ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

สวัสดีครับคุณ.. Ginger bmw2770 baskie30 Pasaya กระต่ายทอง Pa’ree พวงชมพู ตังเม ย่าหยา Moddang Chez เด็กสยาม Chinchilla fung Mr.Li Ohshikung แสงแดด put42 bbeam mateenee ลูกน้ำเค็ม เฟิร์ส dep99 GoldOfCourse Silver&Gold Goldbullish jojosung fung NOT4545 หัดเล่นgf firework ปุยเมฆ SixMun และทุกท่านครับ

กราฟรายวันวันนี้เป็นเขียวแท่งสามครับล่าสุดราคาต่ำสุด 1587 ราคาสูงสุด1601 เมื่อคืนพุ่งขึ้นไปทดสอบด่าน1600 ห้ารอบแล้วยังไม่ผ่าน

ราคาขณะนี้อยู่ที่ 1596.x ครับ

 

สัญญานหลักแบลคคิง ทิศทาง side way up ครับ

:17

RSI Price Line เส้นเขียวจาก51.51วิ่งมา51.31ตอนนี้อยู่สูงกว่าเส้นแดงและสูงกว่าเส้นเหลืองครับ อยู่สูงกว่า50ทิศทางแนวราบครับ

Trade Signal Line เส้นแดง จาก44.05 วิ่งมา45.60 ทิศทางขึ้นและอยู่ต่ำกว่า 50 ครับ

เส้นนี้เพิ่มแสดง side way up

Market base Line เส้นเหลือง จาก46.20 วิ่งมา 47.09 อยู่ต่ำกว่า 50 ครับทิศทางขึ้น

 

 

สัญญานรองQQE ทิศทาง side way

เส้นฟ้า47.81วิ่งมา48.49อยู่เหนือเส้นประเหลืองทิศทางขึ้นครับ

เส้นนี้เพิ่มแสดง side way up ครับ

เส้นประเหลือง48.95วิ่งมา48.95 คงที่ครับ ทำท่าจะวิ่งไปอยู่ใต้เส้นฟ้า

(ถ้าคงที่นานๆ จะแสดง side way และถ้าทิศทางลงจะเด้งไปอยู่สูงกว่าเส้นฟ้าทันทีถ้าขึ้นจะลงมาต่ำกว่าเส้นฟ้าทันที)

แนวต้าน 1600 1609 1619 1623

แนวรับ 1585 1575 1566 1557

สรุปภาพรวมๆ น่าจะ side way up ทั้งสัญญานหลักและรองตรงกัน

วันนี้รอที่ 1585 ถ้ารับอยู่ คงพุ่งไปทดสอบด้านบนต่อ ครับ

ขอให้โชคดีครับ

:bye

post-1891-0-11975100-1341271822_thumb.gif

ถูกแก้ไข โดย news

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ขอบคุณค่ะคุณ news.

ตื่นส่งข่าวกันแต่เช้า. ฝนตกอากาศชื้นรักษาสุขภาพนะคะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีมือใหม่หัดวิฯทุกท่านฯ ปิดแท่งเมื่อวานนี้ยังแดงอยู่ครับ

ถือ สั้นนนน สั้น ต่อไปตามสูตรครับเจ้านายยยย :Announce

post-1950-0-61776400-1341275658_thumb.gif

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดี คุณๆ.. news bmw2770 baskie30 + Trader Junior Pasaya กระต่ายทอง Pa’ree พวงชมพู ตังเม ย่าหยา Moddang Chez เด็กสยาม Chinchilla fung Mr.Li Ohshikung แสงแดด put42 bbeam mateenee ลูกน้ำเค็ม เฟิร์ส dep99 GoldOfCourse Silver&Gold Goldbullish jojosung fung NOT4545 หัดเล่นgf firework ปุยเมฆ SixMun foo juy Alan seki kungnang TNT2012 ขุนศึก น้อย รี่ .... ... ...

 

ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐร่วงแตะ 49.7 ในเดือนมิ.ย. หดตัวครั้งแรกในรอบ 3 ปี

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555 22:04:00 น.

ภาคการผลิตสหรัฐร่วงลงเกินคาดในเดือนมิ.ย. และเข้าสู่ภาวะหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 3 ปี ส่งสัญญาณว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอาจหยุดชะงัก

สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตร่วงลงแตะ 49.7 ในเดือนมิ.ย. จากระดับ 53.5 ในเดือนพ.ค. เนื่องจากยอดสั่งซื้อใหม่ดิ่งหนัก

emnb_1_370236.gif

ตัวเลขต่ำกว่า 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตอยู่ในภาวะหดตัว ซึ่งถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2552 ที่ภาคการผลิตสหรัฐหดตัว นอกจากนี้ ดัชนีเดือนมิ.ย.ยังย่ำแย่กว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.0

สำหรับยอดสั่งซื้อใหม่ทรุดลงจาก 60.1 มาอยู่ที่ 47.8 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2552 ส่วนยอดสั่งซื้อสินค้าส่งออกลดลงแตะ 47.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีเช่นกัน จากระดับ 53.5 ในเดือนก่อนหน้า

ทั้งนี้ ภาคการผลิตของสหรัฐที่หดตัวลงนั้นสอดคล้องกับภูมิภาคอื่นๆของโลก โดยมาร์กิต อีโคโนมิคส์ รายงานในวันนี้ว่า ภาคการผลิตในยูโรโซนทรงตัวที่ 45.1 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นการหดตัวเดือนที่ 11 ติดต่อกัน

ขณะที่ เอชเอสบีซี โฮลดิงส์ เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีน ลดลงแตะ 48.2 ในเดือนมิ.ย. จาก 48.4 ในเดือนก่อนหน้า

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th

 

ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างสหรัฐพุ่งเกินคาดในพ.ค. บ่งชี้ตลาดที่อยู่อาศัยฟื้น

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555 22:25:06 น.

ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างในสหรัฐเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 5 เดือน มาอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี บ่งชี้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยกำลังฟื้นตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังจากซบเซาตลอด 5 ปีที่ผ่านมา

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายภาคการก่อสร้างปรับตัวขึ้น 0.9% ในเดือนพ.ค. มาอยู่ที่ 8.30 แสนล้านดอลลาร์ หลังจากเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนเม.ย. โดยการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในเดือนพ.ค.นับว่ามากสุดตั้งแต่เดือนธ.ค.2554 และมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.2% ขณะที่มูลค่าในเดือนพ.ค.ก็นับว่าสูงที่สุดตั้งแต่เดือนธ.ค.2552

emnb_1_370236.gif

สำหรับปัจจัยที่สนับสนุนการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างคือ การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในตลาดที่อยู่อาศัย โดยการก่อสร้างที่อยู่อาศัยพุ่งขึ้น 3% แตะ 2.613 แสนล้านดอลาร์ในเดือนพ.ค.

ขณะที่การใช้จ่ายในโครงการก่อสร้างซึ่งไม่ใช้ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 0.4% เป็น 2.991 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยการใช้จ่ายในการก่อสร้างศูนย์การค้า โรงแรม และอาคารสำนักงานต่างก็ปรับตัวขึ้น

อย่างไรก็ตาม โครงการก่อสร้างของรัฐบาลลดลง 0.4% มาอยู่ที่ 2.696 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2549 โดยการใช้จ่ายในระดับรัฐและท้องถิ่นลดลง 1% สู่ระดับ 2.426 แสนล้านดอลลาร์ ส่วนการก่อสร้างของรัฐบาลกลางพุ่งขึ้น 5.6% แตะ 4.27 พันล้านดอลลาร์

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th

 

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 3 กรกฎาคม 2555 07:34:49 น.

ตลาดหุ้นยุโรปปิดพุ่งขึ้นแข็งแกร่งเมื่อคืนนี้ (2 ก.ค.) โดยดัชนี Stoxx Europe 600 Index ทะยานขึ้น 1.5% ปิดที่ 254.82 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค.เป็นต้นมา เนื่องจากนักลงทุนคาดว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะประกาศใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อควบคุมการลุกลามของวิกฤตหนี้สาธารณะ นอกจากนี้ ข้อมูลภาคการผลิตที่สดใสของจีนและญี่ปุ่นยังเป็นอีกปัจจัยที่หนุนตลาดหุ้นยุโรปดีดตัวขึ้นด้วย

emnb_1_370236.gif

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3240.20 จุด บวก 43.55 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 6496.08 จุด บวก 79.80 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5640.64 จุด บวก 69.49 จุด

-- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (2 ก.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีภาคการผลิตที่อ่อนแอลงในเดือนมิ.ย. อย่างไรก็ตาม ดาวโจนส์ขยับลงเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ดัชนี Nasdaq และ S&P 500 ปิดบวก เนื่องจากภาวะการซื้อขายได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า เศรษฐกิจที่อ่อนแออาจจะกระตุ้นให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ขยับลง 8.70 จุด หรือ 0.07% ปิดที่ 12,871.39 จุด ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 3.35 จุด หรือ 0.25% ปิดที่ 1,365.51 จุด และดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 16.18 จุด หรือ 0.55% ปิดที่ 2,951.23 จุด

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (2 ก.ค.) เนื่องจากการชะลอตัวของข้อมูลภาคการผลิตของสหรัฐและจีนส่งผลให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำ

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ปรับตัวลง 6.5 ดอลลาร์ หรือ 0.41% ปิดที่ 1,597.7 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1597.9 - 1593.8 ดอลลาร์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 27.499 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 11.3 เซนต์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ปิดที่ 1,458.30 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 5.90 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 578.00 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 6.55 ดอลลาร์

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ที่ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (2 ก.ค.) หลังจากภาคการผลิตทั่วโลกชะลอตัวลง ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาจะส่งผลให้ความต้องการน้ำมันหดตัวลงด้วย

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค.ที่ตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนส.ค.ร่วงลง 1.21 ดอลลาร์ หรือ 1.4% ปิดที่ 83.75 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 82.10 - 85.05 ดอลลาร์

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอน ส่งมอบเดือนส.ค.ลดลง 46 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 97.34 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 95.30 - 97.87 ดอลลาร์

-- สกุลเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ดอลลาร์อ่อนแรงลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (2 ก.ค.) เนื่องจากข้อมูลด้านการผลิตที่อ่อนแอของสหรัฐทำให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.59% แตะที่ 1.2583 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2658 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนตัวลง 0.06% แตะที่ 1.5696 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5705 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.33% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 79.510 เยน จากระดับ 79.770 เยน แต่ดีดตัวขึ้น 0.65% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9545 ฟรังค์ จากระดับ 0.9483 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียขยับขึ้น 0.13% แตะที่ 1.0246 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0233 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่าขึ้น 0.36% แตะที่ 0.8036 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8007 ดอลลาร์สหรัฐ

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th-

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดลบ $6.5 หลังภาคการผลิตสหรัฐ,จีนชะลอตัว

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 3 กรกฎาคม 2555 06:54:36 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (2 ก.ค.) เนื่องจากการชะลอตัวของข้อมูลภาคการผลิตของสหรัฐและจีนส่งผลให้นักลงทุนลดการถือครองทองคำ

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ปรับตัวลง 6.5 ดอลลาร์ หรือ 0.41% ปิดที่ 1,597.7 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1597.9 - 1593.8 ดอลลาร์

emnb_1_370236.gif

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 27.499 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 11.3 เซนต์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค.ปิดที่ 1,458.30 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 5.90 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 578.00 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 6.55 ดอลลาร์

สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตร่วงลงแตะ 49.7 ในเดือนมิ.ย. จากระดับ 53.5 ในเดือนพ.ค. เนื่องจากยอดสั่งซื้อใหม่ลดลงอย่างหนัก ส่งสัญญาณว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอาจหยุดชะงัก

ภาคการผลิตของสหรัฐที่หดตัวลงสอดคล้องกับภูมิภาคอื่นๆของโลก โดยมาร์กิต อีโคโนมิคส์ รายงานในวันนี้ว่า ภาคการผลิตในยูโรโซนทรงตัวที่ 45.1 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นการหดตัวเดือนที่ 11 ติดต่อกัน ขณะที่ เอชเอสบีซี โฮลดิงส์ เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีน ลดลงแตะ 48.2 ในเดือนมิ.ย. จาก 48.4 ในเดือนก่อนหน้า

นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th-

 

ทองสหรัฐร่วงปิดต่ำกว่า1,600ดอลลาร์ ราคาทองตลาดสหรัฐ อ่อนตัว ปิดตลาดที่ระดับต่ำกว่า 1,600 ดอลลาร์ต่อออนซ์ถูกกดดันจากข้อมูลภาคการผลิตจีนและสหรัฐชะลอตัว อียูทำเอฟทีเออเมริกากลาง 6 ชาติอเมริกากลางจรดปากกาลงนามข้อตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป หวังเพิ่มช่องทางการค้า-การลงทุนระหว่างกัน เงินเฟ้ออินโดฯเพิ่มแบงก์ชาติจ่อตรึงดอกเบี้ย เงินเฟ้ออินโดนีเซียปรับตัวขึ้นในเดือนมิ.ย. ส่อแววแบงก์ชาติตรึงดอกเบี้ย บาร์เคลย์สถึงเจ.พี.ฯ กรณีฉาวแบงก์ 'ไม่มีวันตาย' ฝรั่งเศสขาดดุล1หมื่นล้านยูโรปีนี้ ริโอเดอจาเนโรขึ้นแท่นเมืองมรดกโลก 'อินเดีย' ยังเสน่ห์แรงอยู่ไหม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดน้ำมัน: ภาคการผลิตทั่วโลกซบเซา ฉุดน้ำมัน WTI ปิดลบ 1.21 ดอลล์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 3 กรกฎาคม 2555 07:10:17 น.

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ที่ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (2 ก.ค.) หลังจากภาคการผลิตทั่วโลกชะลอตัวลง ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาจะส่งผลให้ความต้องการน้ำมันหดตัวลงด้วย

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค.ที่ตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนส.ค.ร่วงลง 1.21 ดอลลาร์ หรือ 1.4% ปิดที่ 83.75 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 82.10 - 85.05 ดอลลาร์

emnb_1_370236.gif

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอน ส่งมอบเดือนส.ค.ลดลง 46 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 97.34 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 95.30 - 97.87 ดอลลาร์

ตลาดน้ำมันนิวยอร์กได้รับแรงกดดันจากข้อมูลภาคการผลิตที่ซบเซาทั่วโลก โดยสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตร่วงลงแตะ 49.7 ในเดือนมิ.ย. จากระดับ 53.5 ในเดือนพ.ค. เนื่องจากยอดสั่งซื้อใหม่ดิ่งหนัก

ภาคการผลิตสหรัฐร่วงลงเกินคาดในเดือนมิ.ย. และเข้าสู่ภาวะหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 3 ปี ส่งสัญญาณว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอาจหยุดชะงัก นอกจากนี้ ภาคการผลิตของสหรัฐที่หดตัวลงนั้นยังสอดคล้องกับภูมิภาคอื่นๆของโลก โดยมาร์กิต อีโคโนมิคส์ รายงานในวันนี้ว่า ภาคการผลิตในยูโรโซนทรงตัวที่ 45.1 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นการหดตัวเดือนที่ 11 ติดต่อกัน

ขณะที่เอชเอสบีซี โฮลดิงส์ เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีน ลดลงแตะ 48.2 ในเดือนมิ.ย. จาก 48.4 ในเดือนก่อนหน้า

อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่าสมาชิกรัฐสภาอิหร่านขู่ที่จะปิดกั้นการขนส่งน้ำมันดิบผ่านทางช่องแคบฮอร์มุซไปยังประเทศที่สนับสนุนมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน

รอสแทม คาเซมี รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของอิหร่านกล่าวว่า อิหร่านมีความพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะเผชิญหน้ากับมาตรการคว่ำบาตรอุตสาหกรรมน้ำมันอิหร่านของชาติตะวันตก และยังกล่าวด้วยว่าน้ำมันของอิหร่านถูกขายให้กับตลาดต่างประเทศ โดยปัจจุบัน หลายชาติในยุโรปซื้อน้ำมันของอิหร่าน ซึ่งบางประเทศในจำนวนนี้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการน้ำมันของอิหร่าน

รายงานระบุว่า ก่อนหน้าที่มาตรการคว่ำบาตรของอียูจะมีผลบังคับใช้นั้น การส่งออกน้ำมันของอิหร่านไปยังอียูมีสัดส่วนอยู่ที่ 18% ซึ่งนายคาเซมีกล่าวว่า นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกไปยังประเทศอื่นๆทั่วโลก

นักลงทุนจับตาดูรายงานสต็อกน้ำมันของสหรัฐประจำสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 29 มิ.ย. ซึ่งสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในวันพฤหัสบดีนี้ โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าสต็อกน้ำมันดิบจะลดลง 2.2 ล้านบาร์เรล สต็อกน้ำมันกลั่นจะเพิ่มขึ้น 300,000 บาร์เรล สต็อกน้ำมันเบนซินจะเพิ่มขึ้น 1.1 ล้านบาร์เรล และคาดว่าอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันอาจขยับลง 0.1%

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th-

 

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ยูโรร่วงเทียบดอลล์ หลังภาคการผลิตสหรัฐชะลอตัว

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 3 กรกฎาคม 2555 07:29:18 น.

สกุลเงินยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ดอลลาร์อ่อนแรงลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (2 ก.ค.) เนื่องจากข้อมูลด้านการผลิตที่อ่อนแอของสหรัฐทำให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.59% แตะที่ 1.2583 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2658 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนตัวลง 0.06% แตะที่ 1.5696 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5705 ดอลลาร์สหรัฐ

emnb_1_370236.gif

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.33% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 79.510 เยน จากระดับ 79.770 เยน แต่ดีดตัวขึ้น 0.65% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9545 ฟรังค์ จากระดับ 0.9483 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียขยับขึ้น 0.13% แตะที่ 1.0246 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0233 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่าขึ้น 0.36% แตะที่ 0.8036 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8007 ดอลลาร์สหรัฐ

นักลงทุนหลีกเลี่ยงการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง หลังจากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตร่วงลงแตะ 49.7 ในเดือนมิ.ย. จากระดับ 53.5 ในเดือนพ.ค. เนื่องจากยอดสั่งซื้อใหม่ดิ่งหนัก โดยภาคการผลิตสหรัฐร่วงลงเกินคาดในเดือนมิ.ย. และเข้าสู่ภาวะหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 3 ปี ส่งสัญญาณว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอาจหยุดชะงัก

ขณะที่สกุลเงินเยนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ของญี่ปุ่น (ทังกัน) ประจำไตรมาส 2 ของปีนี้ โดยระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่อยู่ที่ระดับ -1 จุด เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกที่ระดับ -4 จุด และมากกว่าที่นักวิเคราะห์ซึ่งสำรวจโดยสำนักข่าวเกียวโดคาดการณ์ไว้ที่ -4 จุด

นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการนอกภาคการผลิต เพิ่มขึ้นสู่ระดับ +8 จุด จากไตรมาสแรกที่ระดับ+5 จุด และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ +7 จุด

นักลงทุนจับตาดูการประชุมธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และธนาคารกลางอังกฤษ ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงเย็นวันที่ 5 ก.ค.นี้ตามเวลาไทย โดยมีการคาดการณ์ว่า อีซีบีจะใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อควบคุมการลุกลามของวิกฤตหนี้ และคาดว่าอีซีบีอาจจะลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% มาอยู่ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.75%

กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย.ในช่วงค่ำวันศุกร์นี้ตามเวลาไทย ขณะที่นักวิเคราะห์บางกลุ่มคาดว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรจะเพิ่มขึ้น 90,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ 8.2%

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อุตุฯเตือน"ฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก" blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 กรกฎาคม 2555 05:54 น. blank.gif กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือนภัย"ฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก" ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 03 กรกฎาคม 2555

 

ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคตะวันออกมีฝนกระจายและมีฝนตกหนักบางแห่ง

 

ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในช่วงวันที่ 3-4 กรกฎาคม 2555 ไว้ด้วย

 

ประกาศ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ออกประกาศ เวลา 04.30 น.

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาคใต้ฝั่งตะวันตกและตะวันออก ฝนกระจายและมีฝนตกหนักบางแห่ง blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 กรกฎาคม 2555 06:04 น.

Share

blank.gif กรมอุตุนิยมวิทยาพกรณ์อากาศประจำวันอังคารที่ 3 กรกฎาคม 2555 ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

 

ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคตะวันออกมีฝนกระจายและมีฝนตกหนักบางแห่ง

 

ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในช่วงวันที่ 3-4 กรกฎาคม 2555 ไว้ด้วย

 

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

 

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

 

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

 

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดจันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฏร์ธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง และพังงา อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

 

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

blank.gif

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...