ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

1491670_605655492823571_1357020030_n.jpg

สุข สบายใจ

เบิกบาน แจ่มใส ร่าเริง

เข้มแข็ง กระฉับกระเฉง รับวันหยุดยาวปีใหม่นะคะ

เที่ยวให้สนุก เยี่ยมญาติสดใส

ทำสิ่งใด สำเร็จสมใจ ดีงาม

ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดบวก $1.7 ขณะการซื้อขายเบาบางช่วงวันหยุด

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2556 06:42:56 น.

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (27 ธ.ค.) ท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบางในช่วงวันหยุด

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.ปิดปรับขึ้น 1.7 ดอลลาร์ หรือ 0.14% ที่ 1,214 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดบวก 13.3 เซนต์ ที่ 20.049 ดอลลาร์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดพุ่ง 15.1 ดอลลาร์ ที่ 1,378.9 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดดีดขึ้น 11.20 ดอลลาร์ ปิดที่ 711.95 ดอลลาร์/ออนซ์

ราคาทองปรับตัวผันผวนในกรอบแคบๆในช่วงที่ผ่านมา โดยในปัจจุบันนี้ อุปสงค์ของนักลงทุนอยู่ที่ระดับต่ำ เนื่องจากเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น

นักวิเคราะห์ในตลาดไม่ได้มีมุมมองบวกเกี่ยวกับแนวโน้มของราคาทองในปี 2557 ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) พร้อมที่จะชะลอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป โดยนักวิเคราะห์บางรายคาดว่าราคาทองอาจจะปรับตัวต่ำกว่า 1,100 ดอลลาร์/ออนซ์ในเดือนม.ค.

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นที่ปรับตัวสดใส การคาดการณ์ที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการปรับนโยบายทางการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติอย่างต่อเนื่อง ต่างก็จะเป็นปัจจัยที่ฉุดรั้งราคาทองในปีหน้า

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th--

 

ภาวะตลาดน้ำมัน: น้ำมัน WTI ปิดบวก 20 เซนต์ หลังสต็อกน้ำมันดิบร่วง

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2556 06:23:15 น.

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดเพิ่มขึ้นเมื่อคืนนี้ (27 ธ.ค.) เนื่องจากมีรายงานว่าสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลงมากกว่าที่คาด

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ.ปิดปรับขึ้น 20 เซนต์ แตะที่ 112.18 ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดลอนดอน ปิดดีดขึ้น 77 เซนต์ ที่ 100.32 ดอลลาร์/บาร์เรล

ตลาดน้ำมันได้รับแรงหนุนหลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 ธ.ค. ปรับตัวลดลงมากกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ โดยสต็อกน้ำมันดิบร่วงลง 4.7 ล้านบาร์เรล แตะ 367.6 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงราว 2.7 ล้านบาร์เรล

ด้านสต็อกน้ำมันกลั่นซึ่งรวมถึง heating oil และน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลง 1.9 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 114.1 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 300,000 บาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 600,000 บาร์เรล แตะ 219.9 ล้านบาร์เรล

การลดลงของปริมาณสต็อกน้ำมันสหรัฐส่งสัญญาณถึงอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในสหรัฐ ซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ของโลก

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังขานรับการเปิดเผยของทำนียบขาวที่ว่าประธานาธิบดีบารัค โอบามาได้ลงนามในร่างกฎหมายงบประมาณ ซึ่งจะครอบคลุมระดับการใช้จ่ายสำหรับช่วง 2 ปีงบประมาณหน้า โดยร่างงบประมาณดังกล่าวจะช่วยป้องกันไม่ให้สหรัฐเผชิญกับการปิดหน่วยงานรัฐบาลบางส่วนหรือการชัตดาวน์ในเดือนม.ค.นี้

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th--

 

ธปท.ชี้ปัจจัยเสี่ยงปีหน้า ผวาการเมือง

ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- เสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2556 06:00:00 น.

นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)เปิดเผยว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2557 อาจขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 4 ตามที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากสถานการณ์การเมืองได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้ชะลอตัวลงต่อเนื่อง รวมทั้งการเบิกจ่ายภาครัฐตามโครงการต่างๆ ต้องล่าช้าออกไป เพราะปัญหาการเมืองยืดเยื้อกว่าที่คาด ซึ่ง ธปท.ยังคงติดตามสถานการณ์การเมืองต่อไป เพื่อจะนำผลกระทบเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในเดือนมกราคม 2557 แต่หากมีสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจรุนแรง ก็จะมีการปรับประมาณการเศรษฐกิจก่อนกำหนด จากเดิมคือ เดือนมีนาคม 2557 ซึ่งเป็นช่วงที่ ธปท.จะเปิดเผยรายงานนโยบายการเงิน

ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจเดือนพฤศจิกายน 2556 ว่า ในภาพรวมหดตัวจากเดือนก่อน การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนหดตัว เนื่องจากประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายจากภาระหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง โดยการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนหดตัว 2.4% ตามการใช้จ่ายในสินค้าคงทนโดยเฉพาะยานยนต์หดตัวจากฐานที่สูงในปีก่อนและความต้องการซื้อยานยนต์ใหม่ลดลง ประกอบกับการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคหดตัวโดยเฉพาะสินค้าคงทน ขณะที่การใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง

ด้านการลงทุนภาคเอกชนพบว่า หดตัว 7.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งมาจากผู้ประกอบการเลื่อนการลงทุนเพื่อรอประเมินสภาพเศรษฐกิจ ทำให้การลงทุนใหม่ๆมีจำนวนลดน้อยลง อีกทั้งการลงทุนก่อสร้างขยายตัวชะลอลง ส่วนภาคการส่งออกหดตัว 4% จากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออกรวม 18,569 ล้านดอลล่าสหรัฐฯ การส่งออกสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นจากอานิสงค์ของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการส่งออกบางสินค้ายังเผชิญกับข้อจำกัดด้านการผลิตโดยเฉพาะสินค้าประมงที่หดตัวจากปัญหาโรคระบาดในกุ้ง และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวได้ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากเทคโนโลยีของไทยยังไม่สามารถตอบสนองต่อรสนิยมของตลาดได้ดีนัก

 

สภาพคล่องระบบการเงินตึง เหตุสหรัฐลด QE-เอกชนระดมทุน

ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- เสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2556 06:00:00 น.

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินแนวโน้มสภาพคล่องของระบบการเงินไทยในปี 2557 ว่าอาจมีทิศทางตึงตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี 2557 เป็นต้นไป โดยได้รับแรงกดดันหลักจาก

ความต้องการใช้สภาพคล่องของภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจหลักอย่างการให้สินเชื่อ ความต้องการใช้สภาพคล่องจากทางการตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ตลอดจนความต้องการระดมทุนของภาคเอกชน ผ่านการออกตราสารทางเลือกอื่นๆ อาทิ การออกหุ้นกู้และการเสนอขายหุ้นทุน ซึ่งจะมีผลต่อการดึงสภาพคล่องออกระบบการเงินไทยในระยะถัดไป

สอดคล้องกับทิศทางสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกที่มีแนวโน้มตึงตัวขึ้น ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตลาดการเงินไทย รวมถึงตลาดการเงินโลก มีสภาพคล่องส่วนเกินจำนวนมาก ตามการเดินหน้าอีดฉีดปริมาณเงินเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางประเทศแกนหลัก ภาพการอัดฉีดปริมาณเงินจำนวนมากดังกล่าวจะทยอยลดน้อยลงเมื่อเข้าสู่ปี2557 หลัง ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะเริ่มเดินหน้าลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการ QE เหลือ 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 เป็นต้นไป (จากเดิมเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) คงทำให้กระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างประเทศที่เคยไหลเข้าสู่ประเทศไทยย้อนกลับไปสู่ประเทศแกนหลักชัดเจนมากขึ้น จนน่าจะกดดันให้ไทยต้องบันทึกยอดขาดดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายในปี 2557 และเมื่อผนวกกับดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยในปีหน้าที่มีแนวโน้มตกอยู่ในแดนลบเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันแล้ว ก็คงหมายความถึงเม็ดเงินที่จะเป็นสภาพคล่องใหม่ของระบบการเงินไทยปรับลดลงด้วย

อย่างไรก็ดี แม้สภาพคล่องของระบบการเงินไทยอาจมีแนวโน้มตึงตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2556 แต่เชื่อว่าด้วยการดูแลสภาพคล่องในระบบการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยผ่านเครื่องมือทางการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือการบริหารจัดการพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย( ธปท.)ที่มียอดคงค้างกว่า 2.93 ล้านล้านบาท (ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2556)คงช่วยบรรเทาภาวะตึงตัวของสภาพคล่องในระบบการเงินไทยได้ โดยเฉพาะในจังหวะที่สภาพคล่องเกิดตึงตัวขึ้นมากอย่างฉับพลัน และหนุนให้สภาพคล่องอยู่ในระดับที่เพียงพอกับความต้องการของตลาดตลอดทั้งปี 2557 ได้

 

ตลาดหุ้นไทยเฉาวอลุ่มบางปิดท้ายปีมะเส็ง “จรัมพร”ชี้ปัญหาการเมืองกดดัน

 

ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- เสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2556 06:00:00 น.

ตลาดหุ้นไทยเฉาวอลุ่มบางปิดท้ายปีมะเส็ง

“จรัมพร”ชี้ปัญหาการเมืองกดดัน

นักลงทุนเลิกเล่นหนีฉลองปีใหม่

นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่าการที่มูลค่าการซื้อขาย(วอลุ่ม)ในตลาดหุ้นไทยเบาบางในช่วงสิ้นปี ถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขาย ประกอบกับมีปัจจัยการเมืองในประเทศเข้ามากดดัน ทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ในปีหน้าว่าจะมีทางออกอย่างไร

แม้ว่าตลาดหุ้นจะปรับตัวลดลงตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมต่อเนื่องมาจนถึงขณะนี้ แต่ ตลท. ยังได้รับความสนใจจากเอกชนว่าเป็นแหล่งระดมทุนที่สำคัญ โดยใน 2 สัปดาห์สุดท้ายมีหุ้นใหม่เข้าจดทะเบียนถึง 5 บริษัท และคาดว่าจะมีบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2557 โดยตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มมูลค่าหลักทรัพย์จากบริษัทจดทะเบียนที่เข้าใหม่อีก 210,000 ล้านบาท จากที่ปีนี้ได้ทำสถิติสูงสุดในรอบ 10 ปี ที่ 346,000 ล้านบาท และเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียน

ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2556คือการเข้าจดทะเบียนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท " TRUEIF" ที่มีการระดมทุนถึง 58,080 ล้านบาท แสดงให้เห็นถึงศักยภาพการระดมทุนของ ตลท. และคาดว่าในปี 2557 จะมีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เข้ามาระดมทุนเพิ่มเติมอีก

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น แสดงความมั่นใจว่าสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันจะมีผลต่อการลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคมในระยะสั้นเท่านั้น เพราะมองว่าที่ผ่านมาธุกรกิจโทรคมนาคมสามารถเติบโตได้ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองมาหลายครั้ง ซึ่งประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาธุรกิจต่าง ๆ ต่อไปได้อย่างดี

ส่วนกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาระบบโทรคมนาคมของประเทศ ซึ่งถือว่าคุ้มค่า เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำเงินจากการระดมทุนไปขยายกิจการต่อได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถกู้เงินเพื่อการลงทุนเพิ่มในอนาคตได้อีกถึง 3 เท่าของมูลค่ากองทุน ซึ่งทรูมั่นใจกองทุน " TRUEIF" จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างดี เพราะมีการนำสินทรัพย์จากโทรคมนาคมที่มีมาร่วมลงทุนรวมเสาโทรศัพท์มือถือทั้งหมด 12,000 เสา ครอบคลุมพื้นที่ใช้บริการ 97% ทั่วประเทศ และให้ผลตอบแทนคุ้มค่าเฉลี่ยเงินปันผล 8.8% ต่อปี นับเป็นทางเลือกที่ดีของนักลงทุน

นายศุภชัย กล่าวว่า เตรียมที่จะหาพันธมิตรในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน เพื่อขยายธุรกิจรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน( เออีซี )โดยจะเปิดให้พันธมิตรเข้าร่วมในสัดส่วนไม่เกิน 25% ซึ่งจะเน้นพันธมิตรที่จะสร้างความแข็งแกร่งและผลักดันให้ทรูเติบโตในอาเซียนได้มากขึ้น

 

สภาพคล่องระบบการเงินตึง เหตุสหรัฐลด QE-เอกชนระดมทุน

ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- เสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2556 06:00:00 น.

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินแนวโน้มสภาพคล่องของระบบการเงินไทยในปี 2557 ว่าอาจมีทิศทางตึงตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี 2557 เป็นต้นไป โดยได้รับแรงกดดันหลักจาก

ความต้องการใช้สภาพคล่องของภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจหลักอย่างการให้สินเชื่อ ความต้องการใช้สภาพคล่องจากทางการตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ตลอดจนความต้องการระดมทุนของภาคเอกชน ผ่านการออกตราสารทางเลือกอื่นๆ อาทิ การออกหุ้นกู้และการเสนอขายหุ้นทุน ซึ่งจะมีผลต่อการดึงสภาพคล่องออกระบบการเงินไทยในระยะถัดไป

สอดคล้องกับทิศทางสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกที่มีแนวโน้มตึงตัวขึ้น ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตลาดการเงินไทย รวมถึงตลาดการเงินโลก มีสภาพคล่องส่วนเกินจำนวนมาก ตามการเดินหน้าอีดฉีดปริมาณเงินเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางประเทศแกนหลัก ภาพการอัดฉีดปริมาณเงินจำนวนมากดังกล่าวจะทยอยลดน้อยลงเมื่อเข้าสู่ปี2557 หลัง ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะเริ่มเดินหน้าลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการ QE เหลือ 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 เป็นต้นไป (จากเดิมเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) คงทำให้กระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างประเทศที่เคยไหลเข้าสู่ประเทศไทยย้อนกลับไปสู่ประเทศแกนหลักชัดเจนมากขึ้น จนน่าจะกดดันให้ไทยต้องบันทึกยอดขาดดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายในปี 2557 และเมื่อผนวกกับดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยในปีหน้าที่มีแนวโน้มตกอยู่ในแดนลบเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันแล้ว ก็คงหมายความถึงเม็ดเงินที่จะเป็นสภาพคล่องใหม่ของระบบการเงินไทยปรับลดลงด้วย

อย่างไรก็ดี แม้สภาพคล่องของระบบการเงินไทยอาจมีแนวโน้มตึงตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2556 แต่เชื่อว่าด้วยการดูแลสภาพคล่องในระบบการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยผ่านเครื่องมือทางการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือการบริหารจัดการพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย( ธปท.)ที่มียอดคงค้างกว่า 2.93 ล้านล้านบาท (ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2556)คงช่วยบรรเทาภาวะตึงตัวของสภาพคล่องในระบบการเงินไทยได้ โดยเฉพาะในจังหวะที่สภาพคล่องเกิดตึงตัวขึ้นมากอย่างฉับพลัน และหนุนให้สภาพคล่องอยู่ในระดับที่เพียงพอกับความต้องการของตลาดตลอดทั้งปี 2557 ได้

 

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์แข็งค่าเทียบเยน คาดบีโอเจผ่อนคลายการเงินเพิ่ม

 

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2556 07:04:06 น.

ค่าเงินดอลลาร์ยังคงแข็งค่าเมื่อเทียบเงินเยนเมื่อคืนนี้ (27 ธ.ค.) จากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะผ่อนคลายทางการเงินมากขึ้น

ค่าเงินยูโรปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3739 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 1.3693 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าสู่ระดับ 1.6467 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6421 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 105.14 เยน จากระดับ 104.71 เยน แต่อ่อนแรงลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.8924 ฟรังค์ จากระดับ 0.8963 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียลดลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.8865 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8891 ดอลลาร์

เงินเยนแตะระดับ 105 เยนต่อดอลลาร์เป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการสินทรัพย์เสี่ยง โดยเงินเยนอ่อนค่าลงหลังจากบีโอเจประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าจะยังคงใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะมีเสถียรภาพที่ 2%

ทางด้านธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าจะปรับลดขนาดโครงการซื้อสินทรัพย์รายเดือนจาก 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนม.ค. และไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ที่จะปรับลดวงเงินลงอีกในช่วงหลายเดือนข้างหน้า

นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังได้รับปัจจัยบวก หลังทำนียบขาวเปิดเผยว่าประธานาธิบดีบารัค โอบามาได้ลงนามในร่างกฎหมายงบประมาณ ซึ่งจะครอบคลุมระดับการใช้จ่ายสำหรับช่วง 2 ปีงบประมาณหน้า โดยร่างงบประมาณดังกล่าวจะช่วยป้องกันไม่ให้สหรัฐเผชิญกับการปิดหน่วยงานรัฐบาลบางส่วนหรือการชัตดาวน์ในเดือนม.ค.นี้

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th--

 

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดขยับลง 1.47 จุด หลังพุ่งแรงต่อเนื่อง

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2556 06:00:31 น.

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขยับลงเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (27 ธ.ค.) หลังจากที่ตลาดได้ทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่หลายครั้งนับตั้งแต่ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ประกาศชะลอมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลง 1.47 จุด หรือ 0.01% ปิดที่ 16,478.41 จุด ดัชนี S&P 500 ขยับลง 0.62 จุด หรือ 0.03% ปิดที่ 1,841.40 จุด และดัชนี Nasdaq ปรับลง 10.59 จุด หรือ 0.25% ปิดที่ 4,156.59 จุด

ตลาดปรับตัวผันผวนในการซื้อขายเมื่อคืนนี้ ขณะที่นักลงทุนลังเลที่จะถือโพสิชันใหม่ๆหลังจากหุ้นสหรัฐได้ปรับตัวขึ้นในช่วง 10 วันที่ผ่านมา

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ดัชนีดาวโจนส์ได้แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เป็นครั้งที่ 50 ของปีนี้ ขณะที่ดัชนี S&P 500 ก็ปิดทำนิวไฮ และดัชนี Nasdaq แตะระดับสูงสุดครั้งใหม่ในรอบ 13 ปี

อย่างไรก็ตาม ตลาดติดลบไม่มากนักเมื่อคืนนี้ เนื่องจากได้รับแรงหนุนหลังทำเนียบขาวเปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดีว่าประธานาธิบดีบารัค โอบามาได้ลงนามในร่างกฎหมายงบประมาณ ซึ่งจะครอบคลุมระดับการใช้จ่ายสำหรับช่วง 2 ปีงบประมาณหน้า

อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย พันธุ์ทิพย์ คำเพิ่มพูล โทร.02-2535000 อีเมล์: pantip@infoquest.co.th--

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ป่วน ! มือมืดยิง M16 ถล่มการ์ด คปท. ดับ1 เจ็บ 3 คาสะพานชมัยฯ

 

 

504836-03.jpg

ป่วน ! มือมืดถล่ม M16 การ์ดคปท.ดับ 1 เจ็บ 3 คาสะพานชมัยฯ (ไอเอ็นเอ็น)

 

คนร้ายก่อเหตุกลางดึก ยิง M16 ถล่มใส่การ์ด คปท. บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ ล่าสุดเสียชีวิตแล้ว 1 ราย เจ็บอีก 3

 

วันนี้ (28 ธันวาคม 2556) นายนัสเซอร์ ยีหมะ หัวหน้ากลุ่มรักษาความปลอดภัยผู้ชุมนุมเครือข่ายนักศึกษาและประชาชนปฏิรูปประเทศไทย หรือ คปท. เปิดเผยว่า เมื่อเวลาประมาณ 03.00 น. เศษ ได้เกิดเหตุคนร้ายขับรถยนต์ไม่ทราบยี่ห้อ และหมายเลขทะเบียน เข้ามากราดยิงกลุ่มรักษาความปลอดภัยผู้ชุมนุมที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย ก่อนขับรถหลบหนีไปทางถนนพระราม 5

 

ขณะที่เจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญู ได้ให้ความช่วยเหลือนำผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลรามาธิบดี 2 ราย โรงพยาบาลราชวิถี 1 ราย และโรงพยาบาลกลาง 1 ราย โดยผู้ได้รับบาดเจ็บเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกลาง ได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา ทราบชื่อคือ นายจำเรียง จิตรวัตร อายุ 31 ปี ชาวอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถูกยิงเข้าที่บริเวณลำคอ

 

ทั้งนี้ นายนัสเซอร์ กล่าวด้วยว่า เบื้องต้นพบปลอกกระสุนตกอยู่ในที่เกิดเหตุ โดยคาดว่าเป็นกระสุนปืน M16 ซึ่งได้เก็บรวบรวมไว้เพื่อส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการตรวจสอบต่อไป

 

อย่างไรก็ตาม นายนัสเซอร์ ยังระบุด้วยว่า ช่วงหัวค่ำที่ผ่านมา กลุ่มรักษาความปลอดภัยผู้ชุมนุม ได้พบเห็นบุคคลต้องสงสัยแฝงตัวเข้ามาในพื้นที่ จึงได้ทำการผลักดันออกไป และไม่แน่ใจว่า คนร้ายที่ลงมือก่อเหตุเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกันหรือไม่ ซึ่งจะได้ทำการตรวจสอบอีกครั้ง

 

 

 

kapook.com

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สรุปหุ้น-ทองรอบวัน 27-12-56 vdo.gif ตรงประเด็นข่าวค่ำช่วงสรุปหุ้น-ทองรอบวัน "กรุงเทพธุรกิจทีวี" 27-12-56 พอร์ตลงทุนวันนี้ต่างชาติขายสุทธิ716ล้าน พอร์ตลงทุนวันนี้ต่างชาติขายสุทธิ 716 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขาย 1,858 ล้านบาท หุ้นปิดร่วง9.75จุดห่วงการเมืองลามปีหน้า หุ้นภาคบ่ายปิดวันสุดท้ายของปีติดลบ 9.75 จุด การเมืองยังกดดัน คาดกระทบต่อเนื่องถึงต้นปี สรุปภาวะซื้อขายตลาดหุ้น-ทองคำ 27-12-56 vdo.gif ธปท.ชี้การเมืองฉุดศก.ปี57โตต่ำกว่า4% กลยุทธ์ลงทุนทอง-อนุพันธ์ภาคบ่าย 27-12-56 vdo.gif กลยุทธ์ลงทุนตลาดหุ้นภาคบ่าย 27-12-56 vdo.gif

ดูข่าว ทั้งหมด icon-arrow-gray.gif

 

 

ข่าวยอดนิยม

ปฏิรูปประเทศ: ไม่ต้องถามว่าจะทำอย่างไร? ให้ถามว่า: จะทำหรือไม่?

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

news_img_552775_1.jpg

ผมนำภาพ "แผนที่เดินทาง" หรือ Road Map ของ 7 องค์กรภาคเอกชน

ว่าด้วยแนวทางการปฏิรูปประเทศ และหน้าปกรายงาน"แนวทางปฏิรูปประเทศไทย"ของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ (คปร.) มาให้ดูเพื่อจะยืนยันว่า ความคิดความอ่านเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศไทยนั้น มีข้อเสนอ บทวิเคราะห์ และแนวทางที่ชัดเจนพอสมควร

ข้อเสนอ "สภาปฏิรูปประเทศ"ของ นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ "สภาประชาชน"ของ สุเทพ เทือกสุบรรณ แห่ง กปปส. เป็น "โครงใหญ่" ที่ต่างก็มีปัญหาของตัวเอง แต่ข้อเสนอของภาคเอกชนและนักวิชาการหลายสำนักลงรายละเอียดชัดเจน สามารถนำมาปฏิบัติเพื่อนำพาประเทศออกจากวิกฤติได้

หากนักการเมืองและฝ่ายขัดแย้งทั้งหลายทั้งปวง มีความจริงใจในการที่จะปฏิรูป (จะก่อนหรือหลังเลือกตั้งก็ตาม) บ้านเมืองกันแล้วไซร์ รับรองว่าไม่มีปัญหาว่า "จะทำอย่างไร" จึงถึงเป้าหมายแน่นอน

ตอนนี้คำถามคือ "จะทำจริงหรือไม่?" และ "ใครจะยอมเสียสละอำนาจและผลประโยชน์เพียงพอที่จะทำให้เกิดขึ้น?" เท่านั้นเอง

และหากจะปฏิรูปประเทศ พร้อมกับการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทยไปพร้อมๆ กันอย่างที่รัฐบาลได้ประกาศเอาไว้เป็นนโยบายหลัก ก็มีแนวทางข้อเสนอของ "คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ" (คอป.)

คปร.มี คุณอานันท์ ปันยารชุน และ นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นแกนหลัก

คอป. มี ดร. คณิต ณ นคร เป็นประธาน

ทั้งสามท่านก็เคยได้รับการกล่าวขวัญจากรัฐบาลชุดนี้และชุดก่อนหน้านี้ว่าเป็น "คนกลาง" ที่สังคมไทยยอมรับนับถือในความซื่อสัตย์ สุจริต และตรงไปตรงมา อีกทั้งคณะกรรมการทั้งสองชุดนี้ ก็มีผู้ทรงคุณวุฒิและประวัติการทำงานที่โดดเด่นในสังคมไทย

พวกท่านเหล่านี้ได้วิเคราะห์ วิจัย และวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาของบ้านเมืองเพื่อการปฏิรูปและการปรองดองเอาไว้อย่างละเอียดแล้ว มีข้อเสนอในรายละเอียดทุกด้านที่ทั้งฝ่ายนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และแกนนำของ กปปส. กับแวดวงวิชาการเสนอมาแล้วเกือบทุกหัวข้อ

ดังนั้นหากจะแก้วิกฤตการเมืองครั้งนี้ด้วยการ "ปฏิรูป" ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างรอบด้าน ก็ไม่ได้มีปัญหาว่าเรารู้หรือไม่ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง และไม่ต้องขัดแย้งเผชิญหน้าถึงขั้นโกลาหลเสี่ยงกับการปะทะกันรอบใหม่เลย หากคู่กรณีจะยึดเอาข้อเสนอทางออกประเทศชาติขององค์กรต่างๆ ที่ทำการบ้านมาอย่างดีแล้วเป็นพื้นฐานของการหาทางออกร่วมกัน

ประเด็น "ปฏิรูป" กับ "เลือกตั้ง" ไม่ได้ขัดแย้งกัน ที่ขัดแย้งกันคือนักการเมืองต่างหาก

ไม่ว่าจะเป็นประชาชนกลุ่มใด จะอ้างตัวเป็นสีอะไร จะอยู่ในเมืองหรือชนบท ผมเชื่อว่าหากไม่ถูกนักการเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่มครอบงำ คนไทยล้วนต้องการ "ปฏิรูป" ให้ได้มาซึ่งสังคมที่เป็นธรรม ความเท่าเทียมของทุกคนในประเทศ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ปราศจากการโกงกิน และตรวจสอบการใช้เงินภาษีประชาชนโดยนักการเมืองและข้าราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทางออกของประเทศมีอยู่แล้ว สติปัญญาของคนไทยไม่ได้อ่อนด้อยกว่าใคร ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการก้าวไปข้างหน้าของประเทศ อยู่ที่กลุ่มการเมืองไม่กี่กลุ่มที่ยื้อแย่งอำนาจ โดยใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือเท่านั้น

เท่านั้นจริงๆ

Tags : ปฏิรูปประเทศ7 องค์กรภาคเอกชนสภาปฏิรูปประเทศสภาประชาชน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วันที่ 29 ธันวาคม 2556 11:39

กสิกรฯชี้ปีนี้ศก.โต2.7%ปีหน้าแค่2.5%

 

 

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

news_img_552956_1.jpg

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุเศรษฐกิจไทยปี2556 โตเพียง 2.7% ขณะที่ปี 2557 อาจลดลงเหลือโต 2.5%

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจำกัด สรุปภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้และแนวโน้มปี 2557 ว่า เศรษฐกิจของไทยชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2556 ท่ามกลางการหยุดชะงักของหลายกลไกขับเคลื่อน โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนซบเซาลง ท่ามกลางหลายปัจจัยที่กดดันบรรยากาศการใช้จ่ายภายในประเทศ

ขณะที่สถานการณ์การส่งออกที่ไม่สามารถฟื้นตัวได้ทันในปี 2556 ก็เป็นทิศทางที่คลาดเคลื่อนไปจากที่หลายหน่วยงานตั้งเป้าหมายไว้ค่อนข้างมาก ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยเริ่มต้นปี 2556 ด้วยทิศทางการทยอยปรับตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังผ่านพ้นช่วงที่มีแรงกระตุ้นพิเศษจากมาตรการคืนเงินภาษีสำหรับรถคันแรกของรัฐบาล ตลอดจนแรงส่งการใช้จ่ายเพื่อฟื้นฟูผลกระทบจากอุทกภัยไปแล้ว ก่อนจะพลิกกลับมาอยู่ในภาวะชะลอตัวที่ผิดไปจากที่คาดค่อนข้างมากตั้งแต่ในช่วงกลาง-ปลายปี 2556 คาดว่า ตลอดปีนี้เศรษฐกิจไทยอาจเติบโตประมาณ 2.7% ชะลอลงจาก 6.5% ในปี 2555 การส่งออกน่าหดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีที่ 0.3 % แม้ทิศทางค่าเงินบาทจะลดแรงกดดันลง พร้อมๆ กับสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ทยอยปรากฏขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 ก็ตาม

ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2557 อยู่บนสมมติฐานที่มีความไม่แน่นอนสูง จึงประเมินว่า ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่เพิ่มมากขึ้นและยังไม่มีทางออกที่แน่ชัด เศรษฐกิจไทยน่าจะโน้มเอียงลงสู่กรอบล่างของประมาณการกรณีพื้นฐานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ 3.7% ขณะที่ หากปัญหาทางการเมืองของไทยลากยาวเกินครึ่งปี จนกระทบการใช้จ่ายภายในประเทศ ทั้งในส่วนการบริโภคภาคครัวเรือน การตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจ และทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการใช้จ่ายของภาครัฐ ก็อาจส่งผลทำให้แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมีความไม่แน่นอนมากขึ้น ในกรณีดังกล่าว แม้การส่งออกอาจขับเคลื่อนได้ตามเป้าหมาย เศรษฐกิจไทยก็อาจขยายตัวได้เพียง 2.5% เท่านั้น

Tags : บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

การเงิน - การลงทุน : การเงินส่วนบุคคล

 

 

วันที่ 29 ธันวาคม 2556 11:00

เฟดลดคิวอีมีผลม.ค.ลงทุนต่างชาติชัดเจน

 

 

โดย : ดร. ฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล : บลจ. กรุงศรี จำกัด

เฟดประกาศลดขนาดลดคิวอีมีผลม.ค.57 คาดตลาดแรงงานสหรัฐปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติปีหน้ามีทิศทางชัดเจน

ในครั้งที่แล้ว ผมได้พูดถึงโอกาสที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่ม "ลดขนาดของมาตรการซื้อพันธบัตร (QE)"ในเดือนธันวาคมยังคงมีอยู่ ซึ่งในที่สุดแล้ว คณะกรรมการเฟดได้ตัดสินใจด้วยคะแนน 9 ต่อ 1 ให้ลดขนาด QE ลงจากเดือนละ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ เหลือเดือนละ 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ มีผลตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 เนื่องจากเฟดมองว่าแนวโน้มตลาดแรงงานสหรัฐปรับตัวดีขึ้น

นอกจากนี้ เฟดยังระบุว่าอาจเพิ่มหรือลดขนาดของ QE ได้ตามความเหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในแต่ละช่วง โดยเฟดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ใกล้ร้อยละ 0 ต่อไปถึงแม้อัตราการว่างงานลดลงต่ำกว่าร้อยละ 6.5 ซึ่งเป็นเป้าหมายอัตราการว่างงานของเฟดก็ตาม โดยมีเงื่อนไขว่าคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อจะต้องไม่สูงเกินร้อยละ 2.0

ทั้งนี้ ผลสำรวจของบลูมเบิร์กล่าสุดระบุว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าเฟดจะเพิ่มการลด QE ครั้งละ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ในการประชุม 7 ครั้งต่อจากนี้ และยุติมาตรการ QE ในเดือนธันวาคมปีหน้า

ในส่วนของ "ตลาดหุ้น" ตลาดสหรัฐตอบรับในเชิงบวกหลังเฟดประกาศลด QE เนื่องจากนักลงทุนมองว่าการที่เฟดตัดสินใจลด QE สะท้อนถึงมุมมองของเฟดว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีความเสี่ยงน้อยลง และมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น ในขณะที่ "ราคาทองคำ" ดิ่งลงเนื่องจากความต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมีมากขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น

ทั้งนี้ เฟดคาดว่าในปีหน้าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวร้อยละ 2.8 - 3.2 อัตราการว่างงานจะลดลงสู่ร้อยละ 6.3 และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 1.4 - 1.6 สำหรับในปี 2558 เฟดคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวร้อยละ 3.0 - 3.4 อัตราการว่างงานจะลดลงสู่ร้อยละ 5.8 - 6.1 และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 1.5 - 2.0 โดยคณะกรรมการเฟดส่วนใหญ่คาดว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2558 จากระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 0.25 สู่ร้อยละ 0.75

สำหรับผลกระทบต่อ "ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market)" ซึ่งรวมถึงไทยด้วย มีแนวโน้มที่เงินลงทุนจะไหลออกจากตลาดเกิดใหม่กลับไปสู่ตลาดสหรัฐ เนื่องจากในแง่มุมของความเสี่ยงแล้ว ตลาดสหรัฐมีความเสี่ยง (ความผันผวน) น้อยกว่าตลาดเกิดใหม่ และมีโอกาสที่คาดการณ์ผลตอบแทนการลงทุนในตลาดสหรัฐจะปรับตัวสูงขึ้นตามคาดการณ์เศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับตลาดเกิดใหม่ที่แนวโน้มความเสี่ยงยังคงอยู่ที่ระดับเดิม และความคาดหวังต่ออัตราผลตอบแทนของตลาดเกิดใหม่มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากตลาดเกิดใหม่ปรับตัวขึ้นมากในช่วงที่มีมาตรการ QE

ดังนั้น ในแง่ของทฤษฎีการจัดพอร์ตการลงทุน โดยใช้โมเดล Portfolio Optimization คำนวณน้ำหนักหรือสัดส่วนการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนดีที่สุดโดยมีความเสี่ยงน้อยที่สุด น้ำหนักการลงทุนในตลาดสหรัฐจึงมีแนวโน้มที่จะได้รับการปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น

อย่างไรก็ดี ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม เช่น มุมมองเศรษฐกิจสหรัฐอาจเปลี่ยนไปทั้งใน "เชิงบวก" และ "ลบ" การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยพื้นฐานของตลาดสหรัฐและตลาดเกิดใหม่ เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อการปรับมุมมองในการลงทุนในแต่ละช่วง ตัวอย่างเช่น หากเศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวดีขึ้นและมีเงินลงทุนไหลเข้ามากขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น การส่งออกของสหรัฐก็อาจได้รับผลกระทบในเชิงลบ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงเวลาข้างหน้า ในขณะที่ค่าเงินของตลาดเกิดใหม่อาจอ่อนค่าลงในช่วงแรกตามการไหลออกของเงินลงทุน ซึ่งก็จะส่งผลดีต่อการส่งออกของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่

ทั้งนี้ การปรับพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในช่วงต้นปีหน้า น่าจะบ่งชี้ทิศทางการเคลื่อนไหวเงินทุนได้ชัดเจนมากขึ้นครับ

Tags : นักลงทุนต่างชาติคิวอีพันธบัตรตลาดหุ้น

"นันทวัลย์"เผยปี57เศรษฐกิจจีนขยายตัวต่อเนื่องโต8.4% ระบุคู่ค้า"สหรัฐ-อียู"เริ่มฟื้นส่งผลดีต่อการส่งออก

นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองกว่างโจว ประเทศจีน ว่านักเศรษฐศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศคาดว่าเศรษฐกิจจีนในปี 2557 จะสดใส โดยมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 8.4% เป็นอย่างต่ำ โดยไตรมาส 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) ปี 2556 จีนจะมีอัตราการขยายตัวไม่ต่ำกว่า 7.7% เนื่องจากปัจจัยพิเศษที่เสริมเข้ามา คือ การกักตุนสินค้าเพื่อรองรับเทศกาลปีใหม่สำหรับชาติตะวันตกและทั่วโลก ส่งผลให้การส่งออกกลับมาคึกคัก รวมถึงการเตรียมซื้อสินค้าเพื่อรองรับเทศกาลตรุษจีนในปีหน้าของคนภายในประเทศ

ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่ทำให้สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของจีนดีขึ้นในไตรมาส 3 คือ เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของจีนเริ่มฟื้นตัว ไม่ว่าจะเป็นสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับ 1 และสหรัฐ คู่ค้าอันดับ 2 โดยเฉพาะสหรัฐทำการค้ากับจีนมีอัตราการขยายตัวกว่า 8.7% มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของจีน และเมื่อจีนมีการผลิตเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้น การนำเข้าไม่ว่าจะเป็นสินค้าต้นน้ำ สินค้ากึ่งสำเร็จรูปและวัตถุดิบ มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลดีกับไทยด้วย เนื่องจากไทยเป็นหนึ่งในประเทศส่งออกสินค้าตั้งต้นเหล่านี้ให้จีน

อย่างไรก็ตาม จีนเป็นจุดหมายทางการค้าของทุกประเทศ โดยมุ่งหวังเพิ่มสัดส่วนมูลค่าทางการค้าและเข้าถึงตลาดผู้บริโภคของจีน แต่ด้วยขนาดของประเทศที่กว้างใหญ่และประชากรที่มีความหลากหลายมากที่สุดของโลก การนำเข้าสินค้าเจาะเข้าตลาดจีนนั้น จำเป็นจะต้องมองตลาดเป็นสัดส่วน เนื่องจากความต้องการของประชากรในแต่ละเมืองและแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันมาก ทั้งภาษาท้องถิ่น ชีวิตความเป็นอยู่ และที่สำคัญที่สุด คือ พฤติกรรมผู้บริโภค

"การนำสินค้าเพื่อเจาะเข้าตลาดจีนนั้น ควรคำนึงถึงกลุ่มผู้บริโภคในพื้นที่ที่เปิดรับกับสินค้าต่างชาติและชื่นชอบสินค้าไทย หรือมุ่งเน้นที่ตลาดผู้บริโภคระดับกลางถึงระดับบนที่มองหาสินค้าคุณภาพได้มาตรฐาน มีนวัตกรรม มีการเพิ่มมูลค่าและราคาค่อนข้างสูง ซึ่งเหล่านี้เป็นจุดเด่นของสินค้าไทย โดยเมืองหลักๆ เหล่านั้นได้แก่ เมืองกว่างโจว เมืองหลวงของมณฑลกวางตุ้ง ตงก่วน เมืองรองของมณฑลกวางตุ้ง อู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย์ เป็นต้น เมืองเหล่านี้ถือเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญ ประชากรมีกำลังซื้อสูงและมีต่างชาติ" นางนันทวัลย์ กล่าว

Tags : นันทวัลย์ ศกุนตนาคพาณิชย์เศรษฐกิจจีน

news_img_552949_1.jpg

 

 

กำลังซื้อหด วิกฤติการเมือง-ศก.รุมธุรกิจบัตรเครดิตทรงตัว-ยอดหนี้ค้างยังน่าห่วง

ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- อาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2556 00:00:59 น.

ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้สำรวจปัจจัยที่มีผลต่อการอุปโภคและบริโภคในช่วงท้ายปี 2556 ต่อเนื่องถึงปี 2557 พบว่าปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการใช้จ่ายของกลุ่มตัวอย่าง คือความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอยถูกลดทอนลง ความกังวลต่อความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทย และความไม่แน่นอนด้านรายได้ครัวเรือน ตลอดจนสถานการณ์ที่ภาระหนี้จ่ายของครัวเรือนไทยอยู่ในระดับสูง

และแล้วก็เดินทางมาถึงช่วงท้ายปี 2556 ซึ่งถือเป็นหนึ่งในช่วงเวลาสำคัญของประชาชนไทยที่มักมีการจับจ่ายใช้สอยเป็นกรณีพิเศษ เพื่อต้อนรับเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของขวัญเพื่อมอบให้กับคนสำคัญ การรับประทานอาหารนอกบ้าน ตลอดจนการท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาว ด้วยเหตุนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงได้ทำแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัตรเครดิตในกรุงเทพฯ จำนวน 500 คนเกี่ยวกับแผนการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในช่วงท้ายปี 2556 ซึ่งมีประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้

แนวโน้มการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตช่วงท้ายปี 2556 ต่อเนื่องถึงปี 2557 ไม่คึกคัก ท่ามกลางความเชื่อมั่นที่ถดถอยจากปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจ ตลอดจนภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูง จากผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของผู้ถือบัตรในช่วงท้ายปี 2556 ต่อเนื่องถึงปี 2557 พบว่า แนวโน้มการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้อาจไม่คึกคักเท่าใดนัก เมื่อกว่า 69.6% ของผู้ถือบัตรเครดิตที่ตอบแบบสอบถาม ไม่ได้วางแผนการใช้จ่ายเป็นพิเศษในช่วงท้ายปี 2556

ขณะเดียวกัน ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 1 ใน 4 จากแบบสอบถามทั้งหมด ยังมีแนวโน้มชะลอการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในปี 2557 เมื่อเทียบกับปี 2556 เพื่อลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยและป้องกันการก่อหนี้เพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น กว่า 69.6% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ไม่มีแผนการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเป็นพิเศษในช่วงท้ายปี 2556 ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในประเทศ ช่วง 10 เดือนแรกของปี 2556 ชะลอตัวลง เทียบกับปี 2555

ทั้งนี้ ผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนโมเมนตัมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในช่วงท้ายปี 2556 ต่อเนื่องถึงปี 2557 ที่อาจชะลอตัวลงบ้าง สอดคล้องกับตัวเลขการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ที่เติบโตชะลอลงนับตั้งแต่เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2556 โดยปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2556 (ไม่รวมการใช้จ่ายของชาวต่างประเทศที่ถือบัตรเครดิตต่างประเทศ และการเบิกเงินสดล่วงหน้า) มีมูลค่ารวม 8.70 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 12.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากปี 2555 ที่เติบโตได้ 19.6%

สวนทางกับปริมาณบัตรเครดิตที่เติบโตได้ในอัตราเร่งขึ้น โดย ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2556 บัตรเครดิตมีจำนวนทั้งสิ้น 18.24 ล้านใบ หรือขยายตัว 10.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับสิ้นปี 2555 ที่เติบโตได้ 10.1%

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้สำรวจปัจจัยที่มีผลต่อการอุปโภคและบริโภคในช่วงท้ายปี 2556 ต่อเนื่องถึงปี 2557 เพื่อหาตัวแปรที่มีส่วนสำคัญต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้ตอบแบบสอบถาม อันครอบคลุมความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์หนี้ รูปแบบการชำระหนี้บัตรเครดิต ตลอดจนหนี้สินรวมและภาระหนี้จ่าย ซึ่งผลสำรวจพบว่าปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการใช้จ่ายของกลุ่มตัวอย่างในช่วงท้ายปี 2556 ต่อเนื่องถึงปี 2557 ได้แก่

ความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอยถูกลดทอนลง ท่ามกลางความกังวลต่อความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้ เมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่สร้างความกังวลให้กับผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศเป็นปัจจัยอันดับ 1 ที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้น้ำหนักความกังวลสูงสุด โดยกว่า 56.6% ของกลุ่มตัวอย่างกังวลต่อประเด็นดังกล่าวในระดับมากถึงมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองไทยในปัจจุบันที่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะยุติลงอย่างไร

รองลงมา คือ ความกังวลต่อแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพ ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และความไม่แน่นอนด้านรายได้ครัวเรือนตามลำดับ ซึ่งถือเป็นประเด็นใกล้ตัวของผู้ตอบแบบสอบถามที่สัมผัสกับแนวโน้มการปรับเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพ และภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันซึ่งชะลอตัวลงจนอาจจะกระทบต่อชั่วโมงการทำงานของกลุ่มลูกจ้างในบางธุรกิจ ตลอดจนอาจกดดันความสามารถในการชำระคืนหนี้และการใช้จ่ายของครัวเรือนในระยะถัดไปให้มีความอ่อนไหวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ภาระหนี้จ่ายของครัวเรือนไทยอยู่ในระดับสูง

นอกจากนั้น กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามราว 1 ใน 3 ยังมีความกังวลต่อแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในอนาคตในระดับมากถึงมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินไทยที่มีโอกาสพลิกกลับสู่ขาขึ้นได้ในช่วงครึ่งหลังปี 2557 โดยเฉพาะหากเกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศอย่างรุนแรงและฉับพลัน ซึ่งแม้ว่าทิศทางดอกเบี้ยดังกล่าวจะไม่กระทบต่อดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตซึ่งคงที่ในระดับ 20% ต่อปี แต่เนื่องจากผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีหนี้หลายก้อนจึงอาจทำให้กังวลเกี่ยวกับผลจากการขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวที่จะกระทบต่อภาระหนี้จ่ายโดยรวม

ภาระหนี้จ่ายต่อรายได้รายเดือนที่อยู่ในระดับสูง โดยผลการสำรวจพบว่า กลุ่มผู้ถือบัตรเครดิตที่ตอบแบบสอบถามกว่า 46.0% มีหนี้สินหลายก้อน (นับรวมหนี้จากสินเชื่อก้อนอื่นๆ อาทิ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อส่วนบุคคล) และมีภาระหนี้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในระดับสูงราว 38.8% ของรายได้รวม ซึ่งมากกว่าภาระหนี้จ่ายของครัวเรือนเฉลี่ยทั้งประเทศที่คำนวณโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่อยู่ที่ 33.8% ต่อรายได้รายเดือน (ข้อมูล ณ สิ้นไตรมาส 1/2556) อันสะท้อนว่า กลุ่มผู้มีหนี้หลายก้อนบางส่วน เริ่มมีภาระหนี้ต่อเดือนในระดับสูงขึ้นจนเพิ่มความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการอุปโภคและบริโภคในช่วงที่เหลือของปี 2556 ต่อเนื่องจนถึงปี 2557

ทั้งนี้ จากความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศและการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย ผนวกกับการไม่มีแผนใช้จ่ายเป็นพิเศษในช่วงท้ายปี 2556 ของกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประมาณการว่าการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตทั้งระบบ (รวมธนาคารพาณิชย์ไทย สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร) ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2556 นี้ อาจมีมูลค่าใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปี 2555 ที่ราว 200,000-210,000 ล้านบาท

และส่งผลให้ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตตลอดทั้งปี 2556 นี้ มีจำนวนทั้งสิ้นราว 1,070,000-1,080,000 ล้านบาท หรือเติบโตที่ 10.0-11.0% เมื่อเทียบกับปี 2555 ซึ่งนับเป็นอัตราการเติบโตที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วง 10 เดือนแรกของปี 2556 ซึ่งเติบโตได้ที่ระดับ 12.6% และชะลอลงจากปี 2555 ซึ่งเติบโตได้ที่ระดับ 19.6% (YoY) ส่วนเงินให้สินเชื่อคงค้างบัตรเครดิตทั้งระบบในปี 2556 คาดว่า จะเติบโตได้ราว 11.0% เมื่อเทียบกับปี 2555 ซึ่งน้อยกว่าปี 2555 ที่ได้ขยายตัวสูงถึง 14.3% ซื้อของขวัญปีใหม่และท่องเที่ยวในประเทศเป็นกิจกรรมที่ได้รับความสนใจสูงสุด สำหรับกลุ่มที่มีแผนการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในช่วงท้ายปี 2556

ส่วนกลุ่มตัวอย่างราว 30.4% ที่มีแผนใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเป็นพิเศษเพื่อเฉลิมฉลองในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนั้น พบว่า กิจกรรมสำคัญที่กลุ่มตัวอย่างวางแผนใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ได้แก่ การซื้อของขวัญปีใหม่ให้คนสำคัญ คิดเป็นสัดส่วน 30.5% ของผู้ที่วางแผนใช้จ่าย รองลงมาคือ การท่องเที่ยวในประเทศ และการทานอาหารนอกบ้าน คิดเป็นสัดส่วน 26.3% และ 18.5% ของผู้ที่วางแผนใช้จ่ายช่วงท้ายปี ตามลำดับ ขณะที่แผนการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพื่อการซื้ออุปกรณ์สื่อสารและเครื่องใช้ไฟฟ้า ตลอดจนเพื่อการท่องเที่ยวในต่างประเทศ มีสัดส่วนเพียง 17.7% และ 7.0% ของผู้ที่วางแผนใช้จ่ายช่วงท้ายปีตามลำดับ

อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาวงเงินที่คาดว่าจะใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในช่วงท้ายปีของผู้ที่มีแผนการใช้จ่ายแล้ว พบว่าผู้ที่มีแผนการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในต่างประเทศตั้งวงเงินที่คาดว่าจะใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตสูงสุดที่ 27,412 บาท เนื่องจากต้นทุนการท่องเที่ยวในต่างประเทศในช่วงไฮซีซั่นที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายด้านตั๋วเครื่องบิน ค่าโรงแรม ค่าอาหาร ตลอดจนค่าใช้จ่ายเพื่อการจับจ่ายใช้สอยและซื้อของฝาก

รองลงมา คือ การใช้จ่ายเพื่อซื้ออุปกรณ์สื่อสารและเครื่องใช้ไฟฟ้าเฉลี่ย 17,163 บาท ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการเข้าสู่ตลาดของอุปกรณ์สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของค่ายมือถือต่างๆ ในช่วงท้ายปีที่เจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลางและระดับบนมากขึ้น ส่วนวงเงินใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศ การซื้อของขวัญปีใหม่ และการทานอาหารออกบ้านในช่วงท้ายปีมีวงเงินเฉลี่ยที่ 12,648 บาท 7,176 บาท และ 3,667 บาท ไล่เรียงกันตามลำดับ

ส่วนแคมเปญหรือปัจจัยที่ส่งเสริมให้กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามเลือกจับจ่ายใช้สอยผ่านบัตรเครดิตในช่วงท้ายปี 2556 ต่อเนื่องถึงปี 2557 อันดับ 1 ได้แก่ ช่องทางการใช้จ่ายผ่านบัตรที่หลากหลายและสะดวกสบาย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 27.3% ของกลุ่มตัวอย่าง รองลงมา คือ แคมเปญผ่อนชำระ 0% นานช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาทิ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 10 เดือน คิดเป็นสัดส่วน 25.7% ของกลุ่มตัวอย่าง และอันดับ 3 ได้แก่ แคมเปญสะสมคะแนนแลกของรางวัล อาทิ ตั๋วเครื่องบิน ส่วนลดร้านค้า หรือใช้แทนเงินสด คิดเป็นสัดส่วน 25.1% ของกลุ่มตัวอย่าง

ทั้งนี้ ผลการสำรวจยังพบเพิ่มเติมว่ากลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 83% นิยมใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินในช่วงระหว่างเดือนของผู้ถือบัตร ซึ่งนัยหนึ่งอาจสะท้อนถึงแนวทางการใช้จ่ายผ่านบัตร เพื่อการบริหารเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพของกลุ่มผู้ถือบัตรเครดิต เนื่องจากกว่า 76% ของกลุ่มตัวอย่างยังคงชำระหนี้บัตรเครดิตแบบเต็มจำนวน อีกทั้งยังมีส่วนช่วยลดต้นทุนการบริหารจัดการเงินสดให้กับธนาคารพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า หน่วยงานกำกับดูแลและสถาบันการเงินจำเป็นต้องจับตาสัญญาณการใช้สินเชื่อบัตรเครดิต เพื่อเสริมสภาพคล่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไปที่เผชิญกับหลากหลายปัจจัยเสี่ยงทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกประเทศ อาจมีผลกระทบต่อความสามารถในการชำระคืนหนี้ของครัวเรือนได้

แม้ว่าภาคครัวเรือนเองจะมีแนวโน้มระมัดระวังการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมากขึ้น ซึ่งอาจช่วยให้ครัวเรือนบางส่วนประคองความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตไว้ได้ อีกทั้งสัดส่วนหนี้ค้างชำระเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน (Delinquency) และหนี้ค้างชำระเกิน 3 เดือน (NPLs) ธุรกิจบัตรเครดิตในปัจจุบันยังคงทรงตัวในระดับต่ำและยังไม่เป็นประเด็นที่ต้องกังวลก็ตาม

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

กสิกรฯคาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้าผันผวน กสิกรฯคาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้าผันผวนโอกาสปรับลง ติดตามการเมืองในปท.-ข้อมูลศก. กสิกรฯคาดบาทสัปดาห์หน้า32.70-33.00 กสิกรฯคาดเงินบาทสัปดาห์หน้า32.70-33.00 จับตาตัวเลขเศรษฐกิจหลายประเทศ และการเมืองในประเทศ 'บาท-หุ้น'ปี56ทรุด!ต่างชาติทิ้งหุ้น1.93แสนล. สรุปภาวะการลงทุน 28-12-56 vdo.gif ทองขึ้น50บ.ทองแท่งขายออก18,900 สรุปหุ้น-ทองรอบวัน 27-12-56 vdo.gif

 

ปฏิรูปประเทศ: ไม่ต้องถามว่าจะทำอย่างไร? ให้ถามว่า: จะทำหรือไม่?

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

news_img_552775_1.jpg

ผมนำภาพ "แผนที่เดินทาง" หรือ Road Map ของ 7 องค์กรภาคเอกชน

ว่าด้วยแนวทางการปฏิรูปประเทศ และหน้าปกรายงาน"แนวทางปฏิรูปประเทศไทย"ของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ (คปร.) มาให้ดูเพื่อจะยืนยันว่า ความคิดความอ่านเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศไทยนั้น มีข้อเสนอ บทวิเคราะห์ และแนวทางที่ชัดเจนพอสมควร

ข้อเสนอ "สภาปฏิรูปประเทศ"ของ นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ "สภาประชาชน"ของ สุเทพ เทือกสุบรรณ แห่ง กปปส. เป็น "โครงใหญ่" ที่ต่างก็มีปัญหาของตัวเอง แต่ข้อเสนอของภาคเอกชนและนักวิชาการหลายสำนักลงรายละเอียดชัดเจน สามารถนำมาปฏิบัติเพื่อนำพาประเทศออกจากวิกฤติได้

หากนักการเมืองและฝ่ายขัดแย้งทั้งหลายทั้งปวง มีความจริงใจในการที่จะปฏิรูป (จะก่อนหรือหลังเลือกตั้งก็ตาม) บ้านเมืองกันแล้วไซร์ รับรองว่าไม่มีปัญหาว่า "จะทำอย่างไร" จึงถึงเป้าหมายแน่นอน

ตอนนี้คำถามคือ "จะทำจริงหรือไม่?" และ "ใครจะยอมเสียสละอำนาจและผลประโยชน์เพียงพอที่จะทำให้เกิดขึ้น?" เท่านั้นเอง

และหากจะปฏิรูปประเทศ พร้อมกับการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทยไปพร้อมๆ กันอย่างที่รัฐบาลได้ประกาศเอาไว้เป็นนโยบายหลัก ก็มีแนวทางข้อเสนอของ "คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ" (คอป.)

คปร.มี คุณอานันท์ ปันยารชุน และ นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นแกนหลัก

คอป. มี ดร. คณิต ณ นคร เป็นประธาน

ทั้งสามท่านก็เคยได้รับการกล่าวขวัญจากรัฐบาลชุดนี้และชุดก่อนหน้านี้ว่าเป็น "คนกลาง" ที่สังคมไทยยอมรับนับถือในความซื่อสัตย์ สุจริต และตรงไปตรงมา อีกทั้งคณะกรรมการทั้งสองชุดนี้ ก็มีผู้ทรงคุณวุฒิและประวัติการทำงานที่โดดเด่นในสังคมไทย

พวกท่านเหล่านี้ได้วิเคราะห์ วิจัย และวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาของบ้านเมืองเพื่อการปฏิรูปและการปรองดองเอาไว้อย่างละเอียดแล้ว มีข้อเสนอในรายละเอียดทุกด้านที่ทั้งฝ่ายนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และแกนนำของ กปปส. กับแวดวงวิชาการเสนอมาแล้วเกือบทุกหัวข้อ

ดังนั้นหากจะแก้วิกฤตการเมืองครั้งนี้ด้วยการ "ปฏิรูป" ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างรอบด้าน ก็ไม่ได้มีปัญหาว่าเรารู้หรือไม่ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง และไม่ต้องขัดแย้งเผชิญหน้าถึงขั้นโกลาหลเสี่ยงกับการปะทะกันรอบใหม่เลย หากคู่กรณีจะยึดเอาข้อเสนอทางออกประเทศชาติขององค์กรต่างๆ ที่ทำการบ้านมาอย่างดีแล้วเป็นพื้นฐานของการหาทางออกร่วมกัน

ประเด็น "ปฏิรูป" กับ "เลือกตั้ง" ไม่ได้ขัดแย้งกัน ที่ขัดแย้งกันคือนักการเมืองต่างหาก

ไม่ว่าจะเป็นประชาชนกลุ่มใด จะอ้างตัวเป็นสีอะไร จะอยู่ในเมืองหรือชนบท ผมเชื่อว่าหากไม่ถูกนักการเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่มครอบงำ คนไทยล้วนต้องการ "ปฏิรูป" ให้ได้มาซึ่งสังคมที่เป็นธรรม ความเท่าเทียมของทุกคนในประเทศ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ปราศจากการโกงกิน และตรวจสอบการใช้เงินภาษีประชาชนโดยนักการเมืองและข้าราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทางออกของประเทศมีอยู่แล้ว สติปัญญาของคนไทยไม่ได้อ่อนด้อยกว่าใคร ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการก้าวไปข้างหน้าของประเทศ อยู่ที่กลุ่มการเมืองไม่กี่กลุ่มที่ยื้อแย่งอำนาจ โดยใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือเท่านั้น

เท่านั้นจริงๆ

Tags : ปฏิรูปประเทศ7 องค์กรภาคเอกชนสภาปฏิรูปประเทศสภาประชาชน

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

"พลานุภาพของสื่อสังคม" กับ สิ่งที่เรียกว่า "มวลมหาประชาชน"

โดย : ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์

กำลังอำนาจหรือพลานุภาพของสื่อสังคมในโลกเสมือนจริง (virtual world or cyber world)ได้สร้างปรากฏการณ์ให้เห็นแจ้งชัดได้จากจำนวนของผู้ออกมาชุมนุม

 

ในวิกฤตการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง “กลุ่มของ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ” และ ฟากฝ่ายของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างมากมาย เพราะการใช้การสื่อข้อความด้วยโปรแกรม ไลน์ (Line) การทวิตเตอร์ข้อความ (Twitter) หรือ การใช้สื่อสังคมอย่างเฟซบุ๊ค (Facebook) ทำให้ข่าวสารสามารถแพร่กระจายออกไปได้อย่างรวดเร็วและสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกเพศทุกวัยด้วยเวลาอันรวดเร็วอย่างยิ่ง

ยิ่งกว่านั้นการนำภาพขึ้นแสดงบนสื่อออนไลน์ทั่วๆ ไป รวมทั้งเว็บไซต์ยูทูป (Youtube) ได้เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่มีการนำข้อมูลข่าวสารต่างๆ เหล่านั้นไปเผยแพร่ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพในการส่งผ่านข้อมูล แต่ปัญหาอยู่ที่การคัดกรองหรือการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารอย่างละเอียดที่มักถูกละเลย ทำให้หลายต่อหลายกรณีมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จรวมทั้งเข้าข่ายในการหมิ่นประมาทดูหมิ่นละเมิดสิทธิผู้อื่นอยู่เนืองๆ กระทั่งเกือบจะกลายเป็นคดีความฟ้องร้องในชั้นศาลขึ้นมาอยู่หลายคดี

ในวันที่สื่อมีกลุ่มองค์กรตามสาขาวิชาชีพ มีการวางกรอบจริยธรรมจรรยาบรรณของสื่อขึ้นมา ซึ่งเปรียบได้กับสัญญาประชาคมสำหรับให้คนในสังคมได้รับรู้ถึงแนวทางเป้าหมายในการทำหน้าที่ของสื่อแต่ละแขนง สิ่งที่เป็นคำถามตามมาคือ การตรวจสอบกันเองของสื่อนั้นจะสร้างความมั่นใจให้สังคมได้อย่างไรว่าจะไม่มีการเอนเอียงหรือปกป้องกันเอง ซึ่งคำถามเหล่านี้เป็นสิ่งที่สื่อทุกแขนงควรตระหนัก เพราะปรัชญาที่แสดงถึงพลังอำนาจของสื่อได้ปรากฏให้เห็นดังภาษิตอังกฤษที่ว่า “คมปากกานั้นคมยิ่งกว่าคมดาบ (The pen is mightier than the sword)” แม้จะเป็นการพูดถึงการขีดเขียนซึ่งน่าจะเป็นงานของนักหนังสือพิมพ์ แต่เจตนาของภาษิตดังกล่าวสะท้อนให้รับรู้กันว่า การสื่อสารของสื่อไปยังผู้รับสารนั้นมีส่วนสำคัญต่อสังคมส่วนรวมและสามารถให้คุณและโทษกับผู้อื่นได้อย่างง่ายดาย

ดังนั้น การที่สื่อเรียกร้องพื้นที่ว่างทางสังคม (public sphere) เพื่อให้สื่อสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเข้มแข็งไม่ให้ผู้ใดเข้าครอบงำสื่อ จึงเป็นสิ่งที่สื่อเองต้องพึงตระหนักเช่นเดียวกันว่า ความเข้มแข็งเหล่านี้จะมีขึ้นได้ด้วยกำลังความสามัคคีความตั้งใจจริงในการมุ่งมั่นสร้างความถูกต้องเป็นเยี่ยงอย่างให้กับคนในสังคมให้เห็นเป็นที่ประจักษ์

ในสังคมนิติรัฐ หรือ สังคมที่ใช้กฎหมายที่คนในสังคมเห็นพ้องต้องกันสำหรับเป็นเครื่องมือในการปกครองขับเคลื่อนสังคม เป็นสังคมที่คนในสังคมเคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทำให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองสามารถทำหน้าที่ของตนได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ ในขณะที่ประชาชนและสังคมส่วนรวมสามารถที่จะมีช่องทางในการตรวจสอบการทำหน้าที่ขององค์กรทางสังคมต่างๆ และสื่อมวลชนในทุกแขนงได้อย่างถูกต้องเป็นธรรมและเสมอภาคกัน ซึ่งอาจมีผู้โต้แย้งว่าเป็นด้วยที่มาแห่งวัฒนธรรมประเพณีของชนในชาตินั้นๆ แต่ต้องเข้าใจว่า วัฒนธรรมประเพณี โดยนัยหนึ่ง คือ สิ่งที่มนุษย์ในสังคมร่วมกันสร้างสรรค์จรรโลงให้คงอยู่และถือปฏิบัติ จึงเสมือนแนวทางหรือมาตรฐานหนึ่งทางสังคมที่ผ่านกระบวนการศึกษาเรียนรู้และปรุงแต่งให้เข้ากับค่านิยมหรือรสนิยมของคนในสังคมที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ ทำให้ในอนาคตทุกกลุ่มผลประโยชน์และฝักฝ่ายในสังคมไม่อาจมองข้าม พลานุภาพหรือกำลังอำนาจของ “สื่อสังคม” ได้อีกต่อไป

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ที่ปรึกษาราชวงศ์ซาอุฯจวกโอบามา “ตอแหล” ชอบแทงข้างหลังเพื่อน ชี้สายสัมพันธ์วอชิงตัน-ริยาดห์ขาดสะบั้นแล้ว

blank.gif โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 ธันวาคม 2556 02:39 น. blank.gif 556000016671801.JPEG blank.gif

 

เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - อาเหม็ด อัล-อิบราฮิม ที่ปรึกษาระดับสูงของราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย ออกโรงจวกประธานาธิบดี บารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐฯ โดยระบุ “ดีแต่ปาก” และชอบ “ลอบแทงข้างหลัง”

 

อาเหม็ด อัล-อิบราฮิม ที่ปรึกษาระดับสูงของราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย เปิดใจให้สัมภาษณ์ในวันเสาร์ (28) โดยระบุ ประธานาธิบดีโอบามาได้กลายเป็นบุคคลที่ “ล้มละลายด้านความน่าเชื่อถือ” ไปแล้ว หลังจากที่โอบามาล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงที่จะรักษาคำพูดของตัวเองกรณีประกาศจะโจมตีซีเรีย เพื่อตอบโต้ระบอบการปกครองของบาชาร์ อัล-อัสซาด ที่ใช้อาวุธเคมีสังหารประชาชนของตัวเองเมื่อเดือนสิงหาคมจนมีผู้เสียชีวิตนับพันคน รวมถึงเด็กๆ จำนวนมาก แต่แล้วในที่สุดโอบามากลับหันไปทำความตกลงกับรัสเซียและล้มเลิกแผนในการถล่มซีเรียในที่สุด

 

“คำพูดอันสวยหรูของโอบามา ไม่สอดคล้องกับการกระทำของเขา ธาตุแท้ที่โอบามาเผยออกมา ทำให้เราได้เห็นว่า เขาพร้อมแทงข้างหลังเพื่อนของตัวเองได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะเพื่อนอย่างซาอุดีอาระเบีย” ที่ปรึกษาราชวงศ์ซาอุฯกล่าว

 

ความเคลื่อนไหวล่าสุดของที่ปรึกษาราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย มีขึ้นหลังจากที่รัฐบาลริยาดห์ประกาศเปลี่ยนจุดยืนนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงด้วยการตีตัวออกห่างจากวอชิงตัน หลังรัฐบาลโอบามาล้มเหลวในการโจมตีซีเรียทั้งที่ให้คำมั่นกับซาอุฯไว้แล้ว อีกทั้งยังหันไปผูกไมตรีกับอิหร่าน ที่ถือเป็นศัตรูตัวฉกาจในภูมิภาคตะวันออกกลางของซาอุฯ

 

“สายใยแห่งความไว้เนื่อเชื่อใจระหว่างอเมริกากับซาอุดีอาระเบีย wด้ขาดสะบั้นลงแล้วในยุคของโอบามา เราไม่เข้าใจว่าเพราะเหตุใด ในทุกๆ ครั้ง ผู้นำสหรัฐฯจึงตัดสินใจเลือกศัตรู แทนการเลือกอยู่เคียงข้างกับมิตร” อาเหม็ด อัล-อิบราฮิม กล่าวเสริม

 

ก่อนหน้านี้ ซาอุดีอาระเบียเพิ่งประกาศจัดตั้งกองกำลังความมั่นคงจำนวน 100,000 นาย ร่วมกับชาติเพื่อนบ้านเศรษฐีอาหรับแถบอ่าวเปอร์เซีย ที่ประกอบด้วยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ คูเวต บาห์เรน และโอมาน เพื่อปลดแอกตนเองจากร่มเงาด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ และยังเตรียมหันไปสานสัมพันธ์กับรัฐบาลจีน ที่ถือเป็นคู่แข่งอิทธิพลที่สำคัญยิ่งในสายตาของสหรัฐฯทั้งในเวทีการเมือง ความมั่นคง และเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...