิหร่าน “มีความยืดหยุ่นและเน้นการปฏิบัติ” เกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางรายชี้ว่า แม้จีนจะยังคงท่าทีแข็งขืนต่อแผนคว่ำบาตรน้ำมันอิหร่าน แต่แท้ที่จริงปักกิ่งก็เริ่มสั่งซื้อน้ำมันจากแหล่งอื่นๆเพิ่มขึ้นอย่าง เงียบๆ

 

องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (ไออีเอ) ประเมินว่า อิหร่านจำหน่ายน้ำมันได้น้อยลงถึง 1 ใน 4 ของกำลังการผลิต 3.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา

 

แม้จะมีสายสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างแน่นแฟ้นกับเตหะราน แต่อินเดียก็พยายามลดช่องว่างกับสหรัฐฯลงในช่วงที่ คลินตัน เดินทางไปเยือนเมื่อเดือนที่แล้ว โดยรัฐบาลอินเดียประกาศจะลดการสั่งซื้อน้ำมันจากอิหร่านลง 11%

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อ่านบทความคุณจอห์นนี่ที่คุณส้มโอมือเอามาฝากแล้ว ต้องดูคลิปนี้ครับ

คลิปนี้เป็นคลิปของคุณยายชาวอเมริกันที่อพยพมาจากเยอรมันในช่วงสมัยที่ฮิตเล่อร์

เรื่องอำนาจ ประเด็นที่ผมจำได้มีตามนี้คือ

  • แนวนโยบายทางการเมืองของอเมริกาตอนนี้ แทบจะไม่ต่างกับนาซีเยอรมันในสมัยก่อน
    ผู้นำค่อยๆลิดรอนสิทธิ์ของประชาชนเรื่อยๆ ๆ ๆ ๆ จนในที่สุดก็เป็นรัฐตำรวจ
  • ตอนนั้น เยอรมันก็มี "วันหยุดธนาคาร" เหมือนกัน แล้วพอธนาคารเปิดขึ้นมา เงิน ๑๐๐ มาร์ค ก็เหลือแค่ ๑ มาร์ค
  • คนแย่งกันถอนเงินออกจากธนาคารกันแทบไม่ทัน และในที่สุด เงินกระดาษก็ไม่มีค่าอีกต่อไป
  • ตอนนั้นไม่มีใครมีมีเงินซื้อของกิน อาหารขาดแคลน ฯลฯ
  • ในตอนที่เศรษฐกิจล้มแล้วนั้น เพื่อนบ้านของคุณยายสามารถหารถมาพาครอบครัวออกจากเมืองนั้นได้ เพราะ
    เขามีทองคำ และโลหะเงินอยู่ในมือ
  • คุณยายบอกว่า คนควรจะมีทองคำ และโลหะเงินอยู่กับตัวบ้าง
  • คุณยายที่ใช้ชีวิตผ่านในช่วงสงครามมา ก็พยายามจะเลี้ยงลูกอย่างดี ไม่ให้ลำบาก แต่พอคุณยายมีหลาน
    ก็เห็นลูกตัวเองพยายามเลี้ยงหลานให้สบายขึ้นไปอีก .... คุณยายมองว่าเด็กสมัยนี้ยังอ่อนเกินไป ไม่พร้อมจะรับมือ
    กับวิกฤติเศรษฐกิจ หรือความยากลำบากที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
  • ตอนนั้น เยอรมันก็มี "วันหยุดธนาคาร" เหมือนกัน แล้วพอธนาคารเปิดขึ้นมา เงิน ๑๐๐ มาร์ค ก็เหลือแค่ ๑ มาร์ค
  • คนแย่งกันถอนเงินออกจากธนาคารกันแทบไม่ทัน และในที่สุด เงินกระดาษก็ไม่มีค่าอีกต่อไป
  • ตอนนั้นไม่มีใครมีมีเงินซื้อของกิน อาหารขาดแคลน ฯลฯ
  • ในตอนที่เศรษฐกิจล้มแล้วนั้น เพื่อนบ้านของคุณยายสามารถหารถมาพาครอบครัวออกจากเมืองนั้นได้ เพราะ
    เขามีทองคำ และโลหะเงินอยู่ในมือ

 

ยูโรโซนถกแผนฉุกเฉินกรีซถอนตัว เล็งคุมเงินทุน-จำกัดถอนเงินตู้ATM blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 มิถุนายน 2555 22:28 น.

 

 

Share19

blank.gif blank.gif 555000007602701.JPEG blank.gif

เอเจนซี - แหล่งข่าวแย้มเจ้าหน้าที่คลังยุโรปหารือแผนการฉุกเฉินรับมือสถานการณ์เลว ร้ายที่สุดหากเอเธนส์ออกจากยูโร ซึ่งรวมถึงการจำกัดการถอนเงินจากตู้เอทีเอ็ม การควบคุมเงินทุน และการระงับข้อตกลงเดินทางข้ามแดนเสรีภายในยุโรป

 

เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรป (อียู) เปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า แนวคิดเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการฉุกเฉิน พร้อมย้ำว่า การหารือมุ่งที่การเตรียมตัวรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นมากกว่าการวางแผน สำหรับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ให้สัมภาษณ์ต่างไม่คาดว่า กรีซจะถอนตัวจากเขตเงินตราสกุลเดียว

 

ทว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เพิ่มมากขึ้นในกรีซ หลังการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 เดือนที่แล้ว ออกมาแบบไร้ผลชี้ขาด จนกระทั่งต้องจัดการเลือกตั้งกันใหม่อีกรอบหนึ่งในวันอาทิตย์นี้ (17) ทำให้มีความจำเป็นมากขึ้นที่อียูต้องเตรียมแผนฉุกเฉิน

 

แหล่งข่าวเผยว่า มีการหารือเรื่องนี้ระหว่างการประชุมทางไกลเมื่อ 6 สัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากกังวลกันว่า พรรคฝ่ายซ้าย ไซริซา อาจชนะการเลือกตั้งและเพิ่มความเสี่ยงที่กรีซจะทบทวนการเจรจาข้อตกลงเงินกู้ กับอียู/กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ตามด้วยการตีจากการใช้สกุลเงินยูโร

 

แหล่งข่าวสำทับว่า ยังไม่มีการตัดสินใจใดๆ ทว่า สมาชิกคณะทำงานยูโรกรุ๊ปอันประกอบด้วยรัฐมนตรีช่วยว่าการคลังของยูโรโซน ได้หารือตัวเลือกต่างๆ ในรายละเอียด

 

สตีฟ วาแนกเกียร์ รัฐมนตรีคลังเบลเยียม กล่าวเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมาว่า สมาชิกแต่ละชาติมีหน้าที่ในการเตรียมพร้อมรับปัญหา และการหารือเหล่านี้มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจงที่การจำกัดการแห่ถอนเงินฝากและ การไหลออกของเงินทุน

 

นอกจากถกกันเรื่องการจำกัดการถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มและการควบคุมเงิน ทุนแล้ว คณะทำงานยังหารือถึงความเป็นไปได้ในการระงับข้อตกลงเชนเกน ที่อนุญาตให้ประชาชนใน 26 ชาติ ซึ่งรวมถึงสมาชิกส่วนใหญ่ของอียู เดินทางไปมาหาสู่กันได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า

 

กระนั้น แหล่งข่าวเผยว่า คณะทำงานยังอยู่ระหว่างการศึกษาว่า มาตรการสุดโต่งเหล่านี้มีกฎหมายรองรับหรือไม่

 

ด้านโฆษกของธนาคารกลางกรีซกล่าวว่า แบงก์ชาติไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับแผนการฉุกเฉินนี้มาก่อน

 

ทั้งนี้ ผลสำรวจจากบางสำนักระบุว่า ชาวกรีซส่วนใหญ่คือ 75-80% นิยมชมชอบยูโรและต้องการใช้เงินสกุลเดียวนี้ต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งที่นักการเมืองกรีซตระหนักดีและอาจโน้มน้าวให้นักการเมืองเหล่า นี้ล่าถอยจากการนำประเทศถลำลึกในวิกฤต

 

อย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดว่าไซริซาจะชนะหรือกวาดคะแนนเป็นกอบเป็นกำในการเลือกตั้งอาทิตย์ นี้ อเล็กซิส ซีปราส หัวหน้าพรรควัย 37 ปี ประกาศชัดเจนว่า จะฉีกหรือทบทวนข้อตกลงกู้เงิน 130,000 ล้านยูโรกับอียูและไอเอ็มเอฟใหม่ ขณะที่ทางฝ่ายเจ้าหนี้ย้ำว่า ไม่มีแผนรื้อฟื้นการเจรจาแต่อย่างใด

 

หากความขัดแย้งนี้ไม่สามารถปรองดองกันได้ โอกาสที่กรีซจะถอนตัวหรือถูกขับออกจากยูโรจะยังคงอยู่ ดังนั้น การร่างแผนฉุกเฉินจึงมีความจำเป็น

 

เดือนที่แล้ว สวิตเซอร์แลนด์เผยว่า กำลังพิจารณาใช้มาตรการควบคุมเงินทุนหากยูโรโซนแตก

 

นอกจากนี้ในระหว่างการประชุมทางไกลเมื่อวันที่ 21 เดือนที่ผ่านมา คณะทำงานของยูโรกรุ๊ปยังแจ้งว่า สมาชิกแต่ละชาติควรมีแผนรับมือเอาไว้ หากกรีซออกจากยูโรจริงๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ยูโรโซนถกแผนฉุกเฉินกรีซถอนตัว เล็งคุมเงินทุน-จำกัดถอนเงินตู้ATM blank.gif

.....

 

กฏหมายนี่คล้ายๆกับรั้วนะครับ

ถ้าไม่ปกป้องเรา ก็เป็นสิ่งที่คุมขังเรา

 

ดูเหมือนว่ากฏหมายในโลกตะวันตกตอนนี้ จะแปลงร่างเป็นคุกเข้าไปทุกวันแล้ว

 

ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา นักการเมืองพยายามสร้างรั้วระหว่างอเมริกา กับแม็กซิโก

ด้วยเหตุผลที่จะป้องกันคนเข้าเมืองโดยผิิดกฏหมาย แต่หลายๆคนก็บอกว่า มั่นไม่ใช่หรอก

รั้วพวกนั้น มันเอาไว้กันคนอเมริกันหนีเข้าไปในแม็กซิโกต่างหาก

:21

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กฏหมายนี่คล้ายๆกับรั้วนะครับ

ถ้าไม่ปกป้องเรา ก็เป็นสิ่งที่คุมขังเรา

 

ดูเหมือนว่ากฏหมายในโลกตะวันตกตอนนี้ จะแปลงร่างเป็นคุกเข้าไปทุกวันแล้ว

 

ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา นักการเมืองพยายามสร้างรั้วระหว่างอเมริกา กับแม็กซิโก

ด้วยเหตุผลที่จะป้องกันคนเข้าเมืองโดยผิิดกฏหมาย แต่หลายๆคนก็บอกว่า มั่นไม่ใช่หรอก

รั้วพวกนั้น มันเอาไว้กันคนอเมริกันหนีเข้าไปในแม็กซิโกต่างหาก

:21

อ่านแล้ว หัวเราะมิได้ ร่ำไห้มิออก

โดยเฉพาะ "รั้วพวกนั้น มันเอาไว้กันคนอเมริกันหนีเข้าไปในแม็กซิโกต่างหาก"

:033

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณสำหรับข่าวสารต่าง ๆ รวมถึงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ ของทุก ๆ ท่าน ผมจะเก็บสะสมทองคำและเม็ดเงินต่อไปเพื่ออนาคตของครอบครัวครับ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น
:ghost โอ้วววว ---- เหมือนจะชอบ " หัวเราะมิได้ ร่ำไห้มิออก "

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Jimmy Siri

 

 

เห็นแว๊บๆว่ามีท่านนึงถามเรื่อง Supranational Currency ครับ...

 

Supranational Currency ก็คืออีกชื่อเรียกหนึ่งของ New World Currency หรือ One World Currency หรือก็คือระบบ Currency หรืออัตราแลกเปลี่ยนใหม่ ที่จะมาทดแทน...เงินดอลล่าสหรัฐ หลังการ "ล้ม" ของระบบการเงิน การธนาคาร และอัตราแลกเปลี่ยนในระดับโลกที่กำลังจะมาถึง หรือที่เรานับถอยหลังรอดูกันอยู่นี่แหละครับ

 

เป็นที่คาดการณ์ว่าเจ้าระบบการเงิน แบบใหม่นี้จะรวมศูนย์อยู่ IMF หรือก็คือมี IMF เป็นเจ้าภาพ หรือพูดง่ายๆก็คือให้ IMF เป็นคนควบคุม กำหนดกฏเกณฑ์ อัตราแลกเปลี่ยน ปริมาณการพิมพ์ ก็คือทุกอย่างนั่นแหละครับจะรวมศูนย์อยู่ที่นี่ทั้งหมดในลักษณะของ World Central Bank ดังนั้นพูดได้เลยครับว่า.....งานนี้เจ้ามือ "กินรวบ" ........5555+

 

อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือเจ้าระบบนี้ว่ากันว่าจะเป็นการพาระบบการเงินใหม่ของโลกทั้งหมดกลับเข้าไปสู่ "Gold Standard" คือจะมา "ปั๊ม" กันมั่วแบบที่สหรัฐและอังกฤษทำกันอยู่ไม่ได้ครับ และทั้งหมดจะ back หรือหนุนการออกสกุลเงินใหม่นี้ด้วย "Basket of Metals" คือทองคำ เงิน และโลหะมีค่าอื่นๆ หรือแล้วแต่จะตกลงกันในระหว่างประเทศครับ

 

ในทางลึก...เรื่องนี้ถูกจัดเตรียมมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปีครับ เพียงแต่ในขณะนี้เราอยู่ในระหว่างการปฏิบัติการเพื่อจะทำให้สิ่งนี้เป็นจริงขึ้นมาในที่สุด และนี่แหละครับก็คือที่มาของความวุ่นวายทางเศรษฐกิจในระดับโลก ในทุกภูมิภาค ***และถ้าสังเกตุให้ดีก็จะเห็นได้ชัดว่าทุกประเทศที่กำลังประสบปัญหาอย่างรุนแรงก็คือประเทศที่ใน ระบบตระกร้าเงิน(Basket of Currency)แทบทั้งสิ้น(ทำไม??) ที่กำลังถูก "ปั่น" ให้ไปในทิศทางนี้ไงครับ แล้วสุดท้ายวิกฤติการณ์ในด้านการเงินการธนาคารที่กำลังครุกรุ่นอยู่ตอนนี้ก็จะจบลงตรงที่คำว่า "Supranational Currency" นั่นเอง

 

***ส่วนพวกเราหลายๆคนที่ตุนทองตุนเม็ดเงินไว้เต็มตระกร้าแล้ว ก็อดใจรอกันอีกซักหน่อยนะครับ***

 

 

 

The Gold War Phase II...by Jimmy Siri

จาก บทสัมภาษณ์ล่าสุด สิ่งที่ท่านเซ่อร์เอเวอริน ร๊อธไชลด์ ต้องการก็ไม่มีอะไรมาก แค่ต้องการ "International Currency" หรือก็คือ New World Currency เท่านั้นเอง !! หากคุณยังไม่รู้จักว่าลุงคนนี้เป็นใคร เค้าก็คือ King ของระบบการเงิน การธนาคาร(BIS) ตลาดทุน เจ้าของและผู้ที่อยู่เบื้องหลังตลาดทองคำของโลกใบนี้(WGC, LBMA, และ Comex) ทั้งยังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุดเจ้าของธนาคารกลางทั้งในยุโรป(ECB) อังกฤษ(BOE) และอเมริกา(Fed) แค่นั้นเองครับ

 

ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อย่ามองเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องยาก มองแบบชาวบ้านพอ มองจากหลักของความเป็นจริงแบบชาวบ้าน ไม่มีอะไรหนีหลักธรรมชาติได้

---ครอบครัวไหนใช้จ่ายมากกว่าหามาตลอด สร้างหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะลอดได้ไง

---ประเทศ ไหนค้าขายขาดทุนตลอด(ขาดดุลการค้า) สร้างหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนทะลุเพดานหนี้มาหลายรอบแล้ว เพิ่มเพดานหนี้มาหลายรอบจนปริมาณหนี้มหาศาล หนี้ขนาดนี้จะจ่ายไงไหว แค่ดอกเบี้ยก็แย่แล้ว

 

---ที่ผ่านมากินบุญเก่าจากการที่ทุกประเทศทั่วโลกถือดอลลาร์เป็นเงินสำรอง แต่ถ้ายังพิมพ์ดอลลาร์ไม่เลิก เมื่อประเทศต่างๆไม่เชื่อมั่นในดอลลาร์แล้ว หายนะจะมาเยือน

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

มะกันจ่อขาดดุลงบฯ ทะลุ 1 ล้านล้านดอลล์ 4 ปีรวด

 

updated: 13 มิ.ย. 2555 เวลา 17:38:56 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 

ตัวเลขขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐใกล้ทะลุ 1 ล้านล้านดอลลาร์เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน แม้ภาครัฐจะเก็บภาษีได้มากขึ้นปีที่แล้ว

 

เอพีรายงานว่า กระทรวงการคลังมะกันเผยตัวเลขขาดดุลงบฯประจำเดือนพฤษภาคมว่าอยู่ที่ 1.24 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้ยอดขาดดุลงบฯในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 อยู่ที่ 8.45 แสนล้านดอลลลาร์ หรือติดลบน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีกลาย 8.9%

 

อย่างไรก็ตาม สำนักงบประมาณสภาครองเกรส คาดการณ์ว่ายอดขาดดุลทั้งปีงบประมาณ 2555 ซึ่งจะสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายนนี้ จะพุ่งสูง 1.17 ล้านล้านดอลลาร์ ลดลงเล็กน้อยจากตัวเลขขาดดุล 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ของปีที่แล้วซึ่งสูงทำสถิติ และจะทำให้เรื่องงบประมาณกลายเป็นประเด็นร้อนในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ จะมีขึ้นช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน

 

จนถึงขณะนี้ รัฐบาลมีรายได้จากภาษีสูงกว่าปี 2554 5.3% จากตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้นและการเติบโตกระเตื้องขึ้นบ้างแล้ว เฉพาะเดือนที่แล้วเก็บภาษีได้ 1.8 แสนล้านดอลลาร์ มากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาเดือนที่ห้าของแต่ละปี

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...