ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

เรียนท่านลูกค้าที่เคารพ

 

อีเมลล์ฉบับนี้เกี่ยวข้องกับความล่าช้าในการส่งมอบทองคำ และโลหะเงิน, และลูกค้าที่กำลังรอจะติดต่อรับของจริงจากเรา

 

เราต้องขอโทษอย่างเป็นทางการอีกครั้ง และยืนยันว่าเรากำลังพยายามอย่างทุกวิถีทางเพื่อที่จะให้ได้ของที่ท่านสั่งมาถึงบริษัทของเราโดยเร็วที่สุด

 

ผมเชื่อว่าลูกค้าหลายๆท่านคงได้ทราบดีเกี่ยวกับการซื้อขายโลหะมีค่าที่มีปริมาณมากในรอบสองสามเดือนที่ผ่านมา .. สิ่งๆนี้ทำให้เกิดความล่าช้าในการส่งมอบ เพราะการผลิตของจริงนั้นใช้เวลา กำลังคน และทรัพยากรหลายๆอย่าง

 

เรากำลังรอให้ เพิร์ธ มินท์ ส่งมอบคำสั่งซื้อของเรา ซึ่งบางคำสั่งซื้อนั้นย้อนหลังไปจนถึงเดือนเม.ษ. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้นั้นอยู่นอกเหนือความควบคุมของเราซึ่งเป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายเท่านั้น และเราเองก็กำลังรอรับของสำหรับคำสั่งซื้อของเราเหมือนกัน

 

เราขอขอบคุณทุกท่านที่อดทนในช่วงเวลานี้ และขอยืนยันว่าเราได้รับคำยืนยันจากผู้ผลิตว่าคำสั่งซื้อทั้งหมดนั้นจะมีการส่งมอบ เพียงแต่จะต้องรอหน่อยเท่านั้น

 

ถ้าหากท่านมีข้อสงสัย โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อสำนักงานของเรา

 

ด้วยความเคารพ

การ์เดียน โกลด์ จำกัด

 

 

http://www.jsmineset...ews-today-1579/

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เลิกคิวอี BONDจะขยับราคาขึ้นอะไรจะตามมา

 

CDS : อนุพันธ์พลังทำลายล้างรุนแรง

คอลัมน์ หอคอยงาช้าง โดย รศ.ดร.วิมุต วานิชเจริญธรรมคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 02 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4041

ครึ่ง หลังของเดือนกันยายนเริ่มต้นสัปดาห์ด้วยเหตุการณ์ "Black Monday" ที่ดัชนีดาวโจนส์ตกลงในวันเดียวถึง 504.5 จุด หรือราวร้อยละ 4.4 ในการซื้อขายของวันจันทร์ที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา การที่ราคาหุ้นในตลาดนิวยอร์กไหลลื่นดิ่งลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้เป็นผลมาจาก ที่วาณิชธนกิจขนาดยักษ์ใหญ่อย่างเลห์แมน บราเธอร์ส ต้องประสบภาวะล้มละลายและประกาศเข้าฟื้นฟูกิจการภายใต้มาตรา 11 ของกฎหมายการเงินสหรัฐ

นัก วิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญในตลาดการเงินสหรัฐต่างมองไปที่บริษัท อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (หรือ AIG) ว่ายักษ์ใหญ่ในวงการประกันจะเป็นสถาบันการเงินรายต่อไปที่จะต้องประสบชะตา กรรมล้มละลายต่อจากเลห์แมนฯ

การ คาดการณ์ดังกล่าวหาใช่เป็นควันที่ไร้ซึ่งเชื้อไฟไม่ เพราะมีรายงานข่าวในช่วงเวลาเดียวกันนั้นว่า AIG กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องรุนแรงถึงขั้นต้องขอเงินกู้ฉุกเฉินมูลค่า 40 พันล้านเหรียญสหรัฐจากธนาคารกลางสหรัฐ

เพียง สามวันให้หลัง (วันพุธที่ 18 กันยายน) ปัญหาของ AIG กลับทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนรัฐบาลสหรัฐต้องเข้ามา "อุ้ม" มิให้ AIG ต้องล้มครืนลงตามเลห์แมนฯ (และเฟรดดี้ แมค แฟนนี่ เม แบร์ สเติร์น ฯลฯ) ที่ได้ล้มไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยรัฐบาลสหรัฐได้หยิบยื่นเงินกู้มูลค่า 85 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อแลกกับการเข้าครอบครองกิจการของ AIG

บทบาท ของรัฐบาลสหรัฐสะท้อนให้เห็นว่าการปล่อยให้ AIG ล้มลงโดยไม่เข้าแทรกแซง จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงในวงกว้าง ไม่เพียงแค่ลูกค้าผู้ซื้อประกันจาก AIG เท่านั้นที่จะต้องแบกรับความเสียหาย แต่บรรดาธนาคารใหญ่ๆ ในสหรัฐและยุโรปต่างล้วนตกอยู่ในฐานะสุ่มเสี่ยงต่อภาวะล้มละลายในทันที หาก AIG ต้องล้มครืนลง

มา ถึงบรรทัดนี้ผู้อ่านอาจจะเริ่มสงสัยแล้วว่า เหตุไฉนหายนะของ AIG ซึ่งมีธุรกิจหลักคือการขายประกันชีวิต หรือประกันอุบัติเหตุ จึงสร้างปฏิกิริยาลูกโซ่สั่นสะเทือนความมั่นคงของสถาบันการเงินและธนาคาร กลางในหลายประเทศทั่วโลกได้ถึงขนาดนี้

คำตอบสั้นๆ เพียงแค่สามวลีครับ "CDS"

CDS นี้ย่อมาจาก Credit Default Swap เป็นตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยงที่ส่วนวาณิชธนกิจของ AIG สร้างภาระผูกพันไว้เป็นจำนวนมหาศาล

ตรา สารอนุพันธ์นี้จะอ้างอิงกับตราสารหนี้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยเอกชน โดยมีลักษณะเป็นตราสารอนุพันธ์ที่ผู้ออกสัญญาจะให้การประกัน คุ้มครองผู้ซื้อจากความเสี่ยงที่เกิดเมื่อตราสารหนี้ที่อ้างอิงอยู่นั้นมี การผิดนัดชำระ สมมุติว่าธนาคาร X ได้ซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัท Y ธนาคาร X ย่อมเผชิญกับความเสี่ยงที่บริษัท Y จะผิดนัดชำระหนี้ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว ธนาคาร X สามารถซื้อสัญญา CDS ไว้ โดยคู่สัญญา (หรือผู้ออก CDS) จะให้การคุ้มครองกับธนาคาร X ในกรณีที่บริษัท Y ผิดนัดชำระหนี้ อย่างไรก็ดีหากบริษัท Y ยังคงจ่ายผลตอบแทนให้กับธนาคาร X ได้ตามกำหนดเวลา (ไม่เกิดเหตุการณ์เบี้ยวชำระหนี้ขึ้น) ธนาคาร X มีภาระต้องจ่ายเงิน (ตามแต่ตกลงในสัญญา) ให้กับคู่สัญญา (หรือผู้ออกตราสาร CDS นั่นเอง) ในทุกๆ งวดที่มีการชำระเงิน ประหนึ่งเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการคุ้มครองทางการเงิน ยามเกิดการผิดชำระหนี้

ตลาด CDS เติบโตอย่างรวดเร็วมากในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยนักวิเคราะห์ประมาณกันว่ามูลค่าของตลาด CDS มีค่าถึง 6.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ผมไม่ได้พิมพ์คำว่า "ล้าน" เกินมาคำหนึ่งนะครับ) ซึ่งเมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดของบรรดาหุ้น ที่มีการซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐแล้ว เราจะพบว่ามูลค่าของตลาด CDS นั้นมีขนาดมากกว่า มูลค่าของตลาดทุนสหรัฐ ถึงสามเท่าเลยทีเดียว (และอย่าตกใจไปนะครับ ถ้าผมจะบอกว่า มูลค่าของการเทรดตราสารอนุพันธ์ทั้งหมด ณ เมื่อธันวาคม ปี 2550 มีมูลค่าสูงถึง 68.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสิบเท่าของจีดีพี ของทุกประเทศทั่วโลกรวมกัน)

แม้ว่าโดยธรรมชาติแล้ว CDS เป็นเครื่องมือเพื่อใช้บริหารความเสี่ยง แต่มันกลับถูกใช้อย่างแพร่หลายในฐานะเครื่องมือสำหรับการเก็งกำไร บล็อกเกอร์รายหนึ่งเล่าว่า เฮดจ์ฟันด์สามารถฟันกำไรอย่างงามได้จากการออก CDS โดยสามารถนอนรอรับเงินจำนวน 320,000 เหรียญสหรัฐในแต่ละปี จากการขายประกันความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้พันธบัตรเกรด BBB หรือ junk bond ก้อนเงินจำนวนมากที่เข้ามาเหมือนได้เปล่าเช่นนี้ เป็นเพราะผู้ออก junk bond ยังสามารถชำระดอกเบี้ยได้ตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ แต่หากเมื่อใดที่ junk bond นั้นผิดนัดชำระหนี้ กองทุนเฮดจ์ฟันด์นั้นจะมีภาระต้องชดเชยความเสียหายสูงถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว

แม้เรื่องเล่าข้างต้นจะให้ภาพทั้ง สองด้านของการเก็งกำไรด้วย CDS แต่ในช่วงที่เศรษฐกิจของสหรัฐ และของโลกขยายตัวในอัตราสูง ใครๆ ก็มองเห็นกันแต่ด้านของเงินกำไรที่ได้มาง่าย โดยละเลยความเสียหายจำนวนมหาศาล ที่จะตามมา หากทุกอย่างเกิดความผิดพลาดขึ้น ลองนึกภาพดูสิครับ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น หาก junk bond นั้นผิดนัดชำระหนี้ แล้วตัวเฮดจ์ฟันด์ที่ออก CDS นั้นก็ไม่มีเงินเพียงพอจะจ่ายค่าชดเชยความเสียหายให้กับผู้ซื้อตรา สารอนุพันธ์ CDS ความเสียหายสุดท้ายจะตกอยู่กับใคร

อัน ที่จริงเรื่องราวที่เล่ามาข้างต้นนี้ก็ไม่ต่างไปจากเหตุการณ์จริงที่กำลัง คุกคามเสถียรภาพของตลาดเงิน และระบบเศรษฐกิจสหรัฐในขณะนี้เท่าใดนัก ผมจะลองฉายภาพคร่าวๆ ให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างปัญหา "ซับไพรม" CDS และความเปราะบางของสถาบันการเงินในโลกปัจจุบันนี้

โดย ปกติสถาบันการเงินย่อมต้องการปล่อยกู้ให้กับลูกค้าที่มีเครดิตเรตติ้งดีๆ เพราะโอกาสที่ลูกค้าจะผิดชำระหนี้นั้นย่อมมีน้อย แต่เมื่อการแข่งขันระหว่างสถาบันการเงินเริ่มรุนแรงยิ่งขึ้น สถาบันการเงินจึงเริ่มขยายตลาดรุกเข้าสู่พรมแดนของลูกค้า ที่มีความเสี่ยงสูงมากยิ่งขึ้น ลูกค้าที่มีเครดิตเรตติ้งต่ำหรือถูกจัดชั้นว่ามีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระ หนี้สูงนี้ ถูกเรียกว่ากลุ่มลูกหนี้ "ซับไพรม" (เนื่องด้วยเหตุที่ลูกค้ากลุ่มนี้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่าลูกค้า ชั้นดี คือจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่าไพรมเรตนั่นเอง)

เพื่อ ป้องกันตัวเองจากความเสียหายที่อาจเกิดจากลูกค้าซับไพรม สถาบันการเงินจึงใช้วิธีผ่องถ่ายเอาสัญญาเงินกู้ ของกลุ่มลูกค้าซับไพรมมารวมกัน แล้วแปลงสภาพให้เป็นตราสารหนี้ นำออกขายทอดตลาดอีกต่อ ด้วยวิธีการเช่นนี้สถาบันการเงินสามารถนำเอาสินทรัพย์เสี่ยง (คือสัญญาเงินกู้) ออกจากงบดุลของตัวเอง ทำให้ไม่ต้องมีภาระเพิ่มเงินกองทุนในภายหลัง ตราสารหนี้ที่มีกระแสผลตอบแทนมาจากสัญญาเงินกู้นี้เรียกว่า Collateralized Debt Obligation หรือ CDO

ความ น่าลงทุนใน CDO อยู่ที่ผลตอบแทนที่ให้กับผู้ถือในระดับสูง แม้ว่าลูกหนี้ซับไพรมจะมีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้สูง แต่ทว่าโอกาสที่ลูกหนี้จำนวนมากรายจะผิดนัดชำระเงินกู้พร้อมๆ กันนั้นมีน้อยมาก ดังนั้นแม้บางรายผิดนัดชำระในบางงวด แต่ยังมีรายอื่นๆ จ่ายดอกเบี้ยตามกำหนดเวลาในจำนวนที่พอเพียง กับอัตราผลตอบแทนบนตราสาร CDO ได้

เพื่อให้ตราสาร CDO นี้มีความน่าลงทุนมากยิ่งขึ้น สถาบันการเงินหัวใสจึงขาย CDS เพื่อประกันความเสี่ยงให้กับผู้ถือตราสาร CDO ตามไปด้วย ดังนั้นในยุคที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศสหรัฐบูมสุดๆ สถาบันการเงินแย่งกันปล่อยกู้ให้กับลูกค้าระดับซับไพรม และจัดการแปลงเงินกู้เหล่านั้นให้เป็น CDO จึงฉุดพาให้ตลาด CDS โตตามไปด้วย

ความ น่ากลัวชวนสยดสยองมาขมวดปมตรงที่สถาบันการเงินขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั่งธนาคารกลางบางแห่ง ต่างละเลยถึงความเสี่ยง และต่างเข้าถือครอง CDO จำนวนมาก และผู้เล่นรายใหญ่อย่างแบร์ สเติร์น และ AIG ต่างก็ออกตราสารอนุพันธ์ CDS มาคุ้มครองความเสี่ยงให้กับ CDO เหล่านั้นในมูลค่าที่มากมายมหาศาลไม่แพ้กัน เมื่อเกิดเหตุการณ์เศรษฐกิจชะลอตัว ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดต่ำลง ปัญหาการผิดนัดชำระหนี้เริ่มขยายวงกว้าง จนกลายเป็นปัญหาทั้งระบบ ผู้ให้การประกันความเสี่ยงอย่างแบร์ สเติร์น หรือ AIG ย่อมไม่มีเงินเพียงพอจะมาจ่ายให้กับผู้ถือสัญญา CDS ได้ครบเต็มจำนวนทุกราย โดยเฉพาะในช่วงที่เครดิตตึงตัวเช่นนี้

หากปล่อยให้เรื่องราวจบลงตามยถากรรม แบร์ สเติร์น และ AIG คงจะต้องล้มละลาย เพราะไม่มีเงินพอจะจ่ายให้กับผู้ถือสัญญา CDS และบรรดาผู้ถือสัญญา CDS และมี CDO เน่าๆ ไว้ในครอบครองก็ต้องพลอยล้มละลายตามไปด้วยเป็นแน่แท้ บทสรุปแบบนี้คงไม่ต่างอะไรกับภาพตัวโดมิโนที่ล้มระเนระนาดต่อๆ กันไปเป็นลูกโซ่

วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้เคยกล่าวไว้ว่า ตราสารอนุพันธ์เป็นอาวุธทางการเงินที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง คำเปรียบเปรยของกูรูด้านการลงทุนรายนี้สะท้อนภาพต้นตอหายนะทางการเงินในช่วง ปีนี้ได้เป็นอย่างดี

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ทองคำ กลับเป็นขึ้นแล้ว หรือยังลงต่อได้อีก

 

 

โดย Monkey Trader (บันทึก) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2013 เวลา 23:37 น.

 

เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้แวะไปทำธุระแถวเยาวราช. และก็ได้สัมผัสปรากฏการณ์ "ตื่นทอง" แผงแขวนสร้อยทองงี้โล่งเลย. อดประหลาดใจไมได้ว่าทำไมต้องขนาดนี้. อะไรคือบรรทัดฐานที่ทำให้คนคิดว่าต่ำกว่า 20,000/บาท คือ ถูก. มันใช่เหรอ? และจุดนี้ที่ซื้อคือการซื้อเก็บยาว อีก 10 ปีค่อยว่ากัน หรือซื้อเก็งกำไรระยะสั้น หรือยังไง

 

บทวิเคราะห์ออกมาเพียบ ส่วนใหญ่จะในเชิง Technical ว่าแนวรับ-ต้านที่มีนัยยะสำคัญอยู่ตรงไหน ที่ Extreme หน่อยก็คือ การมองว่า ทองคำ ไม่ใช่สินทรัพย์ปลอดภัย หรือ Safe haven อีกต่อไป. จะเหลือ $800 อีกครั้ง ฯลฯ รับข้อมูลไปไม่พิจารณาให้ดีอ่วมแหงๆ

 

ผมว่าก่อนคิดว่ายังไงต่อไป เราต้องพิจารณาที่มากันก่อน. ราคาทองคำเลี้ยงข้างในกรอบ $300-500 อยู่ 20 ปี (ช่วงปี 1980-2001+/-) และหลังจากนั้นก็ดีดขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกเกือบทศวรรษที่ผ่านมาจนกระทั่งไป Peak @ $1,921 จะบอกว่าเพราะประธานาธิบดี Richard Nixon การยกเลิก Gold standard ใน US dollar (เรียกเหตุการณ์นี้ว่า Nixon shock) ก็ไม่เชิง เพราะประกาศยกเลิกไปตั้งแต่ปี 1971 (และก็ต้องศึกษาเพิ่มเติมเข้าไปอีกว่าทำไมต้องยกเลิก. นั่นเพราะสมัยก่อนธนบัตร US dollar มีเขียนว่า "Redeemable in gold หรือสามารถนำไปขึ้นเป็นทองคำได้" ที่ต้องทำก็เพื่อให้ธนบัตรนั้นมีมูลค่า ไม่งั้นมันก็คือกระดาษเปล่าๆ Link: http://goo.gl/qTXS) แต่กว่าจะได้เปลี่ยนเป็นเรื่องเป็นราว (คือเลิกผูกธนบัตรกับทองคำอย่างเป็นทางการ) ก็ปี 1976 ซึ่งทำให้ทองดีดขึ้นจากระดับที่ผูกไว้ที่ $35 ต่อ Ounce เป็นหลักร้อย

 

แต่ ก็ไม่ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมราคาทองถึงนิ่งอยู่เป็น 20 ปีหลังจากนั้น และจะบอกว่าจากการวินาศกรรมอาคาร World trade center (รึเปล่า?) ในปี 2001 *คนเริ่มรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิต* ซึ่งเป็นเหตุให้ประเทศสหรัฐฯ ตัดสินใจบุกประเทศอัฟกานิสถาน และอีรัก และ FED จำเป็นปั๊มเงินออกมาจำนวนมากเพื่อ Finance สงครามอ่าวเปอเซีย ผลคือเงินเฟ้อสูงขึ้น นักลงทุนเริ่มเล็งเห็นว่าเงิน US dollar มีแต่จะด้อยค่า *คนเริ่มรู้สึกไม่ปลอดภัยในทรัพย์สิน* เลยแห่ไปซื้อ ทอง. ก็ไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะในปี 1991 ประเทศสหรัฐก็ประกาศสงครามกับอีรัก โทษฐานที่ไปบุกคูเวต ราคาทองก็ยังนิ่งๆ อยู่ที่ระดับ $350+/- อีกเป็น 10+ ปี มันน่าคิดนะ.

 

สังเกตุ ดีๆ มักเกิดเหตุการณ์หรือภาวะบางอย่างที่ไปสร้าง "จุดเปลี่ยน" หรือ Trigger ให้ทองคำจากที่ออกข้างมา 20 ปีเริ่มเป็น Uptrend อะไรเป็นเหตุที่แท้จริง ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน มีแต่สมมุติฐานทั้งนั้น พอที่จะมีทฤษฏีอธิบายเหมือนกัน เขาเรียกว่า Black swan effect เขียนไว้ในหนังสือชื่อเดียวกันโดย Nassim Nicholas Taleb - Link: http://goo.gl/MxYT7 สรุป ไว้ว่า "บทมันจะมาก็มา บทมันจะไปก็ไป" เมื่อทองคำเริ่มสร้างฐานที่ระดับ $450 อีกครั้งในปี 2005 ก็ไล่ราคาขึ้นไปและไม่เคยลงมาที่ระดับนั้นอีกเลย.

 

ในบรรดาสมมุติฐานทั้งหลาย ผม "เชื่อ" วาการที่ราคาทองจะเปลี่ยนได้ระดับ $500 ไป $1,900 (เกือบ 4 เด้ง) ได้นั้น บทบาทในตลาดทุนโลกต้องเปลี่ยน. มันไม่ใช่แค่สกุลเงิน US dollar เท่านั้นที่ลดมูลค่าแต่มันกับสกุลเงินทั่วโลก ไม่ว่าถือสกุลอะไรก็เงินเฟ้อหมด วิธีการรับมือกับเงินเฟ้อในระยะยาวกว่าคือต้องโยกไปในสินทรัพย์อื่นๆ ที่ถ้าดีที่สุด ต้องเป็นสินทรัพย์ไม่สามารถสร้าง Supply เพิ่มขึ้นได้อีก เช่น ที่ดิน แปลว่า เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 2 เท่าตัวที่ดินมีเท่าเดิม ผลคือ ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว (Ok ในความเป็นจริงมันไม่ได้เป๊ะขนาดนั้น มันมีเรื่องทำเล กรรมสิทธิ์ ฯลฯ แต่สำหรับการเปรียบเทียบนี้ก็น่าจะใช้ได้อยู่) ที่รองลงมาคือ ทองคำ เพราะหาได้ยาก และทุกวัฒนธรรมมองทองคำเป็นโลหะมีค่า (มีผลนะครับ) ถามว่าพวกเพชร หรือหินมีค่าได้มั้ยก็ได้เหมือนกัน แต่มันเริ่มเฉพาะเจาะจงละ. มีรายละเอียดพวกคุณภาพ สี ความใส ฯลฯ ทองคำเป็น สินค้าที่แพร่หลายมากกว่า และมาตรฐานทองคำก็ค่อนข้างนิ่ง อย่างบ้านเราก็ 96.5%

 

ก็ไม่แปลกว่าทำไมนักลงทุนถึงมองทองคำเป็น Safe haven ก็เพราะมีมูลค่าในทุกวัฒนธรรม ขึ้นเงินที่ไหนก็ได้ สภาพคล่องเหลือเฟือ แต่อย่างที่บอก นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ และ Gold standard ก็ถูกยกเลิกไปกว่า 20 ปี เพิ่งจะมาขึ้น ผม "เชื่อ" ว่ามันเกิด Triggering events คนเริ่มหวั่นใจในความปลอดภัยของชีวิต (และทรัพย์สิน) จากการก่อการร้าย ทองคำเริ่มซื้อขายได้สะดวก Gold ETF เปิดตัวในปี 2003 และสกุลเงินสุดท้ายที่ยกเลิก Gold standard คือ Swiss Franc ยกเลิกในปี 2000 เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งอาจไม่สร้างกระแสมากพอให้ทองคำดีดตัวขึ้น แต่เมื่อเกิดขึ้นช่วงเวลาใกล้ๆ กัน แม้จะไม่ได้เกี่ยวกัน มันสร้าง Black swan effect ซึ่งไปเตะตานักลงทุน.

 

นี่แหละ ตัวเร่งปฏิกริยา

 

บทบาท ของทองคำเปลี่ยนตั้งแต่ปี 1971 แล้ว แต่เพราะไม่มีตัวเร่ง ไม่มี "เหตุ" ราคาก็ไม่ไปไหน วิ่งในกรอบ. พอเกิดเหตุการณ์ (ที่อ้างมาข้างต้น) เท่านั้น มุมมองนักลงทุนเปลี่ยนเริ่มโยกเงินมาเป็นทองคำ ราคาทองคำขึ้น มีการเก็งกำไรเข้ามาเอี่ยว. พอเริ่มเก็งกำไร ราคาทำ New high หรือสร้าง All time high คนก็ยิ่งซื้อ ยิ่งซื้อก็ยิ่งเก็งกำไร ฯลฯ จนทำให้ราคาขึ้นในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา

 

แล้วการที่ราคาทองคำลง ในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาละ จะกลับขึ้นขาขึ้นแล้วหรือยังลงต่อได้อีก? ก็ต้องทวนเงื่อนไขว่า บทบาทของทองคำยังเป็น Safe haven อยู่มั้ย. ทุกประเทศทั่วโลกหยุดปั๊มเงินอัดเข้าระบบเศรษฐกิจแล้วใช่มั้ย. มีการสร้าง Supply ทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ? คำตอบคือ "ไม่" ครับ. ตราบใดที่ยังมีการปั๊มเงินพิมพ์แบงค์ ทองคำก็จะยังเป็น Safe haven ไม่เปลี่ยนแปลงครับ

 

อ้าว! แล้วที่ราคาลงหนักสุดในรอบ 30 ปีละ? คำถามนี้ต้องตอบ 2 ส่วน; 1) เวลาเราคำนวณการลงในขาขึ้น เราต้องคำนวณเป็นสัดส่วน (%) นะครับ ไม่ควรคำนวณเป็นส่วนต่าง.

 

Sub-prime crash ทองขึ้นไปสูงสุด @ $1,033.90 และลงมาต่ำสุด @ $681.0 ลงมา $352.9 หรือ 34.14% และ

ช่วง Sideway ใหญ่ยักษ์ที่ผ่านมา ทองขึ้นไปทำจุดสูงสุด @ $1,923.7 และลงมาต่ำสุด @ $1,321.5 ลงมา $602.2 หรือเพียง 31.30% มองแบบนี้ทองราคาลงช่วง Sub-prime "รุนแรง" กว่าตอนนี้เสียอีก.

 

และ 2) (ผมเชื่อว่า) เป็นเพียงการทำกำไรในขาขึ้นช่วงที่ผ่านมาเท่านั้น.

48041_489145304471872_611776343_n.png

ชัดเจนว่าราคาสร้างฐานที่ระดับ $1,550+/- และก็ยังเป็น "แนวรับสุดท้าย" ของขาขึ้นด้วย. ถ้าซื้อทองเพื่อเก็งกำไร นี่คือราคาสุดท้ายที่ต้องปิดสถานะซื้อ.. และที่บอกๆ กันว่าทองกลับตัวแล้ว ด้วยภาพนี้ "ยากครับและไม่เร็ว" สังเกตุว่าราคาออกข้างอยู่กว่า 18 เดือนก่อนที่จะกลับตัวจาก Uptrend และหลุดลงมา อย่าเพิ่งประมาทว่า Reversal pattern จะลงแค่นี้ครับ. รอให้เห็น Bullish reversal ชัดๆ เสียก่อน ยังไงก็ซื้อทันครับ.

 

เพราะ ทองคำยังเป็น Safe haven อยู่ สำหรับการออม (ผมซื้อทองคำแท่งเพื่อออมเท่านั้น) ยังไม่มีความจำเป็นต้องขาย. แต่ควรใช้ Hedging techniques พวก Gold futures/option เพื่อลดแรงกดดันหากทองคำลงต่อ สำหรับการเก็งฯ ผมว่า Technical play บน TF day ก็น่าจะ Bias short ต่อได้ หลุด $1,400 ก็น่าจะเห็น $1,200

 

 

 

*** มุมมอง Technical ส่วนตัว: Reversal pattern มักไม่จบที่ 161.8% มักจะได้เห็น 261.8% ลองไป Backtest ดู

 

-Freedom trader-

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Jimmy Siri

****เรื่องนี้สำคัญและเป็นอะไรที่ควรทำความเข้าใจไว้นะครับ เพราะจากอินไซด์ที่ได้ผ่านตาไปในช่วงเวลาที่ผ่านมา "ระเบิดเวลาลูกแรก" ที่จะถูกจุดขึ้นเพื่อนำไปสู่การล้มครั้งใหญ่ของเศรษฐกิจและการเงินโลกโดยองค์รวมในรอบนี้ (Double Dip) จะเริ่มจากตรงนี้คือ derivatives หรือ ตลาดตราสารอนุพันธ์ !!

 

ดังนั้นแล้วเมื่อเห็นสัญญานมาเมื่อไหร่ ก็ต้องวิ่งให้ทัน ส่วนจะ "วิ่งหนี" หรือ "วิ่งไปดักรอ" นั้นก็ขอให้เป็นไปตามความสามารถเฉพาะตัวก็แล้วกันนะครับ...

 

นึกไม่ถึงว่าจะได้เห็นเรื่อง/ภาพประกอบจากซีโร่เฮดจ์ในช่องการเงิน ดูเพลินเลย ขอบคุณครับ :D

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

ถ้าทองคำเป็นสินทรัพย์ที่เป็น safe haven ในการเป็นหลักประกันเงินเฟ้อ ราคาทองคำที่สมเหตุสมผล จึงต้องอิงกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี

ถ้าสมมติว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 5% ต่อปี หากมองย้อนไปเมื่อ 10 ปีก่อน ราคาทองคำอยู่แถว ๆ 400-500 เหรียญ ผ่านไป 10 ปี ทองคำในปัจจุบันจึงควรมีราคาประมาณ 800-1000 เหรียญ เมื่อคิดอัตราเพิ่ม 5% ต่อปีแบบทบต้น

แต่จะเห็นว่าทองคำถูกปั่นราคาไปสูงสุดถึง 1900 เหรียญ เกิดภาวะทองคำเฟ้อ ตามกฎแห่งค่าเฉลี่ย ราคามันจึงต้องถูกตบลงมาหาเส้นค่าเฉลี่ยที่สมเหตุสมผลแถว 1000 เหรียญ

 

ด้วยเหตุนี้นักลงทุนทั่วโลกจึงแห่ขายทองคำ ซึ่งอยู่ในภาวะทองคำเฟ้อ มาซื้อเงินบาทซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่สุดในขณะนี้สะสมใส่ถังแซทเอาไว้มั่ง อิอิ

 

ราคาทองคำตอนนี้ ใกล้จะถึงจุดที่สมเหตุสมผลในการลงทุนเพื่อเป็นหลักประกันเงินเฟ้อแล้ว

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะ

ถูกแก้ไข โดย perfection

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วรวรรณ ธาราภูมิ ได้แชร์ลิงก์ผ่าน Thanong Khanthong

 

3 ชั่วโมงที่แล้ว

 

พี่ทนง ขันทอง กับเรื่องให้ธนาคารกลางทั่วโลกยุติพิมพ์เงิน

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เฟซนี้น่าอ่านครับ

https://www.facebook.com/thanong.khanthong

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วรวรรณ ธาราภูมิ ได้แชร์ลิงก์ผ่าน Thanong Khanthong

 

3 ชั่วโมงที่แล้ว

 

พี่ทนง ขันทอง กับเรื่องให้ธนาคารกลางทั่วโลกยุติพิมพ์เงิน

 

 

ลองฟังเนื้อหานี้ดีๆ แล้วลองคิดดูซิว่าอเมริกาจะหยุดคิวอีได้จริงหรือ ถ้าหยุดจริงแล้วใครพังเร็วกว่ากัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รวย มั่งคั่ง มั่นคง

 

 

โดย Monkey Trader (บันทึก) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2013 เวลา 10:50 น.

 

 

ล่า สุด Gold spot ลงมาที่ระดับ $1,230 ใกล้เป้าราคาที่ผมมองไว้ก่อนหน้าที่ $1,200± พอราคาทองลงหนักแบบนี้ คำพูดที่ว่าทองคำไม่ใช่สินทรัพย์ปลอดภัย หรือ Safe haven ก็ถูกรื้อขึ้นมาอีกครั้ง.. ด้วยเหตุผลต่างๆ นาๆ ว่าราคาลงมาอย่างมีนัยยะสำคัญ ราคาเคยอยู่ $1,800 วันนี้เหลือแค่ $1,200+ แล้วจะ Safe haven ได้อย่างไร ฯลฯ แต่เหตุผลที่ฟังดูเข้าท่าไม่ได้หมายความว่าจะถูกต้องเสมอไป. เราต้องมองให้ออกว่าผู้ที่แสดงความเห็นนั้น (และท้ายที่สุด มันคือความเห็นเท่านั้น) เขาวางวัตถุประสงค์ไว้อย่างไร. รัฐบาลทุนนิยมทุกรัฐของทุกประเทศทั่วโลกปั๊มเงินและอัดเข้าระบบเศรษฐกิจ อย่างบ้าคลั่ง และไม่มีแนวโน้มว่าจะยุติลง. เราอาจมองว่า FED มีแนวโน้มที่จะลด QE แต่การลด QE เป็นเพียงการลดปริมาณการอัดฉีดที่เพิ่มขึ้นอย่างเกินที่ควรจะเป็นเท่านั้น. การอัดฉีดก็ยังดำเนินต่อไป. BoJ ก็คงมีมาตรการแทรกแซงออกมาเรื่อยๆ ประเทศไทยก็ไม่เว้น ถ้ายังมีการอัดฉีดเงินอย่างต่อเนื่องอยู่ เงิน (Currency) ก็ยังเพิ่มขึ้นต่อไป. แล้วมีสินทรัพย์อะไรละที่จะสามารถประกันความเสี่ยงด้วยตัวมันเองได้ (Naturally hedged instrument) ในมุมมองผม มีเพียง 2 ประเภทเท่านั้น คือ 1) ที่ดิน และ 2) ทองคำ. ยังไม่เปลี่ยนแปลง.

 

 

ก่อนที่จะหาเหตุ ว่าอะไรทำให้ราคาทองคำลง เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าทำไมราคาทองคำถึงขึ้นมาขนาดนี้ตั้งแต่ทีแรก. เพราะเมื่อมองย้อนกลับไป ราคาทองคำอยู่ในกรอบ $300-500 กว่า 20 ปี ก่อนที่จะระเบิดเป็น Major uptrend หลังปี 2000± ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าทองมีค่า เหมือนที่ผู้ใหญ่บอกว่ามีเงิน ถ้าไม่ซื้อที่ก็ซื้อทองเก็บไว้ ไม่สูญ! เรื่องนี้มีที่มาที่น่าสนใจมากๆ.. ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง หลายๆ ประเทศมหาอำนาจพยายามที่จะสร้างมาตรกลางที่อ้างอิงกับทองคำ (Gold standard) แต่พยายามแล้วไม่เกิด เพราะไปเจอวิกฤต The great depression ในช่วงปี 1930 เสียก่อน และนักเศรษฐศาสตร์บางคนก็พยายามไปฝังความคิดว่าหากผูกมูลค่าเงินเท่ากับ ทองคำ ก็จะทำให้ไม่สามารถขยายเศรษฐกิจได้รวดเร็วเท่าที่ต้องการ เพราะทองคำนั้นมี Limited supply (และนี่คือหนึ่งในความอุบาทของระบบทุนนิยม โลภจนหน้ามืด) ดังนั้นในปี 1944 ตัวแทนประเทศต่างๆ ได้ประชุมกันที่ Bretton woods เพื่อหาระบบการเงินโลกใหม่ และเพราะในช่วงนั้น US มีกำลังการผลิต (Manufacturing capacity) กว่าครึ่งของทั้งโลก เพราะฝั่ง EU ยังอ่วมจากสงคราม และสำรองทองคำส่วนใหญ่ของโลกอยู่กับ US จึงสรุปว่าไม่ต้องผูกค่าเงินตัวเองกับทองคำอีกต่อไป ให้ผูกกับ US dollar โดย US dollar จะสามารถนำไปแลกไปทองคำได้ที่มูลค่า $35 ต่อออนซ์ นี่คือกุศโลบายโคตรแยบยลของ US ที่วางตัวเองให้ "เขาขาดเราไม่ได้" หรือ Indispensible นั่นเอง. ซึ่ง Bretton woods system ก็ถูกใช้มาจนกระทั่งปี 1971 และเพราะว่า US ขาดดุลการค้าอย่างหนัก (สังเกตุดีๆ เหมือน US จะเก่งด้านการเงินมากกว่าการค้า) จึงขอให้ประเทศที่เกินดุลอาทิ Germany และ Jap ปรับค่าเงินตัวเองให้แข็งขึ้น ซึ่งแน่นอนไม่ยอมทำ US เลยหักดิบด้วยการลอยตัวค่าเงินจากทองคำ และนั่นคือชนวนแรกที่จะจุดให้ราคาทองคำพุ่งจากระดับ $35 ไปทำจุดสูงสุดที่กว่า $700 หรือ 20 เด้งในรอบ 10 ปี เพราะอะไร? เพราะทุกรัฐฯ รู้ดีกว่าเมื่อ US ไม่ต้องผูกค่าเงินตัวเองกับทองคำ ก็จะพิมพ์เงินเพิ่มทองคำจึงไม่สามารถอยู่ที่ระดับ $35 อีกต่อไป. ไปเท่าไร? ก็จะไปอย่างน้อยเท่ากับ US money supply ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง ส่วนการที่ทองคำนิ่งหรือเลี้ยงข้างมาตลอด 20 ปีหลังจากนั้น ความน่าสนใจคืออะไรเป็นเหตุในราคาทองนิ่งนานขนาดนั้น US หยุดพิมพ์เงินเพิ่มเหรอ? US ยังพิมพ์เงินอยู่เหมือนเดิมแหละครับ ถ้าไม่ได้พิมพ์หนักกว่าเดิมนะ เพียงแต่ว่าไปที่ไหนเท่านั้นเอง ข้อสังเกตุส่วนตัวผมคือการระเบิดของยุคบริโภคนิยม ธุรกิจอสังหาฯ The American dream บทบาทที่ธุรกิจการเงินมีต่อประเทศ การท่องเที่ยว ฯลฯ เห็นได้ว่าเม็ดเงินวิ่งไปที่ Equity market มากกว่าทองคำอย่างเห็นได้ชัดจนกระทั่ง Dot com crash ในปี 2000 ถ้าในการเก็งกำไร/ลงทุนแน่นอนว่าทองคำไม่น่าสนใจ แต่ในแง่การออมซึ่งวัตถุประสงค์คือการรักษามูลค่าของตัวสินทรัพย์เอง ผมว่ามันไม่ได้เลวร้ายอะไร

1010440_512939942092408_686499867_n.png

หลัง จากที่ Alan Greenspan ขึ้นมาเป็น FED chairman จะสังเกตุได้ว่ามีมาตรลดหย่อนกฏด้านการเทรด โดยเฉพาะสินค้าทางการเงินแบบอ้างอิง หรือ Deregulations in derivative trading และมีการอัด Money supply เพิ่มขึ้นในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนด้วย. การวางนโยบายลักษณะนี้ไม่ต้องอ่านประวัติก็รู้ว่าต้องมาจากสายการเงิน.

1006192_512940038759065_416674588_n.png

หลัง จาก Crisis ปี 2008 เริ่มเห็นชัดเจนว่ามาตรการลดดอกเบี้ยไม่สามารถพยุงให้เศรษฐกิจดีขึ้น ทั้ง FED และ BoJ จึงต้องออกมาตรการใหม่ที่เรารู้จักกันในชื่อ QE พูดง่ายๆ ก็คือการอัดเงินเข้าสู่ตลาดการเงินโดยตรง โดยเฉพาะในตราสารหนี้ ต้องเข้าใจกันก่อนนะครับว่า QE ไม่ใช่การเพิ่มสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจธรรมดา แต่มันคืออาการ "หน้ามืด" ของ FED ที่ต้องทำอะไรสักอย่างที่ให้ได้ผลลัพท์ทันที ก็อัดสภาพคล่องเข้าไปตรงๆ มันซะเลย. ดังนั้นมันคือสภาพคล่องส่วนเกินหรือ Excessive liquidity และไม่ใช่นโยบายที่จะทำได้ตลอดไปอยู่แล้ว ยังไงก็ต้องลด. แต่ลด QE ยังไงก็ไม่สามารถเอาออกจากสมการได้ เพราะ Wall street ได้เสพติดเงินให้เปล่าตรงนี้ไปแล้ว. สรุป: ยังไงการพิมพ์เงินเพิ่มอย่างบ้าคลั่งก็ยังดำเนินต่อไปไม่เปลี่ยน

ดัง นั้นทองคำที่มีการเพิ่มของอุปทานในอัตราที่น้อยกว่า ยังไงก็เป็นเครื่องมือประกันเงินเฟ้อในระยะยาวต่อไปได้ นั่นหมายความว่าก็ยังเป็น สินทรัพย์ปลอดภัย ครับ. ข้อควรระวังคือ เพราะกระแสทุนมีแนวโน้มที่จะวิ่งไปที่ตลาดหุ้นมากกว่า ทองคำจึงมีแนวโน้มที่จะลงไปหามูลค่าพื้นฐาน หรือ Intrinsic value ของมันก่อน. (อารมณ์เหมือนหุ้นที่ถูกเก็งฯ มาเกินไป ก็ต้องพักฐานลงมาก่อน)

เล่ามาตั้งนาน แล้วมันเกี่ยวยังไงกับ "รวย มั่งคั่ง มั่นคง" เกี่ยวครับ มากๆ ด้วย เพราะผมมองว่า Money management มันไม่ใช่เพียงการกำหนด Position size ในการเทรดเท่านั้น. แต่มันคือ Roadmap ทางการเงินที่ต้องวางเผื่อให้กับที่เหลือของชีวิต ถ้าไม่ใช่กับครอบครัวด้วย. เหมือน Tripod ที่ต้องอาศัยทั้ง 3 ขาถึงจะวางได้อย่างมั่นคง ชีวิตเราก็ต้องเผื่อเรื่องการเงิน 3 ขาด้วย. เพียงเพราะทำกำไรในตลาดฯ ช่วงที่ผ่านมาได้ ไม่ได้การันตีอะไรเลย. หลายต่อหลาย "เซียน" ที่เจ๊งหมดตัวไป ระหว่างทางก็สามารถทำกำได้มหาศาลทั้งนั้น. ชีวิตมันชั่ว 7 ที ดี 7 หน. เผลอนิดเดียวที่สร้างมาทั้งชีวิตก็หมดเอาง่ายๆ ได้

ขาแรกผมเรียกว่า "รวย" จริงๆ อยากจะเลี่ยงคำว่า รวย เพราะมันฟัง (อ่าน) ไม่เพราะ เวลาใครพูดว่ารวย มันมีความรู้สึกแฝงเหมือน อวดรวย หรือ อวย แทน เป็นอคติที่ลบยากอยู่ แต่ไม่มีคำอื่นที่จะอธิบายได้ดีกว่าจริงๆ. "รวย" คืออะไร ยังไงถึงจะเรียกว่ารวย รวยคือปริมาณเงินในบัญชี หรือความรู้สึกว่ามีเงินใช้เหลือเฟือ. เราจะเอา Benchmark อะไรมาวัดว่าคนๆ นึงรวย อยากให้มองอย่างปราศจากอคติจริงๆ รวย คือสิ่งที่คนพูดกันเยอะมากๆ แต่ให้คำจำกัดความกันน้อย. ถ้ามีเงิน 10ล เรียกว่ารวยแล้ว ทำไมต้องพยายามทำไปให้ถึง 100ล ละ.. ดังนั้นในมุมมองผมปริมาณเงินในบัญชีไม่ใช่ Benchmark ว่ารวยหรือไม่เพราะมันไม่นิ่ง. มันเป็น "เงื่อนไข" มากกว่า มองแบบง่ายๆ พื้นๆ จะรวย คือต้องได้ "ส่วนต่าง" หรือ Margin นั่นเอง ในการเทรดซื้อหุ้นมา 100บ. ขายไป 105บ. เราได้ "ส่วนต่าง" 5บ. นั่นคือ เงื่อนไขที่ทำให้รวยได้ หรือ ซื้อไม้ ตะปู ยาง มาประกอบกันเป็นโต๊ะเก้าอี้ เราได้ "ส่วนต่าง" ที่เพิ่มขึ้นจากต้นทุนวัตถุดิบทั้งหมด และอาจบวกด้วยค่าฝีมือเข้าไป จะเรียกว่าการสร้างมูลค่าเพิ่มก็ได้ แต่โดยแก่นแล้ว มันคือการทำอะไรสักอย่างให้ได้ส่วนต่าง นั่นคือ "เงื่อนไขทำให้รวย"

ผมขอเกริ่นในกรอบของการเทรดอย่างเดียวละกัน. ไม่งั้นไม่จบ 555 แปลว่า "ส่วนต่างราคา" คือ เงื่อนไขทำให้รวย แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยง เสี่ยงขาดทุน. ถ้าเราเทรดเพื่อหวังส่วนต่าง ความผันผวนราคา (Volatility exposure) จะเป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถเอาออกจากสมการได้. เต็มที่แค่คุมไม่ให้มากเกิน แปลว่าการเทรด ทำให้ "รวย" ได้ แต่ยังไงก็จะไม่ปลอดภัย เพราะมันมีโอกาสวูบหมดเสมอ. มันจึงไม่แปลกที่คนเทรดมานานจริงๆ จะแบ่งเงินไปลงทุนอย่างอื่นด้วย. ผมมีวิธีมองที่อาจจะแตกต่างออกไปเล็กน้อย ผมมองว่าถ้าเรากระจายทุนไปในสินทรัพย์ประเภทอื่น แต่เราเก็งกำไร (หวังส่วนต่าง) เหมือนกัน เรายังกระจุกอยู่เหมือนเดิมแหละ. ถ้าเทรดเก็งกำไรหุ้น และไปซื้อคอนโด หวังปล่อยใบจองคอนโดเท่านั้น มันก็ยังเจอกับโอกาสผิดทางอยู่ดี จึงไม่เป็นการกระจายความเสี่ยงเลย. มันแค่โยกไปเก็งกำไรในสินทรัพย์อีกประเภทเท่านั้น.

จะกระจายความเสี่ยง ต้องแยกที่วัตถุประสงค์การลงทุน

ถ้า ริ "รวย" ความเสี่ยงคือ ความผันผวนราคา จะกระจายความเสี่ยงจริง เราต้องเอาความผันผวนราคาออกจากสมการการลงทุน ถึงได้เกิดขา "มั่งคั่ีง" เพราะผมเชื่อว่า มีเงินมากแค่ไหนก็ไม่อุ่นใจเท่ามีเงินใหม่เข้ามา. ดังนั้นเราต้องกระจายไปลงทุนโดยหวัง "กระแสเงินสด" ไม่ใช่ "ส่วนต่างราคา" แทน อาจจะในรูปของการให้เช่า หรือเงินปันผลก็ได้. ลองคิดดู ราคาขึ้นก็ดีราคาลงเราก็ไม่กระทบเพราะเราเน้นที่กระแสเงินสดเท่านั้น แน่นอนผลตอบแทนจะต่ำกว่าการหวังส่วนต่างอยู่แล้วแต่นั่นไม่ใช่ประเด็น ความเสี่ยงเรื่องความผันผวนราคาเป็นศูนย์ แต่จริง! เราต้องเผชิญกับความเสี่ยงประเภทใหม่คือ ความสม่ำเสมอของกระแสเงินสด. ก็ต้องบริหารความเสี่ยงกันไป ถ้าเราสามารถวาง MM ชีวิตให้ รวย & มั่งคั่ง ได้ ก็ถือว่าเราได้ประกันความเสี่ยงชีวิตไปในระดับนึงแล้ว..

แล้ว "มั่นคง" คืออะไร มั่นคงคือการ "ออม" ครับ. พวกเราถูกเสี้ยมสอนให้เริ่มที่การออม พอออมได้ถึงระดับนึงแล้วก็นำไปลงทุน. แล้วการออมจะยังไงต่อ จะต้องออมต่อหรือไม่อย่างไรไม่มีใครบอก. กลายเป็นพอเริ่มลงทุนส่วนใหญ่หยุดออม! เหมือนไปวิ่งไล่ความรวยและทิ้งความมั่นคงซะงั้น. ก็เพราะชีวิตมันชั่ว 7 ที ดี 7 หน. และเราไม่เคยรู้ว่าชีวิตจะพลิกจากดีเป็นร้ายเมื่อไร การออมไม่ใช่เป็นเพียงการวางทุนในสินทรัพย์ที่รักษามูลค่าหรือป้องกันเงิน เฟ้อได้เท่านั้น. แต่มันคือ "ทุนสำรองชีวิต" เพราะคิดให้ดีผลตอบแทนก็น้อยกว่าการ "กินส่วนต่าง" แน่นอน และกระแสเงินสดอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ออกแบบ ตอนไม่มีปัญหาก็ไม่ได้ สำคัญอะไรเท่าไร แต่ถ้าเกิดปัญหาขึ้นมา การมีหรือไม่มีหน้าตักสำรองต่างกันฟ้ากับเหวนะครับ. ส่วนจะเลือกที่ดินหรือทองก็แล้วแต่ ที่ดินอาจจะช่วยสร้างกระแสเงินสดระหว่างกาลให้ได้ด้วย แต่ถ้าต้องการ Cash out จริงๆ ก็อาจจะปัญหาสภาพคล่อง ทองคำไม่มีกระแสเงินสดแต่เรื่องสภาพคล่องไม่เป็นปัญหา คนเราถ้าคิดแค่ "รวย & มั่งคั่ง" ก็เปรียบเหมือน Tripod ที่มีแค่ 2 ขา พลาดไปก็ล้มทั้งยืนได้ "มั่นคง" ผ่านการออมไว้หน่อยกันล้ม ชีวิตก็มั่นคงไม่สั่นคลอน.

โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่อยู่กับความผันผวนในชีวิตประจำวัน. ออกแบบ MM ชีวิตให้ "รวย มั่งคั่ง และมั่นคง" ได้ที่เหลือลงตัวเอง

ท้าย สุดทองคำยัง Ok อยู่หรือไม่ ก็ต้องถามกลับไปว่าจะลงทุนในทองคำเพื่อ รวย มั่งคั่ง หรือมั่นคง ละครับ ถ้าเพื่อเก็งกำไรก็ควร Stop ออกไปตั้งนานแล้วถ้าไม่ได้เปิด Short ตามนะ. ถ้าหวังกระแสเงินสดก็ไม่ควรเลือกทองคำตั้งแต่ทีแรกอยู่แล้ว ถ้าเพื่อออม ทั้งในเชิงสภาพคล่องและการประกันความเสี่ยงเงินเฟ้อยัง Ok อยู่ครับ.

-Freedom trader-

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น


  1.  
     
     
     
     
    Thanong Khanthong
     
    8 ชั่วโมงที่แล้ว บริเวณ Bang Na
     
     
    ขณะ ที่ออกข่าวว่าการบริโภคภายในสหรัฐฟื้นตัว แต่รายได้คนอเมริกันหลังหักภาษี กลับลดลง แล้วเศรษฐกิจอเมริกาจะฟื้นตัวได้อย่างไร การบริโภตที่เพิ่มมาจากหนี้ที่เพิ่มน้นเอง เศรษฐกิจสหรัฐฯมีสีดส่วนผู้บริโภคถึง70%
     
     
    1002962_10201000200760808_136933236_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขณะ ที่ออกข่าวว่าการบริโภคภายในสหรัฐฟื้นตัว แต่รายได้คนอเมริกันหลังหักภาษี กลับลดลง แล้วเศรษฐกิจอเมริกาจะฟื้นตัวได้อย่างไร การบริโภตที่เพิ่มมาจากหนี้ที่เพิ่มน้นเอง เศรษฐกิจสหรัฐฯมีสีดส่วนผู้บริโภคถึง70%

สมัย ๒๐๐๘ ปล่อยกู้ซื้อบ้านแบบไม่ต้องดูรายได้

๒๐๑๓ ปล่อยสินเชื่อซื้อรถแบบไม่ต้องดูรายได้

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น่าฟังครับ จุดกำเนิดของFED(ซาตานผู้ยึดครองอเมริกา)

https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=egM4Fwd4JiU

ถูกแก้ไข โดย ส้มโอมือ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...