ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

268077_371655099608076_729439308_n.jpg

 

ข่าวยามเย็น จ้า

 

World Today: สรุปข่าวต่างประเทศประจำวันที่ 1 มีนาคม 2556

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556 17:00:00 น.

กระทรวงกิจการภายในประเทศ และการสื่อสารญี่ปุ่น เปิดเผยว่า อัตราว่างงานของญี่ปุ่นร่วงลงแตะ 4.2% ในเดือนม.ค. จากอัตรา 4.3% ในเดือนธ.ค. ปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนท่ามกลางความคาดหวังว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัวดีขึ้น

 

-- กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของญี่ปุ่นปรับตัวลง 0.2% ในเดือนมกราคมเมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการปรับตัวลงของราคาสินค้าคงทนในครัวเรือน ซึ่งรวมไปถึงเครื่องปรับอากาศemnb_1_370236.gif

 

-- กระทรวงการคลังของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ค่าใช้จ่ายด้านทุนของบริษัทเอกชนญี่ปุ่นปรับตัวลง 8.7% ในช่วงไตรมาสที่สิ้นสุดเดือนธันวาคม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส เนื่องจากการส่งออกของประเทศได้รับแรงกดดันจากภาวะชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจลดลง

 

-- กระทรวงกิจการภายในประเทศ และการสื่อสารญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 2.4% ในเดือนม.ค. หลังมีการปรับตามอัตราเงินเฟ้อ เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะ 288,934 เยน โดยมีปัจจัยส่วนหนึ่งจากค่าใช้จ่ายด้านการติดต่อสื่อสารที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากความนิยมในการใช้สมาร์ทโฟน และอุปสงค์ที่แข็งแกร่งสำหรับเครื่องใช้ภายในบ้าน

 

-- กระทรวงเศรษฐกิจเกาหลีใต้เปิดเผยว่า เกาหลีใต้มียอดเกินดุลการค้าในเดือนก.พ.ทั้งสิ้น 2.06 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนม.ค.ที่ระดับ 476 ล้านดอลลาร์ โดยเป็นการเกินดุลการค้าติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 เนื่องจากยอดการนำเข้าปรับตัวลงในอัตราที่รวดเร็วกว่ายอดการส่งออก

 

-- สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนก.พ.อยู่ที่ระดับ 50.1 เทียบกับ 50.4 ในเดือนม.ค.

 

-- เอชเอสบีซี โฮลดิงส์เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนชะลอลงแตะ 50.4 ในเดือนก.พ. จากระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีที่ 52.3 ในเดือนม.ค.

 

-- สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี (Destatis) รายงานว่า ยอดค้าปลีกของเยอรมนีในเดือนม.ค.ดีดตัวขึ้น 3.1% จากเดือนธ.ค.ปี 2555 ที่มียอดขายลดลง 2.1%

 

-- นายทาโร อาโสะ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้ผู้บริหารภาคเอกชนขึ้นค่าแรงให้กับพนักงาน พร้อมกับย้ำว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะไม่ฟื้นตัว หากรายได้ไม่เพิ่มขึ้น

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: sunita@infoquest.co.th

 

ราคาทองคำฮ่องกงปิดตลาดวันนี้ ดิ่งลงแตะ 14,698 HKD/tael

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556 16:25:54 น.

สมาคมแลกเปลี่ยนทองคำและเงินของจีน เปิดเผยว่า ราคาทองคำที่ตลาดฮ่องกงดิ่งลง 150 ดอลลาร์ฮ่องกง ปิดที่ระดับ 14,698 ดอลลาร์ฮ่องกง/ตำลึงในวันนี้

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ราคาดังกล่าวเทียบเท่ากับ 1,590.95 ดอลลาร์สหรัฐ/ทรอยออนซ์ ลดลง 16.02 ดอลลาร์สหรัฐ ที่อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ/ 7.755 ดอลลาร์ฮ่องกงในวันนี้emnb_1_370236.gif

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ศศิประภา อัครภูติ/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--

 

มาร์กิตเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตยูโรโซนยังหดตัวในเดือนก.พ.

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556 16:16:43 น.

มาร์กิตเปิดเผยผลสำรวจที่แสดงให้เห็นว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนในเดือนก.พ.ขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยสู่ระดับ 47.9 จากระดับ 47.8 ในเดือนม.ค.

ดัชนีที่ต่ำกว่า 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตในยูโรโซนยังคงหดตัวต่อเนื่อง หลังจากที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตของประเทศรายใหญ่อย่าง ฝรั่งเศสและอิตาลี ยังคงปรับตัวลงในเดือนก.พ. แม้ว่าภาคการผลิตของเยอรมนีมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นก็ตามemnb_1_370236.gif

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th-

 

ผลสำรวจชี้ดัชนี PMI ภาคการผลิตเยอรมนีขยายตัวในเดือนก.พ.

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556 16:05:44 น.

ผลสำรวจของมาร์กิตระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเยอรมนีในเดือนก.พ.ขยายตัวแตะ 50.3 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับแต่ต้นปี 2555 จากระดับ 49.8 ในเดือนม.ค.

ดัชนีที่สูงกว่า 50 บ่งชี้ว่ากิจกรรมภาคการผลิตมีการขยายตัว ขณะที่ตัวเลขที่ต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตหดตัวลงจากเดือนก่อนหน้า

ข้อมูล PMI ภาคการผลิตเดือนก.พ.สอดคล้องกับการรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี (Destatis) ในวันนี้ว่า ยอดค้าปลีกของเยอรมนีในเดือนม.ค.ดีดตัวขึ้น 3.1% จากเดือนธ.ค.ปี 2555 ที่มียอดขายลดลง 2.1%

Destatis ระบุว่ายอดค้าปลีกในช่วงเดือนแรกของปีนี้มีการขยายตัวสูงสุดเมื่อเทียบรายเดือนนับแต่เดือนธ.ค.2549 ซึ่งบ่งชี้ว่าผู้บริโภคชาวเยอรมันมีความต้องการจับจ่ายมากขึ้นในช่วงปีใหม่emnb_1_370236.gif

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--

 

ภาคการผลิตออสเตรเลียส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น หลังอัตราการหดตัวชะลอลง

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556 15:32:40 น.

ผลการสำรวจรายเดือนของออสเตรเลียน อินดัสตรี กรุ๊ป (Ai Group) บ่งชี้ว่า กิจกรรมการผลิตของออสเตรเลียปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกันในเดือนกุมภาพันธ์ แต่อัตราการหดตัวได้ชะลอลงอย่างชัดเจน

ทั้งนี้ ดัชนีภาคการผลิตของ Ai Group ปรับตัวขึ้น 5.4 จุด สู่ระดับ 45.6 ในเดือนกุมภาพันธ์ แต่ยังคงต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นจุดแบ่งระหว่างการขยายตัวและการหดตัวemnb_1_370236.gif

Ai Group ระบุว่า ภาคการผลิตกำลังส่งสัญญาณเบื้องต้นถึงการขยายตัวหลังดัชนีคำสั่งใหม่, ดัชนีการผลิตและดัชนีการจ้างงาน ซึ่งเป็นดัชนีย่อยได้ปรับตัวดีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์

นายอินเนส วิลล็อกซ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Ai Group กล่าวว่า ดัชนีเดือนกุมภาพันธ์ถือเป็นตัวเลขรายเดือนที่ดีที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2555 แม้ว่ายังคงอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 50 ก็ตาม

นอกจากนี้ นายวิลล็อกซ์ยังกล่าวในแถลงการณ์ในวันนี้ว่า “แม้อัตราว่างงานจะอยู่ในระดับต่ำ แต่ภาวะการผลิตยังมีความท้าทายอีกมาก เนื่องจากภาคครัวเรือนยังไม่พร้อมใช้จ่ายและภาคธุรกิจยังคงชะลอการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์"

“ขณะที่โอกาสด้านการขยายตัวของรายได้ค่อนข้างมีข้อจำกัดและมีการปรับตัวขึ้นของค่าจ้างและต้นทุนวัตถุดิบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพลังงานนั้น ภาคธุรกิจต่างๆจึงยังคงปรับลดต้นทุนและมีการพิจารณาถึงประสิทธิภาพของภาคธุรกิจมากขึ้น" สำนักข่าวซินหัวรายงาน

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง/พันธุ์ทิพย์ โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th--

 

เยอรมนีเผยยอดค้าปลีกพุ่งขึ้น 3.1% ในเดือนม.ค.

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556 15:15:57 น.

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี (Destatis) รายงานว่า ยอดค้าปลีกของเยอรมนีในเดือนม.ค.ดีดตัวขึ้น 3.1% จากเดือนธ.ค.ปี 2555 ที่มียอดขายลดลง 2.1%emnb_18_18900.gif?614531959emnb_1_370236.gif

Destatis ระบุว่ายอดค้าปลีกในช่วงเดือนแรกของปีนี้มีการขยายตัวสูงสุดเมื่อเทียบรายเดือนนับแต่เดือนธ.ค.2549 ซึ่งบ่งชี้ว่าผู้บริโภคชาวเยอรมันมีความต้องการจับจ่ายมากขึ้นในช่วงปีใหม่

หากเทียบกับช่วงเดือนม.ค.ปี 2555 ยอดค้าปลีกปรับตัวขึ้น 2.4% จากยอดขายอาหารและเครื่องดื่มที่พุ่งขึ้น 3.2%

การเปิดเผยยอดค้าปลีกมีขึ้นหลังจากที่สถาบันวิจัย GfK เผยผลสำรวจที่ชี้ให้เห็นว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเยอรมนีในเดือนมี.ค.ขยับขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน สู่ระดับ 5.9 จาก 5.8 ในเดือนก.พ. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีมุมมองบวกมากขึ้น แม้ว่ายังมีความระมัดระวังเกี่ยวกับเศรษฐกิจ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเยอรมนีที่ปรับตัวดีขึ้นเน้นย้ำถึงคาดการณ์ที่ว่าการบริโภคในภาคครัวเรือนจะช่วยหนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้ โดย GfK คาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยหลังจากที่อยู่ในภาวะอ่อนแอในช่วงไตรมาส 4 ปี 2555 ซึ่งช่วยหนุนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--

 

รมว.คลังญี่ปุ่นเรียกร้องภาคเอกชนขึ้นค่าแรงเพื่อกระตุ้นการบริโภค

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556 15:08:33 น.

นายทาโร อาโสะ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้ผู้บริหารภาคเอกชนขึ้นค่าแรงให้กับพนักงาน พร้อมกับย้ำว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะไม่ฟื้นตัว หากรายได้ไม่เพิ่มขึ้น

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า นายอาโสะกล่าวในการประชุมร่วมกับสหพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นว่า "หากคุณไม่พิจารณาเรื่องรายได้ของพนักงาน การใช้จ่ายของผู้บริโภคก็จะไม่ขยายตัวขึ้น ผมจึงไม่ลังเลที่จะขอให้คุณขึ้นค่าแรงโดยเร็ว" ขณะที่ภาคเอกชนเกรงว่า การขึ้นค่าแรงโดยที่เศรษฐกิจไม่ได้ขยายตัวนั้น อาจจะทำให้กำไรของบริษัทร่วงลง

นายอาโสะกล่าวว่า "ผมมั่นใจว่าการขึ้นค่าแรงจะมีส่วนทำให้ประเทศได้รับประโยชน์ และจะขอขอบคุณสำหรับความเข้าใจและความร่วมมือ"

นายฮิโรมาสะ โยเนคูระ ประธานสหพันธ์กล่าวว่า การจ่ายโบนัสเพิ่มขึ้นอาจจะทำได้หากมีการคาดการณ์เรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากกว่านี้ และหากเศรษฐกิจขยายตัวเต็มที่ ก็จะช่วยส่งเสริมการจ้างงานและอัตราเงินเดือนemnb_1_370236.gif

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/พันธุ์ทิพย์ โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นไทย: ปิดร่วง 1.98 จุด ตลาดไร้ปัจจจัยหนุนใหม่ รอผลเจรจาตัดลดงบประมาณสหรัฐฯ

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556 17:20:31 น.

ตลาดหลักทรัพย์ปิดตลาดช่วงบ่ายวันนี้ที่ระดับ 1,539.60 จุด ลดลง 1.98 จุด (-0.13%) มูลค่าการซื้อขาย 64,514.94 ล้านบาท

การซื้อขายหุ้นวันนี้ ดัชนีหุ้นไทยเคลื่อนไหวในแดนบวกและแดนลบสลับกัน โดยขยับขึ้นแตะจุดสูงสุดของวันที่ระดับ 1,549.82 จุด ส่วนดัชนีจุดต่ำสุดของวันอยู่ที่ 1,537.02 จุด

ส่วนหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงวันนี้ เพิ่มขึ้น 319 หลักทรัพย์ ลดลง 352 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 138 หลักทรัพย์emnb_18_21074.gif?1208091285

นางสาวธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวลงในช่วงใกล้ปิดตลาด เนื่องจากนักลงทุนยังรอข้อสรุปการเจรจาการตัดลดงบประมาณฯของสหรัฐฯในคืนวันนี้ ทำให้มีนักลงทุนบางส่วนระมัดระวังการลงทุนอยู่ ประกอบกับตลาดยังไร้ปัจจัยหนุนใหม่ๆเข้ามา

ถึงแม้ว่าในช่วงเช้าและช่วงบ่ายก่อนเวลาใกล้ปิดตลาดจะเป็นบวก จากแรงซื้อสุทธิจากต่างชาติที่กลับเข้ามาค่อนข้างมากในเมื่อวานนี้ แต่ในช่วงบ่ายตลาดปรับขึ้นในกรอบจำกัดมากกว่าช่วงเช้า และปรับลดลงในช่วงท้ายตลาด

ส่วนตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียวันนี้ส่วนใหญ่มีลักษณะค่อนข้าง Mixed มีบางตลาดเป็นลบ อย่างเช่น ตลาดหุ้นในประเทศจีนที่มีการปรับตัวลงอย่างเห็นได้ชัด จากข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจ PMI ที่ประกาศออกมาแย่กว่าที่คาด

แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์หน้ายังต้องติดตามการเจรจาปรับลดงบประมาณของสหรัฐฯที่จะมีผลต่อตลาดค่อนข้างมาก ถ้าสามารถพ้นวิกฤตของการปรับลดงบประมาณได้ก็เป็นแรงหนุนตลาดให้ปรับตัวขึ้นต่อ แต่ถ้าไม่ได้ข้อสรุปออกมาตลาดก็อาจจะอ่อนตัวลง เนื่องจากปัจจัยเชิงบวกเกี่ยวกับการเก็งกำไรผลประกอบการบริษัทฯจดทะเบียนในประเทศจะสิ้นสุดในสัปดาห์นี้แล้ว ทำให้ปัจจัยบวกในประเทศหายไปหนึ่งปัจจัย

นอกจากนี้ในสัปดาห์หน้ายังมีหุ้นใหญ่หลายตัวขึ้น XD ทำให้มีส่วนถ่วงตลาดอยู่บ้าง ถ้าไม่ได้ปัจจัยบวกใหม่ๆเข้ามา อาจทำให้ตลาดดูซึมลง

พร้อมให้แนวต้าน 1,570 จุด แนวรับ 1,510 จุด

ส่วนหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์ ได้แก่

INTUCH มูลค่าการซื้อขาย 3,985.42 ล้านบาท ปิดที่ 74.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.75 บาท

MDX มูลค่าการซื้อขาย 2,371.88 ล้านบาท ปิดที่ 20.20 บาท ลดลง 2.30 บาท

PTT มูลค่าการซื้อขาย 1,809.34 ล้านบาท ปิดที่ 345.00 บาท ลดลง 5.00 บาท

ADVANC มูลค่าการซื้อขาย 1,799.17 ล้านบาท ปิดที่ 207.00 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง

BBL มูลค่าการซื้อขาย 1,448,57 ล้านบาท ปิดที่ 224.00 บาท เพิ่มขึ้น 5.00 บาท

อินโฟเควสท์ โดย จีรายุทธ จันทรงสกุล/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Asia Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียประจำวันที่ 1 มีนาคม 2556

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556 16:05:00 น.

ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดตลาดวันนี้อ่อนตัวลง เนื่องจากดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนที่ชะลอตัวลง และความกังวลเกี่ยวกับการลดรายจ่ายโดยอัตโนมัติของสหรัฐ

ดัชนี S&P/ASX 200 อ่อนตัว 18.00 จุด หรือ 0.35% ปิดที่ 5,086.10 จุด ส่วนดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดวันนี้ที่ 5,100.90 จุด ลดลง 19.50 จุดemnb_18_18900.gif?35638338emnb_1_370235.gif

 

-- ดัชนีเวทเต็ดตลาดหุ้นไต้หวันปิดเพิ่มขึ้นในวันนี้ โดยหุ้นปรับตัวขึ้นหลายกลุ่ม เนื่องจากนักลงทุนกลับมาทำการซื้อขายกันอย่างคึกคัก หลังจากที่ตลาดปิดทำการวานนี้ เนื่องในวันหยุด

ดัชนีเวทเต็ดเพิ่มขึ้น 66.65 จุด หรือ 0.83% ปิดที่ระดับ 7,964.63 จุด

 

-- ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดเพิ่มขึ้นในวันนี้ ซึ่งเป็นการปิดบวกต่อเนื่องจากวานนี้ เพราะได้แรงหนุนจากความคาดหวังที่ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะใช้นโยบายผ่อนคลายการเงินต่อไป อย่างไรก็ตาม ดัชนีนิกเกอิปรับตัวขึ้นในกรอบที่จำกัด เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับมาตรการลดการใช้จ่ายโดยอัตโนมัติของสหรัฐ

ดัชนีนิกเกอิเพิ่มขึ้น 47.02 จุด หรือ 0.41% ปิดที่ 11,606.38 จุด

 

-- ดัชนีคอมโพสิตตลาดหลักทรัพย์ลาวปิดลดลงวันนี้

ดัชนี LSX Composite Index ปิดลดลง 1.02 จุด หรือ 0.07% ที่ 1,437.51 จุด

 

-- ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนปิดตลาดวันนี้อ่อนตัวลง หลังจากที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนก.พ.อ่อนตัวลง

ดัชนี SSE Composite ลดลง 6.09 จุด หรือ 0.26% ปิดที่ 2,359.51 จุด

 

-- ดัชนี VN ตลาดหุ้นเวียดนามปิดปรับตัวขึ้น เช่นเดียวกับกับตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมเพื่อรับมือกับภาวะเงินฝืด

ดัชนี VN เพิ่มขึ้น 2.59 จุด หรือ 0.55% ปิดที่ 477.15 จุด

 

-- ดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงปิดปรับตัวลดลงในวันนี้ เนื่องจากหุ้นที่อ่อนไหวต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจร่วงลง หลังจากที่จีนเปิดเผยว่าดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนก.พ.อ่อนตัวลง

ดัชนีฮั่งเส็งลดลง 140.05 จุด หรือ 0.61% ปิดที่ 22,880.22 จุด

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย จงดี อำมฤคขจร/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th-

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เปิดผนึกบันทึกเฟด : ยุติหรือเดินหน้ามาตรการ QE โสภาวดี เลิศมนัสชัย ทันทีที่บันทึกการประชุมของคณะกรรมการนโนบายการเงินของเฟดครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 28-30 ม.ค.ที่ผ่านมา

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอเอฟพี/เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์-สำนักงานสถิติแห่งยุโรป (Eurostat) เผยในวันศุกร์ (1) โดยระบุว่า อัตราการว่างงานของ 17 ประเทศกลุ่มยูโรโซนได้พุ่งสูงขึ้นจนทำสถิติใหม่ที่ 11.9 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา หรือคิดเป็นจำนวนคนตกงานเกือบ 19 ล้านคน สูงขึ้นจาก 11.8 เปอร์เซ็นต์ในเดือนธันวาคม 2012

ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งยุโรประบุว่า ตัวเลขการว่างงานของสมาชิกสหภาพยุโรป(อียู)ทั้ง 27 ประเทศในเดือนมกราคมอยู่ที่ 10.8 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นจาก 10.7 เปอร์เซ็นต์ในเดือนธันวาคม ส่งผลให้จำนวนผู้ว่างงานทั่วอียูมีทั้งสิ้นกว่า 26.2 ล้านคน แต่หากคิดเฉพาะ ประเทศที่ใช้ “เงินสกุลยูโร” ซึ่งมีอยู่ 17 ประเทศจะพบว่ากลุ่มยูโรโซน มีคนตกงานเกือบ 19 ล้านคน

ข้อมูลระบุว่า ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีคนตกงานเพิ่มขึ้นอีกกว่า 201,000 คนใน 17 ประเทศกลุ่มยูโรโซน และมีคนตกงานเพิ่มขึ้น 222,000 คนในอียู โดยกรีซเป็นประเทศที่มีผู้ว่างงานสูงที่สุดที่ 27 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งประเทศ รองลงมา คือ สเปน ที่ 26.2 เปอร์เซ็นต์

โดยในส่วนของกรีซนั้น มีตัวเลขว่าแรงงานวัยหนุ่มสาวที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ต้องกลายเป็นผู้ว่างงานสูงถึง 59.4 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่แรงงานหนุ่มสาวในสเปน ต้องว่างงาน 55.5 เปอร์เซ็นต์

ในทางกลับกัน ข้อมูลล่าสุดของยูโรสแต็ท ชี้ว่า ประเทศที่มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดในยุโรปขณะนี้ คือ ออสเตรีย ที่ 4.9 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วยเยอรมนีและลักเซมเบิร์กที่ 5.3 เปอร์เซ็นต์เท่ากัน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

อัตราว่างงานยูโรโซนเพิ่มทำสถิติใหม่ที่ 11.9% ขณะเงินเฟ้อชะลอแตะ 1.8%

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556 19:15:39 น.

สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือยูโรสแตท รายงานว่า อัตราว่างงานในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร 17 ประเทศ ปรับตัวขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 11.9% ในเดือนม.ค. จาก 11.8% ในเดือนธ.ค.

สำหรับกลุ่มอียู ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 27 ประเทศ รวมถึงประเทศที่ไม่ได้ใช้เงินยูโรนั้น อัตราว่างงานปรับตัวขึ้นแตะ 10.8% ในเดือนม.ค. จาก 10.7% ในเดือนก่อนหน้าemnb_18_18900.gif?276610364

ประเทศสมาชิกที่มีอัตราว่างงานสูงสุดคือกรีซที่ 27% ตามด้วยสเปน 26.2% และโปรตุเกส 17.6% ขณะที่ออสเตรียมีอัตราว่างงานต่ำสุดที่ 4.9% รองลงมาคือเยอรมนีและลักเซมเบิร์ก เท่ากันที่ 5.3% และเนเธอร์แลนด์ 6%

เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว อัตราว่างงานทั้งในยูโรโซนและอียูพุ่งขึ้นอย่างมาก โดยอัตราว่างงานเดือนม.ค.2555 อยู่ที่ 10.8% ในยูโรโซน และ 10.1% ในอียู

ยูโรสแตทประเมินว่า ประชากรชายและหญิงจำนวน 26.217 ล้านคนในอียูไม่มีงานทำในเดือนม.ค.2556 โดย 18.998 ล้านคนในจำนวนนี้อยู่ในยูโรโซน

ขณะเดียวกัน ยูโรสแตทยังได้เปิดเผยในวันเดียวกันว่า อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนลดลงสู่ระดับ 1.8% ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี และสอดคล้องกับเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 2%

นักวิเคราะห์กล่าวว่า อัตราว่างงานที่อยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำสถิติในปี 2538 และตัวเลขเงินเฟ้อในระดับต่ำทำให้มีแนวโน้มมากขึ้นที่อีซีบีอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้ จากระดับปัจจุบันที่ 0.75%

ซาราห์ ฮิววิน จากสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด กล่าวว่า ข้อมูลทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนการลดดอกเบี้ย ซึ่งทางสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด คาดว่าจะเกิดขึ้นในไตรมาส 2

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สหรัฐเผยการใช้จ่ายส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น ขณะรายได้ส่วนบุคคลลดลงในเดือนม.ค.

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556 21:18:12 น.

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นในเดือนม.ค. ขณะที่รายได้ปรับตัวลงมากที่สุดในรอบ 20 ปี และอัตราการออมลดลง บ่งชี้ว่าผู้บริโภคเลือกที่จะออมเงินลดลงเพื่อนำมาใช้จ่าย ในขณะที่การขึ้นภาษีเงินได้มีผลบังคับใช้emnb_1_370236.gif

การใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือนม.ค.เพิ่มขึ้น 0.2% ซึ่งสอดคล้องกับที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนก่อนหน้า

ขณะเดียวกัน รายงานระบุว่า รายได้ส่วนบุคคลร่วงลง 3.6% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นการลดลงมากสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2536 และร่วงหนักกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงประมาณ 2.5% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2.6% ในเดือนธ.ค.

สำหรับอัตราการออมเงินส่วนบุคคลลดลงแตะ 2.4% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2550 โดยลดลงจากระดับ 6.4% ในเดือนธ.ค.

ทั้งนี้ การใช้จ่ายผู้บริโภคคิดเป็นสัดส่วนถึง 70% หรือสองในสามของระบบเศรษฐกิจสหรัฐ

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th-

 

ราคาทองฟิวเจอร์ลดลงต่อเนื่อง หลังดอลล์แข็ง, เศรษฐกิจฟื้นตัว

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556 19:36:51 น.

ราคาทองฟิวเจอร์ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ในวันนี้ เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่เป็นบวกของสหรัฐกระตุ้นให้นักลงทุนขายทองเพื่อไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงกว่า ประกอบกับดอลลาร์ที่แข็งค่าทำให้การลงทุนในทองคำมีความน่าดึงดูดใจลดลง

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเมษายนร่วงลง 12 ดอลลาร์ หรือ 0.76% แตะที่ 1,566.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ณ เวลา 19.25 น.ตามเวลาประเทศไทยemnb_1_370236.gif

ทั้งนี้ สัญญาทองคำร่วงลงถึง 17.60 ดอลลาร์ หรือ 1.1% แตะ 1,578.10 ดอลลาร์/ออนซ์เมื่อวานนี้ ต่อเนื่องจากเมื่อวันพุธที่ดิ่งลง 19.80 ดอลลาร์ หรือ 1.2% โดยตลอดเดือนนี้ ราคาทองได้ร่วงลงไปแล้วประมาณ 5%

ทองคำถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย โดยนักลงทุนแห่ซื้อทองในช่วงที่เกิดวิกฤตหนี้สาธารณะและวิกฤตการเงิน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐหลายรายการที่ปรับตัวดีขึ้นในระยะนี้ ประกอบกับสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น ที่แข็งแกร่งขึ้น ได้เบี่ยงเบนความสนใจของนักลงทุนไปจากทองคำ

เมื่อคืนนี้ สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจหลายรายการที่สร้างแรงกดดันให้กับราคาทองคำ ซึ่งรวมถึงตัวเลขประมาณการครั้งที่สองของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงประจำไตรมาส 4/2555 ที่ขยายตัว 0.1% ต่อปี ซึ่งดีกว่าในครั้งแรกที่ได้ประมาณการไว้ว่าหดตัวลง 0.1% รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ที่ลดลงมากกว่าที่มีการคาดการณ์กันไว้

นอกจากนี้ ดอลลาร์ที่เคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงในรอบหลายเดือนทำให้ความต้องการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งรวมถึงทองคำลดลง เพราะมีราคาแพงขึ้นสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่นๆ

สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในวันนี้ ได้แก่ รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือนม.ค., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงท้ายเดือนก.พ. และดัชนีภาคการผลิตโดยสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM)

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--

 

ราคาน้ำมัน WTI ลดลงอีก หลังดัชนี PMI ภาคการผลิตจีนชะลอตัว

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556 20:38:18 น.

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) เดือนเม.ย. ปรับตัวลง 1.61 ดอลลาร์ หรือ 1.8% แตะที่ 90.44 ดอลลาร์/บาร์เรล ก่อนขยับมาอยู่ที่ 90.70 ดอลลาร์ ณ เวลา 13.19 น.ตามเวลาลอนดอนในวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาคการผลิตที่ชะลอตัวลงของจีน

สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนก.พ.อยู่ที่ระดับ 50.1 เทียบกับ 50.4 ในเดือนม.ค. และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่emnb_18_18900.gif?2078472058emnb_1_370236.gif

ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับที่เอชเอสบีซี โฮลดิงส์เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนชะลอลงแตะ 50.4 ในเดือนก.พ. จากระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีที่ 52.3 ในเดือนม.ค.

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังถูกกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการตัดลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลกลางสหรัฐโดยอัตโนมัติซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันนี้ โดยนักลงทุนหวั่นเกรงว่ามาตรการดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ

ทั้งนี้ ราคาน้ำมัน WTI ร่วงลงต่ำกว่าระดับ 91 ดอลลาร์/บาร์เรลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2555

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--

 

USGS เผยเกิดแผ่นดินไหว 6.7 ริกเตอร์ที่หมู่เกาะคูริว ยังไม่มีรายงายความเสียหาย

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556 21:03:12 น.

สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐ (USGS) เปิดเผยว่า เกิดแผ่นดินไหววัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.7 ริกเตอร์ ที่หมู่เกาะคูริล เมื่อเวลา 20.20 น.ตามเวลาไทยวันนี้

USGS ระบุว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของโอเซอร์นอฟสกีออกไป 91 กิโลเมตร ที่ระดับความลึก 31.7 กิโลเมตร

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานความเสียหาย ตลอดจนผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตemnb_1_370236.gif

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: panaiyada@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีและขอบคุณมากค่ะ คุณginger news chez bas+trader+น้องบีม ต่ายทอง ย่าหยา พี่มดแดง พี่แสงแดด

fung goldtoy madam Pasaya Aiya เกี้ยมอี๋ กัปตัน ปุยเมฆ ตังเม เด็กสยาม wann put Pa'ree gejen

auntnextdoor จูกัดเหลียง กบจ้า และทุกๆคนค่ะ

โชคดี มีความสุขค่ะ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

561607_505941082757434_696493081_n.jpg

 

สวัสดีและขอบคุณมากค่ะ คุณginger news chez bas+trader+น้องบีม ต่ายทอง ย่าหยา พี่มดแดง พี่แสงแดด

fung goldtoy madam Pasaya Aiya เกี้ยมอี๋ กัปตัน ปุยเมฆ ตังเม เด็กสยาม wann put Pa'ree gejen

auntnextdoor จูกัดเหลียง กบจ้า และทุกๆคนค่ะ

โชคดี มีความสุขค่ะ

สบายใจทุกวันนะคะ

 

 

สวัสดี มือใหม่ พ่อแม่ พี่น้อง นักลงทุน ทุกท่าน

 

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: เงินดอลล์แข็งค่า ฉุดทองคำปิดร่วง $5.8

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 2 มีนาคม 2556 08:29:35 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (1 มี.ค.) ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกัน 3 วันทำการ เนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อบรรยากาศการซื้อขายในตลาดทองคำ

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 5.8 ดอลลาร์ หรือ 0.37% ปิดที่ 1,572.3 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค.เป็นต้นมาemnb_1_370236.gif

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 28.490 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 5.8 เซนต์ และสัญญาโลหะทองแดงส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 5.8 เซนต์ ปิดที่ 3.4985 ดอลลาร์/ปอนด์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดที่ 1,573.50 ดอลลาร์/ออนซ์ ร่วงลง 10.00 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดที่ 720.40 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 14.15 ดอลลาร์

ภาวะการซื้อขายในตลาดทองคำเป็นไปอย่างซบเซาเนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโร โดยดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินสกุลดอลลาร์ในตระกร้าเงินเมื่อเทียบกับสกุลอื่นๆ พุ่งขึ้นแตะระดับ 82.329 จุดเมื่อวานนี้ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 81.959 จุด

นักลงทุนจับตาดูความเคลื่อนไหวของมาตรการลดการใช้จ่ายโดยอัตโนมัติของสหรัฐซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวานนี้ โดยพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันประสบความล้มเหลวในการหาทางออกร่วมกันเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดลดงบประมาณแบบอัตโนมัติกว่า 85 หมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อตัวแทนจากพรรคเดโมเครตเรียกร้องให้มีการขึ้นภาษีกับคนรวย ขณะที่ทางพรรครีพับลีกันคัดค้านการเก็บภาษีเพิ่ม

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์แข็งค่า เหตุวิตกแผนลดรายจ่ายสหรัฐหนุนแรงซื้อ

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 2 มีนาคม 2556 08:54:56 น.

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (1 มี.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับมาตรการลดการใช้จ่ายโดยอัตโนมัติของสหรัฐได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ปลอดภัย รวมถึงสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ ดอลลาร์สหรัฐดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 0.9438 ฟรังค์ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 0.9369 ฟรังค์ และพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 93.62 เยน จากระดับ 92.69 เยนemnb_1_370236.gif

ค่าเงินยูโรร่วงลงมาอยู่ที่ระดับ 1.3018 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 1.3063 ดอลลาร์สหรัฐ และเงินปอนด์ร่วงลงมาอยู่ที่ 1.5019 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5172 ดอลลาร์สหรัฐ

นักลงทุนเข้าซื้อสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย เนื่องจากกระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นจากมาตรการปรับลดงบรายจ่ายโดยอัตโนมัติของรัฐบาลกลางสหรัฐที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวานนี้ โดยพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันประสบความล้มเหลวในการหาทางออกร่วมกันเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดลดงบประมาณแบบอัตโนมัติกว่า 85 หมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อตัวแทนจากพรรคเดโมเครตเรียกร้องให้มีการขึ้นภาษีกับคนรวย ขณะที่ทางพรรครีพับลีกันคัดค้านการเก็บภาษีเพิ่ม

นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐ โดยสถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 54.2 ในเดือนก.พ. จากระดับ 53.1 ในเดือนม.ค. นับเป็นการปรับตัวขึ้นในอัตราที่เร็วที่สุดในรอบกว่าหนึ่งปี ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐช่วงท้ายเดือนก.พ.เพิ่มขึ้นแตะ 77.6 จากระดับ 73.8 ในเดือนม.ค. ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าดัชนีจะอยู่ที่ 76.3

ส่วนค่าเงินยูโรได้แรงหนุนหลังจากมาร์กิตเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนในเดือนก.พ.ขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยสู่ระดับ 47.9 จากระดับ 47.8 ในเดือนม.ค.

ทั้งนี้ ดัชนีที่ต่ำกว่า 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตในยูโรโซนยังคงหดตัวต่อเนื่อง หลังจากที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตของประเทศรายใหญ่อย่าง ฝรั่งเศสและอิตาลี ยังคงปรับตัวลงในเดือนก.พ. แม้ว่าภาคการผลิตของเยอรมนีมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นก็ตาม

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th-

 

ภาวะตลาดน้ำมัน: วิตกมาตรการลดรายจ่ายสหรัฐ ฉุดน้ำมัน WTI ปิดร่วง $1.37

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 2 มีนาคม 2556 08:04:50 น.

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (1 มี.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากมาตรการลดการใช้จ่ายโดยอัตโนมัติของสหรัฐ ซึ่งความกังวลในเรื่องดังกล่าวได้สกัดปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 1.37 ดอลลาร์ หรือ 1.48% ปิดที่ 90.68 ดอลลาร์/บาร์เรลemnb_1_370236.gif

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนเม.ย.ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 98 เซนต์ ปิดที่ 110.40 ดอลลาร์/บาร์เรล

ภาวะการซื้อขายเป็นไปอย่างซบเซาเนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นจากมาตรการปรับลดงบรายจ่ายโดยอัตโนมัติของรัฐบาลกลางสหรัฐที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวานนี้ โดยพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันประสบความล้มเหลวในการหาทางออกร่วมกันเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดลดงบประมาณแบบอัตโนมัติกว่า 85 หมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อตัวแทนจากพรรคเดโมเครตเรียกร้องให้มีการขึ้นภาษีกับคนรวย ขณะที่ทางพรรครีพับลีกันคัดค้านการเก็บภาษีเพิ่ม

ความล้มเหลวในการหาทางออกร่วมกันนั้น ส่งผลให้ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ต้องหามาตรการใหม่จัดการกับแผนตัดลดงบประมาณดังกล่าว โดยปธน.โอบามาจะเข้าพบกับสมาชิกระดับสูงของสภาคองเกรสในวันนี้เพื่อรือถึงทางออกอีกครั้ง

ทั้งนี้ ความวิตกกังวลในเรื่องดังกล่าวได้บดบังปัจจัยบวกจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐ โดยสถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 54.2 ในเดือนก.พ. จากระดับ 53.1 ในเดือนม.ค. นับเป็นการปรับตัวขึ้นในอัตราที่เร็วที่สุดในรอบกว่าหนึ่งปี นอกจากนี้ ยังดีกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะลดลงสู่ระดับ 52.5 และดีกว่าข้อมูลของประเทศเศรษฐกิจรายใหญ่อื่นๆ

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐช่วงท้ายเดือนก.พ.โดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน เพิ่มขึ้นแตะ 77.6 จากระดับ 73.8 ในเดือนม.ค. ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าดัชนีจะอยู่ที่ 76.3 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงต้นเดือนก.พ.

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th-

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

น้ำมัน-ทองคำลงจับตาผลกระทบมะกันตัดงบอัตโนมัติ หุ้นสหรัฐฯบวก

blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มีนาคม 2556 05:32 น.

blank.gif 556000002726001.JPEG blank.gif เอเอฟพี - ราคาน้ำมันและทองคำวานนี้(1) ขยับลงพอสมควร โดยตลาดนิวยอร์กแตะระดับต่ำสุดรอบ 2 เดือน นักลงทุนจับตาผลกระทบของสู่มาตรการลดงบประมาณรายจ่ายแบบเหมารวมอย่างอัตโนมัติซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ ผิดกับวอลล์สตรีท ที่ยังยืนหยัดในแดนบวกได้ จากข้อมูลทางเศรษฐกิจอันสดใสในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนเมษายน ลดลง 1.37 ดอลลาร์ ปิดที่ 90.68 ดอลลาร์ต่อบร์เรล หลังจากช่วงหนึ่งดิ่งลงไปถึง 90.04 ดอลลาร์ ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคมปีก่อน ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 98 เซนต์ ปิดที่ 110.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันวานนี้(1) นักลงทุนกล่าวโทษไปที่การแข็งค่าของดอลลาร์ และความคาดหมายว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจถูกฉูดรั้งให้ชะลอตัวจากมาตรการลดงบประมาณรายจ่ายแบบเหมารวมทั่วทุกภาคส่วน 85,000 ล้านดอลลาร์อย่างอัตโนมัติ ที่เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม

 

ปัจจัยข้างต้นประกอบการปัญหาจนตรอกทางการเมืองตามหลังศึกเลือกตั้งของอิตาลี ก็ฉุดให้ราคาทองคำวานนี้(1) ปิดลบเล็กน้อย โดยราคาทองคำตลาดโคเมกซ์ของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนเมษายน ลดลง 5.80 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,572.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(1) สามารถปิดบวกได้เล็กน้อย หลังนักลงทุนมองข้ามความเสี่ยงทางเศรษฐกิจตามหลังมาตรการลดงบประมาณรายจ่ายแบบเหมารวมมีผลบังคับใช้ และยังเชื่อมั่นต่อนโยบายการเงินการคลังของรัฐบาล

 

ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 35.24 จุด (0.25 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 14,089.73 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 9.55 จุด (0.30 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,169.74 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 3.59 จุด (0.24 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,518.74 จุด

 

"ตลาดรับรู้ถึงความไม่แน่นอนของการเจรจาตัดลบงบประมาณนี้อยู่แล้ว ดังนั้นพวกเขาจึงไม่รู้สึกตื่นตระหนกใดๆ" พอล เอเดลสเตน นักวิเคราะห์จากไอเอชเอส โกลบอล อินไซต์ กล่าว "ข้อมูลทางเศรษฐกิจสหรัฐฯรอบสัปดาห์นี้ดูดีมาก และนโยบายการเงินการคลังก็เป็นตัวสนับสนุนเป็นอย่างดี"

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

พยากรณ์อากาศ 02/03/2013 กรุงเทพ มีแดดจัด mostlysunny.gif สูงสุด 34 ° C ต่ำสุด 26 ° C

กาญจนบุรี มีเมฆหมอก hazy.gif สูงสุด 37 ° C ต่ำสุด 26 ° C

เชียงใหม่ มีเมฆหมอก hazy.gif สูงสุด 37 ° C ต่ำสุด 23 ° C

ขอนแก่น ท้องฟ้าโปร่ง clear.gif สูงสุด 37 ° C ต่ำสุด 27 ° C

นครราชสีมา ท้องฟ้าโปร่ง clear.gif สูงสุด 38 ° C ต่ำสุด 26 ° C

ชลบุรี มีเมฆมาก mostlycloudy.gif สูงสุด 31 ° C ต่ำสุด 27 ° C

สงขลา มีเมฆมาก mostlycloudy.gif สูงสุด 31 ° C ต่ำสุด 25 ° C

ภูเก็ต มีแดดจัด mostlysunny.gif สูงสุด 32 ° C ต่ำสุด 24 ° C

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดบวก 35.17 จุดรับข้อมูลศก.สหรัฐสดใส

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 2 มีนาคม 2556 07:28:11 น.

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (1 มี.ค.) ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐ รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นเกินคาด ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยบรรเทาปัจจัยลบที่เกิดจากความวิตกกังวลในเรื่องมาตรการลดรายจ่ายของสหรัฐ

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวก 35.17 จุด หรือ 0.25% แตะที่ 14,089.66 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดบวก 3.52 จุด หรือ 0.23% แตะที่ 1,518.20 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดบวก 9.55 จุด หรือ 0.30% แตะที่ 3,169.74 จุด

 

 

 

 

 

 

emnb_1_370235.gif

ในช่วงแรกนั้น ตลาดหุ้นนิวยอร์กอ่อนแรงลงเนื่องจากบรรยากาศการซื้อขายถูกปกคลุมด้วยความไม่แน่นอนเกี่ยวกับขอบเขตความเสียหายทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นจากมาตรการปรับลดงบรายจ่ายโดยอัตโนมัติของรัฐบาลกลางสหรัฐที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวานนี้ โดยพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันประสบความล้มเหลวในการหาทางออกร่วมกันเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดลดงบประมาณแบบอัตโนมัติกว่า 85 หมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อตัวแทนจากพรรคเดโมเครตเรียกร้องให้มีการขึ้นภาษีกับคนรวย ขณะที่ทางพรรครีพับลีกันคัดค้านการเก็บภาษีเพิ่ม

ความล้มเหลวในการหาทางออกร่วมกันนั้น ส่งผลให้ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ต้องหามาตรการใหม่จัดการกับแผนตัดลดงบประมาณดังกล่าว โดยปธน.โอบามาจะเข้าพบกับสมาชิกระดับสูงของสภาคองเกรสในวันนี้เพื่อรือถึงทางออกอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม ตลาดดีดตัวขึ้นในเวลาต่อมา หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใส โดยสถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 54.2 ในเดือนก.พ. จากระดับ 53.1 ในเดือนม.ค. นับเป็นการปรับตัวขึ้นในอัตราที่เร็วที่สุดในรอบกว่าหนึ่งปี นอกจากนี้ ยังดีกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะลดลงสู่ระดับ 52.5 และดีกว่าข้อมูลของประเทศเศรษฐกิจรายใหญ่อื่นๆ

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐช่วงท้ายเดือนก.พ.โดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน เพิ่มขึ้นแตะ 77.6 จากระดับ 73.8 ในเดือนม.ค. ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าดัชนีจะอยู่ที่ 76.3 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงต้นเดือนก.พ.

ส่วนดัชนีคาดการณ์สำหรับช่วง 6 เดือนจากนี้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ใช้ติดตามทิศทางการใช้จ่ายของผู้บริโภค ปรับตัวขึ้นแตะ 70.2 จาก 66.6 ในเดือนที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นจาก 68.7 ในช่วงต้นเดือนก.พ.

หุ้นกลุ่มสายการบินปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยหุ้นเดลต้า แอร์ไลน์ส พุ่งขึ้น 3.9% และหุ้นยูไนเต็ด คอนโซลิเดทเต็ด โฮลดิ้งส์ พุ่งขึ้น 2.5%

หุ้นกรุ๊ปปอง ดีดตัวขึ้น 13% หุ้นเบสท์บายปรับตัวขึ้น 4.6%

อย่างไรก็ตาม หุ้นแอปเปิล ร่วงลง 2.5% หุ้นฟรีพอร์ท-แมคมอร์แรน ร่วงลง 1.4% หุ้นฮัลลิเบอร์ตัน ร่วงลง 2.1% และหุ้นแคทเตอร์พิลลาร์ร่วงลง 1.1%

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

 

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: แรงซื้อหนุนฟุตซี่ปิดบวก 17.79 จุด

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 2 มีนาคม 2556 09:33:57 น.

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อคืนนี้ (1 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเดินหน้าซื้อหุ้น แม้มีรายงานว่าดัชนีภาคการผลิตของอังกฤษและยูโรโซนหดตัวลงก็ตาม

ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 6,378.60 จุด เพิ่มขึ้น 17.79 จุด หรือ 0.28%

นักลงทุนยังคงเข้าซื้อหุ้น แม้หลังดัชนีภาคการผลิตของอังกฤษหดตัวเหนือความคาดหมายในเดือนก.พ. โดยมาร์กิต อีโคโนมิคส์เปิดเผยว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตของอังกฤษลดลง 47.9 ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะหดตัว สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่ากิจกรรมภาคการผลิตจะขยายตัวที่ 51emnb_1_370235.gif

นอกจากนี้ มาร์กิตเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนในเดือนก.พ.ขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยสู่ระดับ 47.9 จากระดับ 47.8 ในเดือนม.ค.

ทั้งนี้ ดัชนีที่ต่ำกว่า 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตในยูโรโซนยังคงหดตัวต่อเนื่อง หลังจากที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตของประเทศรายใหญ่อย่าง ฝรั่งเศสและอิตาลี ยังคงปรับตัวลงในเดือนก.พ. แม้ว่าภาคการผลิตของเยอรมนีมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นก็ตาม

หุ้นโอลด์ มิวชวล ซึ่งเป็นบริษัทประกันรายใหญ่ พุ่งขึ้น 4.4% ขณะที่หุ้นแฮมเมอร์สัน ดีดตัวขึ้น 9.5%

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: ratana@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...