ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
ginger

ใบไม้ผลิบนดวงจันทร์

โพสต์แนะนำ

พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo shared หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ : Buddhadasa Indapanno Archives's photo.

 

ขอให้มีความเข้าใจอย่างถูกต้อง มุ่งหมายอย่างถูกต้อง ประพฤติกระทำ กระทำให้ถูกต้อง อย่าให้เป็นเหมือนนกแก้วนกขุนทอง อย่าให้เป็นเหมือนหุ่นยนต์ แล้วแต่เขาจะชักไป คือเราจะต้องมีจิตใจ เข้าใจอย่างชัดเจน อย่างถูกต้องว่าวันนี้ (อาสาฬหบูชา) มันมีความสำคัญอย่างไร....

 

ก็มีความสำคัญว่าทรงแสดงเรื่องดับทุกข์ด้วยประการทั้งปวง แล้วก็ดับทุกข์นั้นน่ะคือดับอย่างไร คือเดินตามอริยมรรคมีองค์แปด แล้วก็จะดับทุกข์ได้ นี่คือธรรมะที่เป็นเครื่องดับทุกข์ เป็นพรหมจรรย์ที่จะเป็นเครื่องดับทุกข์ แล้วก็เป็นหน้าที่ของมนุษย์ ที่จะต้องประพฤติปฏิบัติเพื่อดับทุกข์นี้ให้ได้ ไม่อย่างนั้นมันก็เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาเป็นมนุษย์ดับทุกข์ของมนุษย์ไม่ได้แล้ว ก็จะเสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ มันก็สักแต่ว่าเกิดมาเท่านั้นเอง ฉะนั้นขอให้สนใจในอริยมรรคมีองค์แปด

 

ความถูกต้อง ๘ ประการช่วยจดจำไว้ให้ดี ๆ ที่สวดมนต์กันได้อยู่ ท่องกันได้อยู่ก็มีอยู่มาก แต่บางคนก็ยังไม่เข้าใจชัด ก็เข้าใจเสียให้ชัดว่าต้องอยู่ด้วยความถูกต้อง ๘ ประการ

 

ถูกต้องในความคิดเห็น

ถูกต้องในความปรารถนา

ถูกต้องในการพูดจา

ถูกต้องในการประพฤติกระทำ

ถูกต้องในการดำรงชีวิต

ถูกต้องในความพากเพียร

ถูกต้องในความมีสติ และ

ถูกต้องในความมีสมาธิ

 

นี่ ๘ ถูกต้องนี่เป็นหัวใจเลิศสุดของพระธรรม แต่เราก็ไม่ได้สนใจให้สมกันกับที่เป็นของประเสริฐเลิศยิ่งเลิศที่สุด

 

มีบาลีกล่าวว่า

โย จะ พุทธัญญะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สะระณัง คะโต

นั่นน่ะ ผู้ใดถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ

 

จัตตาริ อะริยะสัจจานิ สัมมัปปัญญายะ ปัสสะติ

เห็นอริยสัจสี่ อยู่ตามที่เป็นจริง

 

ทุกขัง ทุกขะสะมุปปาทัง ทุกขัสสะ จะ อะติกกะมัง อะริยัญจัฏฐังคิกัง มัคคัง ทุกขูปะสะมะคามินัง

ความทุกข์ก็ดี เหตุให้เกิดทุกข์ก็ดี ความดับทุกข์ก็ดี มรรคมีองค์ ๘ ทำให้ถึงความดับทุกข์ก็ดี ผู้ใดเป็นอย่างนี้

 

เอตัง โข สะระณัง เขมัง

นั่นเป็นสรณะอันประเสริฐ

 

เอตัง สะระณะมุตตะมัง เอตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะติ

ครั้นมีสรณะอย่างนี้แล้วจะดับทุกข์ทั้งปวง จะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

 

อาสาฬหบูชาเทศนา ๒๕๒๘

หัวข้อ "พระธรรมในทุกแง่ทุกมุม"

พุทธทาสภิกขุ

 

539171_10151120470590535_464955628_n.jpg

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

วิมล ไทรนิ่มนวล shared Dharma@Hand Lite ธรรมะใสใส ใกล้ตัวคุณ's photo.

 

 

ความทุกข์ที่จริงเป็นสิ่งดี ทุกข์นี้ดีจะได้เบื่อ

เบื่อว่ากูไม่อยากเกิดแล้วโว้ย จะได้ปรารถนาออกจากกาม

เพราะถ้ามันสุขมันก็จะลืมตัว

มันจะพาเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนี้แหละ”

หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต

 

255212_10150941091566581_1159811076_n.jpg

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

387126_393705100685279_628218239_n.jpg

จุ๊บเบาๆเราเพื่อนกัน

love the nature

 

373908_393704650685324_392101342_n.jpg

นักล่ากำลังถูกล่า เร็วววๆๆ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

 

 

 

 

162053_228414833852002_1373136667_q.jpg

ประเทศไทยอยู่ตรงไหนเรียนสูงๆแล้วได้เป็นเจ้าคนนายคนจริงหรือ?

 

แรงงานคือปัจจัยในการพัฒนาประเทศที่สำคัญมาก เพราะไม่ว่าประเทศจะร่ำรวยทรัพยากรขนาดไหนก็ยังมีวันใช้หมดไป แต่แรงงานหมายถึงสังคม ประเทศ และผู้คนที่จะช่วยกันทำมาหากินให้ประเทศเจริญต่อไปได้ในอนาคต เมื่อพูด

 

ถึงแรงงานหลายคนมักนึกถึงภาพ “ผู้ใช้แรงงาน” หรือ “กรรมกร” ซึ่งเป็นแรงงานที่ใช้ทักษะน้อย แต่ในความจริงแล้วแรงงานหมายถึงประชากรทั้งหมดในประเทศที่ยังอยู่ในวัยทำงาน ซึ่งนับรวมปลัดอำเภอ CEO ทนายความ วิศวกร แพทย์ ชาวประมง หรือคนขับรถแท็กซี่เข้าไปด้วยทั้งหมด

 

คนไทยสมัยก่อนมักมีคำสอนลูกหลานทำนองว่า “จงตั้งใจเล่าเรียน โตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน” ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ชัดว่าเราเชื่อว่า “การศึกษา” เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาแรงงาน นอกจากนั้น เรามักเชื่อกันด้วยว่าหากจัดให้มีการศึกษามากขึ้น แรงงานจะมีทักษะสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการ “ยกระดับงาน” ในที่สุด

 

จากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย [1] ปัจจุบันแรงงานไทย 30.9% จบการศึกษา “สูงกว่า” ระดับมัธยมต้น (มัธยมปลาย,อาชีวะ,อุดมศึกษา) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดสิบปีที่ผ่านมา ดูเผินๆเหมือนการจัดการศึกษาของเราอยู่ในเกณฑ์ดี มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

 

แต่สิ่งที่น่าสนใจคือเมื่อมีการศึกษามากขึ้นแล้ว แรงงานไทยมีทางเลือกในการทำงานที่ดีขึ้นหรือไม่? เรามี “เจ้าคนนายคน” เยอะขึ้นตามไปด้วยหรือเปล่า?

 

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ได้แบ่งกลุ่ม “อาชีพ” (Occupation) ของแรงงานออกเป็น 10 กลุ่มหลักดังนี้ -- อ่านรายละเอียดคำนิยามอาชีพตามมาตรฐานสากลได้ใน [2]

 

1. ผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการระดับอาวุโส และผู้จัดการ

2. ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ

3. ผู้ประกอบวิชาชีพช่างเทคนิคสาขาต่างๆ และอาชีพที่เกี่ยวข้อง

4. เสมียน

5. พนักงานบริการ และพนักงานในร้านค้า และตลาด

6. ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือทางด้านการเกษตร และการประมง

7. ผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือ และธุรกิจการค้าที่เกี่ยวข้อง

8. ผู้ปฏิบัติการโรงงานและเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ

9. อาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆ ในด้านการขาย และการให้บริการ

10. อาชีพซึ่งมิได้จำแนกไว้ในหมวดอื่น

 

จากกลุ่มอาชีพข้างต้นอาจกล่าวได้อย่างคร่าวๆว่า กลุ่มวิชาชีพ 1-3 คือกลุ่มวิชาชีพที่ “ใช้ทักษะสูง” (ตัวอย่างเช่น ผู้บริหาร แพทย์ พยาบาล วิศวกร โฟร์แมน ผู้ช่วยทันตแพทย์ ทนายความ ช่างยนต์ ศิลปิน นักเขียน เจ้าของธุรกิจ นักดนตรี ครู) ขณะที่กลุ่มวิชาชีพ 4-6 เป็นกลุ่มวิชาชีพที่ใช้ทักษะต่ำ ส่วนรายได้กลุ่มไหนจะมากหรือน้อยกว่ากันนั้น เป็นเงื่อนไขเฉพาะในรายละเอียดของแต่ละตลาดแรงงานซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องแตกต่างกันไป จะไม่กล่าวถึงในที่นี้

 

หากเราจัดแบ่งแรงงานออกเป็น 2 กลุ่มอาชีพจะเห็นได้ดังกราฟที่แสดง ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วในปัจจุบันแรงงานไทยที่ทำงาน “ทักษะสูง” (กลุ่ม 1-3) มีประมาณ 10-15% นั่นแปลว่าคนกว่า 85% ยังทำงาน “ทักษะต่ำ” อยู่ [3] และที่น่าสนใจกว่านั้นคือปริมาณคนทำงานทักษะสูงในไทยลดต่ำลงอย่างมีนัยยะสำคัญตั้งแต่ปี 2551 และมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

 

หากเทียบกับประเทศอื่นๆจะพบว่า จากข้อมูลของ ILO [4] เมื่อปี 2525 เกาหลีใต้มีสัดส่วนแรงงานทักษะสูง 5.49% ส่วนไทยมี 5.33% เวลาผ่านไป 24 ปี - ในปี 2550 ไทยมีแรงงานทักษะสูง 15.11% ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของไทย ขณะที่เกาหลีใต้มี 22.18%

 

ส่วนประเทศอื่นๆมีสัดส่วนแรงงานทักษะสูง (ปี 2550) ดังนี้

มาเลเซีย 26.26%

ออสเตรเลีย 42.87%

ฝรั่งเศส 39.8%

เยอรมนี 41.5%

ฮ่องกง 36.3%

ญี่ปุ่น 37.0%

นอร์เวย์ 42.3%

สิงคโปร์ 48.6%

ตุรกี 22.0%

สหราชอาณาจักร 41.9%

 

จากข้อมูลข้างต้น เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศที่ “เจริญ” จะมีสัดส่วนแรงงานทักษะสูงที่มากกว่าประเทศไทย เพราะงานที่ทักษะสูงขึ้นมักหมายถึงมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่มากกว่า และการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนอาชีพนี้ ยังหมายถึงทางเลือกใน “งานที่ดีกว่าเดิม” สำหรับคนรุ่นใหม่ที่มากกว่าคนรุ่นพ่อแม่อีกด้วย (คำว่าดีในที่นี้อาจหมายถึงรายได้ คุณภาพชีวิต ความมั่นคง ความเสี่ยงต่ำฯลฯ ซึ่งขึ้นกับแต่ละบุคคล แต่โดยรวมแล้วหมายถึงงานที่ต้องการ “ทักษะที่สูงขึ้น” กว่าเก่า)

 

จากข้อมูลทั้งหมดจะเห็นว่าแม้แนวโน้ม “ปริมาณ” การศึกษาของแรงงานไทยจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ปริมาณแรงงานทักษะสูงในระบบไม่ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งด้วยทิศทางที่สวนทางกันเช่นนี้ เราอาจต้องตั้งคำถามอย่างจริงจังต่อ “คุณภาพ” ระบบการศึกษาไทยแล้วหรือไม่ว่าการจัดการศึกษานั้น “สร้างทักษะ”ชนิดใดให้แก่ประชากรประเทศ เพราะเห็นได้ชัดว่าการมีวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น ไม่ได้ช่วยทำให้ประชากรไทยสามารถทำงานที่ใช้ทักษะสูงขึ้นได้เลยตลอด 10 ปีที่ผ่านมา

539890_478694065490743_2037208547_n.jpg

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

คืนวันเข้าพรรษา

shared สิ่งดี-ดี มีไว้ "แบ่งปัน"'s photo.

 

561194_415001571879098_270320621_n.jpg

“อันใดเดือดร้อนเขา สบายเรา อย่าทำ

อันใดเดือดร้อนเรา สบายเขา อย่าทำ

อันใดเดือดร้อนเขา เดือดร้อนเรา ก็อย่าทำ

อันใดไม่เดือดร้อนเขา ไม่เดือดร้อนเรา

จงพูด จงคิด และกระทำเถิด”

 

"พุทธดำรัส"

ถูกแก้ไข โดย ginger

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

เรารักในหลวงและราชวงศ์จักรี (We Love Chakri Dynasty) shared We love soldiers - Royal Thai Army's photo.

 

399499_481822788495960_1792822483_n.jpg

ทหารพระราชาปวงข้าของแผ่นดิน มิ่งขวัญทฺกถิ่นแหลมทองของไทย สถิตในผไททหารชาญณรงค์ ขอทฺกพระองค์จงทรงพระเจริญ

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...