ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 

โพสต์แนะนำ

สวัสดีค่ะ news ginger goldofcourse วิภาดา

 

 

พิมพ์แล้วหายอีก รู้สึกว่าคอมพ์เป็นอะไรเนี่ย อืดมาก แต่ตั้งใจทำแล้ว ก็เลยเขียนซ้ำ

 

เอามาให้ดูใหม่นะ...ดีขึ้นใหม ชัดใหม นี่ทำแบบอนุบาลพึ่งตัวเองล้วนๆเลยนะ....แต่มดแดงมีผู้ใจดีให้คอยถามเวลาสงสัยนะ :D

 

 

ลองเปลี่ยนสี ใส่โน่น นี่ ก็ออกมาประมาณนี้จ้ะ...

 

.ถ้าจะมองเทรนง่ายๆ ลองใส่ channel>>>>equidstant แต่ไม่ได้ทำมาให้ดู ไปหาลิงค์ให้ไม่เจอ ถ้าเจอจะเอามาแปะให้นะ........เจอแล้วจ้า

 

http://www.thaigold.info/Board/index.php?/topic/473-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AD/page__st__180

post-21-057405600 1308446549.gif

 

 

ที่ลิงค์ค่ะ..ลองอ่านดู...มันจะช่วยให้พอมองเห็นเทรนแบบง่ายๆ

 

d8p15.gif

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

สวัสดีตอนเช้าวันอาทิตย์ ท่านผู้มีอุปการคุณที่เคารพรัก อาป๊าอาม้า หม่าม่า อากง พ่อแม่น้องพี่เพื่อนพ้องน้องรักทั้งหลาย :lol:

 

ขอให้ทุกคนมีจิตใจที่แจ่มใส สุขสำราญ อารมณ์ดี มิรอยยิ้ม ลักยิ้ม แอบยิ้มบ้างก็ได้

ใครที่ยังไปทำงานขอให้คิดว่าโชคดี มีงานทำ = มีเงินใช้

ใครค้าขายขอให้ขายแบบอารมณ์ดี ^___________^

ใครอยู่บ้านก็หาเรื่องสบายใจทำ ใจของเราเลือกได้ว่าจะทำอะไร คิดแบบไหน ก็คิดให้ได้ทำเรื่องที่สบายใจ

ให้รู้ทันใจตัวเองไว้ละกัน -_-

ความสุขคือการให้ มิใช่การครอบครอง [ธรรมะอารมณ์ดี]

..๏ คานธี...ทิ้งรองเท้า? ๏..

ขณะที่ท่านคานธีกำลังขึ้นรถไฟไปต่างเมืองอยู่นั้น...

รองเท้าข้างหนึ่งของท่านตกลงจากรถไฟ

 

ท่านไม่สามารถลงมาเก็บรองเท้าท่านได้ทัน

เพราะรถกำลังเคลื่อนตัวออกจากสถานีรถไฟพอดี

 

ท่านคานธีจึงถอดรองเท้าของท่านอีกข้างหนึ่ง

แล้วโยนออกไปใกล้ๆที่เดียวกันกับรองเท้าของท่านที่ตกลงไปนั้น

 

ผู้ติดตามถามท่านว่า ทำไมท่านจึงทำเช่นนั้น.....

 

ท่านคานธีตอบว่า

 

เพื่อว่าถ้ามีคนเก็บรองเท้าของท่านได้

เขาจะได้มีรองเท้าใส่ครบทั้งสองข้าง

 

( ด้วยจิตใจที่กว้างขวาง ทำให้ท่านคานธีปล่อยสละ

สิ่งที่ท่านมีอยู่กับคนซึ่งท่านไม่รู้จัก และอาจไม่มีวันรู้จักเขา )

 

 

..๏ แก้พระวิวาทกัน ๏..

อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่พระเทพกวี (โต) นั่งเอกเขนกนอกกุฏิ

ท่านเห็นพระวัดระฆังฯ ๒ รูปชี้หน้าด่ากัน เสียงดังลั่นวัด

 

ท่านเจ้าคุณพระเทพกวีลุกเข้ากุฏิจัดดอกไม้ ธูปเทียนใส่พาน

รีบเดินเข้าไปหาพระทั้งสองแล้วทรุดตัวนั่งคุกเข่า

ทำท่าถวายดอกไม้ธูปเทียนให้พระคู่นั้น

แล้วอ้อนวอนฝากตัวว่า...

 

"พ่อเจ้าประคุณพ่อจงคุ้มครองฉันด้วย ฉันฝากตัวกับพ่อด้วย

ฉันเห็นจริงแล้วว่า พ่อเก่งเหลือเกิน เก่งพอได้ เก่งแท้ ๆ พ่อเจ้าประคุณ

ขรัวโตฝากตัวด้วย"

 

พระทั้งคู่ก็เลยเลิกวิวาท มาคุกเข่ากราบพระเทพกวี

และท่านก็กราบตอบ กราบกันไปกราบกันมาอยู่พักหนึ่ง

ผลที่สุดพระวัดระฆัง ฯ คู่นี้เลิกเป็นปากเสียงกัน

ทำให้พระลูกวัดอื่น ๆ ไม่กล้าทะเลาะกันอีก

 

เวลาจำวัดอยู่ในกุฏิของท่านที่วัดระฆังนั้น

เจ้าขโมยเจาะพื้นกุฏิล้วงเอาข้างของที่วางเกลื่อนไว้

เจ้าขโมยล้วงไม่ถึง ท่านก็ช่วยเอาไม้เขี่ยของๆนั้นเข้าไปให้ใกล้มือขโมย

 

เจ้าขโมยลักเข็นเรือใต้ถุนกุฏิท่านก็เปิดหน้าต่างสอนขโมยว่า

" เข็นเบาๆ หน่อยจ๊ะ ถ้าดังไปพระท่านได้ยินเข้าท่านจะตีเอา เจ็บเปล่าจ๊ะ

เข็นเรือบนแห้ง เขาต้องเอาหมอนรองข้างท้ายให้โดงก่อนจ๊ะ

ถึงจะกลิ้งสะดวกดี เรือก็ไม่ช้ำไม่รั่วจ๊ะ"

 

เจ้าขโมยเกรงใจไม่เข็นต่อไป

เก็บมาจากเกร็ดชีวิต สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

 

ขอบคุณผู้เขียนและผู้แบ่งปัน

 

^_^ :D :lol: -_- ;) :P :D :)

ยิ้มมีหลากหลายแบบ ยิ้มหวาน ยิ้มสวย ยิ้มเท่ ยิ้มกว้างเห็นฟันเกือบทุกซี่ (เปิดเผยจริงใจ)

ยิ้มมุมปาก(ทำท่ากวนๆแบบนี้บางทีอาจหาเรื่องใส่ตัวได้ ถ้ายิ้มผิดที่ ผิดเวลา)

ยิ้มแบบแอ๊บแบ๊ว (ทำตาใสปิ๊ง ทำท่าน่าเอ็นดูประกอบด้วย)

 

ยิ้มแบบเป็นธรรมชาติ เป็นตัวของตัวเอง ยิ้มทั้งปาก ตา และหัวใจ

ยิ้มแบบหุ่นยนต์(สมองสั่งให้ยิ้ม...)

ยิ้มรับกล้อง (พวกนี้จะชอบถ่ายรูปเป็นชีวิตจิตใจ ภูมิใจในความหล่อเท่ สวยเก๋ของตัวเอง เป็นความสุขอีกแบบนึง)

ยิ้มแบบถอดใจ ยิ้มกร่อยๆ ยิ้มแห้งๆ ยิ้มไปยังงั้นละ่ ยิ้มเศร้าๆ ก็ยังดี ดีกว่าไม่ยิ้ม

ยิ้มแบบมาดมั่น มั่นใจในตัวเอง คือ รอยยิ้มของคนที่กล้าตัดสินใจ ฝึกฝนตนเอง มีความอดทน มีมานะ

ไม่ยอมแพ้กับอะไรง่ายๆ มีเหตุผลและคิดก่อนตัดสินใจเสมอจึงทำได้ถูกต้องเหมาะสมเป็นส่วนใหญ่

 

ยิ้มเย็นๆอารมณ์ดี นี่ก็ดี

ยิ้มมีความสุข ยิ้มด้วยความดีใจ ^______________^

จะยิ้มแบบไหนไม่ว่ากันขอให้ยิ้มเถอะ ยิ้มให้ใจเบิกบาน

ยิ้มมีเล่ห์เหลี่ยมส่วนมากจะแอบในใจหรือไปแอบยิ้ม (ขอให้เรารู้ทัน-

อย่าโดน พวกยิ้มซ่อนเล่ห์ในสำนวนแนวกำลังภายในเค้าเรียก ยิ้มปลิดวิญญาณ ยิ้มซ่อนคมดาบ)

เอ้า...จบแบบนี้ได้ไง 555

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

T231110_06C.gif

 

ฟ้าหญิงตรัส...ในหลวงทรงพระสำราญ รับสั่งสบายขึ้นมาก เริ่มเคลื่อนไหวได้สะดวก

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

รวมพระบรมราโชวาทในงานพระราชพิธีต่างๆ

 

?..คนไทย รักษาชาติ รักษาแผ่นดิน เป็นปึกแผ่นมั่นคงมาได้ ด้วยสติปัญญาความสามารถ และด้วยคุณความดี อิสรภาพ เสรีภาพ ความร่มเย็นเป็นสุข ตลอดจนความเจริญทุกอย่างที่มีอยู่บัดนี้ เราทั้งหลายในปัจจุบัน จึงต้องถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบอย่างสำคัญ ในอันที่จะรักษาคุณความดี พร้อมทั้งจิตใจที่เป็นไทยไว้ให้มั่นคงตลอดไป?..

(พระราชดำรัส ในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธี เฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธ.ค.2521)

 

?..ชาติบ้านเมือง คือ ชีวิต เลือดเนื้อ และสมบัติของเราทุกคน และการดำรงรักษาชาติประเทศนั้น มิใช่หน้าที่ของบุคคลผู้ใดหมู่ใด โดยเฉพาะ หากแต่เป็นหน้าที่ของทุกๆฝ่ายทุกๆคน ที่จะต้องร่วมมือกระทำ พร้อมกันไปโดยสอดคล้องเกื้อกูลกัน?..

(พระบรมราโชวาท ในพิธีตรวจพลสวนสนาม เนื่องในโอกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก 8 มิ.ย.2514)

?..ความจงรักภักดีต่อชาตินั้น คือความสำนึกตระหนักในคุณของแผ่นดิน อันเป็นที่เกิดที่อาศัย ซึ่งทำให้บุคคลเกิดความภูมิใจในชาติกำเนิด และมุ่งมั่นที่จะธำรงรักษาประเทศชาติไว้ ให้เป็นอิสระมั่นคงตลอดไป?..

(พระบรมราโชวาท ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณและสวนสนาม ของทหารรักษาพระองค์ ณ ลานพระราชวังดุสิต 3 ธ.ค.2529)

 

?..บรรพชนไทย เป็นนักต่อสู้ ผู้มีชีวิตจิตใจผูกพันปรองดอง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สามัคคีพร้อมเพรียงกันทุกเมื่อ ไม่ว่าจะทำการสิ่งใด บ้านเมืองไทยจึงมีเอกราชอธิปไตยและมีความสุขความสมบูรณ์ทุกอย่างมาจนกระทั่งทุกวันนี้?..

(พระบรมราโชวาท ในพิธีสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ 3 ธ.ค.2522 ณ ลานพระราชวังดุสิต)

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ลองมองดู ab = cd แบบง่ายๆ...แล้วจะร้องอ๋อ...ไม่มีการวัดฟิโบเช่นต้อง 61.8 %หรือ 161.8 %

 

 

ดูแล้วเริ่มงงหรือยัง เดากราฟง่ายใหม เล่นตามที่ตัวเองอ่านแบบง่ายๆก็มี แล้วทำตามนั้นก็ได้ตัง แบบที่ป้านัททำกราฟให้ดู แล้วจัดการบริหารพอร์ทของตัวเองดีๆๆ แต่มักทำไม่ได้เพราะคิดว่าอย่างนั้น ว่าอย่างนี้ อย่างโน้น อย่างนู้นๆๆๆ ข้อมูลมากมายมหาศาล ผลสุดท้าย เอางัยดี.. ยืนดูเฉยๆ ตกรถ ติดดอย !_09 !033 !_02 ไปล่ะ !La

 

post-21-064269500 1308452728.gif

 

 

ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ก็ลองดูต่อไป

 

 

 

post-21-078354600 1308454221.gif

ถูกแก้ไข โดย moddang..

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เดากราฟง่ายใหม เล่นตามที่ตัวเองอ่านแบบง่ายๆก็มี แล้วทำตามนั้นก็ได้ตัง แบบที่ป้านัททำกราฟให้ดู แล้วจัดการบริหารพอร์ทของตัวเองดีๆๆ แต่มักทำไม่ได้เพราะคิดว่าอย่างนั้น ว่าอย่างนี้ อย่างโน้น อย่างนู้นๆๆๆ ข้อมูลมากมายมหาศาล ผลสุดท้าย เอางัยดี.. ยืนดูเฉยๆ ตกรถ ติดดอย !_09 !033 !_02 ไปล่ะ !La

 

 

เห็นสัจธรรทจริง ๆ ตามนี้เลย ต้องแก้ไขที่ตัวเราอย่างไรดีคะคุณมดแดง ติดตามต่อปาย.

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ลองมองดู ab = cd แบบง่ายๆ...แล้วจะร้องอ๋อ...ไม่มีการวัดฟิโบเช่นต้อง 61.8 %หรือ 161.8 %

 

 

ดูแล้วเริ่มงงหรือยัง เดากราฟง่ายใหม เล่นตามที่ตัวเองอ่านแบบง่ายๆก็มี แล้วทำตามนั้นก็ได้ตัง แบบที่ป้านัททำกราฟให้ดู แล้วจัดการบริหารพอร์ทของตัวเองดีๆๆ แต่มักทำไม่ได้เพราะคิดว่าอย่างนั้น ว่าอย่างนี้ อย่างโน้น อย่างนู้นๆๆๆ ข้อมูลมากมายมหาศาล ผลสุดท้าย เอางัยดี.. ยืนดูเฉยๆ ตกรถ ติดดอย !_09 !033 !_02 ไปล่ะ !La

 

post-21-064269500 1308452728.gif

 

 

ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ก็ลองดูต่อไป

 

 

 

post-21-078354600 1308454221.gif

 

มดแดงน่ารักจริงๆ

เราดูอยู่นาน มิน่าละเขาถึงเรียกกันว่า วิเคราะห์กราฟทางเทคนิค

เพราะแค่อ่านมา ก็จะแค่อ่าน มันต้องรู้ลึกกว่านั้จึงจะพอเข้าใจนิดๆ

มันต้องใข้การคิด วิเคราะห์เรียกว่า ใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์

สมองน้อยๆของเราคงยังเรียนรู้ไม่พอ แต่พออ่านๆดูๆซ้ำๆ ดูของพี่Cด้วย จึงพอจะเคาะประเด็นออกมาได้

ค่อนข้างแน่ใจหรอกนะว่าคิดถูก

นับว่ามดแดงทำได้ดีเพราะน่าจะมีคนอื่นที่เข้าใจ และตีเทรนด์ได้

มดแดง อย่างนั้น อย่างนี้ อย่างโน้น ไงมันก็ต้องเอาซะอย่าง 555

ขอบใจมากเลยนะ

เฮียกัมใจดีมากเลย ขอบคุณ ป้านัท ป้าชา พี่C เฮียแบท คุณคิก คุณp อ.จิ๊ว อ.ทองใหม่ น้าเคน น้าโป๊ะ เฮียย่า

คุณงูดิน คุณเสม และทุกท่านที่ให้ความรู้ พร้อมทั้งทีมงานทุกคน :D

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เอามาฝากคะ ฟังแล้วขำๆคะ ... ลองฟังดูคะ.http://www.youtube.com/watch?v=tVmayxj0nEw

ถูกแก้ไข โดย Soda

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เทคนิคการตัดสินใจเพื่อป้องกันการเสียใจและเสียดายในภายหลัง

การตัดสินใจ(Decision Making) ถือเป็นความสามารถ (Competency) ประจำตำแหน่ง “คน” ที่ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้เลย อาจจะพูดได้ว่าเราต้องตัดสินใจในชีวิตทุกๆนาทีก็ได้ เช่น การตัดสินใจเลือกที่จะดื่มหรือไม่ดื่มน้ำ เลือกที่จะทานข้าวที่ไหน เลือกที่จะใส่เสื้อผ้าชุดไหนดี เลือกที่จะเดินหรือจะวิ่ง เลือกที่จะทำหรือไม่ทำ ฯลฯ

 

การตัดสินใจถือเป็นกระบวนการ(Process) ในการที่จะเลือกกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาศัยข้อมูลข้อเท็จจริง ประสบการณ์และดุลยพินิจประกอบการตัดสินใจ และก่อนที่จะตัดสินใจคนมักจะมีการประเมินถึงผลกระทบที่จะเกิดจากการตัดสินใจนั้นๆก่อนเสมอ เช่น ถ้าไม่ทำแบบนั้น หรือถ้าต้องทำแบบนี้ ผลได้ผลเสียคืออะไร ทางเลือกไหนคุ้มค่ากว่ากัน ทางเลือกไหนเหมาะสมกับสถานการณ์ของเรามากกว่ากัน

 

ในชีวิตคนเรามีการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่ที่เราไม่รู้สึกว่าเรากำลังตัดสินใจอยู่ ก็เพราะว่าการตัดสินใจบางอย่างโดยเฉพาะเรื่องเล็กๆที่เกิดขึ้นมาซ้ำๆกันเป็นเวลานาน เช่น ตื่นเช้าขึ้นมาเราต้องตัดสินใจว่าจะตื่นดีไหม ตัดสินใจว่าจะทำอะไรก่อนหลัง ตัดสินใจว่าจะเคี้ยวข้าวด้านซ้ายหรือขวา ตัดสินใจว่าจะกลืนข้าวลงท้องหรืออมไว้ก่อน ฯลฯ เวลาที่ใช้ในกระบวนการของการตัดสินใจนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมากเนื่องจากเราตัดสินใจเรื่องนั้นๆมานานและทางเลือกของการตัดสินใจมักจะเป็นทางเลือกเดิม จึงทำให้เราไม่ต้องเสียเวลากับการชั่งน้ำหนักว่าควรจะเลือกทางไหน การตัดสินใจในเรื่องเหล่านี้จึงเป็นเหมือนการตัดสินในแบบกึ่งอัตโนมัติ เหมือนกับการที่เรากำลังขับรถกลับบ้านบางครั้งขนาดเราใจลอย แต่พอถึงทางเข้าบ้านเราก็เลี้ยวรถเข้าบ้านได้โดยไม่ต้องคิดเพราะการตัดสินใจเลี้ยวรถเข้าบ้านเกิดขึ้นทุกวันจนเป็นความเคยชินไปแล้ว

 

กระบวนการตัดสินใจในชีวิตประจำวันบางอย่างที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยๆ เช่น วันนี้ไปเที่ยวต่างจังหวัดพอถึงเวลาหาอะไรใส่ท้อง เราอาจจะใช้เวลาในกระบวนการของการตัดสินใจว่าจะทานอะไรดี ทานที่ไหน ฯลฯ มักจะใช้เวลาในการตัดสินใจนานกว่าปกติจนรู้สึกได้ว่าเรากำลังตัดสินใจอะไรอยู่ เหตุผลที่ทำให้เราใช้เวลาในการตัดสินในนานกว่าปกติก็เพราะว่าเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แปลกใหม่ไม่คุ้นเคย เรามีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังตัดสินใจไม่เพียงพอ เราอาจจะยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน เราอาจจะอยู่ในอารมณ์ที่แตกต่างไปจากชีวิตประจำวันปกติ แต่ถ้าเราได้มีโอกาสเดินทางไปต่างจังหวัดบ่อยขึ้น แม้ว่าจะไม่ใช่จังหวัดเดิมก็ตาม แต่กระบวนการในการตัดสินใจของเราก็จะสั้นลง เพราะประสบการณ์เดิมเคยบอกเราว่าถ้าจะหาร้านอาหารดีๆในต่างจังหวัดอาจจะต้องเดินไปใกล้ๆตลาดหรืออาจจะใช้วิธีการหาข้อมูลเพื่อการตัดสินใจโดยการสอบถามคนในพื้นที่นั้นๆ

 

แต่....มีการตัดสินใจอีกกลุ่มหนึ่งที่คนเรามักจะประสบปัญหาในการตัดสินใจมาก นั่นก็คือการตัดสินใจในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วนหรือเป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องใหญ่เป็นเรื่องวิกฤติหรือเป็นเรื่องที่ชี้เป็นชี้ตาย กำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในเรืองใดเรื่องหนึ่งได้ เช่น การตัดสินใจเรื่องการเลือกสาขาวิชาในการศึกษาต่อของนักเรียนนักศึกษา การตัดสินใจที่จะหนีออกจากเพลิงไหม้ การตัดสินในช่วยคนที่ได้รับอุบัติเหตุ การตัดสินในเลือกงานทำ การตัดสินใจลาออกจากงาน การตัดสินใจแต่งงาน/หย่ากับคู่สมรส การตัดสินใจที่จะมีลูก การตัดสินใจไปทำงานต่างประเทศ การตัดสินใจซื้อบ้าน ตัดสินใจที่จะเลิกหรือทำธุรกิจต่อ ฯลฯ การตัดสินใจในเรื่องเหล่านี้มักจะสร้างปัญหาให้กับคนเราอย่างมาก เพราะถ้าตัดสินใจผิดอาจจะต้องเสียใจไปอีกนาน บางเรื่องตัดสินใจไปแล้วรู้ว่าผิดก็พอแก้ตัวได้บ้าง แต่บางเรื่องไม่สามารถแก้ตัวได้เลยตลอดชีวิต ทำให้คนหลายคนรู้สึก “เสียใจ” หรือ “เสียดาย” กับการตัดสินใจของตัวเองในอดีตอยู่บ่อยๆ และถ้าใครเกิดความรู้สึกนี้ขึ้นบ่อยๆ อาจจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการตัดสินใจเรื่องในปัจจุบันและอนาคตได้ เพราะเริ่มขาดความมั่นใจ เริ่มกลัวการตัดสินใจ เริ่มไม่อยากอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ พยายามหลีกเลี่ยงการตัดสินใจ หรือไม่ก็ถ่วงเวลาของการตัดสินใจเอาไว้ก่อน

 

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นว่าคนเราต้องตัดสินใจที่จะคิดหรือไม่คิด เลือกหรือไม่เลือก ทำหรือไม่ทำอยู่ตลอดเวลา สำหรับเรื่องเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นบ่อยๆเป็นประจำคงไม่ต้องมาอธิบายเทคนิคในการตัดสินใจอะไรกันมากมายนะครับ แต่...การตัดสินใจในเรื่องใหญ่และมีความสำคัญต่อความสำเร็จหรือล้มเหลว มีผลต่อความสุขหรือความทุกข์ในชีวิตของคนเราแล้ว ผมคิดว่าเราควรจะต้องมีหลักการและเทคนิคบางอย่างเข้ามาช่วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเสียใจและเสียดายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ผมจึงอยากจะแนะนำเทคนิคที่น่าจะนำมาคิดหรือพิจารณาประกอบการตัดสินใจดังนี้

 

การซ้อมตัดสินใจล่วงหน้ากับเหตุการณ์ใหญ่ๆในชีวิต

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนเราขาดประสิทธิภาพในการตัดสินใจคือ การขาดทักษะในการตัดสินใจ การตัดสินใจอะไรเกี่ยวกับเรื่องอะไรก็ตาม ถ้าเป็นการตัดสินใจครั้งแรกและครั้งเดียวในชีวิตมักจะมีโอกาสถูกและผิดพอๆกัน เผลอๆมีโอกาสผิดมากกว่าถูกด้วยซ้ำไป ผมเชื่อว่าในชีวิตจริงของคนเราเรื่องบางเรื่องเราพอที่จะรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเรา เช่น เราพอจะเดาในอนาคตเราน่าจะมีโอกาสได้ตัดสินใจเรื่องการแต่งงาน(แต่อาจจะไม่รู้ว่ากับใคร เดือนไหน ปีไหน อายุเท่าไหร่) เราอาจจะพอเดาได้ว่าเราจะต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเกษียณอายุอีก 10 หรือ 20 ปีข้างหน้า เราอาจจะพอคาดการณ์ได้ว่าเราจะต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการซื้อบ้าน ฯลฯ

การตัดสินใจที่ถือเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญของคนโดยทั่วไป ถ้าเราไม่อยากจะยุ่งยากใจกับการตัดสินใจในเวลาที่จำกัดในอนาคต เราอาจจะลองซ้อมตัดสินใจในเรื่องเหล่านี้ไปพลางๆก่อนก็ได้ เช่น เรายังอยู่ในวัยเรียน เราอาจจะซ้อมคิดว่าถ้าเราจะต้องมีครอบครัว เราจะมีวิธีการคิดหรือตัดสินใจอย่างไรบ้าง ถ้าเราซ้อมตัดสินใจล่วงหน้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนานๆ ประโยชน์ที่ได้คือ มีเวลาคิด มีเวลาหาข้อมูล ตัดสินใจผิดยังมีโอกาสตัดสินใจใหม่ได้(เพราะเป็นเพียงการซ้อมคิด) นอกจากนี้การซ้อมจะช่วยให้เราคุ้นเคยกับกระบวนการในการตัดสินใจ อย่าลืมนะครับว่ากระบวนการตัดสินใจเรื่องไหนที่เราทำหรือฝึกบ่อยๆ จะช่วยให้ร่นเวลาของกระบวนการตัดสินใจลง พูดง่ายๆคือเมื่อถึงเวลาตัดสินใจจริงจะสามารถตัดสินใจได้เร็วขึ้น เพราะสมองวิ่งไปในเส้นทางที่คุ้นเคยมาก่อน(เหมือนกับการซ้อมขับรถไปยังบริษัทที่เราจะไปสัมภาษณ์งานก่อนสักวันสองวัน พอถึงวันที่ต้องไปสัมภาษณ์งานจริงๆก็สามารถขับไปได้อย่างมั่นใจมากขึ้น ไม่ต้องกลัวหลง ไม่ต้องเสียสมาธิกับการสังเกตเส้นทาง)

ถามตัวเองว่า “จำเป็นต้องตัดสินใจเรื่องนี้หรือไม่?”

วิเคราะห์ดูว่ามีข้คนบางคนถูกสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้าภายนอกมาหลอกให้ตัดสินใจในเรื่องบางเรื่อง เช่น หลังเลิกงานเพื่อนชวนเราไปเดินเล่นในห้างสรรพสินค้าเพื่อตากแอร์เย็นๆ แต่พอเราเห็นโน่นเห็นนี่ก็เกิดกิเลสอยากได้ของบางสิ่งบางอย่าง กระบวนการที่เกิดขึ้นในใจคือ กระเป๋าใบนี้น่าซื้อ นาฬิกาเรือนนั้นก็อยากได้ แหวนวงนั้นก็สวยดี ฯลฯ เราเริ่มเกิดสับสนในตัวเองว่าจะซื้ออันไหนดี ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้ออะไรนั้น ผมคิดว่าสิ่งที่ดีที่สุดคือ ให้ลองถามตัวเองดูก่อนว่า “เราจำเป็นต้องตัดสินใจในเรื่องนั้นๆจริงๆหรือไม่” เพราะบางครั้งกระบวนการในการตัดสินใจที่กำลังเกิดขึ้นในใจเรานั้นมันข้ามขั้นตอน คือแทนที่จะตัดสินใจว่าวันนี้จะซื้อของอะไรหรือไม่ กลับกระโดดข้ามไปตัดสินใจว่าจะซื้ออะไรดี จะเลือกอันไหนดี ดังนั้น เทคนิคง่ายๆก็คือก่อนที่จะตัดสินอะไรลงไปให้ถามตัวเองก่อนเสมอว่า “จำเป็นต้องตัดสินใจในเรื่องนั้นๆหรือไม่” พูดง่ายๆว่าควรจะตัดสินใจให้เด็ดขาดก่อนว่าคิดจะซื้อของหรือไม่ ก่อนที่จะกระโดดข้ามไปตัดสินใจว่าจะเลือกซื้ออะไรดี

ถามตัวเองว่า “มีเวลาสำหรับการตัดสินใจมากน้อยเพียงใด?”

เวลาเป็นตัวแปรที่สำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการตัดสินใจของคนเรา ถ้าเป็นการตัดสินใจในภาวะฉุกเฉินหรือเร่งด่วน เรามีเวลาคิดน้อยมาก เราต้องตัดสินใจเป็นวินาที กระบวนการคิดจะเกิดขึ้นครั้งเดียวไม่มีโอกาสคิดทบทวน เช่น วิ่งหนีจากเพลิงไหม้ กระโดดหลบรถที่วิ่งตรงมาที่ตัวเรา วิ่งหนีสุนัขที่กำลังไล่กัดเรา ฯลฯ แต่ถ้าเป็นการตัดสินใจในภาวะปกติ ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่เราก็มักจะมีเวลามากกว่าการตัดสินในในกรณีฉุกเฉินหรือเร่งด่วน เช่น ตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาต่อ ตัดสินใจเกี่ยวกับการซื้อรถ ตัดสินใจเกี่ยวกับการประกอบอาชีพอิสระ ฯลฯ การตัดสินใจในเรื่องเหล่านี้อย่างน้อยๆก็ต้องมีเวลาเป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน หรือเป็นปี ดังนั้น ในการตัดสินใจเรื่องอะไรก็ตามที่ไม่ใช่เรื่องฉุกเฉินเร่งด่วน ควรจะถามตัวเองว่าเรามีเวลาในการตัดสินในเรื่องนั้นเรื่องนี้เท่าไหร่ เดดไลน์(Deadline) หรือวันสุดท้ายที่จะต้องตัดสินใจคือเมื่อไหร่ เพื่อนำเอางบประมาณเวลาในการตัดสินใจมาวางแผนในกระบวนการตัดสินใจได้ว่า เราจะเริ่มหาข้อมูลเมื่อไหร่ เริ่มวิเคราะห์ เริ่มหาทางเลือก เริ่มประเมินทางเลือกและต้องตัดสินใจวันหรือเวลาสุดท้ายเมื่อไหร่ต่อไป

วิเคราะดูว่ามีข้อมูลเพียงพอหรือยัง

มื่อเรารู้งบประมาณเวลาในการตัดสินใจแล้ว ก็ควรจะวิเคราะห์ดูว่าเรื่องที่เรากำลังตัดสินใจอยู่นั้น เรามีข้อมูลเพียงพอสำหรับการตัดสินใจแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่เพียงพอ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น เรากำลังจะตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนงานใหม่ เรามีข้อมูลของงานใหม่ที่จะไปทำมากเพียงพอที่จะนำมาเปรียบเทียบกับงานที่เราทำอยู่ในปัจจุบันหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ผลตอบแทน สวัสดิการ เวลาทำงาน การเดินทาง ความมั่นโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ ฯลฯ คนบางคนตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่จำกัด จึงทำให้เกิดความเสียใจและเสียดายบ่อยๆ เช่น ตัดสินใจไปทำงานกับที่ทำงานใหม่เพราะเงินเดือนและสวัสดิการดีกว่า (แต่หารู้ไม่ว่าธุรกิจนี้กำลังจะไปไม่รอดในอีกปีสองปีข้างหน้า หรือเป็นตำแหน่งงานทางการเมืองที่ให้เราเข้าไปเป็นกันชนระหว่างคนสองกลุ่ม) หลายคนคงมีประสบการณ์ในการซื้อของที่ระลึกเวลาไปเที่ยวต่างประเทศหรือต่างจังหวัดที่ซื้อของแพงกว่าคนอื่นๆ เพราะพอไปเจอที่แรกเราก็ตัดสินใจซื้อเลย เนื่องจากเราไม่มีข้อมูลว่าข้างหน้าจะมีสิ่งที่เราต้องการซื้ออีกหรือไม่ (เพราะเราไม่ได้ถามหัวหน้าทัวร์ก่อน)

มีทางเลือกกี่ทางที่พอจะเป็นไปได้

เมื่อเรามีข้อมูลมากเพียงพอแล้วก็ต้องมานั่งประเมินดูว่าทางเลือกที่เป็นไปได้ในการตัดสินใจครั้งนั้นๆมีกี่ทางเลือก เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกอาชีพการงาน อาจจะมีทางเลือกตั้งแต่ทำงานส่วนตัว ช่วยทำงานของธุรกิจครอบครัว ทำงานกับบริษัท เป็นข้าราชการ จนกระทั่งการอยู่เฉยๆไม่ต้องทำงาน(เพราะที่บ้านรวย) นอกจากมีการประเมินว่ามีกี่ทางเลือกที่เป็นไปได้แล้ว ขอให้ลองคิดไกลไปอีกว่าในแต่ละทางเลือกมีทางเลือกย่อยๆอะไรบ้าง เช่น ทางเลือกเกี่ยวกับการเป็นข้าราชการ ก็มีตั้งแต่เป็นข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ ลูกจ้างของรัฐ พนักงานของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือมืออาชีพที่รัฐว่าจ้างเข้าไปบริหารงาน และลองคิดต่อไปว่าถ้าเป็นข้าราชการการเมืองมีทางเลือกย่อยๆอะไรได้อีกบ้าง ขอให้ลองคิดต่อไปจนคิดไม่ออกแล้วค่อยหยุดคิด ถ้าใครรู้จักเครื่องมือการคิดที่เรียกกว่า “Mind Map” การคิดหาทางเลือกในการตัดสินใจก็อาจจะใช้เครื่องมือนี้มาช่วยได้นะครับ เพราะมันจะช่วยให้เรามองเห็นทางเลือกหลัก ทางเลือกรอง และทางเลือกย่อยๆได้อย่างชัดเจน

สร้างและเร่งให้เกิดสภาวะการลังเลเร่งปฏิกิริยาการตัดสินใจ

บางครั้งคนบางคนชอบตัดสินใจในวินาทีสุดท้าย ทั้งๆก่อนหน้านี้มีเวลาตัดสินใจตั้งนาน แต่ไม่ยอมตัดสินใจ อาจจะเป็นเพราะประมาท อาจจะเป็นเพราะเรื่องนั้นยังไม่ด่วนมากนัก เช่น ตัดสินใจเขียนใบสมัครงานใหม่ในเดือนธันวาคมเพื่อจะเปลี่ยนงานในเดือนมกราคมปีต่อไป ซึ่งอาจจะไม่ทันการณ์แล้ว เนื่องจากกระบวนการในการคัดเลือกบุคลากรส่วนใหญ่เขาจะทำล่วงหน้ากันสองถึงสามเดือน เทคนิคอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เราตัดสินใจในเวลาที่เหมาะสมคือ การสร้างและเร่งกระบวนการของการตัดสินใจให้เร็วขึ้นคือ การทำให้จิตใจของเราอยู่ในสภาวะของ “ความลังเล” ความลังเลนี้มักจะเกิดจากการขัดแย้งกันระหว่างความคิดสองด้านหรือหลายด้าน และแต่ละด้านจะมีข้อดีข้อเสียใกล้เคียงกัน พอชั่งน้ำหนักออกมาแล้วมักจะรู้สึกว่าทางเลือกนี้ก็ดี ทางเลือกนั้นก็ได้ เกิดความรู้สึก “รักพี่ เสียดายน้อง” ขึ้นมาในใจ บางคนอาจจะบอกว่าไม่อยากเจอสถานการณ์แบบนี้เลย แต่ถ้าวิเคราะห์กันจริงๆแล้ว เราจะพบว่าสภาวะการลังเลนี้น่าจะเป็นโอกาสในการตัดสินใจที่ดี เพราะก่อนที่เราจะทำการตัดสินใจจริงๆนั้น เราจะต้องหาข้อมูลของแต่ละทางเลือกซึ่งมีน้ำหนักสูสีกันมาหักล้างกัน ไม่เหมือนกับการตัดสินใจที่เรามีทางเลือกชัดเจนแน่นอน ถ้าเป็นเช่นนั้นเรามักจะไม่ค่อยไปหาข้อมูลของทางเลือกอื่นๆมาเพิ่มเพราะทางเลือกที่ตรงกันข้ามมีน้ำหนักน้อยเกินไป เช่น เราตัดสินใจเลือกเรียนสาขาวิชานี้แน่ๆแล้ว เราก็จะหยุดหาข้อมูลของสาขาวิชาอื่นๆไปทันที ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้เราเสียโอกาสในการประเมินทางเลือกอื่นไปได้เหมือนกัน

 

ตีพิมพ์ลงคอลัมน์ “โลกนักบริหาร” หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

. สาเหตุที่ทำให้การตัดสินใจผิดพลาด

การตัดสินใจของบุคคลที่มักจะเกิดความผิดพลาดอาจเกิดสาเหตุต่าง ๆ ได้หลายสาเหตุ ทั้งนี้สาเหตุสำคัญ ๆ ที่พอจะยกมากล่าวได้ คือ

 

.1 การตัดสินใจโดยอาศัยนิสัยและความเคยชิน

 

.2 การตัดสินใจที่ขาดข้อมูลหรือมีข้อมูลที่ไม่ดี

 

3 การตัดสินใจที่มีเวลาจำกัดหรือรีบร้อน ขาดความระมัดระวัง

 

.4 การตัดสินใจที่ถูกอิทธิพลบางอย่างครอบงำ ทำให้เกิดอคติหรือเอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง

 

.5 การตัดสินใจที่ตั้งอยู่บนกิเลส ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลง

ฯลฯ

สรุป

การตัดสินใจนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตและการทำงานของบุคคล และถือเป็นบทบาทที่สำคัญของผู้นำหรือผู้บริหารในการจัดการหรือบริหารงานซึ่งจะนำพาให้เกิดความอยู่รอดหรือไม่ ของกลุ่ม หน่วยงาน หรือองค์การ การตัดสินใจที่ดีนั้นจะก่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด ดังนั้นผู้ที่จะตัดสินใจจึงควรหาข้อมูลหรือมีข้อมูลที่ดีและมีกระบวนการที่ดีให้การตัดสินใจ ตลอดจนตระหนักถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการตัดสินใจผิดพลาดอีกด้วยแล้ว การตัดสินใจก็จะเกิดผลดีมากที่สุดและเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

การตัดสินใจ

 

โดย สาระ

ปรับปรุง ๒๐ พ.ย. ๒๕๕๒

 

 

 

 

ความสำเร็จใด ๆ เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน เกิดจากหลายเหตุ ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ มีสิ่งสนับสนุนและอุปสรรคเกิดขึ้นได้ทั้งจากภายในและภายนอก การตัดสินใจของเราก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อความสำเร็จนั้น เมื่อประสบความสำเร็จจะเป็นผลให้ร่ำรวย มีความสุข หรือสุขภาพแข็งแรง ในทางตรงกันข้ามจะทำให้เสียเวลา เสียเงินทอง เสียสุขภาพ เกิดอุบัติเหตุ เดือดร้อนตนเอง หรือทำให้สังคมเดือนร้อนได้

 

คนเราตัดสินใจ เกือบจะทุกวินาที ในเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญ เรื่องเล็กน้อยก็เป็นการตัดสินใจเหมือนกัน เช่น มื้อนี้จะรับประทานอะไรดี จะเลือกเรียนวิชาอะไรดี จะสมัครงานที่ไหนดี หรือจะทำอะไรต่อไปดี กับเรื่องที่สำคัญ ปัญหาที่สลับซับซ้อน โดยเฉพาะการตัดสินใจที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อคนจำนวนมาก ยิ่งต้องมีความฉลาดรอบคอบในการตัดสินใจเป็นทวีคูณ

 

ความหมายของการตัดสินใจ

 

ตัดสินใจ หมายถึง ตกลงใจ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, น. ๔๕๐)

 

การตัดสินใจจึงอยู่ที่การคิด ส่วนสิ่งที่ตามมาคือ การพูด การดำเนินการ การเกิดปฏิกิริยากับสภาวะแวดล้อมภายนอก และผลลัพธ์

 

บางท่านให้ความหมายว่า ตัดสินใจ หมายถึง เลือก

 

พอจะสรุปได้ว่าการตัดสินใจที่ดีนั้นเป็นไปได้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง อาทิเช่น

 

๑. การตัดสินใจที่ดีคือ "การไม่ประมาท"

 

๒. การตัดสินใจที่ดีเป็น "การใช้เวลาและทรัพยากรต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์หรือคุณค่าสูงสุด เหมาะสมตามจังหวะเวลาและสภาวะแวดล้อม"

 

๓. ในการแก้ไขปัญหาหรือการทำให้เป้าหมายสำเร็จลุล่วง การตัดสินใจที่ดีเกิดจากความเข้าใจในสาเหตุของปัญหาหรือความชัดเจนในเป้าหมาย รู้วิธีและสามารถแก้ปัญหาหรือดำเนินการจนประสบความสำเร็จได้ ซึ่งกรอบของกระบวนการตัดสินใจอาจใช้อริยสัจสี่

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ความลังเล

โดย สาระ

ปรับปรุง ๑๙ ม.ค. ๒๕๕๒

 

 

ลังเล คือ ไม่แน่ใจ ไม่มั่นใจ ตัดสินใจไม่ถูก ไม่รู้จะเลือกอันไหนดีระหว่างสองหรือหลายทางเลือก

ถ้าคุณอ่านเรื่อง "การตัดสินใจ" ที่ได้เคยเขียนไว้แล้ว ก็น่าจะช่วยให้หายลังเลได้บ้าง

แต่อาจจะไม่หมด

บางคนว่าความลังเล กับความสังสัย เป็นอันเดียวกัน

ผมเห็นว่าเป็นคนละเรื่อง ความลังเล จะทำให้เราไม่มีความสุข

รักพี่เสียดายน้องไปเรื่อย อะไรทำนองนั้น บางคนเป็นเอามาก ๆ เราเรียกว่า

ขึ้ลังเล โลเล ส่วนคำว่าสงสัยจะมีความหมายกว้างกว่าคำว่าลังเล

ความสงสัยบางครั้งไม่ค่อยมีผลอะไรกับเรา เช่น สงสัยว่าไก่กับไข่

อะไรเกิดก่อนกัน อะไรมันจะเกิดก่อนก็ไม่ได้มีผลอะไรกับเรา

แต่ความลังเลนี่มีผลทำให้เราไม่ค่อยมีความสุข ตัดสินใจอะไรไปแล้ว

ก็มักจะต้องย้อนมาคิดอีก หรือเสียดายว่า "รู้อย่างนี้ เลือก... ก็ดีล่ะ"

เหมือนเป็นคนไม่เด็ดขาด

แนวทางในการจัดการกับความลังเลใจ ได้แก่สองข้อต่อไปนี้

๑. เข้าใจชัดเจน

 

จะให้หมดความลังเลได้ ไม่ใช่ "เด็ดขาด"

แต่ต้อง "ชัดเจน" ถ้าชัดเจนแล้วไม่ต้องพูดถึงเด็ดขาดเลย

เด็ดขาดอีกนัยเป็นลักษณะ "บังคับ" หรือ "ฝืน" หรือ "ดันทุรัง"

ส่วน "ชัดเจน" คือ เข้าใจ เห็นอยู่ รู้อยู่แจ่มแจ้ง จึงตัดสินใจโดยอิสระ

ไม่มีอะไรมายึดให้กังวล แต่ที่ลังเลอยู่เพราะมันมีอะไรมายึดหรือเราไปยึดมันนั่นเอง

 

การจะฝึกให้ตัวเองเป็นคนชัดเจน คุณอาจจะลองดูอย่างนี้ก็ได้

(๑) รู้องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรากำลังจะตัดสินใจ คัดมาเฉพาะที่สำคัญกับเรา

(๒) มีมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจ ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

ใครจะแก้ความลังเล ก่อนอื่นต้องสร้างมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์ในเรื่องนั้น ๆ ของ

ตนเองเสียก่อน อย่าไปเอาหลักเกณฑ์ของใคร เอาของเขามาแล้วก็ยังลังเลอยู่ดี

(๓) ตัดสินใจโดยอิสระ คือ รู้และตัดสิ่งที่ยึดอยู่ออกไป ตัวที่เรายึดอยู่นั่นแหล่ะที่มักจะ

ทำให้เรากังวล แล้วก็ลังเล ไม่ยึด ก็ไม่กังวล

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แน่นอนคือความไม่แน่นอน ข้อมูลที่เราวิเคราะห์อาจจะไม่ถูกต้อง หรือผลลัพธ์ที่

เกิดขึ้นจริงอาจจะไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย เพราะนั่นเป็นกฎธรรมชาติ

นอกจากนั้น เกี่ยวกับความสำเร็จในการแก้ปัญหา อาจจะมองความลังเลว่าเป็นการลังเลที่ใด ไม่ว่าจะเป็น

เป้าหมาย ปัญหา แง่มุมของปัญหา แนวทางแก้ไข หรือวิธีการปฏิบัติ ดังนั้น ถ้าจะให้มีประสิทธิภาพ

ด้วยเพราะเวลามีค่ามาก จึงควรใช้ไม่มากในการเลือก ควรรีบศึกษาและเลือกลงไปให้ชัดเจน

เพื่อจะได้ปฏิบัติ และประสบความสำเร็จ

ทคนิคหนึ่งในการแก้ความลังเล อาจจะใช้วิธี "เขียนถามตอบ" ซึ่งเขียนไว้ในเรื่องการแก้ปัญหา

 

๒. เด็ดขาด

 

แม้ว่าข้อนี้จะขัดแย้งกับข้อก่อนหน้านี้ แต่ความเด็ดขาดก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้

ความลังเลใจ

เด็ดขาดตัดสินใจไปเลย กล้า ๆ หน่อย เมื่อตัดสินใจไปแล้วก็ไม่โลเลเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา

แม้ว่าได้เลือกทางเลือกที่ไม่ดีไปแล้วก็ตาม อย่างนี้คือความเด็ดขาด

แต่ถ้าชั่งใจแล้วการเปลี่ยนแปลงเสียแต่ต้นดีกว่าปล่อยไปแล้วมีปัญหา อย่างนี้ก็ต้องเด็ดขาดใน

การแจ้งเปลี่ยนแปลง

อีกอย่างหนึ่ง กับบางเรื่อง เมื่อลองพิจารณาในแต่ละทางเลือก จะพบว่า ต่างก็จบลงเหมือนกัน

ที่ "ความไม่มีอะไร" หรืออนัตตา จึงทำให้คลายความยึดติดยึดถือ ผ่อนปรนเงื่อนไข

คำว่า "ต้อง" อย่างนั้นอย่างนี้มันลดลง วางลงได้ จึงทำให้ตัดสินใจง่าย หรือไม่ต้องตัดสินใจเลย

ปล่อยให้คนอื่นเขาตัดสินใจกัน เราอาจจะเป็นเพียงผู้ไกล่เกลี่ยประสานให้แต่ละฝ่ายไปกันได้

ประสานให้งานสำเร็จลุล่วง

 

 

การตัดสินใจเรื่องที่อยู่บนความไม่แน่นอน นี่ยากสุดๆ

เพื่อความสบายใจ บางครั้งที่ต้องตัดสินใจ คงต้องแบ่งใจ คิดถึงความน่าจะเป็น ว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไร

ค่าเงิน สถานก่รณ์โลกโดยรวม ถ้าตัดสินใจพลาดบ้างโลกคงไม่ถล่มใส่ เฮ้อ คงต้องใข้เวลา เรียนรู้ไปแล้วละ่ :P

 

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

ไปหามาฝากอีก..น่าจะเข้าใจยิ่งขึ้นนะ

 

ABCD pattern

 

 

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

T231110_06C.gif

 

ฟ้าหญิงตรัส...ในหลวงทรงพระสำราญ รับสั่งสบายขึ้นมาก เริ่มเคลื่อนไหวได้สะดวก

 

 

รักในหลวงที่สุดเช่นกัน ค่ะพี่ginger :lol:

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...