ข้ามไปเนื้อหา
Update
 
 
Gold
 
USD/THB
 
สมาคมฯ
 
Gold965%
 
Gold9999
 
CrudeOil
 
USDX
 
Dowjones
 
GLD10US
 
HUI
 
SPDR(ton)
 
Silver
 
Silver/Oz
 
Silver/Baht
 
Chantima

การตรวจมวลกระดูกในผู้สูงอายุ เพื่อดูความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน

โพสต์แนะนำ

851940176_Checkbonemass.jpg.02fb371c21866f62c9e81fa9930d0590.jpg

กระดูกจัดว่าเป็นอะไรที่สำคัญมาก ๆ ต่อร่างกายของเรา เพราะเป็นโครงสร้างหลักที่สนับสนุนร่างกาย ทำให้เราสามารถยืน, นั่ง, และเคลื่อนไหวได้ และยังทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายในร่างกายของเราได้ด้วย อย่าง กระโหลกปกป้องสมอง, กระดูกหลังปกป้องไขสันหลัง, และกระดูกริบปกป้องหัวใจและปอด เป็นต้น นอกจากนี้กระดูกยังเป็นที่เก็บแร่ธาตุที่สำคัญต่างๆ เอาไว้มากมาย เช่น แคลเซียม,ฟอสฟอรัส และสามารถปล่อยเข้าสู่กระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้เมื่อจำเป็น และกระดูกยังทำหน้าที่ช่วยส่งเสริมในการเจริญเติบโตให้กับร่างกายอีกด้วย ดังนั้นเราจึงควรที่จะต้องดูแลสุขภาพของกระดูกให้ดี ๆ โดยเฉพาะเมื่อมีอายุ 60 ปีขึ้นไปควรไปตรวจมวลกระดูก ว่ามีปัญหาในด้านใด หรือไม่ เพื่อที่จะได้ทำการรักษาและดูแลได้อย่างทันท่วงที และถูกจุดค่ะ

การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก เพื่อใช้วินิจฉัยถึงความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน

ซึ่งค่าความหนาแน่นมวลกระดูก ที่วัดได้จะต้องนำไปเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยปกติในกลุ่มคนเฉลี่ยที่ อายุ 30 – 40 ปี ที่มีเชื้อชาติเดียวกัน หรือเชื้อชาติที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งมันจะเป็นเป็นจำนวนของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ที่เรียกว่า T- score (T) ซึ่งใช้เป็นค่าในการวินิจฉัยโรค ดังนี้

·         ค่า T score มากกว่า -1 = ความหนาแน่นกระดูกปกติ (Normal bone)

·         ค่า T score ที่อยู่ต่ำกว่า -1 แต่สูงกว่า -2.5 = กระดูกบาง (Osteopenia)

·         ค่า T score ต่ำกว่า -2.5 = โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

ช่วงวัยที่ควรเข้ารับการตรวจมวลกระดูก

โดยช่วงอายุของผู้หญิงที่ควรเข้ารับการตรวจมวลกระดูก อายุควรเริ่มตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และผู้ชายควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 70 ปีขึ้นไป โดยการตรวจจะใช้เครื่องตรวจที่เรียกว่า Bone densitometer เป็นเครื่องมือการตรวจทางรังสีชนิดหนึ่งซึ่ง เครื่อง Bone densitometer มีหลายแบบ  แต่ที่นิยมใช้คือแบบที่เรียกว่า Dual Energy X-ray Absorptiometry scanner หรือ DEXA scanner  โดยตำแหน่งที่จะตรวจ คือ บริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก เนื่องจากบริเวณเหล่านี้มักพบว่ามีการแตกหักของกระดูกจากภาวะกระดูกพรุนได้บ่อยค่ะ

วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน

1. ควรสะสมมวลกระดูกให้มากที่สุดตั้งแต่วัยเด็ก แนะนำให้รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่และรับประทานอาหารที่ให้แคลเซียมมาก เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม, กุ้งแห้ง, ปลาตัวเล็กๆ, งาดำ,  ผักใบเขียว เช่น ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า ผักบร็อคโคลี่ (เป็นกลุ่มผักที่มีแคลเซียมสูง)

2. ควรออกกำลังกายเป็นประจำ และสม่ำเสมอ 

3. งดการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

 

การตรวจมวลกระดูก หรือการวัดความหนาแน่นของกระดูก ช่วยให้สามารถรู้ได้ว่า กระดูกของเรามีปัญหาหรือไม่ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนรึเปล่า เพื่อที่จะได้ทำการดูแล และรักษาให้ไวที่สุด ก่อนที่จะส่งผลกระทบต่อร่างกายจนเกิดความเสียหายในด้านอื่น ๆ ตามมาค่ะ

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nonthavej.co.th/How-to-take-care-osteoporosis.php

แชร์โพสต์นี้


ลิงก์ไปโพสต์
แชร์ไปเว็บไซต์อื่น

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

ผู้มาเยือน
ตอบกลับกระทู้นี้...

×   วางข้อความแบบ rich text.   วางแบบข้อความธรรมดาแทน

  อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 75 อิโมติคอน.

×   ลิงก์ของคุณถูกฝังอัตโนมัติ.   แสดงเป็นลิงก์แทน

×   เนื้อหาเดิมของคุณได้ถูกเรียกกลับคืนมาแล้ว.   เคลียร์อิดิเตอร์

×   คุณไม่สามารถวางรูปภาพได้โดยตรง กรุณาอัปโหลดหรือแทรกภาพจาก URL

กำลังโหลด...

  • เข้ามาดูเมื่อเร็วๆนี้   0 สมาชิก

    ไม่มีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนกำลังดูหน้านี้

×
×
  • สร้างใหม่...